การพัฒนาชนบท

guest profile image guest

สิ่งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงและทรงหาวิธีการแก้ไขอยู่ก็คือ เรื่องการพัฒนาชนบทให้เจริญก้าวหน้า เพราะทรงทราบดีว่ามีข้อจำกัดและมีอุปสรรคในด้านต่างๆมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของราษฎรในท้องถิ่น ที่สำคัญคือชาวชนบทขาดความรู้ความสามารถ และสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เกษตรกรขาดความรู้ ในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างมีหลักวิชา รวมทั้งอุปสรรคปัญหาอื่นๆ เช่นขาดที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ขาดแคลนแหล่งน้ำที่จะใช้ทำการเกษตรและใช้อุปโภคบริโภคเป็นต้น แต่ด้วยพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือราษฎรให้พ้นหรือบรรเทาจากความ เดือดร้อน

ดังนั้น แนวพระราชดำริที่จะช่วยพัฒนาชนบทจึงออกมาในรูปของโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีลักษณะแต่ละโครงการแตกต่างกันออกไปตามปัญหาและสภาพภูมิประเทศในแต่ละ แห่ง แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การพัฒนาบทเพื่อให้ราษฎรในชนบทได้มีความเป็นอยู่ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงครอบครัวให้ดีขึ้น แนวพระราชดำริที่สำคัญในเรื่องการพัฒนาชนบท คือมีพระราชประสงค์ที่จะมุ่งช่วยให้ชาวชนบทนั่นเองได้สามารถช่วยเหลือพึ่งตน เองได้ จะสังเกตเห็นได้ว่าโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ส่วนต่างๆของประเทศนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญประการสุดท้ายก็คือทำให้ชาวชนบทสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้ง สิ้น ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านนี้โดยการสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการ ผลิตให้แก่ราษฎรเหล่านั้น อันจะเป็นรากฐานที่จะนำพาไปสู่การพึ่งตนเองได้ในที่สุด ในเวลาเดียวกันก็ทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทได้มีความรู้ในเรื่องของการประกอบ อาชีพอย่างถูกวิธี โดยเผยแพร่ความรู้นั้นแก่ชาวชนบทอย่างค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะที่เป็นระบบ อย่างต่อเนื่อง และให้สอดคล้องแก่ความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเรื่องการพัฒนาชนบทนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือหลายชนิด ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะผู้บริหารงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า"...ปัญหา สำคัญที่สุดในการพัฒนาชนบทก็คือเรื่อง เครื่องมือ เครื่องมือจำนวนมหาศาลนี้ต้องใช้ให้ถูกต้อง ทั้งเครื่องมือทุ่นแรงทั้งวิธีการที่ก้าวหน้า ถ้านำไปใช้ถูกหลักถูกต้องตามกฎเกณฑ์และหลักของมนุษยธรรมของเมตตา ก็ไม่เป็นไร แต่บางที่เพราะงานเร่งรัดพัฒนานี้เป็นงานที่เรียกว่า "แหวกแนว" และใหม่ กฎเกณฑ์ต่างๆ จึงไม่ชัด อาจไม่รู้ว่าจะใช้กฎเกณฑ์ที่ไหน แล้วก็ผิดพลาดไป การทำผิดพลาดกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับด้วยเจตนาดีนั้นไม่ว่า แต่บางที่มีคนที่อ้างว่าเพราะโง่เขลาเบาปัญญาจึงทำผิดกฎเกณฑ์ไปนั้น ถ้าทำให้เสียหายต่อส่วนรวมก็ลำบากหน่อย เพราะว่าผู้ที่ปฏิบัติตามโครงการตามแผนของเร่งรัดพัฒนานั้น ก็นับว่าเป็นท่านที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ ไม่ควรจะโง่เขลาเบาปัญญาถึงปานนั้น..." และ อีกตอนหนึ่งความว่า "การพัฒนาชนบทเป็นเรื่องที่สำคัญ...ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ จึงสมควรได้มาสัมมนาปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด...เพื่อให้ทราบวาควรจะทำ อย่างไรปัญหาในการพัฒนาชนบทนี้ต้องนึกว่าทำทำไม ทำอย่างไร และทำที่ไหน เมื่อไร...ทำเมื่อไรนั้นตอบได้ง่ายที่สุด เพราะว่าเป็นการเร่งรัดพัฒนา จึงต้องบอกว่าทำเดี๋ยวนี้ทำที่ไหน ก็อยู่ในชื่อของการพัฒนาชนบทแล้ว ทำตามชนบท...เพราะว่าการที่นำความเจริญการพัฒนาไปสู่ชนบทหมายถึงไปสู่ ประชาชนในชนบทน้น มีเหตุผลหลายประการ เหตุผลใหญ่ที่สุดข้อแรกก็คือมนุษยธรรม ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ร่วมประเทศกับเรา ซึ่งถ้าพูดถึงทางหนึ่งก็เป็นเพื่อนร่วมชาติ ถ้าพูดอีกทางหนึ่งก็เป็นผู้ที่เรารู้ว่าอยู่ในความแร้งแค้น...การพัฒนาชนบท เป็นงานที่สำคัญ เป็นงานที่ยาก เป็นงานที่จะต้องทำให้ด้วยความสามารถ ด้วยความเฉลียวฉลาด...ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มิใช่มุ่งที่จะหากินด้วยวิธีการใดๆใครอยากหากินขอให้ลาออกจากตำแหน่งไปทำการ ค้าดีกว่า เพราะว่าถ้าทำผิดพลาดไปแล้วบ้านเมืองเราล่มจม และเมื่อบ้านเมืองของเราล่มจมแล้ว เราอยู่ไม่ได้ ก็เท่ากับเสียหมดทุกอย่าง..."

พระ บรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานในโอกาส ต่างๆ นั้นล้วนแต่มีความหมายลึกซึ้งทุกองค์ อย่างเช่นที่อัญเชิญมาไว้ข้างต้นนั้น ก็เป็นพระราชดำรัสที่ทรงเตือนสติและกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองผู้มี หน้าที่ที่จะต้องคอยดูแลทุกข์สุขของประชาชนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถูก ต้อง ให้ถูกหลักถูกเกณฑ์ หรือถ้าเราจะพูดอย่างภาษาชาวบ้านก็คืออย่าทำตัวเป็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงนั่น เอง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้ข้าราชการได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อ สัตย์สุจริต ดังพระบรมราโชวาทอีกองค์หนึ่งที่จะอัญเชิญมาไว้ ณ ที่นี้ พระบรมราโชวาทองค์นี้พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จ การศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความตอนหนึ่งว่า "...ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาแล้วนี้ จะต้องไปรับราชการ หรือประกอบอาชีพ ส่วนตัว อย่างไรก็ดี ท่านจะได้ใช้แต่เพียงความรู้ที่ท่านได้ไปนี้อย่างเดียวเป็นเครื่องสำหรับ ประกอบการงานเท่านั้นหาพอไม่ เมื่อปีที่แล้วมา...ได้เตือนผู้สำเร็จการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยนั้น มีพระราชอุปนิสัยใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา จะทรงหาทางที่จะนำเอาวิทยาการสมัยใหม่ เทคโนโลยีอันทันสมัยที่มาจากต่างประเทศมาทรงประยุกต์ใช้ ให้สามารถเข้ากันได้ดีกับเทคโนโลยีพื้นบ้าน หรือที่เราเรียกกันว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านนี้เองในบางครั้งก็เป็นวิธีการที่มีคุณค่าและดีกว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาจากต่างประเทศเสียอีก เพราะเทคโนโลยีพื้นบ้านที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านนั้น เป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่อาศัยธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติ และดังได้กล่าวไว้แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาค้นคว้า ทดลองหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ว่าจะได้ทรงนำความรู้ที่ทรงค้นพบใหม่นั้นไปใช้ประโยชน์ในการบำบัด ทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบริเวณแปลงเพาะชำต้นซิงโคน่า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนำไปปลูกทดลองเพื่อใช้เปลือกไปสกัดเป็นตัวยาควินินสำหรับ ใช้ป้องกันไข้มาลาเรีย ณ บริเวณโครงการที่ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนั้นทรงพอพระราชหฤทัยมากที่ได้มีการจัดสร้างหลุก แล้วยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และจากหลุกที่เป็นเทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้านนี้เอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เกิดมีแนวพระราชดำริว่าน่าจะนำรูปแบบของ หลุกไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างอื่นต่อไปได้อีก ซึ่งต่อมาก็ทรงนำลักษณะของหลุกมาทรงออกแบบและประดิษฐ์เป็นเครื่องกลเติม อากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยได้สำเร็จ และโปรดใช้ชื่อว่า "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

อันเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมากรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเลขที่ ๓๑๒๗ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร

กังหันน้ำชัยพัฒนา มีส่วนสำคัญในขบวนการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำที่มีประสิทธิภาพในการลดความสกปรกของ น้ำสูง แต่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสนพระราชหฤทัยใฝ่หาความรู้ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๔ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทในเรื่องของการศึกษาหาความรู้ไว้ตอนหนึ่งว่า "... การศึกษาเล่าเรียนเป็นเรื่องที่ไม่มีสิ้นสุด ผู้ปรารถนาความเจริญในการประกอบกิจการงาน จะต้องหมั่นเอาใจใส่แสวงหาความรู้ให้เพิ่มพูนอยู่เสมอ...อีกประการหนึ่งความ เจริญของบ้านเมืองนั้นใช่ว่าจะราบรื่นตลอดไป โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถปราดเปรื่องแต่เท่านั้นก็หาไม่ ต้องอาศัยสามัคคีกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ร่วมกันคิดอ่านแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆให้ลุล่วงไปด้วยดีอีกทางหนึ่ง จึงจะเกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์แก่ประเทศชาติ ทั้ง๒ ประการนี้บุคคลส่วนมากทราบกันดี แต่ไม่ค่อยจะนำไปปฏิบัติกัน ในโอกาสนี้จึงขอฝากไว้ให้ท่านทั้งหลายเพื่อนำไปใช้ด้วย..."

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถประกอบสัมมาอาชีวะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามสถานภาพ แห่งตนแล้ว พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติไปนั้นยังเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็น สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย และพระราชดำริเกี่ยวกับความเจริญนั้นปรากฏอยู่ในพระบรมราโชวาทที่พระราชทาน ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ตอนหนึ่งว่า "...ความเจริญนั้นมักจำแนกกันเป็นสองอย่าง คือความเจริญทางวัตถุอย่างหนึ่ง และความเจริญทางจิตใจอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น ยังเห็นกันว่าความเจริญอย่างแรกอาศัยวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัย สร้างสรรค์ ส่วนความเจริญอย่างหลังอาศัยศิลปะ ศีลธรรมจรรยาเป็นปัจจัย แท้จริงแล้ว ความเจริญทางวัตถุกับความเจริญทางจิตใจก็ดี หรือความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับทางด้านศิลปะศีลธรรมจรรยาก็ดี มิใช่สิ่งที่จะแยกออกจากกันให้เด็ดขาดได้ ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เราพยายามจะแยกออกจากกันนั้น มีมูลฐานที่เกิดอันเดียวคือ "ความจริงแท้" ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ ถึงจะพยายามแยกจากกันอย่างไร ๆ ที่สุดก็จะรวมลงสู่กำเนิดจุดเดียวกัน แม้แต่จุดประสงค์ก็จะลงสู่จุดเดียวกัน คือความสุข ความพอใจของทุกคน ดังนั้น ท่านทั้งปวงที่กำลังจะนำวิชาการออกไปสร้างความเจริญแก่ตนแก่ชาติ ควรจะได้ทราบตระหนักในข้อนี้ และควรจะถือว่าความเจริญทั้งสองฝ่ายนี้มีความสำคัญอยู่ด้วยกัน เป็นสิ่งที่เกี่ยวเกาะเกื้อหนุนและอาศัยกัน จำเป็นที่จะต้องพิจารณาพร้อมกันไป ปฏิบัติพร้อมกันไป ความเจริญมั่งคงแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ตามความมุ่งประสงค์..." จาก พระบรม ราโชวาทแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงบ้านเมืองในเรื่อง ของการพัฒนาให้ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง เพราะทรงตระหนักดีว่าการกระทำสิ่งใดก็ตาม หากหนักไปในทางใดทางหนึ่งแล้วก็ย่อมต้องมีโทษด้วย มิใช่จะเกิดประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว แต่ถ้าจะนำทางสายกลางมาปฏิบัติ ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด เหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงเน้นให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า การจะนำพาประเทศชาติไปให้ถึงซึ่งความเจริญอย่างแท้จริงนั้น ควรจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ซึ่งในส่วนพระองค์ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการนั้นก็ทรงยึด แนวทางสายกลางมาโดยตลอดเช่นกัน พระราชกรณียกิจใดที่จะไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น พระราชกรณียกิจนั้นจะไม่เกิดขึ้นเป็นอันขาด ได้ทรงปฏิบัติให้เกิดความเจริญทางด้านจิตใจ ก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดความเจริญทางวัตถุ พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่ทรงปฏิบัติจึงเป็นพระราชกรณียกิจที่มีแต่พระมหา กรุณา ไม่เคยทำให้ผู้ใดต้องได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบพระราชกรณียกิจของ พระองค์ เป็นบุญของราษฎรไทยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระองคอยู่ในทศพธราชธรรม ก่อให้เกิดความสงบร่มเย็นแผ่ไปทั่วราชอาณาจักร

ในประเทศไทยนั้น ไม่วาจะเป็นภูมิประเทศส่วนไหนของประเทศ ไม่ว่าดินแดดแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด จะยากลำบากแค่ไหน ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระคุณอันประเสริฐ ของปวงประชาชาวไทย ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร ไปทรงเยี่ยมราษฎร มาแล้วทั้งนั้น ทรงบุกป่าฝ่าดง ทรงพระดำเนินขึ้นเขาลงห้วย ก็ล้วนแล้วแต่ทรงปฏิบัติมาแล้วทั้งสิ้นเช่นกัน เหตุที่ทรงปฏิบัติพระองค์ได้เช่นนี้โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดบังคับ หรือไม่มีกฎหมายฉบับใดตราไว้ว่าจะต้องทรงปฏิบัติเช่นนั้น หากแต่ทรงเต็มพระราชหฤทัยที่จะทรงประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุที่ทรงรักทรงห่วงใยราษฎร มีพระมหากรุณาต่อราษฎรที่อยู่ในชนบทห่างไกลจากการสาธารณสุข จึงได้ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปในทุก ที่ที่ทรงทราบว่าราษฎรกำลังเดือดร้อน เพื่อที่จะได้หาหนทางขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร หากยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาในขณะนั้นได้ ก็จะทรงรวบรวมข้อมูลไว้ และทรงหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการพระราชทานพระราชดำริให้ผู้ที่มีหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละส่วนราชการได้รับไปดำเนินงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ ราษฎร หรือหากสามารถขจัดปัญหาและอุปสรรคให้หมดไปได้ก็จิ่งก่อให้เกิดผลดีแก่ราษฎร มากยิ่งขึ้น การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อย่างไม่ย่อท้อ และไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากที่พระองค์จะต้องทรงได้รับขณะปฏิบัติพระราช กรณียกิจนั้นๆนอกจากนั้น ยังมีรับสั่งให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติชอบอยู่เสมอๆ มิให้เกิดความย่อท้อต่อความยากลำบาก ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๙๗ ความว่า "... ประเทศชาติของเราจะเจริญวัฒนาและสามารถฟันฝ่าอุปสรรคซึ่งอาจมีมาข้างหน้าต่อ ไปได้ดี ก็ด้วยอาศัยที่ท่านทั้งหลายต้องร่วมใจกันและต่างตั้งหน้าบำเพ็ญความดี มุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นประการสำคัญ บางท่านอาจท้วงว่า ทำดีมิได้อะไร บางคนที่ไม่ทำความดี กลับได้ความสบายก็มี ข้อนี้ถ้าดูแต่เพียงผิวเผิน การอาจเป็นจริงดั่งว่า แต่พึงเชื่อได้ละหรือว่าผู้ที่ทำความไม่ดีนั้นมีความสุขสบายจริง อย่างน้อยในเบื้องลึกแห่งหัวใจของเขาอาจไม่มีสุขเลย หากมีทุกข์อยู่ก็ได้และสุขที่เราเห็นว่าเขามีอยู่นั่นก็เพียงชั่วแล่นเท่า นั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า บุคคลใดประกอบความดี คุณความดีนั้นย่อมต้องตอบสนอง...จึงขอชักชวนแต่ละท่าน ให้พยายามบำเพ็ญความดีด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์ แม้บางโอกาสอาจจะต้องเสียสละบ้าง ก็จงมานะอย่างท้อถอย จงสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกันให้มั่งคงด้วยดี ทั้งนี้เพื่อความสุขสวัสดีของท่าน และเพื่อความวัฒนาถาวรของประเทศชาติอันเป็นที่รักของเราทั้งหลาย..."

พระราชดำรัสที่พระราชทานไว้องค์นี้นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลาถึง ๔๖ ปีแล้วแต่ก็เป็นพระราชดำรัสที่ยังคงทันสมัยที่เข้ากันกับเหตุการณ์ในทุกวัน ี้ได้เป็นอย่างดีหากบุคคลใดนำความในพระราชดำรัสไปไตร่ตรองและคิดให้ลึกซึ้ง ก็จะพบว่าเป็นพระราชดำรัสที่ทรงนำคำสอนที่เป็นสัจธรรมมาให้กำลังใจแก่บรรดา ผู้ที่กำลังตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ไม่ดี จะได้เกิดสติ มีความคิด จักได้ใช้ปัญญาแห่งตนเข้าแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในชีวิตของตนให้หลุดพ้นไปได้ โดยที่ใจไม่ต้องกังวลที่จะต้องนำตนไปเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ดี แต่จงทำดีเพื่อส่วนรวมและตนเอง จึงจะถึงซึ่งความสุขที่แท้จริง มิใช่ความสุขจอมปลอมที่ได้มาโดยการกระทำความชั่ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างสม่ำเสมอตลอดมานานนับแต่เสด็จสถิตอยู่ ในสิริราชสมบัติ เพื่อยังให้ราษฎรเกิดความผาสุกเป็นที่ตั้ง ราษฎรถิ่นใดพื้นที่ใดไม่มีที่ทำกินก็ทรงพยายามที่จะหาวิธีการจัดสรรที่ดินทำ กินให้ ราษฎรถิ่นใดเดือดร้อนด้วยภัยธรรมชาติต่างๆ ก็หาทางวิธีบรรเทาความเดือดร้อนให้ ราษฎรถิ่นใดขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ก็ทรงพยายามหาทางให้มีน้ำกินน้ำใช้ ยามบ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์ เกิดความไม่สงบเรียบร้อยด้วยความคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็ทรงหาวิธีการประนีประนอมอย่างนุ่มนวลให้หันหน้าเข้าหากัน ไม่ให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายเกิดเหตุลุกลามใหญ่โตต่อไป ถิ่นใดที่เป็นท้องที่ทุรกันดารห่างไกลก็ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมจนถึงที่ พระบรมฉายาลักษณ์ที่ราษฎรเห็นจนคุ้นตาเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจก็คือ จะมีอุปกรณ์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจติดพระองค์อยู่เสมอ คือกล้องถ่ายรูป แผนที่ แผ่นใหญ่ ดินสอชนิดมียางลบ เครื่องวิทยุมือถือ และอีกอย่างหนึ่งที่เห็นอยู่เสมอเช่นกัน คือพระเสโทที่ไหลอาบพระพักตร์ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะตรากตรำพระวรการเสด็จพระราชดำเนิน ไปในทุกสภาพพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศทรงรู้จักราษฎรของพระองค์เป็นอย่างดี ทรงทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของราษฎรในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาของแต่ละแห่งเพื่อขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ ราษฎรถึงแตกต่างกันออกไป แนวพระราชดำริที่พระราชให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการช่วยเหลือ ราษฎร จึงเป็นแนวพระราชดำริที่มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วว่าน่าจะเหมาะสมแก่พื้นที่ ในแต่ละแห่ง ถึงกระนั้น ก็มิได้ทรงปิดกั้นความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะทรงเปิดพระราชหฤทัยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ด้วยเหตุนี้เอง โครงการต่างๆอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นโครงการที่เกิดจากการรวมพลังความคิดทุกฝ่าย เป็นผลให้โครงการที่ตกลงกันว่าจะทำเป็นโครงการที่สามารถสนองตอบความต้องการ ของชุมชนนั้นๆได้ดี ซึ่งจะทรงเน้นในเรื่องการประหยัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นประการสำคัญ ดังได้กล่าวแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎรด้วยความเต็มพระราชหฤทัยอย่างไม่ทรงเห็นแก่ ความเหนื่อยยาก กล่าวได้ว่าที่ใดเดือดร้อน ณ ที่นั่นจะมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงให้ความช่วย เหลือ และพระราชกรณียกิจ ที่ทรงปฏิบัตินั้นเล่าก็ล้วนอยู่ในทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชสังคหวัตถุ ซึ่งธรรมะบรรดานี้ได้ยินได้ฟังกันมานานแล้วโดยไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบิตร ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของราษฎรชาวไทยพระองค์นี้ ได้ทรงนำราชธรรมที่ได้ยินได้ฟังกันมาแต่ก่อนนั้นมาปฏิบัติให้ปรากฏเห็นเป็น รูปธรรมได้อย่างชัดเจน ประจักษ์โดยทั่วกันว่าเป็นธรรมะที่สามารถนำมาปฏิบัติให้ปรากฎเห็นเป็น รูปธรรมได้อย่างชัดเจน ประจักษ์โดยทั่วกันว่าเป็นธรรมะที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ถ้ามีความจริงใจ และปฏิบัติอย่างจริงจังอันบังเกิดผลดีแก่อาณาประชาราษฎร์โดยทั่วหน้ากัน จึงกล่าวได้ว่าเมื่อ

"พระยุคลบาทยาตรา ปวงประชาเป็นสุข"

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

rtarta044357123 Icon เทิดพระเกียรติ 2 อ่าน 208 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
thawanrat21636 Icon ถวายพระพรพระราชินี อ่าน 1,092 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
tank16 Icon เรารักพระเจ้าอยู่หัว 7 อ่าน 1,740 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
tank16 Icon ในหลวงของเรา 4 อ่าน 14,876 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
tank16 Icon โครงการ คนไทยไม่ทิ้งกัน 2 อ่าน 1,227 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
tank16 Icon ช่วยเหลือภัยแล้ง อ่าน 806 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon โพสต์ข้อความเฉลิมพระเกียรติฯ 7 อ่าน 1,287 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon โพสต์ข้อความเฉลิมพระเกียรติฯ 2 อ่าน 815 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ทำเนียบผู้บังคับบัญชา อ่าน 995 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon โพสต์ข้อความเฉลิมพระเกียรติฯ 2 อ่าน 977 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา