ตอบปัญหาเรื่องสรรพากรยึด

guest profile image guest
ตอบปัญหาเรื่องสรรพากรยึด ได้รวบรวมคำวินิจฉัยของสรรพากรและคำพิพากษามาให้พิจารณาดู

สรรพากรยึด

ซื้อทรัพย์ได้จากกรมบังคับคดี ชำระเงินครบเรียบร้อย และได้รับเอกสารเตรียมที่จะไปโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อไป ถึงที่สำนักงานที่ดิน โอนไม่ได้ แต่กลับได้รับการแจ้งว่าที่ดินดังกล่าวถูกกรมสรรพากรอายัด จะดำเนินการอย่างไร กรณีนี้ กรมสรรพากรมีอำนาจอายัดซ้อนได้หรือไม่

ตอบ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ซึ่ง ป . วิ. แพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า " เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาอื่นยึด หรืออายัดทรัพย์สินซ้ำอีก..." หมายความว่า เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินใดของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาแล้ว ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นต้องยื่นขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อศาล หากมีการยึดหรืออายัดซ้ำ การบังคับคดีดังกล่าวย่อมต้องห้ามตามกฎหมายไม่มีผลบังคับ ส่วนการยึด หรืออายัดทรัพย์สินของกรมสรรพากรเป็นการดำเนินการเพื่อนำทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระค่า ภาษีอากร ซึ่งกรมสรรพากรสามารถทำได้โดยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 แต่การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของกรมสรรพากร ก็อยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป. วิ. แพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่ง เช่นกันกล่าวคือ ไม่ว่ากรมสรรพากรจะได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาก่อนหรือหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการยึดทรัพย์สินนั้น การยึดหรืออายัดของกรมสรรพากรก็ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมสรรพากรต้องไปดำเนินการร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ศาลตาม ป. วิ. แพ่ง มาตรา 290 วรรคสาม กรณีตามคำถาม การที่สำนักงานที่ดิน ไม่ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้ อาจเป็นเพราะติดขัดในระเบียบปฏิบัติของทางกรมที่ดินเอง ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาตามคำถามของ กองจำหน่ายทรัพย์สิน กรมบังคับคดีคือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำหนังสือยืนยันให้สำนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ แต่หากสำนักงานที่ดินได้รับหนังสือยืนยันแล้วยังไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะต้องไปยื่นเรื่องขอให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สาขา ที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ มีหนังสือแจ้งถอนการอายัดไปยังสำนักงานที่ดิน



ลงนัด 7 วัน ตรวจสอบผลการปิดประกาศ / แจ้งการยึด ที่ปรากฏในรายงานการยึดอสังหาริมทรัพย์ หมายความว่าอย่างไร โจทก์ตั้งเรื่องบังคับคดีเองโดยยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ ต้องไปพบเจ้าพนักงานบังคับคดีในอีก 7 วันหรือไม่ และขั้นตอนต่อไปของการบังคับคดีจะดำเนินการอย่างไร

ตอบ การลงนัด 7 วัน เพื่อตรวจสอบผลการปิดประกาศ, แจ้งการยึด ที่ปรากฏในรายงานการยึดอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นแนวทาง ปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อตรวจสอบผลการยึดทรัพย์ ซึ่งจะต้องแจ้งการยึดทรัพย์ให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดี เช่น จำเลย เป็นต้น ทราบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 โจทก์ได้ตั้งเรื่องยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการไว้ หากได้แถลงส่งเอกสาร ครบถ้วนแล้ว ก็ไม่ต้องมาพบเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างไร ขั้นตอนต่อไปหากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าได้แจ้งการยึดทรัพย์ให้ ผู้มีส่วนได้เสียทราบชอบด้วยกฏหมายแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานศาลเพื่อขออนุญาตขายทอดตลาดที่ยึดไว้ต่อไป




นอนป่วยพิการแท้ๆสรรพากรทวงภาษี
โดย ข่าวสด วัน เสาร์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 08:24 น.
โวยสรรพากรเล่นบทโหด แจ้งเก็บภาษีย้อนหลังคนงานก่อสร้างนอนป่วยร่างกายพิการครึ่งซีก นอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานเกือบปี จู่ๆ ดันมีจดหมายส่งมาทวงเงินภาษีแสนกว่าบาท อ้างค้างชำระไว้ตั้งแค่ปี41 แถมยังยึดอายัดเงินในบัญชีธนาคารไว้ทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่แค่ 600 บาท สรรพากรมาตลอดโดยอ้างเหตุผลว่าค้างชำระภาษี ซึ่งประชาชนได้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่ผู้เกี่ยวข้องต่างปฏิเสธ และยืนยันว่าไม่เคยมีการอายัดบัญชีของประชาชน
บีโอไอแนะนักลงทุน 100 ราย ฟ้องศาลภาษีชี้ขาด
หากกรมสรรพากรยืนยันใช้ประมวลรัษฎากรเก็บภาษีย้อน
หลังพร้อมค่าปรับ 4 พันล้านบาท

ช่วยด้วยค่ะ..สรรพากรขูดรีด
ถ้าเกิดว่า เราถูกประเมินภาษีอากร เเล้วเจ้าหน้าที่ประเมินก้อมาประเมิน (แบบมั่วๆ) เลย) เราเห็นว่ามันเป็นจำนวนที่เยอะเกินไป และหนังสือที่ส่งมาจากสรรพากรนั้นลงวันที่ล่วงหน้าเกือบ10วัน พอวันที่เราได้รับหนังสือก็หมดระยะเวลาคัดค้านเเล้ว พอติดต่อไปที่สรรพากรจังหวัด เขาก็บอกว่า มันหมดเวลาที่จะอุทธรณ์ขอลดยอดปรับเเล้ว คุณไม่รักษาเวลาเอง ช่วยไม่ได้ เเล้วก้อบอกกับเราว่า ไม่ต้องยื่นอุทธรณ์หรอก ยื่นไปก็เสียเวลาเปล่า (นี่หรอ..คำพูดของข้าราชการที่มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือประชาชน)
อีกอย่างค่ะ สรรพากรเขาได้อ้างประมวลรัษฏากรมาตรา 12 ว่าเขาสามารถทำได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องขอหมายจากศาลแต่อย่างใด

 

คำพิพากษาฎีกาที่  4629/2533

 

                      นางพิศวง โรจนภักดี ....................................โจทย์

 

                      กรมสรรพากร .............................................จำเลย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา12 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

 

                      การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 บัญญัติว่า "คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมี คำพิพากษาหรือคำสั่ง" ดังนั้นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา12 จึงต้องใช้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 จำเลยมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินของโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 อันเป็นเวลาที่ล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 12 การยึดของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรจึงเป็นการไม่ชอบ

                    การฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดมิใช่กรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมิน จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มีอำนาจฟ้อง

 http://www.rd.go.th/publish/17373.0.html

 

มาตรา 12 ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้เมื่อถึงกำหนด ชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและ การขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร หรือนำส่งภาษี อากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจ ดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนาย อำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัด หรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้นจะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบ ที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ในการยึดและขายทอดตลาดและเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ เจ้าของทรัพย์สิน ผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้เป็น หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย
หมายเหตุมาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2525
มาตรา 12 วรรคหก เพิ่มเติมโดยพรก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526
มาตรา 12ทวิ เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดตาม มาตรา 12 แล้ว ห้ามผู้ใด ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว
หมายเหตุมาตรา 12ทวิ เพิ่มเติมโดยพรก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2525
มาตรา 12ตรี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม มาตรา 12 ให้ผู้มี อำนาจตาม มาตรา 12 หรือ สรรพากรจังหวัดมีอำนาจ
(1)
ออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชำระภาษีอากรค้างและบุคคลใดๆ ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาให้ ถ้อยคำ
(2)
สั่งบุคคลดังกล่าวใน (1) ให้นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐาน อื่นอันจำเป็นแก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาตรวจสอบ
(3)
ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรทำการตรวจค้น หรือยึดบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวใน (1)
การดำเนินการตาม (1) หรือ (2) ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า เจ็ดวัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกหรือคำสั่งการออกคำสั่งและทำการตาม (3) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
หมายเหตุมาตรา 12ตรี เพิ่มเติมโดยพรก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2525

ประมวลกฎหมายรัษฎากรประมวลกฎหมายรัษฎากร

 

 

  คำพิพากษาฎีกาที่4862/2543

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

                      นาย เปลิ้ม ศรีหมอก

จำเลย

                      เรื่อง การยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12

                  ลายมือชื่อในช่องผู้ชำระภาษีอากรตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 46 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยนั้นไม่มีคำว่า นาย นำหน้า เมื่อพิจารณาหมายเปรียบเทียบกับลายมือชื่ออื่น ๆ ของจำเลย ปรากฏว่า ในการลงลายมือชื่อของจำเลยทุกครั้งจำเลยจะใช้คำว่า นาย นำหน้าชื่ออันเป็นการลงลายมือชื่อด้วย ดังปรากฏตามลายมือชื่อของจำเลยในใบรับลงทะเบียนเอกสารหมาย จ.4 แผ่นที่ 9 ด้านหลัง และคำให้การตามเอกสารหมาย จ.4 แผ่นที่ 11 ถึง 13 ข้ออ้างของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง น่าเชื่อว่า จำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ชำระภาษีอากรในเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 46 จำเลยได้ชำระภาษีจำนวน 2,043.50 บาท เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว แต่เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 แผ่นที่ 11 ถึง 13 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 ดังนั้น เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพความรับผิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2540 ตามเอกสารหมาย จ.4 แผ่นที่ 12 และ 13 กับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ตามเอกสารหมาย จ.4 แผ่นที่ 11 นับจากวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ถึงวันฟ้องวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

                  อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การยึดทรัพย์สินของจำเลยตามประมวลรัษฎากรเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้าง หาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่7192/2547

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

                      นายตระกูล อังสนันรัตนา

จำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 และมาตรา 30

                  การแจ้งการประเมินภาษีให้ทราบ เท่ากับเป็นการสั่งให้ชำระค่าภาษีอากรประเมินตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติให้อำนาจไว้ มิฉะนั้นอาจถูกยึดทรัพย์สินนำมาขายทอดตลาดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 และมาตรา 30          ในการบังคับชำระหนี้ต้องดำเนินการภายใน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมิน โจทก์สามารถดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้างเมื่อล่วงเลยระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรมาฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2541 จึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้แล้ว ส่วนการที่จำเลยได้ขอผ่อนชำระหนี้และชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ยังมีสิทธิบังคับชำระหนี้จึงเป็นเพียง      ขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้และวิธีการในการชำระหนี้เท่านั้น มิได้มีผลให้ระยะเวลาในการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ขยายออกไปแต่อย่างใด

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/1060

วันที่

: 4 กุมภาพันธ์ 2542

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล การอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากรในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการจำหน่ายและให้เช่าซื้อรถยนต์ ค้างชำระภาษีอากรรวมเป็น
จำนวนเงิน 16,862,761 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) บริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์
การประเมินภาษีอากรและยื่นขอทุเลาการชำระภาษีไว้แต่ไม่ได้รับอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษี
เจ้าพนักงานจึงได้ทำการอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝาก โดยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันให้ธนาคารนำส่ง
เงิน สำนักงานสรรพากรจังหวัดขอทราบว่า กรณีตามข้อเท็จจริง หนี้ภาษีอากรรายนี้อยู่ในระหว่างอุทธรณ์
จำนวนภาษียังไม่แน่นอน จังหวัดฯ สามารถจะให้ธนาคารนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดดังกล่าวได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

: ตามข้อเท็จจริงเมื่อบริษัทฯ มิได้ส่งเงินมาชำระตามการประเมินเรียกเก็บ เมื่อถึง
กำหนดเวลาชำระแล้วให้ถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้าง เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง อธิบดีมีอำนาจสั่งยึด
หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทฯ มี
เงินสด ฝากในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นจำนวนเงิน 27,138,438.49 บาท และบัญชีเงินฝาก
พิเศษเป็นจำนวนเงิน 500 บาท แต่บริษัทฯ มีหนี้ภาษีอากรรวมเป็นจำนวนเงิน 16,862,761 บาท (ไม่
รวมเงินเพิ่ม) ดังนั้น ในการอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากดังกล่าว จังหวัดฯ ควรที่จะมีคำสั่งอายัด
แต่เฉพาะเงินสดในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเท่านั้น เพราะในบัญชีดังกล่าวมีเงินสดคุ้มกับจำนวนภาษีที่
ค้างชำระ และจำนวนเงินที่อายัดควรเท่ากับจำนวนค่าภาษีอากรรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คำนวณ
จนถึงวันที่ธนาคารนำส่งเงินที่อายัดดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ
23 (1)
ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง พ.ศ. 2539 และ ข้อ 9
ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2539

เลขตู้

: 62/27487

 

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/5816

วันที่

: 28 มิถุนายน 2545

เรื่อง

: ภาษีอากรค้าง กรณีการยึด อายัด ทรัพย์สินของผู้ค้าง

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: สำนักงานสรรพากรภาคได้หารือปัญหาข้อกฎหมาย กรณีการยึด อายัด ทรัพย์สินของผู้ค้าง ซึ่งมี
ข้อเท็จจริงดังนี้
1.
กรณีสามีเป็นผู้ค้างภาษีอากรและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ ในการสอบสวนทรัพย์สินพบว่ามี
บัญชีเงินฝากธนาคารของภริยา ภายหลังจดทะเบียนสมรส จะอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากดังกล่าว
อย่างไร
2.
การยึด อายัดทรัพย์สินของคู่สมรส และบุตรผู้เยาว์ หรือภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับ
ผู้ค้าง ต้องมีหลักฐานพิสูจน์และข้อกฎหมายใด อย่างไร

แนววินิจฉัย

: กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้ภาษีอากรและสามีเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หากข้อเท็จจริง
หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่สามีและภริยาต้องรับผิดร่วมกันตามมาตรา 1490 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อการสอบสวนทรัพย์พบว่าสามีมีสินสมรสเป็นเงินฝากในธนาคารในชื่อ
ของภริยา เจ้าพนักงานย่อมใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดหรืออายัดสินสมรสส่วน
ของสามีได้ แต่จะยึดหรืออายัดสินส่วนตัวของภริยาไม่ได้ จะต้องดำเนินการทางศาลเท่านั้น
กรณีการยึดอายัดทรัพย์สินของคู่สมรสและบุตรผู้เยาว์ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ค้างภาษีอากรหรือ
ทรัพย์สินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วมต้องเป็นไปตามที่ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการยึดและอายัดทรัพย์สิน
ของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ในการดำเนินการต่าง ๆ เจ้าพนักงาน
ต้องพิสูจน์และมีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะยึดหรืออายัดนั้น จึงจะทำการยึดหรืออายัดได้

เลขตู้

: 65/31765



เลขที่หนังสือ

: กค 0706/พ./7337

วันที่

: 30 กรกฎาคม 2546

เรื่อง

: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า นาย ป. ได้นำรายรับส่วนที่เกิน 1,200,000
บาท สำหรับเดือนเมษายน, พฤษภาคม, และกรกฎาคม 2544 มายื่นแบบแสดงรายการ
ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและค้างชำระภาษี ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษี (บ.ช.35) จึงหารือว่า กรณี
ดังกล่าวเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่และจะต้องปฏิบัติในการ
เร่งรัดภาษีอากรค้างดังกล่าวอย่างไร

แนววินิจฉัย

: กรณีสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้มีหนังสือแจ้งการค้างชำระภาษีให้ผู้ค้างภาษีอากรชำระภาษีตาม
ใบแจ้งการค้างชำระภาษี (บ.ช.35) ก็ถือมีใบแจ้งภาษีอากรให้แก่ผู้ค้างชำระภาษีอากรแล้วจึงเป็น
หนี้ภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อผู้ค้างภาษีอากรไม่นำเงินมาชำระภายใน
กำหนดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ก็สามารถดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรกับผู้ค้างภาษีอากรได้ตาม
ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง พ.ศ. 2539 และมาตรา 12 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ได้

เลขตู้

: 66/32585

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1019/19

 

                      นายเฮงซั้ง แซ่จัง

โจทก์

                      นายจรินทร์ นุชอนงค์กับพวก

จำเลย

                      เรื่อง เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาด
ได้เองไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง บุริมสิทธิค่าภาษีอากร,สิทธิคนภายนอก,เฉลี่ยทรัพย์,ประมวลรัษฎากรบังคับคดี

                       ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดได้เอง ไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล สิทธิของผู้ร้องตามประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตาม ป.ว.พ. มาตรา 287 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องก็มีสิทธิจะขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ แต่จะอ้างบุริมสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 253 ได้เฉพาะที่ค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งตามมาตรา 256 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ย เมื่อเกินกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธ์

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/7405

วันที่

: 26 กรกฎาคม 2544

เรื่อง

: ภาษีอากรค้าง กรณีการอายัดเงินค่าจ้าง

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: บริษัท ธ. จำกัดถูกสำนักงานสรรพากรจังหวัดแพร่ประเมินภาษีอากร จำนวน
3,044,585
บาท บริษัทฯ ได้มารับจ้างงานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราชและถูก
สรรพากรจังหวัดนครศรีธรรมราชอายัดเงินค่าจ้างดังกล่าว จึงได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการ
การปกครอง สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอความเป็นธรรมอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของ
เจ้าหน้าที่ทางราชการ สำนักงานสรรพากรจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงขอให้กรมสรรพากรพิจารณาว่า
การดำเนินการอายัดเงินค่าจ้างของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสรรพากร เป็นการปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

แนววินิจฉัย

: 1 พิจารณาตามประมวลรัษฎากร
กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ได้ถูกจังหวัดแพร่ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,044,585 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่ม) เมื่อบริษัทฯ มิได้นำเงินมา
ชำระภาษีตามการประเมินเรียกเก็บเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ให้ถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างในจังหวัดอื่น
นอกจากกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีกรมสรรพากร
ในเขตท้องที่จังหวัดสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยมิต้องขอ
ให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างค้างชำระหรือยังไม่ครบกำหนดชำระ
ที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่บริษัทฯ จำนวนเงิน 2,065,392 บาท ถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม
กฎหมายดังกล่าวแล้ว
กรณีเงินประกันสัญญาจ้างซึ่งบริษัทฯ เป็นเจ้าของเงินที่นำมาวางไว้เป็นหลักประกันและเงิน
อื่นใดที่จะได้รับตามสัญญาจ้างอันเป็นเงินที่บริษัทฯ เป็นผู้ได้รับเมื่อสิ้นสุดแห่งสัญญา ดังกล่าว เมื่อ
กรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดังกล่าวยังคงเป็นของบริษัทฯ กรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากร จึงชอบที่
จะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น การอายัดเงินค่าจ้างของบริษัทฯ ดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายตาม
มาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วยระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความ
ในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539
2.
พิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
กรณีนี้ใบแจ้งการประเมิน ถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งได้
และเป็นคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน
เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อ
ชำระเงินให้ครบถ้วน การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5(1),
มาตรา, 34 มาตรา 40, มาตรา 44 และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539 โดยผู้มีอำนาจทำคำสั่งทางปกครองจะเป็นผู้มีอำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ของผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง แต่มิให้ใช้บังคับในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดเรื่องผู้มีอำนาจสั่งยึด
หรืออายัดหรือขายทอดตลาดไว้โดยเฉพาะ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
เนื่องจากใบแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา
30
วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินโดยการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ถ้าไม่เสีย
ภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งในจังหวัดอื่นนอกจาก
กรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชในเขตท้องที่จังหวัดมีอำนาจยึดหรืออายัดและ
ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้โดยมิต้องให้ศาลออกหมายยึด
หรือสั่ง กรณีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา
12
แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2539
การแจ้งการประเมินตามใบแจ้งการประเมิน การอุทธรณ์ การอายัดทรัพย์สินตาม
ประมวลรัษฎากรและระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินฯ กรณีดังกล่าวถือว่ามีหลักเกณฑ์ที่
ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กรณีนี้จึงถือว่าการดำเนินการอายัดเงินค่าจ้างดังกล่าวเป็น
การปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.
2539
และข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
ดังนั้น คำสั่งการอายัดเงินค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายตามประมวลรัษฎากร และตาม
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

เลขตู้

: 64/30706




 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/ก.130

 

 

วันที่

: 6 สิงหาคม 2544

 

 

เรื่อง

: การเร่งรัดภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร

 

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12, มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080, มาตรา 715, มาตรา 289,มาตรา 702

 

 

ข้อหารือ

: จังหวัดภูเก็ตได้หารือปัญหาการเร่งรัดภาษีอากรค้าง ดังนี้
1.
กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดได้รับหมายเรียกตามประมวลรัษฎากรหรือถูก
ตรวจปฏิบัติการตามหนังสือแจ้งการเข้าตรวจปฏิบัติการ ต่อมาห้างฯ ได้เปลี่ยนหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่
เนื่องจากหุ้นส่วนผู้จัดการได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินฯ ได้
ประเมินภาษีอากรสำหรับระยะเวลาที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่าดำรงตำแหน่งอยู่ และได้แจ้งการประเมินไป
ยังห้างฯ กรมสรรพากรจะเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างกับหุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่าได้หรือไม่
2.
กรณีผู้ค้างภาษีมีบัญชีกระแสรายวันอยู่กับธนาคาร โดยเปิดวงเงิน
เบิกเกินบัญชีไว้จำนวน 2 ล้านบาท และผู้ค้างภาษีได้นำอสังหาริมทรัพย์ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน
การชำระหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าว แต่ผู้ค้างภาษีเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารยังไม่เต็มวงเงิน
กรมสรรพากรจะอายัดเงินในส่วนที่เหลือของวงเงินเบิกเกินบัญชีนั้นได้หรือไม่
3.
กรณีหากกรมสรรพากรได้ยึดทรัพย์สินที่ผู้ค้างภาษีได้นำไปจำนองต่อ
ธนาคารตามข้อ 1(2) แล้วนำมาขายทอดตลาดได้เงิน 2.2 ล้านบาท แต่ผู้ค้างภาษีมีหนี้จำนองอยู่ต่อ
ธนาคารเป็นเงินต้น 1.9 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2.5 แสนบาท รวมเป็นหนี้จำนวนทั้งสิ้น 2.15 ล้านบาท
กรมสรรพากรจะต้องนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ไปชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารไม่เกินวงเงิน 2
ล้านบาท หรือต้องชำระทั้งหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดจำนวน 2.15 ล้านบาท หากเหลือเงินเท่าใด
จึงจะนำมาชำระค่าภาษีอากร
สำนักงานสรรพากรภาค เห็นว่า ตามข้อ 1 กรมสรรพากรเร่งรัด
หนี้ภาษีอากรค้างกับหุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่าได้ ตามข้อ 2 กรมสรรพากรอายัดสิทธิเรียกร้องของผู้ค้างภาษี
ได้หากได้รับความยินยอมจากธนาคาร และตามข้อ 3 กรมสรรพากรต้องนำเงินจากการขายทอดตลาด
ชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมดด้วย

 

 

แนววินิจฉัย

: 1. กรณีตามข้อ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหนี้ภาษีอากรค้างที่เกิดขึ้นก่อนที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่า
ออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ กรมสรรพากรเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างกับห้างฯ หุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่า
และหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ได้ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนของหุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่ามี
ภาระความรับผิดในหนี้ของห้างฯ เพียง 2 ปี นับแต่เมื่อออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ ตามมาตรา
1068
ประกอบมาตรา 1080 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.
กรณีตามข้อ 2 การเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินที่เหลือตามสัญญากับ
ธนาคารของผู้ค้างภาษีเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเป็นการก่อหนี้มิใช่เกิดสิทธิเรียกร้องให้ได้รับชำระหนี้อันจะ
เป็นทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี จึงไม่มีเงินที่จะเป็นทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีตามบัญชีของธนาคารที่
กรมสรรพากรจะดำเนินการอายัด ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรได้
3.
กรณีตามข้อ 3 เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้าง
ภาษีจำนวน 2.2 ล้านบาท จะต้องไปชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ย จำนวน 2.15 ล้านบาท ตามมาตรา
715
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนตามลำดับแห่งบุริมสิทธิตามมาตรา 289 และมาตรา 702
วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เงินที่เหลือจากการชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยจึงจะ
นำมาชำระหนี้ภาษีอากร

 

 

เลขตู้

: 64/30767

 

คำพิพากษาฎีกาที่9934/2539

 

                      นายวิวัฒน์ บุญมาเลิศ

โจทก์

                      กรมสรรพากร

จำเลย

                      เรื่อง ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ.2532 ข้อ 7 ข.

                  โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2523 จำเลยได้ยึดที่ดินของโจทก์รวม 20 โฉนด เพื่อนำไปขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้าง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ ส่วนการขายทอดตลาดจำเลยได้แจ้งเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินให้โจทก์ทราบ โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ คณะกรรมการดังกล่าวได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ดินโจทก์ไป 18 โฉนด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2533 เป็นเงินทั้งสิ้น 2,647,000 บาท ซึ่งการขายทอดตลาดเป็นไปโดยมิชอบ เพราะคณะกรรมการมิได้ส่งประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินและและแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่ขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี พ.ศ.2532 ข้อ 7 ข. ซึ่งกำหนดว่าจะต้องส่งประกาศเรื่องขายทอดตลาด (ภ.ส.19) ให้แก่ผู้ค้างภาษีอากร หรือผู้มีส่วนได้เสียทราบ ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2533 แล้วให้จำเลยดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ใหม่

                    จำเลยให้การว่า จำเลยดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ.2532 ส่งประกาศให้เรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินให้โจทก์ทราบ โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ "รายวันสยาม" ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2533 และปิดประกาศขายทอดตลาด ณ ที่ทำการกรมสรรพากรกรุงเทพมหานคร และตามที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงถือว่าโจทก์ทราบประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ก่อนประกาศขายทอดทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยตรวจสอบภูมิลำเนาของโจทก์จากสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยพบว่า โจทก์มีชื่ออยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2530 ซึ่งทางราชการถือว่าเป็นทะเบียนที่ใช้สำหรับลงรายการของบุคคลที่ถูกแจ้งย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ หรือบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่บ้านถูกจำหน่ายไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจส่งประกาศเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้เพิกถอนการขายตลาด ขอให้ยกฟ้อง

                    ระหว่างพิจารณา บริษัท เอ็ม.เอ.ที.เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์รายนี้ได้จากการขายทอดตลาดของจำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามกฎหมายในผลแห่งคดี ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้น พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ และให้จำเลยดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ใหม

                    จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์

                    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

                    จำเลยและจำเลยร่วมฎีกา

                    ศาลฎีกาพิจารณาว่า ในการขายทอดตลาดคณะกรรมการดังกล่าวได้ประกาศโฆษณาแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่ขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวัน "รายวันสยาม" ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2533 โดยมิได้ส่งประกาศเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์ทราบ ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 พ.ศ.2525 ข้อ 10 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ.2532 ข้อ 7 ตามเอกสารหลักฐาน โจทก์เคยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 50 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ต่อมาบ้านเลขที่ดังกล่าวถูกรื้อไป จึงย้ายเข้าทะเบียนตนบ้านกลาง ต่อมาย้ายไปอยู่บ้านเลขที่ 60/3 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2533 ก่อนวันที่ 18 ธันวาคม 2533 อันเป็นวันทอดตลาดที่ดินของโจทก์เป็นเวลานานถึง 4 เดือน 4 วัน จำเลยมิได้แจ้งการกำหนดวันเวลาและสถานที่ขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาโจทก์ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถรักษาสิทธิของโจทก์ในการขายทอดตลาด ทำให้ขายทรัพย์สินของโจทก์ไปในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ที่ดินของโจทก์มีราคาซื้อขายกันในท้องตลาดราคาไร่ละ 1,000,000 บาท โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถชำระหนี้แก่จำเลยได้ครบถ้วน ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ.2532 ข้อ 7 ข.วรรคสาม กำหนดว่า "การส่งประกาศเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งประกาศการยึดทรัพย์สินโดยอนุโลม" และตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 พ.ศ.2525 ข้อ 10 กำหนดว่า "วิธีการส่งคำสั่งยึดทรัพย์สิน และประกาศยึดทรัพย์สินให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ให้ส่งคำสั่งหรือประกาศยึดทรัพย์สิน ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้ค้างภาษีอากร ฯลฯ " โจทก์มีภูมิลำเนาตามที่อยู่ดังกล่าวข้างต้นโดยมีนายประเสริฐ โตเจริญ ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ยืนยันรับรองข้อเท็จจริงนี้ ส่วนจำเลยและจำเลยร่วมมิได้นำสืบหักล้างข้อเท็จจริงดังกล่าว เมื่อโจทก์มีที่อยู่เป็นที่แน่นอน จำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบ โดยต้องส่งให้โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่สามารถส่งได้ จำเลยจึงจะส่งด้วยวิธีอื่นหรือประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นได้ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งเรื่องการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบโดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ทำได้นั้น จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินให้โจทก์ทราบโดยชอบ การขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ ที่จำเลยดำเนินการไปจึงไม่ชอบด้วยระเบียบ กรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ.2532 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมฟังไม่ขึ้น ประเด็นข้ออื่นไม่จำต้องวินิจฉัย

                    พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/3519

วันที่

: 3 พฤษภาคม 2543

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีภาษีที่ค้างชำระจากแบบแสดงรายการตามประมาณการกำไรสุทธิ (ภ.ง.ด.51)

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 67 ทวิ, มาตรา 12

ข้อหารือ

: บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) สำหรับ
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 โดยแสดงประมาณการว่ามีกำไรสุทธิและในการคำนวณภาษีจากกึ่งหนึ่งของ
ประมาณการกำไรสุทธิปรากฏว่าบริษัทฯมีภาษีที่ต้องชำระจำนวน 14,916,275.22 บาท แต่ได้ยื่นชำระ
ไว้เพียง 100,000 บาท จึงมีภาษีค้างชำระจำนวน 14,816,275.22 บาท อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีผล
การดำเนินงานตลอดปี 2540 มียอดขาดทุนสุทธิจำนวน 923,913,548.83 บาท เมื่อบริษัทฯ ไม่มีภาษี
ต้องเสีย แม้จะมิได้ชำระภาษีกลางปี หรือชำระไว้บางส่วน ภาษีดังกล่าวก็มิใช่ภาษีอากรซึ่งต้องเสียและ
ไม่ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอให้พิจารณาสั่งระงับการคิดเงินเพิ่ม
ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีกลางปีที่ค้างชำระ และพิจารณาสั่งระงับการยึดทรัพย์
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

: บริษัทฯ มีหน้าที่ยื่นรายการพร้อมกับชำระภาษีภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบ
ระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีโดยให้คำนวณและชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่ง
ของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ
จึงต้องชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา การที่บริษัทฯ ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธิภายใน
กำหนดเวลาพร้อมกับชำระภาษีเพียงบางส่วนเท่านั้น ภาษีส่วนที่ค้างชำระจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตาม
มาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
ของเงินภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง
อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของบริษัทฯ ตามมาตรา 12 แห่ง
ประมวลรัษฎากร

เลขตู้

: 63/29245

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/5214

วันที่

: 12 มิถุนายน 2545

เรื่อง

: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการบังคับจำนองที่ดินที่จดจำนองเป็นประกันการผ่อนชำระ

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: 1. กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนมาจดจำนองเป็นประกันการชำระ
หนี้ภาษีอากรของตนต่อกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดการชำระหนี้เป็นเหตุให้
กรมสรรพากรต้องดำเนินการทางศาลเพื่อสั่งยึดทรัพย์ขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ภาษีอากรที่
ค้างอยู่ในกรณีนี้ ผู้ค้างภาษีอากรอาจไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ยังขาดอยู่ตามมาตรา 733 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเห็นควรใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดทรัพย์ที่
จำนองนำออกขายทอดตลาด หรือดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์ซึ่งจำนองและให้
ขายทอดตลาดโดยติดภาระจำนอง หากขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็สามารถทำการ
เร่งรัดเอากับทรัพย์สินอื่นของผู้ค้างภาษีอากรได้อีก
2.
กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาจดจำนองเป็นประกันการ
ชำระหนี้ภาษีอากรต่อกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดการชำระหนี้ในกรณีนี้
กรมสรรพากรต้องดำเนินการทางศาลเพื่อสั่งยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเท่านั้น จะใช้อำนาจตามมาตรา 12
แห่งประมวลรัษฎากร ยึดทรัพย์ที่จำนองขายทอดตลาดไม่ได้ เนื่องจาก ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ค้าง
ภาษีอากร

แนววินิจฉัย

: กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินของตนหรือของบุคคลอื่นมาจดจำนองเป็นประกันการชำระ
หนี้ภาษีอากรกับกรมสรรพากรนั้น เมื่อผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดชำระหนี้กรมสรรพากรควรพิจารณาดำเนินการ
ในแต่ละกรณีดังนี้
1.
กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกมา
จดจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ภาษีอากรกับกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาหากผู้ค้างภาษีอากร
ผิดนัดการชำระหนี้ กรมสรรพากรไม่จำต้องฟ้องบังคับจำนองเสมอไป หากทรัพย์สินที่จำนองนั้นไม่พอที่จะ
ชำระหนี้ กรมสรรพากรสามารถฟ้องคดีบังคับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญเพื่อยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดได้
และหากได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยังสามารถดำเนินการยึดทรัพย์สินอื่นของผู้ค้างภาษีอากรนำมาชำระหนี้ได้อีก
2.
กรมสรรพากรมีอำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของ
ผู้ค้างภาษีอากร เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากร ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะติดจำนอง
หรือไม่ก็ตาม
3.
กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกมาจดจำนองเป็นประกัน
การชำระหนี้ภาษีอากรกับกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดการชำระหนี้
กรมสรรพากรจะต้องฟ้องบังคับจำนองเอากับทรัพย์สินจำนองเท่านั้น จะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดไม่ได้ เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ค้าง
ภาษีอากร

เลขตู้

: 65/31525

คำพิพากษาฎีกาที่1196/2539

 

                      นายสมาน สวัสดิ์นาวิน

โจทก์

                      กรมสรรพากร

จำเลย

                      เรื่อง ขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปวิธีพิจารณาความแพ่ง  คำสั่งระหว่างพิจารณา (มาตรา 226)

                     ประมวลรัษฎากร (มาตรา 12, 19, 20, 30, 76 ทวิ วรรคสาม)

                     พ.ร.บ.  จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ (มาตรา 7(3))

                    โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เคยทำงานอยู่กับสำนักงานกฎหมายชื่อ ห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคลติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ ระหว่างที่โจทก์ทำงานอยู่กับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลดังกล่าว บริษัทรีนา แวร์ ตีสทริบิวเตอร์ส พีทีวาย จำกัด ได้เข้ามาเปิดสำนักงานสาขาในประเทศไทย และขอความช่วยเหลือในด้านกฎหมายจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลดังกล่าว  โดยให้เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนสาขาต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า  กระทรวงพาณิชย์บริษัทรีนาแวร์ ดิสทริบิวเดอร์ส พีทีวาย จำกัด ขอให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้จัดการสาขาเพื่อให้สามารถทำการจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนดังกล่าวได้  เมื่อปี  2534 โจทก์ได้ไปยื่นคำร้องเพื่อจดทะเบียนนิติกรรมโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินเขตราษฎร์บูรณะเจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนให้โดยแจ้งว่าจำเลยได้มีคำสั่งยึดที่ดินดังกล่าว อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนบริษัทรีนาแวร์ ดิสทริบิวเตอร์ส พีทีวาย จำกัด  ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534 โจทก์จึงได้รับประกาศยึดทรัพย์สินของโจทก์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 การยึดทรัพย์ดังกล่าวได้กระทำโดยจำเลยรู้อย่างแจ้งชัดว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท รีนา แวร์ ดีสทริบิวเดอร์ส พีทีวาย จำกัด ผู้ถูกประเมินภาษีขอให้เพิกถอนคำสั่งประกาศยึดทรัพย์ที่ บร. 1913/2534 ฉบับลงวันที่ 1 ตุลาคม 2534และเพิกถอนการอายัดรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด ฟัลคอนหมายเลขทะเบียน 8 ก-5835 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า หมายเลขทะเบียน5 ห-2110 กรุงเทพมหานคร และให้จำเลยชำระค่าเสียหายจำนวน1,163600 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

                      จำเลยให้การว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมิน ยึด อายัด ทรัพย์สินของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และบริษัทมิได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย  บริษัทจึงหมดสิทธินำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลจึงได้ขอถอนฟ้องคดีที่ฟ้องจำเลยไว้และศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความคดีถึงที่สุดแล้ว ปรากฏตามคดีหมายเลขแดงที่ 115/2535 ของศาลภาษีอากรกลางโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะกล่าวอ้างอีกต่อไปว่าการประเมินไม่ถูกต้อง  อีกทั้งได้แจ้งเตือนไปยังโจทก์ถึง 2 ครั้ง เมื่อโจทก์ได้รับทราบแล้วกลับเพิกเฉยจำเลยจึงได้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร  ยึดทรัพย์สินของโจทก์ ในการดำเนินการยึดทรัพย์เป็นอำนาจของจำเลยโดยเฉพาะไม่จำเป็นต้องเรียกโจทก์ไปไต่สวนก่อนแต่อย่างใด แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกโจทก์ไปไต่สวนแล้วแต่โจทก์เองกลับบิดพลิ้วและไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้น โจทก์จะอ้างเหตุว่า การยึดทรัพย์ของจำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจหาได้ไม่ และฟ้องของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ขอให้ยกฟ้อง

                      ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามประกาศยึดทรัพย์ที่ บร. 1913/2534 ลงวันที่ 1 ดุลาคม 2534 คำขออื่นให้ยก

                      จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

                      ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ''มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คำสั่งงดสืบพยานของศาลภาษีอากรกลางชอบหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้ตามมาตรา 76 ทวิ  แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ สำหรับในประเด็นข้อแรกนั้น จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อบริษัทรีนา  แวร์ ดิสทริบิวเดอร์ส พีทีวาย จำกัด  มิได้อุทธรณ์การประเมิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องด้วย  แม้ปัญหานี้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้  แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มิใช่ขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง  อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น  ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลางนั้น เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างที่พิพาท แต่โจทก์ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามอำนาจในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรแต่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้ จำเลยไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ ขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

                      ส่วนอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า คำสั่งงดสืบพยานของศาลภาษีอากรกลางชอบหรือไม่ปรากฏจากถ้อยคำสำนวนว่า เมื่อสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนไปแล้ว 1 ปาก ได้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อพอถึงวันนัดศาลภาษีอากรกลางได้เลื่อนการสืบพยานโจทก์ไปอีกเพื่อนัดพร้อมสอบถามคู่ความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงบางประการ และเมื่อถึงวันนัดพร้อมคือวันที่ 23 ธันวาคม 2536 ศาลภาษีอากรกลางจึงได้สอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากคู่ความทั้งสองฝ่าย  แล้วศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2536 และศาลภาษีอากรกลางก็ได้พิพากษาคดีในวันที่ 29 ธันวาคม 2536 โดยนำข้อเท็จจริงจากการสอบถามคู่ความมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี  ดังนี้ คำสั่งงดสืบพยานของศาลภาษีอากรกลางในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา  หากคู่ความจะอุทธรณ์ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ทั้งๆ ที่มีเวลาโต้แย้งได้เพราะนับจากวันที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งจนถึงวันที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาคดีห่างกันถึง 6 วัน จำเลยจึงต้องห้าม อุทธรณ์คำสั่งนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

                      ส่วนอุทธรณ์ข้อสุดท้ายที่ว่า โจทก์ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้หรือไม่นั้นเห็นว่า แม้จะฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท รีนา แวร์ ดีสทริบิวเดอร์ส พีทีวาย จำกัด ในประเทศไทยซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ดังจำเลยอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตร 19,20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังนายเดวิด ไลแมน ผู้จัดการบริษัทดังกล่าวเท่านั้นทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา  76 ทวิ  วรรคสาม  แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วนจำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์จึงชอบแล้วอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

                      พิพากษายืน

                      (นิเวศน์ คำผอง -  จรัญ หัตถกรรม - ชลอ บุณยเนตร)

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/5666

 

วันที่

: 5 มิถุนายน 2544

 

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบริจาคที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12 ตรี แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522

 

ข้อหารือ

: บริษัทฯ มีความประสงค์จะบริจาคที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งจัดตั้งขึ้น
ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 จึงขอทราบว่ากรณีการบริจาคที่ดินดังกล่าวบริษัท
จะได้รับยกเว้นภาษีอากรทุกประเภท ตามมาตรา 12 ตรี แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 หรือไม่

 

แนววินิจฉัย

: 1. หากบริษัทฯ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรณีบริษัทฯ
โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสถาบัน
อุดมศึกษาเอกชนฯ หรือได้บริจาคอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อใช้ในกิจการของ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนหลังจากได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขึ้นแล้ว จะได้รับยกเว้นภาษีอากร
ทุกประเภทและค่าธรรมเนียมในการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามมาตรา 12 ตรี แห่งพระราชบัญญัติ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ
2.
หากบริษัทฯ มิได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกรณีบริษัทฯ บริจาค
ที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อใช้ในกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หลังจากได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขึ้นแล้ว จะได้รับยกเว้นภาษีอากรทุกประเภทและ
ค่าธรรมเนียมในการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามมาตรา 12 ตรี แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา
เอกชนฯ

 

เลขตู้

: 64/30568

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 586/2544

 

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

 

                      บริษัท ยูไนเต็ดเทรดดิ้ง ขอนแก่น จำกัด

จำเลย

 

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป.รัษฎากรฯ (มาตรา 12)

                     โจทก์ฟ้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีล้มละลายพิพากษายืน จำเลยไม่แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กรณีที่โจทก์มีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบริษัท บ. จำกัด เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหรือไม่ เห็นว่า เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและใบตอบรับไปรษณีย์แล้ว ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากร ตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความจึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ วันที่ 26 มิถุนายน 2530 เป็นต้นไป สำหรับวิธีการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ดังนั้น การใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร
มาตรา 12 จึงต้องใช้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 นับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271                      มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. จำกัด และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น จึงไม่ใช่การกระทำอื่นใด อันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 ซึ่งเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องนั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน จำเลยไม่แก้ฎีกา จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้

                     (พีรพล จันทร์สว่าง - พิชัย เตโชพิทยากูล - วัฒนชัย โชติชูตระกูล)

คำพิพากษาฎีกาที่5551/2541

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

                      กรมสรรพากร

เจ้าหนี้

                      บริษัทสหมิตรร่วมกิจพืชผล จำกัด

จำเลย

                      เรื่อง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป.รัษฎากร (มาตรา 12, 27 ทวิ) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 (ข้อ1(3)

                   ป. รัษฎากร มาตรา 27 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ถือว่าเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เป็นเงินภาษี และมาตรา 12 วรรคแรก กำหนดว่าภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง ดังนั้น การที่ลูกหนี้ค้างชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2528 รวมทั้งเงินเพิ่มเนื่องจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและเงินเพิ่มใหม่ จึงถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามความหมายของมาตรา 12 วรรคแรกทั้งสิ้น การที่กรมสรรพากรเจ้าหนี้นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจากหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสองนั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป. รัษฎากรแต่อย่างใดไม่ แม้เจ้าหนี้จะอ้างคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1(3) ที่ระบุว่า การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มนั้น ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วน มิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินตาม

 

คำพิพากษาฎีกาที่    4540/2528

 

 

 

                       นายชัย ชัยแจ่มเลิศ              ที่ 1

โจทก์

 

 

                       นายรุ่งโรจน์ แซ่อุ่ย              ที่ 2

 

 

 

                       กรมสรรพากร

จำเลย

 

 

 

 

 

                       โจทก์ซื้อที่ดินจากบริษัท บวรนคร จำกัด แล้ว ไม่สามารถทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ เพราะที่ดินพิพาทถูกจำเลยใช้อำนาจยึดไว้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 เนื่องจากบริษัท บวรนคร จำกัด ค้างชำระภาษีอากร คดีมีปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยถอนการยึดที่ดินพิพาทหรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า "ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างเพื่อให้ได้ รับชำระภาษีอากรค้างให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิด เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งอำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้" ดังนั้น เมื่อบริษัทดังกล่าวได้ค้างชำระภาษีอากรแก่จำเลย จำเลยจึงมีอำนาจสั่งยึดที่ดินพิพาท อันเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ค่าภาษีอากรนั้นได้ และตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ทวิ ได้บัญญัติบังคับไว้ว่า "เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัด ตามมาตรา 12 แล้ว ห้ามผู้ใดทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว" ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยถอนการยึดที่ดินพิพาทดังกล่าว

 

 

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่  4538/2533

 

                      กรมสรรพากร กับพวก ................................................โจทย์

 

                      นายไกรวุฒิ วสุนิรชร ..................................................จำเลย

 

                      เรื่อง ฝากทรัพย์ไม่มีบำเหน็จ

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แพ่ง ฝากทรัพย์ไม่มีบำเหน็จ (ม.659) วิธีพิจารณาความแพ่ง อำนาจฟ้อง (ม.55) พระราชบัญญัติ ประมวลรัษฎากร (ม.2, 12)

 

                      โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 เป็น หัวหน้าเขตบางเขน (ตำแหน่งเดียวกับนายอำเภอ) มีร้อยตรีวิจิต เวชรังษี เป็นหัวหน้าเขตโจทก์ที่ 3 รับราชการในตำแหน่งสมุห์บัญชี เขตบางเขน บริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง(1980) จำกัด ได้ค้างชำระ ภาษีการค้าโจทก์ที่ 1 จำนวน 3,748,771.70 บาท โจทก์ที่ 2 อาศัย อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีคำสั่งยึดทรัพย์และ ประกาศยึดทรัพย์ที่ 115/2524 และ 116/2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524แต่งตั้งให้โจทก์ที่ 3 และนายอาคม คุ้มทอง ไปทำการยึดทรัพย์ ของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2524 โจทก์ที่ 3 และนายอาคมได้นำประกาศยึดทรัพย์ดังกล่าวไปทำการ ยึดทรัพย์ของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง(1980) จำกัด รวม 57 รายการ ในวันเดียวกันนั้น จำเลยได้ทำสัญญารับฝากทรัพย์โดยเป็นผู้ดูแลรักษา ทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ภายในอาคารที่ทำการบริษัทดังกล่าวทั้งหมด รวม 56 รายการ เป็นราคาทั้งสิ้น 1,274,425 บาท โดยไม่คิดค่าดูแลรักษาทรัพย์ ในระหว่างอายุสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังสงวน ทรัพย์สินที่รับฝากดังกล่าวเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง เป็นเหตุให้ทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสามฝากไว้สูญหาย 40 รายการ รวมราคา 638,375 บาท ต่อมาวันที่ 18 เมษายน 2528 โจทก์ที่ 3 ได้บอกเลิกสัญญา และแจ้งให้จำเลยนำส่งทรัพย์สินที่จำเลยรับฝากไว้หรือชำระราคาต่อ โจทก์ทั้งสาม แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้พิพากษาบังคับจำเลยคืนหรือ ใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 638,375 บาท แก่โจทก์ทั้งสาม พร้อมด้วยดอกเบี้ย อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2524 โจทก์ที่ 3 และนายอาคมได้มาทำการยึดทรัพย์สินของบริษัท เสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ขณะนั้นกรรมการผู้มีอำนาจของ บริษัทไม่อยู่ไม่มีใครที่จะเซ็นรับหมายไว้ โจทก์ที่ 3 และนายอาคมจึงแจ้ง ให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายทั่วไปเป็นพนักงานฝ่ายทั่วไปเป็นผู้รับหมาย ประกาศยึดทรัพย์ไว้แทนบริษัท เพื่อที่จะนำไปให้กรรมการผู้มีอำนาจของ บริษัทต่อไปในครั้งแรกจำเลยไม่ยอมเซ็นชื่อ แต่โจทก์ที่ 3 และนายอาคม แจ้งแก่จำเลยว่าเป็นเพียงการรับหมายไว้แทนเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบ ใด ๆทั้งสิ้นเพราะไม่มีค่ารับฝาก เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจมาก็นำหมายให้ ความรับผิดชอบต่าง ๆ บริษัทจะเป็นผู้ดูแลเอง จำเลยจึงยอมเซ็นชื่อตาม บันทึกข้อความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โดยโจทก์ที่ 3 หรือนาย อาคมเป็นผู้เขียนข้อความเองทั้งหมด จำเลยไม่ทราบว่าบัญชีทรัพย์สิน ต่อท้ายประกาศยึดทรัพย์จะมีอะไรบ้างและมีราคาเท่าใด เพราะโจทก์ที่ 3 มิได้ให้จำเลยตรวจดูหรือมีการตีราคากันแต่อย่างใด จำเลยมิได้มี เจตนาจะเป็นผู้รับฝากทรัพย์ สัญญาฝากทรัพย์จึงเป็นโมฆะต่อมาเมื่อ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด มาที่บริษัท จำเลยก็ได้มอบหมายประกาศยึดทรัพย์และคำสั่งยึดทรัพย์ ให้ไป หลังจากนั้น กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทก็จัดการดูแล โดยปิด ประตูใส่กุญแจอาคารที่ถูกยึด และบรรดาทรัพย์สินภายในอาคารนั้น ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์2525 จำเลยได้รับแจ้งจากบริษัทว่าทรัพย์สิน ถูกโจรกรรมไปหลายรายการ และได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อไว้แล้วจำเลยจึงได้แจ้งให้โจทก์ที่ 3 ทราบ โจทก์ที่ 3 แนะนำให้จำเลยทำหนังสือถึงหัวหน้าเขตบางเขน ดังนั้น ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2525 จำเลยจึงได้ทำหนังสือแจ้งให้หัวหน้า เขตบางเขนทราบและให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้ารักษาทรัพย์เอง แต่หัวหน้า เขตบางเขนเพิกเฉยหากศาลฟังว่าจำเลยได้รับฝากทรัพย์จริง จำเลย ก็ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากจำเลยได้รักษาทรัพย์อย่างดีแล้วเสมือนเป็น ทรัพย์จริง จำเลยก็ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากจำเลยได้รักษาทรัพย์อย่างดี แล้วเสมือนเป็นทรัพย์ของตนเอง ทรัพย์สินหายไปโดยเกิดจากการ โจรกรรม และได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามโจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน โจทก์ทั้งสามฎีกา 

                    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันและไม่โต้ เถียงกันฟังได้ว่าบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ค้างชำระ ภาษีการค้าแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ตามเอกสารหมาย ป.จ.1 โจทก์ที่ 3 ในฐานะสมุห์บัญชีเขตบางเขนมีหนังสือแจ้งให้บริษัท ดังกล่าวนำเงินภาษีที่ค้างมาชำระ ตามเอกสารหมาย ป.จ.2 แต่บริษัท ไม่ยอมชำระ โจทก์ที่ 3 จึงทำบันทึกข้อความเสนอหัวหน้าเขตบางเขน (โจทก์ที่ 2) และได้รับอนุมัติให้ดำเนินการยึดทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว ขายทอดตลาดใช้ค่าภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ตามเอก สารหมาย ป.จ.3 ต่อจากนั้นได้มีการไปสำรวจทรัพย์สินของบริษัทนี้ และ บันทึกไว้ตามเอกสารหมาย ป.ล.1 ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2524 โจทก์ที่ 2 ได้มีคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศยึดทรัพย์ โดยตั้งให้โจทก์ ที่ 3 และนายอาคม คุ้มทอง ผู้ช่วยสมุห์บัญชีเขตบางเขนเป็นผู้ไปทำการ ยึดทรัพย์ตามเอกสารหมาย ป.จ.4 ครั้นวันที่ 26 มิถุนายน 2524 โจทก์ที่ 3 และนายอาคมจึงไปทำการยึดทรัพย์ของบริษัทเสกสรรเทป แผ่นเสียง(1980) จำกัด ณ ที่ทำการบริษัทแต่ไม่พบผู้จัดการบริษัท พบแต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายทั่วไปของบริษัท โจทก์ที่ 3 ได้มอบ ประกาศยึดทรัพย์ ฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524 พร้อมบัญชีทรัพย์ ที่ยึดให้จำเลย และทำบันทึกข้อความให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ โดยมี ข้อความสำคัญว่า "ข้าฯ ได้รับหมายประกาศฉบับดังกล่าวนี้แล้ว ขอรับว่าจะนำไปมอบให้คณะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทฯ ได้ รับทราบต่อไป และทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ภายในอาคารนั้น ทางข้าฯ จะ รักษาทรัพย์ให้เสมือนของบริษัทฯ เองจะช่วยรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้ โดยไม่คิดค่ารักษาดูแล...." ปรากฏตามเอกสารหมาย ป.จ.5 ทรัพย์ ที่ยึดในวันดังกล่าวมี 56 รายการ รวมราคา 1,274,245 บาท ตาม เอกสารหมาย ป.จ.6 เมื่อทราบถึงการยึดทรัพย์แล้วไม่กี่วันบริษัท เสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ได้ปิดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน ทั้งหมดรวมทั้งจำเลยอาคารบริษัทซึ่งเป็นที่เก็บทรัพย์ที่ยึด ผู้จัดการปิด ใส่กุญแจไว้ และถือกุญแจไว้เอง ต่อมาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2525 และ วันที่ 21 สิงหาคม 2525 มีผู้แทนของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อว่าทรัพย์สิน ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรยึดไว้นั้น ได้สูญหายไปบางส่วนปรากฏตาม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 จำเลยเอง ก็ได้มีหนังสือถึงหัวหน้าเขตบางเขนว่า ทรัพย์สินหลายอย่างถูกโจรกรรม ไป ปรากฏตามเอกสารหมาย ป.ล.2 โจทก์ที่ 3 จึงได้ไปสำรวจทรัพย์สิน ที่หายไปและบันทึกไว้ตามเอกสารหมาย ป.จ.7 และแจ้งให้จำเลยส่ง ทรัพย์สินหรือใช้ราคา ตามเอกสารหมาย ป.จ.9 และ ป.จ.10 จำเลยมี หนังสือตอบไปว่า ได้รักษาทรัพย์เสมือนเป็นทรัพย์ของจำเลยเองแล้ว แต่ถูกโจรกรรมไป ไม่สามารถคืนให้ได้ ปรากฏตามเอกสารหมาย ป.ล.3 คดีมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกา ตามฎีกาของโจทก์ทั้งสาม 2 ประเด็น คือ 

                    1. โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 

                    2. จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด 

                    สำหรับประเด็นข้อ 1 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหัวหน้า เขตบางเขน เป็นผู้ออกคำสั่งยึดทรัพย์สินของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดเอาเงินไปชำระค่าภาษีอากร ค้าง ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีอำนาจทำได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ประ กอบด้วยมาตรา 2ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ที่ 3 เป็นสมุห์บัญชี เขตบางเขน เป็นผู้ออกไปยึดทรัพย์สินของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ตามคำสั่งของโจทก์ที่ 2 และในการยึดนั้นโจทก์ที่ 3 ได้มอบทรัพย์สินที่ยึดไว้กับจำเลย โดยทำบันทึกให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ตามเอกสารหมาย ป.จ.5 ซึ่งโจทก์ทั้งสามถือว่า การปฏิบัติเช่นนี้เป็น การฝากทรัพย์ ศาลฎีกาเห็นว่า การปฏิบัติดังกล่าวของโจทก์ที่ 3 นอกจากจะเป็นการกระทำการแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโจทก์ที่ 2 ในนามของตนเอง ซึ่งต้องรับผิดชอบเองอยู่ในตัวด้วย เพราะการที่โจทก์ที่ 3 มอบทรัพย์สิน ที่ยึดไว้กับจำเลยนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นส่วนหนึ่งของการยึด ทรัพย์สินตามคำสั่งของโจทก์ที่ 2 นั่นเอง ฉะนั้นเมื่อจำเลยไม่ยอมคืน ทรัพย์ดังกล่าว โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่สามารถเสนอต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ บังคับบัญชาให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้นั้นได้ และ โจทก์ที่ 2 ก็ต้องเสียหายด้วยที่ไม่อาจขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ออก คำสั่งยึดไว้แล้วเพื่อเอาเงินชำระค่าภาษีอากรค้างตามอำนาจที่มีอยู่ดังนี้ ทั้งโจทก์ที่ 2 ในฐานะหัวหน้าเขต และโจทก์ที่ 3 ในฐานะสมุห์บัญชี เขตผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าเขต ต่างถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว จึงมี อำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฐานะของตน ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องและศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อนี้ฟังขึ้น 

                    ส่วนประเด็นข้อ 2 ที่ว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด นั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หลังจากได้รับคำสั่งจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ที่ 3 กับ นายอาคม คุ้มทอง ได้ออกไปยึดทรัพย์สินของบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980) จำกัด ในการยึด โจทก์ที่ 3 ได้มอบประกาศยึดทรัพย์พร้อม ด้วยบัญชีทรัพย์ที่ยึดให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายทั่วไปของบริษัท กับ ทำบันทึกให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ โดยมีข้อความว่าจำเลยรับทราบหมาย ประกาศยึดทรัพย์ และรับจะนำไปมอบให้คณะกรรมการผู้มีอำนาจของ บริษัทต่อไป ทั้งรับว่าทางจำเลยจะรักษาทรัพย์นั้นไว้ เสมือนเป็นของ บริษัทเอง โดยไม่คิดค่ารักษาดูแลปรากฏตามเอกสารหมาย ป.จ.5 ต่อมาเมื่อทรัพย์สินที่ถูกยึดถูกโจรกรรม ทางบริษัทแจ้งความไว้ที่สถานี ตำรวจนครบาลบางซื่อ จำเลยก็ได้หนังสือแจ้งหัวหน้าเขตบางเขตทราบ ตามเอกสารหมาย ป.ล.2 เมื่อโจทก์ที่ 3 ทวงถามให้จำเลยส่งทรัพย์สิน ที่รับฝากไว้คืน จำเลยก็มีหนังสือตอบไปว่า ได้รักษาทรัพย์ไว้เสมือนเป็น ทรัพย์ของตนเองแล้ว แต่ถูกโจรกรรมไป จึงไม่สามารถคืนให้ได้จาก พฤติการณ์ที่โจทก์ที่ 3 ปฏิบัติต่อจำเลย และที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวแล้ว ฟังได้ว่า โจทก์ที่ 3 ยึดทรัพย์สินของบริษัท เสกสรรเทปแผ่นเสียง(1980) จำกัด แล้วฝากให้จำเลยดูแลรักษาไว้ โดยไม่มีบำเหน็จ และจำเลยก็ตกลงรับฝากตามนั้น เมื่อทรัพย์ที่รับฝาก ไว้บางส่วนหายไปโดยถูกโจรกรรม จำเลยจะแก้ตัวว่าไม่ได้รับฝากเพียง แต่รับคำสั่งยึดทรัพย์ไปมอบให้แก่คณะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เท่านั้น หาได้ไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้รับฝากทรัพย์ไว้โดยไม่มีบำเหน็จเช่นนี้ จำเลยก็จำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่ฝากนั้นเหมือนเช่นเคย ประพฤติในกิจการของตนเอง ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 659 ในข้อนี้โจทก์เหมือนเช่นทรัพย์สินของจำเลยเอง โดยเมื่อบริษัทเสกสรรเทปแผ่นเสียง (1980)จำกัด ปิดกิจการ เลิกจ้าง พนักงานทั้งหมด เป็นเหตุให้ตัวจำเลยและพนักงานอื่นไม่สามารถเข้าไป ในตัวอาคารได้ จำเลยควรจะแจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้นำ ทรัพย์สินที่ยึดไปเก็บรักษาไว้เอง แต่จำเลยก็เพิกเฉยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินถูกโจรกรรมสูญหายไป และกรณีมิใช่เป็นเหตุสุด วิสัยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ พิเคราะห์ฎีกาของโจทก์ทั้งสามใน ข้อนี้แล้ว เห็นว่าจำเลยเป็นพนักงานฝ่ายทั่วไปของบริษัทที่ถูกยึดทรัพย์ มีอายุ 40 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีหน้าที่ในบริษัทคือ ติดต่อนักร้องและนักดนตรีกับทำงานอื่นตามที่ผู้จัดการมอบหมาย ซึ่งโจทก์ที่ 3 รู้ฐานะของจำเลยแล้วก็ยังมอบให้จำเลยแล้วก็ยังมอบให้ จำเลยเป็นผู้รับฝากทรัพย์นั้น เมื่อทางบริษัทสั่งปิดกิจการและเลิกจ้าง พนักงานทั้งหมดแล้วผู้จัดการได้ปิดตัวอาคารบริษัทซึ่งเก็บทรัพย์ที่ยึด ลั่นกุญแจ และถือลูกกุญแจไว้พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้จำเลยซึ่ง เป็นผู้มีความรู้น้อยและมีฐานะเป็นเพียงพนักงานผู้น้อย เข้าใจว่า ผู้จัดการได้ให้ความร่วมมือในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่โจทก์ที่ 3 ฝากไว้เป็นอย่างดีแล้ว และคงจะเห็นว่า วิธีการเก็บรักษาเช่นที่กล่าวนั้น สามารถให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินเหล่านั้นอย่างเพียงพอแล้วไม่ จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ที่ 3 ทราบ เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เอง อนึ่ง โดย ที่จำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจในบริษัท แต่ผู้จัดการเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจในบริษัท ถ้าหากว่าจำเลยจะต้องทรัพย์สินของจำเลยเองไว้ในตัวอาคารบริษัท ให้ได้รับความปลอดภัยแล้ว จำเลยก็จำต้องพึ่งพาความร่วมมือของผู้ จัดการเช่นเดียวกัน การที่บริษัทปิดกิจการเลิกจ้างพนักงานทุกคนรวม ทั้งจำเลย และผู้จัดการปิดอาคารบริษัทปิดกิจการเลิกจ้างพนักงานทุก คนรวมทั้งจำเลย และผู้จัดการปิดอาคารบริษัทซึ่งเก็บทรัพย์ที่ยึดลั่น กุญแจไว้ แต่จำเลยยังคงปล่อยให้ทรัพย์ที่ยึดคงอยู่ในอาคารนั้นโดยไม่ ได้แจ้งโจทก์ที่ 3 ผู้ฝากทรัพย์ทราบเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เองนั้น จึงเป็น พฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินฝาก เหมือนเช่นที่เคยประพฤติในกิจการของตนเองและนับว่าจำเลยได้ปฏิบัติ หน้าที่ผู้รับฝากด้วยความระมัดระวังตามสมควรแก่ฐานะของจำเลยแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ทรัพย์ที่สูญหายไปจะมีราคาเท่าไรจึงไม่จำ เป็นต้องวินิจฉัย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย" 

                    พิพากษายืน 

                    (สวิน อักขรายุธ เธียร ยูงทอง ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

คำพิพากษาฎีกาที่  2023/2538

 

                      นายสุชัย ตียหิรัญวัฒนา

โจทย์

                      กรมสรรพากร กับพวก

จำเลย

                      เรื่อง เพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาท

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป.รัษฎากร (มาตรา 12) วิธีพิจารณาความแพ่ง   โต้แย้งสิทธิ (มาตรา 55)

                      โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับผิดชอบราชการในจังหวัดเชียงใหม่ มีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 34168 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2530 จำเลยที่ 2 ในฐานะปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ ถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน และมิใช่เป็นผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรจำเลยที่ 2 กระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีอำนาจตามกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้บังคับจำเลยทั้งสองถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 34168 ภายใน7 วัน นับแต่วันมีคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสองเพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายวันละ 300 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะเพิกถอนคำสั่งอายัด

                      จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงเนื่องจากโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตเป็นการฉ้อฉล จำเลยที่ 2 สั่งอายัดที่ดินพิพาทตามอำนาจหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรโดยสุจริต มิได้กระทำในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ออกคำสั่งอายัดดังกล่าว โจทก์กล่าวอ้างว่าเสียหายวันละ 300 บาท ไม่เป็นความจริง โจทก์ทราบเหตุคดีนี้เกินกว่า 1 ปี โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อขาดอายุความแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

                      ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัด ห้ามทำนิติกรรมใด ๆในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 34168 ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง คำขออื่นให้ยก

                      จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

                      ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

                      จำเลยทั้งสองฎีกา

                      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เดิมที่ดินพิพาทซึ่งถูกจำเลยที่ 2 มีคำสั่งอายัดโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นของนายสนธยา อินตายนต์ ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรแก่จำเลยที่ 1 นายสนธยาได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ในวันที่ 14เมษายน 2530 จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉล จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับนายสนธยา ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างฎีกา ปัญหาตามฎีกาจำเลยทั้งสองข้อแรกมีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หรือไม่ เห็นว่า คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาฎีกาจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้น    ปัญหาตามฎีกาจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า จำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งอายัดที่ดินพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ตามคำสั่งอายัดของจำเลยที่ 2 เอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 2 อ้างอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 และความตามบทบัญญัติ ดังกล่าววรรคสองบัญญัติว่า เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าว อธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้  และในวรรคสามของมาตราดังกล่าวบัญญัติให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสองตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ชัดว่ากฎหมายให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของนายสนธยา จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าได้มีการฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนโดยฉ้อฉลระหว่างโจทก์กับนายสนธยาแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าผลคดีถึงที่สุดได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนแล้ว เมื่อปัจจุบันโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ได้แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และนายสนธยาขอให้เพิกถอนการโอนโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม เพราะไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนให้อำนาจำเลยที่ 2 กระทำได้ คำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเอกสารหมายจ.2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

                      สำหรับปัญหาตามฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า ที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดด้วยเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่พิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของจำเลยที่ 2 ด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังขึ้น"

                      พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

                      (ปราโมทย์ ชพานนท์ - อุระ หวังอ้อมกลาง - เสริม บุญทรงสันติกุล)

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/1433

 

 

วันที่

: 18 กุมภาพันธ์ 2545

 

 

เรื่อง

: ขอพระราชทานพระมหากรุณา

 

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12, มาตรา 30

 

 

ข้อหารือ

: นาง ส. ได้นำที่ดินอยู่อาศัยและทำกิน น.ส.3 ก. เนื้อที่ 43-0-63 ไร่ ซึ่งติดจำนอง
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พร้อมที่ดินที่ครอบครองทำประโยชน์เกิน น.ส.3 ก. อีก
9-1-37
ไร่ ไปทำสัญญาจะซื้อขายกับนาย จ. ราคาไร่ละ 25,000 บาท จากนั้น นาย จ. ได้ให้เงิน
จำนวนหนึ่งเพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองที่ดิน เงินส่วนที่ค้างจะจ่ายให้ในวันโอนที่ดิน ต่อมาเมื่อ จดทะเบียน
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเรียบร้อยแล้ว นาย จ. กลับผิดนัดการชำระเงินส่วนที่เหลือโดยอ้างเหตุต่าง ๆ
ปัจจุบันครอบครัวได้รับความเดือดร้อนมาก เนื่องจากสำนักงานสรรพากรจังหวัดได้ดำเนินการยึดทรัพย์
โดยอ้างเหตุค้างชำระค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากการทำนิติกรรมขายที่ดินแปลงพิพาท ด้วยเหตุดังกล่าว
จึงประสงค์ที่จะขอพระราชทานพระมหากรุณาเพื่อให้ได้รับเงินจำนวนที่ค้างชำระจากผู้ซื้อที่ดิน จึงขอให้มี
การถอนคำสั่งยึดทรัพย์ พร้อมทั้งให้ทางราชการจัดสรรที่ดินสำหรับประกอบอาชีพตามนโยบายแก้ไขปัญหา
ความยากจนด้วย

 

 

แนววินิจฉัย

: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร ราย นาง ส. มีดังนี้
1.
นาง ส. ได้ถูกตรวจพบว่าทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทขายที่ดินตาม
น.ส.3 ก. เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2538 โดยขายให้กับนาย อ. แสดงราคาทุนทรัพย์ที่ขอทำ นิติกรรม
เป็นจำนวนเงิน 430,000 บาท กรมที่ดินจึงประเมินราคาทุนทรัพย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็น
จำนวนเงิน 431,575 บาท และเรียกเก็บอากรแสตมป์เป็นจำนวนเงิน 2,158 บาท ต่อมาปรากฏว่า
นาง ส. ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่าได้รับเงินค่าขายที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 1,075,000 บาท
และนาย อ. ยอมรับข้อเท็จจริงว่าได้ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน
1,078,937.50
บาท สำนักงานที่ดินจังหวัดชัยนาทจึงส่งข้อมูลให้สำนักงานสรรพากรจังหวัดชัยนาททำ
การตรวจสอบเมื่อปี 2542
2.
สำนักงานสรรพากรจังหวัดได้ทำการตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ และเห็นว่า นาง ส. ได้
ชำระค่าอากรไว้ขาดไป จึงได้มีหนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรลงวันที่ 28 มิถุนายน 2542
โดยแจ้งให้นาง ส. ชำระค่าอากรเพิ่มเติมจำนวน 3,237 บาท และค่าเพิ่มอากรตามมาตรา 114(2)
(
ข) แห่งประมวลรัษฎากร อีกเป็นจำนวน 6 เท่า เป็นเงิน 19,422 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 22,659
บาท
3.
เมื่อนาง ส. ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้วมิได้นำเงินมาชำระแต่อย่างใด และจากการ
สอบสวนทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรพบว่ามีบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จึงใช้อำนาจ
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ทำการอายัดบัญชีเงินฝากธนาคาร ดังกล่าว แต่ปรากฏว่าไม่มีเงิน
ในบัญชีและภายหลังจากที่ได้รับคำสั่ง ก็มิได้นำส่งเงินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้างแต่อย่างใด
ดังนั้น กรณีตามข้อเท็จจริงเมื่อนาง ส. ได้ถูกสำนักงานสรรพากรจังหวัดชัยนาทแจ้งให้เสียค่า
อากรและค่าเพิ่มอากรเพิ่มเติม และนาง ส. มิได้นำเงินมาชำระภาษีตามการประเมินเรียกเก็บเมื่อถึง
กำหนดชำระแล้ว จึงถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีกรมสรรพากรในเขตท้องที่จังหวัดสั่งยึดหรืออายัดและ
ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ตามมาตรา
12
วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทได้มี
คำสั่งอายัดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของนาง ส. จึงเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
ดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ดี เนื่องจากนาง ส. ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานประเมินแล้ว
ดังนั้น หากนาง ส. ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ก็มีสิทธิคัดค้านการประเมินได้
โดยต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี
ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร และหากผู้เสียภาษีอากรมิได้อยู่ในประเทศไทย หรือมีเหตุจำเป็น
จนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาอุทธรณ์ได้ ก็สามารถยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากร
ณ สำนักงานสรรพากรภาค 4 เพื่อขอขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์ ตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่ง
ประมวลรัษฎากร

 

 

เลขตู้

: 65/31266

 

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/ก.592

 

 

วันที่

: 18 กันยายน 2543

 

 

เรื่อง

: การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร

 

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

 

 

ข้อหารือ

: การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์
เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือ และได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อผู้ค้างฯ ได้มีหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัด โดยยังมิได้
จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่วัดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงยังไม่
ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดแต่อย่างใด เมื่อที่ดินยังไม่เป็นที่วัด จึงไม่ถือเป็นทรัพย์สินของวัด ซึ่งไม่อยู่ใน
ความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 จึงไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องห้ามยึดตามข้อ 8(1)(ง)
ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่ง
ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 เจ้าพนักงานจึงมีอำนาจยึดที่ดินแปลงดังกล่าวได้

 

 

แนววินิจฉัย

: กรณีผู้ค้างฯ ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัด ณ ที่ว่าการอำเภอ ถือว่าผู้ค้างฯ ได้แสดง
ความจำนงจะให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อสร้างวัด ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินเพื่อใช้สำหรับ
สร้างวัดตามเจตนาของผู้อุทิศทันที โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามมาตรา 525 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกแต่ประการใด เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของวัดแล้ว จึงไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และเป็นทรัพย์สินที่ต้องห้าม
ยึดตามข้อ 8(1)(ง) ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา
12
แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจยึดที่ดินแปลงดังกล่าว

 

 

เลขตู้

: 63/29814

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 7729/2540

 

                      นายสาธิต สยามรัตนกิจ

โจทก์

                      กรมสรรพากร กับพวก

จำเลย

                      เรื่อง งดการขายทอดตลาดที่ดินในระหว่างพิจารณาคดี

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิธีพิจารณาความแพ่ง  ขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา (มาตรา 264),

                                 ป.รัษฎากร (มาตรา 12)

                     คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ไม่อนุมัติให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า และขอให้มีคำสั่งขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ต่อมาโจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณา ความว่า จำเลยที่ 1ได้ยึดทรัพย์คือที่ดินของโจทก์รวม 22 โฉนด และได้ขายทอดตลาดไปแล้ว 5 โฉนด ทั้งกำลังจะขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวที่เหลือต่อไปทำให้โจทก์เสียหาย จึงขอให้เพิกถอนการยึดหรือให้จำเลยที่ 1 งดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ศาลภาษีอากรกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์จำนวน 17 แปลงที่เหลือไว้ในระหว่างพิจารณาและมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีทราบ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์มีว่า มีเหตุตามกฎหมายให้โจทก์ขอให้ศาลใช้วิธีคุ้มครองให้งดขายทอดตลาดที่ดินส่วนที่เหลือที่ถูกนายอำเภอยึดตามฟ้องในระหว่างพิจารณาคดีได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาหนังสือตามที่โจทก์ขออนุมัติขยายเวลายื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 และคำขออุทธรณ์ประเมินภาษีอากรของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 และ 12 ประกอบข้อเท็จจริงข้างต้นแล้วได้ความเพียงว่า โจทก์ไม่มีเจตนาหลบหลีกการรับใบแจ้งภาษีอากรการประเมินของเจ้าพนักงานจำเลยที่ 1 และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงชำระภาษีอากรเท่านั้น มิได้ปฏิเสธค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานจำเลยที่ 1 ประเมินที่ได้แจ้งให้โจทก์ชำระว่ายังไม่ถึงกำหนดแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิเสธในเหตุนี้แสดงให้เห็นว่าโจทก์รับว่าได้ค้างชำระค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระแก่จำเลยที่ 1 แล้วจริง แต่จะถูกต้องตามที่เจ้าพนักงานจำเลยที่ 1 ประเมินหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ซึ่งในเหตุนี้ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ได้บัญญัติว่า "ภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสองภายในเขตท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้นจะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี..." ซึ่งเห็นได้ว่านายอำเภอในท้องที่นี่ได้ใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรดังกล่าวข้างต้นสั่งยึดทรัพย์สินที่ดินของโจทก์ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจในเหตุที่ว่านี้มีสิทธิขอให้ศาลใช้วิธีคุ้มครองโดยให้งดการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 ในระหว่างขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือในระหว่างพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 แต่อย่างใด ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือตามที่นายอำเภอสั่งยึดตามฟ้อง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12จึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ เพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลังเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องโจทก์มานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
(
สุชาติ ถาวรวงษ์ - ยงยุทธ ธารีสาร - สันติ ทักราล)

 

คำพิพากษาฎีกาที่8296/2543

 

                      นายธนากร เกียรติเลิศพงศา

โจทก์

                      กรมสรรพากร

จำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป.รัษฎากรฯ (มาตรา 12,30 (2),31) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ (มาตรา 8)

                   โจทก์ฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งไม่มีกฎหมายระบุให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีเหมือนการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี ซึ่งโจทก์จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ประกอบมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอนจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลฎีกาสามารถวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

                      โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 31 แห่ง ป.รัษฎากรฯ นั้น การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากรฯ การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว 

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811(กม)/452

 

 

วันที่

: 25 มีนาคม 2542

 

 

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีธนาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัด

 

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12, มาตรา 35 ทวิ

 

 

ข้อหารือ

: กรณีธนาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัด ราย บริษัท ก จำกัด สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้
บริษัท ก จำกัด สำนักงานตั้งอยู่จังหวัดสงขลา ได้ค้างชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ
ที่จ่ายและภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามหนังสือแจ้งการประเมิน ลงวันที่ 15 มีนาคม 2536 จำนวนเงิน
1,691,887.60
บาท และลงวันที่ 29 เมษายน 2536 จำนวนเงิน 2,425,830 บาท รวมทั้งสิ้นเป็น
เงิน 4,117,717.60 บาทต่อมาบริษัทฯ ได้อุทธรณ์ขอลดเบี้ยปรับ จำนวน 2,425,830 บาท ตาม
ใบแจ้งการประเมินลงวันที่ 29 เมษายน 2536 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์
(
ภ.ส.7) ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2537 ให้ลดเบี้ยปรับดังกล่าวคงเรียกเก็บจำนวน 1,212,915 บาท และ
บริษัทฯ ได้ชำระภาษีบางส่วน คงเหลือภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น 2,853,597 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตาม
กฎหมาย)
เจ้าพนักงานฯ ได้ดำเนินการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรตามระเบียบฯ แล้ว ปรากฏว่าบริษัทฯ มี
ทุนจดทะเบียน 4,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 40,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท มี
ผู้ถือหุ้นทั้งหมด 134 คน เรียกชำระค่าหุ้นไว้แล้วเพียงร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นยังคง
ค้างชำระหุ้นเป็นเงิน 3,000,000 บาท และบริษัทฯ มีบัญชีเงินฝากธนาคาร จำนวน 14 บัญชี
จำนวนเงินรวม 30,709,909.33 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งอายัดไว้แล้ว แต่ทุกบัญชีติดภาระผูกพัน
ตามเงื่อนไขสัมปทานกับกรมป่าไม้เจ้าพนักงานแจ้งให้ธนาคารนำส่งเงินภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พ้นภาระ
ผูกพันกับกรมป่าไม้ สำนักงานสรรพากรจังหวัด ได้พิจารณาแล้วเห็นควรพิจารณาดำเนินคดีล้มละลาย กับ
บริษัท ก จำกัด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

 

 

แนววินิจฉัย

: ภาระผูกพันตามเงื่อนไขสัมปทานระหว่างบริษัท ก จำกัด กับ กรมป่าไม้ เป็นข้อตกลง
ระหว่างคู่สัญญา ไม่ผูกพันกรมสรรพากร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ในการอายัดสิทธิเรียกร้องของบริษัทฯ ใน
บัญชีเงินฝากธนาคาร ข จำกัด สาขาหาดใหญ่ ดังนั้น ธนาคารฯ ต้องนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดให้
กรมสรรพากร เมื่อธนาคารฯ ไม่นำส่งเงินตามคำสั่งอายัด จังหวัดฯ ต้องดำเนินการตาม
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สิน ตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.
2539
ข้อ 12 การคัดค้านคำสั่งอายัด กล่าวคือ ออกคำสั่งเตือนให้ธนาคารฯ ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดอีก
ครั้งหนึ่ง ถ้ายังดื้อดึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดให้จังหวัดฯ ดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 35 ทวิ แห่ง
ประมวลรัษฎากร และในขณะเดียวกันก็ให้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องบังคับให้ธนาคารนำส่งเงินตามคำสั่ง
อายัด ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ต่อไป

 

 

เลขตู้

: 62/27736

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่3691/2545

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

                      ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิรสินทรัพย์ ที่ 1 กับพวก

จำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11

                     คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 65/2539

                    หนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรก และการที่นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นการกระทำเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวมีหลายจำนวนและกรณีที่มีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเงินเพิ่ม หรือเบี้ยปรับ กรณีจึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน ส่วนที่โจทก์อ้างว่าการชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษี เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วนตามข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรบางส่วน โดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการ

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0706/6982

วันที่

: 22 กรกฎาคม 2547

เรื่อง

: การอายัดเงินค้ำประกันสัญญาจ้าง

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: ขอหารือเรื่องส่งคำสั่งอายัดทรัพย์สินให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อนำส่งเงินค้ำประกัน
การปฏิบัติตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดแจ้งว่ายังไม่
สามารถนำส่งเงินค้ำประกันตามคำสั่งอายัดได้ โดยอ้างว่าห้างฯ ยังมีข้อผูกพันตามสัญญาซึ่งต้องรับประกัน
ความชำรุดบกพร่องของงานตามระยะเวลาที่กำหนด สิทธิเรียกร้องของห้างฯ ในเงินค้ำประกันดังกล่าว
ยังไม่เกิดจนกว่าจะพ้นระยะเวลาตามสัญญา องค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงมีสิทธิที่จะเก็บเงินประกันความ
ชำรุดบกพร่องได้จนกว่าจะหมดภาระการค้ำประกันตามหนังสือตอบข้อหารือของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่ง
กรณีดังกล่าวขัดแย้งกับการตอบข้อหารือของกรมสรรพากร เรื่อง การอายัดเงินประกันตามสัญญาจ้างของ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยงค์ก่อสร้างว่า เทศบาล (ผู้ว่าจ้าง) เป็นเพียงผู้ครอบครองเงินจำนวนนั้น (เงิน
ค้ำประกันสัญญา) ไว้และคืนให้แก่ห้างฯ ผู้รับจ้าง เมื่อสิ้นสุดสัญญาค้ำประกัน กรรมสิทธิ์ในเงินจำนวน
ดังกล่าวยังเป็นของห้างฯ กรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 12
แห่งประมวลรัษฎากร อายัดเงินจำนวนดังกล่าวและเทศบาลฯ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดที่ออกโดย
ชอบด้วยกฎหมาย

แนววินิจฉัย

: เงินค้ำประกันของห้างฯ ที่มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านครอบครองเป็นประกันความ
ชำรุดบกพร่องของงานตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง เป็นข้อตกลงทางแพ่งระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลผูกพัน
กรมสรรพากรซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านมิได้มีสิทธิยึดหน่วง
เงินประกันสัญญาของห้างฯ ตามมาตรา 241 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เงินค้ำประกันตาม
สัญญาดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของห้างฯ และห้างฯ มีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องรับผิดชำระต่อกรมสรรพากร
อธิบดีกรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรหรือผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา
12
แห่งประมวลรัษฎากร กับเงินประกันสัญญาซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างฯ เพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ที่
ห้างฯ ต้องรับผิดชำระและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดทรัพย์สินของห้างฯ
ดังกล่าวที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย

เลขตู้

: 67/33049

 

คำพิพากษาฎีกาที่445/2549

 

                      นางสาวสุขสันติ โกศัยเสวี

โจทก์

                      กรมสรรพากร

จำเลย

                     เรื่อง ภาษีธุรกิจเฉพาะ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) , มาตรา 12 , มาตรา 48 (4) , มาตรา 91/2 (6)

                     พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 176 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดี  ภาษีอากร พ.ศ. 2528  มาตรา 17

                    เจ้าพนักงานฯ ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2536 และภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2536 กรณีที่โจทก์ขายที่ดิน โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 30 (2) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ระหว่างพิจารณาคดีของศาลภาษีอากรกลาง โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ และศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น การ      ถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 จึงมีผลเท่ากับโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่งประมวลรัษฎากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะจึงเป็นยุติ โจทก์จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว

                    เจ้าพนักงานฯ ได้เรียกให้โจทก์ชำระภาษีแล้ว โจทก์ไม่ชำระจึงถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง เจ้าพนักงานฯ จึงมีอำนาจยึดที่ดินของโจทก์ขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวได้ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร

                    ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ใน คำพิพากษาฎีกาที่ 8321/2543 ว่า โจทก์ขายที่ดินพิพาทโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ศาลเห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าว เพราะในคำพิพากษาฎีกาที่ 8321/2543 ศาลวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าว มีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น สำหรับปีภาษีนั้นตามมาตรา       48 (4) แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น หาได้วินิจฉัยว่ากรณีการขายที่ดินพิพาทของโจทก์ไม่ใช่เป็นในทางค้าหรือหากำไรที่จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ทั้งยังได้วินิจฉัยต่อไปอีกว่า การขายอสังหาริมทรัพย์หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์      ขายที่ดินพิพาท ย่อมต้องถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทั้งสิ้น เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ให้ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/10047

วันที่

: 24 กันยายน 2542

เรื่อง

: การเร่งรัดภาษีอากร กรณีอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากร

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12, กฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2519)ฯ ข้อ 13

ข้อหารือ

: ตามที่สรรพากรภาค หารือการเร่งรัดภาษีอากร กรณีอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝาก
ธนาคาร โดยจังหวัดฯ ได้อายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี
เป็นของผู้ค้างภาษีอากรฝากเพื่อบุตรผู้เยาว์ ธนาคารฯ แจ้งว่าไม่สามารถนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดได้
เนื่องจากเป็นบัญชีเงินฝากเพื่อผู้เยาว์ขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2519) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการรับฝากเงินออมสิน จังหวัดฯ เห็นว่า
สิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารฯ ดังกล่าวสามารถอายัดได้เนื่องจากไม่ใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในบังคับ
แห่งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.
2539
และไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2519) ข้อ 13 แต่ประการใด
สรรพากรภาค เห็นว่า สิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารฯ เป็นสิทธิของผู้ค้าง
ภาษีอากร และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในบังคับแห่งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตาม
ความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2519 การอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารฯ
รายนี้ จึงกระทำได้ ส่วนกฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2519)ฯ นั้น ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการนำส่งเงิน
ตามคำสั่งอายัดแต่อย่างใด และตามข้อ 13 แห่งกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นเพียงข้อกำหนดเงื่อนไขในการ
ถอนเงินของผู้ฝากไว้เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์เท่านั้น การนำส่งเงินฝากตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงาน
จึงไม่ขัดต่อกฎกระทรวงฯ แต่อย่างใด จึงหารือความเห็นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย

: เห็นพ้องกับความเห็นของภาคฯ

เลขตู้

: 62/28356

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่5279/2548

 

 

                      กรมสรรพากร     

โจทก์

 

                      นางสมพร ชลสิทธิ์ ที่ 1 กับพวก รวม 5 คน

จำเลย

 

                      เรื่อง กองมรดก

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12

                               ประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1629 1635

                  คดีก่อนอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว เป็นคดีที่นายสมบูรณ์เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณา กับขอให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่หักไว้ ณ ที่จ่ายเกิน และยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีดังกล่าว ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2541 ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่คำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่นายสมบูรณ์เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวนั้น นายสมบูรณ์ยังไม่ได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน และนายสมบูรณ์ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมบูรณ์มีหน้าที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวของนายสมบูรณ์แก่โจทก์ โดยจะต้องนำทรัพย์สินกองมรดกของนายสมบูรณ์ที่ตกทอดแก่จำเลยทั้ง 5 มาชำระหนี้แก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยทั้ง 5 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนายสมบูรณ์มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรของนายสมบูรณ์แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับในคดีก่อน จริงอยู่แม้จำเลยทั้ง 5 อยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิของนายสมบูรณ์ผู้ตายดังความเห็นของศาลภาษีอากรกลางก็ตาม แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 5 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนายสมบูรณ์และรับผิดในหนี้ที่นายสมบูรณ์มีอยู่แล้ว แก่โจทก์ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาทโดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดให้แก่ตนตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ที่ ประชุมใหญ่ ของศาลฎีกายังเห็นต่อไปว่าแม้คดีที่นายสมบูรณ์เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าว ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19672541 ที่พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางและให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่นายสมบูรณ์โจทก์ในคดีแล้วทั้งหมด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดมาขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายสมบูรณ์ได้เองตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติ ดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายหนึ่งที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร ให้เป็นไปโดยด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่คืน อำนาจของอธิบดีโจทก์เช่นว่านี้แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปไม่ ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้ง 5 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์เช่นนี้ก็เพื่อให้ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของนายสมบูรณ์ที่จำเลยทั้ง 5 ต้องรับผิดแก่โจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้ง 5 เป็นคดีนี้ได้

 

                      โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 5 ให้รับผิดในฐานะทายาทของนายสมบูรณ์เจ้ามรดก และหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้ง 5 รับผิด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานได้ประเมินให้นายสมบูรณ์ชำระ นายสมบูรณ์ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว นายสมบูรณ์ก็ได้อุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางโดยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยขอให้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1697/2541 หนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างที่นายสมบูรณ์เป็นผู้หน้าที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรดังกล่าวโดยเด็ดขาดแล้ว และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีความผูกพันโจทก์คดีนี้และนายสมบูรณ์ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาในคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 นายสมบูรณ์จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรดังกล่าวได้อีก และในกรณีเช่นนี้จำเลยทั้ง 5 ในฐานะทายาทของนายสมบูรณ์ซึ่งต้องรับไปซึ่งทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง อันเป็นกองมรดกของผู้ตายและอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิในกองมรดกของนายสมบูรณ์ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานของโจทก์ดุจเดียวกัน เมื่อคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กับคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยที่ 3 ที่ 5 ล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้ง 5 ไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีที่จำเลยทั้ง 5 จะโต้เถียงให้ฟังแปรเปลี่ยนไปเป็นประการอื่นได้

                      เมื่อจำเลยทั้ง 5 เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายสมบูรณ์ผู้ตายซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของนายสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้ง 5 ในฐานะทายาทของนายสมบูรณ์ให้รับผิดในหนี้ของนายสมบูรณ์ได้ดังที่วินิจฉัยมาแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของนายสมบูรณ์จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใดหรือจำเลยทั้ง 5 ในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจสั่งยึดอายัดทรัพย์สินของนายสมบูรณ์ชำระหนี้ไปบ้างแล้วและมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของนายสมบูรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้ง 5 อาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดีต่อไป จำเลยทั้ง 5 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ของนายสมบูรณ์แก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลยทั้ง 5 ในฐานะของนายสมบูรณ์จึงต้องร่วมกันชำระเงินให้กับโจทก์ ทั้งนี้ความรับผิดของจำเลยทั้ง 5 ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดให้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601.

.

 

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0706/4886

 

 

วันที่

: 14 มิถุนายน 2548

 

 

เรื่อง

: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลภายนอกคัดค้านการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน

 

 

 

ประเด็นปัญหา

: มาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร

 

 

 

 

          นางสาว พ. ค้างชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เป็นจำนวนเงิน 198,000 บาท (รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) และจากการเร่งรัดภาษีอากรกรมสรรพากรได้มีคำสั่ง

ยึดกรรมสิทธิ์ในที่ดินของนางสาว พ. โฉนดเลขที่ 225086 เลขที่ 1623 หน้าสำรวจ 29252 ตั้งอยู่ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนาย ป. และนาง บ.

ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ต่อมาผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้ยื่นคำร้องคัดค้านการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยแจ้งว่าการค้างชำระภาษีอากรของนางสาว พ. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมมิได้รู้เห็นและมีผลประโยชน์ส่วนร่วมแต่อย่างใด

 

 

 

 

แนววินิจฉัย

          การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลอื่น กรมสรรพากรสามารถยึดและขายทอดตลาดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 7(1)(ก) ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการยึดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2545 และข้อ 14(7) ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2545

 

 

 

 

เลขตู้

: 68/33453

 

 

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811(กม)/937

 

 

วันที่

: 20 พฤษภาคม 2541

 

 

เรื่อง

: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเร่งรัดภาษีอากรค้าง

 

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

 

 

ข้อหารือ

: การเร่งรัดภาษีอากรค้าง รายห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. โดยนาย ข. หุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นหนี้
ภาษีอากรค้างจากการสอบสวนทรัพย์สิน พบว่า ผู้ค้างมีเงินฝากธนาคาร กรุงเทพ (มหาชน) จำกัด
บัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นเงิน 100,000 บาท ซึ่งธนาคารฯ อ้างว่าได้อายัดเงินฝากไว้เต็ม
จำนวน เพื่อทำหนังสือค้ำประกันสัญญาและผู้ค้างเป็นหนี้ธนาคารฯ ตามบัญชีกระแสรายวันจำนวน

 

 

แนววินิจฉัย

: การอายัดบัญชีเงินฝากดังกล่าว แม้ว่า ธนาคารฯ อ้างว่าได้อายัดเงินฝากดังกล่าวไว้เต็ม
จำนวนแล้ว เพื่อทำหนังสือค้ำประกันสัญญา และผู้ค้างเป็นหนี้ธนาคารฯ ก็ตามแต่ไม่เป็นการตัดสิทธิ
กรมสรรพากรในการที่จะอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าว เนื่องจากเป็นการอายัดสิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา
12
แห่งประมวลรัษฎากรและตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12
แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539

 

 

เลขตู้

: 61/26677

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2230/2544

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

                      นายนพพล  หรือเล็ก   มณีคุ้ม

จำเลย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร  มาตรา 12,  30

                     โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ และเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาคพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่ากรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นก่อนว่า โจทก์ยังมีสิทธิบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวหรือไม่  ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นโต้เถียงโดยตรง  แต่ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น  ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมมีผลกระทบถึงความสามารถ สถานะและทรัพย์สินของบุคคลนั้นทั้งในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ให้ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10  ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง  กรณีจึงถือว่าพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาถึงประเด็นดังกล่าวได้  ในมูลหนี้ภาษีตามฟ้อง  ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้าให้จำเลยทราบแล้ว  จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมิน  ถือว่าเป็นหนี้ภาษีอากรค้าง  อธิบดีกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 และมาตรา 30 ในการบังคับชำระหนี้  โจทก์ต้องดำเนินการภายใน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าว   แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินซึ่งลงวันที่ 30 มิถุนายน 2530  ในวันใด  แต่ว่าที่ร้อยตรีโสภณ  ศรีธนชัย พยานโจทก์ เบิกความว่า หลังจากเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้า ให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์  ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม 2530 จำเลยติดต่อขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าว  จึงแสดงว่าจำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินก่อนหรือภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมิน โจทก์สามารถเริ่มต้น ดำเนินการ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้างได้เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรค้างมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 นั้น  เป็นการล่วงเลยระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้แล้ว 
ส่วนการที่จำเลยได้ขอผ่อนชำระหนี้และชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ยังมีสิทธิบังคับชำระหนี้นั้นก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้และวิธีการในการชำระหนี้เท่านั้น  มิได้มีผลทำให้ระยะเวลาในการ บังคับชำระหนี้ของโจทก์ขยายออกไปแต่อย่างใด เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างที่โจทก์นำมาฟ้องนั้น  โจทก์หมดสิทธิในการบังคับชำระหนี้แล้ว  โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้  กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น  ที่ศาลล่างพิพากษายกฟ้องมานั้น  ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล  ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน




คำพิพากษาฎีกาที่ 136/2540

 

                     นายสุนันท์ ประเสริฐสม

โจทก์

                      กรมสรรพากร กับพวก  

จำเลย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12, 30

                             พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14, 77, 91, 135(3), 135(4),136

                     มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไป ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าเกิดขึ้นทุกเดือนภาษี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้า การประเมินภาษีอากรแจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วนถูกต้อง หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าเพิ่งเกิดขึ้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2526 จำเลยประเมินภาษีอากร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2526 และ 15 สิงหาคม 2527 และมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายโจทก์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2533 มูลหนี้ค่าภาษีอากรจึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือว่าจำเลยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 136 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติผลของการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135(3) และ(4) ไว้ แต่พิจารณาเห็นได้ว่าลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมด กรณีจึงไม่อาจนำเอามาตรา 77 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของโจทก์ ตามมาตรา 135(3) โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรตามมาตรา 12 แห่ง ป.ร.ก.

คำพิพากษาฎีกาที่ 7939/2542

 

                      กรมสรรพากร

โจทก์

                      บริษัทโฟร์โก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยนายนำพล ทองศรี 

จำเลย

                     ในฐานะผู้ชำระบัญชี

 

                     เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิธีพิจารณาความแพ่ง หน้าที่นำสืบ (มาตรา 84) ป.รัษฎากรฯ (มาตรา 12, 27, 30,

                             71 (1) )

                     โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวน 89,547,903 บาทแก่โจทก์ และให้จำเลยรับผิดในเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีจำนวน 53,288,899.20 บาท นับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ไม่เกินค่าภาษีค้าง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ระหว่างพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้แยกข้อหาของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 โดยให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่และเมื่อแยกข้อหาของโจทก์ดังกล่าวแล้ว โจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวน 18,043,685.51บาท แก่โจทก์และให้จำเลยรับผิดในเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของภาษีจำนวน 11,716,678.90 บาท นับแต่วันที่ 31พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ไม่เกินค่าภาษีค้าง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยโดยนายนำพล ทองศรีในฐานะผู้ชำระบัญชี ชำระเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 11,120,207.35 บาท พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีจำนวนดังกล่าวโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยห้าสิบวันที่นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ของจำเลย แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัย "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีแก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ได้โต้แย้ง และมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะถือว่าหนี้ภาษีดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอน ไม่อาจเปลี่ยนแปลงการประเมินได้หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกเป็นเงิน 203,749,318.83 บาท กับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีเป็นเงิน 18,642,143.13บาท และมูลค่าการส่งออกอีก 11,942,116.04 บาท รวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับดังกล่าวเป็นเงิน 11,716,678.90บาท   พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนตามมาตรา 27 จำเลยมิได้โต้แย้งการประเมินและมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้น แต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อให้รับฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาท ตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาท ตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาท ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
(
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ - ปราโมทย์ บุนนาค - ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์)

   คำพิพากษาฎีกาที่  4143/2532

 

 

                      กรมสรรพากร

โจทก

 

                      บริษัท ภัทรกิจ จำกัด กับพวก

จำเลย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1069

 

                      จำเลยเป็นนิติบุคคล ค้างชำระภาษีเงินได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยและผู้ถือหุ้นให้ร่วมกันชำระเงิน โดยผู้ถือหุ้นร่วมรับผิดเพียงไม่เกินเงินที่แต่ละคนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่แต่ละคน เป็นผู้ถือหุ้น มีข้อโต้แย้งเรื่องอายุความ เห็นว่าเมื่อแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งไม่นำเงินไปชำระ กฎหมายถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 การประเมินจึงมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับ การฟ้องคดี ดังนั้น การแจ้งประเมินย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นร่วมกับบริษัทรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1069 บัญญัติถึงผู้ถือหุ้นว่ารับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้น เท่านั้น เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติที่ให้คำนิยามว่าบริษัทจำกัดคืออะไร ไม่ใช่บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท ผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทฯ ค้างชำระต่อสิทธิกรมสรรพากร การที่ผู้ถือหุ้นไม่ชำระภาษีที่บริษัทฯ ค้างชำระต่อโจทก์ก็ไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดี มาฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระ แทนบริษัทฯ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

 



เลขที่หนังสือ

: กค 0811/03667

วันที่

: 22 เมษายน 2542

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีอากรค้าง กรณีการโอนสิทธิเรียกร้อง

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

ข้อหารือ

: กรณีการโอนสิทธิเรียกร้อง ปรากฏรายละเอียด ดังนี้
ห้างฯ มีสถานประกอบการตั้งอยู่จังหวัดชลบุรี จังหวัดฯ ประเมินภาษีอากร ดังนี้
1.
ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม
สิงหาคมกันยายน ตุลาคม ธันวาคม 2538 เป็นจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้น 2,629,637 บาท ตามหนังสือ
แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 ห้างฯ ได้รับหนังสือแจ้ง
การประเมินฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540
2.
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับปีภาษี 2538 - 2539 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น
4,977
บาท ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มกราคม
2541
ห้างฯ ได้รับหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีฯ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541
3.
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่
31
ธันวาคม 2539 เป็นจำนวนเงิน 3,834,752 บาท ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงวันที่ 30
มกราคม 2541 ห้างฯ ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระภาษีฯ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541
4.
ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2538 สิงหาคม - ธันวาคม 2539 เป็น
จำนวนเงิน 1,506,424 บาท ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ห้างฯ ได้รับ
หนังสือแจ้งการประเมินฯ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541
5.
ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 470,427 บาท ตาม
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ห้างฯ ได้รับหนังสือ
แจ้งการประเมินฯเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541
ห้างฯ ได้ชำระภาษีอากรค้างบางส่วน ดังนี้
วันเดือนปี ที่ ชำระ ประเภทภาษี จำนวนเงินการชำระ
11
มี.ค. 2541 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 2,271.09 นำส่งจากการอายัดสิทธิเรียกร้อง
7
เมาตราย. 2541 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 693,205.28
"22
เมาตราย. 2541" 494,149.16
"19
พ.ค. 2541 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 2,705.91 ผู้ค้างชำระ
16
ต.ค. 2541 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 123,294.11 นำส่งจากการอายัดสิทธิเรียกร้อง
รวมทั้งสิ้น 1,315,625.55"
เพียง ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2541 ห้างฯ มีหนี้ค่าภาษีอากรค้างจำนวน 7,128,591.42 บาท (ยังไม่
รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย)
ห้างฯ ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างถนนกับสำนักงานเทศบาล ตามสัญญาจ้างลงวันที่ 19
สิงหาคม 2541 เป็นจำนวนเงิน 1,300,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ห้างฯ ทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินตามหนังสือสัญญาจ้างลงวันที่ 19
สิงหาคม 2541 ทั้งสิ้น ให้แก่ธนาคาร ก เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่า "ผู้โอน
สิทธิเรียกร้องขอโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่พึงได้ตามสัญญาจากเทศบาลทุกจำนวนและทุกงวด ให้แก่
ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งห้างฯ ได้รับเครดิตจากธนาคารโดยมีวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและเครดิตอื่น
จากธนาคาร" (กรณีธนาคารออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ห้างฯ)
กรณีการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างของห้างฯ ให้แก่ธนาคารฯ จังหวัดฯ
มิอาจขออำนาจศาลให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิเรียกร้องในค่าจ้างเหมาก่อสร้าง และหรือมิอาจใช้
อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างได้ และขอ
ทราบว่าถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย

: กรณีตามข้อเท็จจริงแยกพิจารณาได้ ดังนี้
1.
กรณีห้างฯ ผู้ค้างภาษีอากรทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 ตุลาคม
2541
เพื่อโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างถนน ตามสัญญาจ้างลงวันที่ 19 สิงหาคม
2541
ให้แก่ธนาคาร ก ผู้รับโอนสิทธิ เป็นกรณีห้างฯ ผู้ค้างภาษีอากรได้โอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะได้รับ
จากลูกหนี้ (เทศบาล) ให้แก่บุคคลภายนอก (ธนาคารฯ) โดยได้มีการทำหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยัง
ลูกหนี้แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจึงมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 306 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิที่จะได้รับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นของ
ธนาคารฯ ผู้รับโอนและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของห้างฯ ผู้ค้างภาษีอากร
2.
กรณีที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวตกเป็นสิทธิของธนาคารฯ ผู้รับโอน ตามมาตรา 306 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในขณะที่รับโอนสิทธิเรียกร้องธนาคารฯ
ผู้รับโอนได้รู้ข้อเท็จจริงว่าห้างฯ มีหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระกรมสรรพากร การที่ห้างฯ
โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับชำระค่าจ้างเหมาก่อสร้างจากเทศบาลให้แก่ธนาคารฯ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ
ห้างฯ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันเพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วน กรณีจึงเป็นการ
โอนสิทธิเรียกร้องเพื่อที่จะได้เบิกเงินเกินบัญชีต่อไป การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการโอน
โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน

เลขตู้

: 62/27767

คำพิพากษาฎีกาที่  1306/2530

 

                       นางมณี อภิรัตนวุฒิฯ

โจทก์

                       กรมสรรพากรกับพวก

จำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12

                       ส. เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. จึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน ซึ่งย่อมรวมถึงหนี้ภาษีอากรโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ ส. ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แต่เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมาย เพราะการตายของ ส. ทรัพย์สินกองมรดกของ ส. จึงตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง อันเป็นเรื่องที่สืบเนื่องต่อกันมาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องมีบทบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยเฉพาะอีก การยึดทรัพย์ของจำเลยชอบแล้ว

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/5213

 

วันที่

: 12 มิถุนายน 2545

 

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12

 

ข้อหารือ

: สำนักงานสรรพากรจังหวัดได้หารือกรณีนาง จ. ได้มีหนังสือร้องขอความเป็นธรรมและให้งด
การขายทอดตลาดที่ดินของนาย ป. และนาย พ. หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ผู้ค้างชำระ
ภาษีอากร โดยชี้แจงว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของมารดาซึ่งเสียชีวิตแล้ว และได้ขายฝากกับนาย ป.
และได้ไถ่ถอนไปก่อนที่เจ้าพนักงานทำการยึดประมาณ 18 ปี โดยมิได้จดทะเบียนการไถ่ถอนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ ซึ่งนาง จ. เป็นผู้รับมรดกและได้ครอบครองทำกินหลังจากไถ่ถอนประมาณ 2 ปี

 

แนววินิจฉัย

: เนื่องจากปรากฏหลักฐานของทางราชการว่านาย ป. หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.
ผู้ค้างชำระภาษีอากร เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว การที่นาง จ.ได้มีหนังสือร้องขอ
ความเป็นธรรมและให้งดการขายทอดตลาดที่ดินเป็นเพียงการกล่าวอ้าง โดยไม่มีพยานเอกสารสนับสนุน
แต่อย่างใด แสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูล และเป็นเพียงคำร้องที่ยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ตาม
ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่ง
ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 12(1) จังหวัดซึ่งเป็นผู้มีอำนาจออกคำสั่งยึดทรัพย์สิน จึงสามารถ
ดำเนินการตามระเบียบของกรมสรรพากรได้ต่อไป

 

เลขตู้

: 65/31524




เลขที่หนังสือ

: กค 0811/17426

วันที่

: 25 ธันวาคม 2541

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอให้ถอนการอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 12, มาตรา 31

ข้อหารือ

: บริษัท ก. จำกัด ได้เช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อปลูกสร้างอาคารและจัดหา
ผลประโยชน์บริเวณสถานีรถไฟ โดยเริ่มประกอบธุรกิจปลายปี พ.ศ. 2534 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2540
บริษัทฯ ได้รับคำชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ถูกต้อง และจังหวัดฯ
ได้ทำการประเมินบริษัทฯ บริษัทฯ คัดค้านการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานว่า ไม่ถูกต้อง ขณะนี้อยู่
ระหว่างรอผลการวินิจฉัยอุทธรณ์จากกรมสรรพากร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2541 เจ้าหน้าที่สรรพากรได้
อายัดเงินค่าเช่าอาคารรายเดือนและค่าเช่าที่ดินรายปี เนื่องจากบริษัทฯ ค้างชำระเงินภาษี บริษัทฯ
ขอผ่อนผันระยะเวลาการอายัดทรัพย์สินจนกว่าจะได้รับคำวินิจฉัยชี้ขาดการพิจารณาอุทธรณ์

แนววินิจฉัย

: กรณีตามข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่ไม่ได้ยื่นขอทุเลาการชำระ
ภาษีโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระภาษีดังกล่าว เนื่องจากการยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษี
ทั้งนี้ ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรต้องทำ
การเร่งรัดจัดเก็บให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียอากรทุกราย
ทั้งนี้ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 23 (1) ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วย
การเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง พ.ศ. 2539 ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ขอให้กรมสรรพากรผ่อนผันการ
อายัดทรัพย์สินดังกล่าวจนกว่าจะได้รับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น กรมสรรพากรไม่อาจทำตามที่บริษัทฯ
ร้องขอได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง

เลขตู้

: 61/27370

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่  3046/2535

 

                      นางภาวิณี สว่างเรือง................................................... โจทย์

 

                     นายบัณฑิต บุณยะปานะ  จำเลย  ในฐานอธิบดีกรมสรรพากร...จำเลย

 

 

                    เรื่อง ภาษีอากร

                    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป. รัษฎากร มาตรา 12 แพ่ง มาตรา 420

 

                    โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถว 2 ชั้น เลขที่ 580/27 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 87614 แขวงห้วยขวาง (สามเสนนอกฝั่งเหนือ) เขตห้วยขวาง (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2533 จำเลยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวโดยไม่ชอบเพราะโจทก์มิใช่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร โจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ไม่แจ้งคำวินิจฉัยข้อคัดค้านให้โจทก์ทราบ ต่อมาวันที่ 6 กันยายน 2534 จำเลยได้ประการขายทอดตลาดทรัพย์ ขอให้พิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยเป็นโมฆะ และเพิกถอนประกาศ

                    ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้อง

                    โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

                    ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "ตามคำฟ้องคดีนี้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าว มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ชอบแล้ว..."

                    พิพากษายืน

                    (เพ็ง เพ็งนิติ - ก้าน อันนานนท์ - ประจักษ์ พุทธิสมบัติ)

คำพิพากษาฎีกาที่  3056/2535

 

                      นางภาวิณี สว่างเรือง.................................................... โจทย์

 

                     นายบัณฑิต บุณยะปานะ  จำเลย  ในฐานอธิบดีกรมสรรพากร...จำเลย

 

                    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป. รัษฎากร มาตรา 12 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7

 

                    โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โจทก์ของจำเลย โดยใช้อำนาจตาม ป.ร.ก. มาตรา 12 เป็นโมฆะและขอให้เพิกถอน เพราะโจทก์มิใช่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ ดังนั้น ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

 

 

เลขที่หนังสือ

: กค 0811/1093

 

 

วันที่

: 5 กุมภาพันธ์ 2542

 

 

เรื่อง

: ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

 

 

ข้อกฎหมาย

: มาตรา 39

 

 

ข้อหารือ

: สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ
พ.ศ.2540 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่
พัฒนาระบบมาตรวิทยา จัดหาและเก็บรักษามาตรฐานแห่งชาติ วัสดุอ้างอิง มาตรฐานของประเทศทุก
สาขา เพื่อให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาการสากล รวมถึงการถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่
มาตรฐานสากล โดยที่กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ไม่เป็น
ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น และรายได้ของสถาบัน
ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ขอหารือว่าสถาบันฯ มีหน้าที่
ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่

 

 

แนววินิจฉัย

: สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนา
ระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลรัษฎากรดังนั้น เมื่อสถาบันฯ มีรายได้จากการดำเนินการ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้สถาบันฯ
จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

 

 

เลขตู้

: 62/27501

 

คำพิพากษาฎีกาที่950/2541

 

                      นายจันทร์ สุวรรณวงศ์

โจทก์

                      นายอำเภอโนนสะอาด

จำเลย

                      นายสมชาย แสงศิริไพศาล

จำเลยร่วม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12

                  จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ผู้ค้างภาษีอากร จำเลยได้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดที่ดินซึ่งมีชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์พร้อมบ้านไม้ 2 หลังบนที่ดินดังกล่าว เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรค้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับกันบางส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วม ซึ่งเป็นการไม่ชอบและจะต้องถูกเพิกถอนในภายหลังก็ตาม แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเพียงหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ฉะนั้นจึงไม่สามารถใช้ยันเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามความเป็นจริงได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินที่จำเลยมีคำสั่งให้ยึดขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ครอบครองไม่ใช่จำเลยร่วมเป็นผู้ครอบครองทั้งแปลง ที่ศาลทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดที่ดินบางส่วนจึงชอบแล้ว

 

คำพิพากษาฎีกาที่  1281/2525

 

                       ธนาคารเอเซียทรัสท์ จำกัด

โจทก์

                       กรมสรรพากรกับพวก ผู้ร้อง บริษัท รวมมิตรอิควิปเม้นท์ซัพพลาย

จำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แพ่ง อายุความ (ม. 167, 173) หุ้น และผู้ถือหุ้น (ม. 1120)
ป.วิ.แพ่ง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง (ม. 287, 290)
ม. 12, 19, 20, 23, 84, 85 ทวิ, 88 ทวิ

                       เมื่อผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 84 และ มาตรา 85 ทวิ แสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงไว้ในแบบแสดงรายการการค้า และบางเดือนก็มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีการค้าได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) ไม่ใช่ 5ปี ตามมาตรา 88 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่า ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาตรวจสอบไต่สวนได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23ส่วนการประเมินตามมาตรา 20 ไม่จำต้องประเมินภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการดังนั้น เมื่อนับจากวันที่ผู้เสียภาษียื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้เสียภาษีเพิ่มเติมยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมินจึงยังไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีที่ชำระขาดให้จำเลยทราบภายใน10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง ย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าพนักงานยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เองโดยไม่ต้องนำคดีฟ้องต่อศาล ดังนั้น แม้กรมสรรพากรผู้ร้องจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 ได้เงินค่าหุ้นของบริษัทจำเลยที่ผู้ถือหุ้นยังชำระไม่ครบมูลค่าและจำเลยยังไม่ได้เรียกเก็บถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยอันจะยึดมาชำระหนี้ได้ ทั้งยังไม่แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นเหล่านั้นจะสามารถชำระค่าหุ้นที่ค้างนั้นได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้

 

 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

korapatlaokam Icon สรรพากรยึด อ่าน 188 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
guest Icon สรรพากรยึด อ่าน 831 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ตอบปัญหา คุณ ช อ่าน 828 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ตอบปัญหาเรื่องสรรพากรยึด อ่าน 16,038 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ตอบปัญหาเรื่องสรรพากรยึด อ่าน 769 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ตอบปัญหาที่ดินคุณสุทธา อ่าน 714 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ตอบปัญหาที่ดินคุณ pit 2 อ่าน 902 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
theerawas Icon ตอบเรื่องเครื่องวิทยุ อ่าน 636 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา