เปิดสอบ!!! ข้อสอบนักสืบสวนสอบสวนปฎิบัติการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

nasza profile image nasza
1.    พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีทั้งหมดกี่ฉบับ
ก.    2  ฉบับ                ค. 4  ฉบับ
ข.    3  ฉบับ                ง. 5  ฉบับ
ตอบ    ข.3  ฉบับ    
2.    พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ให้ใช้บังคับเมื่อใด
ก.    นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.    พ้นกำหนด  90  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.    พ้นกำหนด 30  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.    พ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ   ง.พ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3.    “ความผิดมูลฐาน” หมายความว่าอย่างไร
ก.    ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ข.    ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา
ค.    ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
“ความผิดมูลฐาน” หมายความว่า
(๑) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๒) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา เฉพาะที่เกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารหญิงและเด็ก เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นและความผิดฐานพรากเด็กและผู้เยาว์ ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เฉพาะที่เกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณี หรือความผิดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการกิจการค้าประเวณี หรือสถานการค้าประเวณี หรือเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี
(๓) ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
(๔) ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อทรัพย์หรือกระทำโดย ทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกระทำโดย กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน นั้น
(๕) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
(๖) ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ที่กระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่ หรือซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา
(๗) ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(๘) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๙) ความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน เฉพาะความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีจำนวนผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นแต่ละครั้งเกินกว่าหนึ่งร้อยคน หรือมีวงเงินในการกระทำความผิดรวมกันมีมูลค่าเกินกว่าสิบล้านบาทขึ้นไป
4.    “ธุรกรรม” หมายความว่าอย่างไร
ก.    กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใด ๆ กับผู้อื่น ทางการเงิน 
ข.    กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใด ๆ กับผู้อื่นทางธุรกิจ 
ค.    กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

5.    ข้อใดคือการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน
ก.    กระทำ ด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ข.    โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น
ค.     ถูกทั้ง  ก  และ  ข
ง.     ไม่มีข้อถูก
ตอบ    ค.ถูกทั้ง  ก  และ  ข
6.    เมื่อ มีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมนั้นต่อสำนักงาน เมื่อปรากฏว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็น
ก.    ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
ข.    ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง 
ค.    ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
ง.    ถูกทุกข้อ
ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ
7.    ผู้ ประกอบอาชีพใด ไม่ได้ มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด มีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย 
ก.    ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์
ข.    ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ค.    ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการตลาด
ง.    ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
ตอบ    ค.ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการตลาด
ผู้ ประกอบอาชีพมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรม ที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย   ได้แก่
(๑) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้าย เงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ตามมาตรา ๑๓
(๒) ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณีเพชรพลอย หรือทองคำ
(๓) ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์
(๔) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(๕) ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
(๖) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบ ธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับหรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการ เงิน
(๗) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตาม ประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๘) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวง การคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๙) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
8.    จากข้อ  6  ผู้ประกอบอาชีพใดต้องเป็นนิติบุคคล
ก.    ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุน
ข.    ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณีเพชรพลอย หรือทองคำ
ค.    ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ง.    ผู้ ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตาม ประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ 
ตอบ   ข. ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณีเพชรพลอย หรือทองคำ
ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องเป็นนิติบุคคล  ได้แก่
(๒) ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณีเพชรพลอย หรือทองคำ
(๓) ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์
(๔) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(๕) ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
9.    ใครเป็นประธานในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ก.    นายกรัฐมนตรี                ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม        ง. อธิบดีกรมสรรพากร
ตอบ   ก. นายกรัฐมนตรี    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ
10.    ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีกี่คน
ก.    9  คน                ค. 10  คน
ข.    7  คน                ง. 5  คน
ตอบ   ก. 9  คน

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบ ปปง. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 
รวมทุกอย่างที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินออกข้อสอบ

- เกี่ยวกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปปง.
- แนวข้อสอบด้านคอมพิวเตอร์
- แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
- แนวข้อสอบ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

แนวข้อสอบเฉพราะตำแหน่งที่สอบ (เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)



ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 087-0708815

สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 399-
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 402-654466-2 ธ.ไทยพาณิชย์ 
สาขาเซ็นทรัลขอนแก่น ชื่อบัญชี ณัฐพล จูมศิลป์   ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  [email=nas_za.za@hotmail.com

 

คลิ๊กถูกใจเพื่อรับข่าวสารทางเฟสบุ๊คที่นี่

 

เปิดสอบ!!! ข้อสอบนักสืบสวนสอบสวนปฎิบัติการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน