ปิดหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง)พัฒนาหรือทำลายระบบการศึกษาสายวิชาชีพ

krichdesign profile image krichdesign

ปิดหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง)พัฒนาหรือทำลายระบบการศึกษาสายวิชาชีพ

          ตฤณ ดิษฐลำภู          คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

          สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)หรือทบวงมหาวิทยาลัยเดิม มีกรอบความคิดที่จะปิดหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาชีพมาหลายยุคสมัย ด้วยเหตุผลต้องการให้เป็นมาตรฐานเดียวกับหลักสูตรปริญญาตรีทั่วไป ที่รับนักศึกษามาจากสายสามัญที่ขึ้นตรงกับสกอ.มาโดยตลอด กระทั่งสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาชีพต่างๆ ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ต้องขึ้นตรงต่อ สกอ. กรอบความคิดเดิมจึงถูกนำมาปฏิบัติเชิงเผด็จการ โดยออกคำสั่งปิดหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ทุกสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2551 ให้มีผลบังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป และยังให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์บุณยเกียรติ ออกคำสั่งปิดหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป สั่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 โดยให้สถาบันอุดมศึกษายังสามารถรับนักศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญาเข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ โดยการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ          เมื่อมหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติตามแนวนโยบายของ สกอ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วได้เกิดความยุ่งยากและสร้างความเดือดร้อนและภาระแก่นักศึกษา รวมไปถึงครอบครัวอย่างมากมาย กล่าวคือ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) เป็นการศึกษาสายวิชาชีพ ที่เปิดรับนักศึกษาสายวิชาชีพระดับ ปวส.คืออนุปริญญาหรือเป็นปริญญาตรีปีที่ 1 และ 2 เรียนมาประมาณ 100 หน่วยกิต แล้วเข้าศึกษาต่อยอดอีก 2 ปี ในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ก็คือปีที่3 และ 4 ของมหาวิทยาลัยทั่วไปอีกประมาณ 74-86 หน่วยกิต รวมเป็น 174-186 หน่วยกิต จึงได้รับวุฒิปริญญาตรีในสายวิชาชีพนั้นๆ ในขณะที่หลักสูตรปริญญาตรีทั่วไปของมหาวิทยาลัยเรียนประมาณ140-150 หน่วยกิตเท่านั้น          เมื่อ สกอ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งปิดหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) นักศึกษาปัจจุบันต้องนำผลระเบียนการเรียนในระดับ ปวส. 100 หน่วยกิต มาเทียบรายวิชากับหลักสูตรปริญญาตรีปกติที่ถูกสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของ สกอ. และคุรุสภาจำนวน 170 หน่วยกิตเป็นตัวตั้ง หากวิชาใดตรงกัน3 ใน 4 ของคำอธิบายรายวิชาก็สามารถเทียบได้คือไม่ต้องเรียนในรายวิชานั้น แต่ถ้าได้เกรด D มาก็เทียบไม่ได้ เมื่อเทียบแล้วปรากฏว่านักศึกษาที่เทียบได้มากสุดคือ จำนวน 30 หน่วยกิต จึงต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่เทียบไม่ได้ที่เหลืออีก 140 หน่วยกิตกว่าจะได้รับวุฒิปริญญาตรี (4 ปี) ต้องเรียนถึง 240 หน่วยกิต นักศึกษาอีกจำนวนมากที่เทียบได้เพียง 2 วิชาคือ 6 หน่วยกิต จึงต้องเรียนในหลักสูตรหลักเกณฑ์ของ สกอ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถึง164 หน่วยกิต กว่าจะได้รับวุฒิปริญญาตรี (4 ปี) ต้องเรียนถึง 264 หน่วยกิต และต้องใช้เวลาในสถานศึกษาจากเดิม 2 ปี เป็น 3-4 ปี ต้องเสียค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าหน่วยกิต ค่าเบี้ยใบ้รายทางที่มหาวิทยาลัยต่างๆ สรรหาขึ้นเป็นกฎข้อบังคับเก็บเงินนักศึกษาอีกมากมายหลายกรณี  หลายกิจกรรม          นี่คือความทุกข์และเดือดร้อนของนักศึกษา ปวส.รวมไปถึงทางครอบครัวของนักศึกษา ปวส.ทั้งหมดทั่วประเทศ รวมทั้งแรงงานภาคอุตสาหกรรมเกษตรกรรม ราชการ และรัฐวิสาหกิจทั้งปัจจุบันและอนาคตนับแสนนับล้านคน ใครจะเข้ามาเรียนศึกษาต่อยอดเพื่อเป็นบัณฑิตให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองอย่างมากมาย จึงเป็นการขาดโอกาสพัฒนาศักยภาพแรงงานทุกภาคส่วนไป อันส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการกระทำของ สกอ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน ที่ต้องจดจำไว้ชั่วลูกชั่วหลานดังเคยปรากฏมาทุกยุคสมัยที่นักการศึกษาระดับชาติได้เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการศึกษา ด้วยอ้างพัฒนาคุณภาพและภูมิปัญญา แต่ผลที่ปรากฏกลับกลายเป็นเยาวชนในปัจจุบัน คิด อ่าน เขียน และแก้ปัญหาไม่เป็นดังปรากฎ          ความสำคัญของหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม          ปี พ.ศ.2479 รัฐบาลมีนโยบายให้เปิดสอนวิชาชีพแก่เด็กไทย แต่ยังไม่มีโรงเรียนสอนสายวิชาชีพปี พ.ศ.2480 กระทรวงศึกษาฯจึงเรียกครูวุฒิสามัญจำนวน 552 คน มาฝึกวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเปิดโรงเรียนอาชีวศึกษาขึ้นตามจังหวัดต่างๆ พ.ศ.2491 รัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษาขึ้นในวังรพีพัฒน์เทเวศร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร) เพื่อฝึกหัดครูช่างขึ้นเป็นแห่งแรก พ.ศ.2502 รัฐบาลได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลเยอรมนีจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือขึ้น (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) และจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) จัดตั้งวิทยาลัยโทรคมนาคม(ปัจจุบันคือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) พ.ศ.2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตขึ้นพ.ศ.2518 วิทยาลัยครูอาชีวศึกษาเทเวศร์ เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับ ปวส.ได้เข้าศึกษาต่อยอดเป็นบัณฑิตในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคปฏิบัติการ คือคณะวิศวกรรมเทคโนโลยี มี 2 ภาควิชา คือภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม เพื่อขยายโอกาสทางอาชีวศึกษายกระดับช่างฝีมือ และช่างเทคนิคขึ้นเป็นวิศวกรปฏิบัติการ และครูช่างสายวิชาชีพต่างๆออกไปปฏิบัติอาชีพวิศวกรภาคสนามและสายการผลิตที่มีทักษะฝีมือในการใช้และซ่อมเครื่องจักรกลต่างๆโดยไม่เน้นวิทยาศาสตร์และการคำนวณชั้นสูง เหมือนหลักสูตรในมหาวิทยาลัยทั่วไป ส่วนการยกระดับช่างฝีมือและช่างเทคนิคขึ้นเป็นครูช่างออกไปปฏิบัติอาชีพเป็นครูช่างตามวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับ ปวช. และ ปวส.อย่างมีคุณภาพเป็นที่ประจักษ์มาตลอด 35 ปี          ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร(วิทยาลัยครูอาชีวศึกษาเทเวศร์เดิม) เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต(หลักสูตร 5 ปี) โดยรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) และ ปวช.เข้ามาศึกษา เป็นหลักสูตรหลักตามกำหนดของ สกอ. แต่การสั่งปิดหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง) อันเป็นหลักสูตรหลักมาตลอด 35 ปี ที่เคยรับช่างเทคนิคจากภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาปวส.เข้ามาศึกษาต่อยอดอีก 2 ปี เพื่อเป็นครูช่างและวิศวกรปฏิบัติการทิ้งไป โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอธิบายได้ว่าหลักสูตรดังกล่าวได้สร้างความเสียหายอะไรขึ้นบ้าง นอกจากอ้างเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับหลักสูตรที่รับนักเรียนชั้น ม.6 เข้ามา ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อนักศึกษาและระบบการจัดการศึกษาสายวิชาชีพอย่างหนัก จึงเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 มาตรา 30 มาตรา 50 และมาตรา 80 (3) แล้ว ยังก้าวล่วงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 15 (1)และวรรคห้า วรรคหก มาตรา 19 มาตรา 28 มาตรา34 วรรคสอง และมาตรา 36 วรรคสอง และก้าวก่ายการบริหารงานตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 มาตรา 7 และมาตรา 38 (3) อีกทั้งไม่นำพาต่อประกาศกระทรวงศึกษาธิการในราชกิจจานุเบกษา เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 ข้อ 7.4 และวรรคสอง ข้อ 8.2.4 และข้อ 8.3 วรรคสอง เกี่ยวกับการให้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)          และที่สำคัญการประกาศปิดหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง) ของ สกอ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการครั้งนี้ เป็นการทำลายกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565)ของ สกอ.เสียเอง กล่าวคือ ในแผนได้ระบุชัดว่าให้อุดมศึกษาร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมรายสาขาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ให้เปิดรับผู้จบอาชีวศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ด้วยความยืดหยุ่น เร่งผลิตครูช่างต่อยอด ฯลฯ แล้วยังแสดงแนวคิดเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยไม่ฟังมติของนายกสภาวิชาชีพต่างๆ จำนวน 14 องค์กร อาทิ สภาการศึกษาแพทยสภา สภาสถาปนิก เนติบัณฑิตสภา สภาทนายความ สภาเภสัชกรรม สภาวิศวกรรม สภาการพยาบาล ฯลฯ ที่มีความเห็นสอดคล้องว่า หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ยังมีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศชาติ          ดังนั้น การใช้อำนาจหน้าที่ทางราชการของ สกอ.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้ จึงเป็นการละเมิดทางการปกครองอีกด้วย !!

          --มติชน ฉบับวันที่ 6 ก.ย. 2553 (กรอบบ่าย)--

ความคิดเห็น
guest profile guest
อยากให้ผู้ที่ออกปากบอกปิดหลัวสูตรต่อเนื้อง ได้คิดคำนึงถึงผลกระทบหลายๆด้าน ทั้งตัวนักเรียนเอง  ทั้งสถานประกอบการเองที่จะต้องรับนักศึกษาระดับ ปวส. เพราะไม่สามารถไปต่อได้ โดยเฉพาะทางครอบครัวนักศึกษา หากนักศึกษาต้องเรียนต่อ จะต้องใช้เงินจำนวนมาก (คนเราไม่ได้รวยทุกคนนะ คุณมันคนรวยนี้นา คงไม่คิดเรื่องนี้หลอก) หากคุณคิดซักนิด อะไรๆมันคงจะดีกว่านี้

ปล.หากเกิดการยกเลือกการเรียนต่อเนื้อง คุรจะเสียเด็กที่มีความรู้ ความสามารถดีๆไปเยอะมากมาย ควรคิดซักนิด

ผมก็เด็กช่างคนนึง ไม่ได้ร่ำรวย เห็นใจคนที่ไม่รวยมั้งสิครับ

คนเราไม่ได้มีสมองไว้คั่นหูอย่างเดียว   นะครับ ^^
guest profile guest
ควรคิดถึงนักศึกษาส่วนใหญ่บ้าง
guest profile guest
ถ้าไม่มีแร้วเราจะไปเข้าอะไร เปิดต่อเนื่องเลยถ้าลูกหลานคุณจบปวสมาละคุณจะว่ายังไง บ้าไปแร้วเอาสมองคิดป่าวหรือเอาส่วนไหนคิดคนจบปวส มาก้อมีความรุเหมือนกัน มันยากนะ เรียนปวส มา2 ปี จะมาให้เรียนป.ตรีใหม่อีก4ปี บ้าไปแร้ว คนที่บอกปิดนะมึงไม่คิดหรอว่า คนเราจะเปงยังไง
guest profile guest

ผมก็ไม่เห็นด้วยนะ
ผมว่า...ผู้ที่เรียน ปวส ควรหาทางใช้สื่ออิเลคทรอนิคส์
แล้วรวมตัวกันเพื่อยื่นเรื่องคัดค้าน
และขอเปลี่ยนแปลง
มันเปนการริดรอนสิทธิ
บุคคลทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกัน

krichdesign profile krichdesign

จริงครับ

guest profile guest

ประเทศนี้มันกระจอก แค่นี้ยังทำให้พวกเราผิดหวังเลย คิดแต่ตัวเอง หาเหตุผลสวยงาม สวยหรู มาพูดให้ดูดี เห่อ คิดได้ แค่ว่าว่าวันไหนกุจาทำให้เบียดเบียนคนอื่นดีหว่า  คิได้ แค่นี้ ไม่คิดถึงคนอื่น กว่าจาเรียนมาเสียเวลา เสีย เงิน มาทำอย่างงี้ คิดได้ แค่ นี้แหละ ไอ้คนคิด อะบอก ให้ อ.จารย์ที่ผมเคารพท่านจบดร.ที่อเมริกา มายังบอก ผมเลยว่า ระบบการศึกษา ประเทศนี้มันทุเรศ ห่วยแตก กะจอก  มันก็คิดไอ้แค่นั้นแหละ ว่า จาไปตัดตรงไหนดึงตรงนี้มายังไง  มันได้แค่นี้ จริงๆ แหละ ผมมาอ่าน ทีไรก็เห็นใจคนจบปวส แล้วก็คิดว่า ตัวเองโชคดีมากที่ จบไปก่อน ที่ได้จาได้เห็น อะไรๆ ทุเรศๆแบบนี้ ผมดูมาตั้งแต่ว่าเค้าทำท่าจะยุบปวส มา2-3ปีแล้ว แว่วๆมา ไม่คิดว่า ปีที่แล้วจาทุเรศ สุดๆ ทำกันจนหมดจนได้  เหอๆ ประเทศ นี้ระบบการศึกษามันกระจอกครับ ดร.ท่านว่าอย่างนั้น เหอๆ แต่ผมว่ามันไม่เกี่ยวกะระบบน่ะ คนคิดมากกว่า ห่วยแตก กระจอก เหอๆ

guest profile guest
เรียนจบแบบหลักสูตรต่อเนื่องมาจากที่เทเวศน์ ปี 2545  สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ-ออกแบบการผลิต อยากจะบอกว่าความรู้
ทางด้านคำนวณที่มีสอน อาจไม่เทียบเท่า 4 ปี ที่เขาเรียนกัน แต่ทักษะการทำงาน และการบริหารงานในองค์กร พวกเราถนัดกว่าเยอะ
ปรับตัวได้ดี และเป็นใหญ่ เป็นโต เป็นเจ้าของบริษัท หลายคนละ
ดังนั้นจึง ไม่เห็นด้วยอย่างแรงที่มีการละเมิดสิทธิ การพัฒนาบุคลากรของชาติแบบนี้ จริงๆ  การศึกษาไทย ไม่ก้าวไกลอย่างที่คิด
guest profile guest
ผมจบ ปวส.มาทำงาน ปีกว่าๆ  ตอนนี้กำลังจะหาที่เรียนต่อ  แต่ดูๆ แล้วหาที่ลงยากจิง ๆ   มีแต่ของเอกชน  ค่าเทอม โหดมากๆ   ยังคิดอะไรไม่ออก เครียดจิง ๆ

guest profile guest
ปวช.+ปวส.+ป.ตรี เป็นหลักสูตรที่ดีแล้ว เหมาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย
guest profile guest
ผมก็จบ ปวส. มาครับ พอจบก็ต่อตรีเลยครับ มาทำงานก็ไม่เห็นว่ามันจะต่างจากพวกจบตรง ตรงไหนเลย  ไม่ได้ว่าเขาไม่เก่ง แต่ส่วนมากจะเป็นพวกเจ้าสำอาง  ไม่สู้แดด อะไรประมาณนั้น ถามอะไรที่ไม่ใช่ทฤฎีก็เห็นตอบไม่ได้เหมือนกัน ยอมรับครับว่า ทฤฎีเขาแม่นมาก แต่ยังจัดการตัวเองไม่ดีเท่าไหร่  ตอนนี้เรียนโทอยู่ครับ ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย   สงสัยไอ้คนที่มันออกกฎหมายมันกลัวลูกมันไม่มีงานทำมั้งครับ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

pmoosmith Icon ใบปะหน้าในการส่งโครงงาน 3 อ่าน 3,188 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
ARCHBANGKHEN7 Icon มิตติ้งรุ่น7 ครั้งที่2 10 อ่าน 3,129 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pmoosmith Icon ขอเชิญร่วมกันทำรายงาน อ. สศ อ่าน 1,100 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pmoosmith Icon Unbelievably Beautiful Show อ่าน 1,223 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pblao Icon แจ้งแก้ไข E mail ครับ อ่าน 878 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
krichdesign Icon ARCH_CUP Football League 6 อ่าน 4,561 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pblao Icon ส่งประวัติคร้าบบบบบบบบบ อ่าน 1,107 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา