ฟรีดาวน์โหลดแนวข้อสอบเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ

papertestthai99 profile image papertestthai99

ฟรีดาวน์โหลดแนวข้อสอบเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ

Cr : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/575

ถาม – ตอบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

1. กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงใด
ตอบ กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (Department of
Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม
และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2. ประวัติของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ตอบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Department of Special Investigation มีชื่อย่อว่า DSI

3. อำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ตอบ กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทภารกิจดังต่อไปนี้

1. ป้องกันปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2. พัฒนา กฎหมาย กฎระเบียบ รูปแบบ วิธีการ
และมาตรการในการป้องกัน
ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

3. พัฒนาโครงการและการบริหารจัดการองค์กร

4. พัฒนาบุคลากรโดยเสริมสร้างศักยภาพในด้าน ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และขวัญกำลังใจ

5. ประสานส่งเสริมเครือข่าย ความร่วมมือในการป้องกันปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ

4. หน่วยงานในสังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้แก่
ตอบ สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ
- สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา
- สำนักคดีอาญาพิเศษ
- สำนักคดีการเงินการธนาคาร
- สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
- สำนักเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ
- สำนักคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
- สำนักคดีภาษีอากร
- สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ

5. คดีพิเศษ หรือคดีอาชญากรรมพิเศษในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หมายถึง
ตอบ คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้าย
พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)
หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ
(กคพ.) ซึ่งคดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
3. คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
5. คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา ทั้งนี้การกระทำความผิด
ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ
จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (5) และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย
จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ.
เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551

6. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ คนปัจจุบันคือใคร
ตอบ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ คนปัจจุบัน
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์, รองอธิบดี 1
พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน, รองอธิบดี 2
สรรเสริญ ปาลวัตน์วิชัย, รองอธิบดี 3

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา