เอารายละเอียดเกี่ยวกับวิจัยมาฝาก ::> Ref:ครูบ้านนอกดอทคอม

eduadmin13 profile image eduadmin13

จงอธิบายและให้ความหมายของคำต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบูรณ์  (50 คะแนน)

1.  การวิจัย, ปัญหาของการวิจัย,  แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย, แนวทางในการกำหนดปัญหาของการวิจัย                    1.1  คำว่า การวิจัย ได้มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้                                                                              การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นคว้าความรู้ ความจริง อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์และตีความ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ( รศ. ดร. พะยอม วงศ์สารศรี )                                                                       การวิจัย   หมายถึง  กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบคำถาม  หรือปัญหาที่มีอยู่อย่างเป็นระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน                                                                                                                         การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบแบบและแผนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์(สภาวิจัยแห่งชาติ วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20)                                                                                                                                                                   การวิจัย   หมายถึง  การแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผน เชื่อถือได้  (พจน์  สะเพียรชัย  วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20)                                                                                                                    การวิจัย   หมายถึง  กระบวนการแสวงหาความจริงหรือพิสูจน์ความจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้  โดยกระบวนการทีใช้เพื่อการแสวงหาความจริงมีลักษณะสำคัญดังนี้ (เครือวัลย์  ลิ้มปิยะศรีกุล. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20)                                                                              1. ต้องเป็นการแสวงหาหรือพิสูจน์ความจริงที่เป็นข้อเท็จจริง                                                                                                                            2. ต้องเป็นการกระทำที่มีความมุ่งหมายอย่างแน่นอน ดังนั้นการค้นพบโดยบังเอิญ จึงไม่ถือว่าเป็นการวิจัย                                                                                                                                                                                   3. ต้องดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอนตามวิธีทางวิทยาศาสตร์                                                                          การวิจัย   หมายถึง   กระบวนการในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริง  (Reliable  Knowledge)  เพื่อที่จะนำความรู้ความจริงที่ได้มาช่วยในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ (Karl  F. Schuessler  วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2547: 20)

          Best and Kahn ให้ความหมายของการวิจัยไว้ดังนี้

                การวิจัย  หมายถึง  การวิเคราะห์ที่มีระบบ ระเบียบ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นข้อสรุปที่เป็นนัยทั่วไป หรือได้มาซึ่งหลักเกณฑ์หรือทฤษฎี อันสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ได้และมีคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ

          1. การวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายสุดท้าย (Ultimate goal) กล่าวคือการค้นพบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปร (Variable) ต่าง ๆ

          2. การวิจัยควรเน้นการพัฒนาข้อสรุปที่เป็นนัยทั่วไป (Generalization) หลักการ (Principle) หรือทฤษฎี (Theory) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          3. การวิจัยต้องอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สามารถสังเกตได้ (Observable experience) หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical evidence) ซึ่งในหลายกรณีจะเห็นว่ามีคำถามที่น่าสนใจหลายประการที่ไม่สามารถนำไปสู่กระบวนการทำวิจัยได้ เพราะไม่สามารถสังเกตได้

          4. การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง (Accurate observation) และพรรณาความได้ นักวิจัยอาจเลือกวิธีการวัดและเครื่องมือทางด้านปริมาณ หากมีความเหมาะสม และถ้าหากไม่สามารถใช้เครื่องมือด้านปริมาณที่เหมาะสมในการหาคำตอบได้ นักวิจัยก็จะต้องใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) หรือวิธีการที่ไม่ใช่เชิงปริมาณ (Non qualitative method) แทน

                5. การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลที่ใช้เป็นครั้งแรก หรือมิฉะนั้นก็จะเป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสำหรับวัตถุประสงค์ใหม่ ในทางตรงข้ามการจัดการใหม่ (Reorganizing) หรือการนำเอาผลงานของผู้ทำวิจัยไว้แล้วมาศึกษาใหม่ (Restating) ไม่ถือว่าเป็นการทำวิจัย เพราะการศึกษาดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมา                                                                                                6. การวิจัยมีวิธีการหรือแบบการวิจัย (Research procedure or research design) ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์       ที่เข้มแข็งและถือได้ว่าเป็นการวิจัย                                                                                                          7. การทำวิจัยต้องการความรู้ ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญ (expertise) ดังนั้น ผู้ทำวิจัยจะต้องรู้และเข้าใจปัญหา (problem) ที่จะทำ พร้อมกับต้องรู้ด้วยว่าคนอื่นได้ทำวิจัยอะไรไว้บ้าง และอย่างไร ผู้ทำวิจัยจะต้องรู้ถ้อยคำที่ใช้ (terminology) แนวคิด (concept) และทักษะด้านเทคนิค (technical skill) เพื่อที่จะเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างถูกต้อง                                                                                                          8. การวิจัยต้องมีวัตถุประสงค์และเหตุผลถูกต้องตามหลักตรรกวิทยา ดังนั้น ผู้ที่จะทำการวิจัยจึงควรใช้เครื่องทดสอบทุกอันที่เป็นไปได้เพื่อทำให้วิธีการศึกษา (procedure) ที่ใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา หรือแม้แต่ข้อสรุปของงานวิจัยที่ค้นพบมีเหตุผลและนักวิจัยต้องพยายามขจัดอคติส่วนตัว (bias) หรือไม่ใช้อารมณ์ในการวิเคราะห์ หากแต่ใช้เหตุผลและความรู้ทางวิชาการในการทำวิจัย                                                             9. งานวิจัยที่จะทำจะต้องเกี่ยวข้องกับคำถามที่ต้องการคำตอบของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้                           10. การทำวิจัยเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความอดทน นักวิจัยควรคาดการณ์ไว้ก่อนถึงความผิดหวังหรือความหมดกำลังใจ หากถึงตอนที่จะหาคำตอบสำหรับคำถามที่ตั้งขึ้นได้อย่างยากลำบาก                                 11. การทำวิจัยจะต้องมีการบันทึกและรายงานอย่างระมัดระวัง โดยจะต้องให้คำนิยาม (definition) คำศัพท์สำคัญ (key work) และจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัด (limitation) ต่างๆด้วย วิธีการศึกษาจะต้องกล่าวโดยละเอียด นอกจากนี้กาอ้างอิง (reference) ก็ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ผลการวิจัยจะต้องมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน และจะต้องเสนอข้อสรุป (conclusion) ด้วยความระมัดระวัง                                                                     12. การทำวิจัยบางครั้งต้องการกำลังใจหรือการสนับสนุน ไม่ว่างานวิจัยนั้นจะมีผลเกื้อกูลหรือขัดขวางต่อกลุ่มคนใดก็ตาม                                                                                                                                                 สรุป  การวิจัย หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการที่ได้มาซึ่งข้อความรู้ ความจริง หรือคำตอบที่เชื่อถือได้ของข้อสงสัยหรือปัญหาและคำตอบที่เชื่อถือได้  นั้นจะต้องมีองค์ประกอบ คือ มีพยานหลักฐานหรือข้อมูลยืนยัน และต้องได้มาอย่างมีระบบระเบียบที่เชื่อถือได้               

 

                1.2  ปัญหาของการวิจัย   (Research Problem)หมายถึง  ข้อสงสัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ผู้วิจัยต้องการทราบและประสงค์ที่จะหาคำตอบ  หรือความรู้ความจริง  ประเด็นที่นักวิจัยสงสัย ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย 

                1.3  แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย  ผู้วิจัยอาจได้ปัญหาของการวิจัยจากแหล่งต่างๆ ได้แก่   ความสนใจประสบการณ์ของผู้วิจัย , เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ,แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย , หน่วยงานที่ปฏิบัติงาน , ผลงานวิจัยหรือเอกสารทางวิชาการ , สถานการณ์ทางสังคม หรือ เราสามารถที่จะได้ปัญหาการวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากการอ่านเอกสาร ได้แก่ ตำรา หรือบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสาขาวิชา หรือเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา ได้จากการอ่านงานวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้ก่อนแล้ว จากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ หรือจากความสนใจส่วนตัวของผู้วิจัย

                1.4  แนวทางในการกำหนดปัญหาของการวิจัย   การกำหนดปัญหาการวิจัยเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้วิจัยจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า จะทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร แล้วระบุปัญหาวิจัยให้ชัดเจน จะต้องเข้าใจและศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้
                                1.4.1 ปัญหาการวิจัยเป็นประเด็นคำถามหลัก ที่ผู้วิจัยต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อจะได้ออกแบบการวิจัยได้อย่างเหมาะสม  

                                1.4.2 ที่มาของปัญหาการวิจัย เราสามารถที่จะได้ปัญหาการวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ คือ จากการอ่านเอกสาร ได้แก่ ตำรา หรือบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสาขาวิชา หรือเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา ได้จากการอ่านงานวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้ก่อนแล้ว จากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ หรือจากความสนใจส่วนตัวของผู้วิจัย
                                1.4.3 ลักษณะของปัญหาการวิจัยที่ดี มีดังนี้ ต้องเป็นปัญหาที่สำคัญจริง ๆ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติจริงเพื่อแก้ปัญหา   ต้องมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอและหัวข้อปัญหาวิจัยต้องสามารถวางแผนการดำเนินงานได้เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ล่วงหน้าได้

                                1.4.4  เกณฑ์ในการพิจารณาในการเลือกปัญหาการวิจัย 

                -  ผู้วิจัยจะต้องทราบความต้องการที่แท้จริงของตนเองก่อนว่า มี ความสนใจในปัญหาหรือหัวข้ออะไร -  ปัญหาหรือหัวข้อที่ผู้วิจัยจะเลือกทำการศึกษา ควรเป็นเรื่องที่อยู่ในสาขาของตนเอง

                -  ในการกำหนดปัญหาการวิจัย นั้น ผู้วิจัยควรจะทำการศึกษาอย่างคร่าว ๆ ว่า ปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำนั้นมีข้อมูลเพียงพอที่จะใช้ในการวิเคราะห์หรือไม่

                -  หัวข้อหรือปัญหาที่จะเลือกทำการศึกษา ควรเป็นหัวข้อที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เป็นที่สนใจตาม

 

 

 

 

 

2. ในการศึกษาวิชาการวิจัยทางการบริหารการศึกษา มีวิธีการหาความรู้อย่างไร  และมีขั้นตอนการวิจัยอย่างไร

       2.1  การวิจัยทางการบริหารการศึกษา มีวิธีการหาความรู้เพื่อประกอบการทำวิจัยจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีประโยชน์ต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง เพื่อช่วยให้ผู้วิจัยมีแนวทางในการทำวิจัยได้สำเร็จอย่างมีคุณภาพและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ไม่ว่าจะเป็น  ตำราหนังสือ  เอกสารอ้างอิงต่างๆ  เราสามารถค้นคว้าข้อมูลเหล่านี้ ได้จาก  ห้องสมุด  อินเตอร์เน็ต  วารสารด้านวิจัยต่างๆ ตัวอย่างงานวิจัยด้านการศึกษา เช่น  การพัฒนารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้   ในการเลือกศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น  ผู้วิจัยควรพิจารณาในเรื่องของความเกี่ยวข้อง  ความจำเป็นในการนำมาอ้างอิง หรือมีประโยชน์ต่อการวิจัย และที่สำคัญในการอ้างอิงเอกสารหรือผลงานวิจัย ควรจัดลำดับข้อตามความสำคัญของประเด็นหรือตัวแปรที่ศึกษา

                2.2  ลำดับขั้นตอนของการวิจัย       แบ่ง ได้เป็น 9 ขั้นตอน คือ
    1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
    2. การกำหนดขอบเขตของปัญหาในการทำวิจัย
    3. การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    4. การกำหนดสมมติฐาน
    5. การเขียนเค้าโครงการวิจัย
    6. การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
    7. การดำเนินการรวบรวมข้อมูล
    8. การจัดกระทำข้อมูล
    9. การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงานการวิจัย                                                                                       ขั้นตอนในการวิจัย
      ในการวิจัยแต่ละประเภท อาจมีขั้นตอนแตกต่างไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนในการวิจัยทางการบริหารการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนดัง ต่อไปนี้                                                                                                                             1. เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะ วิจัยออกมา
                2. การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนดขอบเขตของ ปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการกำหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้
                                2.1 วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
                                2.2 รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การแปลผลการวิจัย
                                2.3 มองเห็นภาพอย่างแจ่มชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
               

                3. การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้
                                3.1. ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย
                                3.2. ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)
                                3.3 ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
                                3.4. ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล
                                3.5. ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง
                                3.6. ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
                                3.7. ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย
                4. การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
                5. การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัย อย่างมี ระบบ ควร จะ ประกอบด้วย
                                5.1. ชื่องานวิจัย
                                5.2. ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา
                                5.3. วัตถุประสงค์
                                5.4. ขอบเขตของการวิจัย
                                5.5. ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย
                                5.6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)
                                5.7. สมมุติฐาน (ถ้ามี)
                                5.8. วิธีดำเนินการวิจัย
                                                1.1 รูปแบบของงานวิจัย
                                                1.2 การสุ่มตัวอย่าง
                                                1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                                                1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
                                5.9. แผนการทำงาน
                                5.10. งบประมาณ
                6. การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการสร้างและนำเครื่องมือนั้นไป ทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานเหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ก็อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ถ้าสงสัยในเรื่องคุณภาพของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑ ์ก็นำมาใว ้เก็บรวบ รวมข้อมูลได้ (การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป)
                7. ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือ สุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือทุติยภูมิ (Secondary Source)
วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่
                1. การใช้แบบทดสอบ
                2. การใช้แบบวัดเจตคติ
                3. การส่งแบบสอบถาม
                4. การสัมภาษณ์
                5. การสังเกต
                6. การใช้เทคนิคสังคมมิติ
                7. การทดลอง
         8. การจัดกระทำข้อมูล (Data Processing) การจัดกระทำข้อมูลเป็นวิธีการดำเนินการอย่างมีระบบตามลำดับขั้น กับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย การจัดกระทำข้อมูลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
              1. Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกรอยคะแนน การลงรหัสข้อมูล การถ่ายข้อมูล ลงคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
              2. Processing เป็นขั้นตอนของ การจัดแบ่งประเภทของข้อมูล สำหรับการวิจัย เชิงคุณภาพและเป็นขั้นตอนการคำนวณ สำหรับการวิจัย เชิงปริมาณ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะคำนวณด้วยมือ ใช้เครื่องคิดเลข หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลและปัจจัยเอื้ออำนวย
              3. Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน หรือเสนอใน รูปแบบของตาราง หรือ แผนภูมิต่าง ๆ แล้วแปลความหมายของผลที่ได้                                        

                 9. การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน
ขั้นนี้จะเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย โดยการสรุปผลการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งโดยทั่วไปในรายงานการวิจัย จะประกอบ ด้วย
        1. บทนำ ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัยและคำนิยามศัพท์เฉพาะ
        2. การตรวจสอบเอกสาร
        3. วิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และขั้นตอนการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
        4. ผลการวิจัย
        5. สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

3. ทำไมจึงมีการศึกษาค้นคว้าเอกสารประกอบการวิจัย  และมีประโยชน์อย่างไร   มีแนวทางในการศึกษาเอกสารงานวิจัยอย่างไร  มีเกณฑ์ในการพิจารณาคุณค่าเอกสารของการวิจัยอย่างไร

                3.1  ทำไมต้องค้นคว้าเอกสารประกอบการวิจัย   เพราะในการทำวิจัยการศึกษาเอกสารหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่สนใจทำวิจัย แต่ไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไร หรือผู้วิจัยเรื่องที่ทำวิจัยอยู่แล้ว แต่อยากทราบว่ามีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง ถ้ามีใครทำ เขาทำอย่างไร ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร หรือต้องการศึกษาบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน เพื่อช่วยนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการวิจัยการศึกษาเอกสารหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะวิจัย  เป็นส่วนหนึ่งของการเขียนรายงานผลการวิจัย เป็นการแสดงผลการค้นคว้าของผู้วิจัย ในการเสนอผลการวิจัยทีเกี่ยวข้องผู้เขียนควรนำผลการวิจัยที่หน่วยงานต่างๆหรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่จบแล้วมาเรียบเรียง โดยให้เนื้อเรื่องสัมพันธ์กันตามความสำคัญของเรื่องที่จะกล่าวถึง เมื่อเสนอเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้เขียนก็ควรสรุปให้ได้ว่าได้อะไรบ้างจากผลงานวิจัย ข้อค้นพบของใครบ้างที่สอดคล้องกัน หรือข้อค้นพบของใครบ้างที่ขัดแย้งกัน มีหัวข้อใดที่สำคัญ มีหัวข้อใดบ้างยังขาดอยู่หรือไม่มีใครทำ และได้ข้อคิดอะไรบ้างจากการที่ได้ค้นคว้าในส่วนนี้เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยต่อไป หรือ เพื่อช่วยให้ผู้วิจัยมีแนวทางในการทำวิจัยได้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ  จุดมุ่งหมายในการค้นคว้าเอกสาร คือ  

                                1. เพื่อหาความจริง
                                2. เพื่อช่วยในการนิยามปัญหา
                                3. เพื่อช่วยให้เลือกสรรปัญหาได้ถูกต้อง
                                4. เพื่อไม่ให้ทำซ้ำกับคนอื่นโดยไม่จำเป็น
                                5. เพื่อหาเทคนิคในการวิจัย
                                6. เพื่อช่วยในการแปลความหมายข้อมูล
                                7. เพื่อเตรียมการเขียนรายงาน
                3.2  ประโยชน์ในการศึกษาเอกสารประกอบการวิจัย  มีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้
                                1. ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย
                                2. ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)
                                3 ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
                                4. ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล
                                5. ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง
                                6. ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
                                7. ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย

               

 

                3.3  แนวทางในการศึกษาเอกสารงานวิจัย

                การศึกษาค้นคว้าเอกสาร ผู้วิจัยควรพิจารณาดูว่าเอกสารหรือผลงานวิจัยนั้นควรอ่านหรือไม่ อาจดูจากบัตรรายการในตู้บัตรที่มีชื่อหนังสือตามห้องสมุด หรือค้นจากดรรชนีวารสาร ประเภทเอกสารหรือผลงานวิจัย ที่ควรค้นคว้า เช่น< st>

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

guest Icon ขอบคุณ 2 อ่าน 502 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
blackaru Icon ท่านรอง 1 อ่าน 452 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
blackaru Icon สาววสวยหมู่1 1 อ่าน 548 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
blackaru Icon บรรยากาศ อ่าน 579 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
blackaru Icon มิตรภาพ อ่าน 387 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
blackaru Icon ภาพ 2 อ่าน 679 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
blackaru Icon หัวข้อพี่สุดธิมา(ดร.ชิดชัย) อ่าน 445 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ขอบคุณ 1 อ่าน 455 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
eduadmin13 Icon ช้างตูอยู่หนายยยยยยยย.... 2 อ่าน 557 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon รับน้อง 2 อ่าน 613 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
Nirvana Icon ดีครับ เฮีย แบล็ก มอร์แกน 1 อ่าน 471 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา