ผญาอีสาน

konbandon profile image konbandon

 

 

ผญา

            คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา ปรัชญา ความฉลาด ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น

 

            ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่าหมายถึงอะไรผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย
            ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กินใจความมากการพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลังที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่นลึกซึ้งลงไป
ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต"คือรูปภาพของวัฒนธรรมแห่งชาตินั่นเองการจ่ายผญาหรือการแก้ผญา
การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมีผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือลำผญาญ่อย เช่น

 

(ชาย) ..... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี
(หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี
การลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญาและหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆ ก็นั่งเป็นวงล้อมรอบ หมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วย ส่วนผู้จ่ายผญา จะไม่มีการฟ้อน ในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วย เช่น เวลาลงข่วง หมอลำชายจะลำ เกี้ยว ฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไป นอกจากหมอลำ หมอแคนแล้ว บางครั้งจะมีหมอสอยทำ การสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไป ทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนาน การจ่ายผญาในครั้งแรก ๆ นั้น เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลง ให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่า แคนประกอบจนกลายมาเป็น "หมอลำผญา" ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30-40 ปีมานี้
เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้น จากการนั่งจ่ายผญา ซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัดและไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ) จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วย จากดนตรีประกอบที่มีเพียง แคน ก็ได้นำเอากลอง ฉิ่ง ฉาบ และดนตรีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ จากผู้แสดงเพียง 2 คนก็ค่อย ๆ เพิ่มเป็น 3, 4 และ 5 คน จนมารวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะหมอลำผญา บางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วย

ผญา คือ อะไร
            ผะหยา๑ (น.) ปัญญา, ความรู้, ความฉลาด ดั่งว่า “ยามหลานเข้ามาเถิงถามข่าววันนั้น ลอนบ่อมีผู้ฮู้ ผะหยาแจ้งไต่ตองนั้นลือ” (สิน.)
ผญา๒ (น.) ปัญญา, ความรู้, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง เรียก ผญา อย่างว่า “เงิน เติมพา บ่ท่อผญาเต็มปูน (ภาษิต.) ยามหลานเข้ามาเถิงถามข่ายวันนั้นลอนบ่มีผู้เพี้ยงผญา แจ้งไตร่ตรอง เป็นรือ” (สังข์.) แต่นั้นศรีเฉลียวเนื้อหอหงษ์ต้านตอบ บ่กว่าผู้ผญาเล้มช่างตรอง (ฮุ่ง)
ผญา๓ (น.) ภาษิตคำคมอีสาน
ผญา๔ (น.) เป็นคำพูดของนักปราชญ์ถิ่นอีสานโบราณและเป็นภาษาที่มีอายุมากพอสมควรแล้ว ผญาเป็นคำถ่ายทอดมาจากคำว่า “ปัญญา” และ “ปรัชญา” ซึ่งอพยพมาตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา นักปราชญ์โบราณอีสานท่านเปลี่ยนจากคำเดิมคือ ปัญญามาเป็นผญาเพื่อความสะดวกหรือเพื่อความเหมาะสมกับภาษาถิ่น ก็อาจเป็นได้ ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ดังนั้นคำว่า ผญา ก็คงมีความหมายเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียง
คนมีผญาดีเขาก็ชมว่าเป็นคนมีปัญญาดีบ้างคนประเภทนี้ประชาชนเขาให้ความเคารพนับถือมากและเขาก็ยกให้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ ด้วย ภาษาผญานี้นักปราชญ์เก่าก่อน ท่านไม่ค่อยบันทึกไว้ ถึงจะมีบ้างก็เห็นมีปะปนกับลำหนังสือนิทานซึ่งถิ่นนั้นนิยมเรียกกันว่าหนังสือผูก เช่น โสวัด กาดำ จำปา สี่ต้น ฯลฯ เป็นต้น นอกนั้นคำผญาก็เห็นมีปะปนอยู่กับหนังสือก้อมชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นผญาคำสอนตำราผญาจริงๆ ไม่เห็นมีจึงเป็นเหตุให้ผู้อยากรู้ค้นหาตำราไม่ได้ เพราะไม่มีที่ จะค้น ผมผู้เขียน (หมายถึง พ่อพิมพ์ รัตนคุณสาส์น) ลักษณะคำผญาเองก็ไม่รู้จักค้น แต่ก็พอรู้เรื่องผญาได้รู้ได้โดยจากการฟังคนเฒ่าคนแก่ที่เกิดก่อนพูดจากันบ้าง และอ่านเห็นคำ ผญาปะปนอยู่กับหนังสือใบลานเก่าบ้าง เห็นผญาปะปนอยู่กับหนังสือสาส์นต่างๆ บ้าง
ผญา๕ (อ่านว่า ผะหยา) น. ปัญญา, ความรู้, ความฉลาด (บาลี : ปัญญา, สันสกฤต : ปรัชญา)
ผญา๖ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งของชาวอีสาน ผู้เขียน (หมายถึง อาจารย์ประมวล พิมพ์เสน) เห็นว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดที่จะเกิดวรรณกรรมอีสานประเภทที่เป็นบทกลอนเมื่อก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสสอบถามท่านผู้รู้ ู้หลายท่าน เช่น อาจารย์เจริญชัย ชนไพโรจน์ อาจารย์พรชัย ศรีสารคาม (ทั้ง ๒ ท่านนี้เป็นอาจารย์ของผู้เขียนเอง) อาจารย์อุดม บัวศรี, อาจารย์จารุบุตร เรืองสุวรรณ และอีกหลายท่านที่มาร่วมสัมมนาเพลงพื้นบ้านที่ มศว. มหาสารคาม จัดขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๔ ทุกคนมีความเห็นสรุปได้ว่าผญามาจากคำว่าปัญญา หรือปรัชญา คุณสมปอง จันทคง ได้รวบรวมไว้ในวิทยานิพนธ์ ก็มากมายหลายท่านสรุปออกมาก็เช่นเดียวกัน
ผญา๗ คืออะไร คำ ผะหยา เป็นภาษาลาวที่คนในภาคอีสานซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก ลาว อาณาจักรล้านช้าง ใช้พูดจากัน เพื่อแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้ถ้าจะพิจารณาถึงรากศัพท์ของคำ ผะหยา แล้ว น่าจะมาจากคำปัญญา ในภาษาบาลี หรือ ปรัชญา ในภาษาสันสกฤต แต่เมื่อคนเชื้อชาติลาว นำเอาคำปรัชญา มาใช้พูดใน ภาษาของตน จึงเปลี่ยนคำควบกล้ำ คือ ปร เป็นเสียง ผ ซึ่งมีหลายคำเช่น เปรต คนอีสานใช้ เผด โปรด ก็ใช้ โผด ฯลฯ คำ ปรัชญา จึงน่าจะเป็น ผญา แล้วออกเสียงเป็น ผะ-หยา ตามหลักการออกเสียงอักษรนำ ถ้านำเอาที่มาของคำ ผะหยา ซึ่งน่าจะมาจากคำ ปัญญา ในภาษาบาลี หรือ ปรัชญา ในภาษาสันสกฤตมาพิจารณาถึงความหมายของคำทั้งสองจะได้ ดังนี้
คำ ปัญญา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำแปลไว้ว่า น. ความรู้, ความรู้ทวี, ความฉลาด เกิดแก่การเรียนและความคิด
ส่วนคำ ปรัชญา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ก็ได้ให้คำแปลไว้ว่า น. วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความเจริญจากความหมายของคำ ปัญญา และคำ ปรัชญา ที่ได้มาจากพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานที่ยกมากล่าวข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่ามีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคำ ผะหยา ที่ชาวบ้านทั่วไปของชาวอีสานในสมัยโบราณใช้ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อจะแสดงถึงภูมิปัญญา ความรู้ ความฉลาดของผู้พูด
คำผญา หรือ ผะหยา๘ เป็นกาพย์กลอนพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ที่แสดงความคิด ปัญญา ความฉลาดหลักแหลมของชาวบ้าน พร้อมกันนั้นก็เป็นคำพูดที่แสดงถึงความมีไหวพริบปฏิภาณอันหนักแน่น ระหว่างหนุ่มสาย-หญิงชายที่ยกขึ้นมาเพื่อถามไถ่ เกี่ยวกับความรู้รอบตัวทัศนคติ คุณสมบัติที่มีความรักต่อกัน ในเอกสารวรรณคดีลาว และ “คำกลอนพื้นเมืองลาว” พิมพ์โดย สะถาบันค้นคว้าวิทยาสาดสังคม ของกะซวงสึกสา ของ สปป.ลาว เขียนเป็น “ผะหยา” (คำว่า “ผญา”น่าจะอิงใส่คำบาลี ส่วน “ผะหยา” อิงใส่ภาษาพูด)
ผญา เป็นคำภาษาไทยถิ่นอีสาน ตรงกับคำภาษาไทยกลางว่า ปัญญา หรือ ปรัชญา เพราะในภาษาถิ่นอีสาน จะใช้ เสียง ผ แทนเสียง ป หรือ ปร ในภาษาไทยกลางเป็นบางคำ เช่น

เผด ภาษาไทยกลางจะใช้คำว่า เปรต
โผด ภาษาไทยกลางจะใช้คำว่า โปรด
ผาบ ภาษาไทยกลางจะใช้คำว่า ปราบ
ผาสาด ภาษาไทยกลางจะใช้คำว่า ปราสาท

            ดังนั้น คำว่า ผญา ในภาษาอีสานจึงตรงกับคำว่า ปัญญา หรือ ปรัชญา ในภาษาไทยกลาง ผญา เป็นคำนาม แปลว่า ปัญญา ความฉลาด คำพูดที่เป็นภาษิต หรือถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบเป็นสำนวนที่หลักแหลมลึกซึ้ง (วาสนา เกตุภาค ๒๕๒๑ : ๑๙ ) ดังนั้น ผญาจึงเป็นคำพูดที่ประกอบด้วยองค์คุณห้าประการ คือ คำพูดที่มีประโยชน์คำพูดที่เหมาะแก่การ คำพูดสัตย์ คำพูดอ่อนหวานและคำพูที่มีเมตตาจิต (จารุวรรณ ธรรมวัตร ๒๕๒๖ : 26) ตามที่ได้นำคำอรรถาธิบายของผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คำจำกัดความ คำว่า “ผะหยา” “ผญา” “ผยา” ข้างบน จึงพอเข้าใจได้ว่า
ผะหยา นั้นหมายถึง ปัญญา หรือ ปรัชญา ความฉลาดเฉลียวของคนที่พูดผะหยาออกมา คำพูดนั้นเป็นภาษิตคำคม เป็นถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบที่หลักแหลมลึกซึ้ง ผะหยาเป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง เป็นกาพย์กลอนพื้นเมืองอย่างหนึ่ง
สมัยโบราณ ไม่มีโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย คนสมัยก่อนอยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่างสันติสุข เพราะเชื่อฟัง เคารพซึ่งกันและกัน
จึงขอกล่าวถึงคนสมัยโบราณ มีอะไรหลายอย่างที่คนรุ่นใหม่ควรรู้จักเอาไว้ เพราะคนโบราณส่วนมากเขาจะเอาธรรมชาติมาสอนกัน อาจจะเป็นเพราะสมัยนั้นความเจริญทางวัตถุหรือปัญญายังอ่อนก็ไม่รู้จึงอาศัยธรรมชาติ ก่อนอื่นจะพูดถึงเรื่องการทำบุญอ้ายเดือนยี่ ภิกษุเข้ากรรม เดือนสาม บุญปั้นข้าวจี่ เดือนสี่ บุญพระเวสสันดร เดือนห้า ตรุษสงกรานต์ เดือนหก บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด บุญซำฮะ เดือนแปด บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า บุญข้าว ประดับดิน เดือนสิบ บุญข้าวสารท เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา เดือนสิบสอง กองมหากฐิน เราจะสังเกตว่าคนสมัยโบราณเขาจะทำบุญกันทุกเดือน และก็เวลามีบุญต่างๆ ก็จะมีหนุ่มสาวมาในงานเยอะแยะ โดยเฉพาะบุญเดือนสี่ หรือที่เราเรียกว่า บุญมหาชาติหรือบุญพระเวสสันดร เวลาจะมีบุญพระเวสสันดร ผู้ใหญ่บ้านก็จะตีขอลอ (เกราะ) ประชุมกันที่วัด โดยมีเจ้าอาวาสวัดเป็นประธาน แจ้งให้ทราบในการทำบุญปีที่ผ่านมาถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ และจะพูดถึงการทำบุญพระเวสสันดรปีนี้ว่าจะใส่กี่บ้าน (ทำหนังสือนิมนต์พระมาเทศก์มหาชาติที่บ้าน) และก็จะแบ่งกลุ่มชาวบ้านต้อนรับแขกและพระที่มางาน ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายก็จะทำตูบ (ปะรำ หรือ เพิงหมาแหงน) ต้อนรับชาวบ้านอื่นตามที่จับสลากได้ โดยจะทำรอบๆรั้ววัดพอถึงวันงาน พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ก็จะมาพักตามปะรำที่ชาวบ้านจัดให้ และเลี้ยงดูกันเต็มที่ ถึงเวลาเย็นก็จะพากันไปอาบน้ำตามห้วย หนอง ใกล้บ้าน โดยผู้ชายจะนุ่งผ้าขาวม้า ผู้หญิงจะนุ่งกระโจมอกลงอาบเลย ถึงเวลาเย็นจะนำอาหารเลี้ยงกัน อาหารคาวหวานที่ขาดไม่ได้คือ ขนมจีนน้ำยาสาโท สมัยนั้นถ้าจะมีงานก็จะขออนุญาตนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ทำสาโทได้ หลังจากทานอาหารกันเรียบร้อย ก็จะพากันไปฟังหมอลำ สมัยก่อนส่วนมากจะมีลำพื้นหรือลำกลอน ลำพื้นจะลำคนเดียว จะเป็นชายหรือหญิงก็ได้จะลำตามนิทานต่างๆ เช่น นางคำกอง ท้าวสังข์ศิลป์ชัย กำพร้าผีน้อย โดยอาศัยผ้าขาวม้าเป็นสื่อแสดงเป็นชายแก่จะผ้าขาวม้าพาดบ่า เป็นชายหนุ่มจะผูกเอว เป็นหญิงจะทำสไบเฉียง ถ้าเป็นตัวโกงจะเอาผ้าขาวม้าคาดหัว ส่วนหมอลำกลอนจะลำ ๒ คน เรียกว่า หมอลำประชัน คือ ลำแบบอวดความรู้กัน ลำแบบถามกัน ถ้าใครแก้ไม่ได้จะแพ้ ส่วนมากจะลำเกี่ยวกับงานนั้นๆ ฝ่ายหนึ่งถามฝ่ายหนึ่งตอบถ้าใครแพ้ทางเจ้าภาพคนฟังก็จะนำบ่วงมาทำท่าคล้องคอ ฝ่ายที่ชนะก็จะได้รับช่อดอกไม้ (ทำจากดอกฝ้ายหรือหาดอกไม้ตามธรรมชาติ) ส่วนตามตูบหรือปะรำต่างๆ ก็จะมีหนุ่มสาวมีแสงกระบอง หนุ่มสมัยก่อนจะนุ่งผ้าโสร่ง หญิงสาวจะนุ่งผ้าซิ่นไหมข้างบนตรงเอวจะต่อหัว ข้างล่างจะต่อ[:->จกที่มีลวดลายต่างๆ หญิงสาวจะกินหมากเวลาดูคุณสมบัติหญิงสาว ให้ดูผ้าถุงสีขาวที่สาวใส่ซ้อนข้างในว่าสะอาดหรือสกปรก ดูคุณสมบัติชายให้ดูมือว่าหยาบกร้านไหม ถ้าหยาบกร้านก็จะเป็นคนขยันทำมาหากิน ฝ่ายเจ้าหนุ่มก็จะมี ๒ ประเภท คือ บ่าวแท้และบ่าวเทียม บ่าวแท้คือ ชายหนุ่มที่ยังไม่แต่งงาน บ่าวเทียมคือหนุ่มที่แต่งงานแล้ว พวกหนุ่มๆ ก็จะเดินดูตามตูบต่างๆ ว่าสาวตูบไหนสวยกว่ากัน อย่างน้อยหนุ่มๆ ก็จะเดินคนละ ๒-๓ รอบ ถ้าตูบใดสาวสวยกว่าพวกหนุ่มๆ ก็จะพากันไปคุยสาวที่นั่น แล้วจะคุยกันเป็ยผญา คำแรกมักจะถามขึ้นว่า
ช. อยู่บ้านได๋น้องหล่า คนสวยบอกอ้ายแน่ ไกลและใกล้ประมาณได้กี่วา
ญ. ไกลบ่ใกล้พอไก่บินตก นกบินข้ามงัวความขีนข่วย (คนสมัยก่อนไม่มีกิโลเมตร จึงใช้คำว่า วาไก่บินตก คือ ไก่บินไม่ถึง นกต้องบินผ่านเลย งัวความขีนข่วยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายร่วมกันแสดงว่าไม่ไกลเท่าไหร่)
ช. โอน้อน้องเอ๋ย พี่ขอถามข่าวข้าวนาหนองน้องเบิ่งแน่ปีกลายได้สี่ร้อยห้าร้อยปีนี้ได้ถ่อได๋๑๐



สังคมคนโบราณ อาศัยคำสอนของพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นข้อวัตรปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนให้อยู่ในศีลกินในธรรม คนที่เรียนหรือเข้าใจหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาและมีความสามารถในการถ่ายทอด เป็นคำผญาได้ ก็นำคำสั่งสอนนั้นมาผูกเป็นผญา ใช้อบรมสั่งสอนญาติโยมกุลบุตรกุลธิดาลูกในบ้านหว่านในสวน เป็นการถ่ายทอดด้วยคำพูด จากปากต่อปาก จดจำเล่าขานกันมา หรือมีผู้นิยมเรียกกันในเวลาต่อมาว่า เป็น “มุขปาฐา”
คนสมัยก่อนจึงเป็นอัจฉริยะชนทางด้านวรรณกรรม ยากที่จะหาบุคคลรุ่นหลังขึ้นเปรียบเทียบในความสามารถในการแต่งผญาเป็นคำสอนเช่นคนรุ่นก่อนได้

รูปแบบของคำผญา

ผญา เป็นบทร้อยกรองสั้น ๆ ของอีสาน เมื่อพิจารณาถึง รูปแบบแล้วจะเห็นว่ามี 3 ประเภทคือ
1. ประเภทที่มีสัมผัส หรือใช้คำคล้องจองกัน
2. ประเภทที่อาศัยเสียงสูงต่ำ และจังหวะในการออกเสียง
3. ประเภทที่มีสัมผัส เสียงสูงต่ำและจังหวะในการออกเสียง ประสมกัน

เนื้อหาของคำผญา

เมื่อพิจารณาถึงด้านเนื้อหาของผญา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. ผญาภาษิต ได้แก่ คติสอนใจ ปริศนา เช่น "ครันเจ้าได้ชี่ช้างกั้งฮ่มเป็นพญา อย่าสิลืมชาวนาผู้ขี่ ควายคอนกล้า"
2. ผญาอวยพร เช่น
"นอนหลับให้เจ้าได้เงินหมื่น นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน แบนมือไปให้ได้แก้วมณีโชติ โทษฮ้ายอย่ามาพาล มารฮ้าย อย่ามาเบียด"
3. ผะหยกเกี้ยว (หญาย่อย ผญาเคือ) เช่น
"ครันอ้ายคึดฮอดน้องให้เหลียวเบิ่งเดือนดาวสายตา เฮาสิก่า กันอยู่เทิงฟ้า"

 

 

 

 

 

1.ผญาคำสอน

  1. คันได้กินลาบซิ้นอย่าลืมแจ่วแพวผัก         ได้กินพาเงินพาคำอย่าลืมกระเบียนฮ้าง
  1. คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข        อย่าได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
  1. คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา                   อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
  1. คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน                        อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง
    แปล  ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง
  1. เกลี้ยงปากทางไหทางในเป็นปลาแดก          เกลี้ยงปากบั้งขังข้อปากกะทอ
  1. เกลี้ยงฮอดใบ                                               ใสฮอดลูก

เกลี้ยงฮอดเข้าปลูก                                       เกลี้ยงฮอดเข้าปัดลาน

  1. กาบ่มักท่าน้ำสมุทรหลวงกะบ่ว่า                  กาบ่มักท่าน้ำกะตามถ้อนช่างกา
  1. กินแกงแข้คางกะแจปากบ่ลั่น                       กินกะท้างคางกระด้างปากบ่เป็นชั้นบ้อ
  1. เก้าสิฆ่าสิบสิฆ่าให้เอาแก่นคะยูงตี                อย่าได้เอาบาลีต่อยตีตางฆ้อน
    แปล                จะฆ่าให้ตายก็ฟาดด้วยไม้เนื้อแข็ง อย่าตีด้วยความรู้เลย
  1. เก้าสิฆ่าสิบสิฆ่าให้เอาแก่นคะยูงตี                มาซ่างเอาหัวใจตีเน่านูมในเนื้อ
    ตายกะบ่ตายแท้พอทรงวิบาก                       อยากกะกินบ่ได้คาแค้นคั่งทวง
    ขอให้หาหมอส้องทำขวัญให้แน่ จั่งสิหายพยาธิฮ้ายคายส้องบ่ให้เสีย
    แปล                จะฆ่าให้ตายก็ฟาดด้วยไม้เนื้อแข็ง อย่าตีด้วยความรักความสงสารเลย

11.  ใจประสงค์สร้าง                                           กลางดงกะว่าท่ง

ใจขี้คร้าน                                                           กลางบ้านกะว่าดง
แปล                ถ้าใจสู้ (ขยัน) อยู่กลางป่าดงก็เหมือนกลางทุ่ง ถ้าเกียจคร้านแม้อยู่กลางหมู่บ้านก็เหมือนในกลางป่า

  1. ใจบ่โสดาด้วยเว้าแม่นกะเป็นผิด                  ใจบ่โสดาดอมเว้าดีกะเป็นฮ้าย
    แปล                แม้นไม่สบอารมณแล้วจะพูดอย่างไรก็ไม่มีทางถูกใจได้
  1. ตีเจ็บแล้วแสนสิออยกะปานด่า                     แม่นว่าเว้าจ้อยจ้อยกะปานไม้แดกตา
    แปล                เมื่อถูกตีเจ็บแล้วจะปลอบประโลมปานใดก็ไม่หายเจ็บ
  1. อย่าสุไลเสียถิ้ม                                             พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า

อย่าสุละเผ่าเซื้อ                                            ไปย่องผู้อื่นดี
แปล                อย่าได้ลืมญาติพี่น้องของตัวเอง ไปยกย่องว่าผู้อื่นดีกว่า

  1. เชื้อชาติแฮ้ง                                                                  เหม็นสาบกันเอง

ปูสอนปูให้ย่างตรง                                                     ห่อนฤสิทำได้
แปล                ตัวอย่างที่เลวหรือจะทำให้ผู้อื่นทำดีได้

16.  หญิงฮูปฮ้าย                                  ครองวัตรพางาม

ชายฮูบทราม                                 วิชาพาฮุ่ง
แปล                หญิงแม้รูปชั่ว แต่จริยาวัตรทำให้งดงามได้ ชายแม้รูปทราม วิชาติดตัวก็ส่งให้เจริญรุ่งเรืองได้

  1. ความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง             ไผก็แขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดังเดียว
    แปล                ความตาย ติดตามเหมือนเงาตามตัว ไม่มีผู้ใดหลุดพ้น
  1. ไปหาพระให้เอาของไปถวาย                   ไปหานายให้เอาของไปต้อน
  1. เดินทางบ่อสุดเส้น                                      อย่าถอยหลังให้เขาเหยียบ

ตายขอให้ตายหน้า                                     พุ้นเขาสิเอิ้นว่าหาญ
แปล                นักสู้ต้องสู้ไม่ถอยให้ตายอย่างวีรบุรุษ

  1. คนผู้มีความฮู้                                              ซูซีเฮ็ดบ่แหม่น

ความฮู้มีท่อแผ่นฟ้า                                    เป็นบ้าท่อแผ่นดิน
แปล                มีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด

  1. ให้เจ้าคอยเพียรสร้าง                                 เสมอแตนแปงซ่อ

ให้สร้างก่อสืบไว้                                         เสมอเผิ้งสืบฮัง
แปล                ให้ขยันสร้างตัวเหมือนผึ้งสร้างรัง

  1. การงานนี้                                                      อุปสรรคแสนหมู่

เกิดเป็นคนต้องสู้                                        อย่าถอยร่นหลีกหนี
แปล                เกิดเป็นคนต้องหนักเอาเบาสู้

  1. บุญ บุญนี้บ่แหม่นของแบ่งได้                   ปันแจกกันแหล่ว

บ่อห่อนแยกออกได้                                    คือไม้ผ่ากลาง
คือจั่งเฮากินข้าว                                          เฮากินเฮาอิ่ม

บ่แหม่นไปอิ่มท้อง                                      เขาพุ้นผู้บ่กิน
แปล                บุญ ผู้ใดสร้างผู้นั้นได้รับ ไม่สามารถแบ่งปันได้เหมือนสิ่งของ เหมือนข้าวผู้ใดกินผู้นันอิ่ม

  1. ไผผู้เฮียนฮ่ำฮู้                                               วิชาปราชญ์ทางใด

ก็ให้มีใจจด                                                   เผิ่งวิชาที่ตนฮู้
แปล                เรียนรู้ให้เชี่ยวชาญเป็นวิชาเลี้ยงตัว

  1. ขอให้อดสาสู้                                                เพียรไปให้ถืกป่อง

คุณอาจารย์ยกใส่เกล้า                                คนิงไว้อย่าสิลืม
แปล                อดทนสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ยกย่องคุณอาจารย์

  1. ให้เจ้าเอาความฮู้                                          หากินในทางชอบ

ความฮู้มีอยู่แล้ว                                          กินได้ชั่วชีวัง
แปล                มีความรู้อยู่กับตัวหากินอย่างสุจริตได้ชั่วชีวิต

  1. คันว่าได้ดีแล้ว                                             อย่าลืมคุณพ่อแม่

เผิ่นหากเลี้ยงแต่น้อย                                                 ถนอมให้ใหญ่สูง
แปล                ได้ดีแล้วอย่าลืมบุพการี

  1. ตกกะเทินว่าได้เฮียนแล้ว                          สิเฮียนเหมิดสู่ซ่อง

เฮียนให้เผิ่นได้ย่อง                                     เหมิดถ้วนคู่สู่แนว
แปล                มีโอกาสได้เรียนแล้วต้องเรียนให้รู้จริงทุกอย่าง

  1. ตกกะเทินว่าได้สู้                                         บ่ถอยหลังให้เขาว่า

นับแต่มื้อสิก้าว                                            ไปหน้า บ่ถอย
แปล                เมื่อได้สู้แล้วไม่มีถอยให้ใครดูถูกได้

  1. ฝนตกยังฮู้เอื้อน                                          นอนกลางคืนยังฮู้ตื่น

ความทุกข์ยังฮู้เตื้อง                                    มีขึ้นเมื่อลุน
แปล                ฝนตกยังซาได้ นอนหลับยังรู้ตื่น ความทุกข์ก็มีโอกาสกลายเป็นสุขในวันข้างหน้า (ถ้าพยายาม)

  1. คำสอนพ่อแม่นี้หนักเกิ่งธรณี                   ผู้ใดยำเยงนบหากสิดีเมือหน้า
    แปล                ผู้ใดเคารพคำสั่งสอนพ่อแม่จะเจริญก้าวหน้า
  1. ยามยังน้อยให้หมั่นฮู้เฮียนคุณ                 บุญเฮามีสิยศสูงเพียงฟ้า

แปล                ตอนนี้เรายังเด็กควรตั้งใจเรียนเข้าไว้

  1. ได้ขึ้นเฮือแล้ว                                              อย่าลืมแพป้องไม้ไผ่

ได้เป็นใหญ่แล้ว                                           อย่าลืมข้าผู้พลอย

  1. ชาติที่เงินคำแก้ว                                          มันบ่แหม่นของไผ

ผู้ใดมีใจเพียร                                               หากสิหลงหลอนพ้อ

  1. ไผผู้มัวเมาคร้าน                                         การงานตั้งต่อ

บ่มีวันสิพบพ้อ                                             เงินล้านค่าแพง

  1. ชื่อว่าโลกีย์กว้างเมืองคนมันบ่เที่ยง        มันหากเงี่ยงซ่อยง่อยคือค่อยตลิ่งของ
    ลางเทื่อแนวเด็กน้อยสอนคนหัวด่อน   ลางเทื่อลุกไพร่บ้านสอนท้าวพ่อพญา ก็มี
    แปล   โลกนี้ไม่เที่ยงหนอ วันนี้ลูกหลานอาจสอนพ่อแม่ พ่อเมืองยังต้องเชื่อชาวบ้าน
  1. ชื่อว่าแนวเด็กน้อย                      ตากอความคึดหม่อ

 ได้กอขอข้อหล่อ                        ความเว้าผัดอยู่ดาว

  1. เด็กน้อยมีความฮู้สองสามความมันก็อ่ง                               ผู้ใหญ่ฮู้ตั้งล้านก็อำไว้บ่ค่อยไข
    แปล                ความรู้มีเพียงน้อยนิด อย่าหยิ่งผยองอวดรู้
  1. ชื่อว่าแนวความเว้าของคนมันเกินง่าย                  ได้เทิงหงายและคว่ำความเว้าบ่อยู่ความ
    เขาฮักเขาก็ย่อง                                                            เขาซังเขาก็ว่า

คือดั่งบักเค้าเม้า                                                           หมาเฒ่าเห่าแต่เขา
คันเฮาทำดีแล้ว                                                            เขาซังก็ตามซ่าง

คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว                                                    หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง                                                           ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง

เขาสิติทั้งค่าย                                                               ขายหน้าก็บ่อาย

  1. ขุดดินดั้นประสงค์หาแต่บ่อนกิ่ว                            แนวสิ่วไม้ประสงค์ไง้แต่บ่อนบาง

 

2.ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป

  1. ฝันคืนนี้ฝันเป็นประหลาดต่าง                                ฝันว่าเสาเฮือนเนิ้งไปทางตะวันออก
    ฝันว่าปอกมีดโต้ตกน้ำล่องหนี                ฝันว่าธำมะรงเหลื้อมในมือกระเด็นแตก
    เกรงว่านาถเจ้าใจเลี้ยวจากเฮียม
    แปล                ฝันคืนนี้เป็นฝันประหลาด ฝันว่าเสาเรือนเอียงไปทางทิศตะวันออก ฝันว่าปลอกมีดตก   น้ำไหล ฝันว่าแหวนเพชรในมือหล่นแตก เกรงว่าจะเป็นลางร้ายหรือน้องจะจากไป
  1. ฝันคืนนี้ฝันเป็นประหลาดต่าง                                ฝันว่าช้างเผือกผู้พระอวนเจ้าขึ้นขี่คอ
    เฮียมก็ผันผยองขึ้นเทิงหัวช้างใหญ่        เฮียมกะหนีบ่ได้ ไกลเจ้าคืบวา
    แปล                ฝันคืนนี้ช่างประหลาด ฝันว่ามีช้างเผือกของหนุ่มบ้านอื่นมารับเอาน้องหนีไปไกลลับตา
  1. เว้าชู้ต่างบ้านปานฝากไข่ไว้                      นำกา ฝากปลาไว้นำแมว
    ฝากแหลวไว้นำไก่น้อย                              ฝากก้อยไว้นำหมาขี้เฮื้อน   มันสิม้ามเมื่อใด
    แปล                มีคนรักต่างบ้านก็เหมือนฝากไข่ไว้กับกา ฝากปลาไว้กับแมว ฝากเหยี่ยวไว้กับไก่ ฝากลาบก้อยไว้กับหมา ไม่รู้มันจะงาบเมื่อไร
  1. ว่าแม่นเสือกินรื้อสังบ่เห็นฮอยลาก         ว่าแม่นนาคกินรื้อสังบ่เห็นฮอยแก่
    หรือแม่นเงือกปากแหล้                              หรือแม่นแข้ปากกว้างเอาเจ้าเข้าเวิ่นวัง
    แปล                ถ้าว่าเสือกินทำไมไม่เห็นรอยลาก ถ้าว่านาคกินทำไมไม่เห็นรอยลาก หรืออาจเป็นเงือกหรือจระเข้เอาน้องไปซ่อนไว้หนใดหนอ
  1. สิบปีกะสิถ้าซาวพรรษากะสิอยู่                คันบ่ได้เป็นคู่เห็นแต่อุแอ่งน้ำกะปานได้นั่งเทียม
    แปล                สิบปี ยี่สิบปีก็จะรอน้องอยู่ ถึงไม่ได้เคียงคู่น้องมองเห็นแค่ตุ่มใส่น้ำก็เหมือนได้นั่งเคียง
  1. อย่าให้เสียแฮงอ้ายเดินทางหิวหอด                        คือดั่งม้าอยากน้ำเดือนห้าหอดหิว
    คันบ่กูรณาอ้าย                                                             เห็นสิตายม้อยระแหม่ง

เห็นสิตายหอดแห้งหิว                                              น้ำหอดแฮง
แปล                อย่าให้เสียแรงที่พี่ต้องดั้นด้นมาหา ได้โปรดกรุณารับไมตรีพี่ไว้อย่าแล้งน้ำใจนักเลย

  1. พี่สิลาจากน้องกลับต่างเคหัง                                   ปาสิลาวังเวินเสิ่นไปคือฮุ้ง

 ทุงสิไลลาผ้า                                                                สาหนองสิลาบวก

ฮวกสิลาแม่น้ำ                                                             นางน้องค่อยอยู่ดี แด่เนอ
แปล                พี่ต้องลาจากน้องไปแล้ว เหมือนปลาที่ลาจากน้ำ นกลาจากหนอง ขอให้น้องอยู่สุขสบายดีนะ

  1. พี่นี้บ่มีต้นกล้วยจึงได้เหนี่ยว                                   หาตอง บ่มีสองจิ่งได้มาหาน้อง
  1. พี่นี้ปลอดอ้อยซ้อย                                                     เสมออ้อยกลางกอ

กาบกะบ่ห่อ                                                                  หน่อน้อยกะบ่อซอน

ชู้บ่ช้อนเมียอ้ายบ่มี
แปล                พี่นี้ยังเป็นโสด ไร้คู่ใจเหมือนต้นอ้อยกลางกอ จึงได้มุ่งหมายมารักน้อง

  1. พี่หากใจประสงค์ปล้ำยูงยางไม้ใหญ่                       คันแม่นพร้าบ่บ่าน

ขวานบ่เป้ ไม้บ่ล้ม                                                       อวนอ้ายบ่เซา
แปล                พี่นี้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวแล้ว (รักน้อง) ว่าจะตัดต้นไม้ใหญ่ แม้นพร้าและขวานไม่บิ่น ไม้ไม่ล้ม (น้องไม่ตกลง) พี่นี้ไม่เลิกลา

  1. นกเขาตู้พรากคู่กะยังขัน                                           กาเวาวอนพรากฮังกะยังฮ้อง

น้องพรากอ้ายคำเดียวบ่เอิ้นสั่ง                                คันบ่เอิ้นสั่งใกล้ขอให้เอิ้นสั่งไกล
แปล                นกพรากคู่พรากรังยังร้องเพรียกหา แต่น้องจากพี่ไปไม่มีแม้คำร่ำรา

  1. ขันตีตั้งสัจจังหมั้นเที่ยง                                            บ่ได้คึดเบี่ยงเลี้ยวลวงล้อหลอกใผ

ปานใดเดสิได้จูงแขนเข้า                                           พาขวัญป้อนไข่หน่วย

มือขวาป้อนไข่อ้าย                                                     มือซ้ายป้อนไข่นาง
แปล                พี่นี่ตั้งใจมั่นรักน้องไม่เคยคิดเปลี่ยนใจ แล้วเมื่อไหร่หนอจะได้จูงมือน้องเข้าสู่หอ (พิธีบายศรีสู่ขวัญงานแต่งงานชาวอีสาน จะมีการป้อนไข่ต้มแก่คู่บ่าวสาว ดูรายละเอียดใน ไปเอาบุญบ้านเฮา ประเพณีสูตรขวน)

  1. คันบ่แน่บ่ยิง                                 บ่จริงอย่าเว้า

บ่เอาบ่ว่า รับฟ้าผ่า                       ห่าตำกะได้ ใจนั้นเที่ยงชัน
แปล                ไม่แม่นไม่ยิง ไม่จริงไม่พูด ไม่อยากได้ไม่ขอ ให้ฟ้าผ่าก็ได้ใจพี่นี้มั่นคง (รักน้องจริง ๆ)

  1. ข้าขออธิษฐานตั้งขอฝากพระไมติ์มิตร พันธนังติดหมื่นปีบ่ไลน้อง
    พี่นี้จงจิตข้องหมายตายเกิดฮ่วม     ขออย่าคละคลาดแคล้วคำหมั้นขอดสาร น้องเอย
    แปล                ขออธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะรักน้องจนตายแม้เกิดชาติหน้าหรือชาติไหน ใจพี่ยังมั่นคง นะน้องเอย
  1. ใจหนึ่งว่าอยากงมปลาปิ้งกลางทะเลให้เขาซ่า                     สาเด ใจหนึ่งว่าอยากถมแม่น้ำให้เป็นพื้นแผ่นเดียว
    แปล                อยากจับปลากลางทะเลมาปิ้งให้คนลือ อยากถมผืนแม่น้ำให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน (เพื่อน้องคนเดียว)
  1. ใจหนึ่งว่าอยากหย้อแม่น้ำให้เป็นแผ่นดินเดียว                   คราวสองคืนสามคืนอยากหย้อเป็นคราวมื้อ
    แปล                ใจอยากจะบีบแม่น้ำให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน อยากย่อวันเวลาลงมาเพื่อให้ได้ใกล้ชิดน้อง (คิดถึงมาก ไม่อยากห่างไกล)
  1. ใจประสงค์แล้วเมืองแกวกะดั้นฮอด                       ใจประสงค์ยอดแก้วในถ้ำกะก่นหา
    แปล                เมื่อมีใจรักน้องแม้จะอยู่แดนไกลเพียงใด ก็จะติดตามถามหา
  1. ไกลมื้อนี้                                       มื้ออื่นสิมาหา

ครั้นแม่นชีวายัง                          สิหมั่นมาหาเจ้า

แปล                พรุ่งนี้พี่ก็จะมา และจะมาน้องสม่ำเสมอหากน้องยังมีใจให้พี่

19.          ข้อยนี้คนขี้ฮ้าย                                    สิลี้อยู่คือกบ

                เห็นคนมา                                             ป่อมปิแลมลงน้ำ

20.          ครั้นเจ้ามีเฮือแล้ว                                อย่าลืมแพไม้ไผ่

                 มีใหม่แล้ว                                            อย่าลืมข้อยผู้ประสงค์

    แปล    หากเจ้ามีบ้านแล้วอย่าลืมแพที่เจ้าเคยอยู่ หากใจมีคนรักใหม่แล้วก็อย่าลืมพี่ที่เคยรัก

เจ้า

21.          ขันตีตั้ง                                                 สัจจังหมั่นเที่ยง

อย่าได้คิดเบี่ยงเลี้ยว           ลวงล้อหลอกใผ

22.          ข่อยนี้คนไฮ้                         คนเกกลางกาด

คือดั่งฝากระตาดฮ้าง          กลางเมืองเกลือกขี้ดิน นั่นแหล่ว

23.          ข่อยนี้คือจั่งไก่ผู้น้อย         พอแต่ก่อเฮียนขัน

 ตบปีกขึ้น                             ตนโตกะยังอ่อน

24.          ข่อยนี้คือดั่งเชื้อชาติแอ้ง    เหม็นสาบกุยผง

บ่แม่นแนวหงส์ดำ              สิห่อนเทียมพระจันทร์

25.          เกลี้ยงแต่นอก                      ทางในเป็นหมากเดื่อ

หวานแต่ทางนอกเนื้อ        ในส้มจั่งหมากนาวแท้น้อ น้องเอ้ย

แปล        รูปร่างหน้าตาก็งาม แต่นิสัยใจคอนี้น่าไม่งามเลย

26.          เกลี้ยงแต่ปากเจ้าเว้า           ใจเจ้าเล่าโงคด

ใจขดไปโงมา                        เปรียบดั่งงูลอยน้ำ

แปล        ปากเจ้านี้หวานนัก แต่ใจเจ้าทำไมคด ดั่งงูกำลังว่ายน้ำ

27.          เกลี้ยงฮอดใน                       ใส่ฮอดกระดูก

เกลี้ยงฮอดลูกอ่อนน้อย     หลานสิห้อยกะบ่มี

28.          ไกลไปหน้า                           บ่มีวันสิมาจวบ

มื้อสิบมื้อ                               ไปหน้าผัดแห่งไกล

29.          ไกลไปหน้า                           บ่คืนมาของเก่า

เฮ็ดผิดกะแม่นเจ้า               เว่าบ่ฟังกะแม่นเจ้า

เอาแต่ใจกะแม่นเจ้า             อยากเห็นข่อยให้เบิ่งหมอน น้องเอ๊ย

30.          ข่อยนี้บ่ได้โสดาด้วย          นำกระบวยหมากพร้าวแก่

หมากพร้าวอ่อนมีบ่แพ้      สิฟันเรื่อยเกื่อยลง

 

 

 

 3.ผญาปัญหาภาษิต

  1. กากินปลิงไปคาคอแฮ้ง                              เฮือคาแก้งไปล่มเคิ่งวัง
  1. กกบ่เตื้องติงตายตั้งแต่หง่า                       หง่าบ่เหลื่องไปเตื้องแต่ใบ
  1. กรรมสังโอ้ โอทองสังมาแตก                    บาดกะโป๋หมากพร้าวสังมาหมั้นกว่าโอ
  1. เก้าสิฆ่าสิบสิฆ่าให้เอาแก่นคะยูงตี           อย่าได้เอาบาลีต่อยตีตางค้อน
  1. เก็บเห็ดให้เจ้าแงงลงห้วย                         อยากได้ผักผีพวยให้เจ้าแงงลงบุ่ง
  1. อยากได้กุ้งพายข้องขึ้นหง่ายาง               อยากเป็นขุนนางเกือกขี้หมิ่นหม้อ
    อยากเป็นคนชั่วให้เข้าวัดจำศีล
  1. คึดเลิ้กๆ                                         คือปลาซิวลอย

คึดตื้นๆ                                         คือบัวยื้อหยั่ง

  1. คึดให้มันถ่องถองบาลีให้มันแตก           เคี้ยวแหลกๆ เสียแล้วจั่งค่อยกลืน
  1. ไซหลังหล่าบ่หมานปลาถืกแต่เต่า          ไปยามแต่เช้าคลำพ้อว่าแม่นโพน
  1. ใดๆ มีแต่หญ้าทางหน้าไซมีแต่ยุ้งฮากไผ่                ทางในมีแต่ยุ่งคือกุ้งสิแก่นดี
  1. ตาดีไปคล้องซ้างสามคืนมาเปล่า            ตาบอดไปคล้องคราวมื้อขี่มา
  1. บ้านเมืองข่อนขุนกวานยาดไพร่             เมืองขวาได้ไก่โจ้นเมืองซ้ายได้ไก่ยอง   เมืองซองได้ไก่แจ้                                คราวนี้แพ้ไพร่เมือง
  1. เป็นสังพากันโตนลงน้ำหากินตั้งแต่เต่า                 สังบ่ขึ้นโคกกว้างหาช้างค่าแพง
  1. ไปบ่กลับ                       หลับบ่ตื่นฟื้นบ่มี

หนีบ่ม้ม                        ก้มบ่หวิด

  1. ผัดแต่เป็นมันอีอ้อนไผกะซอนเสียมใส่                 ผัดแต่เป็นมันอีมู้ไผกะหิ้วกะต่ากาย
  1. ผักหมเหี้ยนกลางทางเจ้าอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ         บาดห่าถอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเกิน
  1. ไม้ลำเดียวล้อมฮั้วบ่ข่วย           ไพร่บ่พร้อมแปลงบ้านบ่เฮือง
  1. สั้นข้อหล่อมือยื้อบ่เถิง              สูงเจวเววชั่วสามวาฮี้น
  1. สองเขือเฒ่าเฮ็ดนากลางโคก                    ปีบ่โชคได้สาม

 ปี่งามได้สี่ ปีบ่ได้ดี้ๆ                                   ขายให้สู่คน

  1. หาบบ่หนัก                                                   ตักบ่เต็ม

เค็มบ่จืด                                                        มืดบ่แจ้ง

  1. อัศจรรย์ใจแข้หางยาวบ่ได้ฮองนั่ง          บาดกระต่ายหางก้อมๆ สั่งมาได้นั่งฮอง
  1. ให้เอายาวไว้คือกาคาบเต่า                        อย่าได้เฮ็ดอุ้งปุ้งคือฮุ้งคาบงู
  1. ให้เอายาวไว้คือศิลป์ชัย                             ฟันไฮ่ ปีนี้ป้ำ ปีหน้าจั่งฮอน
  1. กำขี้ดีกว่ากำตด                                           หำหดดีกว่าโคยเสียก
  1. บ่เป็นนายอย่าเว้าการเมือง                        บ่ได้ตดใส่ผ้าเหลืองอย่าเว้าการวัด
  1. สนุกในเมืองฟ้ามีแต่แดดกับฝน               สนุกในเมืองคนมีแต่กินกับสี้
  1. บ่ได้น้องชาตินี้สิหนีไปบวชเป็นสงฆ์     ทงสิกขาอยู่กุฏินอนแล้ง
  1. เอาให้หัวโคยแห้งเถิงยามแลงตักน้ำจุ่ม                                 ให้สุ่มอยู่เรื่อยความแห้งบ่ให้มี
  1. เชือกสามวา                  ล่ามช้าง

อย่าอวดอ้าง                                 ว่าโตดี

                                       เชื้ออึ่งเผ้า                       ความเว้าฆ่าโต

  1. เฮาผู้น้อย ให้ค่อยเพียรถาม       คนสิงาม

หย้อนความอ่อนน้อม                คิดอ้อมป้อม บ่มีไผชม

 

4.ผญาเกี่ยวกับศาสนา – ศีลธรรม

  1. ครันสิคอย                                            ตั้งแต่บุญมาค้ำ

ครันบ่ทำ                                               กะบ่แม่นดอกดี้

คอยแต่บุญส่งให้                                 มันสิได้บ่อนใด๋

คือจั๋งเฮามีอาหารไว้                           บ่เอามากินมันบ่อิ่ม

มีลาบครั่นบ่เอา                                   ข้าวคุ้ย ทางท้องบ่อิ่มเต็มได้แล้ว

  1. ต่างคงกินข้าว                             ภาษาสังมาต่าง

 ต่างคนต่างอาบน้ำ                             สังมาเกลี้ยงต่างกัน

  1. บังฮุกสุกคาต้น                                    บ่หวานท่อเอาลงบ่ม

คนอื่นบ่มให้                                         บ่ท่อได้บ่มเอง

  1. โตบุญนั้น                                              หัวดำก้นก่าน

โตบาปนั้น                                             หัวโล้นห่มเหลือง

  1. บ้านใกล้ครั่ง                                         ย้อมครั่งบ่แดง

ยามมื้อแลง                                           ฝิงแดดบ่อุ่น

สอดจุ้มกุ้ม                                            มืองุ้มบ่เถิง

  1. หญิงฮูปฮ้าย                                          ครองวัดผางาม

ชายฮูปทราม                                         วิชาพาฮุ่ง

  1. มีศีลที่ละ                                               เป็นพระที่ใจ
  1. คนดีจั่กถึกฟ้อง                                   ฆ้องดีตีจั่งดัง
  1. ครันเจ้ากินเนื้อแล้ว                            กะให้ห่วงคุณหมา แด่เน้อ

บาดห่าโจรมันมา สิเพิ่ง                      หมาดำน้อย อยู่เด้อ

10.  ใจประสงค์ตั้ง                                      ฟังธรรมพระเจ้าเทศน์

บ่ได้โยกเยกย้าย เสมอช้างเขื่อน       โขลง ดอกนา

      11.    ใจประสงค์สร้าง                                  ศีลธรรมเฮียนฮอบ

                พอปานได้หน่วยแก้ว                         แยงแล้วเปิดบ่เป็น เจ้าเอย

      12.    คนเฮานี้                                                                คือกันทั้งโลก

 เกิดแล้วกลับต่าวปลิ้น                                      ตายเมี้ยนคู่ซู่คน

13.          ชื่อว่าแนวความฮู้                 ศีลธรรมพระเจ้าใหญ่

ครันแม่นเฮียนได้แล้ว        สิเป็นแก้วแก่นมโน

14.          ศาสนาสองพันห้า               กรายมามันต่าง

สังฆะเจ้า                               วันมื้อบ่ถีกกัน

15.          หลัวและฟึน อ                     ย่าเอาฮองนั่งสูง

 เซื้อนั่งตั่ง                             อย่าได้นั่งสูง

เซื้อลุงตา                              ให้ยำปานแก้ว

16.          อย่าได้คึดกอบเกื้อ               กรรมบาปหนักหนา

ให้เอาบุญเป็นสหาย            อ่วมเฮือนเอียงซ้อน

17.          ย้านต่ำค้อยทำบาปทำกรรม              ย้านบ่ยำในครองศีลห้า

ไปภายหน้าทำโทษใส่โต                     เป็นโมโหบาปเวรบ่ย้าน

18.          เฮือสิหลับ                                             กะมาหลับเมื่อจอด

 ตาสิบอด                                              กะมาบอดเมื่อเถ้า

19.          สิบชิ้น                                                    บ่ห่อนท่อโตปลา

สิบลุงอาว์                                             บ่ปานพ่อและแม่

20.          เชื้อชาติแฮ้ง                                          เหม็นกุยฮอดกระดูก 

 แม่นสิปลูกดอกซ้อน                         เทียมข้างกะบ่หอม

21.          เงินคำแก้ว                                            หาทางบ่อแม่น

แม่นสิก่อธาตุหุ้ม                                 กวมไว้กะบ่ยัง

22.          ใหญ่ย้อนกินข้าว                                  เฒ่าย้อนเกิดดน

23.          หนูกินม่อนจั่งเห็นคุณแมว               ลูกแขวนแอวจั่งคุณพ่อแม่

24.          มันเล่นเสียความฮู้                              มักเล่นชู้เสียหลัก

 เที่ยวยามท่านมักเสียของ                 คันปากหลายมักเสียความ

คำผิดนั้นย่อมเป็นโทษ                       อย่ากริ้วโกรธจาสะหาวความ

สิ่งเหล่านี้บ่ดีดาย

25.          แก่หูหวาย                                             แก่ดายตอก

 แก่หยอกหลาน                                   แก่หายป่า

 แก่จ่าแห                                                แก่แก้วแก่ขวด

แก่แดดแก่ลม                                        แก่สมสินสร้าง

แก่อ้างตำรา                                           แก่ศีลภาวนาเข้าวัด

26.          ฮักษาศีลเอาไว้                                     ภาวันนาเฮ็ดใจเที่ยง

 สลึงเดียวกะบ่ได้ซื้อ                          เสียเงินซ้ำจั่งแม่นบุญ 

สมถะวิปัสสนาพร้อม                        เป็นการไกลกิเลศ

ละให้หลุดลดให้เกลี้ยง                     ผลได้นิพพาน

27.          ยำผีเถ้า                                                  ยำเจ้ายืน 

ครูยำศิษย์                                             ศิษย์ยำครู

ผู้ใหญ่                                                    ยำผู้น้อย 

ผู้น้อย                                                    ยำผู้ใหญ่

ลูกยำพ่อแม่                                          จั่วดีแท้แล

28.          ศีลธรรมพาเฮาดีได้                            ควรตัดสินใจน้อมเข้าเพิ่ง

รัตนะพระไตรหน่วยแก้ว                  แนวพายั้งอยู่จั่งเย็น 

รัตนะพระไตรหน่วยแก้ว                  แนวพายั่งอยู่จั่งเย็น

ไผ่บ่ถือศีลธรรมพระพุทธเจ้า           เป็นคนเสียชาติเปล่า 

ไผ่บ่เซื้อธรรมพระพุทธเจ้า               ตายทีมค่าอยู่ไส

29.          บัณฑิตล้ำ  ทรงธรรมทัดเที่ยง          ก็หากหายากแท้ ในพื้นแผ่นดิน

บาดว่าคนชั่วฮ้าย                                หินะโหดแนวพาล

มันหากมีมูนมอง                                ทั่วดินแดนด้าว

30.          โลกนี้มันหากวนเวียนเกี้ยว              สงสารกลับเกิด

ไผสิว่าไผเลิศล้ำ                                  คำนั้นบ่ควร

 ลางเทื่อเฮาดีแล้ว                                ภายหลังกลับชั่ว

ลางเทื่อได้ชั่วแล้ว                               ไปหน้าผั้นเล่าดี 

 

5.ผญาเกี่ยวกับการถ่อมตน การรู้จักประมาณตน

  1. ครั้นเจ้าได้ขี่ช้าง                                  อย่าลืมหมู่หมูหมา 

 ห่าขโมยมาเฮือน                                สิเห่าหอนให้มันย่าน 

บัดห่ากวางฟางเต้น                            ตามทางสิได้ไล่ 

บัดห่าได้ต่อนชิ้น                                 ยังสิได้อ่าวคุณ

  1. ครั้นเจ้าได้ขี่ช้าง                                  อย่าลืมหมู่งัวควาย 

มันหากคูณคนทาง                             ต่างดีคนก้ำ 

ช้างหากดียามเข้า                                สงครามได้ขี่ 

ดีเมื่อเข้าเขตห้อง                                นครกว้างอาจอง

  1. ครั้นเจ้าได้กินชิ้น                                อย่าลืมแห่งคุณหมา 

ขโมยบ่ซอบลัก                                     คอบหมานอนเฝ้า  

อย่าได้ลืมคุณเจ้า                                  แมวอีดำโตเกิดก่อน 

ถงใหญ่หนูบ่ย้ำ                                     ปางนั้นคอบแมว นั้นแหล้ว

  1. ครั้นเจ้าได้ขี่ม้า                                    อย่ากั้งห่มแฮแถม  

ย้านเจ้าเภท์ฟังตก                                ถือตอตำต้อง

  1. ฮู้ว่าบุญโตหน่อย                                 สมภารโตมันต่ำ 

แม่นสิหักไม้ค้ำปล้ำไม้ยู้                     ชูได้กะบ่เถิง

  1. โตบุญหน่อย                                          คือหอยตามคราด     

วาสนาต่ำเตี้ย                                        หลบลี้อยู่เดียว

  1. ศิษย์ควบยำแยงย้าน                           ครูบาพ่อแม่  

เถ้าแกเด้กน้อยเจ้า                               เหลนควรย้านยำเกรง

  1. เฮาเป็นศิษย์ควรฮู้                               บูชาครูผู้สอน  

 เฮ็ดตามคำบอกไว้                              ศิษย์สิได้ฮุ่งเฮือง

9.       ลูกที่ดีควรต้อง                                     นบน้อมบังคม    

คุณบิดามารดา                                      ผู้พาเพียรเลี้ยง

10.    เฮาผู้น้อย                                               ต้องคอยตามหลังผู้ใหญ่

  ตามก้นทัน                                          หมาอ้ายบ่กัด

11.    เชื่อฟังท่าน                                           เกิดก่อนคุณหลาย    

หญิงและชาย                                         จื่อจำเอาไว้

12.    สิบเบี้ยอยู่ฟากฟ้า                                อย่าโอ้อ่าวคะนิงหา  

 สองสลึงมามือ                                    ให้คอยกำไว้

13.    หมาหวงก้าง                                        กระโถนเทเขาถอก  

 บาดได้กินซากก้าง                             ลืมเชื้อชาติโต

14.    หมาหลงเจ้า                                         อย่าจงใจฮักห่อ   

สิเป็นดั่งมอดบุ่นไม้                             กะจวนแห้ง  มุ่นผง

15.    เห็นว่าเงินคำล้น                                  เต็มถงอย่าฟ้าวอง  

ลางเทือถงขาดก้น                               สิจนฮ้ายเมื่อลุน

16.    อย่าได้ทำเพศเพี้ยง                             เสียงเพศอึ่ง   

มันหากเหลือแต่ฮ้อง                          ความเว้าข้าโต

17.    อย่าได้มั่วเมาเหล้น                             การพนันเบี้ยโบก  

ลางเทื่อโชคบ่ให้                                  ถงเป้สิขาดกลาง

18.    ครั้นเจ้าได้ขี่ช้าง                                   กั่งฮ่มเป็นพระยา 

อย่าได้ลืมเสนา                                    ผู้แห่นำตีนช้าง

19.    วาสนาเฮาหน้อย                                 คนพลอยหน้สก่ำ 

อยู่ไปตามเพศพื้น                               บ่หวังซ้อนผู้เพิ่มมี ดอกนา

20.    แนวว่าคนจนไฮ้                                  อนาถาทุกข์ยาก  

แสนสิมาเหนียวน้อม                         เหมิดมื้อกะเปล่าตาย  ละนอ

กากะต้องไปฮ่วมซ้อน                        กาพุ้นจั่งแม่นแนว ซั่นบ่

       21.ให้ค่อยตักค่อยค้อน                               สิเห็นต่อมแกงปลา

 ให้ค่อยวิคค่อยสา                               อย่าเซาวางไว้  

ครันหากเป็นตาหย้ำ                            ให้ทำกินฟ้าวฟัง 

 อย่าได้นั่งเค้าเม้า                                                  มั่วเว้าบ่ดี

      22.    แนวนามข้อย                                       บักห้อยนาหน้าต่ำ 

มันบ่สมส่ำเซื้อ                                    เครือเจ้าชาติหงส์ ดอกดี้

     23.     บ่ได้ลัยลาซิ้น                                       หนีไปกินปลาแดกอึ่ง

 บ่ได้ละต่อนซิ้น                                  ไปกินก้อยอ่อมกระแต  ดอกนา

     24.     มาหลูตนกาเด่                                     อยากเทียมหงส์ตระกลูใหญ่ 

แต่ว่ากาจั่งข้อย                                    มันแสนต้อยต่ำสกุล

     25.     มาหลูตนโตข้อย                                                 หักใจห้ามบ่อยู่  

ปากข้อยว่าบ่ฮักเจ้า                                             แต่ใจข่อยบ่ห่างหนี

    26.      มาหลูตนหนูเด่                                                                    อยากกินนมแมวหม่าว  

ของศัตรูแท้แท้                                                       สิกินได้จั๋งใด

    27.      เฮาผู้น้อย                                                              ให้ค่อยเพียรถาม 

คนสิงาม                                                               หย้อนความอ่อนน้อม  

คิดอ้อมป้อม                                                         บ่มีไผ่ชม

    28.      เพิ่นชังโตหมั่นเทียวไปเว้า                                บ้านสูญเศร้ามีเถ้าหลายคน

อยู่หลายคนมันดีกว่าน้อย                                 เว้าจ้อยจั้นมันอุ่นมันนัน

    29.      เพิ่นอยู่ดินให้เฮานั่งเว้า                                      เป็นผู้เถ้าให้เฮายำเยง 

ใจนักเลงอย่าเอามาใช้                                        เพิ่นเอ้นใส่ให้รีบขานจา 

อย่าหัวซาคำด่าพ่อแม่                                        อย่าใจแวฮักฮีตคำสอน

30.          เชือกสามวา                                                          ล่ามช้าง 

 อย่าอวดอ้าง                                                        ว่าโตดี  

เซื้ออึ่งเผ่า                                                             ความเว้าฆ่าโต


ผญาอีสาน

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

konbandon Icon บทนำของโครงการ อ่าน 449 9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon นิทานก้อม อ่าน 1,289 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon บทเพลงแห่งท้องนา อ่าน 1,088 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon การประดิษฐ์เกี่ยวข้าว อ่าน 4,746 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon ลำล่องมหาแดงลืมโต อ่าน 1,850 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon ผญาอีสาน อ่าน 16,378 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon หมอลำพันปี อ่าน 741 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา