แนวข้อสอบศุลการักษ์ กรมศุลกากร

guest profile image guest

1. กิจการศุลกากรของไทยเริ่มครั้งแรกในสมัยใด
ก.  สมัยสุโขทัย   ข.   สมัยอยุธยา
ค. สมัยธนบุรี    ง. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
คำตอบ  ก. กิจการศุลกากรของไทยมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลแล้ว ในสมัยสุโขทัยได้อาศัยการค้าขายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งของรัฐ จึงให้งดเว้นการเก็บภาษีศุลกากร  ดังปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลัก 1 ความว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พ่อเมือง บ่ เอา จกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า “คำว่า จกอบ หรือจังกอบ คือภาษีที่เก็บจากสินค้าเข้าออก
2. ในสมัยอยุธยาภาษีศุลกากรนับว่าเป็นรายได้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อัตราที่จัดเก็บในชั้นแรกคืออะไร
ก. สิบชักสี่     ข. สิบชักสาม
ค. สิบชักสอง     ง. สิบชักหนึ่ง
คำตอบ ง.  สิบชักหนึ่ง คือ สิบชัก
3. พันธกิจกรมศุลกากรคืออะไร
ก. ยกระดับศุลกากรไทยสู่ศุลกากรมาตรฐานโลก   ข. สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน
ค. ปกป้องความปลอดภัยของสังคม    ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  พันธกิจกรมศุลกากรไทย คือ
1. ยกระดับศุลกากรไทยสู่ศุลกากรมาตรฐานโลก
2. สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน
3. ปกป้องความปลอดภัยของสังคม
4. นายเรือ หมายถึงใคร
ก. บุคคลใดๆ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา หรือควบคุมเรือ
ข. บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของเรือ
ค. บุคคลที่ถือท้ายเรือ
ง. ไม่มีข้อถูก
คำตอบ ก.  นายเรือหมายถึง บุคคลใดๆซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ
5. ในปี พ.ศ.2369 ได้จัดทำสัญญาเบอร์นี่ขึ้น  ให้เก็บภาษีขาเข้า และขาออกจากปากเรือวาละกี่บาท
ก. 1,500 บาท    ข. 1,600 บาท
ค. 1,700 บาท     ง. 1,800 บาท
คำตอบ  ค.  1,700 บาท
6. สัญญาเบอร์นี่ได้กำหนด หากเป็นเรือเปล่า ให้เก็บภาษีวาละ เท่าใด
ก. 1,500 บาท    ข. 1,600 บาท
ค. 1,700 บาท      ง. 1,800 บาท
7. สัญญาเบอร์นี่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลใด
ก. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก    ข. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ค. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว     ง. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำตอบ   ค.  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
8. ในการทำสัญญาเบาว์ริ่งกำหนดให้มีการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าในอัตราร้อยชักสามเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลใด
ก. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ข. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว    ง. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำตอบ   ก.  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในปี พ.ศ. 2398 ได้ให้มีการสร้างสัญญาเบาว์ริ่ง กำหนดให้เก็บภาษีสินค้าขาเข้าในอัตราร้อยชักสาม ส่วนสินค้าขาออกให้เก็บตามระบุในท้ายสัญญาเป็นชนิดไป
9. ตราพระราชบัญญัติศุลกากรฉบับแรก เกิดขึ้นเมื่อใด
ก. 13 สิงหาคม พ.ศ. 2469    ข. 13 กันยายน พ.ศ. 2469
ค. 13 กันยายน พ.ศ. 2469     ง. 13 ตุลาคม พ.ศ. 2469
คำตอบ  ก.   13 สิงหาคม 2469 ในปี  พ.ศ. 2452  พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราชอธิบดีกรมศุลกากร และ มร.วิลเลี่ยม นันท์ ที่ปรึกษาได้จัดร่างกฎหมายวางระเบียบพิธีศุลกากรโดยอาศัยหลักกฎหมายของอังกฤษเป็นแม่แบบ แล้วส่งร่างดังกล่าวให้นานาประเทศพิจารณาขอรับความเห็นชอบ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพื่อการนี้ถึง 14 ปี จึงสามารถตราพระราชบัญญัติศุลกากรฉบับแรกขึ้นได้
10. พิกัดอัตราศุลกากร ได้ออกกฎหมายฉบับแรกขึ้นเมื่อใด
ก. 26 มีนาคม 2469    ข. 26 เมษายน 2469
ค. 26 มิถุนายน 2469     ง. 26 สิงหาคม 2469
คำตอบ ก. 26 มีนาคม 2469 
11. สถานที่ทำการศุลกากร โรงภาษีแห่งแรกตั้งอยู่ที่ใดและมีลักษณะเช่นใด
ก. ตั้งอยู่ปากคลองตลาด เรือนปั้นหยา   ข. ปากคลองผดุงกรุงเกษม เรือนปั้นหยา
ค. ปากคลองมหานาค เรือนทรงไทย    ง. ปากคลองภาษีเจริญ เรือนทรงไทย
คำตอบ   ข. ปากคลองผดุงกรุงเกษม มีลักษณะเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หันหน้าลงแม่น้ำ
12. สถานที่ทำการศุลกากร ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกชื่อว่าอะไร
ก. ศุลกสถาน    ข. สุลกสถาน
ค. ษุลกสถาน      ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำตอบ  ก.  ศุลกสถาน โรงภาษีแห่งแรกตั้งอยู่ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม มีลักษณะเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หันหน้าลงแม่น้ำ  เมื่อ พ.ศ. 2431 ได้ย้ายมาตั้งที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเขตอำเภอบางรัก เดิมเป็นตึกแบบจีน ต่อมาสร้างเป็นเรือนปั้นหยา 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นที่ทำการภาษีร้อยชักสาม อีกหลังหนึ่งเป็นที่บัญชาการข้าวขาออก ภายหลังได้สร้างที่ทำการศุลกากรขึ้นที่เดิมใช้ชื่อว่าศุลกสถาน แปลว่า ที่เก็บอากรขาเข้า ขาออก
13. ข้อใดหมายถึงพนักงานศุลกากร
ก. บุคคลใดๆ ซึ่งรับราชการในกรมศุลกากร
ข. นายทหารแห่งราชนาวี   หรือนายอำเภอ  หรือผู้ช่วยนายอำเภอ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษให้กระทำแทนศุลกากร
ค. พนักงานใดๆ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากร
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2  กล่าวว่า พนักงานศุลกากร หมายถึง บุคคลใดๆ ซึ่งรับราชการในกรมศุลกากร หรือนายทหารแห่งราชนาวีหรือนายอำเภอ หรือผู้ช่วยนายอำเภอ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษให้กระทำแทนศุลกากร และมาตรา 3  แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2480 พนักงานศุลกากรให้ความหมายรวมถึง พนักงานใดๆ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากรด้วย
14. กรมศุลกากรไทยได้รับการยกร่างครั้งแรกในสมัยของใคร
ก. พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช
ข. พระบรมไตรโลกนาถ
ค. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ง. พระเจ้าบรมวงศ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
คำตอบ ก.
15.การร่างได้ยึดถือแนวกฎหมายศุลกากรของประเทศใด
ก. ฝรั่งเศส   ข. อังกฤษ
ค. เยอรมนี   ง. ตุรกี
คำตอบ    ข.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบศุลการักษ์ กรมศุลกากร ใหม่ล่าสุด
 รวมแนวข้อสอบ 1,000 ข้อ

ความรู้เกี่ยวกับกรมศุลกากร

- แนวข้อสอบอังกฤษ Reading

- แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ Grammar
- แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายศุลกากร จากสนามจริง
- แนวข้อสอบ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
- แนวข้อสอบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
- แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
- แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน การเมืองเศรษฐกิจและ สังคม 

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 
สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท 
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 512-2-05266-6 ธ.กสิกรไทย สาขาย่อย เซ็นทรัลอุดรธานี 
ชื่อบัญชี พงษ์ศักดิ์ คำแก้ว ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่ pongsak86@gmail.com

สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 089-7101875 
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +VCD คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ราคา 679 บาท 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน