อาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท”

chutikanjida profile image chutikanjida

     หลายคนคงเคยทรมาณกับอาการปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขาไปถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง, เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา และ/หรือปวดคอเรื้อรัง โดยอาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

     ปัจจุบันมีผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงาน อาจเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทหรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่าหมอนรองกระดูกเสื่อม และทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ แล้วอาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท” วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาล นนทเวชมาฝากกันค่ะ

หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คืออะไร?
     กระดูกสันหลัง ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยที่ตัวกระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกทำหน้าที่เหมือนกับโช๊คอัพของรถยนต์ คือ ทำให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหวดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้ โดยหมอนรองกระดูกที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดคือ  หมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักมากในร่างกายเมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

อาการแบบไหน...เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท”
- อาการปวดหลัง สะโพก และปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม  
- อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า
- อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2
- อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ  จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
1.รักษาโดยการลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้น ได้แก่  
- การยกของหนัก
- การนั่งรถยนต์นาน ๆ
- หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่ง ถ่ายอุจจาระแรงๆ เป็นต้น เนื่องจากทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง เป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ เกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา
2.ยาต้านการอักเสบ NSAIDS, ยาคลายกล้ามเนื้อ
3.กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง ช่วยในการลดอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเร็วขึ้น หลักการของการใส่เสื้อพยุงหลังในผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คือ การทำให้หน้าท้องกระชับขึ้นจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้ร่วมกับจำกัดความเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง
4.การผ่าตัด ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พักและกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างชัดเจน
- มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติชัดเจน จากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้

กล้องส่องขยายช่วยในการผ่าตัดอย่างไร (Microscopic Spine Surgery)
     ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือในการผ่าตัดที่ดีขึ้นมากสามารถทำการผ่าตัดได้สะดวกขึ้น ลดภาวะการเสียเลือดหรือภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นหลังผ่าตัดได้

     การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, รักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมโดยการส่องกล้องขยายนั้น สามารถที่จะลดขนาดแผลผ่าตัดให้เล็กลงได้ โดยที่กล้องขยายจะมาช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถที่จะมองเห็นรายละเอียดในการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน

     การผ่าตัดแบบแผลเล็กส่งผลดี ทำให้การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาทน้อยลง เสียเลือดน้อยลง เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง ผ่าตัดได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงระยะเวลาพักฟื้นภายหลังการผ่าตัดสั้นลงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วมากขึ้น

     พบอีกทางเลือกการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, หมอนรองกระดูกเสื่อมด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเทคโนโลยี Minimally Invasive Surgery แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็วแม่นยำสูง ด้วยกล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายสูง หากท่านใดมีอาการปวดหลังเรื้อรัง รักษาอาการปวดด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ทำกายภาพ หรือฉีดยาลดการอักเสบเข้าเส้นช่องประสาทเฉพาะจุดแล้วอาการไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษาและเข้ารับการรักษาได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางกระดูกสันหลัง ร่วมกับวิสัญญีแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด และเภสัชกร

ขอบคุณข้อมูล:นพ.ชัชวาล ปิยะวรรณสุทธิ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Herniated-disc-1.php

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

oatgames Icon กล่องไม้ฝาล็อคสีโอ็ค อ่าน 16 4 วันที่ผ่านมา
4 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องแบบเข้ามุม 45 องศา อ่าน 11 6 วันที่ผ่านมา
6 วันที่ผ่านมา
clubphone Icon รับซื้อ Samsung​ Galaxy S24 Ultra อ่าน 10 6 วันที่ผ่านมา
6 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องของขวัญจากงานไม้ อ่าน 14 7 วันที่ผ่านมา
7 วันที่ผ่านมา
7 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาครอบ อ่าน 14 7 วันที่ผ่านมา
7 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาล็อค 1 อ่าน 14 12 วันที่ผ่านมา
12 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon แผ่นป้ายสแกนจ่าย QR Code อ่าน 17 12 วันที่ผ่านมา
12 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สีมะฮอกกานี อ่าน 16 13 วันที่ผ่านมา
13 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องฝาสไลด์ดึงขึ้นด้านบน อ่าน 16 14 วันที่ผ่านมา
14 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่องค์พระพุทธรูป สีสัก อ่าน 17 17 วันที่ผ่านมา
17 วันที่ผ่านมา
18 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่องค์พระพุทธรูป อ่าน 23 19 วันที่ผ่านมา
19 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาล็อคอครีลิคใส อ่าน 20 20 วันที่ผ่านมา
20 วันที่ผ่านมา