โรคไต การตรวจคัดกรองสำคัญอย่างไร? ตรวจอะไรบ้าง ใครบ้างควรไปตรวจ?

natalee55 profile image natalee55

พฤติกรรมการบริโภคของคนในปัจจุบัน มีความเสี่ยงให้เกิดเป็นโรคไตได้สูงมาก หลายคนชอบทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม ๆ สาดทั้งน้ำปลาเติมทั้งเกลือ หรือชอบใส่เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมมากเกินไป หลังจากทานอาหารแล้วรู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หากสังเกตเห็นว่าเวลาปัสสาวะมีสีเข้ม หรือมีฟอง เกิดจากการทานเค็มมากเกินไปทำให้ไตต้องทำงานหนัก เพราะต้องขับส่วนที่โซเดียมเกินออก ส่วนอาการเริ่มแรกของโรคไต เราอาจสังเกตได้หลังจากทานอาหารที่มีรสเค็มแล้ว เกิดอาการบวม เช่น ขาบวม ตาบวม เป็นต้น

 

ซึ่งหากผู้ป่วยโรคไตปล่อยปะละเลยไปไม่ได้รีบทำการรักษา จะทำให้กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง ปกติผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย จะต้องเข้ารับการฟอกเลือดด้วยการปลูกถ่ายไตหรือที่เรียกว่า ฟอกไตนั่นเอง เมื่อถึงขั้นตอนนั้นทำให้ยุ่งยากต่อการรักษา จะดีกว่าไหมหากตรวจพบโรคไตได้แต่เนิ่น ๆ ก่อนแล้วไม่ต้องทำการฟอกไต วันนี้เรานำความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคไตจากทางศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อจะได้รู้จักโรคไตให้มากขึ้น และใครบ้างที่ควรต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคไตบ้าง ตามมาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

 

 

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยส่วนใหญ่ในระยะแรกจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ จึงมักไม่ได้รับการตรวจและสืบค้นโรคอย่างจริงจัง ทำให้เสียโอกาสในการรักษาแต่เนิ่น ๆ หากรอจนมีอาการผิดปกติแล้วค่อยมาตรวจ การทำงานของไตมักเสื่อมไปมากแล้วจนเข้าสู่ระยะรุนแรง ทำให้รักษาไม่ทันการ หรือรักษาได้แต่ผลการรักษาไม่ดีเท่าการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคไตทุกปีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยโรค เฝ้าระวังความเสี่ยงของโรคที่อาจกำลังมาถึง และรักษาได้ทันท่วงที

 

ทำไมต้องใส่ใจ..ไต

ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญในการปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย ช่วยกำจัดของเสีย สารพิษ รวมถึงยาส่วนเกินออกจากร่างกาย ถ้าไตเสื่อมรุนแรงจนไม่ทำงาน จะทำให้เกิดความปกติจนไม่สามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งการบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ การปลูกถ่ายไต จึงจะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้สูง เช่น โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ ซึ่งทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 

 

เหตุผลที่ต้องตรวจคัดกรองโรคไต

การตรวจคัดกรองโรคไตเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรคที่ดีที่สุด หากพบความเสี่ยงของการเกิดโรคตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค จะได้หาวิธีป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงลง หากพบว่าเป็นโรคไตแล้ว การรักษาตั้งแต่แรกสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว และการชะลอความเสื่อมของไตตั้งแต่ระยะแรกๆของโรค จะช่วยป้องกันหรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและความจำเป็นในการบำบัดทดแทนไตได้

 

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองโรคไต

โรคไตเรื้อรังเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยงสูง ดังนี้

 

1.   ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

2.   ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเก๊าท์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

3.   ผู้ที่สูบบุหรี่ประจำหรือ ประวัติสูบบุหรี่มานาน

4.   ผได้รับยา สมุนไพร หรือ สารพิษที่มีผลทำลายไตเป็นประจำ

5.   ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง

6.   ผู้ที่มีอาการ ได้แก่ ใบหน้า ตัว หรือเท้าบวม ปวดหลัง ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย แสบขัด มีเลือดปน หรือมีฟองผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตรวจพบความดันโลหิตสูง

 

ตรวจคัดกรองโรคไต ตรวจอะไรบ้าง

เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตในอนาคตและเฝ้าดูติดตามโรคไตในปัจจุบัน การตรวจมีดังนี้

 

·        ตรวจร่างกายและสรุปผลการตรวจจากอายุรแพทย์โรคไต (Nephrologist)

·        ตรวจเลือดดูการทำงานของไตโดยประเมินระดับยูเรียและ ครีเอตินีน (BUN, Creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่ไตขับออกมาในปัสสาวะ และนำมาคำนวณอัตราการกรองของไตหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า ค่าการทำงานของไต (estimated Glomerular filtration rate; eGFR)

·        ตรวจระดับเกลือแร่ (Electrolyte) เพื่อดูค่า SODIUM (Na), POTASSIUM (K) และ Bicarbonate (CO2)

·        ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)

·        ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1C)

·        ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)

·        ตรวจปัสสาวะเบื้องต้น (Urine Examination; UA)

·        ตรวจปริมาณโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ (Urine microalbumin; UMA)

·        ตรวจอัลตราซาวด์ดูลักษณะของไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ (Ultrasound Kidney Urethra Bladder)

 

ผู้ป่วยโรคไตระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จึงทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการรักษา ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่ารอจนกว่ามีอาการผิดปกติซึ่งมักดำเนินโรคไปในระยะที่รุนแรงแล้ว ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคไตเป็นประจำ เพราะการป้องกันก่อนการเกิดโรค ย่อมดีกว่าการรักษา หากคุณต้องการติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษา หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมทางศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nakornthon.com/article/detail/การตรวจคัดกรองโรคไตสำคัญอย่างไร-ใครบ้างควรไปตรวจ

 

 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน