ข้อสอบ คู่มือสอบ แนวข้อสอบ กรมประมง ทุกตำแหน่ง งานราชการ ข่าวล่าสุด

auipui34 profile image auipui34

ข้อสอบ คู่มือสอบ แนวข้อสอบ กรมประมง ทุกตำแหน่ง งานราชการ ข่าวล่าสุด

 
 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง ล่าสุด 
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
 
ประกอบด้วย 
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมประมง 
- แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ (เฉลย) 
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการประมง 
- การปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำให้ทนทานต่อโรค พันธุศาสตร์คุณภาพ
 
- แนวข้อสอบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ 
- แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม 
- ถาม - ตอบ เกี่ยวกับระเบียบงานสารบัญ
 
- เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ 

- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ 


แนวข้อสอบนักวิชาการประมง ทุกหน่วยงาน 
ข้อสอบนักวิชาการประมง 

1.ทรัพยากรประมงหมายถึงข้อใด 
1. ทรัพยากรทางนํ้าทุกชนิด 
2. กุ้ง หอย ปูปลา 
3. สัตว์นํ้าและพืชนํ้าทุกชนิดรวมทั้งผลผลิตและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้าและพืชนํ้าได้แก่ ปลา ปู หอย หมึก และสัตว์นํ้าอื่น ๆ 
4. ทรัพยากรปลาทะเล 
5. ทรัพยากรปลานํ้าจืด 

2.ความหมายของการประมงหมายถึงข้อใด 
1. การจับสัตว์นํ้า 
2. การเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า 
3. การซื้อขายการค้าการลงทุนเรื่องสัตว์นํ้า 
4. การดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นํ้า 
5. การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้า 

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่รูปแบบการเลี้ยงปลา 
1. การเลี้ยงปลาในบ่อดิน 
2. การเลี้ยงปลาในคอก 
3. การเลี้ยงปลาในคูร่องสวน 
4. การเลี้ยงปลาในตู้กระจก 
5. การเลี้ยงปลาในคลอง 

4.การเลี้ยงปลาไม่สามารถเลี้ยงร่วมกับสิ่งใด 
1. การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช 
2. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด 
3. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงหมู 
4. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่เนื้อ 
5. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงโค 

5.ข้อใดต่อไปนี้คือเครื่องมือประมงประจำที่ 
1. โป๊ะ โพงพาง 
2. ลอบ ไซ 
3. เบ็ด ตาข่าย 
4. อีจู้ ลัน 
5. ฉมวก สุ่ม 

6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เครื่องมือประมงนํ้าจืด 
1. ลอบยืน อีจู้ 
2. ฉมวก ลัน 
3. โป๊ะ โพงพาง 
4. ไช สุ่ม 
5. สวิง เบ็ด 

7.เจ้ากรมรักษาสัตว์นํ้าคนแรกของประเทศไทยคือใคร 
1. ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท 
2. ดร.เชาเวน ลิง 
3. ม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงค์ 
4. หลวงจุลชีพพิช ชาธร 
5. กรมขุนสงขลานครินทร์ 

8.Over fishing หมายถึง 
1. การจับปลาขนาดใหญ่ 
2. การจับปลาในฤดูไข่ 
3. การจับปลาเกินกําลังการผลิตของธรรมชาติ 
4. การจับปลาโดยวิธีผิดกฎหมาย 
5. การจับปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ 

9.เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีความยาวเท่าใด 
1. 100 ไมล์ทะเล 
2. 200 ไมล์ทะเล 
3. 300 ไมล์ทะเล 
4. 400 ไมล์ทะเล 
5. 500 ไมล์ทะเล 

10.นักเรียนที่ได้รับทุน “มหิดล” รุ่นที่หนึ่งที่เดินทางไปศึกษาวิชาการเพาะพันธุ์ปลาที่ประเทศสหรัฐมีทั้งหมดกี่ท่าน 
1. 1 ท่าน 
2. 2 ท่าน 
3. 3 ท่าน 
4. 4 ท่าน 
5. 5 ท่าน 

11.ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำการดูแลแนะนำ ขยายการจับสัตว์นํ้าเพื่อเป็นอาหารทั้งภายในและภายนอกประเทศ กำหนดเขตและฤดูที่อนุญาตให้จับสัตว์นํ้าตาม พรบ. อากรค่านํ้าชื่อว่าอะไร 
1. กรมรักษาสัตว์นํ้า 
2. กรมการประมง 
3. กรมประมง 
4. กรมเจ้าท่า 
5. สถานีประมง 

12.สถานีแห่งแรกของประเทศไทย คือ 
1. สถานีประมงจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี 
2. สถานีประมงหนองหาร จังหวัดสกลนคร 
3. สถานีประมงกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา 
4.สถานีประมงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 
5. สถานีประมงประทุมธานี จังหวัดประทุมธานี 

13.สถานีประมงแห่งที่ 2 ของประเทศไทยคือ 
1. สถานีประมงจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี 
2. สถานีประมงหนองหาร จังหวัดสกลนคร 
3. สถานีประมงก๊วานพะเยา จังหวัดพะเยา 
4. สถานีประมงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 
5. สถานีประมงประทุมธานี จังหวัดประทุมธานี 

14.ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดได้แก้ข้อใด 
1. ขาดแคลนพ่อ,แม่พันธุ์ 
2. ความแห้งแร้ง 
3. สภาพแวดล้อม 
4. โรคระบาดปัญหาราคา 
5. ถูกทุกข้อ 

15.การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในแหล่งนํ้าจืดมีผลต่อสะภาพแวดล้อมอย่างไร 
1. การเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดลดลง 
2. ทำให้ปลูกพืชได้น้อยลง 
3. ความเค็มจะแพร่กระจายลงสู่ดินทำให้สะภาพค่านำไฟฟ้าของดินเปลี่ยนไปจึงไม่เหมาะต่อการทำ การเกษตร 
4. ทำให้กุ้งกุลาดำมีผลผลิตน้อยลง 
5. ไม่สามารถส่งออกกุ้งกุลาดำได้ 

16.การประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเพื่อนบ้านมีผลกระทบต่อการประมงของไทยคือ 
1. ทรัพยากรลดน้อยลง 
2. สัตว์นํ้าถูกจับมากขึ้น 
3. ชาวประมงสูญเสียพื้นที่ทำการประมงในทะเลลดลง 
4. เกิดกรณีพื้นที่ทับซ้อน 
5. ชาวประมงถูกจับ 

17.ผลทางบวกต่อการประมงจากปรากฏการณ์เอลนีโน คือข้อใด 
1. กระแสนํ้าในมหาสมุทรแปซิฟิกทำให้ซูโอแพลงค์ตอนของปลาซาลมอนเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว 
2. ทำให้สัตว์นํ้ามีราคาแพงมากขึ้น 
3. ปริมาณปลาลดลง 
4. ชาวประมงต้องออกไปจับสัตว์นํ้าไกลจากชายฝั่งมากขึ้น 
5. ปลามีความสมบูรณ์เพศมากขึ้น 

18.เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของไทยมีหน้าที่เกี่ยวข้องต่อการประมงในข้อใด 
1. การเจราจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้รับสัมปทานแก่เรือประมงไทย 
2. การประท้วงกรณีรัฐชายฝั่งกระทำเกินกว่าเหตุ 
3. การให้ความช่วยเหลือกับเจ้าของเรือและลูกเรือ 
4. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบการประมง 
5. ถูกทุกข้อ 

19.การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงหมายถึงอะไร 
1. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้า 
2. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า 
3. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า อย่างเห็นคุณค่า 
4. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า อย่างเห็นคุณค่าและสูญเสียน้อยที่สุด 
5. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า อย่างเห็นคุณค่าและสูญเสียน้อยที่สุด และสร้างเพิ่มเติม 

20.ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง 
1. วางมาตรการป้องกันศัตรูสัตว์นํ้า 
2. วางมาตรการทำการประมงที่เหมาะสม 
3.วางมาตรการ ห้ามทำการประมงในเขตหวงห้าม 
4. การใช้เครื่องมือประมงที่ไม่จำกัด 
5. วางมาตรการอื่นเพื่อเพิ่มผลผลิต 

21.ทรัพยากรธรรมชาติ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง 
1. มี 2 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ทดแทนได้กับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัด 
2. มี3 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ทดแทนได้กับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัดกับทรัพยากรที่ทดแทนได้ บางส่วน 
3. มี4 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ทดแทนได้ กับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัด กับทรัพยากรที่ทดแทนได้ บางส่วนกับทรัพยากรที่มีปริมาณไม่จำกัด 
4. มี5 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ทดแทนได้ กับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัด กับทรัพยากรที่ทดแทนได้ บางส่วนกับทรัพยากรที่มีปริมาณไม่จำกัด กับทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป 
5. มี6 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ทดแทนได้ กับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัด กับทรัพยากรที่ทดแทนได้ บางส่วนกับทรัพยากรที่มีปริมาณไม่จำกัด กับทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปกับทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่ หมด 

22.แหล่งนํ้ากับสัตว์นํ้ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรเป็นอันดับแรก 
1. ที่อยู่อาศัย 
2. อาหาร 
3. ย้ายถิ่น 
4. หลบศัตรู 
5. สืบพันธุ์ 

23.มนุษย์มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรประมงอย่างไรมากที่สุด 
1. ที่อยู่อาศัย 
2. อาหาร 
3. ย้ายถิ่น 
4. หลบศัตรู 
5. สืบพันธุ์ 

24.ข้อใดมิใช่มาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง 
1. การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า 
2. การทำนุบำรุงรักษาและปรับปรุงถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์นํ้า 
3. การเร่งดำเนินการรังวัดปักเขตที่ราษฎร 
4. ขุดลอก คลองหนองบึงและบริเวณแหล่งนํ้าที่ตื้นเขิน 
5. ป้องกันมิให้แหล่งนํ้าเกิดมลพิษ 

25.บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนที่ประกอบด้วยต้นไม้ที่มีระบบรากที่ประสานกันอย่างหนาแน่นช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงอย่างไรบ้าง 
1. ป้องกันคลื่นลมและกระแสนํ้า 
2. ดักตะกอนดินและแร่ธาตุ 
3. ทำให้เกิดสาหร่ายและหญ้าทะเล 
4. เป็นแหล่งวางไข่และอนุบาลสัตว์นํ้าวัยอ่อน 
5. ถูกทุกข้อ 

26.การชะล้าง การพังทลายและการตื้นเขินของแหล่งทำการประมงนํ้าจืด เป็นปัญหาในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงจากสาเหตุใด 
1. ประชากรเพิ่มขึ้น 
2. การทิ้งสิ่งปฏิกูล 
3. การเสื่อมโทรมจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ 
4. นํ้าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม 
5. การจับสัตว์นํ้าโดยใช้ระเบิด 

27.สายนํ้าเปลี่ยนเส้นทางไหลจนสัตว์นํ้าไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นไปวางไข่ยังต้นนํ้าได้ เป็นปัญหาในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงจากสาเหตุใด 
1. ประชากรเพิ่มขึ้น 
2. การทิ้งสิ่งปฏิกูล 
3. การเสื่อมโทรมจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ 
4. นํ้าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม 
5. การจับสัตว์นํ้าโดยใช้ระเบิด 

28.การสร้างเขื่อนเป็นปัญหาในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงด้านใดมากที่สุด 
1. การวางไข่ของสัตว์นํ้า 
2. การเจริญเติบโตของสัตว์นํ้า 
3. การสะสมสารเคมีในตัวของสัตว์นํ้า 
4. การทำลายป่าไม้แหล่งต้นนํ้าและอาหารของสัตว์นํ้า 
5. การทำลายระบบนิเวศที่จำเป็นต่อสัตว์นํ้า 

29.ที่สาธารณะใดที่ห้ามมิให้บุคคลจับสัตว์นํ้า 
1. แม่นํ้า 
2. เขตวัด 
3. ดูนํ้า 
4. หนองบึง 
5. ห้วย 

30.เมื่อบุคคลใดได้รับอนุญาตให้ทำการประมงแล้วถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกําหนดจะเป็นอย่างไร 
1. ถูกเพิกถอนใบอนุญาต 
2. ถูกตัดเตือน 
3. ถูกริบใบอนุญาต 
4. ถูกปรับไม่เกิน 200 บาท 
5. ถูกริบใบอนุญาตและถูกปรับไม่เกิน 200 บาท 

31.บุคคลใดฝ่าฝืนกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประมง คือ เททิ้งระบายวัตถุทีพิษลงในที่จับสัตว์มีโทษสถานใด 
1. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ 
2. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
3. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ 
4. ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง100,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง5ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ 
5. ปรับตั้งแต่ 200,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ 

32.ข้อใดคืองานการคลังขององค์การสะพานปลา 
1. งานนิติการ 
2. งานวิศวกรรม 
3. งานสารบรรณ 
4. งานงบประมาณ 
5. งานวางแผน 

33.คณะกรรมการองค์การสะพานปลาอยู่ในวาระครั้งละกี่ปี 
1. 2 ปี 
2. 4 ปี 
3. 5 ปี 
4. 6 ปี 
5. 7 ปี 

34.ผู้ที่มีอำนาจประกาศรับรองการจัดตั้งองค์กรประมงท้องถิ่น ในเขตประมงนํ้าจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่งโดยให้มีเขตอำนาจตามที่กำหนดไว้เพื่อให้มีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์นํ้าภายในเขตท้องถิ่นนั้นคือใคร 
1. เกษตรจังหวัด 
2. ประมงจังหวัด 
3. เกษตรอำเภอ 
4. นายอำเภอ 
5. รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรี 

35.หน้าที่ต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายประมงแห้วชาติ 
1. กําหนดนโยบายการพัฒนาการประมงตนอกนานนํ้า 
2. กําหนดแนวทางและเป้าหมายในการพัฒนาการประมงของประเทศให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์นํ้าและสิ่งแวดล้อม 
3. กําหนดราคาสินค้าส่งออกสัตว์นํ้า 
4. กําหนดแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์นํ้า 
5. อนุมัติแผนและงบประมาณดำเนินงานของกองทุน 

36.เขตประมงทะเลนอกชายฝั่งหมายถึง 
1. ที่จับสัตว์นํ้าซึ่งอยู่ในน่านนํ้าไทย 
2. ที่จับสัตว์นํ้าในน่านนํ้าทะเลทั้งหมด 
3. ที่จับสัตว์นํ้าตามแนวเขตที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาโดยกําหนดระยะห่างจากขายฝั่ง 3 ไมล์ ทะเลโดยประมาณ 
4. ที่จับสัตว์นํ้าทะเลทั้งหมดที่อยู่ภายในเขตน่านนํ้าไทยนับทางด้านที่ประชิดติดกับเขตประมงทะเล ชายฝั่งออกไป 
5. ที่จับสัตว์นํ้าทั้งหมดในน่านนํ้าสากล 

37.ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสถานที่เพาะพันธุ์สัตว์นํ้า 
1. รับซื้อผลผลิตสัตว์นํ้า 
2. เพาะและขยายพันธุ์สัตว์นํ้า 
3. จำหน่ายจ่ายแจกสัตว์นํ้าแก่ประชากร 
4. เลี้ยงสัตว์นํ้า 
5. ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์นํ้า 

38.การกําหนดฤดูกาลปลามีไข่ในน่านนํ้าจืดในท้องที่ทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงวันที่เท่าไรในรอบปี 
1. วันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 กันยายนของทุกปี 
2. วันที่ 16 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี 
3. วันที่ 16 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 ธันวาคมของทุกปี 
4. วันที่ 16 ธันวาคม ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี 
5. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี 

39.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การสะพานปลา 
1. จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์นํ้า อุตสาหกรรมการ ประมง 
2. จัดดำเนินการหรือควบคุมและอำนวยการซึ่งกิจการแพปลา ขนส่งและกิจกรรมอื่นอันเกี่ยวกับแพ ปลา 
3. สนับสนุนกิจกรรมการจับ การค้าขาย การขนส่ง สินค้าสัตว์นํ้าทุกชนิด 
4. ส่งเสริมฐานะสวัสดิการและอาชีพชาวประมงและบูรณาการหมู่บ้านประมง 
5. ส่งเสริมสหกรณ์และสมาคมชาวประมง 

40.บทบาทหน้าที่ขององค์การสะพานปลาคือข้อใด 
1. สนับสนุนผู้เลี้ยงสัตว์นํ้า 
2. สนับสนุนผู้ค้าสัตว์นํ้า 
3. สนับสนุนกิจการประมงที่ให้บริการซื้อขายสัตว์นํ้าและผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้า 
4. สนับสนุนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
5. สนับสนุนกิจการแพปลา 

41.องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงใด 
1. กระทรวงพาณิชย์ 
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
3. กระทรวงการคลัง 
4. กระทรวงพลังงาน 
5. กระทรวงคมนาคม 

42.องค์กรสะพานปลาจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ใด 
1. พ.ศ. 2496 
2. พ.ศ. 2469 
3. พ.ศ. 2479 
4. พ.ศ. 2495 
5. พ.ศ. 2490 

43.ข้อใดไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรสะพานปลา 
1. สัตว์นํ้าลดน้อยลง 
2. ขาดเงินลงทุนเพื่อขยายงาน 
3. ปัญหาน่านนํ้าที่ทำการประมง หลังจากประเทศเพื่อนบ้านประกาศขยายเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 
4. ภาระหนี้สินจากโครงการพัฒนาประมงในระยะแรก 
5. การส่งเสริมสนับสนุนแก่กลุ่มเกษตรกรทำประมง และ สหกรณ์ไม่ได้เท่าที่ควร 

44.ใบอนุญาตประกอบกิจการแพปลาประเภทสินค้าสัตว์นํ้าสด จะต้องเสียค่าธรรมเนียมปีละเท่าใด 
1. 2,000 บาท 
2. 3,000 บาท 
3. 4,000 บาท 
4. 5,000 บาท 
5. 6,000 บาท 

45.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์การสะพานปลา และ ท่าเทียบเรือ ที่จัดตั้งขึ้นถูกต้อง 
1. สะพานปลากรุงเทพมหานคร 
2. สะพานปลาสมุทรสาคร 
3. สะพานปลาสมุทรปราการ 
4. สะพานปลาสงขลา 
5. ท่าเรือเทียบเรือประมงภูเก็ต 

46.ผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้าคือข้อใด 
1. การเก็บรักษาสัตว์นํ้า 
2. การประกอบอาหารจากสัตว์นํ้า 
3. การแก้ปัญหาผลผลิตสัตว์นํ้าล้นตลาด 
4. ผลผลิตที่ได้จากการนำเอาสัตว์นํ้ามาแปรรูปโดยวิธีต่าง ๆ 
5. ผลผลิตได้จากสัตว์นํ้าวัยอ่อน 

47.ความต้องการผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร 
1. ตลาดมีความต้องการสูงมากขึ้น 
2. ตลาดมีความต้องการลดลง 
3. ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันสวยงามมากขึ้น 
4. ตลาดมีความต้องการปานกลาง 
5. ไม่แน่ใจ 

48.หลักการสุขลักษณะแบ่งอันตรายไว้ด้านใดบ้าง 
1. ด้านชีวภาพ 
2. ด้านเคมี 
3. ด้านกายภาพ 
4. ข้อ 1,2และ 3 ถูก 
5. ไม่มีข้อกําหนด 

49.ประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้าจากประเทศใดบ้าง 
1. พม่า,กัมพูชา,ไต้หวัน 
2. ฮ่องกง,แคนนาดา,จีน 
3. ญี่ปุ่น,ลาว,สหรัฐอเมริกา 
4. อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา,มาเลเชีย 
5. อินโดนีเชีย,ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,จีน,สหรัฐอเมริกา,อินเดีย 

50.สัตว์นํ้าที่มีการส่งออกและนำเข้าที่สำคัญของไทยคือสัตว์นํ้าชนิดใด 
1. แมงดาทะเล 
2. กุ้ง ผลิตภัณฑ์กุ้ง,ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา 
3. ปลาร้าทรงเครื่อง 
4. นํ้าผลิตเผา 
5. ปลาสด,ปลาป่นและหอย 

51.นโยบายการประมงของไทยปัจจุบันมีทั้งหมดกี่นโยบาย 
1. 4 นโยบาย 
2. 5 นโยบาย 
3. 6 นโยบาย 
4. 7 นโยบาย 
5. 8 นโยบาย 

52.การบริหารจัดการฟื้นฟู คุ้มครอง และการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพจัดอยู่ในนโยบายใด 
1. นโยบายพัฒนาเกษตรกรประมงและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 
2. นโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า 
3. นโยบายพัฒนาการประมงนอกน่านนํ้า 
4. นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อม 
5. นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงและธุรกิจการประมง 

53.การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสัตว์นํ้าให้มีมาตรฐาน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และขยายตลาดสินค้าสัตว์นํ้า มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายใด 
1. นโยบายพัฒนาเกษตรกรประมง 
2. นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อม 
3. นโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า 
4. นโยบายพัฒนาการประมงนอกน่านนํ้า 
5. นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงและธุรกิจการประมง 


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการประมง กรมประมง ใหม่ล่าสุด 
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

ประกอบด้วย 170 หน้า 
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมประมง 
- แนวข้อสอบเก่านักวิชาการประมง _อัตานัย 
- เอกสารเตรียมสอบนักวิชาการประมง 
- แนวข้อสอบนักวิชาการประมง (เฉลยอธิบาย) 
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการประมง 
- การปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำให้ทนทานต่อโรค พันธุศาสตร์คุณภาพ 
- เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ 


ส่งเป็นไฟล์ PDF ทาง E-MAIL สามารถนำไปปริ๊นได้เลย ในราคาชุดละ 399 บาท
* ส่งด่วนภายใน 3 ชม. ส่งช้าไม่เกิน 24:00 น. วันที่โอนเงิน * ( ควรดูที่ JUNK MAIL )
สั่งซื้อมาที่ 0914067400 หรือ ส่ง SMS / LINE ID = roihetpon1
ชำระค่าสินค้าและบริการ โอนเงินแล้วแจ้งที่  
auipui34@gmail.com  หรือ Line ID roihetpon1  แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน**
1. ธ. กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา เซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 048-0-17796-3 ชื่อบัญชี Sumalee Thongyot
2. ธ. กรุงไทย ออมทรัพย์ สาขา บิ๊กซีสะพานควาย เลขที่บัญชี 980-6-40570-6 ชื่อบัญชี Sumalee Thongyot
3. ธ. กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขา เซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 748-2-66186-0 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai
4. ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บิ๊กซีรามอินทรา เลขที่บัญชี 402-398830-4 ชื่อบัญชี Pisitchai & Sumalee
5. ธ. กรุงศรีอยุธยา ออมทรัพย์ สาขา อุรุพงษ์ เลขที่บัญชี 130-1-28490-7 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai

ดูข้อสอบเพิ่มเติมที่ www.thaionline1.com ** เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น. **

เปิดรับสมัครสอบ กรมประมง นักวิชาการประมง 22 -31 ต.ค. 2557
 
 


“กรมประมง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 22 -31 ต.ค. 2557  นักวิชาการประมง (กองแผนงาน)”

ตำแหน่ง: นักวิชาการประมง (กองแผนงาน)
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี  
อัตราเงินเดือน: 18,000
อัตราว่าง: 1
ปฏิบัติงานที่: กทม.
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 22 – 31 ต.ค. 2557
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


สมัครงาน กรมประมง งานราชการ กทม. กรมประมง รับสมัคร สอบ กรมประมง 2557 สอบ กรมประมง 57 กรมประมง เปิดสอบ

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กรมประมง :ตนเอง  
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ: 
สอบวันที่: 
ประกาศผลสอบ: 
 ดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบ/รายละเอียด คลิกที่นี่!!

1.บอกข้อดี และข้อเสียของการเลี้ยงปลานิลในกระชัง
ตอบ   การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึงปริมาณและที่ตั้งของกระชัง ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวทำให้สิ้นเปลืองในการลงทุน

2.การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ประมง

สภาพที่มีน้ำนองขึ้นมาบนผิวดินเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความยากลำบากในการสัญจร การอยู่อาศัย หรือ ทำให้พื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติเมื่อเกิดน้ำท่วมขังขื้นในพื้นที่ก็แสดงว่าน้ำฝนไม่สามารถระบายออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที เราสามารถป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้โดยการออกแบบสภาพทางกายภาพ 
ให้เอื้ออำนวยต่อการระบายน้ำดีออกจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางภูมิสถาปัตยกรรมจะประเด็นหลักอยู่ 2 ประการคือ การวางระบบระบายน้ำผิวดิน และการขุดบ่อพักน้ำ
1. การวางระบบระบายน้ำผิวดิน
พื้นผิว (surface) ของที่ว่างภายนอกอาคารมีผลอย่างมากต่อการระบายน้ำฝน ทางภูมิสถาปัตยกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Hardscape เช่นพวกพื้นที่ทำด้วยคอนกรีต, ถนนและ Softscape เช่นพวกที่ปูหญ้า ลานดิน สำหรับงาน Hardscape นั้น เมื่อน้ำฝนตกกระทบจะไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้เลย เพราะฉะนั้นจะต้องมีการคิดคำนวนความลาดเอียงของพื้นเพื่อที่จะให้น้ำไหลไปในทิศทางที่ต้องการ และ จะต้องมีรางระบายน้ำเป็นตัวรวมน้ำจากพื้นผิวอีกที ส่วนสำหรับงาน Softscape นั้นน้ำส่วนหนึ่งจะสามารถซึมลงดินไปได้ เพราะฉะนั้นการดักน้ำจะใช้ทั้งระบบเดียวกับ Hardscape หรือสำหรับสนามกีฬามาตรฐาน ก็สามารถเพิ่มการดักน้ำใต้ดินได้ด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2. การขุดบ่อพักน้ำ
ในบางกรณีการระบายน้ำลงสู่ลำลางสาธารณะไม่สามารถเป็นไปได้ทันท่วงที การขุดบ่อพักน้ำไว้รองรับน้ำภายในพื้นที่ก่อนที่ปล่อยออกสู่สาธารณะก็จะช่วยไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่ได้โครงการหลวงที่มีความเกี่ยวเนื่องกับภูมิสถาปัตยกรรมในข้อนี้ก็มีจำพวกเขื่อน และโครงการที่เห็นอย่างเด่นชัดก็คือ"โครงการแก้มลิง"โครงการแก้มลิงมีขึ้นเพื่อที่จะขจัดปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากเป็นที่ๆโดยธรรมชาติแล้วเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมได้ง่ายอยู่แล้ว และยิ่งปัจจุบันที่การพัฒนาไปเป็นเมืองมีมาก พื้นที่  Hardscapeมีมากขึ้นทำให้น้ำไม่สามารถซึมลงดินได้เลยยิ่งทำให้น้ำท่วมได้ง่ายขึ้นเมื่อฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนนั้นน้ำฝนจะไม่สามารถระบายลงทะเลได้ทำให้น้ำท่วมในหลวงท่านจึงมีพระราชดำริให้ใช้คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออกเป็นตัวรับน้ำไว้ก่อนที่จะระบายน้ำลงสู่ทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงหลักการของโครงการแก้มลิงจะคล้ายคลึงกับการขุดบ่อพักน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมของทางภูมิสถาปัตยกรรมแต่เป็นงานในระดับภูมิภาคตัวแก้มลิงก็ทำหน้าที่เหมือนบ่อพักน้ำนั่นเอง


3.ท่านจะส่งเสริมการประมงอะไรในพื้นที่บนดอยที่มีน้ำน้อย

ตอบ  หน่วยวิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์ โครงการหลวง(โครงการประมง) มีการดำเนินงานด้านวิจัยปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรชาวไทยภูเขา ดังนี้
ปลาเรนโบว์ เทราต์ (Rainbow trout) เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในลำธารตามธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ ปลาเรนโบว์ เทราต์ มีรสชาติดี อีกทั้งยังเป็นปลาที่มีปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Omega 3) สูง ซึ่งสารนี้จะสามารถลดปริมาณคลอเรสเทอรอลในเส้นเลือด และประจุอิสระในกระแสโลหิต จึงทำให้ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
ปัจจุบันหน่วยวิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์สามารถเพาะเลี้ยงปลาเรนโบว์ เทราต์เพื่อเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้ปีละ18-20 ตัน ผลผลิตมีจำหน่ายตลอดทั้งปี
กุ้งก้ามแดง (Redclaw crayfish) Crayfish เป็นสัตว์น้ำจืดไม่มีกระดูกสันหลังในตระกูลกุ้ง, ปู (crustaceans) เป็นกุ้งที่มีรสชาติอร่อยคล้ายเนื้อปู พบในเขตหนาว เช่น ในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชียตะวันออก, ออสเตรเลีย และนิวกินี
กุ้งก้ามแดง (Redclaw crayfish) ของโครงการหลวงที่ได้ทดลองเลี้ยงที่ดอยอินทนนท์เป็นชนิดขนาดกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Cherax quadricarinatus เป็นสายพันธุ์มาจากประเทศออสเตรเลีย
ปัจจุบันหน่วยวิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเก่อญอ) ที่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาวิถีชีวิตการปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนของชาวเขาไว้ควบคู่กับการส่งเสริมอาชีพ

ตามพระราชบัญญัติในเรื่องของสัตว์น้ำและเครื่องมือทำการประมง ในอดีตยังไม่มีการรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ค่อนข้างกระจัดกระจายของตัวบทกฎหมายในลักษณะต่างๆ ข้อความยังไม่ชัดเจน   ใน ร.ศ.  120 ( ปี พ.ศ.2444 ) ได้โปรดให้มีการรวบรวมพระราชบัญญัติเหล่านี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
          การบริหารจัดการทางด้านการประมงของไทยจึงเริ่มจัดการบริหารจัดการทางการประมงขึ้น ในปี พ.ศ. 2444   โดยให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น  ได้สั่งการให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีค่าน้ำ ในปี 2457 และได้สั่งการให้มีการจัดและบริหารทางด้านการประมง  เพื่อการมุ่งประโยชน์  3  ประการ คือ  1. การสร้างผลผลิตอาหารสัตว์น้ำให้มีปริมาณเพียงพอแก่ประชาชนในประเทศ 2. การสร้างผลผลิตสัตว์น้ำให้เป็นรายได้ของประเทศ  3. การเก็บภาษีอากรสัตว์น้ำ   แต่ในความเป็นจริงแล้วการบริหารจัดการทางด้านประมงเน้นทางด้านการเก็บภาษีเพียงอย่างเดียวในขณะนั้นเพราะว่าในช่วงนี้ยังขาดผู้มีความรู้ทางด้านการประมง จึงได้หาผู้มีความรู้ทางด้านนี้เข้ามาช่วยดูแลซึ่งได้แก่  ม.ร.ว.สุพรรณ  สนิทวงศ์  โดยท่านเล็งเห็นว่าสัตว์ที่ท่านได้สำรวจในพื้นที่ของเขตพื้นที่ทำนาในอำเภอรังสิตเดิมมีปลาชุกชุมมาก แต่เมื่อมีการจับอยู่ตลอดเวลา  ทำให้ปลามีจำนวนลดลงและมีขนาดเล็ก ท่านจึงตระหนักว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ปลาจะสูญพันธุ์   ท่านจึงได้นำความมาปรึกษาท่านเจ้าพระยาพลเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ  เพื่อเสนอต่อคณะรัฐบาล  (ในสมัยรัชกาลที่ 6) ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นก็เห็นด้วย  จึงจัดให้มีการจัดการทางด้านการประมงขึ้น

          เมื่อได้จัดแบ่งหน้าที่กันเรียบร้อยร้อยแล้ว (เฉลิม  โกมาลากุล ณ นคร)   ได้จัดตั้งหน่วยเพาะพันธุ์ปลาหรือหน่วยงานบำรุงและรักษาสัตว์น้ำ ขึ้นในปี  2464 โดยให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงเกษตราธิการ   และพระยาเมธีธิบดีได้เสนอ     กระทรวง      เกษตราธิการว่าจะทาบทาม  Dr Hugh M. smith, MD.,LL.D  ผู้เคยเป็น Commissioner   of   fisheries  U.S.A     ให้เข้ามาเป็น   Adviser  in  fisheries  to  His  Siamese  Majesty's   Govermment  ในปี 2466 โดยจัดสำนักงานให้ที่วังสุริยง  (นางเลิ้ง) งานขั้นแรกที่ต้องทำคือการสำรวจว่าสัตว์น้ำที่มีอยู่ในประเทศไทยมีมากน้อยเท่าใด  เพื่อนำมาประกอบการเพาะพันธุ์  การบำรุงพันธุ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อขยายผลในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป  ซึ่งผลในการสำรวจจะจำแนกในทางชีววิทยา  โดยมีภาพประกอบและจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่  โดยการสำรวจในน่านน้ำจืด  และในน่านน้ำทะเล  ทั่วราชอาณาจักรไทย และจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่  พร้อมทั้งบังได้เขียนหนังสือที่กล่าวถึงทรัพยากรในประเทศไทยซึ่งรู้จักในนามของหนังสือ " อนุกรมวิธาน "  และยังเขียนบทวิจารณ์ถึงทรัพยากรของประเทศไทยพร้อมทั้งให้คำอธิบายและรายละเอียดและข้อแนะนำในการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย โดยเขียนหนังสือที่ชื่อ  A Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam,with Plans and Recommendation for the Administration,Conservation and Development   เสนอต่อกระทรวงเกษตราธิการและได้นำเสนอทูลเกล้าฯและอนุมัติให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่  หลังจากนั้นก็มีการบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ  สมเด็จพระราชบิดามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร  ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนให้กระทรวงเกษตราธิการจัดส่งข้าราชการหรือนักเรียน  จำนวน 2 ทุนเพื่อให้ไปศึกษาเล่าเรียนทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดระยะเวลา 6 ปี  เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ   ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้นำความในโครงการเพาะพันธุ์ปลาขึ้นกราบบังคมทูลพร้อมทั้งนำพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร  (สมเด็จพระ       มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ในเรื่องที่ประทานพรกรุณาอุดหนุนการศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลา ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรม      ราชานุญาตให้กระทรวงเกษตราธิการ รับฉลองพระเดชพระคุณตามประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร กระทรวงเกษตราธิการ จึงประกาศคัดเลือกบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกทุนในการไปศึกษาทางด้านการประมง ในชุดแรกเพื่อศึกษา ณ. ประเทศสหรัฐอเมริกา  ใน ปี 2469 มีผู้รับทุนในครั้งแรก 2 ทุนคือหลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) และ      นายบุญ อินทรัมพรรย์  ในนามของทุน " มหิดล"  แต่ทุนยังเหลืออยู่จึงเปิดคัดเลือกเพิ่มอีก  และผู้ที่สอบคัดเลือกผ่านคือ       นายโชติ สุวัตถิ  และต่อมาก็ได้มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ สำหรับที่ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำก็ยังคงต้องอยู่ ณ  ที่เดิม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2471 หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) นักเรียนทุนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้สำเร็จการศึกษามา  กระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ

็และได้มีพระบรมโองการ  ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ  เมื่อรัฐบาลได้ประกาศตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำ ในปีเดียวกัน ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ   ต่อมา  หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์)  ได้สำเร็จการศึกษาและดูงานเสร็จได้เดินทางกลับมากระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ     ส่วนนายบุญ อินทรัมพรรย์ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม   ได้สำเร็จการศึกษาและเสร็จสิ้นการดูงาน ได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย  กระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมชั้น  2  กรมรักษาสัตว์น้ำ  เมื่อเจ้าพระยาพลเทพได้กราบบังคมลาออก จากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ  ได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ  (ดั่น บุนนาค)  เป็นเสนาบดี  กระทรวงเกษตราธิการสืบต่อไป   ส่วนราชการกระทรวงเกษตราธิการเมื่อ พ.ศ.2473 ได้แบ่งออกเป็น 10 กรม และยังคงมีกรมรักษาสัตว์น้ำรวมอยู่ด้วย    ในปี พ.ศ. 2474  ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) เป็นเจ้ากรมรักษา สัตว์น้ำ         และย้ายกรมรักษาสัตว์น้ำจากวังสุริยา (นางเลิ้ง) ไปตั้งอยู่ในอาคารที่เคยเป็นกรมเพาะปลูก บริเวณกระทรวงเกษตราธิการ

          ปี พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  เป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ  เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์  (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์)  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ  โดยให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ   แบ่งส่วนราชการเป็น 13 กรม มีกรมประมงรวมอยู่ด้วย  ในปี พ.ศ.2477 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) เป็นอธิบดีกรมการประมง   ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม          แยกกระทรวงเกษตราธิการเป็นกระทรวงหนึ่งต่างหากจากกระทรวงเศรษฐการ     ในปี พ.ศ. 2487  นายจุล         วัจนคุปต์  ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมการประมง เพื่อไปเป็นผู้จัดการบริษัท ประมงไทย จำกัด  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   แต่งตั้งนายบุญ  อินทรัมพรรย์   ข้าราชการชั้นพิเศษ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการประมง  ตั้งแต่วันที่  10  ตุลาคม พ.ศ.  2487

          ในปี พ.ศ. 2896  กรมการประมงได้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยได้เพิ่มกองคุ้มครองขึ้นอีก 1 กอง  ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2496       กระทรวงเกษตรได้เปลี่ยนนามกรมต่างๆ คือ      กรมกสิกรรม        กรมประมง กรมปศุสัตว์  ในปี พ.ศ.2500 กรมประมงได้ย้ายที่ตั้งจากที่ทำการเดิมในขณะนั้น คือตึกกระทรวงศึกษาธิการเดิม  ไปตั้งรวมอยู่กับกระทรวงเกษตร ณ ถนนราชดำเนิน   จากการประเมินผลของการพัฒนาการประมงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติทำให้ทราบว่า ยังเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การพัฒนาการประมงไม่อาจบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนและการช่วยเหลือ โครงการพัฒนาการประมงให้สามารถดำเนิน   ได้อย่างราบรื่นและ         สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ      เมื่อวันที่  7 กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2518   ตราพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมประมงขึ้นใหม่ อันเป็นผลให้กรมประมงต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบกว้างขวางมายิ่งขึ้น  กล่าวคือได้รัยมอบหมาย ให้มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    ค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ การรวบรวมข้อมูล สถิติ ความรู้เกี่ยวกับการประมง การอนุรักษ์ชลสมบัติ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์การประมง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ รวมทั้งการสำรวจแหล่งประมง    ตลอดจนการส่งเสริมและเผยแพร่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ งานอาชีพการประมงอื่นๆ  และการควบคุมกิจการประมงให้เป็นไปตามกฏหมายและ         สอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 

ส่งเป็นไฟล์ PDF ทาง E-MAIL สามารถนำไปปริ๊นได้เลย ในราคาชุดละ 399 บาท
* ส่งด่วนภายใน 3 ชม. ส่งช้าไม่เกิน 24:00 น. วันที่โอนเงิน * ( ควรดูที่ JUNK MAIL )
สั่งซื้อมาที่ 0914067400 หรือ ส่ง SMS / LINE ID = roihetpon1
ชำระค่าสินค้าและบริการ โอนเงินแล้วแจ้งที่  
auipui34@gmail.com  หรือ Line ID roihetpon1  แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน**
1. ธ. กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา เซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 048-0-17796-3 ชื่อบัญชี Sumalee Thongyot
2. ธ. กรุงไทย ออมทรัพย์ สาขา บิ๊กซีสะพานควาย เลขที่บัญชี 980-6-40570-6 ชื่อบัญชี Sumalee Thongyot
3. ธ. กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขา เซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 748-2-66186-0 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai
4. ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บิ๊กซีรามอินทรา เลขที่บัญชี 402-398830-4 ชื่อบัญชี Pisitchai & Sumalee
5. ธ. กรุงศรีอยุธยา ออมทรัพย์ สาขา อุรุพงษ์ เลขที่บัญชี 130-1-28490-7 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai

ดูข้อสอบเพิ่มเติมที่ www.thaionline1.com ** เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น. **


ข้อสอบ คู่มือสอบ แนวข้อสอบ กรมประมง ทุกตำแหน่ง งานราชการ ข่าวล่าสุด

ความคิดเห็น
auipui34 profile auipui34
auipui34 profile auipui34
auipui34 profile auipui34

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน