พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

guest profile image guest


พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

...ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงาม สำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม...

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๖

 

“…การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแกผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย...

 

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส

เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒

 

“…ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของคนแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ เราควรยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ...

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๓

 

“…ความรู้จักอดทนและอดกลั้น ไม่ยอมตัวยอมใจให้วู่วามไปตามเหตุการณ์ตามอคติและอารมณ์ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจนั้น ทำให้เกิดมีการยั้งคิดและธรรมดาคนเรา เมื่อยั้งคิดได้แล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องที่ทำ คำที่พูด ทบทวนดูใหม่ได้อีกคำรบหนึ่ง การพิจารณาทบทวนเรื่องใดๆใหม่ ย่อมจะช่วยให้มองเห็นละเอียดชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจอันกระจ่างสว่างไสวขึ้น...

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๑๖

 

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๖

“…ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือเหตุ สิ่งที่ได้รับคือผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก ดังนั้นที่พูดกันว่าให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือ กรรมของตนให้ดีนั่นเอง...

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๑๙

 

“…การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญและไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้วถึงแม้จะไม่มีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน…”

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐

“…ความบังคับตนเองนั้นเกิดขึ้นได้จากความรู้สึกระลึกได้ว่า อะไรเป็นอะไรหรือเรียกสั้นๆ ว่า สติ กล่าวคือ ก่อนที่บุคคลจะทำ จะพูด หรือแม้แต่จะคิดเรื่องต่างๆ สติหรือความรู้สึกระลึกได้นั้นจะทำให้หยุดคิดว่า สิ่งที่จะทำนั้นผิดชอบชั่วดีอย่างไร จะมีผลเสียหายหรือจะเป็นประโยชน์อย่างไรต่อไปในระยะยาว…”

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๐

 


ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

CAVALRY102 Icon พระบรมราโชวาท อ่าน 2,362 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
CAVALRY102 Icon พระบรมราโชวาท อ่าน 1,353 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon โครงการพระราชดำริ อ่าน 1,636 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon พระราชกรณียกิจ อ่าน 1,997 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon พระราชกรณียกิจ ด้านการศาสนา อ่าน 1,957 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon โครงการแกล้งดิน อ่าน 1,735 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon พระบรมราโชวาท อ่าน 2,340 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon พระบรมราโชวาท อ่าน 1,795 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon พระบรมราโชวาท อ่าน 1,725 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา