โหลดแนวข้อสอบตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ สบ1 สาขาเคมี

natty8433 profile image natty8433

แนวข้อสอบตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ สบ1 สาขาเคมี

ตัวอย่าง 
สรุป พ.ร.บ. ตำรวจ พ.ศ. 2547
**********

เหตุผลในการใช้ พ.ร.บ. นี้
   1.   ระเบียบ วินัย ยศ เครื่องแบบ ใช้มานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงนำมารวมไว้เป็นกฎหมายฉบับเดียว
   2.   แบ่งส่วนราชการ สตช. เป็น สง.ผบ.ตร. และ บช. เพื่อกระจายอำนาจไปยัง บช. มากขึ้น
   3.   มี ก.ต.ช. เพื่อกำหนดนโยบาย และ ก.ตร. บริหารงานบุคคล
   4.   กำหนดตำแหน่งข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ
   5.   ตำแหน่งพนักงานสอบสวนแยกต่างหากจากตำแหน่งข้าราชการตำรวจที่มีอยู่เดิมเพื่อพัฒนางานสอบสวน
   6.   จัดมีกองทุนเพื่อสนับสนุนและพัฒนางานสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา

ย่อสรุป
   มาตรา 1   พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชารติ พ.ศ. 2547”
   มาตรา 2   พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา     เป็นต้นไป
         -  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก
         -  ใช้บังคับวันถัดจากวันประกาศฯ คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547
   มาตรา 3   ให้ยกเลิก ระเบียบ วินัย ยศ เครื่องแบบ ส่วนบรรดากฎหมายอื่นที่ขัดแย้งหรือแย้งกับ พ.ร.บ. นี้ ให้ใช้ พ.ร.บ. นี้แทน เช่น ระเบียบไม่เกี่ยวกับคดียกเลิกแค่เพียงบางส่วนที่ขัดหรือแย้ง พ.ร.บ.นี้เท่านั้น
   มาตรา 4   นิยามต่างๆ
         “ข้าราชการตำรวจ”
1.   บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. นี้
2.   ได้รับเงินเดือนจากใคร แยกเป็น 2 อย่างคือ
               -     ได้รับจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน
               -   ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นด้วย 
เช่น ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจรถไฟ ส่วน สน.ท่าเรือเดิมขึ้นกับตำรวจน้ำ รับเงินเดือนจากการท่าเรือฯ ปัจจุบันขึ้นกับ บก.น.5 บช.น. ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนแล้ว
         “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
         “กรรมการ”  หมายความว่า กรรมการนโยบายแห่งชาติ
         “กองทุน”  หมายความว่า กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
         “กองบัญชาการ”  หมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการด้วย
         “กองบังคับการ”  หมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย
   มาตรา 5   นายก   รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้
         นายก   มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้
         กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
   มาตรา 6   สตช.   มีฐานะเป็น นิติบุคคล
         สตช.   อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี (ขึ้นตรงต่อนายกไม่ใช่สำนักนายกรัฐมนตรี)

   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่
1.   รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ ฯลฯ
2.   ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตาม ป.วิ อาญา
3.   ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
4.   รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของ ปชช. และความมั่นคงของราชอาณาจักร
5.   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ หรือ 
   สตช.
6.   ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
7.   ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ ตาม (1)-(5) 
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ม.6 วรรคสอง กำหนดว่า กรณีที่มีกฎหมายกำหนดความผิดทางอาญาและตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจตาม (3)(4)(5) จะตรา พ.ร.ฎ. โอนอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใดก็ได้ และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังกล่าว เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตาม ป.วิ อาญา แล้วแต่กรณี
   มาตรา 7   
   อธิบาย  ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
   -   ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ เพื่อป้องกันและปราบปราม     การกระทำความผิดอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่   
   -   ทั้งนี้ การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ กำหนด
หมายเหตุ   ตามมาตรานี้ใช้คำว่า “ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด”  ให้สังเกตว่า ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติจะต้องเป็นเรื่องการวางนโยบายต่างๆ ความหมายกว้างๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องการบริหารงานบุคคลก็จะต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
   มาตรา 8   
-   อาจแบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
และกำหนดรายละเอียดต่างๆ เช่น บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย วินัย ในพระราชกฤษฎีกานั้น ทั้งนี้ไม่มีผลกระทบกับข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่ก่อนพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
   มาตรา 9
   อธิบาย   กรณีปกติ
         -  วัน เวลาทำงาน
         -  วันหยุดราชการตามประเพณี
         -  วันหยุดราชการประจำปี
         -  และการลาหยุดราชการของข้าราชการตำรวจ
         -  ให้เป็นไปตามที่ ครม. กำหนด
   แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
         -  คณะกรรมการนโยบาย จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวัน เวลาที่แตกต่างจากที่ ครม. กำหนดก็ได้
   มาตรา 10   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้
-     สตช. แบ่งส่วนราชการเป็น  สง.ผบ.ตร.  และ  บช.
การแบ่งส่วนราชการ
-   สง.ผบ.ตร. เป็น บช. ให้ตราเป็น พ.ร.ฎ. รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ใน พ.ร.ฎ.นั้นด้วย
การจัดตั้ง
-   การจัดตั้ง บช. ให้ตราเป็น พ.ร.ฎ. รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ใน พ.ร.ฎ.นั้นด้วย
การแบ่งส่วนราชการ
-   บก. หรือส่วนราชการอื่น ให้ทำเป็นกฎกระทรวง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ใน
   กฎกระทรวงนั้นด้วย
มาตรา 11   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าส่วนราชการ     มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.   รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติกำหนด รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.   เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติรองจากนายกรัฐมนตรี
3.   เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
4.   วางระเบียบหรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น
มาตรา 12   จเร รอง ผบ.ตร. และผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจาก ผบ.ตร.
มาตรา 13   แต่ละกองบัญชาการ ให้มีผู้บัญชาการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อ ผบ.ตร. มีรอง ผบช. เป็นผู้บังคับบัญชารองจาก ผบช. ให้ใช้บังคับกับหน่วยงานที่เทียบเท่า บช. ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 14   ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1.   บริหารราชการของ บช. ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.   ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3.   เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในราชการทั่วไปของกองบัญชาการ
4.   รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุก    สี่เดือน หรือตามที่ระยะเวลาที่ ผบ.ตร. กำหนด
5.   ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดกำหนดให้ การดำเนินการใดเป็นอำนาจของอธิบดีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นว่านั้นในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นว่านั้นในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกองบัญชาการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติกำหนด
มาตรา 15   แต่ละกองบัญชาการมี ผบก. คนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา มีรอง ผบก. เป็นผู้บังคับบัญชา รองจาก ผบก. ให้ใช้บังคับกับหน่วยงานที่เทียบเท่า กองบัญชาการด้วยโดยอนุโลม
ผบก. มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1.   บริหารราชการของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.   ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3.   ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผู้บังคับการภูธรจังหวัด มีหน้าที่ กำกับดูแลปฏิบัติราชการของ ตร.สังกัด บช. อื่นมาปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดนั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการหรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีด้วย ในการนี้ให้มีอำนาจ  สั่งการใดๆ เพื่อให้เกิดการประสานงานและความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ หรือยับยั้งการกระทำใดๆ ของข้าราชการตำรวจในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกองบัญชาการ มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

ตัวอย่างแนวข้อสอบ พ.ร.บ. ตำรวจ
**********************************************

1.   นายวิทยาเป็นแพทย์ ทราบว่า นายสมเดช เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล นายวิทยาต้องการฆ่านายสมเดช จึงเอายาพิษไปให้นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลเพื่อไปให้แก่นายสมเดชกิน โดยหลอกนางสาวเพ็ญศรีว่าเป็นยาบำรุงกำลัง นางสาวเพ็ญศรีหลงเชื่อเอาไปให้นายสมเดชกิน แต่นางสาวเพ็ญศรีเข้าใจว่านายวรเดชคือนายสมเดช เพราะในห้องนั้นมีคนไข้หลายคน จึงเอายาพิษซึ่งนางสาวเพ็ญศรีเข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกำลังให้นายวรเดชกิน ถึงแก่ความตาย ดังนี้ นายวิทยาและนางสาว เพ็ญศรี ต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่
   ก.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะขาดเจตนาเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นยาพิษ (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1,3) ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 
   ข.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะขาดเจตนาเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นยาพิษ (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1,3)   ส่วนนายวิทยาเป็นผู้ใช้นางสาวเพ็ญศรีกระทำผิด
   ค.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลรับผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่น  ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.  มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 
   ง.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลรับผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 
   ตอบ  ก.  นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะขาดเจตนาเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็น
        ยาพิษ (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1,3) ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 
2.   คำว่า “คู่ความ” หมายความถึง
   ก.    พนักงานอัยการและผู้เสียหาย ซึ่งเป็นโจทย์ร่วม
   ข.    ตัวความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
   ค.    ลูกความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
   ง.    โจทย์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง
   ตอบ  ง.  โจทย์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง
3.   ผู้ใหญ่บ้านเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง ป.วิ.อาญา หรือไม่อย่างไร
   ก.    เป็นโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ    ข.    ไม่เป็น
   ค.    ถ้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับตำรวจก็เป็น   ง.    แล้วแต่นายอำเภอจะแต่งตั้งหรือไม่
   ตอบ  ก.  เป็นโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ 
4.   พนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่
   ก.    จเรตำรวจ
   ข.   ข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
   ค.    จ่าสิบตำรวจที่เป็นหัวหน้า สภ.ต.
   ง.    หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
   ตอบ  ง.  หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
5.   ผู้ใดไม่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
   ก.    นายอำเภอ   ข.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
   ค.    ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ   ง.    ปลัดจังหวัด
   ตอบ  ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
6.   หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าใครเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง คือ
   ก.    ต้องมีการกระทำผิดคดีอาญาเกิดขึ้น
   ข.    บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดหรือไม่
   ค.    บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยคือไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิด
   ง.    ถูกทุกข้อ
   ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
7.   ผู้เสียหายซึ่งกฎหมายให้อำนาจฟ้องคดีอาญาหมายถึง
   ก.    ผู้เสียหายโดยนิตินัย   ข.    ผู้เสียหายโดยพฤตินัย
   ค.    ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.    ง.    ผิดทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
   ตอบ  ก.  ผู้เสียหายโดยนิตินัย
8.   นาย ก. ได้กล่าวเท็จหลอกลวง จ.ส.ต. ข. ว่าเป็นผู้ใกล้ชิดกับคณะกรรมการสอบคัดเลือก จ.ส.ต. 
   เป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร เรียกร้องเอาเงินจาก จ.ส.ต. ข. จ.ส.ต. ข. หลงเชื่อจึงมอบเงินให้
   ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือ จ.ส.ต. ข. จะต้องร้องทุกข์ดำเนินคดีกับนาย ก. ได้หรือไม่
   ก.    ได้   ข.    ไม่ได้
   ค.    ต้องร้องทุกข์กับผู้บังคับบัญชาก่อน   ง.    ไม่ได้เพราะ จ.ส.ต. ข. ไม่ใช่ผู้เสียหาย
   ตอบ  ง.  ไม่ได้เพราะ จ.ส.ต. ข. ไม่ใช่ผู้เสียหาย
9.   ผู้รับฝากเงินมีอำนาจเอาเงินที่ฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้แก่ผู้ฝากครบตามจำนวน
   แต่การที่ผู้รับฝากถูกผู้อื่นหลอกลวงเอาเงินนั้นไป
   ก.    ผู้รับฝากเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์
   ข.    ผู้ฝากเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์
   ค.    ผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องชดใช้ให้ครบตามจำนวน
   ง.    ถูกทั้งข้อ ข  และ ค.
   ตอบ  ก.  ผู้รับฝากเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์



รวมแนวข้อสอบล่าสุด ที่ใช้ในการสอบครั้งนี้ไว้ในไฟล์ทั้งหมด 
ทั้งความรู้ทั่วไป+ความรู้เฉพาะตำแหน่ง(ครบทุกเนื้อหา)
หมดปัญหากับการปวดหัวว่าจะอ่านอะไรดี เพราะเราได้รวบรวมแนวข้อสอบ พร้อมเฉลยไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
เอกสารแนวข้อสอบ ตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
อ่านง่าย เข้าใจเร็ว สรุปสาระสำคัญพร้อมเฉลย ประหยัดเวลาในการอ่าน จำง่าย เหมาะที่สุดสำหรับการเตรียมตัวสอบ
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นอ่านได้ทันที ในราคาเพียง 389 บาท

สนใจติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อแนวข้อสอบ

โทร  094-9054111
ID Line  :  natty8433
e-mail : onchuma2524@gmail.com


การชำระสินค้า

ธ.ทหารไทย  เลขที่บัญชี 517-2-06277-9  ชื่อบัญชี อรชุมา  กองเงิน  ประเภทออมทรัพย์  สาขามหาวิทยาลัยมหาสารคาม  

ธ.กสิกรไทย  เลขที่บัญชี 913-2-09461-3  ชื่อบัญชี อรชุมา  กองเงิน  ประเภทออมทรัพย์   สาขาเสริมไทยคอมเพล็กซ์ มหาสารคาม
  

สิ่งที่ต้องแจ้งหลังการโอนเงิน
1.แจ้งเวลาการโอน(ตามสลิปธนาคาร)
2.แจ้งอีเมล์ที่ให้ส่งไฟล์
3.แจ้งตำแหน่งและหน่วยงาน 
ส่งเป็นข้อความมาได้ที่
โทร 094-9054111
ID Line  :  natty8433
e-mail : onchuma2524@gmail.com

ส่งเร็วทันใจ ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังการโอนเงิน

สรุปเนื้อหา ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ สบ.1 สาขาเคมี
๑.๑ ความรู้เกี่ยวกับสาขาเคมี
๑.๒ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
๑.๓ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗และที่แก้ไขเพิ่มเติม, พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) 
พ.ศ. ๒๕๕๔, กฎ ก.ตร.ที่เกี่ยวข้อง และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖




ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา