รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

cl_km profile image cl_km
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
ความคิดเห็น
guest profile guest

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีอยู่ 2 แบบ ตามลักษณะการใช้งานซึ่งจะมีความเร็วและค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคล

เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านคู่สายโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายไปยังผู้ให้บริการ (คิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงในการใช้งาน) ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ โมเด็มและความหนาแน่นของสมาชิกที่ใช้งานในขณะนั้น ผู้ใช้บริการสามารถกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ให้ท่องอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน


2. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
เป็นการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าแบบส่วนบุคคลและเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า (Lease Line) และใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น Digital Modem, Router ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบส่วนบุคคล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก

guest profile guest

          การเชื่อมต่อินเตอร์เน็ตแบ่งเป็น 2 รูปแบบเป็นการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะตามความต้องการ
ใช้งานดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
   
             เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย
(Server)
ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย

2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล
   
             เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า
โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up
โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
แหล่งที่มา http://www.skn.ac.th/a_cd/internet/via_internet.html

guest profile guest
การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต


2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ

ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
guest profile guest
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้
องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่าย อินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

guest profile guest
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1.      เครื่องคอมพิวเตอร์  CPU  Pentium  233  ขึ้นไป
2.      หน่วยความจำ  (RAM)  64  MB. ขึ้นไป
3.      ฮาร์ดดิสก์ความจุ  1.2  GB.ขึ้นไป
4.      จอภาพแบบ  SVGA
5.      โมเด็มความเร็วตั้งแต่  33.6  Kbps-56 Kbps
6.      โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ  1  คู่สาย

 

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับบุคคลทั่วไป

จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา  เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า  โมเด็ม  (Modem )  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก  แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย  ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  หลุด”  ได้

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก

            จะใช้สาย  Lease  Line  ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน  การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์  การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก  หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา  เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก
  
 
ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 
            
-  ISP (Internet  Service  Provider )  หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด  สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร  หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก  ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว 
        -          การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน  จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ

             โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้ 
        1.    ซื้อแบบ  Package มาทดลองใช้  ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น  3  เดือน  6  เดือน  เป็นต้น 
        2.    สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น  คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน  และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน  1  เดือน  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกให้ผู้บริหารอินเตอร์เน็ตคือ
        
1.      ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง  เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่  WWW แต่ไม่ให้บริการ  E – Mail  เป็นต้น 
        2.      คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่  มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่

guest profile guest
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1.      เครื่องคอมพิวเตอร์  CPU  Pentium  233  ขึ้นไป
2.      หน่วยความจำ  (RAM)  64  MB. ขึ้นไป
3.      ฮาร์ดดิสก์ความจุ  1.2  GB.ขึ้นไป
4.      จอภาพแบบ  SVGA
5.      โมเด็มความเร็วตั้งแต่  33.6  Kbps-56 Kbps
6.      โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ  1  คู่สาย

 

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับบุคคลทั่วไป

จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา  เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า  โมเด็ม  (Modem )  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก  แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย  ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  หลุด”  ได้

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก

            จะใช้สาย  Lease  Line  ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน  การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์  การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก  หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา  เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก
  
 
ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 
            
-  ISP (Internet  Service  Provider )  หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด  สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร  หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก  ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว 
        -          การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน  จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ

             โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้ 
        1.    ซื้อแบบ  Package มาทดลองใช้  ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น  3  เดือน  6  เดือน  เป็นต้น 
        2.    สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น  คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน  และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน  1  เดือน  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกให้ผู้บริหารอินเตอร์เน็ตคือ
        
1.      ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง  เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่  WWW แต่ไม่ให้บริการ  E – Mail  เป็นต้น 
        2.      คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่  มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่

 

 

guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์กรที่เรียกว่า “ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” หรือ Internet Service Provider:ISP ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวน 18 ราย

วิธีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต 2 วิธีการ คือ

การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)

การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ (Dial-up Access)

การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)

ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลัก โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น เกตเวย์(Gateway) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบนี้ เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่การรับ-ส่งข้อมูลจะทำได้โดยตรง ทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง

การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ (Dial-up Access)

เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้าน หรือที่ทำงานทั่วไป โดยใช้ MODEM ในการแปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลไปกับสายโทรศัพท์ได้

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องมาจากจะเสียค่าบริการก็ต่อเมื่อมีการหมุน MODEM เท่านั้น

วิธการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมี
ความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด
อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว
คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ
CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น



guest profile guest
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีอยู่ 2 แบบ ตามลักษณะการใช้งานซึ่งจะมีความเร็วและค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคล
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านคู่สายโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายไปยังผู้ให้บริการ (คิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงในการใช้งาน) ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ โมเด็มและความหนาแน่นของสมาชิกที่ใช้งานในขณะนั้น ผู้ใช้บริการสามารถกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ให้ท่องอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน


2. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
เป็นการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าแบบส่วนบุคคลและเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า (Lease Line) และใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น Digital Modem, Router ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบส่วนบุคคล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก



วิธีการติดต่อเช้าระบบอินเทอร์เน็ตทำได้ 3 วิธี คือ

1. การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)/b>
เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gateway ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง


2. การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-Up Access)
เป็นการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต


3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) มีวิธีการหลากหลาย ได้แก่
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ Note book และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pcoket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์ไร้สายได้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


  • การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) เช่น
    * WAP (Wireless Application Protocal)
    * GPRS(General Packet Radio Service)
    * CDMA (Code Division Multiple Access)
    * BLUETOOTH TECHNOLOGY


  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครื่อง Palm และ Notebook ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS ซึ่งโทรศัพท์ที่สนับสนุนระบบ GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง

guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีอยู่ 2 แบบ ตามลักษณะการใช้งานซึ่งจะมีความเร็วและค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคล

เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านคู่สายโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายไปยังผู้ให้บริการ (คิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงในการใช้งาน) ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ โมเด็มและความหนาแน่นของสมาชิกที่ใช้งานในขณะนั้น ผู้ใช้บริการสามารถกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ให้ท่องอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน

2. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
เป็นการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าแบบส่วนบุคคลและเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า (Lease Line) และใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น Digital Modem, Router ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบส่วนบุคคล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก

วิธีการติดต่อเช้าระบบอินเทอร์เน็ตทำได้ 3 วิธี คือ

1. การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)/b>
เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gateway ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง


2. การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-Up Access)
เป็นการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต


3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) มีวิธีการหลากหลาย ได้แก่
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ Note book และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pcoket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์ไร้สายได้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


  • การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) เช่น
    * WAP (Wireless Application Protocal)
    * GPRS(General Packet Radio Service)
    * CDMA (Code Division Multiple Access)
    * BLUETOOTH TECHNOLOGY


  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครื่อง Palm และ Notebook ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS ซึ่งโทรศัพท์ที่สนับสนุนระบบ GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

อ้างอิง
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=01-04-2009&group=11&gblog=5

อ้างอิง http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html
อ้างอิง อ้างอิง

guest profile guest
Direct Internet Access : การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง
เรียกย่อๆ ว่า Direct Access

ผู้ใช้จะสามารถใช้บริการต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา
มหาวิทยาลัย, กระทรวง, บริษัทเอกชนรายใหญ่ มักเลือกใช้วิธีนี้
สิ่งที่จะต้องมี คือ
1. อุปกรณ์สื่อสาร : เราท์เตอร์ (Router)
จะทำหน้าที่เป็น ประตู (Gateway) เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายภายในองค์กรเข้ากับเครือข่ายของอินเทอร์เน็ต
2. บริการ
มีให้เลือกใช้หลายบริการ เช่น
ISDN (Integrated Services Digital Network) : โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล(ความเร็ว 64-128 กิโลบิต/วินาที)
Leased Line : (คู่สายเช่า) สำหรับการรับ-ส่งสัญญาณ ภาพ เสียง และข้อมูล ความเร็ว 9.6 Kbps - 155 Mbps
Microwave :ไมโครเวฟ เพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียม) (ความเร็วระดับ เมกกะบิต, กิกะบิต/วินาที)
ADSL : อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
บริการผ่านสายโทรศัพท์ : บริการพร้อมกับการใช้โทรศัพท์ สัญญาณ ADSL เป็น Digital สัญญาณโทรศัพท์ เป็น Analog
ความเร็วสูงสุด 128/64-1048/512 kbps (รับ 128 kb/ส่ง 64 kb)
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
เล่นอินเทอร์เน็ต พร้อมโทรศัพท์ได้
ปัจจุบันมีบริการเฉพาะเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑลบางเขต และต่างจังหวัด (ตรวจสอบหมายเลขบริการจาก องค์การโทรศัพท์ หรือ TT&T)


ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบ Direct Access
การติดต่อเข้าใช้ Internet ตลอดเวลา
เลือกใช้ความเร็วในการติดต่อได้หลายระดับ (ความเร็วระดับ กิโลบิต, เมกกะบิต , กิกะบิต/วินาที)
เหมาะกับการบริการคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง
ข้อเสีย
ต้องเสียค่าใช้จ่ายตลอดเวลา
ต้องมีอุปกรณ์สำหรับแต่ละช่องทางการสื่อสาร มากกว่าแบบ Dial Up


เครื่องที่นักศึกษาใช้ เชื่อมต่อ Internet แบบ ...
ไปยังอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Hub) ภายในห้องเรียน (10 Megabit/Second)
ต่อกับอุปกรณ์กระจายสัญญาณระดับอาคารที่ ชั้น 1 (100 Megabit/Second)
ต่อกับอุปกรณ์ระดับคณะที่อาคาร 3 (100 Megabit/Second)
ไปอุปกรณ์ระดับมหาวิทยาลัยที่ศูนย์คอมฯ (155 Megabit/Second)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เชื่อมต่อ Internet 2 เส้นทาง (มีค่าใช้จ่ายทั้ง 2 เส้นทาง)
1. เครือข่าย UniNET (34 Megabit/Second)
ออกสู่ Internet (... Megabit/Second)
2. เครือข่าย CS Internet (2 Megabit/Second)
ออกสู่ Internet (... Megabit/Second)


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (2546)

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (สค.2547)

Dialup Access : การเชื่อมต่อผ่านระบบโทรศัพท์
ระบบคู่สายโทรศัพท์ปัจจุบันที่ใช้ทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ

คู่สายโทรศัพท์แบบเดิม (สัญญาณ Analog)
ความเร็วสูงสุด 56 กิโลบิต/วินาที (รับ 56 kb/ส่ง 33 kbps ขึ้นกับคุณภาพของสายสัญญาณ)

การเชื่อมต่อวิธีนี้ เป็นการติดต่อผ่านสายโทรศัพท์ โดยต้องมีอุปกรณ์

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ : Computer ที่ติดตั้ง
โปรแกรม : "Dialup" (สำหรับเครื่อง PC ที่ใช้ Microsoft OS)

โปรแกรม Web browser (สำหรับดูข้อมูลผ่าน Web)

โปรแกรม MSN (สำหรับพูดคุย)

โปรแกรม ..

2. คู่สายโทรศัพท์ : Dialup Line
อาจเป็นคู่สายแบบเดิม สัญญาณอนาล็อก

หรือเป็นคู่สายแบบใหม่ สัญญาณดิจิตอล (ISDN, ADSL)

3. อุปกรณ์ Modem
เพื่อใช้แปลงสัญญาณข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ ที่ทำงานสัมพันธ์กับระบบคู่สายโทรศัพท์

ถ้าคู่สายธรรมดา : Voice Modem

ถ้าคู่สาย ADSL : ADSL Modem

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากบ้านผ่านระบบโทรศัพท์เข้าสู่ ISP 

  อ้างอิง  http://home.kku.ac.th/hslib/412141/internet/remoteaccess.htm

 

 

guest profile guest

รูปแบบการเชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์ค Network Solution

56K Dial-Up Modem

                56K โมเด็มเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แบบดังเดิม โดยผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยการหมุนโมเด็มไปยัง ISP โดยผ่านสายโทรศัพท์ แต่สำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในที่พักอาศัย ต้องพบกับอุปสรรค์ในการใช้งาน เพราะนอกจากจะมีความเร็วต่ำแล้วโดยปกติระบบโทรศัพท์ในโรงแรมจะผ่านระบบ PABX ซึ่งโดยมากจะตัดตามระยะเวลาที่กำหนด ความเร็วในการเชื่อมต่อจะถูกลดทอนลง เหลือเพียง 33.6 Kbps เท่านั้นและยังมีปัญหาเดิม คือ สายไม่ว่าง และสายหลุดอยู่เป็นประจำ

 

ADSL

                    เป็นเทคโนโลยีสำหรับผู้ที่ต้องการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 128Kbps ไปจนถึง 4Mbps เลยทีเดียว ซึ่งสูงพอที่จะรองรับข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย ซึ่งได้แก่ภาพวิดีโอและเสียงได้ และยังเป็นการสื่อสารข้อมูลในระบบดิจิตอล อีกทั้งยังไม่ต้องหมุนโทรศัพท์ก่อนการใช้งาน เนื่องจาก ADSL เชื่อมต่อกับ ISP อยู่ตลอดเวลา เพียงทำการ Logon เท่านั้น  อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มเติมมาใช้กับระบบ ADSL ซึ่งได้แก่ ADSL Modem ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานประเภทบุคคลธรรมดา ซึ่งราคาจะแพงกว่าโมเด็มอนาล็อกปกติพอสมควร หรือจะเป็นอุปกรณ์ ADSL Router ที่โดยมากจะใช้เชื่อมต่อเพื่อการใช้งานในระบบที่ใหญ่กว่า ซึ่งราคาจะแพงขึ้นไปอีก  ADSL มีผู้นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน แต่การขอใช้บริการ ADSL ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีโทรศัพท์สายตรง ซึ่งปกติโรงแรม ส่วนใหญ่ไม่มีบริการโทรศัพท์สายตรงในแต่ละห้องพักอาศัยดั้งนั้น ผู้เข้าพักอาศัยในโรงแรมจึงไม่สามารถใช้บริการ ADSL ได้

 

VDSL

                เป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับการใช้งานระบบ Internet ได้ในความเร็วสูงถึง 15Mbps ได้ระยะทางที่ไกลสุงสูด 1.2 กิโลเมตร และที่สำคัญ เทคโนโลยี VDSL นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับสายโทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยี VDSL เลยก็ว่าได้ เนื่องจากจะเห็นได้ว่าอาคารประเภท MxU ทุกแห่งนั้นจะต้องมีการเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคารไปตามห้องพักต่างๆ อยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเราต้องการเพิ่มเติมระบบ Internet ให้กับห้องพักต่างๆ ในอาคารแล้ว ด้วยเทคโนโลยี VDSL เราไม่จำเป็นต้องทำการเดินสายเคเบิล UTP หรือสาย Fiber เพิ่มเติมเลย เพราะว่าเราสามารถนำเทคโนโลยี VDSL เข้ามาใช้งานร่วมกับระบบสายโทรศัพท์เดิมได้เลย ซึ่งจะทำให้เราสามารถให้บริการระบบ Internet ไปยังห้องต่างๆ ภายในอาคารโดยอาศัยสายโทรศัพท์เป็นตัวรับ-ส่งข้อมูล พร้อมกันนั้นเรายังสามารถใช้งานระบบโทรศัพท์ได้เหมือนเดิมอีกด้วย ซึ่งสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ VDSL นั้น จะเป็นการติดตั้งในลักษณะ จุด-ต่อ-จุด หรือ Point-to-Point โดยที่อุปกรณ์ฝั่งหนึ่งจะเป็นอุปกรณ์ด้าน Provider สำหรับต่อเข้ากับแผง MDF เดิมของระบบโทรศัพท์ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นอุปกรณ์ด้าน Subscriber ซึ่งจะติดตั้งอยู่ตามห้องพักต่างๆ ของอาคารตามรูปการเชื่อมต่อ ซึ่งหลังจากติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ตามห้องพักต่างๆ สามารถใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูงได้ และยังสามารถใช้ระบบโทรศัพท์ภายในตามห้องพัก หรือตามเบอร์ Extension ต่างๆ ได้ตามปกติอีกด้วย

จุดเด่นของ VDSL ที่เหนือเทคโนโลยีอื่นๆ

 

· รองรับการใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูง โดยสามารถรองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 10 Mbps Full-Duplex Ethernet

· รองรับระยะทางในการใช้งานได้สูงสุดถึง 1.2 กิโลเมตร

· สามารถใช้งานได้กับสายโทรศัพท์ตั้งแต่ Category 1, 2, 3 หรือ 5 ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิล UTP หรือ Fiber  ใหม่เลย

· สัญญาณรบกวนต่างๆ (Noise) มีผลกับการใช้งานน้อยมาก

· มีความสามารถในการทำ Traffic Shaping ทั้งการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Upstream และ Downstream

· ติดตั้งและใช้งานได้โดยง่าย

· สามารถใช้ระบบ Internet ความเร็วสูงได้โดยไม่มีผลกระทบกับระบบโทรศัพท์เดิม

 

ISDN 

                ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นการสื่อสารสัญญาณร่วมผ่านสายโทรศัพท์แบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบ สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายดิจิตอล ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ที่ให้คุณภาพและความเร็วในการส่ง ผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 128 Kbps ซึ่งสามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล และภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับ องค์กรที่เริ่มต้นใช้งาน หรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้ใช้หลายคนอยู่ในวง LAN เดียวกัน สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมกัน โดยเชื่อมผ่านคู่สาย ISDN เพียงสายเดียว

 

Leased Line

 

                    อินเทอร์เน็ตบนบริการวงจรเช่า หรือ บริการเส้นทางการสื่อสารส่วนตัว ผ่านใยแก้วนำแสงดิจิตอล ด้วยอัตราเร็วคงที่ สามารถรับส่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลาระหว่าง Point to Point เป็นเทคโนโลยีที่มีความเสถียรและความปลอดภัยของข้อมูลสูง ซึ่งมีความเร็วให้เลือกตั้งแต่64 Kbps ถึง 2 Mbps และหากต้องการใช้บริการที่มีความเสถียรภาพเทียบเท่า Leased Line แต่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่มากกว่า 2 เครือข่ายหรือ Point to Multipoint

 

G.SHDSL

 

                    คืออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ผ่านสายทองแดงได้ไกลถึง 4-9.7 กิโลเมตร โดย G.SHDSL มีสองประเภทคือ แบบ 2-wire (ใช้สายทองแดง 2 เส้น) และแบบ 4-wire (ใช้สายทองแดง 4 เส้น) โดยแบบ 2-wire สามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 2.3 Mpbs ส่วนแบบ 4-wire นั้นสามารถทำได้ที่ 4.6Mpbs G.SHDSL Modem มีคุณสมบัติสำคัญคือ สัญญาณมีเสถียรภาพสูงมาก จึงทำให้ G.SHDSL กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานในการให้บริการ Leased Line ในอนาคต และนอกจากนั้น G.SHDSL ยังมี Interface ที่หลากหลายทั้งแบบEthernet, V.35 และ E.1(G.703) ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ

 

Wireless LAN

                เป็นการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วอินเตอร์เน็ตตามมาตรฐาน IEEE 802.11b 11Mbps และ 802.11g ที่ความเร็ว 54 Mbps เหมาะสำหรับรองรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบริเวณ Lobby, สระว่ายน้ำหรือห้องประชุมสัมมนา ที่ไม่สามารถเดินสายได้ จุดด้อยของระบบนี้คือต้องติดตั้งอุปกรณ์ Access Point ทุกจุดที่ต้องการให้รัศมีครอบคลุมการใช้งาน รวมถึงปัญหาสิ่งที่กีดขวางต่างๆ เช่น ผนังห้อง, เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ที่ทำให้ระยะทางไม่ครอบคลุมพื้นได้ทั้งหมด อีกทั้งความแรงของสัญญาณก็ไม่สม่ำเสมอและอาจก่อให้เกิดสายหลุดบ่อยๆได้

 

VoIP


                เป็นเทคโนโลยี ที่ทำการรับส่งข้อมูลเสียง ภาพ และวีดีโอ เพื่อการติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้ แรงผลักดันที่ทำให้เทคโนโลยี IP Telephony เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญ ก็คือ เทคโนโลยีเอื้ออำนวยต่อการสร้างบริการใหม่ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น การโทรศัพท์ที่สามารถเห็นหน้าของฝั่งตรงข้าม การโอนสาย กล่องเมลเสียง (voice mail) การเคลื่อนย้าย และอื่นๆ นอกจากนี้เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารทางไกลจะทำได้ถูกลง เนื่องจากไม่มีการคิดค่าโทรทางไกล ผู้ใช้สามารถที่จะโทรศัพท์ภายในประเทศ หรือโทรข้ามโลกได้ในราคาที่ประหยัดมาก

Firewall/VPN Firewall/VPN IP Sec

                  เมื่อพื้นฐานของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตคือ โปรโตคอล TCP/IP ดังนั้นการเพิ่มความปลอดภัยในด้านการสื่อสาร จึงถูกมุ่งประเด็นไปที่ TCP/IP เทคโนโลยีของ IPSec ก็เช่นเดียวกัน IETF ได้กำหนดมาตรฐาน สำหรับเหตุผลที่ว่าทำไม TCP/IP จึงถูกจับเข้ามาสวมเกราะป้องกันตัว นั้นก็เป็นเพราะข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ว่า การทำงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการใช้บราวเซอร์ผ่านโปรโตคอล HTTP การใช้ SSL ก็ทำงานบนพื้นฐานของ TCP/IP โปรโตคอลในการรับ-ส่งเมล์อย่าง POP3 , SMTP ก็ผ่าน TCP/IP หรือ FTP , Telnet ก็ยังคงทำงานด้วย TCP/IP เรียกว่าเกิดจากการประยุกต์ TCP/IP แทบทั้งสิ้น ดังนั้นคงไม่ต้องแปลกใจที่ว่า จับโจรจับหัวหน้า ถ้าจะสร้างเกราะให้ใครสักคน ก็ต้องสร้างให้กับหัวโจกก่อนนั่นแหละ หัวโจกปลอดภัยแล้ว ลูกน้องก็อยู่ได้ IP Security หรือเรียกกันย่อๆ ว่า IPSec นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง องค์ประกอบแรกที่เหมือนระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ คือ การใส่รหัส (Encryption) เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล ป้องกันการแอบดึงข้อมูลไปใช้ ประการต่อไปของ IPSec คือ การตรวจสอบความมีตัวตน (Authentication) และประการสุดท้ายของ IPSec คือ ความถูกต้องของข้อมูล มีระบบป้องกันการทำลาย การทำให้ข้อมูลผิดรูปไป

VPN

                  เป็นเทคโนโลยีที่ป้องกันข้อมูลหรือข่าวสารขณะสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายธรรมดาทั่วไปที่อาศัยการสร้างที่เรียกว่าอุโมงค์การเชื่อมต่อ รวมทั้งพิสูจน์สิทธิที่รัดกุม และการเข้ารหัสที่มีความสลับซับซ้อน  และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกดัดแปลงจากผู้บุกรุก  และสุดท้ายข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจะต้องได้รับการตรวจสอบว่าเป็นของตัวจริงเสียงจริงหรือไม่  
        VPN เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่าย หรือระหว่างผู้ใช้งานกับเครือข่ายที่ให้บริการสื่อสารข้อมูลส่วนตัวผ่านเครือข่าย สาธารณะ อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต คำว่าข้อมูลส่วนตัวในที่นี้หมายถึงข้อมูลข่าวสารที่จัดส่งจะมีลักษณะเป็นเหมือนช่องทางเฉพาะที่ถูกจัดสร้างเพื่อติดต่อกันระหว่างผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ข้อมูลข่าวสารจะได้รับการเข้ารหัสเกือบทั้งหมด โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า tunneling การใช้งาน VPN เป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายสาธารณะทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งของ Backbone
        VPN มีการพิสูจน์สิทธิแบบ End to end การพิสูจน์สิทธิทั้ง 2 ฝั่งข้ามไปมารวมทั้งการเข้ารหัสข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้มีความปลอดภัย ประหยัดเงินค่าโทรศัพท์ทางไกล และค่าบำรุงรักษาอีกมากมายและด้วยเทคโนโลยี tunneling ที่ทำให้เครือข่ายหนึ่งส่งข้อมูลไปอีกเครือข่ายหนึ่ง โดยการที่มีการห่อหุ้มหรือ Encapsulation  ในรูปของแพ็กเก็ตที่มาจากการทำงานในระดับ Network Layer 


ที่มา : http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0253

 

 

 

 

guest profile guest

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีวิธีใดบ้าง

 

หากคุณต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะมีตัวเลือกต่อไปนี้

ระบบไร้สาย

เลือกตัวเลือกนี้ หากคุณมี เราเตอร์ หรือ เครือข่าย ไร้สาย หรือหากคุณกำลังเชื่อมต่อไปยัง ฮอตสปอต แม้ว่าคุณจะมี การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ แล้วก็ตาม

บรอดแบนด์ (PPPoE)

ให้เลือกตัวเลือกนี้หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเชื่อมต่อโดยตรงกับบรอดแบนด์ โมเด็ม (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Digital Subscriber Line [DSL] หรือเคเบิลโมเด็ม) และคุณมีบัญชีอินเทอร์เน็ตที่ใช้ โพรโทคอลแบบจุดต่อจุดโดยใช้อีเทอร์เน็ต (PPPoE) การใช้บัญชีชนิดนี้ คุณต้องใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเชื่อมต่อ

หมายเหตุ

หมายเหตุ

หากคุณต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้บรอดแบนด์โมเด็ม ให้เลือกตัวเลือก แบบไร้สาย

การเรียกผ่านสายโทรศัพท์

เลือกตัวเลือกนี้หากคุณมีโมเด็มแต่ไม่ใช่ DSL หรือเคเบิลโมเด็ม หรือหากคุณต้องการใช้ โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเทอร์เน็ต

ฉันต้องมีสิ่งใดบ้างในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 

คุณจำเป็นต้องมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และฮาร์ดแวร์บางอย่างเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

  • ISP ISP ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อขอบัญชีผู้ใช้กับ ISP ได้เช่นเดียวกับเมื่อคุณขอใช้บริการโทรศัพท์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

  • ฮาร์ดแวร์ สำหรับการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ เช่น Digital Subscriber Line (DSL) หรือเคเบิล คุณต้องมี DSL หรือเคเบิลโมเด็ม ซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่ในฮาร์ดแวร์เบื้องต้นจาก ISP เมื่อคุณลงทะเบียนใช้บัญชีบรอดแบนด์ สำหรับการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ คุณจำเป็นต้องมีโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หลายเครื่องติดตั้งโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์มาให้แล้ว

    การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

     

    ตัวช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะแนะนำคุณเป็นขั้นตอน เกี่ยวกับการตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

    • เปิด 'ตัวช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต' โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก เครือข่ายและอินเทอร์เน็ต คลิก ศูนย์เครือข่ายและการใช้ร่วมกัน คลิก ตั้งค่าการเชื่อมต่อหรือเครือข่าย แล้วคลิก เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

    หมายเหตุ

    หมายเหตุ

    ถ้าคุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายท้องถิ่นอยู่ แสดงว่าคุณอาจเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว หากต้องทดสอบ ให้เปิดเว็บเบราว์เซอร์ของคุณและลองเข้าเว็บไซต์ดู

    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คืออะไร

     

    ข้อมูลในหัวข้อ 'วิธีใช้' นี้ใช้กับ Windows Internet Explorer 7 และ Windows Internet Explorer 8

    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เป็นบริษัทที่ให้บริการเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และมักจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม วิธีธรรมดาที่สุดในการเชื่อมต่อกับ ISP ทำได้โดยการใช้สายโทรศัพท์ (การเรียกผ่านสายโทรศัพท์) หรือการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL) ISP หลายๆ แห่งจะมีบริการเพิ่มเติม อาทิเช่น บัญชีอีเมล เว็บเบราว์เซอร์ และเนื้อที่สำหรับการสร้างเว็บไซต์ของคุณอ้างอิงhttp://windows.microsoft.com/th-TH/windows-vista/What-are-the-different-Internet-connection-methods

guest profile guest

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีวิธีใดบ้าง

 

หากคุณต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะมีตัวเลือกต่อไปนี้

ระบบไร้สาย

เลือกตัวเลือกนี้ หากคุณมี เราเตอร์ หรือ เครือข่าย ไร้สาย หรือหากคุณกำลังเชื่อมต่อไปยัง ฮอตสปอต แม้ว่าคุณจะมี การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ แล้วก็ตาม

บรอดแบนด์ (PPPoE)

ให้เลือกตัวเลือกนี้หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเชื่อมต่อโดยตรงกับบรอดแบนด์ โมเด็ม (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Digital Subscriber Line [DSL] หรือเคเบิลโมเด็ม) และคุณมีบัญชีอินเทอร์เน็ตที่ใช้ โพรโทคอลแบบจุดต่อจุดโดยใช้อีเทอร์เน็ต (PPPoE) การใช้บัญชีชนิดนี้ คุณต้องใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเชื่อมต่อ

หมายเหตุ

หมายเหตุ

หากคุณต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้บรอดแบนด์โมเด็ม ให้เลือกตัวเลือก แบบไร้สาย

การเรียกผ่านสายโทรศัพท์

เลือกตัวเลือกนี้หากคุณมีโมเด็มแต่ไม่ใช่ DSL หรือเคเบิลโมเด็ม หรือหากคุณต้องการใช้ โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเทอร์เน็ต

ฉันต้องมีสิ่งใดบ้างในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 

คุณจำเป็นต้องมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และฮาร์ดแวร์บางอย่างเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

  • ISP ISP ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อขอบัญชีผู้ใช้กับ ISP ได้เช่นเดียวกับเมื่อคุณขอใช้บริการโทรศัพท์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

  • ฮาร์ดแวร์ สำหรับการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ เช่น Digital Subscriber Line (DSL) หรือเคเบิล คุณต้องมี DSL หรือเคเบิลโมเด็ม ซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่ในฮาร์ดแวร์เบื้องต้นจาก ISP เมื่อคุณลงทะเบียนใช้บัญชีบรอดแบนด์ สำหรับการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ คุณจำเป็นต้องมีโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หลายเครื่องติดตั้งโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์มาให้แล้ว

    การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

     

    ตัวช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะแนะนำคุณเป็นขั้นตอน เกี่ยวกับการตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

    • เปิด 'ตัวช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต' โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก เครือข่ายและอินเทอร์เน็ต คลิก ศูนย์เครือข่ายและการใช้ร่วมกัน คลิก ตั้งค่าการเชื่อมต่อหรือเครือข่าย แล้วคลิก เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

    หมายเหตุ

    ถ้าคุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายท้องถิ่นอยู่ แสดงว่าคุณอาจเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว หากต้องทดสอบ ให้เปิดเว็บเบราว์เซอร์ของคุณและลองเข้าเว็บไซต์ดู

    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คืออะไร

     

    ข้อมูลในหัวข้อ 'วิธีใช้' นี้ใช้กับ Windows Internet Explorer 7 และ Windows Internet Explorer 8

    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เป็นบริษัทที่ให้บริการเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และมักจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม วิธีธรรมดาที่สุดในการเชื่อมต่อกับ ISP ทำได้โดยการใช้สายโทรศัพท์ (การเรียกผ่านสายโทรศัพท์) หรือการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL) ISP หลายๆ แห่งจะมีบริการเพิ่มเติม อาทิเช่น บัญชีอีเมล เว็บเบราว์เซอร์ และเนื้อที่สำหรับการสร้างเว็บไซต์ของคุณอ้างอิงhttp://windows.microsoft.com/th-TH/windows-vista/What-are-the-different-Internet-connection-methods

guest profile guest

           การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีวิธีใดบ้าง

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่
 

ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้

การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)

 

การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่

1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP) 
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)

                          

2.สายโทรศัพท์

3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)
          

ขั้นตอน

1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking  ตามลำดับ ดังภาพ

2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect  ดังภาพ

3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next

4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next

5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish

6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ

7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect

8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้

9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง

เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง
ต่อไปจะได้กล่าวถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในระบบ LAN

การเชื่อมต่อแบบระบบ LAN 

สงวนลิขสิทธิ์ โดย อาจารย์ภาสกร เรืองรอง Webmaster@ThaiWBI.com
อ้างอิงhttp://www.thaiwbi.com/course/Internet_Connect/index.html

guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์กรที่เรียกว่า “ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” หรือ Internet Service Provider:ISP ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวน 18 ราย

วิธีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต 2 วิธีการ คือ

1. การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)

2. การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ (Dial-up Access)

- การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)

ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลัก โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น เกตเวย์(Gateway) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบนี้ เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่การรับ-ส่งข้อมูลจะทำได้โดยตรง ทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง
- การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ (Dial-up Access)

เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้าน หรือที่ทำงานทั่วไป โดยใช้ MODEM ในการแปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลไปกับสายโทรศัพท์ได้

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องมาจากจะเสียค่าบริการก็ต่อเมื่อ
อ้างอิง http://www.bcoms.net/webboard/detail.asp?id=86
guest profile guest
อ้างอิง จาก guest เมื่อ 12/6/2553 17:37:00

      

การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ

 

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up

เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต

ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ

อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที

 

2.?การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

  1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
  2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
  3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่

ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up

 

3.?การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ

  1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
  2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
  3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
  4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้

 

4.?การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

  1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
  2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

5.?การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

  1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
  2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่

  1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
  2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
  3. ค่าใช้จ่ายสูง
   

แหล่งอ้างอิง http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page9.html


guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีอยู่ 2 แบบ ตามลักษณะการใช้งานซึ่งจะมีความเร็วและค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคล

เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านคู่สายโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายไปยังผู้ให้ บริการ (คิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงในการใช้งาน) ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ โมเด็มและความหนาแน่นของสมาชิกที่ใช้งานในขณะนั้น ผู้ใช้บริการสามารถกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ให้ท่องอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน

2. การเชื่อมต่อแบบองค์กร

เป็นการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าแบบส่วนบุคคลและเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวร ตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า (Lease Line) และใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น Digital Modem, Router ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบส่วนบุคคล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก

วิธีการติดต่อเช้าระบบอินเทอร์เน็ตทำได้ 3 วิธี คือ

1. การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access) เป็น การเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gateway ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง

2. การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-Up Access) เป็นการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) มีวิธีการหลากหลาย ได้แก่

- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ Note book และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

- การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) เช่น

* WAP (Wireless Application Protocol)

* GPRS(General Packet Radio Service)

* CDMA (Code Division Multiple Access)

* BLUETOOTH TECHNOLOGY

- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครื่อง Palm และ Notebook ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS ซึ่งโทรศัพท์ที่สนับสนุนระบบ GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง

อ้างอิง http://fws.cc/chokajub/index.php?topic=900.0
guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

วิธีการติดต่อเช้าระบบอินเทอร์เน็ตทำได้ 3 วิธี คือ

1. การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)/b>
เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gateway ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง


2. การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-Up Access)
เป็นการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต


3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) มีวิธีการหลากหลาย ได้แก่
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ Note book และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pcoket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์ไร้สายได้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


  • การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) เช่น
    * WAP (Wireless Application Protocal)
    * GPRS(General Packet Radio Service)
    * CDMA (Code Division Multiple Access)
    * BLUETOOTH TECHNOLOGY


  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครื่อง Palm และ Notebook ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS ซึ่งโทรศัพท์ที่สนับสนุนระบบ GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง

แหล่งที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=01-04-2009&group=11&gblog=5


guest profile guest

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต  คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ  จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา  องค์กร  หน่วยงานทั้งทางราชการ  และเอกชน  ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ  มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

  ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม  ของสหรัฐอเมริกา ในปี  ค.ศ. 1969  ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า  ARPA  (Advanced  Research  Project  Agency )  เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จึงมีชื่อเรียกว่า  อาร์พาเน็ต  (ARPANET)  เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร  โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า    DARPA  ต่อมา  ARPA  ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่  ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ  TCP/IP  ( Transmission  Control  Protocol / Internet  Protocol )  และเมื่อปี ค.ศ. 1989  มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น  จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต  (Internet)

  อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นได้เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530  ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลักษณะการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นครั้งคราว  และใช้โมเด็มความเร็วเพียง  2,400  บิตต่อวินาทีเท่านั้น  ต่อมาปี  พ.ศ. 2535  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก  โดยมีความเร็ว  9,600  บิตต่อวินาที  และต่อมาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ   (NECTEC)  ก็เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ  โดยเครือข่ายนี้มีชื่อว่า  ไทยสาร  ซึ่งให้บริการทางการศึกษาและวิจัย

  ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต

ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต  คือ  สิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของเราได้  ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต  ได้แก่

1.      เวิลไวด์เว็บ  (World  Wide  Web  : WWW )

2.      โกเฟอร์ (Gopher)

3.      เทลเน็ต (Telnet)

4.      เวย์ส(WAIS } Wide  Area  Information  Sevice )

5      อาร์ชี ( Archie)

 

World  Wide  Web  : WWW

เป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยให้ผุ้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปข้อความหลายมิติ  WWW  มีคุณสมบัติดังนี้

-       User – Friendily  ที่ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ บนหน้าจอ  และเข้าถึงส่วน ต่าง ๆ  บนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งที่ยุ่งยาก

-       เอกสารในรูปมัลติมิเดีย  โดยแต่ละหน้าเว็บเพจจะประกอบด้วยสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร  ตัวเลข  สัญลักษณ์กราฟิก  ภาพ  วีดีโอและเสียง

-          มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้และ  Server

Gopher

เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่มี WWWโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา(Minnesota) จุดประสงค์ก็เพื่อค้นหาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต การค้นหาสารสนเทศทำได้โดยการพิมพ์คำหรือวลีลงไประบบจะค้นหาถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาแสดงบนหน้าจอในรูปของข้อความ  ปัจจุบัน  Browser  ก็ช่วยให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ  Gopher

Telnet

            เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง  โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็น Client ของTelnet 

(Telnet จะใช้กับเครื่องเมนเฟรมซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย  แต่เครื่องเมนเฟรมนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง )

WAIS (Wide  Area  Information  Service )

            เป็นเครื่องมือในการค้นหาฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต  โดยระบบนี้จะมีวิธีดำเนินการที่ทำให้ผู้ใช้เห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว

Archie

            ระบบนี้เป็นการค้นหาข้อมูลโดยใช้ขั้นตอนของการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล  ผู้ใช้จะต้องเข้าไปค้นหาก่อนว่าข้อมูลที่ตนเองต้องการนั้นเก็บอยู่สถานที่ใดจากนั้นจึงจะเข้าไปค้นหาที่สถานที่ที่ต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่อไป

 

 

 

      เว็บบราวเซอร์  (Web  Browser )

Web  Browser  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น  WWW  ซึ่ง  Web  Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง  เว็บเซิร์ฟเวอร์  หรือ  โฮสต์  เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ

Web  browser  เป็นเครื่องมือทีใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ ข้อดีของ  Web  Browser  สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงาม  มีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ  ภาพ และระบบมัลติมิเดียต่าง ๆ  ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความ   น่าสนใจมากขึ้น  ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน

             ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

                        ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต  ได้แก่

-       ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่เรียกว่า    E – Mail (Electronics  mail)  ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่น ๆ

-          แหล่งค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่  เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  หรือเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดสาธารณะนั่นเอง

-          แหล่งรวมโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ  มาใช้ได้  โดยมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย

-          การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่  หรือจากสถานที่ที่ระยะทางอยู่ห่างไกลกัน

-          ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกันโดยผ่านทางแป้นพิมพ์และจอภาพ

-          แหล่งรวมความบันเทิงต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป้นภาพยนต์  ดนตรี  และเกมที่สามารถเล่นโต้ตอบกันผ่านทางเครือข่ายได้

-          เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายทางธุรกิจ  ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก  ก็คือ  E – Commerce

 

 ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต

            ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต  ได้แก่

-          ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น  เพราะจะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้ง

 

-       จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้  ผู้ใช้จึงค่อนข้างเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์

ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต

-          อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้  เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ

-       หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เอง ได้  เช่น เว็บไซด์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล  เป็นต้น

       ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต

 

มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ          โปรโตคอล  ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า  TCP/IP

 TCP/IP  คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต  ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ  ไอพีแอดเดรส  (IP  Address )  เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง  ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด  (.)  เป็นสัญลักษณ์แบ่ง      ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255

ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ  เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต  จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง  ไอพีแอดเดรส  เช่น  202.44.202.3

ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน  แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก  จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส  โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน  และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท  องค์กร  เช่น  nasa.gov  เป็นต้น

ความหมายของโดเมนเนม  ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นได้จำแนกเป็น  6  ประเภท

1.   .com                      -           กลุ่มองค์การค้า (Commercial)

2.    ede                                   -           กลุ่มกี่ศึกษา (Education)

3.      .mit                         -           กลุ่มองค์การทหาร (Military)

4    .net                                    -           กลุ่มองค์การ  บริการเครือข่าย (Network  Services)

5     .org                                    -           กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)

6     .int                         -           หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

(International)

ตัวอย่าง เช่น

www.ipst.ac.th  เป็นเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคดนโลยีซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา  จึงใช้โดเมนย่อยเป็น .ac  และ .th  หมายถึง  Thailand  นั่นเอง

ความหมายของโดเมนย่อยในไทย

”           .ac       สถาบันการศึกษา (Academic)

”           .co       องค์กรธุรกิจ(Commercial)

”           .or        องค์กรอื่น ๆ(Organization)

”          .net      ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก  (Networking)

”           .go       หน่วยงานของรัฐบาล(Government)

 

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้

1.      เครื่องคอมพิวเตอร์  CPU  Pentium  233  ขึ้นไป

2.      หน่วยความจำ  (RAM)  64  MB. ขึ้นไป

3.     ฮาร์ดดิสก์ความจุ  1.2  GB.ขึ้นไป

4.      จอภาพแบบ  SVGA

5.      โมเด็มความเร็วตั้งแต่  33.6  Kbps-56 Kbps

6.      โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ  1  คู่สาย

 

 

 

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป

จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา  เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า  โมเด็ม  (Modem )  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก  แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย  ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  หลุด”  ได้

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก

            จะใช้สาย  Lease  Line  ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน  การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์  การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก  หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา  เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก

            ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต

            -  ISP (Internet  Service  Provider )  หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด  สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร  หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก  ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว

-          การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน  จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ

             โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้

1.    ซื้อแบบ  Package มาทดลองใช้  ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น  3  เดือน  6  เดือน  เป็นต้น

2.    สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น  คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน  และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน  1  เดือน  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ

1.      ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง  เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่  WWW แต่ไม่ให้บริการ  E – Mail  เป็นต้น

 

2.      คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่  มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่

 สำนักงานอัตโนมัติ

สำนักงานอัตโนมัติ  เป็นการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้

-          พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

-       การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร  หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

-          การออกแบบต่าง ๆ  มีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น

-          มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice  Mail)

-          การประชุมทางไกล  (Video  Teleconference)

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Data  Interchange : EDI ) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง  เพราะ EDI เป็นการส่งเอกสารธุรกิจหรือข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับโดยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ EDI ต่างจาก  E – Mail  ตรงที่ว่า  การส่ง  E –Mail นั้นจะต้องดำเนินการโดยคนทั้งในการส่งและการรับ  แต่ EDI  นั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการเองโดยอัตโนมัติ

ประโยชน์ของ EDI  ก็คือ  ทำให้สะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร  ประหยัด แรงงานคนในการบันทึกข้อมูล และประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

 

9.4 ทางด่วนข้อมูล

ทางด่วนข้อมูล  (Information  Superhighway )  เป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก  สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้ว  โดยการวางเส้นใยนำแสงไปตามแนวทางรถไฟ  เพื่อใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์  แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ได้รับบริการครบทุกแห่งในประเทศไทย  ลักษณะของทางด่วนข้อมูล  คือ  การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง  (ข้อมูลในที่นี้หมายรวมถึงภาพและเสียงด้วย)

9.5 ระบบรักษาความปลอดภัย

 

-          สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ควรมีกำลังไฟสำรองที่สามารถทำงานแทนกำลังไฟฟ้าหลักทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

-       สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะต้องมีการรักษาความปลอดภัย  อย่างเข้มงวด  ควรจำกัดสิทะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่จะสามารถเข้า ออกได้ เป็นต้น

-       ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันมีไวรัสที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำลายระบบข้อมูลโดยตรง  ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมและเตรียมการป้องกันอยู่เสมอ

-       ข้อมูลจะต้องมีการสำเนาไว้  ไม่ว่าจะบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง หรือ ใช้ระบบสำรองข้อมูล  และถ้าข้อมูลมีความสำคัญมากก็จะต้องมีการจัดเก็บไว้ในสถานที่  2 แห่ง ขึ้นไป

-          มีการจำกัดสิทธิผู้ใช้ระบบ  โดยการกำหนดรหัสผ่านให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละระดับ



แหล่งที่มา http://www.ndk.ac.th/E-learnning/webcom/lesson9.htm
guest profile guest

วิธการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ

ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ

เชื่อมโยง

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ

อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ

ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน

(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้

บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล

              1. โทรศัพท์

              2. เครื่องคอมพิวเตอร์

              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน

              4. โมเด็ม (Modem)

 

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์

โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)

            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง

            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ

อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย

           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย

ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ

อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย

           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้

้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย

บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)

             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์

ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)

            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์

ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN

      

           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล

            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps

            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter

            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)            

             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps

และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps

          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม

            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )

            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม

            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ

            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)

            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง

นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem

ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps

และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ

          

               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ

              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา

              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง

ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย

         

              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก

              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์

              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)

              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

 โปรโตคอล คือ อะไร

       เป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ

      ตัวอย่างของโปรโตคอล

            TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

             FTP(File Transfer Protocol)

             HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)

 

 

 

 ซอฟแวร์เเว็บซิร์ฟเวอร์

       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIX

            Apache , NCSA httpd ฯลฯ

       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NT

            IIS(Internet Information Server)

       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS 95, 98,XP

            Personal Web Server

            OmniHTTPD ฯลฯ

 

 โปรแกรมเว็บเบราเซอร์

       เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Tags ที่กำหนดในเว็บเพจ HTML ให้กลายเป็นตัวอักษร/ภาพ/เสียง

            NCSA Mosaic

            Netscape Navigator

            Microsoft Internet Explorer

            Opera

          

            โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic  สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center

for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์

ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP,

Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน

 

            โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท

MosaicCommunication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรม

ยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุน

ภาษา Java และ Javascript

             โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorer   ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ

เกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ

Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆ

ที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (LAN Topology)

เราสามารถแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 4 รูปแบบ หลักๆ ได้แก่

แบบ BUS

แบบ Ring

แบบ Star

แบบ Hybrid

โดยมีรายละเอียดการเชื่อมต่อในแบบต่างๆดังนี้

แบบ BUS  

จะมีสายสัญญาณหลัก 1 เส้น

 

เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั้งที่เป็นแม่ข่ายและลูกข่ายจะต้องเชื่อมต่อกับสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องลูกข่ายเครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องลูกข่ายเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องลูกข่ายเครื่องที่สอง (Node C) ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูลไปใช้งานต่อตามต้องการ

แบบ Ring  

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งวนจนครบเป็นวงจร

ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่งไปอีกครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง

ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้

ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก

เป็นเครื่องข่ายแบบ Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

แบบ Star

 

  • การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อผ่าน
  • สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น
  • ในการส่งข้อมูล
  • ปัจจุบันมักใช้

แบบ Hybrid  

เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้

ระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

 

 

 http://www.thaiipcamera.com/network/50-info/552-lantopology.html

 

http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html

 

guest profile guest

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

 



        

          องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต



การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
อ้างอิง
school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html

guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีอยู่ 2 แบบ ตามลักษณะการใช้งานซึ่งจะมีความเร็วและค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคล

เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านคู่สายโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายไปยังผู้ให้บริการ (คิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงในการใช้งาน) ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ โมเด็มและความหนาแน่นของสมาชิกที่ใช้งานในขณะนั้น ผู้ใช้บริการสามารถกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ให้ท่องอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน

2. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
เป็นการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าแบบส่วนบุคคลและเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า (Lease Line) และใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น Digital Modem, Router ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบส่วนบุคคล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก

วิธีการติดต่อเช้าระบบอินเทอร์เน็ตทำได้ 3 วิธี คือ

1. การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)/b>
เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gateway ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง

2. การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-Up Access)
เป็นการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) มีวิธีการหลากหลาย ได้แก่
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ Note book และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pcoket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์ไร้สายได้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) เช่น
    * WAP (Wireless Application Protocal)
    * GPRS(General Packet Radio Service)
    * CDMA (Code Division Multiple Access)
    * BLUETOOTH TECHNOLOGY
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครื่อง Palm และ Notebook ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS ซึ่งโทรศัพท์ที่สนับสนุนระบบ GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง

    ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=01-04-2009&group=11&gblog=5
    ที่มา

guest profile guest

รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย

     การเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายแบบ Ethernet นิยมใช้การเชื่อมต่อแบบ Star ซึ่งเป็นตามมาตรฐานของ 10Base T โดยมีฮับเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงสัญญาณต่างๆ ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน หมายความว่าสัญญาณหรือข้อมูลจากเครื่องต้นทางจะต้องผ่านอับก่อนทุกครั้ง แล้วจะส่งข้อมูลนั้นไปยังเครื่องปลายทาง ฮับเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว 10-100 MB./Sec (เมกกะบิตต่อวินาที) และยังสามารถจะนำฮับหลายตัวมาพ่วงต่อกันได้อีกด้วย

การทำงานพื้นฐานของ HUB 
     จากที่กล่าวไว้ว่า โพรโตคอล Ethernet ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โดยจะใช้วิธีของ Listen before Transmitting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องไดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิลอยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไปบนสายเคเบิล (เพื่อป้องกันการชนกัน Collision ของสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที)

รูปแบบการเชื่อมต่อ HUB
      ในการนำฮับมาใช้งานนั้นจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานก่อน เช่น ความยามของสาย UTP จากเครื่องถึงฮับ ความยาวของสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ 2 ตัว จำนวนสูงสุดของฮับที่สามารถใช้ต่อพ่วงได้ การจัดวางฮับให้เหมาะสม และอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับสถานที่และการใช้งาน

การเชื่อมต่อพื้นฐาน
       การเชื่อมต่อสายแลนด์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มายังฮับ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน)

จำนวนฮับที่ต่อแบบคาสเคด
       ตามทฤษฎีแล้วอับแบบ 10 MB/sec (10 เมกกะบิตต่อวินาที) จะสามารถนำมาต่อพ่วงแบบคาสเคดได้ไม่เกิน 4 ตัว โดยที่ระยะทางระหว่างฮับแต่ละตัวจะไม่เกิน 100 เมตร และสายแลนแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับต้องไม่เกิน 100 เมตรเช่นกัน รวมระยะทางแล้วทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันถึง 500 เมตร แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ควรเกิน 400 เมตร (โดยไม่ให้ความยาวแต่ละช่วงเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันการรบกวน) ถ้าต้องการต่อพ่วงฮับเกิน 4 ตัว ควรจะใช้ Stackable HUB หรือเปลี่ยนไปใช้สวิตซ์ (Switch) แทน

การเชื่อมต่อในอาคาร

       สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่อยู่ตามตึกอาคารหลายชั้น และมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หลายสิบหลายร้อยเครื่องกระจายอยู่ในแต่ละชั้น Admin จะต้องวางแผนในการเชื่อมต่อให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและสะดวกในการแก้ปัญหา โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

• เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแผนก ในแต่ละชั้นมีจำนวนเท่าไร?
• จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในบริษัท หรือหน่วยงาน
• จำนวนฮับทั้งหมดที่ต้องใช้งาน
• ระยะทางจากชั้นล่างขึ้นไปถึงชั้นบานสุดเป็นกี่เมตร
• การติดตั้งฮับแบบต่อพ่วงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

        การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารนี้ Admin ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องควบคุมส่วนตัว หรือเป็นห้องของศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีตู้ Rack Switches สำหรับเชื่อมต่อกับ Hub/Switch ในแต่ละชั้น โดยใช้สาย Fiber Optic ในการเชื่อมต่อ และในแต่ละชั้นก็อาจจะใช้ Hub หรือ Switch ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

        สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือระยะทางระหว่างฮับต้องไม่ควรเกิน 80 เมตร รวมทั้งระยะทางระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรเกิน 80 เมตรเช่นกัน ถ้าเป็นตึกขนาด 20 ชั้น และต้องใช้จำนวน 10 ตัว เพื่อความสะดวกอาจจะนำฮับมาวางไว้ในชั้นที่ 10 เพื่อง่ายในการดูแล แต่อย่าลืมว่าถ้าห้องศูนย์คอมฯ อยู่ชั้นที่ 2 แล้วคอมพิวเตอร์ในชั้นที่ 4 มีปัญหา เราต้องเดินหรือขึ้นลิฟต์มาที่ชั้น 10 เพื่อตรวจดูฮับ แต่ถ้าเรากระจายฮับไปไว้ในชั้นคู่ เช่น ชั้น 2, 4, 6, 8… จะช่วยให้เสื้อเชิ้ตของเราไม่ต้องชุ่มเหงื่อและง่ายในการทำงานอีกด้วย

เทคนิคการเชื่อมต่อ HUB 
        Admin บางคนอาจจะพบปัญหาที่ผู้ใช้โทรมาบอกบ่อยๆ เช่น บางทีก็รับไฟล์ข้อมูลไม่ได้ หรือได้มาก็ไม่สมบูรณ์ บางครั้งแมปไดร์ฟบนเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ทั้งทีเมื่อวานยังใช้งานอยู่ what happen? มันเกิดอะไรขึ้นครับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อของสายระหว่างฮับกับเครื่องไม่ดี หนูไปกัดแทะสายแลนด์เกือบขาด เดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟของตัวอาคาร หรือจัดวางฮับในการต่อพ่วงไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติแล้วเครื่องไคลเอนต์ 2 อาจจะได้รับข้อมูลช้าหรือได้ข้อมูลที่ไม่ครบ 100% เนื่องจากระยะทางจากฮับ A ไหลจากฮับ D พอสมควร วิธีแก้ไขเบื้องต้นมีดังนี้

• ห้ามเดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟฟ้าของตัวอาคาร เพราะจะเกิดการรบกวนอย่างแน่นอน
• การเดินสายแลนด์ไว้บนฝ้าเพดาน จะต้องมีท่อร้อยสายเพื่อป้องกันหนูมากัดแทะสาย
• ควรใช้สาย UTP CAT5 และหัวต่อ RJ-45 ที่มีคุณภาพ อย่าใช้ของถูกหรือของปลอม และตรวจการเข้าหัว RJ-45 กับสายแลนด์ให้ดี โดยใช้เครื่องมือ Testet เช่น Mux
• ไม่ควรเผื่อสายแลนด์ไว้ยาวเกินไป แต่ควรเข้าสายเผื่อเอาไว้ซัก 2-3 เมตร สำหรับการย้ายเครื่อง
• จัดวางฮับในการต่อพ่วงให้เหมาะสม และห้ามต่อพ่วงเกิน 4 ตัว มิเช่นนั้นให้เปลี่ยนไปใช้ Switch
อุปกรณ์ต่อเชื่อม Internet

1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.โทรศัพท์
3.Router,Modem
4.ผู้ให้บริการ ISP โดยให้บริการเกี่ยวกับการจำหน่ายชั่วโมงอินเตอร์เน็ต



รูปแบบผู้ให้บริการ Internet เครือข่าย ISP


ในการติดต่อขอให้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการมีอยู่ 2 วิธี คือ
1.การสมัครโดยตรงโดยขอผู้ให้ใช้บริการนั้นสามารถทำการติดต่อไปยังศูนย์บริการ ISP แต่ละแห่งได้โดยตรงด้วยการติดต่อยังศูนย์บริการโดยตรง
2.การสมัครโดยการซื้อบริการในรูปแบบชุดสำเร็จรูป ซึ่งสามารถเลือกซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของ Card หรือ Net Card
บริษัทผู้ให้บริการ Internet (Internet Service Providers) เป็นบริษัทซึ่งเปิดให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สถาบันการศึกษา บุคคลทั่วไป ฯลฯ โดยอาจมีขอบเขตให้บริการลูกค้าในเฉพาะเขตพื้นที่จำกัด เช่น ในระดับจังหวัด หรือ ภูมิภาค หรือ อาจมีขอบเขตให้บริการครอบคลุมในระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติก็ได้ นอกจากให้บริการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet แล้ว บริษัทผู้ให้บริการ Internet มักมีบริการ Internet อื่น ๆ เสริม เช่น ให้เช่า E-mail Box เพื่อใช้เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail)


การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง  http://akira2010.blogspot.com/2008/01/isp.html

guest profile guest

รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย

     การเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายแบบ Ethernet นิยมใช้การเชื่อมต่อแบบ Star ซึ่งเป็นตามมาตรฐานของ 10Base T โดยมีฮับเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงสัญญาณต่างๆ ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน หมายความว่าสัญญาณหรือข้อมูลจากเครื่องต้นทางจะต้องผ่านอับก่อนทุกครั้ง แล้วจะส่งข้อมูลนั้นไปยังเครื่องปลายทาง ฮับเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว 10-100 MB./Sec (เมกกะบิตต่อวินาที) และยังสามารถจะนำฮับหลายตัวมาพ่วงต่อกันได้อีกด้วย

การทำงานพื้นฐานของ HUB 
     จากที่กล่าวไว้ว่า โพรโตคอล Ethernet ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โดยจะใช้วิธีของ Listen before Transmitting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องไดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิลอยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไปบนสายเคเบิล (เพื่อป้องกันการชนกัน Collision ของสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที)

รูปแบบการเชื่อมต่อ HUB
      ในการนำฮับมาใช้งานนั้นจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานก่อน เช่น ความยามของสาย UTP จากเครื่องถึงฮับ ความยาวของสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ 2 ตัว จำนวนสูงสุดของฮับที่สามารถใช้ต่อพ่วงได้ การจัดวางฮับให้เหมาะสม และอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับสถานที่และการใช้งาน

การเชื่อมต่อพื้นฐาน
       การเชื่อมต่อสายแลนด์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มายังฮับ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน)

จำนวนฮับที่ต่อแบบคาสเคด
       ตามทฤษฎีแล้วอับแบบ 10 MB/sec (10 เมกกะบิตต่อวินาที) จะสามารถนำมาต่อพ่วงแบบคาสเคดได้ไม่เกิน 4 ตัว โดยที่ระยะทางระหว่างฮับแต่ละตัวจะไม่เกิน 100 เมตร และสายแลนแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับต้องไม่เกิน 100 เมตรเช่นกัน รวมระยะทางแล้วทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันถึง 500 เมตร แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ควรเกิน 400 เมตร (โดยไม่ให้ความยาวแต่ละช่วงเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันการรบกวน) ถ้าต้องการต่อพ่วงฮับเกิน 4 ตัว ควรจะใช้ Stackable HUB หรือเปลี่ยนไปใช้สวิตซ์ (Switch) แทน

การเชื่อมต่อในอาคาร

       สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่อยู่ตามตึกอาคารหลายชั้น และมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หลายสิบหลายร้อยเครื่องกระจายอยู่ในแต่ละชั้น Admin จะต้องวางแผนในการเชื่อมต่อให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและสะดวกในการแก้ปัญหา โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

• เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแผนก ในแต่ละชั้นมีจำนวนเท่าไร?
• จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในบริษัท หรือหน่วยงาน
• จำนวนฮับทั้งหมดที่ต้องใช้งาน
• ระยะทางจากชั้นล่างขึ้นไปถึงชั้นบานสุดเป็นกี่เมตร
• การติดตั้งฮับแบบต่อพ่วงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

        การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารนี้ Admin ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องควบคุมส่วนตัว หรือเป็นห้องของศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีตู้ Rack Switches สำหรับเชื่อมต่อกับ Hub/Switch ในแต่ละชั้น โดยใช้สาย Fiber Optic ในการเชื่อมต่อ และในแต่ละชั้นก็อาจจะใช้ Hub หรือ Switch ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

        สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือระยะทางระหว่างฮับต้องไม่ควรเกิน 80 เมตร รวมทั้งระยะทางระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรเกิน 80 เมตรเช่นกัน ถ้าเป็นตึกขนาด 20 ชั้น และต้องใช้จำนวน 10 ตัว เพื่อความสะดวกอาจจะนำฮับมาวางไว้ในชั้นที่ 10 เพื่อง่ายในการดูแล แต่อย่าลืมว่าถ้าห้องศูนย์คอมฯ อยู่ชั้นที่ 2 แล้วคอมพิวเตอร์ในชั้นที่ 4 มีปัญหา เราต้องเดินหรือขึ้นลิฟต์มาที่ชั้น 10 เพื่อตรวจดูฮับ แต่ถ้าเรากระจายฮับไปไว้ในชั้นคู่ เช่น ชั้น 2, 4, 6, 8… จะช่วยให้เสื้อเชิ้ตของเราไม่ต้องชุ่มเหงื่อและง่ายในการทำงานอีกด้วย

เทคนิคการเชื่อมต่อ HUB 
        Admin บางคนอาจจะพบปัญหาที่ผู้ใช้โทรมาบอกบ่อยๆ เช่น บางทีก็รับไฟล์ข้อมูลไม่ได้ หรือได้มาก็ไม่สมบูรณ์ บางครั้งแมปไดร์ฟบนเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ทั้งทีเมื่อวานยังใช้งานอยู่ what happen? มันเกิดอะไรขึ้นครับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อของสายระหว่างฮับกับเครื่องไม่ดี หนูไปกัดแทะสายแลนด์เกือบขาด เดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟของตัวอาคาร หรือจัดวางฮับในการต่อพ่วงไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติแล้วเครื่องไคลเอนต์ 2 อาจจะได้รับข้อมูลช้าหรือได้ข้อมูลที่ไม่ครบ 100% เนื่องจากระยะทางจากฮับ A ไหลจากฮับ D พอสมควร วิธีแก้ไขเบื้องต้นมีดังนี้

• ห้ามเดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟฟ้าของตัวอาคาร เพราะจะเกิดการรบกวนอย่างแน่นอน
• การเดินสายแลนด์ไว้บนฝ้าเพดาน จะต้องมีท่อร้อยสายเพื่อป้องกันหนูมากัดแทะสาย
• ควรใช้สาย UTP CAT5 และหัวต่อ RJ-45 ที่มีคุณภาพ อย่าใช้ของถูกหรือของปลอม และตรวจการเข้าหัว RJ-45 กับสายแลนด์ให้ดี โดยใช้เครื่องมือ Testet เช่น Mux
• ไม่ควรเผื่อสายแลนด์ไว้ยาวเกินไป แต่ควรเข้าสายเผื่อเอาไว้ซัก 2-3 เมตร สำหรับการย้ายเครื่อง
• จัดวางฮับในการต่อพ่วงให้เหมาะสม และห้ามต่อพ่วงเกิน 4 ตัว มิเช่นนั้นให้เปลี่ยนไปใช้ Switch
อุปกรณ์ต่อเชื่อม Internet

1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.โทรศัพท์
3.Router,Modem
4.ผู้ให้บริการ ISP โดยให้บริการเกี่ยวกับการจำหน่ายชั่วโมงอินเตอร์เน็ต



รูปแบบผู้ให้บริการ Internet เครือข่าย ISP


ในการติดต่อขอให้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการมีอยู่ 2 วิธี คือ
1.การสมัครโดยตรงโดยขอผู้ให้ใช้บริการนั้นสามารถทำการติดต่อไปยังศูนย์บริการ ISP แต่ละแห่งได้โดยตรงด้วยการติดต่อยังศูนย์บริการโดยตรง
2.การสมัครโดยการซื้อบริการในรูปแบบชุดสำเร็จรูป ซึ่งสามารถเลือกซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของ Card หรือ Net Card
บริษัทผู้ให้บริการ Internet (Internet Service Providers) เป็นบริษัทซึ่งเปิดให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สถาบันการศึกษา บุคคลทั่วไป ฯลฯ โดยอาจมีขอบเขตให้บริการลูกค้าในเฉพาะเขตพื้นที่จำกัด เช่น ในระดับจังหวัด หรือ ภูมิภาค หรือ อาจมีขอบเขตให้บริการครอบคลุมในระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติก็ได้ นอกจากให้บริการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet แล้ว บริษัทผู้ให้บริการ Internet มักมีบริการ Internet อื่น ๆ เสริม เช่น ให้เช่า E-mail Box เพื่อใช้เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail)


การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง  http://akira2010.blogspot.com/2008/01/isp.html

guest profile guest

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

          การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

           การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

           การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า (ตลอด 24 ชั่วโมง)

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

         1. คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป

         2. โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

           โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย

           โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C

            PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรและหนาเพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด

   

 

          3.คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม

          4.บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)


ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล

         การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน (User) หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกัน สัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก ผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง

          สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่? ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที

ADSL : การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

          ในปัจจุบันเทคโนโลยีของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้มีความต้องการในการใช้งานที่ความเร็วสูงขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการให้บริการมัลติมีเดีย เช่น การดูภาพเคลื่อนไหวผ่านเครือข่าย การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายความเร็วสูงที่ว่านี้เรียกว่า บรอดแบนด์ ที่ส่งผ่านสัญญาณความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา

          ADSL : (Asymmetric Digital Subscriber Line) คือ บรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยผ่านเทคโนโลยีของ ADSL Modem ซึ่งสามารถเปลี่ยนสายโทรศัพท์ธรรมดา ให้กลายเป็นสายดิจิตอลที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง และมีประสิทธิภาพมากกว่าการสื่อสารด้วยโมเด็มธรรมดา 5-10 เท่า และที่สำคัญเรายังสามารถใช้ประโยชน์จากระบบนี้ได้สองทางพร้อมกัน นั่นคือ สามารถสนทนาด้วยเสียงแบบธรรมดาในขณะที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ด้วย (โมเด็มอนาล็อกเดิมต้องวางสายการสนทนาก่อนจึงจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้)

ข้อดีของ ADSL

1. เป็นอินเทอร์เน็ตพร้อมใช้ตลอดเวลา "always on" เพียงคลิกบราวเซอร์ก็สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตได้
2. หมดปัญหาสายหลุด ไม่ต้องจ่ายค่าหมุนโมเด็มต่อครั้ง ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้งานโทรศัพท์
3. ดาวน์โหลดและอัพโหลดได้ทันใจ ไวกว่าเดิม 5-10 เท่า ดาวน์โหลดไฟล์ใหญ่ๆ ได้สบายใจ
4. ดูข้อมูลประเภทมัลติมีเดียได้รวดเร็ว เช่น ดูหนัง/ฟังเพลงจากอินเทอร์เน็ต วีดิโอคอนเฟอเรนซ์ การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
5. เล่นเกมออนไลน์ได้สนุกสนาน (จนอาจเสียคนได้ ถ้าแบ่งเวลาไม่ถูก)
6. ให้ความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 64 Kbps ถึง 8 Mbps


ข้อเสียของ ADSL

1. ค่าบริการและอุปกรณ์ใช้งานยังราคาแพง
2. พื้นที่บริการยังไม่ครอบคลุม (แม้แต่เมืองใหญ่ๆ ในต่างจังหวัดก็ยังมีน้อยมาก)
3. จ่ายเงินสองต่อ ค่าสายสัญญาณโทรศัพท์และค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

          อย่างไรก็ตามนโยบายของรัฐบาลโดยกระทรวงไอซีที ก็มีส่วนผลักดันให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไป หากสามารถทำให้แพร่หลาย ราคาอุปกรณ์ถูกลง ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน ก็จะทำให้ความฝันในการให้บริการข่าวสาร การจัดการความรู้สู่ชุมชนในรูปแบบออนไลน์เป็นจริงขึ้นมาได้แน่นอน


การเชื่อมต่อแบบองค์กร

          จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ (Server) ด้านต่างๆ และมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้

 

          1.คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร

          2. ดิจิตอลโมเด็ม (NTU) และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อด้วยหมายเลข IP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ

 

          3. คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ

          4. สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น School Net 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลข IP Address ของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย

 

             การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งานของเครือข่ายสูง มีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิกเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก และมีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนเป็นจำนวนมากและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 ที่มา   http://www.lms.dmw.ac.th/internet/main.php?result=content4

 

 

 

 

 

guest profile guest

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตนี้นะครับจะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันนะครับดังต่อไปนี้ครับ

•  การเชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้นะครับก็เป็นการนำระบบของเรา เชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเตอร์เน็ตเลยนะครับ โดยผ่านอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า เกตเวย์ หรือเราเตอร์ ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงครับ ซึ่งในการเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับจะสามารถเชื่อมต่อกับ ระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาเลยนะครับ แต่ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อแบบนี้จะแพงมากครับ

•  การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ หรือที่ เรียกว่า ไอเอสพี ( ISP ) นั้นเองครับ ซึ่งจะแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้ครับ

  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร ในการเชื่อมต่อแบบนี้นะครับ หากว่าผู้ใช้นั้นเป็นองค์กรที่มีการติดตั้งระบบเครือข่าย ภายในองค์กรอยู่แล้ว ก็สามารถนำ เครื่องแม่ข่าย ( Server ) มาเชื่อมต่อกับ ISP ได้เลยครับ ซึ่งจะทำให้เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในระบบนี้นะครับ สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่องเลยครับ ในการต่อแบบนี้นะครับจะต้องต่อผ่านทางสายโทรศัพท์หรือคู่สายเช่น ซึ่งต้องขอเช่นกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยครับ
  • การเชื่อมต่อส่วนบุคคล ในการเชื่อมต่อแบบนี้นะครับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถที่จะ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับ ระบบอินเตอร์เน็ตได้ครับโดยการต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ และผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ( Modem ) ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ dial-up ครับโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ก่อนเพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

 อ้างอิง  http://www.konmun.com/Article/Internet-id1579.aspx

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ

 

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
    • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
    • หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
    • ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes

 

      2.โมเด็ม (Modem)? ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ควรมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 28.8 Kbps (Kilobit per second) ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีขายตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56 Kbps ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem)

3.โทรศัพท์?(Telephone) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นโทรศัพท์บ้านสายตรง ต่อเข้ากับโมเด็มที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว 

อ้างอิง  http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page7.html

guest profile guest

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตนี้นะครับจะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันนะครับดังต่อไปนี้ครับ

•  การเชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้นะครับก็เป็นการนำระบบของเรา เชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลักของอินเตอร์เน็ตเลยนะครับ โดยผ่านอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า เกตเวย์ หรือเราเตอร์ ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูงครับ ซึ่งในการเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับจะสามารถเชื่อมต่อกับ ระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาเลยนะครับ แต่ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อแบบนี้จะแพงมากครับ

•  การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ หรือที่ เรียกว่า ไอเอสพี ( ISP ) นั้นเองครับ ซึ่งจะแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้ครับ

  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร ในการเชื่อมต่อแบบนี้นะครับ หากว่าผู้ใช้นั้นเป็นองค์กรที่มีการติดตั้งระบบเครือข่าย ภายในองค์กรอยู่แล้ว ก็สามารถนำ เครื่องแม่ข่าย ( Server ) มาเชื่อมต่อกับ ISP ได้เลยครับ ซึ่งจะทำให้เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในระบบนี้นะครับ สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่องเลยครับ ในการต่อแบบนี้นะครับจะต้องต่อผ่านทางสายโทรศัพท์หรือคู่สายเช่น ซึ่งต้องขอเช่นกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยครับ
  • การเชื่อมต่อส่วนบุคคล ในการเชื่อมต่อแบบนี้นะครับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถที่จะ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับ ระบบอินเตอร์เน็ตได้ครับโดยการต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ และผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ( Modem ) ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ dial-up ครับโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ก่อนเพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

 อ้างอิง  http://www.konmun.com/Article/Internet-id1579.aspx

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ

 

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
    • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
    • หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
    • ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes

 

      2.โมเด็ม (Modem)? ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ควรมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 28.8 Kbps (Kilobit per second) ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีขายตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56 Kbps ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem)

3.โทรศัพท์?(Telephone) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นโทรศัพท์บ้านสายตรง ต่อเข้ากับโมเด็มที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว 

อ้างอิง  http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page7.html

guest profile guest
วิธการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user)
ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อนจากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password)ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจากนั้น
จึงสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ดังรูป



องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล

  • โทรศัพท์ 
  • เครื่องคอมพิวเตอร์
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
  • โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร
์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัล
จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อก
เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps)
หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs
จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
  1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)  เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
   
   
  2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)  เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
   
   
  3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
   

 

2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) 
         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น


การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น


guest profile guest
วิธการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user)
ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อนจากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password)ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจากนั้น
จึงสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ดังรูป



องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล

  • โทรศัพท์ 
  • เครื่องคอมพิวเตอร์
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
  • โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร
์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัล
จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อก
เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps)
หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs
จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
  1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)  เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
   
   
  2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)  เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
   
   
  3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
   

 

2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) 
         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น


การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น


อ้างอิง
-http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html
-http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html
-http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html

 

guest profile guest
อุปกรณ์ต่อเชื่อม Internet

1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.โทรศัพท์
3.Router,Modem
4.ผู้ให้บริการ ISP โดยให้บริการเกี่ยวกับการจำหน่ายชั่วโมงอินเตอร์เน็ต



รูปแบบผู้ให้บริการ Internet เครือข่าย ISP


ในการติดต่อขอให้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการมีอยู่ 2 วิธี คือ
1.การสมัครโดยตรงโดยขอผู้ให้ใช้บริการนั้นสามารถทำการติดต่อไปยังศูนย์ บริการ ISP แต่ละแห่งได้โดยตรงด้วยการติดต่อยังศูนย์บริการโดยตรง
2.การสมัครโดยการซื้อบริการในรูปแบบชุดสำเร็จรูป ซึ่งสามารถเลือกซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของ Card หรือ Net Card
บริษัท ผู้ให้บริการ Internet (Internet Service Providers) เป็นบริษัทซึ่งเปิดให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สถาบันการศึกษา บุคคลทั่วไป ฯลฯ โดยอาจมีขอบเขตให้บริการลูกค้าในเฉพาะเขตพื้นที่จำกัด เช่น ในระดับจังหวัด หรือ ภูมิภาค หรือ อาจมีขอบเขตให้บริการครอบคลุมในระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติก็ได้ นอกจากให้บริการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet แล้ว บริษัทผู้ให้บริการ Internet มักมีบริการ Internet อื่น ๆ เสริม เช่น ให้เช่า E-mail Box เพื่อใช้เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail)


การ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอิน เทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการ บำรุงรักษา การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

แหล่งที่มา : http://akira2010.blogspot.com/2008/01/isp.html

guest profile guest

วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เนท (นรินทร์รัตน์ ศรีศักดา :: 2553)

                        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต

โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

การเชื่อมโยงต่อผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการ

จัดสรรการเชื่อมโยง

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

 

องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ

ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN

นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการ

เข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ต

ไร้สายได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML

(Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www

โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps

และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง

และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐาน

ซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP

และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้าน

ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย

โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยี

ไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ต

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน ทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS

โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ

Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือ

เพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์

จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
                        1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ

เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล

                        2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม

และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps

                        3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter

                        4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ

ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว

ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด

ที่ 2 Mbpsและความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps

องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ

บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์

แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณ

ความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี

ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps

(อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps)

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ

องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL
                        1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
                        2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา

                        3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การ

ส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา

ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย

องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก

2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์

3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)

4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

อ้างอิง url :: http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html

guest profile guest
ขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
 
          ขั้นตอนที่1   ดับเบิ้ลคลิกไอคอน (SU Net) เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหน้าเดสก์ทอป จะปรากฎ
  1.1.  ใส่ Username  เช่น  malee@su.ac.th  
  1.2.  ใส่ Password  
  1.3.  ถ้าต้องการให้วินโดว์บันทึกรหัสผ่านไว้ เพื่อให้ครั้งต่อไปไม่ต้องใส่รหัสผ่านก็ให้
        คลิก Save Password  และคลิก Me only
 
  1.4.  แล้วทำการคลิก Dial เพื่อหมุนโมเด็มไปยังผู้ให้บริการ (ISP)  
     
 
 
     
     
          ขั้นตอนที่2  จะแสดงการเชื่อมต่อว่าทำการต่อไปที่เบอร์โทรศัพท์ใด  
     
 
 
     
     
          ขั้นตอนที่3  ถ้าเชื่อมต่อได้จะเปลี่ยนเป็นสถานะเป็น Verifying user name and password แต่ถ้าเชื่อมต่อไม่ได้หรือสายไม่ว่าง
จะมีข้อความบอกว่า Line Busy
 
     
 
 
     
     

          ขั้นตอนที่4  ถ้าเครื่อง Server ทำการตรวจสอบว่า Loggin กับ Password ถูกต้องจะเปลี่ยนสถานะเป็น  Registering your
computer on the network  แต่ถ้าหากไม่ถูกต้องจะมีหน้าต่างให้ใส่ Username และPassword อีกครั้ง

 
     
 
 
     
     

          ขั้นตอนที่5  เมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วจะปรากฎรูปไอคอน connection ตรง Task Bar มุมขวาล่างว่าได้ทำการเชื่อมต่อได้แล้ว
และเชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไร

 
 
     
     
           ขั้นตอนที่6  หากต้องการดูสถานะหรือ Disconnect Log out ออกจากระบบให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon connection ตรง Task Bar
มุมขวาด้านล่างขึ้นมา จ
ะปรากฎหน้าต่างแสดงสถานะการทำงานดังรูปดังนี้
  6.2  Status                   :       สถานะการเชื่อมต่อว่ากำลังเชื่อมต่ออยู่หรือไม่  
  6.3  Duration               :       ระยะเวลาในการใช้  
  6.4  Speed                   :       เชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไหร่  
  6.5  Bytes received     :       อัตราการรับข้อมูล  
     
 
 
     
     
          ขั้นตอนที่7  หากต้องการยกเลิกการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ให้คลิกที่ Disconnect  
     
 
 
     Top
guest profile guest

รูปแบบการเชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์ค

รูปแบบการเชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์ค

       จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และความสามารถด้าน HW ที่สูงมากขึ้นทำให้ความต้องการการเชื่อมต่อความเร็วสูง มีมากขึ้นตามไปด้วยทำให้หลายๆ องค์กรต้องนำเสนอโซลูชั่นเพื่อ แก้ปัญหา หรือขยายขอบเขตการ เชื่อมต่อระหว่างองค์กร หรือภายในองค์กรเอง ทั้งในที่เดียวกัน และสาขา ทั้งเพื่อความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย บทความนี้จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับการเชื่อมต่อในเกือบๆ ทุกรูปแบบ ที่มีให้บริการได้จริงและใช้งานได้จริงในประเทศไทย เพื่อให้เป็นความรู้และแนนทางในการพัฒนาระบบต่อไป (ปล. สงสัยประการใด หรือขอข้อมูลแบบระเอียดใน Service ใดสามารถติตดิอได้ทาง E-Mail ครับ)

       ปกติการสร้างเครือข่าย LAN สาย UTP คือทางเลือกอันดับแรกที่เราจะเลือกใช้ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ระยะทางของอุปกรณ์เครือข่ายนั้นมีระยะทางมากกว่า 100 เมตรซึ่งเป็นข้อจำกัดของสาย UTP ซึ่งวันนี้มีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาเลือกใช้ได้ดังนี้

การติดตั้ง Repeater หรือ Switching Hub ไว้ทุกๆ 100 เมตร
56K Modem: Back to Back
Fiber Optic
Wireless LAN
VDSL
G.SHDSL
ADSL
ISDN
Leased Line
Firewall/VPN Firewall/VPN IP Sec
VPN
Frame Relay
Virtual Leased Line(VLL)
โดยแต่ละเทคโนโลยีก็มี ข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป แต่ในฐานะผู้ดูและเครือข่าย ก็จำเป็นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของการรับส่งข้อมูล และที่สำคัญต้องเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า



การติดตั้ง Repeater หรือ Switching Hub ไว้ทุกๆ 100 เมตร

จาก ข้อจำกัดของระยะทางระหว่างอุปกรณ์ (Network Node) ที่ติดตั้งระยะหว่าง Hub ผ่านสาย UTP นั้นจะมีข้อจำกัดที่ระยะทาง 100 เมตร โดยหากเราต้องการขยายระยะทางของเครือข่าย จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ Repeater ซึ่งก็คือ Hub ไว้ทุกๆ 100 เมตร การใช้วิธีนี้ สามารถทำได้ หากเครือข่ายนั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการติดตั้งอุปกรณ์ Repeater แต่ในสภาพ




56K Modem:

56K โมเด็มเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แบบดังเดิม โดยผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยการหมุนโมเด็มไปยัง ISP โดยผ่านสายโทรศัพท์ แต่สำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในที่พักอาศัย ต้องพบกับอุปสรรค์ในการใช้งาน เพราะนอกจากจะมีความเร็วต่ำแล้วโดยปกติระบบโทรศัพท์ในโรงแรมจะผ่านระบบ PABX ซึ่งโดยมากจะตัดตามระยะเวลาที่กำหนด ความเร็วในการเชื่อมต่อจะถูกลดทอนลง เหลือเพียง 33.6 Kbps เท่านั้นและยังมีปัญหาเดิม คือ สายไม่ว่าง และสายหลุดอยู่เป็นประจำ

การเชื่อมต่อ LAN ระยะไกลด้วย 56K โมเด็มนั้น ถึงแม้จะสามารถทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ แต่ความเร็วของการเชื่อมต่อนั้นทำได้ด้วยความเร็วสูงสุดเพียง 33.6Kbps เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับเครือข่าย LAN อย่างแน่นอนแต่ 56K โมเด็มน่าจะเป็นทางเลือกสำหรับการเชื่อมต่อ PC หนึ่งเครื่องเข้ากับเครือข่ายหลักเท่านั้น






Fiber Optic

แต่ก่อนทางออกสำหรับเครือข่าย LAN ระยะไกลนั้นก็คือ Fiber Opticซึ่งหากจะว่าไปแล้ว Fiber Optic ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุด เร็วที่สุด แต่ก็แพงที่สุดเช่นกัน ซึ่งหากคำนวณค่าใช้จ่ายต่อจุดที่จะติดตั้งออกมาแล้ว ทั้งค่าสาย Fiber Optic ค่าแรงในการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา อา
guest profile guest
เน็ท hi-speed หรือก็คือ ADSL ครับ เป็นสัญญาณ ที่อยู่ในช่วงเหนือเสียงครับ
ทุกวันนี้ที่คุณใช้เน็ท 56k นั้นอยู่ในช่วงความถี่ของเสียงครับเวลาต่อเน็ทอยู่ยกหูโทรศัพท์
ขึ้นมาฟังจะได้ยินเสียงตี๊ดๆ นะครับ แต่ว่า adsl นี้อยู่เหนือเสียงที่เราได้ยินครับยกหูขึ้นมาก็
ยังใช้งานโทรศัพท์ได้ครับ(อาจจะต้องมี splitter สำหรับแยกสัญญาณสักหน่อยเพื่อให้ไม่กวนกัน)
ส่วนลักษณะของการเชื่อมต่อก็มี ง่ายๆอยู่ 2 แบบครับ
1. modem
2. router
ทั้งสองอย่างสามารถทำหน้าที่ในการต่อ สัญญาณ adsl ได้ครับ
อ้าวแล้วต่างกันอย่างไร

ต่างกันอย่างนี้ครับ
modem เนี่ยใช้สำหรับเชื่อมต่อครับอาจจะเป็นแบบ usb หรือ rj45 ก็ได้อาจจะใช้เป็น ppo-e หรืออื่นๆ
ซึ่งใส่ส่วนของ path ต่างๆหรือการทำงานเกี่ยวกับ connection หรือ session เครื่องคอมของเราจะเป็น
ตัวจัดการครับ ดังนั้นถ้าใช้งานหนักๆจำเป็นต้องมี connection มากๆ เชื่อไหมใช้งาน modem จะดีกว่า
(เครื่องคอมของเราจะต้องแรงหน่อยนะครับ)
ส่วน router นั้นทำหน้าดีต่างกันครับ คือมันจะเป็นตัวควบคุม path ต่างๆการทำ nat การจัดการเกี่ยวกับ
connection และ session ให้ครับข้อดีคือเปิดปุ๊บก็ทำการเชื่อต่อให้เอง(โมเด็มก็ตั้งได้นะครับ)การจะ
share internet ก็ง่ายกว่า(สำหรับเครื่องหลายเครื่อง)เพียงเข้าใจการตั้งค่า network นิดหน่อยก็สามารถ
share internet ได้ง่ายๆ และยังมี function อีกมากมายให้เล่นแล้วแต่รุ่นไป แต่ว่าเชื่อไหมมันรองรับ
connection ได้จำกัดครับซึ่งน้อยกว่าเครื่องของเราที่ใช้ต่อ modem (สำหรับเครื่องรุ่นเล็กๆนะครับอย่าง
พวก personal use หรือ home use สำหรับพวก cooperate หรือ high-end แล้วมันก็เก่งมากครับ
รองรับได้เยอะ)บางครั้งมี firewall และ qos ให้ด้วยบางทีก็มีพวก ddns ให้อีก เดี๋ยวนี้เก่งครับ router
ถ้าคุณไม่ได้ใช้งาน connectionหนักมากผมแนะนำใช้router ครับแต่ถ้าเค้าแถม modem มาก็ไม่ต้อง
ไปซื้อครับใช้เท่าที่เรามีครับ ไว้เสียค่อยซื้อใหม่ก็ได้ (เครื่องคอมเราถ้าเซ็ทเป็น มันก็ทำหน้าที่เหมือนกับ
router ที่ผมบอกได้หมดหละครับ ขึ้นกับ software ที่เราต้องการมีหรือเปล่า )
guest profile guest
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้



        

          องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต



การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

ที่มาhttp://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/kantorrabob.html

guest profile guest
อ้างอิง จาก guest เมื่อ 24/6/2553 22:45:00

เน็ท hi-speed หรือก็คือ ADSL ครับ เป็นสัญญาณ ที่อยู่ในช่วงเหนือเสียงครับ
ทุกวันนี้ที่คุณใช้เน็ท 56k นั้นอยู่ในช่วงความถี่ของเสียงครับเวลาต่อเน็ทอยู่ยกหูโทรศัพท์
ขึ้นมาฟังจะได้ยินเสียงตี๊ดๆ นะครับ แต่ว่า adsl นี้อยู่เหนือเสียงที่เราได้ยินครับยกหูขึ้นมาก็
ยังใช้งานโทรศัพท์ได้ครับ(อาจจะต้องมี splitter สำหรับแยกสัญญาณสักหน่อยเพื่อให้ไม่กวนกัน)
ส่วนลักษณะของการเชื่อมต่อก็มี ง่ายๆอยู่ 2 แบบครับ
1. modem
2. router
ทั้งสองอย่างสามารถทำหน้าที่ในการต่อ สัญญาณ adsl ได้ครับ
อ้าวแล้วต่างกันอย่างไร

ต่างกันอย่างนี้ครับ
modem เนี่ยใช้สำหรับเชื่อมต่อครับอาจจะเป็นแบบ usb หรือ rj45 ก็ได้อาจจะใช้เป็น ppo-e หรืออื่นๆ
ซึ่งใส่ส่วนของ path ต่างๆหรือการทำงานเกี่ยวกับ connection หรือ session เครื่องคอมของเราจะเป็น
ตัวจัดการครับ ดังนั้นถ้าใช้งานหนักๆจำเป็นต้องมี connection มากๆ เชื่อไหมใช้งาน modem จะดีกว่า
(เครื่องคอมของเราจะต้องแรงหน่อยนะครับ)
ส่วน router นั้นทำหน้าดีต่างกันครับ คือมันจะเป็นตัวควบคุม path ต่างๆการทำ nat การจัดการเกี่ยวกับ
connection และ session ให้ครับข้อดีคือเปิดปุ๊บก็ทำการเชื่อต่อให้เอง(โมเด็มก็ตั้งได้นะครับ)การจะ
share internet ก็ง่ายกว่า(สำหรับเครื่องหลายเครื่อง)เพียงเข้าใจการตั้งค่า network นิดหน่อยก็สามารถ
share internet ได้ง่ายๆ และยังมี function อีกมากมายให้เล่นแล้วแต่รุ่นไป แต่ว่าเชื่อไหมมันรองรับ
connection ได้จำกัดครับซึ่งน้อยกว่าเครื่องของเราที่ใช้ต่อ modem (สำหรับเครื่องรุ่นเล็กๆนะครับอย่าง
พวก personal use หรือ home use สำหรับพวก cooperate หรือ high-end แล้วมันก็เก่งมากครับ
รองรับได้เยอะ)บางครั้งมี firewall และ qos ให้ด้วยบางทีก็มีพวก ddns ให้อีก เดี๋ยวนี้เก่งครับ router
ถ้าคุณไม่ได้ใช้งาน connectionหนักมากผมแนะนำใช้router ครับแต่ถ้าเค้าแถม modem มาก็ไม่ต้อง
ไปซื้อครับใช้เท่าที่เรามีครับ ไว้เสียค่อยซื้อใหม่ก็ได้ (เครื่องคอมเราถ้าเซ็ทเป็น มันก็ทำหน้าที่เหมือนกับ
router ที่ผมบอกได้หมดหละครับ ขึ้นกับ software ที่เราต้องการมีหรือเปล่า )
ที่มา www.zone-it.com/69732

guest profile guest
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยGPRS

ปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS ในประเทศไทยกันมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัทต่าง ๆ มีให้บริการกันมากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั่วประเทศ อุปกรณ์การเชื่อมต่อหรือโทรศัพท์มือถือหลากหลายยี่ห้อต่างก็รองรับการทำงานของบริการ GPRS กันทั้งนั้น แถมยังมี Bluetooth ให้เราได้ใช้งานกันอีก(ไม่ต้องวิ่งหาสายเคเบิ้ลเพื่อต่อ Modem กันแล้ว) ประกอบกับค่าบริการ GPRS ของผู้ให้บริการมีราคาถูกลง (ในอนาคตหากลดลงอีกผู้ใช้จะมากขึ้นนะครับ) เฉลี่ยนาทีละ 1 บาท  วันนี้ผมขอแนะนำ Solution ที่ผมใช้งานอยู่ก็นับว่าวิธีการที่สะดวกมาก เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์ หรือผู้บริหารที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ และต้องใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะอยู่บนเกาะ  ชนบท  กลางทุ่งนา ก็สามารถ access internet ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือไปถึง ความเร็วที่ได้จะประมาณ 115 kbps ต่อวินาที ประมาณ 2 เท่าของการ Dial up ผ่าน Modem ทั่ว ๆ ไป นับว่าใช้งานได้ดีทีเดียว

รูปแบบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย GPRS ผ่านโทรศัพท์มือถือ

DTAC Network

Bluetooth link

รูปแบบที่ 1 การเชื่อมต่อผ่าน GPRS เพื่อให้  Pocket PC ใช้อินเทอร์เน็ตได้

DTAC Network
         

Bluetooth link

รูปแบบที่ 2 การเชื่อมต่อผ่าน GPRS เพื่อให้ Notebook ใช้อินเทอร์เน็ตได้

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.     คอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Pocket PC ที่มีการรองรับการทำงานของ Bluetoothเนื่องจากเราไม่ต้องการใช้สายเคเบิ้ลเชื่อมต่อไปยังโทรศัพท์
2.     โทรศัพท์มือถือที่รองรับการทำงาน Bluetooth แบบ Dial up ซึ่งส่วนใหญ่ โทรศัพท์ในปัจจุบันรองรับอยู่แล้ว และโทรศัพท์นี้สามารถใช้ GPRS ได้
3.     ติดต่อขอใช้บริการ Internet ผ่าน GPRS กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ท่านใช้งานอยู่ แล้วเลือก Package การให้บริการตามความเหมาะสมกับการใช้งานของท่านครับ

                บทความนี้เป็นบทความที่นำเสนอเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS โดยใช้มือถือซึ่ง น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับหลาย ๆ ท่านที่กำลังมองหาวิธีการอยู่ จะเห็นได้ว่าเราไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ GPRS จากภายนอกเลย

http://www.oknation.net/blog/rattiya50221/2007/11/14/entry-1
ป้าย : การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยGPRS
Dictionary : การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยGPRS
guest profile guest

วิธการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้



        

          องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต



การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น



โปรโตคอล คือ อะไร

       เป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ

      ตัวอย่างของโปรโตคอล


            TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
             FTP(File Transfer Protocol)
             HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)

ซอฟแวร์เเว็บซิร์ฟเวอร์

       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIX

            Apache , NCSA httpd ฯลฯ
       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NT
            IIS(Internet Information Server)
       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS 95, 98,XP
            Personal Web Server
            OmniHTTPD ฯลฯ

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์

       เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Tags ที่กำหนดในเว็บเพจ HTML ให้กลายเป็นตัวอักษร/ภาพ/เสียง
            NCSA Mosaic
            Netscape Navigator
            Microsoft Internet Explorer
            Opera

            
            โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic  สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center
for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์
ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP,
Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน

            โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท
MosaicCommunication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรม
ยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุน
ภาษา Java และ Javascript

             โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorer   ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ
เกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ
Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆ
ที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน
guest profile guest

วิธการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้



        

          องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต



การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
         
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)             
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
           
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น



โปรโตคอล คือ อะไร

       เป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ

      ตัวอย่างของโปรโตคอล


            TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
             FTP(File Transfer Protocol)
             HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)

ซอฟแวร์เเว็บซิร์ฟเวอร์

       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIX

            Apache , NCSA httpd ฯลฯ
       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NT
            IIS(Internet Information Server)
       ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS 95, 98,XP
            Personal Web Server
            OmniHTTPD ฯลฯ

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์

       เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Tags ที่กำหนดในเว็บเพจ HTML ให้กลายเป็นตัวอักษร/ภาพ/เสียง
            NCSA Mosaic
            Netscape Navigator
            Microsoft Internet Explorer
            Opera

            
            โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic  สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center
for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์
ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP,
Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน

            โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท
MosaicCommunication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรม
ยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุน
ภาษา Java และ Javascript

             โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorer   ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ
เกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ
Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆ
ที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

cl_km Icon เทคนิคการค้นหาข้อมูล 43 อ่าน 21,350 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 39 อ่าน 5,331 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 39 อ่าน 25,281 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon อินเตอร์เน็ตคืออะไร 42 อ่าน 9,013 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา