หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น

cdvboard profile image cdvboard
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น

การถ่ายภาพ ก็เหมือนกับการนำเอาถังไปรองน้ำ จะต้องให้น้ำเต็มถังพอดี ไม่มากจนล้นถัง หรือ น้อยเกินไปจนไม่เต็มถัง ซึ่งเหมือนกับการถ่ายภาพที่มีความสว่างพอดี ไม่สว่างมากเกินไป หรือมืดเกินไป

ถ่ายภาพอย่างไรภาพ จึงจะมีความสว่างพอดี
ขึ้นอยู่กับตัวแปร 4 อย่าง คือ
ปริมาณของแสง
ความไวแสงของฟิล์ม
ขนาดรูรับแสง(Aperture)
ความเร็วชัตเตอร์(Shutter speed)

การที่จะถ่ายภาพให้มีความสว่างพอดี ก็จะต้องเปิดรูรับแสง ให้สัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์ เช่น ถ้าใช้ขนาดรูรับแสงกว้าง แสงผ่านเข้าไปได้มาก ก็จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง คือเปิดแล้วปิดเร็ว ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ คือเปิดอยู่นาน ภาพที่ถ่ายก็จะสว่างมากเกินไป แต่ตรงกันข้าม ถ้าเปิดรูรับแสงแคบ แสงผ่านเข้าไปได้น้อย ก็จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เปิดรับแสงนานๆ เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสว่างพอดี เช่นเดียวกัน

ปริมาณของแสง เหมือนกับน้ำจากก๊อกน้ำ ที่ไหลแรงบ้าง อ่อนบ้าง ถ้าแดดจัดก็เหมือนน้ำไหลแรง เวลาที่มีเมฆครึ้ม แสงน้อยลง ก็เหมือนน้ำที่ไหลอ่อน

ความไวแสงที่ต่างกันก็เหมือถังน้ำที่มีขนาดต่างกัน เช่น ความไวแสงต่ำ เหมือนถังน้ำใหญ่ๆ ถ้าความไวแสงสูงขึ้น ก็เหมือนถังน้ำเล็กลง

การเปิดรูรับแสง ก็เหมือนกับเปิดก๊อกน้ำใส่ถัง ถ้าเปิดกว้าง น้ำก็จะไหลแรง น้ำก็จะเต็มถังเร็ว ต้องรีบปิด ถ้าเปิดหรี่ๆ น้ำไหลน้อย ต้องเปิดนาน กว่าน้ำจะเต็มถัง

มารู้จักกับเอกลักษณ์ของตัวแปรทั้ง 4
ปริมาณของแสง
อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก ปริมาณของแสงมาก ย่อมมีความสว่างมาก เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ตอนเที่ยง ย่อมให้ความสว่างมากกว่าไฟ 300w



ความไวแสงของฟิล์ม
ความไวแสงของฟิล์ม คือความสามารถในการรับแสงของฟิล์ม การใช้ตัวย่อที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3 ระบบคือ ISO ASA และ DIN ตัวเลขที่ใช้ ได้แก่
25 50 64 100 125 160 200 400 800 1600 3200
ค่าของตัวเลขจะบอกว่าฟิล์มนั้นไวแสงมากหรือน้อย ถ้าตัวเลขน้อยหมายถึงฟิล์มนั้นไวแสงต่ำ
ความไวแสงของฟิล์มที่สูงๆจะทำให้รับแสงได้เร็ว เหมือนกับถังน้ำใบเล็กๆ ส่วนความไวแสงต่ำ ก็เหมือนกับถังใบใหญ่ๆ เมื่อเอาไปรองน้ำที่เปิดก๊อกกว้างเท่ากัน น้ำไหลแรงเท่ากัน ถังเล็กย่อมเต็มเร็วกว่าถังใหญ่
ความต่างของภาพที่ได้จากฟิล์มISOที่ต่างกันคือ ฟิล์มISOต่ำ เช่น 50 , 100 จะขึ้นเกรนน้อยกว่าฟิล์มISOสูงๆ เช่น 400 , 800

ISO200 800 3200 ตามลำดับ




ขนาดรูรับแสง
รูรับแสง เกิดจากแผ่นม่านเลนส์ ในกระบอกเลนส์เรียงตัวซ้อนกัน ม่านเลนส์นี้ ทำด้วยแผ่นโลหะยาว ๆ สีดำซ้อนขัดกันอย่างมีระเบียบ ตรงระหว่างรอยขัดกันจะมีช่องว่างกลมเป็นรูเล็ก ๆ ให้แสงลอดเข้าไปได้ ม่านเลนส์ทั้งชุดสามารถขยายหรือหรี่รูให้เล็กใหญ่ได้ รูดังกล่าวก็คือ รูรับแสง
รูรับแสงนี้มีขนาดตามลำดับที่แน่นอนจึงมีเลขกำกับที่แน่นอน เรียกว่า เอฟ.นัมเบอร์ (f.numbers) หรือ เอฟ สตอบ (f.stop) เลขกำกับนี้เขียนไว้ที่วงแหวนขอบเลนส์ (ค่า f/number มาจากค่าความยาวโฟกัสของเลนส์หารด้วยความยาวของเส้นผ่าศูนย์กล่างของเลนส์ นั้น)ได้แก่
32 22 16 11 8 5.6 4 2.8 2 1.4 1
ขอให้จำไว้ว่า ตัวเลขมาก เช่น f 32 ก็คือ แผ่นม่านเลนส์ซ้อนขัดกันมาก นั่นคือ รูรับแสงจะแคบ ในทางตรงกันข้าม
ตัวเลขน้อย เช่น f 1.4 ก็คือ แผ่นม่านเลนส์ซ้อนขัดกันน้อย ผลก็คือคือ รูรับแสงจะกว้างนั่นเอง
ความต่างของภาพที่ได้จากการเปิดรูรับแสง ต่างกัน คือ การเปิดรูรับแสงกว้าง เช่น f 1.4 f 2 จะได้ภาพชัดตื้น การเปิดรูรับแสงแคบ เช่น f 16 f 22 ซึ่งจะได้ภาพชัดลึก


ภาพชัดตื้น


ภาพชัดลึก



ภาพเปรียบเทียบ ระยะชัดของ f number ที่ต่างกัน




ความเร็วชัตเตอร์
สำหรับกล้องภาพนิ่ง เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ ม่านชัตเตอร์ก็จะเปิดให้แสง (คือภาพที่จะถ่าย) ผ่านเข้าไปกระทบฟิล์มหรือเซนเซอร์รับภาพ และปิดตามเวลาที่กำหนดไว้ เราเรียกว่า ความเร็วชัตเตอร์ คือช่วงเวลาในการที่ม่านชัตเตอร์เปิดรับแสงแล้วปิด
ควาเร็วชัตเตอร์เป็นตัวเลขกำหนดความเร็ว มีหน่วยนับเป็นวินาที บนปุ่มหมุนแสดงความไวชัตเตอร์ ตัวเลข มักจะเริ่มจาก
1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 (ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณ 2 คูณ)
แต่ให้เข้าใจว่า ตัวเลขนั้นเศษส่วน เช่น 2 คือ 1/2 วินาที 4 คือ 1/4 วินาที ดังนั้นตัวเลขจึงหมายถึง
1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000

ภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำ


ภาพความเร็วชัตเตอร์สูง


ในภาพยนตร์เรามักตั้งค่าความเร็วกล้องไว้ที่มาตรฐานคือ 24 เฟรม/วินาที(ภาพปกติ ไม่ใช่slow motion หรือ fast motion) คือใน 1 วินาที มีการเปิดรับแสงแล้วปิด 24 ครั้ง นั่นหมายถึงช่วงเวลาเฉพาะที่ม่านชัตเตอร์เปิดแต่ละเฟรม คือ 1/48 วินาที
ในการถ่ายภาพSlow motion จึงมีการตั้งความเร็วกล้องเพิ่ม เช่น 120 เฟรม/วินาที เมื่อนำมาฉายด้วยความเร็ว 24 เฟรม/วินาที จึงเป็นการยืดแอคชั่นนั้นให้ยาวนานกว่าความเป็นจริง

ภาพยนตร์ที่บันทึกภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ปกติ ใน1 เฟรม จะเห็นความเคลื่อนไหวของวัตถุ ซึ่งก็ดูสมจริงดี


แต่ในบางครั้ง การถ่ายภาพยนตร์ก็เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ โดยที่ยังบันทึกที่ 24 เฟรม ต่อวินาที เป็นผลทำให้ภาพที่เคลื่อนไหวในแต่ละเฟรมหยุดนิ่ง คมชัดกว่าปกติ


แล้วเราจะยึดตัวแปรไหนเป็นหลัก

อันดับแรกคงต้องถามตัวเราดูก่อนว่าอยากได้ภาพอะไร

ปริมาณของแสง
เราอยากได้ภาพมืดหรือสว่างแค่ไหน Hi Key , Low Key , Soft Light , Hard Light , Day for Night

ความไวแสงของฟิล์ม
เราอยากได้ภาพขึ้นเกรนแค่ไหน หรือสภาพแสงทำให้เราต้องเลือกใช้ฟิล์มความไวแสงสูงแค่ไหน

ขนาดรูรับแสง
เราอยากได้ภาพชัดลึก เช่น Action Comedy Drama หรือชัดตื้น เช่น Romantic

ความเร็วชัตเตอร์
ภาพสโลว สปีด ภาพไหวมากๆ หรือความคมชัดสูง


วิธีการทำงาน
ในกรณีนี้ ผมจะยกการถ่าย ฉากระเบิด Model เป็นตัวอย่างการทำงาน (มีการกำหนดจุดตั้งกล้อง มุม ความสูงกล้องเรียบร้อยแล้ว)




สิ่งแรกที่ต้องการในการ ถ่ายระเบิดโมเดลก็คือ ภาพสโลว (Slow Motion)
โมเดลที่มีขนาดย่อส่วนจะดูสมจริงได้จากการยืดเวลาของภาพการระเบิดออกไป ทำให้รู้สึกกินเวลาและระยะทางมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกด้านขนาดและน้ำหนักที่มากขึ้น
ภาพยนตร์เรื่อง ID4 ถ่ายฉากระเบิดทำเนียบขาวที่สปีด 120 เฟรม/วินาที
ดังนั้น ตัวแปรแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ความเร็วชัตเตอร์


อันดับต่อมาที่ต้องคำนึงในการถ่ายฉากย่อส่วนหรือโมเดล คือความชัดลึก เพราะในการถ่ายทำภาพกว้างของตึกปกติ ด้วยผลของเลนส์มุมกว้าง และวัตถุที่ไกลจากกล้อง จะให้ภาพที่ชัดลึกเป็นปกติ
ตัวแปรที่ต้องคำนึงตามมาคือ ขนาดรูรับแสง
(ในคู่มือเลนส์จะบอกว่า เมื่อใช้เลนส์อะไร โฟกัสที่ระยะเท่าไหร่ จะให้ระยะชัดมากแค่ไหน)
สมมติกรณีนี้ ต้องเปิดรูรับแสง f 8

อันดับต่อมาคือปริมาณของแสง เราต้องใช้ปริมาณไฟเพียงพอกับการถ่ายที่ 120 เฟรม/วินาที โดยเปิดรูรับแสงที่ f 8 ขึ้นไป(f ยิ่งมากยิ่งชัดลึก)

สุดท้ายคือ ความไวแสงของฟิล์ม เมื่อสปีดของกล้องและขนาดรูรับแสงถูกกำหนดแล้ว ความไวแสงของฟิล์มจะผกผันกับปริมาณแสง คือ ความไวแสงของฟิล์มต่ำก็ต้องจัดแสงมาก

ภาพที่ได้คือ ภาพระเบิดที่ช้านุ่มนวล ตึกทำเนียบขาวมีระยะชัดลึกสมจริง เศษสะเก็ดระเบิดปลิวช้าลงดู มีน้ำหนัก


กรณีภาพยนตร์แนว Romatic
ภาพยนตร์Romantic นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ความอบอุ่น นุ่มนวล ซึ้งชวนฝัน



ตัวแปรที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงคือ ความเร็วชัตเตอร์ ในภาพยนตร์ปกติก็ใช้อยู่ที่ 24 เฟรม/วินาที

สิ่งแรกที่เป็นธรรมเนียมของฉากRomantic คือ ภาพชัดตื้น เพราะจะให้ภาพที่ละมุนละไม ตัดรายละเอียดของBackgroundที่ยุ่งเหยิงและรบกวนบรรยากาศออกไป เห็นเพียงความฟุ้งเบลอ ชวนให้รู้สึกนุ่มนวล ตัวแปรที่ต้องคำนึงคือ ขนาดรูรับแสง ที่จะให้ผลของภาพแบบชัดตื้น คือรูกว้างๆ นั่นเอง เช่น 2 2.8 4 ยิ่งถ้าใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงๆ(Tele) จะให้ผลชัดตื้นง่ายยิ่งขึ้น

ธรรมเนียมต่อมาคือแสงแบบ High Key และ Soft Light แม้ จะเป็นฉากกลางคืน ก็มักจะเป็นแสงนุ่ม และสัดส่วนของKey Light กับ Fill Light ก็ไม่ต่างกันมาก ดังนั้นในการถ่ายฉากRomantic ต้องคำนึงถึงรูปแบบการจัดแสง และปริมาณของแสง ให้สอดคล้องกับความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงที่กำหนด เพื่อมุ่งหมายให้ได้ผลของภาพดังกล่าว

สุดท้ายคือ ความไวแสงของฟิล์ม การ เลือกฟิล์มISO เท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของตากล้อง หรืออาจจะมีการpre-light คือทดลองจัดแสง และทดสอบฟิล์มเบอร์ต่างๆ ก่อนถ่ายทำจริง


ตัวอย่าง Depth Of Field Chart ของเลนส์ความยาวโฟกัส 50 mm (ในชาร์ตด้านล่างมีให้ดูแค่ 4 ตัวอย่าง แบบเต็มจะมีค่าแสดงทุกช่อง)



ตัวอักษรและเลข เหนือตาราง
f/2.8 f/4 f/5.6 f/8 f/11 f/16 f/22 f/32
คือ ขนาดของรูรับแสง

ตัวเลขหน้าตารางด้านซ้าย
7.5
1
1.25
1.50
2
2.5
3
5
7
10

คือ ระยะที่เราโฟกัส (หน่วยเป็นเมตร)

วิธีดูชาร์ต
เมื่อโฟกัสที่จุด 0.75 เมตร เปิดรูรับแสงที่ f 16 จะมีระยะชัดเริ่มตั้งแต่ 0.661-0.866 เมตร

เมื่อโฟกัสที่จุด 2 เมตร เปิดรูรับแสงที่ f 5.6 จะมีระยะชัดเริ่มตั้งแต่ 1.77-2.31 เมตร

เมื่อโฟกัสที่จุด 2 เมตร เปิดรูรับแสงที่ f 16 จะมีระยะชัดเริ่มตั้งแต่ 1.46-3.20

เมื่อโฟกัสที่จุด 7 เมตร เปิดรูรับแสงที่ f 16 จะมีระยะชัดเริ่มตั้งแต่ 3 เมตร - Infinity


สังเกตได้ว่า ยิ่งโฟกัสไกล ระยะชัดจะมากขึ้น (เลนส์เดียวกัน ตั้งกล้องที่เดียวกัน) ทั้งในส่วนที่ล้ำกลับเข้าหากล้อง และส่วนที่ชัดลึกไกลออกไป


ที่มาจาก http://www.thaishortfilm.com/board/viewtopic.php?t=109

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

cdvboard Icon เทคนิคแต่งภาพสไตล์โลโม (LOMO) อ่าน 3,536 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon การถ่ายภาพ กับ การแต่งภาพ Portrait 1 อ่าน 4,800 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition อ่าน 7,460 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon เทคนิคการถ่ายภาพพลุ อ่าน 2,720 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon กฎสามส่วน (Rule of Third) อ่าน 2,061 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น อ่าน 9,791 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา