นานาทัศนะ พรบ.เงินเดือน (เก่า) กับใหม่ต่างกันอย่างไร

guest profile image guest
เงินเดือนไม่ออกแล้ว  ข้าราชการขั้นผู้น้อยเป็นงัยกันบ้าน  เหลื่อมล้ำแบบเห็น ๆ
ไม่เป็นธรรม สำหรับเด็ก ฐานเงินเดือนต่ำ  แล้วเราจะรออะไร  ทำมัยผู้ใหญ่ใจร้าย
ประเมินสมรรนะหลัก  สมรรถนะรอง  นำมาใช้กันบ้างหรือเปล่า  หรือเรามีหน้าที่ไถ่นาให้คนอื่น 
ความคิดเห็น
guest profile guest
 ถ้าวิธีการให้เงินเดือนนี้ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบธรรม ก็ควรหาวิธีใหม่ที่ดีกว่านี้ จริง ๆ นะ ดู ๆ ไป ก็สู้แบบเดิมไม่ได้เลย ข้าวของก็แพงเอ้า ๆ  แต่รายได้ต่ำแสนต่ำ เงินเดือนผู้ปฏิบัติงานระดับชำนาญการพิเศษลงมาที่ได้ขึ้นในปีงบประมาณ 2554 ประมาณคนละ 550 ถึงไม่เกิน 2,000 บาท เท่านั้นเอง ดูราคาน้ำมันแล้วใจหาย เงินเดือนที่ได้ขึ้น เติมน้ำมันครั้งเดียวก็หมดแล้ว ไม่พอใช้จริง ๆ ครับ ขอให้ท่านเจ้านายช่วยด้วย
guest profile guest
พรบ.เงินเดือนใหม่ ใช้หลัก สมรรถนะ หลักคุณธรรม หลักผลการปฎิบัติงาน ในการจ่ายค่าตอบแทน(เงินเดือน) เหมาะสำหรับคนเก่ง คนที่มี ประสบการณ์ ทักษะ ผลงานที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในองค์กร การเลื่อนขั้นเงินเดือนก็ป็นแบบช่วง การคำนวณโดยใช้ค่ากลางคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ แบบเดิมใช้ระบบชี/ขั้นบรรได(เป็นชั้น) ซึ่งไม่สามารถแยกคนดี คนเก่งออกจากกันให้เห็นได้ชัดเจน
**นั้นคือหลักการ แต่พอนำมาใช้จริงมันคนละเรื่อง ใช้คนละหลักกัน ก็นี่แหละระบบการประเมินผลงานของผู้บริหารของคนไทย ก็ได้แต่ค้านกันลับหลังนาย พอเอาเข้าจริงก็ไม่กล้าคัดค้านเขา ก็ทำให้เขาอยากจะทำอะไร แบบไหนก็ได้ "การประเมินความดี ความชอบ"อยู่ที่ปลายปากกาจะเขียนคะแนนให้เท่าไรก็ได้ ใครจะทำอะไรผม/ฉัน? ก็ผมชอบคนนี้ ผมว่าคนนี้มีผลงานดีกว่าคนนั้นก็แล้วกัน?
**ถ้าเปรียบเทียบกันว่าดีกว่าหรือเปล่า ความเห็นส่วนตัวตอบว่าดี เพราะหลักการประเมินจะสามารถวัดได้ชัดเจน เพราะมีตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน มีเอกสาร หลักฐานชัดเจน สามารถแยกคนเก่งออกจากคนที่ไม่ผลงานได้ ทำให้คนเก่งอยากอยู่กับองค์กรเพราะทำให้ได้รับค่าตอบแทน(เงินเดือน)ที่มีความธรรมกับผลของงาน แต่ถ้าตอบว่าเหมาะกับองค์กรภาครัฐอย่างไทยเราหรือเปล่า ไม่เลย เพราะ ระบบการประเมินผลงาน ประเมินสมรรถนะของเราจะอยู่ที่ความพอใจไม่พอใจของผู้ประเมิน ผู้ถูกประเมินจะไม่ยอมรับแต่พูดอะไรไม่ได้ ส่วนเปรียบกับเม็ดเงินแล้ว ระบบซีจะได้รับเงินมากว่า แต่มันเป็นการสร้างภาระให้กับภาครัฐสูงมากการคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์โดยใช้ค่ากลาง ก็คงต้องทำใจยอมรับนะ เพราะมันเป็นกฏหมายแล้ว แล้วเรา 38 ค. (2) ก็ดันไปขอใช้ตามมาตรา 139 ของ พรบ.ก.พ.51 อีก เพราะเพียงแค่อยากให้ขยายเพดานขั้นเงินเดือนให้ตันขึ้นไปอีก 2 ขั้น "เคยคัดค้านนะ แต่ถูกตอกหน้ากลับว่า ก็เงินเดือนเธอไม่ตันนี่ !ก็ไม่อยากให้ใช้ของ ก.พ.เขานะซิ " มันสายไปแล้ว ป่วยการพูด
**ยังเสียดายแทนครูเลย ถ้าโรงเรียนไหนครูมีน้อยคน เงินเดือนก็น้อยแล้วจะได้เงินเดือนขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วความแตกแยกในกรณีผู้ประเมินไม่มีความเป็นธรรมอีกละ เพราะ สพท.ยังไม่เคยกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน กิจกรรม หรือมาตรฐานงานไว้เลย ไม่อยากคิดนะ เป็นทุกข์เปล่า ๆ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

doungnoi Icon เส้นทางบุคลากรทางการศึกษา 38 ค(2) อ่าน 2,236 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
guest Icon 38ค(2)ถูกลอยแพ 1 อ่าน 2,184 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon กรอบใหม่ สพม. อ่าน 2,169 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ประชาสัมพันธ์ facebook 38ค อ่าน 2,214 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
guest Icon การเลื่อนระดับชำนาญการ อ่าน 3,128 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
guest Icon การเลื่อนเงินเดือนอัตโนมัติ 47 อ่าน 25,459 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา