3 ภัยเงียบ ที่ลงท้ายด้วยการเป็นอัมพฤก อัมพาต ความดันโลหิตสูง vs โรคหัวใจสั่นพริ้ว vs โรคหลอดเลือดสมอง

tawannew profile image tawannew

โรคหลอดเลือดสมอง โรคใกล้ตัวที่เราก็เสี่ยงเป็นได้ โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ใน 3 ของคนไทย ก่อนหน้านั้นเราอาจได้ยินว่าโรคหลอดเลือดสมองแตกเป็นโรคที่น่ากลัว สาเหตุเกิดจากความเครียด และการมีความดันโลหิตสูง ทำให้เส้นเลือดแตก อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ แต่ในความเป็นจริงโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเป็นโรคที่พบมากกว่ามากในคนไทย ที่เราเห็นดาราเป็นกันหลานคน ตั้งแต่สาวๆอย่างหญิงแมงมุงจนถึงดารารุ่นใหญ่ อย่างอ๊อฟ พงพัฒน์ หรือ ไพโรจน์ ใจสิงห์เป็นกัน ทำไมบางคนดูสุขภาพดีปกติ ไม่เห็นมีข่าวอะไรเลย อยู่ดีๆก็เป็น แล้วก็หนักเลย ในคนปกติก็สามารถเป็นโรคหลอดเลือดเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดอุดตันที่เกิดจากภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ที่ไม่แสดงอาการ ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวมาก่อน อยู่ดีๆก็แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้  การมองเบลอ วูบ หรืออาจถึงขั้นหมดสติ 

AFIB หรือ ภาวะหัวใจสั่นพริ้วเป็นภาวะหัวใจสั่นพริ้ว เป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือดหลุด หากลิ่มเลือดนี้ไปอุดตันหลอดเลือดสมอง และอุดตันเส้นเลือด จะส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ เซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ เกิดเป็นโรคหลอดเลือดสมอง นำไปสู่อาการอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา

ทั้งนี้ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าครึ่งไม่มีอาการโดยตรง แต่มาพบแพทย์ด้วยผลแทรกซ้อนโดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เทคโนโลยี Afib ในเครื่องวัดความดัน Microlife สามารถตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพริ้วได้ โดยทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีการใช้งานเพื่อสกรีนภาวะ AIFB ก่อนรับการรักษาในกลุ่มเสี่ยง (ข้อมูลรายละเอียดการใช้งาน ABPM และ HBPM รวมถึงการตรวจจับภาวะ Afib ในเครื่องวัดความดัน Microlife รวมถึงการใช้เพื่อติตตามการรักษาในผู้ที่เป็นและได้รับการรักษาแล้ว เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ

โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน พบได้ประมาณ 80% ของโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดค่อยๆ ตีบแคบลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการลำเลียงเลือดลดลง

หลอดเลือดมีการเลื่อมลงตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น เช่น

·         ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย พบว่ากว่า 35 – 73 % ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีภาวะคามดันโลหิตสูงร่วมด้วย

·         ไขมันในเลือดสูง ผนังด้านในของหลอดเลือดอาจมีไขมันมาเริ่มจับเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะรวมตัวกันมากขึ้นจนเป็นแผ่นค่อยๆ สะสมพอกตัวหนาขึ้นจนกระทั่งหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น รวมถึงภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด กีดขวางการลำเลียงเลือด

·         หรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจ หรือการปริแตกของผนังหลอดเลือดหลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสมอง

โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องอื่น ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ ซึ่งเมื่อปัจจัยทั้งหมดนี้รวมกัน ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองย่อมเพิ่มขึ้นไปด้วย

การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง ควรปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสัปดาห์ พักผ่อนให้เพียงพอและคลายเครียด ในผู้สูงอายุควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนในผู้ที่เคยเป็นและได้รับการรักษาแล้ว ต้องรู้จักป้องกันการเป็นซ้ำ

การตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพริ้วในขณะวัดความดันจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและทำการตรวจวัดความดันที่บ้าน ในการเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/somchi2018/2018/11/29/entry-1  

 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 ปีที่ผ่านมา
2 ปีที่ผ่านมา
punkik Icon ทีเส็บเปิดตัวโครงการ MICE Winnovation อ่าน 130 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา