กฎการทำงานเป็นทีม Rules and Guidelines for Teams

uttaradit profile image uttaradit

การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิด ความเห็นที่เป็นอิสระ ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง ตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน
                                       
 พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


     การทำงานเป็นทีม หมายถึง  กระบวนการสร้างและปรับปรุงกฎระเบียบและเกณฑ์ในการทำงานร่วมกันการที่บุคคลหลายคนทำงานร่วมกันโดยมีความพึงพอใจในการทำงานนั้น เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
๑.  ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม
     ๑.๑   สมาชิกทุกคนต้องรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงาน  และมีความสำนึกผูกพันที่จะร่วมปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างจริงจัง
    ๑.๒   สมาชิกของทีมรู้ถึงความรู้  ความสามารถ  และพฤติกรรมของตนเองและของเพื่อนร่วมทีมของตนเป็นอย่างดี
    ๑.๓   สมาชิกในทีมรู้กระจ่างถึงบทบาทของตนในการทำงานร่วมทีมและแสดงบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม
    ๑.๔   มีกฎ  ระเบียบ  และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมและคุ้มครองให้สมาชิกได้ปฏิบัติร่วมกันได้อย่างมีผลดี  ปลอดภัย  และราบรื่น
    ๑.๕   มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีในระหว่างสมาชิก
    ๑.๖    มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อขจัดปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

    ๑.๗    มีวิธีการที่สมาชิกร่วมปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน
    ๑.๘    มีวิธีการที่ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอในการสร้างความรู้สึกในระหว่างสมาชิกให้มีสำนึกในความเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน
    ๑.๙    มีวิธีการทำงานที่ดี
    ๑.๑๐  มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการร่วมทำงานอยู่เสมอ
๒.  หลักปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม
    ๒.๑    มีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ
    ๒.๒    ยึดมั่นในความถูกต้อง
    ๒.๓    ใช้หลักการประนีประนอม
    ๒.๔    ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ
    ๒.๕    มีสำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน
    ๒.๖     ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
    ๒.๗    เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก
    ๒.๘    ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว  แต่ต้องดีร่วมกันทั้งทีม
    ๒.๙     รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา
    ๒.๑๐  เปิดใจกว้างระหว่างกัน
    ๒.๑๑   รู้จักแบ่งงาน  และประสานงาน
    ๒.๑๒  มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร



    ๒.๑๓  ถือการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ
    ๒.๑๔  ยอมรับผิดเมื่อทำผิด
    ๒.๑๕  เมื่อมีความขัดแย้งต้องถือหลักการปรับมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ให้มองในมุมมองเดียวกันได้
๓.   การสร้างทีมงาน
    ผู้นำและนักบริหารสามารถสร้างทีมงานได้เป็นอย่างดี  ถ้าใช้เทคนิคในการสร้างคนด้วยการสร้างความมุ่งหมายที่จะให้บรรลุเป้าหมายของงาน   โดยมีความมุ่งมั่นอยู่ที่ประโยชน์ของงานและประโยชน์ของตนเองประกอบกัน  แล้วสร้างมนุษย์

สัมพันธ์ในระหว่างบุคลากรที่ร่วมเป็นทีมงาน ให้มีสำนึกที่จะร่วมกันสร้างผลงานให้สำเร็จเป็นหนึ่งเดียว  โดยจะต้องปฏิบัติดังนี้
          ๓.๑     ผู้บริหารจะต้องรู้จักตนเองก่อน แล้วปรับตนเองให้เหมาะแก่การที่จะเป็นหัวหน้างาน
                           ๓.๑.๑  การปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนมีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรอื่น ๆ  อย่างไร
                           ๓.๑.๒  การปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนมีพลังอำนาจที่จะควบคุมและคุ้มครองผู้ร่วม
งานอื่น ๆ ได้อย่างไร
                          ๓.๑.๓  บุคลิกภาพของตนมีจุดเด่นอะไรที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่องานและต่อผู้ร่วมทีมงานได้บ้าง  และจะใช้ได้อย่างไร
                          ๓.๑.๔  จุดอ่อนของตนเองมีอย่างไรบ้าง   และจะปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของตนเองสำหรับการร่วมกันทำงานเป็นทีมได้อย่างไร
           ๓.๒     รู้จักและเข้าใจสมาชิกทุกคนที่ร่วมทีมงาน
                          ๓.๒.๑    ความใฝ่ฝันและเป้าหมาย รวมทั้งค่านิยมของแต่สมาชิกละคนที่ร่วมทีมงาน
                          ๓.๒.๒   วิธีการจูงใจที่จะนำมาใช้ได้ผลต่อสมาชิกแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน
                          ๓.๒.๓   สำนึกในตนเองของสมาชิกแต่ละคนต่องานที่จะเข้าร่วมปฏิบัติเป็นอย่างไร
                          ๓.๒.๔   ประสบการณ์ในอดีตของแต่ละคน
                          ๓.๒.๕   สมาชิกมองหัวหน้าทีมของตนด้วยทัศนคติอย่างไร
           ๓.๓     การประสานความเข้าใจในการทำงานในประเด็นต่อไปนี้
                          ๓.๓.๑   ทบทวนและตอกย้ำความสามารถและประสบการณ์ของทีมที่เคยประสบ
ความสำเร็จมาแล้ว เพื่อสร้างเสริมสำนึกแห่งความภาคภูมิใจ
                         ๓.๓.๒    ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของทีมงาน
                         ๓.๓.๓  การเคารพและให้ความสำคัญต่อกันระหว่างเพื่อนสมาชิกผู้ร่วมทีม
                         ๓.๓.๔  ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของทีม
                         ๓.๓.๕  ความสามัคคีในทีม
                         ๓.๓.๖  กำลังขวัญของทีม
                         ๓.๓.๗  การยอมรับบทบาทของหัวหน้าทีม
          ๓.๔     กุศโลบายในการสร้างเสริมสำนึกในการทำงานร่วมกันเป็นทีม
                        ๓.๔.๑   สร้างเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจในระหว่างสมาชิกผู้ร่วมทีม
                        ๓.๔.๒  สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนกันและกัน
                        ๓.๔.๓   สร่างเสริมระบบและวิธีการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน
                        ๓.๔.๔   กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันของทีม
                        ๓.๔.๕   แสวงหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาขัดแย้งในแนวทางประนีประนอม


                         ๓.๔.๖   ส่งเสริมให้สมาชิกของทีมระดมพลังความสามารถของตนมาใช้ประโยชน์
เพื่อสร้างผลงานของทีมให้ดียิ่งขึ้น
                         ๓.๔.๗   มีวิธีการในการควบคุมและคุ้มครองที่ดี
                         ๓.๔.๘   สร้างเสริมสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่มีลักษณะสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
๔.   ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
      ๔.๑    กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของงาน
      ๔.๒   รวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
      ๔.๓    กำหนดนโยบาย
      ๔.๔    กำหนดลักษณะงาน และแบ่งสรรสัดส่วนงานและทรัพยากรที่จะต้องใช้
      ๔.๕    วางแผนงาน  กำหนดกรอบขอบเขตของงาน  รวมทั้งเงื่อนเวลา
      ๔.๖     มอบหมายงานตามความถนัดของสมาชิกในทีม
      ๔.๗     ติดตามสำรวจการปฏิบัติงาน  ในบางส่วนก็ควรได้รับการตรวจสอบในรายละเอียด
      ๔.๘     ทบทวนผลการดำเนินงาน เมื่อถึงกำหนดเวลาที่จะต้องทบทวน  เพื่อปรับแผนงานตาม
สมควร
      ๔.๙     ประเมินผลงานเมื่อเสร็จ  แล้วแจ้งให้สมาชิกร่วมทีมทราบ เพื่อความภาคภูมิใจและถ้ามี
สิ่งใดที่สมควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไปได้ก็จะตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ 
๕.  การทำงานร่วมกันระหว่างทีม 
     ๕.๑     กำหนดวิธีการทำงานระหว่างทีมแบบบูรณาการ 
     ๕.๒     กำหนดวิธีการมอบหมายงานเป็นที่ยอมรับ
     ๕.๓     กำหนดวิธีการทำงานที่ได้รับมอบหมายในการทำงานแบบรวมทีม
     ๕.๔     กำหนดการตรวจสอบว่าใครตรวจสอบและใครเป็นผู้ที่อนุมัติการทำงาน
     ๕.๕     มีมาตรการและวิธีการรายงานความคืบหน้าของงานและของทีม
     
ทีมงานสร้างผลสัมฤทธิ์
ขั้นที่หนึ่ง      เป็นหนึ่งเดียวกัน  (ONENESS)
ขั้นที่สอง      ประชุมสม่ำเสมอ
ขั้นที่สาม      สื่อสารทั่วถึง  และหาแนวร่วม
ขั้นที่สี่      นำเสนอเป็นระยะ
ขั้นที่ห้า       พบปัญหา  ทบทวนใหม่  (เป้าหมาย  วัตถุประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหมาย)
ขั้นที่หก      ประเมินตรวจสอบเป็นระยะ
ขั้นที่เจ็ด     ตรวจสอบความรู้สึก ความคิด สร้างบรรยากาศร่วมกันในการทำงาน

 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 917 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา