โรคเกี่ยวกับผักที่ปลูก จำหน่ายเมล็ดผักสลัด

boeboatfarms profile image boeboatfarms

ปัญหาการปลูก

 

No Comment

 

ปัญหาการปลูกที่พบมาก จากการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปลูกไฮโดรโพนิกส์ทั่วไป คือ

 

1. เครื่องวัด EC

 

มักพบว่าเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เสื่อมสภาพหรือถ่านมีกำลังไฟอ่อนทำให้ค่า EC

ขึ้นช้าหรือ ต่ำกว่าค่า

 

จริงของสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ปลูกเช่นวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เป็นประจำได้ค่า EC

เท่า

 

กับ 1.3 แต่ผักที่ปลูกอยู่แสดงอาการเกร็งโตช้าเหมือนกับอาการผักที่ปลูกด้วย EC

สูง ๆ แต่พอผู้เขียนใช้

 

เครื่องวัด EC ของผู้เขียนวัดค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารก็พบว่า EC ขึ้นไปสูงถึง 3.5 ซึ่งเป็น EC

ที่สูง

 

เกินไปสำหรับการปลูกผักสลัด EC

ขนาดนี้จะทำให้ผักสลัดโตช้ามีรสขมและผักจะเเข็ง ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่

 

ทำฟาร์มคือ ทำน้ำผสมปุ๋ยไว้เช็คเครื่องวัด EC

ก่อนใช้งานทุกวันโดยที่เราสมมุติผู้ปลูกอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้น้ำ

 

ประปาในการปลูกผักน้ำประปาในกรุงเทพฯ มีEC ประมาณ 0.2 เมื่อเราได้เครื่องวัด EC

มาใหม่ให้เราเอาน้ำ

 

ประปาประมาณ 1 ลิตร แล้วใส่ปุ๋ย A กับ B โดยปรับ EC ให้ได้ประมาณ 3.5

จากนั้นใส่ขวดเก็บไว้เราอาจ

 

เรียกน้ำผสมปุ๋ยนี้ว่าน้ำเทสท์เครื่องวัด EC โดยก่อนใช้เครื่องวัด EC ทุกเช้าเราจะต้องนำเครื่องวัด EC

มาวัด

 

น้ำประปาก่อน EC ที่ได้ต้องได้0.2+0.1 หลังจากนั้นเราก็นำเครื่องวัด EC ไปวัดน้ำเทสท์เครื่องวัด EC

ค่าที่

 

ได้จะต้องอยู่ที่ 3.5+0.1 หรือ 0.2 (เป็นค่าที่ยอมรับได้) จากการเช็คเครื่องวัด EC

ที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาที่พบ

 

คือ ค่าน้ำประปา EC ขึ้นตรงคือ 0.2 แต่EC ของน้ำเทสท์เครื่องวัด EC จะขึ้นต่ำกว่า 3.5

ก็ให้ทำการ คาลิ

 

เบรทเครื่องวัด EC ใหม่แต่ถ้าคาลิเบรทแล้วอาการไม่หายอาจเกิดจาก 3

สาเหตุคือ ถ่านมีกำลังไฟฟ้าอ่อน

 

แก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่าน หรือ ขั้วเครื่องวัด EC

สกปรก แก้ไขโดยให้ใช้แปรงใส่ยาสีฟัน แปรงลงไปที่ขั้ว และ

 

ข้อสุดท้าย เครื่องเสีย

ผู้ปลูกควรมีเครื่องวัด EC ไว้2

ตัว เวลาไม่แน่ใจว่าตัวที่ใช้อยู่ยังดีอยู่หรือไม่ก็สามารถนำอีกตัวมาเทียบค่าได้

 

เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผักอาจมีมูลค่ามากกว่าเครื่องวัด EC

หลายเท่า โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่

 

 

 

 

2. เครื่องมือวัด pH

 

เครื่องมือวัด pH

ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบว่ามีปัญหาบ่อยและทำความเสียหายให้กับผู้ปลูกเป็นจำนวนมาก

 

ปัญหาที่พบ คือ บอกค่าไม่ตรงกับ pH ของสารละลายที่เป็นจริง ส่วนมากจะบอกค่า pH

เป็นด่างแต่สาร

 

ละลายที่ใช้ปลูกมีค่า pH เป็นกรด (กรด pH 1-6, กลาง pH 7 , ด่าง pH 8-14) ค่า pH

ที่ใช้ปลูกที่เหมาะ

 

สมควรอยู่ที่ประมาณ pH 6-7 บางครั้งเครื่องวัด pH วัดได้pH 7

แต่ผักแสดงอาการรากเน่าและเหี่ยวเฉาโต

 

ช้า เมื่อผู้ปลูกนำผักไปตรวจวินิจฉัยโรคก็พบเชื้อราพิเทียมที่รากพืช ก็ลงความเห็นว่าเป็นโรครากเน่าจากเชื้อ

ราพิเทียม ก็แก้ปัญหาที่เชื้อราพิเทียม แต่แก้เท่าไรก็ไม่หาย จนมาปรึกษาผู้เขียน เมื่อผู้เขียนไปที่ฟาร์มผู้ปลูก

และถามข้อมูลต่างๆ และผู้เขียนก็ทำการวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC พบว่า EC ปกติแต่เมื่อผู้เขียนวัดค่า pH

 

ด้วยน้ำยาดรอปเทสท์( ดรอปเทสท์เป็นน้ำยาวัด pH โดยใช้แผ่นเทียบสีดังจะกล่าวในเรื่องต่อไป) ก็พบว่าค่า

 

pH อยู่ที่4

เพราะฉะนั้นการรักษาโรครากเน่าที่ผ่านมาโดยเจาะจงไปที่เชื้อราพิเทียมจะไม่ได้ผล เพราะอาการ

 

รากเน่าเกิดจากค่า pH

เป็นกรด แล้วรากก็เสียหลังจากนั้นเชื้อโรคก็เข้าทำลาย ถ้าเราไม่แก้ที่จุดเริ่มต้นของ

 

อาการรากเน่าก่อน เราก็จะรักษาไม่หาย ในเคสนี้ก็ให้ปรับค่า pH ให้ได้ค่าpHอยู่ที่ประมาณ 7

ก็จะทำให้ผักมี

 

อาการดีขึ้น เชื้อราไตรโคเดอร์มาก็จะทำงานได้ดีขึ้น

 

สาเหตุที่ค่าของเครื่องวัด pH ขึ้นไม่ตรงตามจริง อาจมีสาเหตุดังนี้

 

- ถ่านไฟฟ้าอ่อน

 

- เครื่องเสีย

 

- ไม่ได้คาลิเบรทมานานแล้ว

 

- บำรุงรักษาไม่ถูกวิธีทำให้เครื่องเสียเร็ว

 

ปัญหาการปลูก - Phutalay Hydroponics 

 

1. น้ำยาวัด

pH

น้ำยาวัดค่า pH หรือดรอปเทสท์เราจะนำมาใช้วัดค่า pH แทนเครื่องมือวัดค่า pH น้ำยาวัดค่า pH

จะ

 

 

น้ำยาวัดค่า pH หรือดรอปเทสท์เราจะนำมาใช้วัดค่า pH แทนเครื่องมือวัดค่า pH น้ำยาวัดค่า pH

จะ

 

ใช้งานได้ยากกว่าเครื่องมือ แต่ค่า pH ที่ได้จะเที่ยงตรงกว่าเครื่องมือน้ำยาวัดค่าpH

ไม่ต้องการการ

 

บำรุงรักษา ผู้ที่มีประสบการณ์สามารถใช้น้ำยาวัด pH ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำยาวัด pH

ผู้

 

ใช้จะต้องตาไม่บอดสีเพราะแผ่นเทียบค่าจะมีสีเป็นตัวบอกค่าของ pH

การเก็บรักษาต้องใส่ในภาชนะ

 

ที่ถูกต้อง (เป็นแก้วดีที่สุด) แผ่นเทียบสีจะต้องมีสีที่ตรงตามค่า pH ตามที่กำหนดและการใช้น้ำยาวัด

 

pH

ต้องใช้น้ำยาที่เหมาะ สมกับสารละลายธาตุอาหารด้วย

 

การใช้น้ำยาวัด pH

ก็คือ จะต้องเลือกน้ำยาให้เหมาะสมกับน้ำสารละลายธาตุอาหารของเราเมื่อ เลือก

 

ได้แล้วก็จะใช้น้ำยาวัด pH นั้นตลอดไป

 

2. ผักมีอาการใบเหลือง

 

ตามหลักการทั่วไปก็ว่าเป็นอาการขาดธาตุเหล็ก แต่จากประสบการณ์ที่พบ ต้องแบ่งออกเป็นสองพวก

คือ พวกโต๊ะปลูกใหม่และโต๊ะปลูกเก่า สำหรับโต๊ะปลูกใหม่ถ้าพบใบเหลืองจะมีสาเหตุดังนี้

 

- ผู้ปลูกไม่เคยปรับ pH หรือปรับไม่สม่ำเสมอ ทำให้pH

ของสารละลายเป็นด่างสูง เหล็กที่ใส่ลงไป

 

ตกตะกอนพืชนำไปใช้ไม่ได้ทำให้แสดงอาการขาดเหล็ก

 

-

เนื่องจากเป็นผู้ปลูกรายใหม่จึงไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับคุณภาพของเหล็กคีเลทชนิดต่างๆ จึงใช้เหล็กคี

 

เลทที่มีคุณภาพไม่ดีหรือไม่เหมาะสำหรับสภาพนั้นๆ

 

- รากเน่าทำให้พืชดูดธาตุเหล็กไม่ได้

 

- ใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนอยู่มาก คลอรีนจะทำให้เหล็กคีเลทสลายตัว

 

- ไม่ค่อยเปลี่ยนน้ำสารละลายธาตุอาหาร

 

- ถังสารละลายธาตุอาหารโดนแดดส่อง (ไม่ได้ปิดฝา) ทำให้ธาตุเหล็กสลาย

 

- การปรับ pH ด้วยกรดที่มีความเข็มข้นสูงๆ

 

-

ในสูตรปุ๋ยมีธาตุเหล็กน้อยเกินไป

 

สำหรับโต๊ะปลูกเก่าก็มีสาเหตุเหมือนโต๊ะปลูกใหม่แต่จะมีเพิ่มอีกคือ

 

-

ธาตุอาหารที่ตกตะกอนอยู่ก่อนตามรางปลูก จะเป็นตัวล่อทำให้ธาตุเหล็กตกตะกอนมากขึ้นและเร็ว

 

ขึ้น

 

3. น้ำที่ใช้ปลูกมีคุณภาพไม่ดี

 

น้ำมีค่า EC สูง และโซเดียม(Na)

สูง ทำให้การปลูกผักไม่ได้ผล โตช้า เป็นโรคได้ง่าย มีวิธีการจัดการ

 

ดังนี้

 

- เพิ่มธาตุอาหารรองในสูตรปุ๋ยให้มากกว่าสูตรปุ๋ยปกติประมาณ 50-100% เพราะน้ำที่มีEC

สูงจะใส่

 

ปุ๋ยได้น้อยกว่าน้ำที่มีEC

ต่ำทำให้ธาตุอาหารรองในสารละลายธาตุอาหารมีน้อย เมื่อเราเพิ่มธาตุ

 

อาหารรองเข้าไปในสูตรปุ๋ยก็จะไปชดเชยในส่วนที่น้อยได้

 

- ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหาร

 

- ถ่ายน้ำบ่อยๆ เพราะในสารละลายธาตุอาหารเราใส่ปุ๋ยไปน้อยทำให้ปุ๋ยหมดไว

 

- ต้องเลี้ยงผักที่ EC ปกติคือ ถ้าน้ำที่ดีมีEC 0.2 เราใส่ปุ๋ยลงไป 1.0 เราก็จะได้EC 1.2

ซึ่งเหมาะกับ

 

การปลูกผักสลัด แต่ถ้าน้ำไม่ดีมีEC อยู่ที่0.7 เราจะใส่ปุ๋ยเข้าไป 1.0 เท่ากับน้ำดีค่า EC ก็จะเป็น 1.7

 

ซึ่งมากเกินไปในการปลูกผักสลัด เพราะฉะนั้นเราจะใส่ปุ๋ยได้แค่0.5 เมื่อรวมกับน้ำ0.7 ก็จะเป็น 1.2

ก็

 

จะเป็นได้ว่าน้ำไม่ดีจะใส่ปุ๋ยได้น้อยกว่าน้ำดี

 

-

เราจะต้องพรางแสงด้วยสแลนมากหน่อยเพราะโซเดียมที่ติดมากับน้ำจะทำให้ผักเหี่ยวง่าย เมื่อผัก

 

เหี่ยวผักก็จะสร้างยาง ทำให้ผักมีรสขม

 

- ควรจะสเปรย์น้ำช่วยเมื่ออากาศร้อน

 

4. ผักเป็นโรคใบจุด

 

โดยผักสลัดที่ปลูก ใบจะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กและใหญ่ตามใบ ทำให้ผักโตช้าและไม่สวย ถ้า

เป็นมากๆ ใบก็จะแห้งตายเกือบทั้งต้น สาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายตัว เช่น เซอร์คอสเปอร์ร่า โครีนีส

เปอร์ร่า และอัลเทอร์นาเรีย หลายฟาร์มแก้ไขโดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราฉีดพ่น ก็จะแก้ไขได้ระยะหนึ่ง

หลังจากนั้นเชื้อราก็จะพัฒนาดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาที่แรงขึ้นจนในปัจจุบัน ยาฆ่าเชื้อราใช้ไม่ได้ผล

เพราะเชื้อดื้อยาแทบทุกตัวที่มีขายอยู่แต่เรามีวิธีการจัดการโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา คือ เมื่อผักเริ่ม

แสดงอาการโรคใบจุด ใบผักใบล่างๆ จะมีจุดขึ้นมาก่อน ให้ตัดใบผักใบล่างๆ ออกก่อนเพื่อป้องกันเชื้อ

ราสร้างสารพิษ(ท็อกซิน)

 

เรามาทำความเข้าใจหลักการทำลายของเชื้อราตัวนี้ก่อน คือ เราปลูกผักสลัดไว้ที่โต๊ะปลูก

เมื่อมีลมพัดมาหรือมีฝนตก ก็จะนำพาสปอร์ของเชื้อราตกลงมาที่ผัก ซึ่งสปอร์ของเชื้อราจะ

กระจายอยู่ทั้งต้น เช่น ที่ยอด ใบอ่อน ใบแก่แต่สปอร์มักจะงอกได้ที่ใบแก่เท่านั้น ใบอื่นๆ จะ

งอกไม่ค่อยได้หรืองอกไม่ได้เลย เพราะการเกิดโรคจะเกิดกับส่วนที่อ่อนแอและมีภูมิต้าน

ทานต่ำก่อน ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ใบแก่จะมีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานสูง โรคจึงไม่สามารถ

เข้าทำลายได้เมื่อเชื้อราสาเหตุของโรคงอกที่ใบแก่มันก็จะส่งสารพิษผ่านใบแก่ไปที่ลำต้น

และกระจายไปที่ส่วนอื่นๆ เช่น ที่ยอด ที่ใบอ่อน เมื่อส่วนอื่นๆ ได้รับสารพิษก็จะอ่อนแอ และ

จากนั้นเชื้อราที่อยู่ที่ส่วนอื่นก็จะงอกและก็ทำลายต้นผักต่อไป เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันโรค

ใบจุดต้องทำดังนี้

 

- ตัดใบที่เป็นจุดออกเพื่อป้องกันการสร้างสารพิษ

 

-

ลดความชื้นของแปลงปลูกตอนแดดอ่อนๆ และตอนค่ำด้วยพัดลม เพื่อให้ความชื้นต่ำไม่เหมาะแก่

 

การงอกของเชื้อรา

 

- เพิ่มธาตุอาหารรองเพื่อเสริมความแข็งแรงของผัก

 

- ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค

 

- สเปรย์น้ำปกติ

 

- พรางแสงเวลาแดดร้อน

 

- ฉีดพ่นยีสต์หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาในตอนเย็น

 

การปลูกผักที่EC สูงไปต่ำ

 

เมื่อประมาณปลายปี2545

ผู้เขียนเริ่มเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์จากอาจารย์หลายท่านดังมีราย

 

นามต่อไปนี้

 

- ผศ.ดร.ยงยุทธ เจียมไชยศรี

 

- รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ

 

- .

วีรพล นิยมไทย

 

การสอนการปลูกจะสอนให้ผู้เขียนเพาะเมล็ดที่น้ำเปล่า 3 วัน หลังจากนั้นให้ปุ๋ยอ่อนๆ EC ประมาณ

 

0.6-0.8 พอต้นกล้าอายุได้ประมาณ 14 วัน แล้วย้ายลงรางปลูกจึงให้EC ประมาณ 1.2

ผู้เขียนทำวิธีนี้

 

มาจนกระทั่งได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรให้กับวิทยาลัยการเกษตรของกรมอาชีวะที่บางพูน ประมาณปี

 

2547 โดยการเชิญของ รศ.ดร.

ดิเรก ทองอร่าม หลังจากนั้นก็รับเป็นที่ปรึกษาการปลูกผักไฮโดรโพ

 

นิกส์ให้กับที่บางพูน แล้วทำการศึกษาระบบที่บางพูนใช้ปลูกอยู่พบว่ามีการปลูกที่ไม่เหมือนกับผู้

 

เขียน โดยเขาปลูกผักช่วงแรกที่ EC ประมาณ 2.2

แล้วไม่มีการเติมปุ๋ยอีกเลยเติมแต่น้ำเปล่า ผู้เขียน

 

จึงทำการทดลองปลูกด้วยวิธีที่ผู้เขียนเรียนมาเปรียบเทียบกับของเขา โดยการเริ่มที่ EC 0.6-0.8

พบ

 

ว่าช่วงแรกๆ ของเขาโตดีกว่าของผู้เขียนมาก แต่พออายุมากขึ้นของเขาจะโตช้าลง แต่ของผู้เขียนโต

นำไป ผู้เขียนก็เห็นว่าตอนผักอายุน้อย เลี้ยงEC สูงโตดีกว่า EC ต่ำแต่พออายุมาก EC ต่ำโตดีกว่า

 

EC

สูง

 

ผู้เขียนกลับมาทำการทดลองที่ฟาร์มโดยการปลูกผักดังนี้

โต๊ะที่ 1 EC 2.2

จนถึงเก็บเกี่ยว

 

โต๊ะที่ 2 EC 0.8 แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 1.2

 

โต๊ะที่ 3 EC 1.8 แล้วลดลงเรื่อยๆ จนถึง

1.2

 

- พบว่าช่วงแรกๆ โต๊ะที่1 และโต๊ะที่3 โตนำโต๊ะที่

2

 

- แต่พออายุมากขึ้นโต๊ะที่ 1 เริ่มหยุดโต แต่โต๊ะที่3 ยังโตนำโต๊ะที่1 และ

2

 

- พออายุมากขึ้นอีกโต๊ะที่2 ก็โตแซงโต๊ะที่1 แต่ไม่สามารถโตแซงโต๊ะที่3

ได้

 

และผู้เขียนพบว่า โต๊ะที่3 สามารถเก็บผักได้เร็วกว่าโต๊ะที่2 ประมาณ 3-4

วัน ทำให้เราลดระยะเวลา

 

การปลูกลงได้ทำให้ลดค่าใช้จ่าย แรงงาน ปุ๋ยและไฟฟ้า หลังจากนั้นที่ฟาร์มของผู้เขียนจะเพาะเมล็ด

ด้วยปุ๋ย EC 1.8 แล้วค่อยๆ ลด EC ลงมาเรื่อยๆ จนผักใหญ่ถึงวันเก็บผัก EC อยู่ที่ประมาณ 1.0-1.2

 

การทำแบบนี้จะทำให้ผักไม่ขม การที่เราปลูกผัก EC

ต่ำแล้วน้ำที่ใช้ปลูกมีคุณภาพไม่ดีเราควรเสริม

 

ธาตุอาหารรองลงไปในบางช่วง โดยการนำธาตุอาหารรองใส่ลงไปในถังสารละลายธาตุอาหารโดย

ตรงครั้งละประมาณครึ่งช้อนชาทุกๆ 2-3 วัน ในช่วงที่ผักต้นใหญ่หรือช่วง EC ต่ำกว่า 1.4

 

การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้pH

ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู

 

การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้pH ที่แตกต่างกันเพราะ pH ที่ 5.2

จะทำให้ผักเจริญเติบ

 

โตได้ดีแต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะ

เข้าทำลาย

เชื้อราที่เป็นโทษต่อผัก เช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ pH

ค่อนข้างต่ำแ ละเมื่อสารละลายธาตุอาหารมี

 

อุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกัน

โรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ pH ค่อนข้างสูงถ้า pH

สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพ

 

ในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้น

เพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้pH ที่ประมาณ 6.5-7.0

จะปลูกผักได้ดีอาจจะ

 

มีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ

 

1) การปลูกผักที่ pH 6.5-7.0

อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อ

 

ราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยัง

เป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิ

ต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆ สารละลายธาตุอาหารไหล

ผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ

 

2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน pH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA

ถึงจะมี

 

ราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่า

ในฤดูฝนควรปลูกผักที่ pH ประมาณ 6.0-6.5

เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือน

 

ฤดูร้อน

ส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ pH ประมาณ 5.5-6.0

ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโต

 

และมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ pH ต่ำได้

 

 

 

หมายเหตุ ข้อมูลจัดหาเพื่อชมรมการ ปลูกผักไรดิน   ( คัดลอกจากเว็บ

 

http://www.phutalay.com/home/?p=294)

หากผิดเพี้ยนขออภัย

 

ความคิดเห็น
boeboatfarms profile boeboatfarms

การป้องกันโรคและแมลงโดยชีววิธีในระบบไฮโดรโพนิกส์

การป้องกันโรคและแมลงโดยชีววิธีในระบบไฮโดรโพนิกส์

จากประสบการณ์การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ตั้งแต่ครั้งแรกๆ จะไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนแต่พอปลูกไปหลายๆ รุ่นก็จะเริ่มมีโรคและแมลงรบกวน เราจะกล่าวถึงแมลงและการป้องกันรวมถึงการกำจัดแมลงเป็นชนิดไป

…………………………………………..
เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากขนาดยาวประมาณ 0.5 – 2.0 ม.ม. สามารถรอดตามุ้งกันแมลงเข้ามาทำลายผักได้โดย ใช้กรามข้างซ้ายเขี่ยให้ใบผักช้ำแล้วจึงดูดน้ำเลี้ยงจะทำลายใบล่างๆ ก่อนเราจะเห็น รอยทำลายได้อย่างชัดเจน แต่มักพบตัวเพลี้ยไฟน้อยในตอนกลางวันเพราะโดยเฉพาะตัวอ่อน เพลี้ยไฟจะหลบอยู่แล้วออกมาหากินมากตอนเย็นถึงเช้าถ้ามีจำนวนมากๆ จะทำลายใบผักสูงขึ้นมาเรื่อยๆ จากใบล่างจนถึงยอดช่วงที่มีอากาศแห้งในหน้าร้อนกับหน้าหนาวเพลี้ยไฟจะระบาดได้ดี

วิธีป้องกัน

1) พยายามทำให้ใต้แปลงปลูกและบริเวณแปลงปลูกเปียกๆ เอาไว้ เพลี้ยไฟจะเข้าดักแด้ได้ลำบากและเป็นการเพิ่มความชื้น

2) ไม่ควรใช้ทรายรองพื้นใต้โต๊ะปลูก เพราะทรายระบายน้ำได้ดี พื้นเลยไม่แฉะทำให้เพลี้ยไฟเข้าดักแด้ได้ง่าย

3) ไม่ควรใช้ผ้าพลาสติกคลุมพื้นกันหญ้าขึ้นแล้วปล่อยให้ใต้ผ้าพลาสติกแห้ง เราพบว่าแม้ในหน้าฝน เพลี้ยไฟก็ยังระบาดเพราะว่าเพลี้ยไฟสามารถหลบอยู่ใต้ผ้าใบได้เป็นอย่างดี

4) ตัดใบผักที่มีรอยเพลี้ยไฟทำลายมากๆ ออกไปทำลาย เพราะในใบผักอาจจะมีไข่ของเพลี้ยไฟอยู่จำนวนมากจะทำให้ลดการเกิดของตัวอ่อนเพลี้ยไฟลง

5) สเปร์ยน้ำช่วยเพิ่มความชื้น

6) ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ที่เพลี้ยไฟชอบอยู่ใกล้แปลงปลูก เช่น มะม่วง

วิธีกำจัด

1) สเปร์ยน้ำตอนกลางคืน อาจจะสเปร์ย 3 นาที หยุด 10 นาที พอตอนเช้าเราจะพบเพลี้ยไฟจมน้ำ ตายบริเวณใบผัก รางปลูก เป็นจำนวนมาก การสเปร์ยน้ำถ้ามีการระบาดของเพลี้ยไฟควรสเปร์ยติดต่อกัน 5-7 วันทั้งกลางวันและกลางคืน และควรสังเกตดูจำนวนเพลี้ยไฟด้วยหากมีเพลี้ยไฟจำนวนน้อยลงให้หยุดสเปร์ยเพราะการกำจัดเพลี้ยไฟโดยไม่ใช้ยาไม่สามารกำจัดได้หมด ถ้าเราสเปร์ยน้ำ ตอนที่มีการระบาดของเพลี้ยไฟน้อย จะทำให้ไม่ต้องสเปร์ยน้ำติดต่อกันหลายวัน

2) ใช้ยาฉุนแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วคั้นเอาน้ำยาฉุนมาผสมน้ำให้เจือจาง จากนั้นผสมน้ำยาล้างจานประมาณ 3-5 หยดต่อน้ำยาฉุนเจือจาง 1 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของนิโคตินและเป็นสารจับใบไปในตัว ฉีดพ่นตอนเย็นๆ ต้องระวังยาฉุนแต่ละรุ่นมีความฉุนไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกอัตราส่วนที่แน่นอนได้ ถ้าน้ำยาฉุนเข้มข้นเกินไปเพลี้ยไฟจะตายดี แต่ใบผักอาจจะเสีย เพราะฉะนั้นให้ลองผสมน้ำยาฉุนจางๆ แล้วฉีดดูก่อน แล้วสังเกตเพลี้ยไฟตายหรือไม่ ถ้าน้ำยาได้ขนาดเพลี้ยไฟจะ ตายภายใน 1-2 นาที ยาฉุนเป็นยาน็อคไม่ใช่ยาดูดซึมต้องถูกตัวเพลี้ยไฟถึงจะตาย หลังจากฉีดยาฉุนแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง ควรสเปร์ยน้ำล้างยาฉุนออก

3) เลี้ยงแมลงวันตัวห้ำไว้ในโรงเรือน เช่น แมลงวันซีโนเซีย และ แมลงวัน Ochtsera

…………………………………………..
หนอนกระทู้ผัก

หนอนกระทู้ผักหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหนอนหนังเหนียวชอบหากินกลางคืน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน กินผักแทบทุกชนิด ถ้าไม่มีผักกินหญ้าก็ยังกิน

วิธีป้องกัน

1) กางมุ้งกันแมลง

2) คอยเดินเก็บไข่ที่มักไข่ไว้ใต้ใบผัก จะมีลักษณะเป็นกลุ่มไข่สีออกเหลืองมีใยบางๆ คลุมดูคล้ายรังแมงมุมแต่มองเห็นไข่เป็นฟองกลมๆ ขนาดเล็ก แต่รังแมงมุมมองไม่เห็นไข่

3) อย่าให้มีแสงไฟใกล้แปลงปลูก

วิธีกำจัด

1) เก็บทำลายโดยถ้าเก็บทำลายตอนเช้า ให้สังเกตมูลของหนอนและรอยกัดทำลาย ช่วงเช้ามืดตัวหนอนจะอยู่ใกล้ๆ ถ้าเก็บทำลายตอนสาย ให้สังเกตมูลของหนอนและรอยกัดทำลายของต้นผักที่ถูกทำลายจากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า เกือบ 100 % ถ้าใจผักยังไม่ถูกกินจนหมด หนอนจะยังคงอยู่ที่ผักต้นนั้นให้แหวกดูตามใบผักแล้วจับออกมา แต่ถ้าใจผักถูกกินไปแล้วหนอนจะย้ายต้น แต่ถ้ามูลของหนอนแสดงออกว่าเป็นหนอนขนาดใหญ่ หนอนมักไปอยู่ที่อื่น เช่น ใต้โต๊ะปลูก หรือในรางปลูก ถ้าเก็บตอนกลางวันให้ตามหาใต้โต๊ะปลูกที่มีที่หลบ เช่น ก้อนหิน ใบผักแห้ง เศษวัสดุต่างๆ ใต้ถ้วยปลูก ในรางปลูก ถ้าเก็บตอนเย็นใกล้ค่ำจะหาได้ทั่วไป เพราะหนอนจะเริ่มเดินออกจากที่ซ่อนไปหากินโดยใช้ไฟฉายส่องดูหลังจากนั้นนำหนอนที่ได้ไปจัดการ 2 วิธี คือ บี้ให้ตายหรือนำไปแช่ในไส้เดือนฝอย(ต้องเป็นไส้เดือนฝอยที่ใช้กำจัดหนอน) หลังจากนั้นนำหนอนไปปล่อยใต้แปลงปลูกเหมือนเดิมจะไปเพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอย

2) ใช้เชื้อบีทีฉีดพ่นถ้ามีการระบาดจำนวนมากๆ ควรฉีดพ่นตอนเย็นๆ

3) ฉีดไส้เดือนฝอยทั้งบนโต๊ะปลูกและใต้โต๊ะปลูก จะใช้ได้ผลดีในภาคใต้เพราะฝนตกชุกถ้าใช้เชื้อบีทีฝนจะล้างไปหมด แต่ไส้เดือนฝอยจะอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ ถ้าหนอนลงมาที่ดินก็จะถูกทำลายทันที

4) ปล่อยมวนตัวห้ำอีแคนทีโคนา

…………………………………………..
เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อนมีขนาดเล็กออกลูกเป็นตัวมีหลายสี แต่ที่ผู้เขียนพบมากเป็นสีเขียว ในบางช่วงตัวแก่จะมีปีกบินได้ชอบขึ้นผักไทยหรือผักจีน ไม่ค่อยพบในผักสลัด ส่วนมากมดจะขนมา เพลี้ยอ่อนจะดูน้ำเลี้ยง แล้วปล่อยของเหลวมีรสหวาน มดจะเอาของเหลวไปกิน เมื่อเข้าทำลายผักจะโตช้าใบบิดเบี้ยวผิดรูปและยังเป็นตัวนำเชื้อโรค เช่น ไวรัส

วิธีป้องกัน

1) ใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องหรือจาระบีพันตามขาโต๊ะปลูกและท่อน้ำเข้า – ท่อน้ำกลับเพื่อไม่ให้มดนำ เพลี้ยอ่อนขึ้นมาบนโต๊ะปลูก

2) ปลูกพืชอาหารล่อ บริเวณรอบๆ โต๊ะปลูก เช่น พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ เมื่อมีเพลี้ยอ่อนมาเกาะให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยอ่อนออกไปทำลาย ถ้าอยู่นอกโรงเรือนเราจะพบด้วงเต่ามากินเพลี้ยอ่อนที่พืชอาหารล่อ

3) คอยกำจัดมดโดยการทำให้พื้นเปียกแฉะอยู่ตลอด

วิธีกำจัด

1) สร้างโรงเรือนกางมุ้งคลุมโต๊ะปลูก แล้วปลูกพืชอาหารล่อในโรงเรือนรอบโต๊ะปลูก จากนั้นนำด้วงเต่ามาปล่อย พอนานๆ เข้าในโรงเรือนจะมีแมงมุมมาชักใยเป็นจำนวนมาก เราพบว่าเพลี้ยอ่อนที่มีปีกบินได้ติดใยแมงมุมอยู่เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าแมงมุมก็ช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนตัวเต็มวัย

2) เก็บทำลายโดยการตัดส่วนที่มีเพลี้ยอ่อนออกไปทำลาย

…………………………………………..
นวัตกรรมใหม่ของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา(สายพันธุ์ CB-Pin-01) ที่ศึกษาวิจัยโดย รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง แห่งภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สามารถใช้ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าของผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ รวมถึงยังช่วยเร่งการเจริญ เติบโต และทำให้ผักแข็งแรงต้านทานโรคได้ดี ในปัจจุบันเรายังใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันและรักษาโรคทางใบโดยการใช้สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา มาผสมน้ำฉีดพ่นไปที่ใบพืชหรือส่วนที่เป็นโรคใน ช่วงต่อนเย็นๆ หลักการก็คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาถูกฉีดพ่นไปที่ใบพืชในตอนเย็น เมื่อเวลาผ่านไปสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ก็จะเริ่มงอกเป็นเส้นใยประมาณตอนเช้าและเชื้อราไตรโคเดอร์มาก็จะเริ่มทำหน้าที่ทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืช แต่ในความเป็นจริงสภาพตอนเช้าเริ่มมีแดดออก สภาวะอาจไม่เหมาะเพราะอากาศจะเริ่มร้อนและเส้นใยไตรโคเดอร์มาก็เริ่มงอก จึงอาจเป็นสาเหตุให้มีเส้นใยงอกไม่ได้มาก และผลที่ตามมาก็คือ การรักษาและป้องกันโรคก็จะได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร

นวัตกรรมใหม่ที่กล่าวถึงมีที่มาจากการเกิดโรคใบจุดพบเชื้อสามชนิด คือ

เซอร์โคสปอรรา (Cercospara sp.) โครีนีสปอรา (Corynespora sp.) และอัลเทอร์นาเรีย (Alternaria sp.)ในผักสลัดที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ได้มีการทดลองนำเอาสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มามาฉีดพ่นเพื่อป้องกันรักษาโรคใบจุด ปรากฏผลออกมาเป็นที่ไม่น่าพอใจ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วน่าจะได้ผลดีกว่านี้ จึงทำให้ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี ผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ นอกจากนี้ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่ทำการทดลองใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงไปในสารละลายธาตุอาหารเพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ท่านได้คิดหาวิธีใหม่ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยทำให้สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มางอกเป็นเส้นใยก่อนแล้วจึงนำไปฉีดพ่น ท่านได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ รศ.ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง ถึงวิธีการทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์มางอกเป็นเส้นใย วิธีที่ได้ คือ

1. นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เพาะในข้าวสุกมาละลายน้ำเอาแต่น้ำสปอร์ของไตรโคเดอร์มาโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวสุก 200 กรัม/น้ำ 10 ลิตร

2. นำน้ำสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในถัง 20 ลิตร จากนั้นเติมธาตุอาหารรองลงไปประมาณ 5 กรัม เพื่อเป็นอาหารเสริมให้เชื้อ

3. ให้ออกซิเจนโดยใช้หัวทรายหรือใช้ปั๊มขนาดเล็กติดเวนจูรี่เป่าอากาศเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง(ทำตอนเช้าฉีดพ้นตอนเย็น)

จากวิธีการข้างต้นจะได้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่งอกเป็นเส้นใย โดยก่อนนำไปฉีดพ่นให้เติมน้ำเพิ่ม อีก 10-30 ลิตร

การฉีดพ่นจะกระทำในตอนเย็น ถ้าต้องการรักษาโรคให้ฉีดพ่น 3 วันติดต่อกัน ถ้าต้องการป้องกันโรคหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชผักให้ฉีดพ่น 3-7 วัน/ครั้ง

…………………………………………..
จะได้อะไรจากการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่งอกเป็นเส้นใยแล้ว

1. ขณะที่เชื้อราไตรโคเดอร์มางอกเป็นเส้นใยมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการสร้างสารทุติยภูมิ คือ เพนทิลไพโรน (pentyl pyrone) ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชและยังเป็นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วย เป็นสารที่ให้ประโยชน์ 2 อย่างในตัวเดียว

2. ธาตุอาหารรองที่เราใส่ไปเป็นอาหารเสริมให้เชื้อยังให้ประโยชน์แก่พืชด้วย

3. เมี่อฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เป็นเส้นใยไปที่ใบพืช เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะทำงานได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนการฉีดพนด้วยสปอร์(เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถทนแรงดันจากการฉีดพ่นโดยเครื่องฉีดพ่นได้)

ผลที่ได้รับจากการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปของเส้นใย ทำให้ผักเติบโตดีขึ้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงปลอดจากโรคมีความเขียวสดใสเพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจจะใช้วิธีนี้กับพืชผักหรือต้นไม้อื่นที่ไม่ได้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ได้อีกด้วย นอกจากนี้เรายังอาจจะใช้เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงไปในสารละลายธาตุอาหารของผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์แทนการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปสปอร์แบบที่ได้เคยทำ กันมาในอดีตซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมรักษาโรคพืชมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งต้องขอขอบคุณความคิดริเริ่มของท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ เจียมไชยศรี ที่ทำให้เราได้ใช้วิธีการรักษาและป้องกันโรคพืชแบบปลอดภัย อันจะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของผู้ปลูกผักและผู้บริโภคผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ต่อไป

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

12 ปีที่ผ่านมา