มารู้จักสัญลักษณ์แสดงความอันตรายของสารเคมี และวัสดุกัมมันตรังสี

inspiration profile image inspiration

มารู้จักสัญลักษณ์แสดงความอันตรายของสารเคมี และวัสดุกัมมันตรังสี


<><>         
               

รู้จักสัญลักษณ์แสดงความอันตรายของสารเคมี และกัมมันตภาพรังสี


ระบบ สัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA  (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC  และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้

       1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนก สารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ หรือก่อให้เกิดความพินาศ  เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท  (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย  ดังนี้

       ประเภท 1 - ระเบิดได้ (Explosives)

       สารระเบิดได้ หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว  หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง  ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว  ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้  ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6  กลุ่มย่อย คือ

1.1   สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้ง หมด (Mass Explosive) ตัวอย่างเช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
1.2  สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด  ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3  สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น

1.4  สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ  ตัวอย่างเช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
       1.6  สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด  มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ  ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย

       ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases)

       ก๊าซ หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300  กิโลปาสคาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซ อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส  และมีความดัน 101.3 กิโลปาสคาล ได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซในสภาพ ของเหลว  ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ  และรวมถึงก๊าซที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว  ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/  หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

2.1  ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ 20  องศาเซลเซียสและมีความดัน 101.3 กิโลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ  อากาศ 13 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร  หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป  เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม  โดยปกติก๊าซไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน  ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น





2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง  ก๊าซที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส  หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ  ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน  ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์  อาร์กอน เป็นต้น


2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases) หมายถึง  ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ  โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของก๊าซในกลุ่มนี้  เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น

   
   ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)

ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5  องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup Test) หรือไม่เกิน  65.6 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test)  ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ ตัวอย่างเช่น อะซีโตน  น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น


       ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ

       สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

       4.1  ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง  ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ  หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี ตัวอย่างเช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง  ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น  หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง  ตัวอย่างเช่น เกลือไดอะโซเนียม เป็นต้น  หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด ตัวอย่างเช่น  แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น

       4.2  สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous  Combustion) หมายถึง  สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ  หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้

       4.3  สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact  with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว  มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด  ก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย
       ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

       5.1  สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง ของแข็ง  ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ  แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ  เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น  แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น

       5.2  สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง  ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O-  และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้  หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้  หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้  ตัวอย่างเช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น
ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

       6.1  สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง  ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ  รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป  หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยก๊าซพิษ ตัวอย่างเช่น  โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น

       6.2  สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง  สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ  สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน ตัวอย่างเช่น  แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น

       ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี

       วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002  ไมโครคูรีต่อกรัม ตัวอย่างเช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น

       ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน

สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย  ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย  ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ  ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ  สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น  กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น


       ประเภทที่ 9 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด

วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง  สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1  ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น  และให้รวมถึงสารที่ต้อง ควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส  ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240  องศาเซลเซียสในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง



       2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนด สัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape)  เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้  สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้น ทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ  4 สี ได้แก่

  • สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
  • สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
  • สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
  • สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย
       ดังรูป

3. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออก  ตามประเภทของอันตราย  โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม  และมีอักษรย่อ กำกับที่มุมขวา  ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่ที่ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป  สัญลักษณ์ดังกล่าวแสดง ดังตาราง

       4. ระบบ GHS- The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals เป็นระบบการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลากที่องค์การสหประชาชาติได้ กำหนดขึ้น  เพื่อให้เป็นระบบสากลในการจําแนกหรือการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการสื่อ สาร ความเป็นอันตรายของ สารเคมีในรูปแบบของการแสดงฉลากและ  เอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS)  ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก
       ซึ่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏในระบบ GHS นั้น  หากไม่นับรวมสัญลักษณ์ ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตราย  ต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้  (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของ  สหประชาชาติ ที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย (ระบบ UN  ที่กล่าวข้างต้น) อยู่แล้ว สัญลักษณ์โดยที่แผนการ ดำเนินงานของ  ที่ประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD)  ซึ่งจัดทำขึ้นที่กรุงโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ  มีการนำระบบ GHS นี้ไปปฏิบัติให้เร็วที่สุด  โดยมีแนวทางให้นำระบบนี้ไปใช้ได้อย่าง สมบูรณ์ภายในปี 2551

       สัญลักษณ์ ทั้ง 4  ระบบนี้จะปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์และหีบห่อเพื่อประโยชน์ในการจัดการเตรียม  ความพร้อมด้านความปลอดภัยและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน  รวมทั้งประโยชน์ในการจัดเก็บตามชนิดของอันตรายของ สารเคมี.

ความคิดเห็น
guest profile guest
ขอบคุณครับทำที่ให้ผมได้รู้เพื่อมันมีจะได้ระวังตัวครับ^^

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon ปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก อ่าน 1,917 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon แจกเว็บสอนภาษาอังกฤษค่ะ อ่าน 3,208 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger อ่าน 1,809 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon 7 อันดับสุนัขที่ดุที่สุดในโลก อ่าน 2,607 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon อาหารทีแพงที่สุด!!! อ่าน 1,768 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon สนามเทนนิสที่สูงที่สุดในโลก อ่าน 1,372 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon เมืองที่มีอาหารอร่อย อ่าน 1,137 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
inspiration Icon ตำแหน่งไฝ-ขี้แมงวัน อ่าน 20,881 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา