ข้อสอบชุดวิจัย

wach10 profile image wach10

ข้อสอบฉบับสมบูรณ์ของรุ่น 7 สงสัยอยากให้อธิบายต่อ วาสนา โทร 089-747- - - -จ้ะ

ตามข้อตรงแล้ว สงสัยโทรถามได้ค่ะ เวลาเขียนมันยากกว่าพูดอธิบาย ส่งช้าหน่อยค่ะ เพราะพิมพ์ช้า ต้องค่อย ๆพิมพ์แล้วเรียบเรียงให้เข้าใจที่สุด

ข้อ 1.การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบเป็นทีม

                1.1 วัตถุประสงค์

                       เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนแบบเป็นทีม

                1.2 สมมติฐาน

                       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบเป็นทีม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ 0.05

1.3 ให้เขียนแบบแผนการทดลอง  

 แบบกลุ่มเดียว เรียกว่า The One Group Pretest – Posttest Design

 

กลุ่มตัวอย่าง

pretest

ทดลอง

posttest

กลุ่มทดลอง

O1

X1

O2

 

อธิบายได้ว่า    O1  คือ การทดสอบก่อนเรียน 

                            X1  คือ วิธีการที่เราทดลอง ที่เรียนแบบเป็นทีม

                           O2  คือ การทดสอบหลังเรียน

 

 

ข้อ 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา เรื่องกฎหมายน่ารู้ที่เรียนแบบ CAI กับเรียนแบบปกติ

2.1 วัตถุประสงค์

                       1. เพื่อสร้างและหาคุณภาพบทเรียน CAI วิชาสังคมศึกษา

เรื่องกฎหมายน่ารู้ ที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

                       2. เพื่อเปรียบเทียบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา เรื่องกฎหมาย

น่ารู้ที่เรียนแบบ CAI กับเรียนแบบปกติ

                2.2 สมมติฐาน

                       1. คุณภาพบทเรียน CAI ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

                       2. ผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา เรื่องกฎหมายน่ารู้ที่เรียนแบบ CAI สูงกว่าเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2.3 ให้เขียนแบบแผนการทดลอง  

   แบบสองกลุ่ม เรียกว่า The Pretest – Posttest Control   Group Design

กลุ่มตัวอย่าง

pretest

ทดลอง

posttest

กลุ่มทดลอง

O1

X1

O2

กลุ่มควบคุม

O3

X2

O4

 

อธิบายได้ว่า    O1  คือ การทดสอบก่อนเรียนของกลุ่มทดลอง 

                            O2  คือ การทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลอง

X1  คือ วิธีการที่เราทดลองกับกลุ่มทดลองที่เรียนแบบ CAI                        X2  คือ วิธีการที่เราทดลองกับกลุ่มควบคุมที่เรียนวิธีสอนแบบปกติ

          O3  คือ การทดสอบก่อนเรียนของกลุ่มควบคุม

                     O4  คือ การทดสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม

ข้อ 3.  การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับคุณภาพ การจัดการศึกษาตามหลักการจัดการศึกษาแบบเชิญชวนภายหลังการนำมาปฏิบัติ

 

คำนิยามศัพท์เฉพาะ   1.  คุณภาพการจัดการศึกษา หมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทุกคนที่ เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาซึ่งเป็นที่ เชื่อมั่นหรือเป็นที่

พึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย                                    

                                            2.  การจัดการศึกษาแบบเชิญชวน หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาความเป็นประชาธิปไตย ยึดหลักการรับรู้และการรู้จักตนเอง มรกระบวนการจัดการเรียนการสอนซึ่งเน้นข้อตกลงที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภายใต้ องค์ประกอบ 5 ด้าน (5 P’s)  คือ จัดสถานที่ (Place) นโยบาย (Policy) โปรแกรม (Program) หลักสูตร และ  กระบวนการ (Process)  อย่างเจาะจงเชิญชวน โดยบุคคล (People)  ดำเนินการ   เชิญชวนตัวเองและผู้อื่นอย่างมีจุดหมายและเจตนาทั้งด้านส่วนตัวและด้านงานอาชีพ

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

                   1. การจัดการศึกษา

                   2. คุณภาพการจัดการศึกษา

                   3. แนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน

                   4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                       - งานวิจัยในประเทศ

                       - งานวิจัยต่างประเทศ

ข้อ 4.  การสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อวิทยาคม เกี่ยวกับนโยบายการแจก คอมพิวเตอร์วางตัก (Laptop) แก่นักเรียนชั้น ป.1

วัตถุประสงค์   1.  เพื่อสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อวิทยาคม เกี่ยวกับนโยบายการแจกคอมพิวเตอร์วางตัก (Laptop) แก่นักเรียนชั้น ป.1

 สมมติฐาน   1.ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อวิทยาคม เกี่ยวกับนโยบายการแจก คอมพิวเตอร์วางตัก (Laptop) แก่นักเรียนชั้น ป.1ต่างกัน

 ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                                2. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อวิทยาคม ที่มีเพศ รายได้ วุฒิการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการแจก คอมพิวเตอร์วางตัก (Laptop) แก่นักเรียนชั้น ป.1แตกต่างกัน ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ตัวแปรอิสระ   1.  เพศ        2.  วุฒิการศึกษา       3.  รายได้

ตัวแปรตาม   1.  ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อวิทยาคม

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ได้ทราบความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อ

วิทยาคม เกี่ยวกับนโยบายการแจก คอมพิวเตอร์วางตัก (Laptop) แก่นักเรียนชั้น ป.1

  1. ได้ทราบผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโอบเอื้อวิทยาคม ที่มีเพศ รายได้

วุฒิการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการแจก คอมพิวเตอร์วางตัก (Laptop) แก่นักเรียนชั้น ป.1

วิธีสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

                    SD  t-test  ใช้กับแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น เพศ

                   ค่า p r  ใช้กับ รายได้ วุฒิการศึกษา

 

คำอธิบายถ้าอาจารย์ถาม

เพศ มี 2 ระดับ เพศหญิงและเศชาย

รายได้ แบ่งได้คือ 1. ต่ำกว่า 10,000บาท

                                      2. 10,000-15,000

                                     3. 15,000-30,000

                                      4. 40,000 บาทขึ้นไป

การศึกษาแบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับปริญญาตรี ระดับสูงกว่าปริญญาตรี

ข้อ 5.  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหาและการอ่านภาษาไทย โดยให้เขียน   วัตถุประสงค์ ตัวแปร  นิยามศัพท์และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

   วัตถุประสงค์   1.  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหาและการอ่านภาษาไทย

                              2.  เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหาและการอ่านภาษาไทย                        

 ตัวแปรอิสระ   1.  ทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหา  2.  ทักษะการอ่านภาษาไทย

 ตัวแปรตาม     1.  ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหาและการอ่านภาษาไทย

นิยามศัพท์

  1. ความสัมพันธ์  หมายถึง  ความสอดคล้องระหว่างทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหาและการอ่านภาษาไทยที่มีด้านบวกหรือด้านลบ
  2. ทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหา หมายถึงการฝึกการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับโจทย์แก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
  3. ทักษะการอ่านภาษาไทย หมายถึง การฝึกการอ่านภาษาไทยของนักเรียน

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

                   1.  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

                   2.  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์

                   3. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

                   4.  ทักษะการทำโจทย์แก้ปัญหา

                   5.  ทักษะการอ่านภาษาไทย

                   6.  ความสัมพันธ์

                   7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                -งานวิจัยในประเทศ

                                -งานวิจัยต่างประเทศ

ข้อ 6.  การเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความ ทักษะการเขียนวิชาภาษาอังกฤษและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC กับ ปกติ

 6.1     วัตถุประสงค์   1.  เพื่อศึกษาทักษะการอ่านจับใจความ ทักษะการเขียนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC กับ ปกติ

                                   2.  เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความและทักษะการเขียนต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC กับ ปกติ

                                   3.  เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC กับ ปกติ                       

     ตัวแปรอิสระ   1.  แบบร่วมมือเทคนิค CIRC

                                       2.  เรียนแบบปกติ

     ตัวแปรตาม     1.  ทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษ 

                                       2.  ทักษะการเขียนวิชาภาษาอังกฤษ

                             3.  เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ

 

     เครื่องมือที่ใช้    1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC

     2.แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

      3. แบบทดสอบการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ

      4. แบบทดสอบการเขียนภาษาอังกฤษ

      5. แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ

6.2  หาคุณภาพของเครื่องมือ Treatment (ตัวกระทำ) และคุณภาพเครื่องมือที่วัดค่าตัวแปรตาม

1.  แผน CIRC 

      แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือCIRC              

       การอ่านและการเขียน (CIRC) จำนวน  5 แผน)

2.  แผน ปกติ  

      (แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ จำนวน 5 แผน)

3.  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน   จำนวน 1 ฉบับ

4.  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียน จำนวน 1 ฉบับ

5. แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ   จำนวน 1 ฉบับ

         1.   การหาคุณภาพแผน CIRC

1.1   เมื่อแผนสร้างเสร็จแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน (ด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษ) ตรวจ เพื่อหาความถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม โดยใช้

มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)

5           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมมากที่สุด

4           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมมาก

3           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมปานกลาง

2           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมน้อย

1           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมน้อยที่สุด

1.2  นำผลการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยจะต้องมีค่าเฉลี่ยระดับมากขึ้นไป

1.3  หาค่าความสอดคล้อง ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC นำคะแนนความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยแผนที่มีคุณภาพจะต้องมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

                1.4  นำแผนที่ได้จากการสุ่ม จำนวน 1 แผน ไปใช้กับนักเรียน ชั้นเดียวกัน (เช่นชั้น ม.3)            

                     แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง

1.5          ปรับปรุง พัฒนาแผน จากผลการทดลองใช้

1.6          นำแผน CIRC ที่ได้ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มทดลองต่อไป

ข้อสังเกต   แผนแบบ CIRC ใช้กับกลุ่มทดลอง และ แผนแบบปกติ ใช้กับกลุ่มควบคุม แนวทางการตอบอาจจะ

                   ตอบว่าแผนแบบปกติ ก็ทำแบบเดียวกันกับ แผน CIRC แต่ต่างกันตรงไปใช้กับกลุ่มควบคุม

         2.   การหาคุณภาพแผน ปกติ

2.1   เมื่อแผนสร้างเสร็จแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน (ด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษ) ตรวจ เพื่อหาความถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม โดยใช้

มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)

5           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมมากที่สุด

4           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมมาก

3           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมปานกลาง

2           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมน้อย

1           หมายถึง  มีความสอดคล้อง /ถูกต้อง/ เหมาะสมน้อยที่สุด

2.2  นำผลการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยจะต้องมีค่าเฉลี่ยระดับมากขึ้นไป

2.3  หาค่าความสอดคล้อง ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC นำคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยแผนที่มีคุณภาพจะต้อง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

                2.4  นำแผนที่ได้จากการสุ่ม จำนวน 1 แผน ไปใช้กับนักเรียน ชั้นเดียวกัน              แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง

2.5         ปรับปรุง พัฒนาแผน จากผลการทดลองใช้

2.6          นำแผน ปกติ ที่ได้ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มควบคุมต่อไป

      3.  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นม.1 (แบบทดสอบ ฉบับปรนัย แบบมี 4 ตัวเลือก)

3.1          นำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์และสาระการเรียนรู้  โดยใช้เกณฑ์การตรวจสอบ ดังนี้

                                                         +1   หมายถึง  แน่ใจว่าข้อสอบตรงกับจุดประสงค์ข้อนั้น

                                                           0   หมายถึง  ไม่แน่ใจว่าข้อสอบตรงกับจุดประสงค์ข้อนั้นหรือไม่

                                                         - 1   หมายถึง  แน่ใจว่าข้อสอบไม่ตรงกับจุดประสงค์ข้อนั้น

3.2  นำคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยข้อสอบ ที่มีคุณภาพจะต้องมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

3.3         นำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นเดียวกันแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

              3.3.1  นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ค่าความยากง่าย (p) โดยเกณฑ์ความยากง่ายของข้อสอบ

                         กำหนดไว้อยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80

3.3.2                        วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (r) ตามเกณฑ์ที่กำหนดมีค่าตั้งแต่ 0.20  ขึ้นไป

 3.3.3  นำแบบทดสอบทั้งฉบับไปหาค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ กับนักเรียนชั้นที่ สูงกว่า 1 ระดับ (เช่น ชั้น ม.4) นำคะแนนมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน    

            (KR-20) ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0.80  ขึ้นไป (ข้อนี้ที่แตกต่างกันระหว่างแบบทดสอบการอ่านกับการเขียน)

3.3.4  นำแบบทดสอบไปใช้ในการวิจัยต่อไป

ข้อควรจำ   แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียน

แนวทางการตอบอาจจะตอบว่า  เหมือนกันตรงหาค่า IOCตั้งแต่ข้อที่ 3.1-3.3(3.3.1และ 3.3.2) แต่แตกต่างกันตรงข้อ 3.3.3 ต้องนำแบบทดสอบไปทำการทดลองครบทุกขั้นตอนแล้ว จึงนำคะแนนของผู้ตรวจข้อสอบอัตนัยทั้ง 3 ท่าน มาหาค่าความเชื่อมั่นจากคะแนนผู้ตรวจ โดยใช้ สูตร ICC โดยค่า ICC ต้องไม่ต่ำกว่า 0.5

    4.  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียน  (แบบทดสอบ ฉบับอัตนัย)

4.1         นำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการการวัดผลประเมินผล จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อวิชา จำนวน 2 คน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของจุดประสงค์กับสาระการเรียนรู้ (IOC) โดยใช้เกณฑ์การประเมินผล ดังนี้

                                                         +1   หมายถึง  แน่ใจว่าข้อสอบตรงกับจุดประสงค์ข้อนั้น

                                                           0   หมายถึง  ไม่แน่ใจว่าข้อสอบตรงกับจุดประสงค์ข้อนั้นหรือไม่

                                                         - 1   หมายถึง  แน่ใจว่าข้อสอบไม่ตรงกับจุดประสงค์ข้อนั้น

4.2         นำคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC)                                  โดยข้อสอบที่มีคุณภาพจะต้องมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

4.3          นำแบบทดสอบไปใช้ในการวิจัยต่อไป

4.4          เมื่อทำการทดลองครบทุกขั้นตอนแล้ว

4.5          ผู้วิจัยนำคะแนนของผู้ตรวจข้อสอบอัตนัยทั้ง 3 ท่าน

มาหาค่าความเชื่อมั่นจากคะแนนผู้ตรวจ โดยใช้สูตร Intra Class Correlation Coefficient (ICC) โดยค่า ICC ที่ได้ไม่ควรต่ำกว่า 0.50

ข้อ 4.6  ถ้าอาจารย์ไม่ถาม ก็ไม่ต้องตอบก็ได้ (อันนี้อาจารย์อำไพ ตอบไปค่ะ ทำความเข้าใจหน่อยนะคะ อาจารย์จะไม่ถามต่อค่ะ)

4.6          ค่าความเชื่อมั่นจากคะแนนของผู้ตรวจที่คำนวณได้ จำแนกตามประเด็นการประเมิน คือ

(1)           ด้านความตรงประเด็น                 (2)  ด้านการเชื่อมโยงข้อเขียน

(3)   ด้านการใช้คำศัพท์            (4)  ด้านไวยากรณ์                         (5) ด้านการสะกดคำ

6.3  เขียนแบบแผนการทดลอง

ตารางที่ 1 ตารางทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษ

 

N

 

SD

t

กลุ่มทดลองCIRC

 

 

 

 

กลุ่มควบคุม ปกติ

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2 ตารางทักษะการเขียนวิชาภาษาอังกฤษ

 

N

 

SD

t

กลุ่มทดลองCIRC

 

 

 

 

กลุ่มควบคุม ปกติ

 

 

 

 

ตารางที่ 3 ตารางเจตคติวิชาภาษาอังกฤษ

 

N

 

       SD

t

กลุ่มทดลองCIRC

 

 

 

 

กลุ่มควบคุม ปกติ

 

 

 

 

อธิบายตาราง

N คือจำนวนนักเรียนจากกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

 คือ ค่าเฉลี่ย

SD คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ทั้ง 3 อย่างเป็นข้อมูลที่เป็นอิสระต่อกันเพราะ เป็นการทดลองแบบ One Way ANOVA

แต่ค่า t ไม่ได้ขีดเส้นแบ่งเนื่องจากเป็นการเปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่มว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ในการทดลองนี้

ข้อ7.  ให้บอกวิธีการสุ่มตัวอย่างของบุคลากรทางการศึกษา ใน จ.นครราชสีมา ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา, ศน., ผอ.ร.ร., ครู , เจ้าหน้าที่ สนง.  เขต  และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ  

     (มีอยู่ 7 กลุ่ม อีกกลุ่มจำไม่ได้ว่ากลุ่มใด)                

     จะใช้การสุ่มแบบใด    จงอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด

                   (1)  การสุ่มตัวอย่างแบบใด

                                ตอบ  การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ 

                   (2)  อธิบายการสุ่มเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด

                   ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง

                   1.  แบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มหรือชั้นภูมิ 6 ชั้นภูมิ  ดังนี้

                         ชั้นภูมิที่ 1       ชั้นภูมิที่ 2    ชั้นภูมิที่ 3    ชั้นภูมิที่ 4         ชั้นภูมิที่ 5                 ชั้นภูมิที่ 6  ชั้นภูมิที่ 7

                            ผอ.เขต                 ศน.           ผอ.ร.ร.           ครู         เจ้าหน้าที่ สนง.เขต      เจ้าหน้าที่อื่น ๆ

             2.  คำนวณกลุ่มตัวอย่าง ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนแน่นอน (Finite population)   ของ Yamane  ( 1973)  โดยดูตารางว่า จำนวนประชากรทั้งหมดเท่าไหร่จะใช้กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่

3.  สุ่มตามสัดส่วนของแต่ละชั้นภูมิ  ซึ่งเป็นการกำหนดจำนวนหน่วยที่จะสุ่มมาเป็น

     ตัวอย่างจากแต่ละชั้นภูมิ  ให้ได้จำนวนหน่วยเป็นสัดส่วนกับจำนวนหน่วยในชั้นภูมินั้น    

      ตามสูตร     

                                                  ni              

                  

                                ni    =    ขนาดของตัวอย่างในชั้นภูมิที่ i

                                Ni   =    ขนาดของประชากรในชั้นภูมิที่ i

                                N    =    ขนาดของประชากร

                            n     =    ขนาดของตัวอย่าง

 

               เช่น ชั้นภูมิที่ 1  ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา มีจำนวนประชากร = 50 คน , ต้องการกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 100 คน จากประชากรทั้งหมด 500 คน

       แทนค่าในสูตร    ni         เป็น     ni   =   Ni       n

                                                                       N  

                                     

                                                      =  50    100

             500

                                                                                =  10

               เช่น ชั้นภูมิที่ 2  ศน. มีจำนวนประชากร = 24 คน , ต้องการกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 100 คน จากประชากรทั้งหมด 500 คน  จะได้กลุ่มตัวอย่าง ศน. จำนวนเท่าไหร่

ข้อ 8.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนโดยวิธี Fast Task , วิธี CAI และวิธีการสอนแบบปกติ

           ให้วิเคราะห์ผลแล้วอ่านผลจากตาราง

 

แหล่งความแปรปรวน

df

ss

MS

F

Sig

ระหว่างกลุ่ม

 

 

 

*0.025

0.034

ภายในกลุ่ม

 

 

 

 

 

แต่ถ้าให้ตารางมา จะมีช่อง F กับ ช่อง Sig ถ้ามี 2 ช่อง นี้ ให้สังเกตที่ ช่อง F ถ้ามี * (ดอกจัน) ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือ มีดอกจันก็แตกต่างกัน ถ้าไม่มีดอกจันก็ไม่แตกต่างกัน

     เมื่อปรากฏว่ามีความแตกต่างกันแล้ว ก็จะมีการคำนวณหาความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Sheffe       (เชฟเฟ่)  ว่าคู่ใดบ้างที่แตกต่างกัน เพื่อจะดูว่ามีค่าเฉลี่ยคู่ใดที่แตกต่างกัน โดยเปรียบเทียบ   

คู่แรก คือ วิธี Fast Task กับ CAI   

                 คู่ที่ 2  คือ วิธี Fast Task กับ ปกติ 

                 คู่ที่ 3 คือ วิธี CAI กับ ปกติ

ข้อ 9  ให้วิเคราะห์ผลจากตาราง

โจทย์ให้มาว่า  ความรับผิดชอบของนักเรียนหญิงและนักเรียนชายต่อการทำความสะอาดโรงเรียน ได้ผลดังตาราง

 

กลุ่มตัวอย่าง

N

 

S.D

t

Sig

หญิง

 

 

 

 

0.0712

ชาย

 

 

 

 

 

ตอบ  จากตาราง  แสดงว่าความรับผิดชอบของนักเรียนหญิงและนักเรียนชายต่อการทำความสะอาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

อาจารย์ถามทำไมถึงรู้ว่าไม่แตกต่าง

ตอบ เพราะค่าความแตกต่างต้องน้อยกว่า 0.05 แต่ในตารางมีค่า 0.0712 ซึ่งมากกว่า 0.05

 


ความคิดเห็น
wach10 profile wach10

ข้อนี้ลืมค่ะ เติมในข้อสุดท้ายของข้อ 6.2 ที่หาคุณภาพเครื่องมือน่ะค่ะ

5. การหาคุณภาพแบบเจตคติ

การหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟา   เป็นวิธีของครอนบาค

( Cronbach )ใช้หลักการเดียวกับวิธีของ  Kuder – Richardson  แต่ใช้หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบอัตนัย  หรือ เครื่องมือที่ให้คะแนนไม่เป็นแบบ  ศูนย์ หนึ่ง  เช่น  แบบสอบถามที่เป็นสเกล 

การทดสอบโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (a-Coefficient) การหาค่าความเชื่อมั่นโดย

วิธีนี้พัฒนามาจากสูตร KR-20 เนื่องจากวิธีการของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน จะต้องแปลงคำตอบถูกให้เป็น 0 และคำตอบผิดให้เป็น 1 ก่อนวิเคราะห์ข้อมูลและแทนค่าในสูตร จึงเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งในการนำไปใช้ซึ่งอาจส่ง ผลให้เกิดการผิดพลาดในการแปลงคำตอบได้ ถ้าหากแบบทดสอบมีเป็นจำนวนมาก วิธีนี้จึงพัฒนาขึ้นเพื่อให้ใช้ได้กับแบบทดสอบที่ไม่ได้ตรวจให้คะแนน เป็น 0 กับ 1

ดังนั้น การทดสอบโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา จึงใช้ได้ทั้งแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (MultipleChoice) และแบบทดสอบทั่ว ๆ ไป โดยใช้สูตรการหาค่าความเชื่อมั่นของครอนบัค (Cronbach)การทดสอบโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบที่ใช้ในการวิจัยจะให้ผลลัพธ์เป็นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ที่บ่งชี้ถึงลักษณะของแบบทดสอบว่าดีหรือไม่ดีซึ่งหมายถึงความผันแปรว่ามีมากหรือไม่ วิธีนี้จึงเป็นวิธีการหาค่าความเชื่อมั่นที่ให้รายละเอียดทางสถิติ

โดยที่คะแนนของแบบทดสอบจะต้องเป็นคะแนนแบบมาตราเรียงลำดับหรือ

อันตรภาค

หมายเหตุ ตอบแค่หาค่าความเชื่อมั่นของเจตคติคือแอลฟ่าของครอนบรัคแค่นี้ ส่วนคำอธิบายข้างบนเอาไว้ตอบเวลาอาจารย์ถามค่ะ

ที่ใช้ของคูเดอร์ ริชาร์สันไม่ได้เพราะ KR 20 เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

 

guest profile guest
ขอบคุณค่ะพี่วัช
guest profile guest
ขอคุณค่ะ  วิชาศึกษาอิสระจะสอบ  7 ก.ค.  2555  นี้
มีประโยชน์มากค่ะ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

wach10 Icon ไดฟูกุซาญ่าจอดรถไร้มารยาท อ่าน 681 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ อ่าน 1,526 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ขอความอนุเคราะห์อีกครั้ง อ่าน 1,151 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ข้อสอบชุดวิจัย 3 อ่าน 2,024 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon My World 5 M.5 Unit One อ่าน 1,631 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon แจ้งสถานที่สอบประมวลฯ อ่าน 727 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
guest Icon หลักฐานที่ใช้ในการสอบประมวลฯ 2 อ่าน 1,282 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ทบทวน..ข้อสอบประมวล.. 1 อ่าน 1,400 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เพื่อนร่วมสาขา 1 อ่าน 902 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ข้อสอบประมวลฯ 4 อ่าน 2,364 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา