การเลื่อนระดับจากภาคีสถาปนิกเป็นสามัญสถาปนิก ให้กับผู้มีคุณวุฒิในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

krichdesign profile image krichdesign

ความคืบหน้า: ร่างข้อบังคับเกี่ยวกับการเลื่อนระดับจากภาคีสถาปนิกเป็นสามัญสถาปนิก ให้กับผู้มีคุณวุฒิในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ “ปวส.”

คณะกรรมการสภาสถาปนิกจะนำเสนอร่างข้อบังคับอีก 1 ฉบับในการประชุมใหญ่สามัญสภาสถาปนิกวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554 นี้ เพื่อเพิ่มเติมสิทธิในการขอรับใบอนุญาตระดับสามัญสถาปนิก หรืออาจเรียกในวิธีการเดิมว่า การเลื่อนระดับจากภาคีสถาปนิกเป็นสามัญสถาปนิก ให้กับผู้มีคุณวุฒิในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือ ปวส. ซึ่งในข้อบังคับว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปีพ.ศ.2552 ไม่ได้ให้สิทธิ์นี้ไว้
จึงขอเสนอร่างข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละระดับ การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการออกหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงในบทเฉพาะกาล เพื่อเพิ่มเติมสิทธินี้ให้กับผู้มีคุณวุฒิ ปวส.ดังกล่าว ซึ่งเข้าศึกษาตั้งแต่ก่อนวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 มีสิทธิ์ขอเลื่อนระดับจากภาคีสถาปนิกเป็นสามัญสถาปนิกได้เหมือนกฎหมายเดิมที่เคยใช้ปฏิบัติมาก่อนนี้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

http://www.act.or.th/news540316.html

ความคิดเห็น
guest profile guest

เรามาเรียนช้าไปครึ่งปี....นะ...กฤช
....
ว่าแต่ภาคีพิเศษ....
มีศักดิ์และสิทธิอย่างไรบ้างครับ
เผื่อจะขึ้นเวทีเลย...555

guest profile guest

อ๋อพี่หมูครับยังมีสิทธฺครับไม่ได้เสียสิทธฺแต่อย่างใด.....นี้เป็นเพียงแค่ร่างเท่านั้นซึ่งกว่าจะประกาศเป็นกฎกระทรรวง และเป็นกฎหมายยังคงต้องใช้เวลาอีกนานครับน่าจะกินเวลานับแรมปี-2ปีเลยครับพี่กว่าจะประกาศใช้ซึ่งในบทเฉพาะกาลก็ได้กล่าวถึงอยู่...ซึ่งยังคงรองรับการเลื่อนระดับของพวกเราอยู่ทั้นเวลา...ครับ สบายใจได้

ยกตัวอย่างเช่นการประกาศรับรองสถาปัตยกรรมหลัก4สาขาให้มีใบประกอบวิชาชีพ ยังใช้เวลาไม่ต่ำกว่า5ปีเลยครับและพึ่งจะประกาศการใช้มาเมื่อปี่ที่ผ่านมานี้เองครับพี่...เห็นมั้ยว่ายังอีกนานแต่ทางสถาก็ออกบทเฉพาะกาลย้อนหลังให้....ไม่งั้นมีหวังสภาแตกแน่ปวส.ทั่วประเทศคงไม่ยอม...555+

กฤช

guest profile guest

งั้นก็ขอหยิบยก กระทู้ของอาจารย์ยอดเยี่ยมมาตอบเลยแล้วกันน่ะครับ

ภาคีสถาปนิกพิเศษ ตาม concept ช่วงที่ผลักดันพระราชบัญญัตินั้น ต้องการเปิดช่องว่างไว้ให้สภาสถาปนิก พิจารณาถึงการบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ยังลำดับไม่ชัดเจน หรืออาจจะเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้า ที่ต้องดำเนินการใดเป็นการชั่วคราวครับ ซึ่งภาคีสถาปนิกพิเศษนี้อาจจะมีพิเศษหลายอย่างก็ได้ เช่น (สมมุตินะครับ)

ภาคีพิเศษด้านการควบคุมการก่อสร้าง อาจเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรมบ้าง แต่ผ่านการอบรมหรือทดสอบแล้วว่า สามารถจะควบคุมงานสถาปัตยกรรมได้ ในขนาดอาคารตามที่กำหนด(อาจจะมีหลายขนาดก็ได้) ก็จะได้ใบประกอบวิชาชีพประเภทนี้เป็นการชั่วคราว ในระยะเวลาที่กำหนด เพราะตอนนี้งานก่อสร้างจำนวนมากมายไม่มีสถาปนิกคุมงานจริงๆ ใครคุมอยู่ก็ไม่รู้

ภาคีพิเศษสำหรับสถาปนิกต่างชาติ ในกรณีที่มีการแก้กฎหมาย ปว.๒๘๖ และมีกฎหมายลูกออกมากำหนดแล้ว ตามข้อกำหนดของ GATS (Gerneral Agreement on Trade in Service) หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งทวิภาคี หรือพหุภาคี เป็นต้น

ภาคีพิเศษสำหรับผู้กำลังจะเป็นสถาปนิกเต็มตัว หมายถึงนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษา ก็ให้เป็นภาคีพิเศษได้เลย ก่อนที่จะผ่านการอบรม หรือทดสอบเพื่อให้เป็นภาคีปกติต่อไป อาจจะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องกฎ กพ. เกี่ยวกับข้าราชการที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมก่อน จึงจะบรรจุได้

ภาคีพิเศ๊ษพิเศษ ซึ่งอาจจะมีอีกหลายๆๆๆๆ พิเศษก็ได้ ซึ่งต้องให้สภาสถาปนิกพิจารณา และนำเสนอต่อที่ประชุม เพื่อการใช้ให้เกิดรูปธรรมต่อไปครับ

คำตอบ จาก: ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (22/07/43)

krichdesign profile krichdesign
มีศักดิ์และสิทธิ์ระบุเฉพาะทางตามที่ขอน่ะครับ..........!!!!!!!!!!

ว่าง่ายๆคือพี่หมูต้องไปยื่นเรื่องที่สภามีสิทธิที่จะยื่นขอภาคีพิเศษได้ครับแต่จะระบุขอบเขตในการทำงานออกไป
อาทิเช่นใช้เพื่อการควบคุมงานก่อฯลฯทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอนุกรรมการและทำการทดสอบความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรม(ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้เวลาเลยที่เดียวน่ะ)เรียกว่านานกว่าเพื่อนเพราะมันพิเส๊ด..ดพิเศษ..555+....แต่ขอกำหนดนี้เค้ามีไว้เพื่อ
เปิดช่องว่างให้สภาได้พิจารณาการบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมอื่นที่ยังลำดับไม่ชัดเจนอย่างที่อาจารย์ยอมเนี่ยมได้กล่าวไว่น่ะครับ

กฤช
krichdesign profile krichdesign

ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเดิม (ก่อน พ.ร.บ. สภาสถาปนิก 2543) เรียกย่อว่า ก.ส. เป็นเอกสารรับรองของสถาปนิกในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบ ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาขาด้วยกันได้แก่สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรมผังเมือง และ ภูมิสถาปัตยกรรม ใบประกอบวิชาชีพฯมี 4 ระดับเรียงจากสูงไปต่ำ คือ วุฒิสถาปนิก สามัญสถาปนิก ภาคีสถาปนิก และ สถาปนิกภาคีพิเศษขอบเขตงานที่ควบคุมในสาขาต่างๆ ถูกกำหนดไว้โดยในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2549)ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม

กฎกระทรวงการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมนี้ ได้มีการกำหนดให้งานสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาต่างๆ ทั้ง 4 สาขานั้น ผู้ดำเนินการงานออกแบบ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ ศึกษาโครงการ บริหารและอำนวยการก่อสร้าง ต้องเป็นสถาปนิก(แต่ละสาขา)ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในระดับขั้นต่างๆกันไป ตามขอบเขตของงาน

ตัวอย่างงานที่ต้องมีสถาปนิกที่มีใบอนุญาต (ตามกฎกระทรวงปี 2549[1])ได้แก่

  • สาขาสถาปัตยกรรมหลัก - งานวางผังที่อาคารที่อยู่อาศัย พื้นที่ 150 ตารางเมตร ขึ้นไป, หรืออาคารทางการเกษตร 400 ตารางเมตรขึ้นไป
  • สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง - งานที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • สาขาภูมิสถาปัตยกรรม - งานในพื้นที่สาธารณะ บริเวณอาคารสาธารณะ, พื้นที่ที่บุคคลทั่วไปใช้สอยได้ ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร หรือชุมนุมคนได้ 500 คนขึ้นไป, พื้นที่การจัดสรรที่ดิน (ยกเว้นพื้นที่เกษตรกรรม และที่พักอาศัยส่วนบุคคล)
  • สาขาสถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์ - พื้นที่ภายในอาคารสาธารณะ 500 ตารางเมตรขึ้นไป

จะเห็นได้ว่าขอบเขตงานที่ต้องใช้สถาปนิกที่มีใบประกอบอนุญาตวิชาชีพจากกฎกระทรวงฯฉบับล่าสุดนั้นยังเป็นไปได้ยากในการปฏิบัติ เนื่องจากจำนวนสถาปนิกที่มีใบประกอบวิชาชีพมีไม่พอกับงานที่ต้องการควบคุม (จากข้อมูลปี 2548-49 นี้ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมผังเมือง มีผู้มีใบประกอบวิชาชีพ 8 คน, งานภูมิสถาปัตยกรรม มีภูมิสถาปนิกที่มีใบอนุญาตเพียง 80 คน เป็นต้น)ไม่มีหน่วยงานและบุคคลากรที่ทำการตรวจสอบและดูแลการบังคับใช้ และหลายๆงานไม่จำเป็นที่จะต้องมีสถาปนิกที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก็คงไม่ทำความเสียหาย หรือในหลายกรณีเป็นขอบเขตของงานที่รัฐมีหน้าที่จัดทำ (ตาม พ.ร.บ. หรือกฎหมายอยู่แล้ว) ซึ่งไม่จำเป็นต้องออกใบประกอบวิชาชีพแต่อย่างใด และตามเจตนารมย์ของการออกกฎกระทรวงนั้นมีวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กับสถาปนิกนอกระบบราชการเป็นสำคัญ ทำให้เกิดการร้องเรียนคัดค้านเกิดขึ้นจากผู้ประกอบวิชาชีพเอง นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง[2][3]

ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีลักษณะเหมือนกับใบประกอบวิชาชีพในสาขาอื่น ๆ เช่น ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ กล่าวคือผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้ ในกรณีของสถาปนิกนี้ มีบทลงโทษ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สถาปนิก (2543)[4] ว่าจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

krichdesign profile krichdesign

 

                    มาตรา 46  ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละสาขามี 4 ระดับคือ

                    (1) วุฒิสถาปนิก

                    (2) สามัญสถาปนิก

                    (3) ภาคีสถาปนิก

                    (4) ภาคีสถาปนิกพิเศษ

                    หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละระดับให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก

krichdesign profile krichdesign

พี่หมูเอารายละเอียดนี้ไปดูแล้วกันน่ะครับ


guest profile guest

เท่าที่อ่านดู...พสถ. ยังไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน
แต่ก็ยังดีที่มี
เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมี

อย่างกรณี สภาวิศวกร  ...ก็มีภาคีพิเศษ
เคยมีเจ้าของบริษัทรับเหมา
ไม่ได้จบวิศวะ...จบเศรษฐศาสตร์...อีกต่างหาก ...แต่อยู่ในวงการมา20กว่าปี
มาขอ....เขาสามารถอธิบายให้กรรมการเห็นว่า ...เขารู้เรื่องการก่อสร้าง....จนกรรมการให้ภาคีพิเศษด้านคุมงาน

วิศวกรต่างประเทศผู้ชำนาญการด้านออกแบบสะพาน
มาทำงานในไทย  ...เขานำผลงานมาpresentกรรมการในวันสัมภาษณ์ ว่า เขาชำนาญด้านสะพาน
กรรมการมั่นใจเขา....ก็ได้ภาคีพิเศษ...สะพาน

อันนี้กรรมการสภา...เล่าในที่สัมมนานะ

ผมเอามาแชร์...เผื่อเพื่อน ๆ ท่านใดจะไปขอภาคีพิเศษ วิศวกรร...กันบ้าง

guest profile guest

เรียกว่า...ทองแท้ยอมไม่กลัวไฟ.....แล้วเค้าจะมีลองภูมิให้คำนวนมั้ยเนียะครับ555+.....แต่ถ้าร้จริงจะกลัวอะไรอ่ะน๊อะ

เรียกว่า...ทองแท้ยอมไม่กลัวไฟ

กฤช

guest profile guest
ช่าย...เพชรแท้...ย่อมไม่กลัวการเจียรไน...
guest profile guest

ช่าย.......ปลาร้าแท้ย่อมไม่กล้วหนอน.......ชอนไช

กฤช

guest profile guest

อัพเดทข่าวคร้าบภาคีพิเศษของสถาปนิกยังไม่เคยมีผู้ใดได้เลยมีระบุไว้เป็นร่างเฉยๆแต่ในทางปฎิบัติทางสภายังไม่เคยออกใบอนุญาตอประเภทนี้ให้ใครเลยครับ

guest profile guest

อัพเดทข่าวคร้าบภาคีพิเศษของสถาปนิกยังไม่เคยมีผู้ใดได้เลยมีระบุไว้เป็นร่างเฉยๆแต่ในทางปฎิบัติทางสภายังไม่เคยออกใบอนุญาตอประเภทนี้ให้ใครเลยครับ

guest profile guest

เวรกำสรุปว่ายังไงก็ต้องต่อตรีถ้าจะขึ้นสามัญ

guest profile guest
สวัสดีคุณ กฤช ผมมีเรื่องขอรบกวน..และขอความช่วยเหลือ..
คือผม นศ.รุ่น 6 ซึ่งต้องเรียนบางวิชากับทางรุ่นที่ 7 ผมจึงขอคววามช่วยเหลือผ่านมาทางคุณ กฤช ว่า อยากให้คุณ กฤช หรือ เพื่อนๆรุ่น 7 กรุณาโพสตารางเรียนของรุ่น 7 ที่ update ที่สุดมาไว้ที่บอร์ดรุ่น 6 หรือ รุ่น 7 ก้อได้ครับ

          ขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง

ป.ล. ยังไงขอให้คุณ กฤช โพสเบอร์โทรติดต่อไว้ด้วยก้อดีน่ะครับ
เผื่อทางรุ่น 6 จะขอรบกวนโทรไปถามเกี่ยวกับการเรียนของรุ่น7
guest profile guest
ส่วนเรื่อง ใบประกอบอาชีพสถาปัตย์อย่าเพิ่งไปสนใจเลยครับ
เราเองยังไม่รู้เลยว่า ทางสมาคมจะทราบเมื่อไรว่าทางวิทยาลัยเราเปิดสอนเทียบโอน ซึ่งขาดคุณสมบัติหลายๆอย่างทั้งเวลาเรียน และคุณภาพของ นศ.พวกเราอาจโดนโมฆะก่อนเรียนจบก้อได้...มันเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมเองน่ะครับ......

ขอบพระคุณอย่างสูง...นศ.รุ่น6 
guest profile guest
คร้าบๆๆ

กฤชครับ    086-63936346
ส่วนตารางสอบและรายงานที่อัพเดทจะอัพไว้ที่หัวข้อใหม่หน้ากระดานน่ะครับ

กฤช
guest profile guest

อย่าเพิ่งไปสิ้นหวังว่าจะไม่ได้เป็นสถาปนิกคับ ตราบใดที่พระอาทิตย์ยังขึ้นทางทิศตะวันออกอยู่คับ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

pmoosmith Icon ใบปะหน้าในการส่งโครงงาน 3 อ่าน 3,188 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
ARCHBANGKHEN7 Icon มิตติ้งรุ่น7 ครั้งที่2 10 อ่าน 3,129 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pmoosmith Icon ขอเชิญร่วมกันทำรายงาน อ. สศ อ่าน 1,100 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pmoosmith Icon Unbelievably Beautiful Show อ่าน 1,223 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pblao Icon แจ้งแก้ไข E mail ครับ อ่าน 878 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
krichdesign Icon ARCH_CUP Football League 6 อ่าน 4,561 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
pblao Icon ส่งประวัติคร้าบบบบบบบบบ อ่าน 1,107 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา