อินเตอร์เน็ตคืออะไร

cl_km profile image cl_km
อินเตอร์เน็ตคืออะไร
ความคิดเห็น
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน  เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
guest profile guest

อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

 

guest profile guest
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
แหล่งที่มา http://www.thaiall.com/article/internet.htm
guest profile guest

อินเตอร์เน็ตคืออะไร

อินเตอร์เน็ตเป็นคำย่อของคำว่า interconnected networks อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลก ประกอบไปด้วยเครือข่ายระหว่างประเทศ เครือข่ายภายในประเทศ และเครือข่ายส่วนภูมิภาค เครือข่ายทั้งหมดของอินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้โดย URL การบริการที่เป็นที่รู้จักของอินเตอร์เน็ต ได้แก่ e-mail , chat , แฟ้มเก็บเอกสารสาธารณะ (FTP) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WWW อินเตอร์เน็ตนั้นเชื่อมต่อกับ usenet ซึ่งใช้ประโยชน์ในกลุ่มของผู้สนทนา คุณจำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์ชนิดพิเศษในการใช้บริการอินเตอร์เน็ต เนื่องจากบางโปรแกรมของซอฟแวร์เหล่านั้นใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้บริการ และไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ต แต่สายข้อมูล (data line) ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันนั้น มีองค์การโทรศัพท์ทั้งของเอกชน และของรัฐบาลเป็นเจ้าของ คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้ทุกๆหัวข้อในอินเตอร์เน็ต และเนื้อหาของอินเตอร์เน็ตไม่ถูกแบ่งออกเป็นแต่ละประเภท

ประวัติความเป็นมาและการพัฒนาของ WWW

WWW ได้พัฒนาขึ้นที่ CERN (Conseil Europeen pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยนักฟิสิกส์ชื่อ Tim Berners-Lee จุดมุ่งหมายของการพัฒนา คือการส่งและจัดการข้อมูล

ในปี 2537 ได้มีเว็บไซต์เกิดขึ้นประมาณ 500 เว็บไซต์ และในต้นปี 2538 ได้มีเว็บไซต์ประมาณ 10,000 เว็บไซต์ ในปี 2538 บทความเกี่ยวกับเครือข่ายเว็บได้ถูกโฆษณาลงสื่อมากกว่าหัวข้ออื่นๆ ทุกวันนี้มีเว็บไซต์มากกว่าพันล้านเว็บไซต์ และมีเว็บไซต์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกวัน

guest profile guest

อินเตอร์เน็ตคืออะไร

อินเตอร์เน็ตเป็นคำย่อของคำว่า interconnected networks อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลก ประกอบไปด้วยเครือข่ายระหว่างประเทศ เครือข่ายภายในประเทศ และเครือข่ายส่วนภูมิภาค เครือข่ายทั้งหมดของอินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้โดย URL การบริการที่เป็นที่รู้จักของอินเตอร์เน็ต ได้แก่ e-mail , chat , แฟ้มเก็บเอกสารสาธารณะ (FTP) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WWW อินเตอร์เน็ตนั้นเชื่อมต่อกับ usenet ซึ่งใช้ประโยชน์ในกลุ่มของผู้สนทนา คุณจำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์ชนิดพิเศษในการใช้บริการอินเตอร์เน็ต เนื่องจากบางโปรแกรมของซอฟแวร์เหล่านั้นใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้บริการ และไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ต แต่สายข้อมูล (data line) ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันนั้น มีองค์การโทรศัพท์ทั้งของเอกชน และของรัฐบาลเป็นเจ้าของ คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้ทุกๆหัวข้อในอินเตอร์เน็ต และเนื้อหาของอินเตอร์เน็ตไม่ถูกแบ่งออกเป็นแต่ละประเภท

ประวัติความเป็นมาและการพัฒนาของ WWW

WWW ได้พัฒนาขึ้นที่ CERN (Conseil Europeen pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยนักฟิสิกส์ชื่อ Tim Berners-Lee จุดมุ่งหมายของการพัฒนา คือการส่งและจัดการข้อมูล

ในปี 2537 ได้มีเว็บไซต์เกิดขึ้นประมาณ 500 เว็บไซต์ และในต้นปี 2538 ได้มีเว็บไซต์ประมาณ 10,000 เว็บไซต์ ในปี 2538 บทความเกี่ยวกับเครือข่ายเว็บได้ถูกโฆษณาลงสื่อมากกว่าหัวข้ออื่นๆ ทุกวันนี้มีเว็บไซต์มากกว่าพันล้านเว็บไซต์ และมีเว็บไซต์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกวัน

guest profile guest

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไป เครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้ กฏเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Protocol) จนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตราฐานการเชื่อมต่อเดียวกันทั้งหมดเรียกว่า "ทีซีพี/ไอพี" ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยี สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบสลับวงจร และสลับข้อมูล 

แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com/roomnet/roomnet46/IT46_7/index.html-doc1.htm
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
guest profile guest

อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

1 อินเทอร์เน็ตคืออะไร

อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลกอินเทอร์เน็ต (Internet)
มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จากตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่งหมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet (ตัว I ใหญ่) จะหมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต คืออะไร
    อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
      IP (Internet protocal) Address
      คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
      ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
      IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
      1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
      1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
      1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214




      ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

      ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ

      ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. (Communication Authority of Thailand: CAT) เทเลคอมเอเชีย (TelecomAsia) และ ดาต้าเน็ต (DataNet) โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก

      ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย

      ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ

      การให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูล เข้า-ออก ของประเทศไทยโดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)

         การทำงานของอินเทอร์เน็ต

      การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP

      (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

      เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

        โดเมนเนม (Domain name system :DNS)

      เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการ

      ตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข

      โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ

      .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ

      .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา

      .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ

      .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

      .net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย

      การขอจดทะเบียนโดเมน

      การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน

      การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ

      1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net

      2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net

      โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย

      .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย

      .co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย

      .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล

      .net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย

      .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

      .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป

        การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

      1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)

      การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัย

      คู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้ 
เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร

 

 


อ้างอิง http://www.thaiall.com/internet/internet02.htm 

http://202.143.137.109/araya/int.html

guest profile guest

อินเทอร์เน็ต
 (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน



 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

  1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
  2. สนทนา (Chat)
  3. อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
  4. การติดตามข่าวสาร
  5. การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
  6. การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
  7. การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ
  8. การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
  9. การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
  10. การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)
  11. การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
  12. โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
  13. การอับโหลดข้อมูล
  14. อื่นๆ


 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.463 พันล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2551) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรป ร้อยละ 26.3 และอเมริกาเหนือ ร้อยละ 17.0 แต่หากจัดลำดับจำนวนผู้ใช้ตามประเทศ ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 253 ล้านคน

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7



อ้างอิง  http://th.wikipedia.org

guest profile guest
ความหมายของอินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันมาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอลที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission ControlProtocol/InternetProtocol)
ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลกในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัวและไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่าการติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติหรือ Cyberspace


เครือข่าย คือ ชื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์บนสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้มข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kloyjai&month=01-2008&date=11&group=2&gblog=2


guest profile guest

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

 

guest profile guest
อินเตอร์เนต : คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น
อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต

 

กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เนต

 

อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว
guest profile guest
อินเตอร์เน็ตคืออะไร

อินเตอร์เนต
: คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น
อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต

 

กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เนต

             อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว

อ้างอิง

http://www.thaiware.com/

guest profile guest

 

อินเตอร์เน็ต (Internet) คืออะไร ?

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากนำเอาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกันโดยใช้ข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหรือใช้ภาษาสื่อสารหลัก (Protocol) เดียวกันคือTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
2. เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เกือบทุกประเภท
3. เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของคนทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก
4. เป็นสื่อ (Media) เผยแพร่ข้อมูลได้หลายประเภท เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโทรทัศน์, สื่อวิทยุ, สื่อโทรศัพท์ เป็นต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากนำเอาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกันโดยใช้ข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหรือใช้ภาษาสื่อสารหลัก (Protocol) เดียวกันคือTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เกือบทุกประเภท เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของคนทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก เป็นสื่อ (Media) เผยแพร่ข้อมูลได้หลายประเภท เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโทรทัศน์, สื่อวิทยุ, สื่อโทรศัพท์ เป็นต้น

 

อินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือเรียกโดยย่อว่า " ไอที" ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บ รวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้อง ใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสารในการทำงานประจำวันอินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำ ให้เราเข้าถึงข้อมูล ได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็น แหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆของโลกได้อย่าง รวดเร็ว กว่าสื่ออื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าว ได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร


อินเตอร์เน็ตและเวิลด์ ไวด์ เว็บ
อินเตอร์เน็ต (internet) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า Net หรือ Information Superhighway หรือ Cyberspaces อินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เครือข่ายเป็นที่รวบรวมคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายที่เกี่ยวข้องกันโดยใช้สารสนเทศร่วมกัน รัฐบาล บริษัท และองค์การต่างๆ จะตอบสนองด้วยเครือข่ายของตัวมันเอง สารสนเทศส่วนใหญ่บนอินเตอร์เน็ตจะบริการให้เปล่า รัฐบาลมหาวิทยาลัย วิทยาลัย บริษัทต่างๆ แต่ละแห่งทั่วโลก ได้จัดสารสนเทศให้เปล่าเพื่อการศึกษาและความบันเทิงของสาธารณะชน ถ้าส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ตล้มเหลว สารสนเทศจะพบเส้นทางใหม่รอบคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไป เริ่มแรกคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นอินเตอร์เน็ต ได้เชื่อมต่อกับรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาและสถาบันของเครือข่ายป้องกันประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างวิธีการที่เชื่อถือได้สำหรับแพร่กระจายสารสนเทศในเหตุการณ์เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินของชาติ ในไม่ช้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เข้าร่วมกับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากบุคคลต่างๆ ได้รับแรงกระตุ้นอย่างมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของระบบใหม่ สำหรับใช้สารสนเทศร่วมกันและการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ของอินเตอร์เน็ตใหม่เหล่านี้ ได้แก่ วิทยาลัยหลักๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ และสถาบันวิจัยทั่วโลก ขณะนี้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่กำลังเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน เร็วๆ นี้ อินเตอร์เน็ตใหม่เป็นร้อยๆ จะเข้าถึงการเชื่อมโยงกับสารสนเทศทั่วไปในราคาต่ำ และการบริการออนไลน์ (online) ของธุรกิจหลัก ขณะนี้ได้ช่วยให้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงลูกค้าทั้งหมดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมาก


อ้างอิงhttp://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/Internet/whatinet.html
guest profile guest
Internet คือ อะไร

อินเตอร์เน็ตคืออะไร

ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน

                การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น

 ความหมายของอินเตอร์เน็ตอินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

  คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง

                1.  การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)

                2.  มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์

                3.  มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต

                การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่

                อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ

                เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ

                1.  การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

                2.  อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้

                3.  อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้

                คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace

 อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

 

อ้างอิง http://help.rtu.ac.th/index.php?option=com_kb&Itemid=33&page=articles&articleid=12

guest profile guest
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
อ้างอิง http://thaigoodview.com/node/1467
guest profile guest
ประวัติความเป็นมา
2. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (Internet Advantage)
1. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2. ความบันเทิง (Entertainment)
3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commerce)
4. การศึกษา (Education)
3.
เอกสารจาก Nectec เยอะมาก
4.
อินเทอร์เน็ต...เข้าใจง่าย 66 หน้า (PDF)
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)
ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย ลำปาง
(หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และแก้ไขในทันที -
E-Mail)

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)
ประวัติความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

แหล่งอ้างอิง http://www.thaiall.com/article/internet.htm
guest profile guest
อินเทอร์เน็ตคืออะไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์
จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol)
เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน
เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา)
กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการ
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้
ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธ
นิวเคลียร เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วน
ถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัย
และพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)
และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า “อินเทอร์เน็ต” (Internet)
ในปัจจุบัน


แหล่งที่มาhttp://school.obec.go.th/kudhuachang/les01.htm
guest profile guest


ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต  คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ  จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา  องค์กร  หน่วยงานทั้งทางราชการ  และเอกชน  ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ  มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

  ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม  ของสหรัฐอเมริกา ในปี  ค.ศ. 1969  ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า  ARPA  (Advanced  Research  Project  Agency )  เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จึงมีชื่อเรียกว่า  อาร์พาเน็ต  (ARPANET)  เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร  โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า    DARPA  ต่อมา  ARPA  ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่  ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ  TCP/IP  ( Transmission  Control  Protocol / Internet  Protocol )  และเมื่อปี ค.ศ. 1989  มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น  จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต  (Internet)

  อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นได้เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530  ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลักษณะการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นครั้งคราว  และใช้โมเด็มความเร็วเพียง  2,400  บิตต่อวินาทีเท่านั้น  ต่อมาปี  พ.ศ. 2535  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก  โดยมีความเร็ว  9,600  บิตต่อวินาที  และต่อมาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ   (NECTEC)  ก็เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ  โดยเครือข่ายนี้มีชื่อว่า  ไทยสาร  ซึ่งให้บริการทางการศึกษาและวิจัย

  ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต

ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต  คือ  สิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของเราได้  ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต  ได้แก่

1.      เวิลไวด์เว็บ  (World  Wide  Web  : WWW )

2.      โกเฟอร์ (Gopher)

3.      เทลเน็ต (Telnet)

4.      เวย์ส(WAIS } Wide  Area  Information  Sevice )

5      อาร์ชี ( Archie)

 

World  Wide  Web  : WWW

เป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยให้ผุ้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปข้อความหลายมิติ  WWW  มีคุณสมบัติดังนี้

-       User – Friendily  ที่ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ บนหน้าจอ  และเข้าถึงส่วน ต่าง ๆ  บนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งที่ยุ่งยาก

-       เอกสารในรูปมัลติมิเดีย  โดยแต่ละหน้าเว็บเพจจะประกอบด้วยสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร  ตัวเลข  สัญลักษณ์กราฟิก  ภาพ  วีดีโอและเสียง

-          มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้และ  Server

Gopher

เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่มี WWWโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา(Minnesota) จุดประสงค์ก็เพื่อค้นหาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต การค้นหาสารสนเทศทำได้โดยการพิมพ์คำหรือวลีลงไประบบจะค้นหาถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาแสดงบนหน้าจอในรูปของข้อความ  ปัจจุบัน  Browser  ก็ช่วยให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ  Gopher

Telnet

            เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง  โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็น Client ของTelnet 

(Telnet จะใช้กับเครื่องเมนเฟรมซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย  แต่เครื่องเมนเฟรมนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง )

WAIS (Wide  Area  Information  Service )

            เป็นเครื่องมือในการค้นหาฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต  โดยระบบนี้จะมีวิธีดำเนินการที่ทำให้ผู้ใช้เห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว

Archie

            ระบบนี้เป็นการค้นหาข้อมูลโดยใช้ขั้นตอนของการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล  ผู้ใช้จะต้องเข้าไปค้นหาก่อนว่าข้อมูลที่ตนเองต้องการนั้นเก็บอยู่สถานที่ใดจากนั้นจึงจะเข้าไปค้นหาที่สถานที่ที่ต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่อไป

 

 

 

      เว็บบราวเซอร์  (Web  Browser )

Web  Browser  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น  WWW  ซึ่ง  Web  Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง  เว็บเซิร์ฟเวอร์  หรือ  โฮสต์  เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ

Web  browser  เป็นเครื่องมือทีใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ ข้อดีของ  Web  Browser  สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงาม  มีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ  ภาพ และระบบมัลติมิเดียต่าง ๆ  ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความ   น่าสนใจมากขึ้น  ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน

             ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

                        ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต  ได้แก่

-       ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่เรียกว่า    E – Mail (Electronics  mail)  ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่น ๆ

-          แหล่งค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่  เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  หรือเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดสาธารณะนั่นเอง

-          แหล่งรวมโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ  มาใช้ได้  โดยมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย

-          การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่  หรือจากสถานที่ที่ระยะทางอยู่ห่างไกลกัน

-          ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกันโดยผ่านทางแป้นพิมพ์และจอภาพ

-          แหล่งรวมความบันเทิงต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป้นภาพยนต์  ดนตรี  และเกมที่สามารถเล่นโต้ตอบกันผ่านทางเครือข่ายได้

-          เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายทางธุรกิจ  ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก  ก็คือ  E – Commerce

 

 ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต

            ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต  ได้แก่

-          ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น  เพราะจะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้ง

 

-       จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้  ผู้ใช้จึงค่อนข้างเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์

ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต

-          อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้  เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ

-       หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เอง ได้  เช่น เว็บไซด์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล  เป็นต้น

       ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต

 

มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ          โปรโตคอล  ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า  TCP/IP

 TCP/IP  คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต  ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ  ไอพีแอดเดรส  (IP  Address )  เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง  ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด  (.)  เป็นสัญลักษณ์แบ่ง      ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255

ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ  เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต  จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง  ไอพีแอดเดรส  เช่น  202.44.202.3

ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน  แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก  จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส  โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน  และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท  องค์กร  เช่น  nasa.gov  เป็นต้น

ความหมายของโดเมนเนม  ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นได้จำแนกเป็น  6  ประเภท

1.   .com                      -           กลุ่มองค์การค้า (Commercial)

2.    ede                                   -           กลุ่มกี่ศึกษา (Education)

3.      .mit                         -           กลุ่มองค์การทหาร (Military)

4    .net                                    -           กลุ่มองค์การ  บริการเครือข่าย (Network  Services)

5     .org                                    -           กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)

6     .int                         -           หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

(International)

ตัวอย่าง เช่น

www.ipst.ac.th  เป็นเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคดนโลยีซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา  จึงใช้โดเมนย่อยเป็น .ac  และ .th  หมายถึง  Thailand  นั่นเอง

ความหมายของโดเมนย่อยในไทย

”           .ac       สถาบันการศึกษา (Academic)

”           .co       องค์กรธุรกิจ(Commercial)

”           .or        องค์กรอื่น ๆ(Organization)

”          .net      ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก  (Networking)

”           .go       หน่วยงานของรัฐบาล(Government)

 

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้

1.      เครื่องคอมพิวเตอร์  CPU  Pentium  233  ขึ้นไป

2.      หน่วยความจำ  (RAM)  64  MB. ขึ้นไป

3.     ฮาร์ดดิสก์ความจุ  1.2  GB.ขึ้นไป

4.      จอภาพแบบ  SVGA

5.      โมเด็มความเร็วตั้งแต่  33.6  Kbps-56 Kbps

6.      โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ  1  คู่สาย

 

 

 

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป

จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา  เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า  โมเด็ม  (Modem )  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก  แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย  ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  หลุด”  ได้

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก

            จะใช้สาย  Lease  Line  ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน  การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์  การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก  หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา  เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก

            ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต

            -  ISP (Internet  Service  Provider )  หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด  สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร  หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก  ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว

-          การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน  จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ

             โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้

1.    ซื้อแบบ  Package มาทดลองใช้  ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น  3  เดือน  6  เดือน  เป็นต้น

2.    สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น  คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน  และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน  1  เดือน  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ

1.      ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง  เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่  WWW แต่ไม่ให้บริการ  E – Mail  เป็นต้น

 

2.      คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่  มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่

 สำนักงานอัตโนมัติ

สำนักงานอัตโนมัติ  เป็นการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้

-          พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

-       การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร  หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

-          การออกแบบต่าง ๆ  มีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น

-          มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice  Mail)

-          การประชุมทางไกล  (Video  Teleconference)

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Data  Interchange : EDI ) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง  เพราะ EDI เป็นการส่งเอกสารธุรกิจหรือข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับโดยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ EDI ต่างจาก  E – Mail  ตรงที่ว่า  การส่ง  E –Mail นั้นจะต้องดำเนินการโดยคนทั้งในการส่งและการรับ  แต่ EDI  นั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการเองโดยอัตโนมัติ

ประโยชน์ของ EDI  ก็คือ  ทำให้สะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร  ประหยัด แรงงานคนในการบันทึกข้อมูล และประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

 

9.4 ทางด่วนข้อมูล

ทางด่วนข้อมูล  (Information  Superhighway )  เป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก  สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้ว  โดยการวางเส้นใยนำแสงไปตามแนวทางรถไฟ  เพื่อใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์  แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ได้รับบริการครบทุกแห่งในประเทศไทย  ลักษณะของทางด่วนข้อมูล  คือ  การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง  (ข้อมูลในที่นี้หมายรวมถึงภาพและเสียงด้วย)

9.5 ระบบรักษาความปลอดภัย

 

-          สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ควรมีกำลังไฟสำรองที่สามารถทำงานแทนกำลังไฟฟ้าหลักทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

-       สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะต้องมีการรักษาความปลอดภัย  อย่างเข้มงวด  ควรจำกัดสิทะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่จะสามารถเข้า ออกได้ เป็นต้น

-       ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันมีไวรัสที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำลายระบบข้อมูลโดยตรง  ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมและเตรียมการป้องกันอยู่เสมอ

-       ข้อมูลจะต้องมีการสำเนาไว้  ไม่ว่าจะบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง หรือ ใช้ระบบสำรองข้อมูล  และถ้าข้อมูลมีความสำคัญมากก็จะต้องมีการจัดเก็บไว้ในสถานที่  2 แห่ง ขึ้นไป

-          มีการจำกัดสิทธิผู้ใช้ระบบ  โดยการกำหนดรหัสผ่านให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละระดับ






http://www.ndk.ac.th/E-learnning/webcom/lesson9.htm

guest profile guest
อินเตอร์เน็ตคืออะไร?
     เราอาจให้ความหมายได้ว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ความจริง แล้วอินเตอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายของเครือข่าย เพราะ อินเตอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมาก ต่อเชื่อม เข้าด้วยกันภายใต้ มาตรฐานเดียวกันจนเป็น สังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตทุก เครื่องใช้มาตรฐาน TCP/IP เดียวกันหมด อินเตอร์เน็ตสำคัญอย่างไร หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือเรียกโดยย่อว่า " ไอที" ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บ รวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้อง ใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญ อย่างหนึ่ง ในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสาร ในการทำงาน ประจำวันอินเตอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำ ให้เราเข้าถึงข้อมูล ได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเตอร์เน็ตเช่นกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็น แหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆของโลกได้อย่าง รวดเร็ว กว่าสื่ออื่นๆ อินเตอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่ สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าว ได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่าง หนึ่งใน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
อ้างอิง
learners.in.th/blog/rak18-2531/274298
-
guest profile guest

อินเตอร์เน็ตคืออะไร

อินเตอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่าย ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุก ๆ ด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาค้นคว้า ได้สะดวก รวดเร็วและ ง่ายดาย

 

 

TCP/IP : ภาษาสื่อสาร

การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงไว้ในระบบ จะสามารติดต่อกันได้นั้น ต้องมีภาษาสื่อสาร ที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแตกต่างกันตามระบบที่ใช้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในระบบต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกัน

ในระบบอินเตอร์เน็ตจะใช้ภาษาสื่อสารเดียวกันซึ่งถือว่าเป็นภาษามาตราฐานที่ชื่อว่า TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก ( Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นภาษาหลักที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อถึงกันได้

 ที่มาhttp://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5902.html 

 

 

 

guest profile guest
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

 

อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

 

 

 

 

การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้

ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก

ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand

กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

 

ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ

อ้างอิง  http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/menu2.htm

guest profile guest

อินเทอร์เน็ต (Internet)
                อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวง

กลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 
เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณ

เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทาง
ทหาร โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project  Agency)

ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุง
หน่วยงานจาก อาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency) 
ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ต

เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network)
ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol
/ Internet Protocol) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้าง
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า  NSFNET  และในปี 2533
อาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่ เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้

อาร์ปาเน็ตจึงได้ ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน

มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า
อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มี
เครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิ
คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
(AIT)
ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย  แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ
เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร
จนกระทั่งในปี พ.ศ.
2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

(NECTEC)
ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์

แห่งชาติ (NECTEC),  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการ
เข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ต
ในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็น
เครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชน
มีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิด
บริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบ
ของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการ-
อินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)

ที่มา  http://www.skn.ac.th/a_cd/java/tree/internet/history.html

guest profile guest


 

อินเทอร์เน็ต (Internet)
                อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทาง

ทหาร โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project  Agency)

ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก อาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency) ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network)
ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP
(Transmission Control Protocol
/ Internet Protocol)
เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า  NSFNET  และในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่ เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน
มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่าอินเทอร์เน็ต โดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย  แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการ-อินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)

ที่มา  http://www.skn.ac.th/a_cd/java/tree/internet/history.html

guest profile guest
      • อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร

    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)

     

    สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net

      Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง

      Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย

    เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

     

              อินเทอร์เน็ต เป็นคำที่รู้จักหรือได้ยินกันบ่อยครั้งมาก เว็บเพจต่อไปนี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และการใช้งาน เนื้อหาประกอบด้วย 9 ส่วน ได้แก่

    • อินเทอร์เน็ตคืออะไร?
    • ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
    • ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
    • เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร?
    • กลไกการทำงานของ SLIP/PPP
    • อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
    • ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต
    • บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต
    • โทษของอินเทอร์เน็ต

  • ผังแสดงการเชื่อมต่อ internet

อ้างอิงhttp://www.suriyothai.ac.th/library/teachershow/poonsak/ictinternet/index.html



ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด


อ้างอิง http://www.bcoms.net/article/historyinternet.asp

guest profile guest
อินเทอร์เน็ตคืออะไร

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

 

และยังนำเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน  เครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ กับการคุยกัคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ

 

 

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

 

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต
      เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

 

internet01.gif (14569 bytes)

อ้างอิง

-http://www.freewebs.com/chai99/page1.htm

-http://www.modify.in.th/Computer-With-Internet/id141.aspx

 

- http://www2.srp.ac.th/~tee/html/internet.htm

 

 

-http://www.bcoms.net/article/historyinternet.asp

 

guest profile guest

อินเตอร์เน็ต

                อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่าย

คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของ

อินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต

หรือ เน็ต

                อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการ

ทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ

เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่

อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับ

เวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบ

อินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

                ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง

โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ

TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใน

อินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

ระบบการสื่อสารกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

                อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทาง

ทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department )

เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม

 ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะ

ใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา

เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆเป็นอย่างมาก

                การเชื่อมต่อในแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การ

เชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยัง

ดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้

                ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความ

สนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail )

ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสาร

ความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก

                ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิง

พาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

                ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ

 จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 วิทยาเขตหาดใหญ่  ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบัน

เอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP )

ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต

 Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท

 DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่

อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดง

โซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand

                กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้น

เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้

เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่

อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

                ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT )

มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย

“ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่าย

อินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

                ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิก

ของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ไม่ได้ส่งข้อมูลเป็นชุดยาวๆ หากแต่

ส่งไปเป็นชิ้นๆ เป็นชุดๆ หรือเรียกกันทั่วไปว่า แพ็กเกต (Packet) แพ็กเกตจะถูกส่งไปตามสาย

เคเบิล เมื่อไปถึงผู้รับแล้ว แพ็กเกตจะมารวมกันเป็นข้อความยาวๆ เหมือนเดิม แต่ถ้าแพ็กเกตใดขาด

หายหรือตกหล่น คอมพิวเตอร์ก็จะตรวจสอบ และส่งแพ็กเกตมาใหม่ จนข้อมูลครบเหมือนเดิม

                การที่ข้อมูลจะถูกส่งถ่ายเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันใน

ระบบเครือข่ายนั้น จะมีปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสาร ทำให้ไม่อาจส่งถ่ายข้อมูลได้สะดวกจึงได้มีการพัฒนาภาษากลางสำหรับสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุก

ชนิดสามารถสื่อสารกันได้ ภาษาดังกล่าวเรียกว่า TCP/IP ย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol การวิ่งไป-มาของข้อมูลจะผ่านเส้นทางหลักที่เรียกว่า แบ็กโบน

 (Backbone) ผ่านทางเร้าเตอร์ (Router) ซึ่งเปรียบเสมือนบริษัทตัวการเส้นทางให้ข้อมูลเดินทางไป-

มาได้สะดวกและรวดเร็ว ถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย

 

อ้างอิง url :: http://school.obec.go.th/ckn/network2/new_page_6.htm

guest profile guest
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย
เดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยน
ข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะ
กลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันจนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษ
หน้า กล่าว คือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมาย คือให้
้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือ
ข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่าย
โทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ
เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วโลกไปตาม
ฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้ง
หน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโต โดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้
้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบ เปิดที่ใช้
้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบ
หนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET
ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้ ้ เทคโนโลยีการ
ีเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวฟ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้รวมทั้งยังบริหารง่ายคือผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความ ซับซ้อน
ของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศ
สหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
guest profile guest
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย
เดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยน
ข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะ
กลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันจนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษ
หน้า กล่าว คือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมาย คือให้
้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือ
ข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่าย
โทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ
เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วโลกไปตาม
ฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้ง
หน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโต โดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้
้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบ เปิดที่ใช้
้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบ
หนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET
ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้ ้ เทคโนโลยีการ
ีเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวฟ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้รวมทั้งยังบริหารง่ายคือผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความ ซับซ้อน
ของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศ
สหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
guest profile guest

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

guest profile guest
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

      อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

     ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

ะบบการสื่อสารกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

 

guest profile guest

อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากนำเอาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกันโดยใช้ข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหรือใช้ภาษาสื่อสารหลัก (Protocol) เดียวกันคือTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
2. เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เกือบทุกประเภท
3. เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของคนทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก
4. เป็นสื่อ (Media) เผยแพร่ข้อมูลได้หลายประเภท เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโทรทัศน์, สื่อวิทยุ, สื่อโทรศัพท์ เป็นต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากนำเอาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกันโดยใช้ข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหรือใช้ภาษาสื่อสารหลัก (Protocol) เดียวกันคือTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เกือบทุกประเภท เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของคนทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก เป็นสื่อ (Media) เผยแพร่ข้อมูลได้หลายประเภท เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโทรทัศน์, สื่อวิทยุ, สื่อโทรศัพท์ เป็นต้น

 

 

อินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือเรียกโดยย่อว่า " ไอที" ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บ รวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้อง ใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสารในการทำงานประจำวันอินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำ ให้เราเข้าถึงข้อมูล ได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็น แหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆของโลกได้อย่าง รวดเร็ว กว่าสื่ออื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าว ได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร


อินเตอร์เน็ตและเวิลด์ ไวด์ เว็บ
อินเตอร์เน็ต (internet) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า Net หรือ Information Superhighway หรือ Cyberspaces อินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เครือข่ายเป็นที่รวบรวมคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายที่เกี่ยวข้องกันโดยใช้สารสนเทศร่วมกัน รัฐบาล บริษัท และองค์การต่างๆ จะตอบสนองด้วยเครือข่ายของตัวมันเอง สารสนเทศส่วนใหญ่บนอินเตอร์เน็ตจะบริการให้เปล่า รัฐบาลมหาวิทยาลัย วิทยาลัย บริษัทต่างๆ แต่ละแห่งทั่วโลก ได้จัดสารสนเทศให้เปล่าเพื่อการศึกษาและความบันเทิงของสาธารณะชน ถ้าส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ตล้มเหลว สารสนเทศจะพบเส้นทางใหม่รอบคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไป เริ่มแรกคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นอินเตอร์เน็ต ได้เชื่อมต่อกับรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาและสถาบันของเครือข่ายป้องกันประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างวิธีการที่เชื่อถือได้สำหรับแพร่กระจายสารสนเทศในเหตุการณ์เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินของชาติ ในไม่ช้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เข้าร่วมกับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากบุคคลต่างๆ ได้รับแรงกระตุ้นอย่างมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของระบบใหม่ สำหรับใช้สารสนเทศร่วมกันและการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ของอินเตอร์เน็ตใหม่เหล่านี้ ได้แก่ วิทยาลัยหลักๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ และสถาบันวิจัยทั่วโลก ขณะนี้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่กำลังเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน เร็วๆ นี้ อินเตอร์เน็ตใหม่เป็นร้อยๆ จะเข้าถึงการเชื่อมโยงกับสารสนเทศทั่วไปในราคาต่ำ และการบริการออนไลน์ (online) ของธุรกิจหลัก ขณะนี้ได้ช่วยให้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงลูกค้าทั้งหมดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมาก


ที่มาhttp://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/Internet/whatinet.html
guest profile guest
อ้างอิง จาก guest เมื่อ 24/6/2553 22:47:00

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

      อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

     ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

ะบบการสื่อสารกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

 

ที่มา  krunuch.board.ob.tc/-View.php?N=13


guest profile guest
อินเตอร์เนต : คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น
อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต

 

กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เนต

 

อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว

 

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเตอร์เนต

 

ที่อยู่บนอินเตอร์เนต หรือ Internet Address จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ( User ) และ ชื่อของ อินเตอร์เนต ( Internet Name ) โดยจะมีรูปแบบคือ ....

 

ชื่อผู้ใช้@ชื่อของอินเตอร์เนต , yourname@domain.xxx

 

ตัวอย่างเช่น tick@mail.ksc.net จะหมายถึงว่า ผู้ใช้ ใช้ชื่อ tick เป็นสมาชิก ของศูนย์บริการ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ชื่อ mail ที่มีชื่ออินเตอร์เนตเป็น ksc.net.th หรือ thanop@thaiware.com หมายถึงว่าผู้ใช้ ใช้ชื่อ thanop เป็นสมาชิกของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น thaiware.com หมายเลขอินเตอร์เนต หรือ IP Address จะเป็นรหัสประจำตัวของคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เนต โดยหมายเลขนี้จะมีรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 4 ชุด ด้วยกัน ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ยกตัวอย่างเช่น 203.151.217.158 ครับ จะเป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง thaiware.com

 

ชื่ออินเตอร์เนต ( DNS : Domain Name Server ) จะเป็นชื่อที่อ้างถึง คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ อินเตอร์เนต เนื่องจาก IP Address เป็น ตัวเลข 4 ชุด ซึ่งเป็นที่ยากในการจำเป็นอย่างมาก และ ไม่ได้สะดวกต่อผู้ใช้ ซึ่ง DNS นี้จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็น mail.ksc.net.th , comnet3@ksc.net.th ( mail คือ ชื่อ คอมพิวเตอร์ , ksc คือชื่อ เครือข่ายท้องถิ่น , net คือ ซับโดเมน , th คือ ชื่อโดเมน )

 

ความหมายของโดเมน

 

สำหรับ ความหมายของโดเมน ในเครือข่าย อินเตอร์เนต ก็ได้จำแนกออกมาทั้งหมด 6 ประเภท ด้วยกัน คือ :
  • .com - กลุ่มองค์การค้า ( Commercial )
  • .edu - กลุ่มการการศึกษา ( Education )
  • .mit - กลุ่มองค์การทหาร ( Military )
  • .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย ( Network Services )
  • .org - กลุ่มองค์กรอื่นๆ ( Organizations )
  • .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ( International )
ถ้า สังเกตุดีๆ จะเห็นว่า ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เท่านั้น ที่จะมี โดเมน เป็นตัวอักษร 3 ตัว ในกรณีที่ ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทย ของเรา จะเป็นเพียงแค่ 2 ตัว เท่านั้น !!! เช่น microsoft.com ของประเทศ สหัรฐอเมริกา กับ ksc.net.th ของไทย นั่นเอง นอกจากนี้ ในบ้านเรามีการกำหนดชื่อโดเมน ขึ้นมา ใหม่ !!! อีก ด้วย อย่างเช่น internet.th.com จะหมายถึงว่า เครื่องที่ชี้ว่า internet อยู่ใน ประเทศไทย ( th ) และ เป็นบริษัททางการค้า ( com )

 

โดเมน ที่เป็นชื่อย่อของประเทศที่น่าสนใจ


CodeCName ( Thai )Name ( English )
.auออสเตรเลียAustralia
.frฝรั่งเศสFrance
.hkฮ่องกงHong Kong
.jpญี่ปุ่นJapan
.thไทยThailand
.sgสิงค์โปร์Singapore
.ukสหราชอาณาจักรUnited Kingdom
.noนอร์เวย์Norway

 

ความหมายของ ซับโดเมน ในไทย

CodeType ( Thai )Type ( English )
.acสถาบันการศึกษาAcademic
.coองค์กรธุรกิจCommercial
.orองค์กรอื่นๆOrganizations
.netผู้วางระบบเน็ตเวิร์กNetworking
.goหน่อยงานของรัฐบาลGoverment
.inหน่อยงานอิสระIndividual / Incorporation

 

 


ข้อมูลจาก http://www.thaiware.com/
guest profile guest
อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

 

guest profile guest
อินเตอร์เนต : คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น
อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต

 

กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เนต

 

อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว

 

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเตอร์เนต

 

ที่อยู่บนอินเตอร์เนต หรือ Internet Address จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ( User ) และ ชื่อของ อินเตอร์เนต ( Internet Name ) โดยจะมีรูปแบบคือ ....

 

ชื่อผู้ใช้@ชื่อของอินเตอร์เนต , yourname@domain.xxx

 

ตัวอย่างเช่น tick@mail.ksc.net จะหมายถึงว่า ผู้ใช้ ใช้ชื่อ tick เป็นสมาชิก ของศูนย์บริการ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ชื่อ mail ที่มีชื่ออินเตอร์เนตเป็น ksc.net.th หรือ thanop@thaiware.com หมายถึงว่าผู้ใช้ ใช้ชื่อ thanop เป็นสมาชิกของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น thaiware.com หมายเลขอินเตอร์เนต หรือ IP Address จะเป็นรหัสประจำตัวของคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เนต โดยหมายเลขนี้จะมีรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 4 ชุด ด้วยกัน ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ยกตัวอย่างเช่น 203.151.217.158 ครับ จะเป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง thaiware.com

 

ชื่ออินเตอร์เนต ( DNS : Domain Name Server ) จะเป็นชื่อที่อ้างถึง คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ อินเตอร์เนต เนื่องจาก IP Address เป็น ตัวเลข 4 ชุด ซึ่งเป็นที่ยากในการจำเป็นอย่างมาก และ ไม่ได้สะดวกต่อผู้ใช้ ซึ่ง DNS นี้จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็น mail.ksc.net.th , comnet3@ksc.net.th ( mail คือ ชื่อ คอมพิวเตอร์ , ksc คือชื่อ เครือข่ายท้องถิ่น , net คือ ซับโดเมน , th คือ ชื่อโดเมน )

 

ความหมายของโดเมน

 

สำหรับ ความหมายของโดเมน ในเครือข่าย อินเตอร์เนต ก็ได้จำแนกออกมาทั้งหมด 6 ประเภท ด้วยกัน คือ :
  • .com - กลุ่มองค์การค้า ( Commercial )
  • .edu - กลุ่มการการศึกษา ( Education )
  • .mit - กลุ่มองค์การทหาร ( Military )
  • .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย ( Network Services )
  • .org - กลุ่มองค์กรอื่นๆ ( Organizations )
  • .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ( International )
ถ้า สังเกตุดีๆ จะเห็นว่า ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เท่านั้น ที่จะมี โดเมน เป็นตัวอักษร 3 ตัว ในกรณีที่ ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทย ของเรา จะเป็นเพียงแค่ 2 ตัว เท่านั้น !!! เช่น microsoft.com ของประเทศ สหัรฐอเมริกา กับ ksc.net.th ของไทย นั่นเอง นอกจากนี้ ในบ้านเรามีการกำหนดชื่อโดเมน ขึ้นมา ใหม่ !!! อีก ด้วย อย่างเช่น internet.th.com จะหมายถึงว่า เครื่องที่ชี้ว่า internet อยู่ใน ประเทศไทย ( th ) และ เป็นบริษัททางการค้า ( com )

 

โดเมน ที่เป็นชื่อย่อของประเทศที่น่าสนใจ


CodeCName ( Thai )Name ( English )
.auออสเตรเลียAustralia
.frฝรั่งเศสFrance
.hkฮ่องกงHong Kong
.jpญี่ปุ่นJapan
.thไทยThailand
.sgสิงค์โปร์Singapore
.ukสหราชอาณาจักรUnited Kingdom
.noนอร์เวย์Norway

 

ความหมายของ ซับโดเมน ในไทย

CodeType ( Thai )Type ( English )
.acสถาบันการศึกษาAcademic
.coองค์กรธุรกิจCommercial
.orองค์กรอื่นๆOrganizations
.netผู้วางระบบเน็ตเวิร์กNetworking
.goหน่อยงานของรัฐบาลGoverment
.inหน่อยงานอิสระIndividual / Incorporation

 

 


ข้อมูลจาก http://www.thaiware.com/
guest profile guest
อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก















อ้างอิง www.school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning

guest profile guest
อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก















         อ้างอิง  www.school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากนำเอาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกันโดยใช้ข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหรือใช้ภาษาสื่อสารหลัก (Protocol) เดียวกันคือTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
2. เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เกือบทุกประเภท
3. เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของคนทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก
4. เป็นสื่อ (Media) เผยแพร่ข้อมูลได้หลายประเภท เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโทรทัศน์, สื่อวิทยุ, สื่อโทรศัพท์ เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือเรียกโดยย่อว่า " ไอที" ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บ รวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้อง ใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสารในการทำงานประจำวันอินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำ ให้เราเข้าถึงข้อมูล ได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็น แหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆของโลกได้อย่าง รวดเร็ว กว่าสื่ออื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าว ได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร


อ้างอิง www.montfort.ac.th

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

cl_km Icon เทคนิคการค้นหาข้อมูล 43 อ่าน 21,350 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 39 อ่าน 5,331 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 39 อ่าน 25,281 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon อินเตอร์เน็ตคืออะไร 42 อ่าน 9,012 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา