การประดิษฐ์เกี่ยวข้าว

konbandon profile image konbandon

alt


ภาพที่ 1 เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง

ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยปกติการเก็บเกี่ยวข้าวจะเก็บเกี่ยวกันด้วย เคียว หากการเก็บเกี่ยวข้าวนั้นใช้แรงงานเฉพาะที่มีอยู่ในครอบครัวก็อาจจะทำให้การเก็บเกี่ยวไม่ทันเวลา เมล็ดข้าวจะ กรอบและร่วงหล่นลงพื้นเสียหายได้ จึงเกิดประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว หรือจ้างแรงงานคนเก็บเกี่ยวข้าว ในปัจจุบันประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวกำลังสูญหายไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ซึ่งสมาชิกในครอบครัวของเกษตรกรมีจำนวนน้อยลง ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมลดน้อยลง และส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรตามมา หลายแห่งต้องแย่งแรงงานกันทำให้มีการเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันค่าจ้างในการเกี่ยวข้าวตกอยู่ระหว่าง 170-200 บาท/วัน และยังต้องจ้างเก็บเกี่ยวข้าวมัดเป็นฟ่อน และว่าจ้างรถนวดข้าวซ้ำซ้อนอีกหลายครั้ง ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

alt


ภาพที่ 2 แบบสะพายหลังUMR435 รุ่น 4 จังหวะ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เทคโนโลยีการเกษตรโดยเฉพาะจักรกลการเกษตรต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวข้าวในปัจจุบันได้นำเอาเครื่องเกี่ยว-นวด หรือ เครื่องคอมบาย (combine) ซึ่งก็คือการนำเอาเครื่องเกี่ยวและเครื่องนวดมาไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาหรือข้อด้อยของเครื่องเกี่ยวนวดดังกล่าวคือ ค่าจ้างรถเก็บเกี่ยวที่มีราคาสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา คืออยู่ระหว่างไร่ละ 450-600 บาท อีกทั้งรถเกี่ยวข้าวเองไม่ค่อยมีคิวว่าง เพราะช่วงนี้เป็นฤดูเก็บเกี่ยวจึงมีงานจ้างเข้ามามาก อีกทั้งปัญหาการปนจากข้าวพันธุ์อื่นๆ หรือข้าววัชพืชจากแปลงนาที่มีการระบาดไปสู่แปลงนารายอื่น ทำให้เกิดปัญหาในแง่คุณภาพข้าวตามมา และเป็นข้ออ้างที่ทางโรงสีเอามากดราคาข้าวของเกษตรกรที่ใช้เครื่องดังกล่าว ให้มีราคาต่ำลง ดังนั้นเกษตรกรจึงได้เกิดแนวความคิดที่จะแก้ปัญหานี้ขึ้น โดยการแก้ปัญหานี้ต้องคำนึงถึงหลักที่ว่าเป็นวิธีการเก็บเกี่ยวข้าวที่ใช้แรงงานคนและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและสามารถเก็บเกี่ยวได้ทันเวลาด้วย อีกทั้งยังสามารถทำให้เกษตรกรรายย่อยที่มีสมาชิกในครัวเรือนน้อยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ตามปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง“ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา จากการสัมภาษณ์เกษตรกร นาย เพลิน กล้าหาญ ชาวบ้านโคกเที่ยง ต. คันไร่ อ. สิรินธร จ. อุบลราชธานี ได้ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง มาดัดแปลงใช้ในการเกี่ยวข้าว ซึ่งจากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายนี้ พบว่าใช้ เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง UMR435T รุ่น 4 จังหวะ ราคา 8000-8200 บาทต่อเครื่อง (ภาพที่ 1 และ 2) และมีอุปกรณ์เสริม

 

คือกรงเกี่ยวข้าวที่ทำด้วย สแตนเลส และมีผ้าตาข่ายคลุราคา 300 บาท เพื่อใช้ป้องกันการร่วงหล่นของเมล็ดข้าว และเวลาเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องตัดหญ้าทำให้ข้าวที่เกี่ยวเสร็จล้มไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดความสะดวกในการเก็บหลังเกี่ยว (ภาพที่ 5 - ภาพที่ 8) ใบมีดตัดหญ้าให้ใช้แบใบเลื่อยวงกลม หรือวงเดือนซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้ ขนาดเส้นฝ่าศูนย์กลาง 9 นิ้ว และใบเลื่อยหนา 2.6 มม. (Circular saw blade for wood cutting) ราคา 450 บาทต่ออัน (ภาพที่ 4)

โดยปกติการเกี่ยวข้าวโดยใช้แรงงานคน 1 คน สามารถเกี่ยวข้าวได้มากที่สุดพื้นที่ ประมาณ 0.5-1 ไร่/แรง/วัน ซึ่งค่าแรงประมาณ 170-200 บาท/วัน แต่ถ้าใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง แบบ 4 จังหวะ ซึ่งต้นทุนปีแรกอาจจะสูงไปนิดหนึ่ง แต่ก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากสามารถนำไปรับจ้างเกี่ยวข้าวให้กับเพื่อนบ้าน เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ต้นทุนในการเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง ใช้น้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 2 ลิตรต่อวัน ราคาลิตรละประมาณ 25 บาท ก็จะเสียค่าใช้จ่ายไปประมาณ 50 บาทต่อวัน ต่อคนตัด 1 คน ซึ่งสามารถเกี่ยวข้าวได้ 2 -4 ไร่ต่อวันต่อคน ขึ้นกับความชำนาญในการใช้เครื่องตัดหญ้า ก็หมายความว่าเราสามารถใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลังเกี่ยวข้าวแทนแรงงานคนได้ถึง 4-8 แรงต่อวัน และจะประหยัดเงินได้ถึงไร่ละ 120-150 บาท ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องตัดหญ้ามาใช้เกี่ยวข้าว ก็มีข้อด้อยด้วยกันหลายประการดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ในกรณีที่ใช้กรงเกี่ยวข้าวที่ทำด้วยสแตนเลส และมีผ้าตาข่ายคลุม ที่ซื้อหาตามท้องตลาด เพื่อใช้ป้องกันการร่วงหล่นของเมล็ดข้าว และทำให้ข้าวที่เกี่ยวเสร็จล้มไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดความสะดวกในการเก็บหลังเกี่ยวนั้นมีข้อเสียคือ เครื่องเกี่ยวข้าวจะมีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการเกี่ยวข้าวเป็นระยะเวลานานๆ และไม่เหมาะกับแรงงานผู้หญิง ดังนั้นควรเลือกใช้กรงเกี่ยวข้าวแบบทำเอง ดังแสดงใน (ภาพที่ 3) เพราะมีน้ำหนักเบากว่า
2. การใช้เครื่องเกี่ยวข้าวชนิดนี้จะใช้ได้ดีเฉพาะนาดำเท่านั้น เนื่องจากระยะปักดำเป็นแถวเป็นแนว ทำให้เกิดความสะดวกในการเข้าไปเก็บเกี่ยวข้าว ส่วนในนาหว่านจะทำได้ไม่สะดวก
3. การใช้เครื่องเกี่ยวข้าวชนิดนี้ ไม่เหมาะกับนาข้าวที่ต้นข้าวมีความสูงเกินกว่า 120 เซนติเมตร เนื่องจากต้นข้าวที่มีความสูงมากเกินไป เมื่อใช้เครื่องตัดหญ้าตัดต้นข้าว จะทำให้ส่วนของต้นข้าวเข้าไปในเครื่องตัดหญ้า ทำให้เครื่องติดขัดไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนั้นแล้วต้นข้าวที่มีความสูงมากๆ จะทำให้เกิดปัญหาข้าวล้ม ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องตัดหญ้าได้เช่นกัน

alt

ภาพที่ 3 กรงเกี่ยวข้าว Hand made

alt


ภาพที่ 4 ใบมีดตัดหญ้าแบบใบเลื้อยวงกลม

4. ในกรณีที่มีฝนตกหรือน้ำท่วมขังนาข้าวในระยะเก็บเกี่ยว จะไม่สะดวกในการใช้เครื่องชนิดนี้เก็บเกี่ยวข้าว เนื่องจากข้าวที่เก็บเกี่ยวจะล้มลงไปในนาข้าวทำให้ข้าวเปียกน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวที่อยู่กลางแปลงนา ทำให้ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้มีคุณภาพต่ำ และเปอร์เซ็นต์ข้าวหักสูง

alt

ภาพที่ 5
สาธิตวิธีการเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องตัดหญ้า

alt


ภาพที่ 7 เกี่ยวข้าวได้รวดเร็วและล้มไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

 

alt
ภาพที่ 6 ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลังเกี่ยวข้าวให้ล้มไปในทิศทางที่กำหนด

ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องตัดหญ้า มาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเก็บเกี่ยวข้าว จึงจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทั้งข้อดีและข้อด้อย และปรับใช้ตามความเหมาะสมในสภาพพื้นที่ของเกษตรกรแต่ละราย โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่เกษตรกรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ต้นทุนการเก็บเกี่ยว และคุณภาพข้าวที่จะได้หลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งผู้เขียนคาดหวังว่าเครื่องตัดหญ้าดัดแปลงนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเก็บเกี่ยวข้าวให้เกษตรกรชาวนาไทย และสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พยอม โคเบลลี่ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี 045-344103-4 ต่อ 122 หรือ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

alt

ภาพที่ 8 ข้าวหลังเกี่ยวด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลังวางอย่าง เป็นระเบียบพร้อมแล้วสำเร็จการเก็บมัดและรอการนวด

ตาราง เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยวิธีการต่างๆ

วิธีการเก็บเกี่ยวข้าวแรงงาน (คน)พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่)ค่าแรง (บาท/ไร่)

ต้นทุนเริ่มต้น*(บาท)

ใช้แรงงานคน

1

0.5-1

150-200

35-50

รถเกี่ยว-นวด

- ขนาดเล็ก 11.5 แรงม้า17-10450-700365,000
- ขนาดกลาง 48-80 แรงม้า115450-700890,000
- ขนาดใหญ่ 100-120 แรงม้า120-30450-7001,400,000
เครื่องเกี่ยวหญ้า แบบสะพายหลัง12-450

8,750-8,950

หมายเหตุ:

* = ต้นทุนเริ่มต้นคือราคาของเคียวเกี่ยวข้าว 35-50 บาท/อัน (ราคาซื้อเงินสด), ราคาของรถเกี่ยวนวด ขนาด 11.5 -120 แรงม้า (ราคาซื้อเงินสด) และราคาของเครื่องเกี่ยวข้าวแบบสะพายหลัง แบบ 4 จังหวะ ยี่ห้อฮอนด้า พร้อมอุปกรณ์เสริมพร้อมใช้ในงานเกี่ยวข้าว เช่น กรงเกี่ยวข้าวที่ทำด้วย สแตนเลส และมีผ้าตาข่ายคลุม ราคา 300 บาท ใบมีดตัดหญ้า ราคา 450 บาทต่ออัน (ราคาซื้อเงินสด)


บรรณานุกรม

http://uttaradit.doae.go.th/newskasard/new003.htm

http://w3.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=2000000057354

http://www.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9470000086246

hhttp://www.tanti.ac.th/it.wiset.htmttp://www.tanti.ac.th/it.wiset.htm

http://www.thaifolk.com/scripts/ListofProduct.asp

 


ขอขอบคุณ

คุณสมเกียรติ นาวิบูลวงศ์ หจก. พิบูลมิตรสัมพันธุ์ 4/1-2 ถนนพรหมแสง อ. พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเกี่ยวหญ้าแบบสะพายหลัง ใบเลื้อยและอุปกรณ์ เสริม และคุณราชันต์ คุรินทร์ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถเกี่ยว-นวด

 

 
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

konbandon Icon บทนำของโครงการ อ่าน 449 9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon นิทานก้อม อ่าน 1,289 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon บทเพลงแห่งท้องนา อ่าน 1,088 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon การประดิษฐ์เกี่ยวข้าว อ่าน 4,746 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon ลำล่องมหาแดงลืมโต อ่าน 1,850 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon ผญาอีสาน อ่าน 16,379 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon หมอลำพันปี อ่าน 742 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา