มารู้จัก Cloud computing คืออะไร?

webmaster profile image webmaster

นี่คือการนิยามคร่าวๆของผมสำหรับความหมายของ Cloud Computing

Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร

ผมได้นิยามคำว่า Cloud Computing ในรูปแบบที่ (น่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นที่ นิยามคำว่า Cloud Computing ภาค 2 สำหรับท่านที่กำลังค้นหาหัวข้อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ Cloud Computing สามารถไปอ่านบทความของผมได้ในหัวข้อชื่อ หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing

รายละเอียดของนิยามมีอีกครับ เข้ามาติดตามได้เลย

ผมขอนิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้

ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น

ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น

บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ

สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

นิยามที่หลากหลาย


วิดีโอชื่อ “What is Cloud Computing” จากงาน Web 2.0 Expo

เนื่องจากมีความหลากหลายในเรื่องวิธีและ แนวทางในการพัฒนาระบบCloud Computing ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้ผู้คนนิยามคำว่าCloud Computingแตกต่างกันไปตามแต่เทคโนโลยีหรือวิธีการที่ใช้พัฒนาหรือแม้แต่มุม มองของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น จากblogของคุณsoowoiได้ทำการค้นคว้านิยามภาษาไทยของคำว่าCloud Computing(ที่แปลโดยทีมblognone) ไว้ดังนี้

  1. บริษัท Gartner กล่าวว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ
  2. ฟอเรสเตอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ กลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกบริหารจัดการและขยายตัวได้อย่างมาก ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆของผู้ใช้และเก็บค่า บริการตามการใช้งาน

หมายเหตุ อ่านรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลได้ที่ http://lib.blognone.com/Cloud_Computing

ผมวิเคราะห์ได้ว่านิยามแรกของ Gartner นั้นอิงตามวิธีการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing) โดยเน้นไปที่คุณสมบัติที่เรียกว่าความสามารถในการขยายตัวได้ของระบบ (Scalability) ส่วนนิยามจากฟอเรสเตอร์ (Forrester)ก็ คล้ายๆกับของGartnerที่กล่าวถึงความสามารถในการขยายตัวได้ และยังเสริมอีกว่ารองรับโปรแกรมประยุกต์และเก็บค่าบริการตามการใช้งานจริง (Pay per use หรือ Post paid นั่นเอง) สำหรับประโยคหลังนี้ที่แตกต่างไปจากของGartner โดยการอิงหลักการของ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่าอะไรคือ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

  • Grid Computing คือวิธีการประมวลผลที่เกิดจากการแชร์ทรัพยากร(อย่างเช่น CPU สำหรับการประมวลผล)ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้นโยบายแตกต่างกันไป (คนละบริษัทหรือคนละแผนก) อย่างเช่น องค์กร A กับองค์กร B ต้องการแชร์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งเพื่อประมวลผลโปรแกรมหรือระบบงานเดียวกัน เมื่อองค์กรที่แตกต่างแชร์ทรัพยากรร่วมกันย่อมมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน เช่นการกำหนดสิทธิและขอบเขตในการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน เป็นต้น และจำเป็นต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความต้องการระบบ Single-Sign-On (หรือการล็อกอินครั้งเดียว แต่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องหรือใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม) ทั้งนี้ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบuser accountในการล็อกอินเข้าใช้งานระบบย่อมไม่เหมือนกัน จึงต้องพึ่งพาระบบ Single-Sign-On นั่นเอง

  • Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับGrid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง

  • SaaS ย่อมาจาก Software as a Service เป็นรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์หรือapplicationบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่ออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้ ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่หน่วยงานหรือคอมพิวเตอร์ของ ลูกค้า โดย SaaS เป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับ On-premise software อันเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่ทำงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้า

จากที่blognoneแปล ไว้ ทำให้เราได้คำศัพท์สำหรับเรียก Cloud Computing แบบไทยคือ “ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” ถือว่าบัญญัติชื่อเรียกภาษาไทยได้ลงตัวดีครับ ทำให้มโนภาพเห็นเมฆลอยบนท้องฟ้า และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยากได้อะไร เราก็เงยหน้ามองฟ้าวาดเมฆให้ได้ดั่งใจเราต้องการ

มาดูนิยามจากทางเจ้าพ่อสารานุกรมออนไลน์Wikipediaบ้าง เขาได้ให้นิยามไว้ว่า

Cloud computing refers to computing resources being accessed which are typically owned and operated by a third-party provider on a consolidated basis in Data Center locations. Consumers of cloud computing services purchase computing capacity on-demand and are not generally concerned with the underlying technologies used to achieve the increase in server capability. There are however increasing options for developers that allow for platform services in the cloud where developers do care about the underlying technology.  – โปรดดูต้นฉบับของ Wikipedia ประกอบ

แปลได้ว่า: Cloud Computing หมายถึงทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่จัดเตรียมและจัดการโดยบุคคลหรือองค์กร ที่สาม (Third Party) โดยทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่Data Center จากนั้น ผู้ใช้ของCloud Computing สามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ(หรือเช่า)ได้ตามที่ต้องการ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องคำนึง(หรือแม้แต่กังวล)เลยว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากรจะ บริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไร (หรือว่าได้หรือไม่ เพราะยังไงก็ต้องทำให้ได้ :) )

แต่ประโยคสุดท้ายเขาได้กล่าวว่า การที่ Cloud Computing จัดเตรียมความสามารถที่ระบบสามารถขยายตัวได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (increasing option) ก็เป็นเรื่องท้าทายที่ผู้พัฒนาระบบจำเป็นจะต้องเป็นห่วงเป็นกังวลแทน นั่นหมายความว่า ถ้าหากผู้ใช้ต้องการทรัพยากรมากกว่าที่ผู้ให้บริการจะเตรียมให้ได้ ผู้ให้บริการจะต้องค้นหาวิธีใดๆก็ตามเพื่อสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมาแบบ ฉับพลันนี้ให้ได้ อย่างเช่น ผู้ให้บริการอาจจะต้องกลายเป็นผู้ใช้หรือลูกค้าของผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ เป็นทอดๆ เป็นต้น

เมื่อท่านอ่านบทความนี้จบ กรุณาอ่านบทความ “มุมมองในเรื่องCloud Computingของผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อดูนิยามและความเข้าใจในเรื่องCloud Computingของบุคคลท่านอื่น

ทำไมต้องเป็นCloud

สาเหตุที่มีชื่อว่า Cloud Computing ก็มาจากสัญลักษณ์รูปเมฆ(Cloud)ที่เราใช้แทนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลองดูตัวอย่างได้จากโปรแกรมMicrosoft Visio อย่างเวลาเราจะวาดแผนผังเครือข่าย สัญลักษณ์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็คือรูปเมฆ

ในเมื่อรูปเมฆแทนอินเตอร์เน็ต แล้วทำไมอินเตอร์เน็ตจึงไปเกี่ยวกับCloud Computingได้? คำตอบมาจากการที่เราต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เราก็สามารถได้บริการหรือได้ใช้ทรัพยากรที่อยู่ระยะไกลเพื่อสนองต่อความต้อง การของเราได้นั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่เขามองว่า Cloud Computing คือเมฆที่ปกคลุมทรัพยากรและบริการอยู่มากมาย เทียบได้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ต่อกับบริการและทรัพยากรจำนวนมหาศาล เมื่อเป็นCloud Computing เราจะมองว่าอินเตอร์เน็ตคือเมฆ และเมื่อไหร่ที่เราต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเมฆแล้ว เราก็สามารถเข้าถึงและใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ต่อกับเมฆ…เทียบ ได้กับเมฆปกคลุมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และผู้ใช้จำนวนมหาศาลไว้อยู่ ทั้งนี้ผู้ใช้มองเห็นเมฆผ่านทางบริการที่จะนำพาผู้ใช้เข้าถึงพลังในการ ประมวลผลและทรัพยากรต่างๆที่อยู่ใต้เมฆ หรือภายใต้ท้องฟ้าเดียวกันคือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกล่าวว่าเนื่องด้วย Web 2.0 อันเป็นยุคของอินเตอร์เน็ตที่รุ่งเรืองในเรื่องของสมาคมออนโลน์หรือสังคมดิจิตอล เป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนมากเข้าถึงบริการ World Wide Web (WWW) เพื่อขอใช้บริการที่มีความหลากหลาย และการใช้บริการเริ่มจะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและถี่ขึ้นเรื่อยๆ เราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค email,และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่านGroup และ Web board รวมไปถึงBlogส่วนตัว และ Community อย่าง Hi5 หรือ Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพผ่านFlickr แชร์วิดีโอผ่านYoutube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งานapplicationต่างๆที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างที่ Hi5 และ Facebook ได้บริการ application แบบต่างๆไว้ให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Doc ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google Apps ที่รวมapplicationต่างๆผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ search engine, gmail, picasa, google video, google doc, google calendaryoutube, google maps, google reader และ blogger เป็นต้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและapplicationต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือน เป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆได้ก็จะทำให้ เกิด Cloud computing ขึ้นมาในที่สุด และตัวอย่างของความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริง แล้ว ในกรณีระหว่าง Salesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่าง พนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการได้มากยิ่งขึ้น


วิดีโอสาธิต Google Apps ร่วมมือกับ Salesforce.com

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างส่วนหนึ่งของระบบหรือบริษัทที่กำลังใช้ Cloud Computing ได้แก่ ระบบ Timesmachine ของNew York Times ที่ใช้บริการของ Amazon EC2 ในการสังเคราะห์ข่าวและจัดเก็บข่าวตั้งแต่ ค.ศ.1851 ทั้งนี้การรวบรวมข่าวจำเป็นต้องมีการแปลงข้อมูลของข่าว และเนื่องจากข่าวมีจำนวนมหาศาลจึงต้องใช้พลังในการประมวลผลเพิ่มมากขึ้นตาม ไปด้วย และจำเป็นต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับบันทึกข่าวเหล่านี้ [อ้างอิง]

การเขียนโปรแกรมเพื่อการประมวลผลบน Cloud Computing สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ถือได้ว่ากำลังนิยมมากในขณะนี้คือการใช้เครื่องมือที่ชื่อ Hadoop (เมื่อมีโอกาสผมจะกลับมากล่าวถึง Hadoop อีกครั้งในบทความหน้า) ตัวอย่างเช่น New York Times ก็เลือกใช้ Hadoop สำหรับเขียนโปรแกรมเพื่อแปลงข้อมูลของข่าวบนคอมพิวเตอร์(เสมือน)ที่เช่ากับ Amazonไว้หลายร้อยเครื่อง โดยใช้เวลาในการประมวลผลทั้งหมดน้อยกว่า 36 ชั่วโมง

ตัวอย่างต่อไปคือเว็บ A9 ผู้ ให้บริการ search engine อันเป็นเครือข่ายของ Amazon ใช้ Hadoop เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่รวบรวมไว้บนกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มและลด จำนวนได้

เว็บยอดนิยมอย่าง Facebook ก็เลือกใช้ Amazon EC2 สำหรับการขยายความสามารถของระบบให้รองรับจำนวนผู้ใช้จำนวนมากที่เข้ามาใช้ Facebook Apps(application ที่บริการบน Facebook)พร้อมๆกัน [อ้างอิง] สำหรับตัวอย่างอื่นๆที่ใช้งาน Amazon EC2 ท่านสามารถติดตามได้ที่เว็บของ Amazon [อ้างอิง] อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่แสดงบนเว็บท่านจะเห็นว่ายังมีไม่มาก แต่ในความเป็นจริงมีผู้ใช้บริการจาก Amazon EC2 จำนวนมาก เพียงแต่เขาไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลว่าเขาเอา Amazon EC2 ไปใช้ในงานใดบ้าง

ตัวอย่างของทางฝั่ง Google ได้แก่ Google Apps ที่ได้ร่วมมือกับ Salesforce.com ตามที่ผมได้อ้างอิงไว้แล้วก่อนหน้านี้

Gogrid (http://www.gogrid.com/) เป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing อีกเจ้าหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Amazon EC2 ก็ได้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนตามแต่ลลูกค้าต้องการ ได้ผ่านหน้าเว็บของ Gogrid ได้เลย และยังสนับสนุนระบบปฏิบ้ติการหลายยี่ห้อทั้ง Linux และ Windows ต่างจากทาง Amazon EC2 ที่ยังบริการแค่คอมพิวเตอร์เสมือนที่เป็น Linux อยู่ (หมายเหตุ เหตุที่ Cloud Computing เลือกใช้ Virtual Machine หรือคอมพิวเตอร์เสมือนจะถูกอ้างอิงไว้ในบทความต่อไป)

ผมขอกล่าวเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ ขอยกยอดหัวข้ออื่นๆไว้กล่าวในบทความต่อๆไป แล้วคอยติดตามผลงานของผมนะครับ…ขอขอบคุณทุกท่านที่คอยติดตามผลงานของผม

ความคิดเห็น
webmaster profile webmaster

คลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ แนวคิดด้านบริการโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทำงานเชื่อมโยง กัน โดยคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันนั้น อาจตั้งอยู่ในห้องเดียวกัน หรือห่างไกลกันคนละซีกโลกก็ได้ โดยระบบจะทำงานสอดประสานกันแบบรวมศูนย์ มีข้อดีคือ ลดความซับซ้อน ยุ่งยาก อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย

คลาวด์ คอมพิวติ้งยังมีข้อดีอีกคือ สามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายกว่า ซึ่งแตกต่างกับเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง (Grid Computing) ที่ค่อนข้างเน้นการทำงานเฉพาะด้าน เนื่องจากคลาวด์ คอมพิวติ้ง ทำงานผ่านเทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) ระบบจึงไม่ได้ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์จาก ระบบต่าง ๆ จึงถือได้ว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นนวัตกรรมทางด้านดาต้าเซ็นเตอร์รูปแบบใหม่แห่งอนาคตนั่นเอง

webmaster profile webmaster
การตอบโจทย์เรื่องไม่ให้ลูกค้ารู้สึกเสียดายกับค่าใช้จ่ายของ cloud computing ถ้าให้ผมตอบแบบกำปั้นทุบดิน คงเป็นการทำ break event analysis:
มุมมองด้านเงิน (monetary)
- เปรียบเทียบระหว่าง cost ของการ maintain system ด้วยตัวเอง (เหมือนเหมาจ่าย) กับ pay per use ของ cloud computing;
มุมมองด้านความคล่องตัว (flexibility)
- เสมือน outsourcing ประเภทอื่น, การจ้าง system admin เป็น recurrent cost ที่แพงไม่ใช่น้อยเลย หากเราเปลี่ยน technology ที่ใช้ หรือเราใช้หลายๆ technology ควบคุมกัน ก็จำเป็นต้องมี expert สำหรับทุกๆ technology ที่ใช้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมื่อไหร่ที่เกิดปัญหาขึ้นมา เราจะจำกัด down time ของ service เราให้ต่ำที่สุดได้
- นอกจากนี้ การทำปรับเปลี่ยน, เพิ่ม, ลด ขนาดของ server โดยปกติแล้ว เป็น cost ที่สูงมาก หากเรา outsource ภาระตรงนี้ออกไปได้ ก็น่าจะทำให้ scalability ของ service ของลูกค้าปรับสภาพตามสภาวะตลาดได้ง่ายขึ้นเยอะ (Amazon เรียกว่า หัวข้อนี้ว่า elastic แต่ผมมองว่ามันเป็น flexibility อีกข้อหนึ่ง);
มุมมองด้านความเสถียร (reliability)
- ด้าน reliability ผมเห็นหลายระบบในเมืองไทยก็มี reliability สูงๆเหมือนกัน หากแต่ cost การ maintain reliability นั้นก็สูงตามกันไป ซึ่งปัจจัยนี้จะกลับไปกระทบกับเรื่องความคุ้มค่าเงินข้างบน

------------------------------------------------------------------------------
นอก จากปัญหาเรื่องความคุ้มค่าแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่อาจจะ specific กับ business aspect ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรา คือผู้บริหารกลัวที่จะเอา application หรือ database ไป host ข้างนอกบริษัท ไม่ว่าเราจะพยายาม convince ว่ามันปลอดภัยอย่างไรก็ตาม มันก็เป็นการยากมากๆที่จะทำให้เหล่าผู้บริหารวางใจใช้ cloud computing พวกนี้ ตราบใดที่ physical ของ data มันอยู่นอกตึกขององค์กร พวกเขาก็สบายใจไม่ได้อยู่ดี...

ปัจจัยหนึ่งที่อาจจะมีผลกระทบ นั่นคือกฎหมายยังไม่ค่อยครอบคลุมลงไปถึง IT เท่าไหร่นัก แม้ทุกวันนี้เราเริ่มจะมีกฎหมายเกี่ยวกับ IT มากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และ case study ของการฟ้องร้องเรื่อง IT ก็ยังมีน้อยอยู่
guest profile guest
ถ้ายกคำพูดของคนอื่นมา รบกวน properly quote ให้ด้วยจะเป็นความกรุณามากครับ

ปล.
- ผมพิมพ์ break-even analysis ผิด แก้ให้ด้วยครับ (even ไม่ควรมี t)
guest profile guest
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ ให้กำลังใจ ^^
guest profile guest
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
guest profile guest
ค่าบริการประมาณเท่าไรหรือคะ
guest profile guest
อยากได้คำพูดของคนในคลิป แปลเป็นภาษาไทยค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ
guest profile guest
คือ ว่าอยากภายในประเทศมีบริการประเภท นี้บ้างหรือ ยังครับ พอดีผมต้องการทำโปรเจค โดยการเปรียบประสิทธิภาพ Software บน clound กับบนคอมพิวเตอร์ืทั่วไป 
guest profile guest

อยากทราบความหมายของ คำว่า cloud network ค่ะ

guest profile guest
ขอบคุณครับ
guest profile guest
น่าสนใจมากคับ ผมจะลองศึกษา ขอบคุณคับ
guest profile guest
ขอบคุณค่ะ
guest profile guest
มีประโยชน์มากครับ ตอนนี้กำลังฟังบรรยายเรื่องนี้อยู่เลยครับ แต่เป็นภาษาอังกฤษ พออ่านบทความนี้ ทำให้เข้าใจมากขึ้น -/\-
guest profile guest
ขอบคุณมากครับ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

alexra Icon Richard Mille RM037 Rose Gold diamond White Rubber อ่าน 47 1 ปีที่ผ่านมา
1 ปีที่ผ่านมา
miniming Icon พบช่องโหว่ใหม่บน Bluetooth Low Energy ‘BLESA’ อ่าน 173 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
miniming Icon Review – Lenovo IdeaPad Gaming 3 สเปก Ryzen 4000H อ่าน 262 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา