กว่าจะเป็นนักบริหาร...?

wach10 profile image wach10



ขอบคุณ เวปดีดี.....บ้านน้องฝ้ายและน้องฟิลม์  มานะที่นี้ด้วยค่ะ


อาทิ เช่น

บทบาทของผู้บริหาร (การศึกษา)

หน้าที่ของผู้บริหาร

ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา

ฯลฯ


P' Wach  Na Ja
ความคิดเห็น
wach10 profile wach10
บทบาทของผู้บริหาร (การศึกษา)




ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบและภาระกิจหลักที่สำคัญ คือ รับผิดชอบงานทุกอย่างของสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานธุรการและการเงิน การบริหารงานบุคคล การบริหารงานอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ การบริหารงานกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมที่มีขนาดใหญ่ย่อมมีบุคลากรมาก การบริหารงานเพียงคนเดียว อาจทำให้เกิดข้อบกพร่องได้ ผู้บริหารระดับสูงจึงมอบอำนาจบางอย่างให้ผู้อื่นปฎิบัติแทน หรืออาจแต่งตั้งหลายๆคน มารับมอบอำนาจลดหลั่นกันไปตามสายงาน ลักษณะของผู้บริหารแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ผู้บริหารแบบอัตนัย (Autocratic leader) คือ ผู้บริหารที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะทำอะไรก็สั่งการด้วยตนเอง ไม่ต้องประชุมปรึกษาการือกับใคร เป็นผู้มีความมั่นคงในตนเอง ต้องการให้ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วไม่ชอบสั่งการตามขั้นตอน ให้ผู้ปฎิบัติดำเนินการทันที
2.ผู้บริหารแบบตามสบาย (laissez fair leaders) คือ ผู้บริหารที่ปล่อยให้ผู้ร่วมงานทำงานกันตามสบาย กฎ ระเบียบไม่บังคับเข้มงวด การปฎิบัติงานยืดหยุ่นและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน การบริหารงานแบบนี้งานจะไม่ค่อยก้าวหน้า แต่คนชอบการทำงานจะไม่ชอบเพราะไม่ค่อยมีงานทำ ผู้บริหารไม่สร้างงาน
3.ผู้บริหารแบบประชาธิปไตย (democratic leaders) คือ ผู้ที่บริหารงานโดยใช้แนวทางของประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของโรงเรียนเมื่อจะคิดทำอะไรจะต้องให้ทุกฝ่ายเห็นชอบ แล้วร่วมมือกันทำงาน งานจะดำเนินไปช้าเพราะต้องประชุมปรึกษาหารือกันหลายครั้ง แต่เกิดความรอบคอบในการทำงาน ผู้ร่วมงานร่วมมือร่วมใจกันดีมีความรู้ความเข้าใจงานเป็นอย่างดี
ผู้บริหารในโรงเรียนที่มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบตั่งแต่สูงสุดและลดระดับกันมามีดังนี้
1.ผู้บริหารสูงสุดในโรงเรียน ได้แก่ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ซึ่งเรียกกันตามขนาดของโรงเรียนและระดับขั้นของเงินเดือน มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานทุกอย่างของโรงเรียน
2.ผู้ช่วยผู้บริหาร เป็นผู้ที่ผู้บริหารสูงสุดมอบอำนาจหน้าที่ให้ปฎิบัติ ดูแลรับผิดชอบงานเฉพาะด้าน เช่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เป็นต้น
3.หัวหน้าหมวดวิชา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานของหมวดวิชา เช่น หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ หมวดวิชาภาษาไทย แต่ละหมวดวิชาจะมีหัวหน้าหมวดดูแลในหมวดนั้นๆ
4.หัวหน้าฝ่าย มีอำนาจเทียบเท่ากับหัวหน้าหมวดวิชา แต่งานแตกต่างกันไป เช่น หัวหน้าฝ่ายการเงิน หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม เป็นต้น
ผู้บริหารแต่ละระดับจะมีบุคลากรร่วมเป็นองค์กรบริหารด้วย เช่นผู้ช่วยผู้อำนวยการก็มีหัวหน้าหมวด หัวหน้าฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในความดูแล หัวหน้าหมวดวิชาก็มีอาจารย์ที่อยู่ในหมวดวิชานั้นๆ หัวหน้าฝ่ายก็มีผู้ปฎิบัติงานในฝ่ายนั้นๆช่วยเหลือปรึกษาหารือกัน
การบริหารงานบุคคลผู้บริหารควรมีสมรรถภาพที่สามารถปฎิบัติดังต่อไปนี้
- จะต้องกำหนดอัตราตำแหน่งของบุคลากรให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอน
- จะต้องดำเนินการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
- จัดสรรบุคลากรเข้าประจำตำแหน่งหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
- พิจารณาความดีควาชอบ และเสนอขอเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ควบคุมดูแลการทำงานของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน
- รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร วิเคราะห์ประเมินผลการทำงาน
ในฐานะผู้บริหาร การตัดสินใจเป็นภาระหน้าที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตขององค์กร ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การทำให้การตัดสินใจนำไปสู่ความก้าวหน้า และความสำเร็จในภาระหน้าที่ขององค์กรล้วนแต่เป็นประเด็นที่สำคัญที่ผู้ บริหารจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากก่อนจะทำการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เมื่อมองในเชิงกระบวนการทำงานเชิงระบบสามารถแบ่งการตัดสินใจออกเป็น 4 เรื่อง ดังนี้
1. การตัดสินใจเกี่ยวกับเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ของงาน เช่น โรงรเรียนมีเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของงานที่จะทำอย่างไร
2. การตักสินใจเกี่ยวกับแผน เป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
3. การตักสินใจเกี่ยวกับการลงมือปฎิบัติงาน เพื่อทำให้การปฎิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนด
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลของการทำงานที่เกี่ยวกับความน่าพอใจและการทำงานในขั้นต่อไป
ทั้งนี้การตัดสินใจที่ดีนั้นจะต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ความรอบรู้ ค่านิยมหรือความรู้สึก และการยอมรับในความสำคัญของผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริหารจะต้องมีวิธีและแนวทางในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะ ตัดสินใจ และเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ แนวทางหรือวิธีที่จะช่วยผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดี คือ
- ผู้บริหารตรวจสอบผลการปฎิบัติงานของตนหรือของโรงเรียนเพื่อให้เกิดความเข้า ใจในประเด็นต่างๆ แล้วนำผลการสำรวจไปปรับปรุงงานให้ดีขึ้น วิธีนี้เรียกว่า การวิจัยเชิงปฎิบัติการ(Action Research)
- ผู้บริหารจะตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะขึ้นไปแล้วให้ทุกคณะพิจารณาแก้ไขปัญหาในเรื่องเดียวกันในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วนำข้อเสนอของทุกคณะมาทำการตัดสินใจเลือกวิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด วิธีการนี้เรียกว่า คณะผู้ช่วยงาน (Advocat Teams)
- การประชุมระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้ความคิดมากที่สุดในเวลา จำกัด แล้วนำมาเรียบเรียงจัดระเบียบและตัดสินใจภายหลัง วิธีการนี้เรียกว่า การระดมพลังสมอง (Brainstorming)
- มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง แล้วทำการสอบสวน ตรวจสอบ ซักถามผู้รู้แล้วร่างข้อสรุปและข้อเสนอแนะ นำข้อมูลที่ได้ไปเสนอให้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องพิจารณา วิธีการนี้เรียกว่า การตั้งคณะกรรมการสืบสวน (Commission of Inquirs)
- ให้แต่ละคนที่เกี่ยวข้องเริ่มคิดหาวิธีการหรือข้อเสนอแนะของแต่ละคนก่อน แล้วนำข้อเสนอแนะของแต่ละคนมาเรียบเรียงรวมกัน แล้วนำข้อเสนอที่รวมได้มาเรียบเรียงรวมกันเป็นข้อเสนอของคนทั้งคณะ วิธีการนี้เรียกว่า การหารข้อตกลงร่วม (Consensus)
- การวิเคราะห์ภาษาในหนังสือ หรือสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็น แล้วนำมาวิเคราะห์ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ วิธีการนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
- การวางแผนปฎิบัติงานด้วยการกำหนดชช่วงเวลาการปฎิบัติกิจกรรมต่างๆในแผนที่ ต้องทำต่อเนื่องและคู่ขนานกันไป แล้วหาลำดับความต่อเนื่องของกิจกรรมที่สำคัญที่ขาดหรือสลับกันไม่ได้ เพื่อยึดเป็นแนวทางหลักในการปฎิบัติงานตามแผน วิธีการแบบนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤต (Critical Path)
- การหาข้อมูลความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยเทคนิควิธีการถามซ้ำจนได้ข้อสรุปจากคนทั้งกลุ่ม วิธีการนี้เรียกว่า เดลไฟ (Delphi)
- จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือผลผลิตที่ได้โดยดูแต่ข้อดีและข้อเสียที่ปรากฎ โดยไม่คำนึงถึงว่าการดำเนินงานหรือผลผลิตนั้นจัดขึ้นเพื่อจุดประสงค์หรือ เป้าหมายอะไร วิธีการนี้เรียกว่า การประเมินแบบอิสระจากเป้าหมาย (Goal-free Evaluation)
- การที่มีผู้ต้องการข้อมูล เมื่อพบบุคคลที่ให้ข้อมูลได้เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม แล้วใช้วิธีการพูดคุย/ซักถาม หาข้อมูลหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้หรือประเด็นปัญหา วิธีการแบบนี้เรียกว่า การสัมภาษณ์ (Interviews)
- การออกไปดูของจริง ซึ่งอาจเป็นกระบวนการทำงานกิจกรรม สถานที่และอื่นๆ โดยมีประเด็นคำถามและรายการที่จะสังเกตเตรียมไว้ก่อนการบันทึกผลการสังเกต แต่ละข้อที่อยู่ในรายการ แล้วนำมาหาข้อสรุป วิธีการนี้เรียกว่า การสังเกต (Observation)
- ให้กลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแนวทางที่จะพัฒนาโรงเรียนของตนตาม ประเด็นที่กำหนด รวมทั้งวิธีการต่างๆที่จะบรรลุความสำเร็จได้ แล้วแยกกันไปทำงานในการปรับปรุงแก้ไขแนวความคิดของกลุ่มให้บรรลุตามเป้าหมาย แล้วผู้บริหารจะรวบรวมข้อเสนอของทุกกลุ่มไว้พิจารณาและตัดสินใจ วิธีการแบบนี้เรียกว่า โรงเรียนที่เป็นไปได้ (The Possible Scool)
- การใช้รุปแบบคำถามที่หลากหลาย ทั้งในรูปของคำถามปลายเปิด แบบตัวเลือก แบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งเราคุ้นเคยและมักจะใช้กันอยู่เสมอ รวมทั้งรูปแบบอื่นๆด้วย วิธีการนี้เรียกว่า แบบสอบถาม (Questionnaires)
- การพรรณาภาพของสถานการณ์ในอนาคตของโรงเรียนหรือในองค์กรของเราที่เราปราถนา จะให้เป็น แล้วชี้แจงเส้นทางหรือแนวทางที่จะนำไปสู่สถานภาพที่คาดหวังในอนาคต พร้อมทั้งเสนอทางเลือกในการตัดสินใจตามขั้นตอนต่างๆและแนวทางต่อไปหลังจาก ผ่านเลือกแต่ละทางไปแล้ว วิธีการนี้เรียกว่า การสร้างภาพอนาคต (Scenario)
- การให้มีคณะทำงานชุดหนึ่งทำข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาแก่เขา แล้วส่งข้อเสนอแนะนั้นให้อีกกลุ่มหนึ่งพิจารณาให้ข้อวิจารณ์ และข้อเสนอแนะ แล้วนำข้อวิจารณ์และข้อเสนอแนะทั้งหมดกลับมาให้กลุ่มแรกพิจารณาอีกครั้ง ปรับปรุงเป็นข้อเสนอสุดท้ายแล้วส่งให้ผู้บริหาร วิธีนี้เรียกว่า ความคิดเห็นที่สอง (A Second Opinion)
- นำข้อเสนอที่เป็นแผนหรือแนวปฎิบัติเสนอต่อที่ประชุม แบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายค้าน ให้ทั้งสองฝ่ายนำเสนอความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆของตน แล้วนำความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายมาเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ วิธีการนี้เรียกว่า การสอบสวนโดยคณะลูกขุน (Trial by Jury)
ผู้บริหารควรพิจารณาทำความรู้จักวิธีการต่างๆเหล่านี้ไว้เมื่อเกิดปัญหาก็ใจ เย็นๆลองพิจารณาสถานการณ์ให้รอบคอบ แล้วเลือกใช้วิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในกับสถานการณ์ในขณะนั้น แล้วจึงตัดสินใจอย่างรอบคอบ และผู้บริหารจะใช้วิธีการเหล่านี้ได้ต้องใจกว้าง และเป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่ผู้ชอบตัดสินใจโดยอาศัยความคิดของตนแต่ผู้เดียว
ทั้งนี้ผู้บริหารโรงเรียนยังมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการจัดการเรียน การสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ รักเพื่อนมนุษย์ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีจิตใจเป็นกลาง ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน ครูผู้สอนจะต้องปรับปรุงพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการสอนให้สอดคล้องกับความ สามารถ ความสนใจ ความต้องการ และเจตคติของผู้เรียน โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้เป็นเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และนำไปใช้ในการสร้างและเตรียมทรัพยากรมนุษย์ ให้ประเทศมีคุณภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศแบบยั่งยืน ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนจะต้องกำหนดกลยุทธ์ โดยเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้และเรียนรู้ ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารจะต้องเร่งรัดพัฒนาครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพที่เหมาะสมที่จะให้การศึกษาอบรมพัฒนาเยาวชนของชาติใน ฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ พอที่จะเปรียบเทียบให้มองเห็นได้ชัดเจน คือ ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่จะต้อง "ทำงานหนัก รักพวกพ้อง มองหามิตร จิตไม่หวั่น"
ผู้บริหารโรงเรียนจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำองค์กรสู่การ เปลี่ยนแปลง ฉะนั้นผู้บริหารโรงเรียนจึงเป้นหัวใจของการปฎิรุปการศึกษา เพราะผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้นำ และเป็นผู้สร้างขวัญกำลังใจให้ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดลักษณะนิสัยที่ต้องการในโลกยุคไร้พรมแดน ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องทบทวนบทบาทและภาระกิจหน้าที่ของตนเอง ในสังคมยุค "โลกาภิวัตน์" เพื่อการเป็นผู้บริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง


wach10 profile wach10
หน้าที่ผู้บริหาร


ผู้บริหารควรมีหน้าที่ความรับผิดชอบใดเป็นพื้นฐาน

1. รับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร
2. ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
3. มองความเป็นไป(ประเมิน วิเคราะห์ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง) และวางยุทธศาสตร์ขององค์กรที่ 1, 2, 3, 4, 5, 10 ปี
4. พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ วินัย ประสิทธิภาพ
5. สร้างเครือข่ายองค์กร
6. ใช้เทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับยุคสมัย
7. ผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อทุกคน(ลูกน้องและเจ้านาย)
8. ผสานความสามัคคีภายในองค์กรให้เข็มแข็ง
9. ใช้บุคลากรให้ตรงกับความสามารถ และเสริมสร้างเพิ่มศักยภาพของเขา
10. กำจัดบุคคลที่ไม่สามารถพัฒนา
11. รับฟังทุกความคิดเห็น
12. แข็งขันภายใต้กติกา
13. รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
14. มีอารมณ์ขันและความเป็นมิตรต่อทุกคน
15. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
|br>สู่นักบริหารมืออาชีพ

มีทฤษฎีหลากหลายทฤษฎีที่จะนำมาวิเคราะห์ว่า “นักบริหาร” หรือ “ผู้บริหาร” เป็น “นักบริหารมืออาชีพ” ได้หรือไม่นั้น โดยดูได้จากทฤษฎีต่างๆ ดังนี้
ทฤษฎี 3 ทักษะ” (Three Skills)
เป็นทฤษฎีของคาทซ์ (Kats) และเป็นทฤษฎีที่จะนำมาวิเคราะห์นักบริหารมืออาชีพได้ คือนักบริหารมืออาชีพควรมีทักษะทั้ง 3 ทักษะ ซึ่งประกอบด้วย
1.ทักษะในคตินิยม (Conceptual Skill) คือทักษะที่สามารถเข้าใจ หน่วยงานของตนในทุกลักษณะ และเห็นความสัมพันธ์ของหน่วยงานของตน ที่มีต่อหน่วยงานหรือองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เข้าใจว่าหน่วยงานของตนมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แบ่งงานเป็นหน่วยงานย่อยๆอะไรบ้าง และสัมพันธ์กับหน่วย

wach10 profile wach10
ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา

ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน ์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัต ิของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

สาระสำคัญของ พระราชบัญญัต ิการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหา รและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจาก องค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักนางปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)

การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ยที่มีความสามารถทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไป ในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับ“ ผู้บริหารมืออาชีพ ” จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่ พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้ เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารหรือผู้นำหรือผู้จัดองค์การ หรือหัวหน้างาน ไม่ว่าหน่วยงานเล็กหรือหน่วยงานใหญ่ หน่วยงาน ราชการหรือเอกชนก็ตาม ย่อมมีบทบาทที่เป็นผลต่อการสำเร็จหรือประสิทธิภาพของงานเป็นอย่างยิ่ง บางครั้ง การจัดองค์การ แม้จะไม่เรียบร้อยถูกต้องอยู่บ้าง ก็อาจได้รับผลงานสูงได้ หากผู้บริหารมีคุณลักษณะที่ดี แต่ถ้าคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมในการนำของผู้บริหารไม่ดี แม้การจัดองค์การถูกต้อง หรือดีเพียงใดก็ตาม ผลงาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานนั้นๆ ย่อมสมบูรณ์ได้ยาก ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีพฤติกรรม ในการนำที่ถูกต้อง เหมาะสมเพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำ ซึ่งจะวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งคุณลักษณะ ที่พึงประสงค ์ของผู้บริหารหรือผู้นำนั้น ควรที่จะประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ และ คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

1. คุณลักษณะด้านบุคลิกลักษณะ

อรุณ รักธรรม (2527 : 198-202) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี
1. เป็นผู้มีความรู้
2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. เป็นผู้มีความกล้าหาร
4. เป็นผู้มีความเด็ดขาด
5. เป็นผู้มีความแนบเนียน มีกิริยาวาจาที่ถูกต้องเหมาะสม
6. เป็นผู้มีความยุติธรรม
7. เป็นผู้มีลักษณะท่าทางการแสดงออกที่ดี
8. เป็นผู้ที่มีความอดทน
9. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น
10. เป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว
11. เป็นผู้มีความตื่นตัวหรือระมัดระวังอยู่เสมอ
12. เป็นผู้มีความพินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล
13. เป็นผู้มีความสงบเสงี่ยม
14. เป็นผู้มีความสงรักภักดี
15. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
16. เป็นผู้มีความสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

2. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ

1. ความมีชีวิตชีวาและทนทาน (Vitality and Endurance) จะต้องมีความคล่อง แคล่วว่องไว ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมอยู่เสมอที่จะรับสถานการณ์ทุกชนิด ปรับตัวได้ เปลี่ยนแปลงได้ และร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มีความอดทนต่อการทำงานหนักและนานๆ ทนต่อความลำบากเจ็บช้ำได้ โดยไม่ปริปาก หรือแสดงอาการ ท้อแท ้ให้พบเห็น
2. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness) จะต้องตัดสินใจถูกต้อง ตัดสินใจ ได้เร็ว และเต็มใจเสมอ ที่จะเป็น ผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ในเมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น
3. ความสามารถในการจูงใจคน (Persuasiveness) ผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้อื่นร่วม มือกับตน ได้เท่านั้น ที่จะได้รับความสำเร็จ
4. ความรับผิดชอบ (Respensibility)
5. ความฉลาดไหวพริบ (Intellectual Capacity) ความฉลาดไหวพริบจำเป็นที่สุด สำหรับผู้บริหาร หรือผู้นำ ที่จะใช้ในการบริหารงาน หรือใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ

3. คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ
ความรู้ทางวิชาการได้แก่ การศึกษาวิชาการทั่วไป การศึกษาด้านวิชาชีพ และการศึกษา ให้เกิด ความรอบรู้ เชี่ยวชาญในแขนงวิชาที่คนสนใจ สำหรับใช้จัดระดับความรู้ และประสบการณ์ ในการทำงานของบุคคลที่มาทำงาน ในการเป็นผู้บริหาร

4. คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

1.ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัด ระบบข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้อง การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน การมอบหมายงานให้บุคลากรทำตามความรู้ความสามารถ การควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศงาน
2. สนับสนุนให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนา ได้แก่ การส่งเสริมให้ บุคลากรพัฒนาตนเองและพัฒนางาน การจัดสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และประโยชน์ ตอบแทน
3. จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดกิจกรรม ทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนว บริการสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียน รู้
4. ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนางาน
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม นำผลการประเมินไปนิเทศ และพัฒนางานการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา

ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียน คือ ระบบการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วม ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปในการศึกษาจึงต้องมีศาสตร์และ ศิลป ์ในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการศึษาบรรลุเป้าหมายที่ ตั้งไว้ เมื่อกล่าวถึงคุณลักษณะ ของนักบริหารดูเหมือนจะมีการกล่าวไว้มากมาย ซึ่งมีทั้งทัศนะส่วนตัว ที่เกิดจาก ประสบการณ์ ในการเป็นผู้บริหารมาและผลจากการศึกษาและวิจัยของนักวิชาการซึ่งมีทั้งของ ไทยและต่างประเทศ
บุรัญชัย จงกลนี ( ม . ป . ป . : 11-12) กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. เฉลียวฉลาด แต่ไม่อวดฉลาด
2. มีความสามารถรอบด้าน (Well rounder)
3. มีพลังผลักดันภายใน (Inner drive) ให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ
4. ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือ (Integrity)
5. กล้าหาญทั้งกายและใจ (Courage physically and morally)
6. มีความคิดริเริ่ม (Innitiative)
7. รู้จักวิธีส่งเสริมและบำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชา
8. การเสียสละปราศจากการเห็นแก่ตัว
9. มีความยุติธรรม (Justice)
10. วางตัวดี (Bearing)
11. กระตุ้นให้ผู้น้อยมีความภูมิใจในงานของตน
12. ให้เกียรติในผลงานที่ผู้น้อยได้ปฏิบัติ
13. ปฏิบัติงานอย่างเป็นทีม ให้ทำงานแทนกันได้
14. ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ และมีการพัฒนาฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ

จากการรายงานการประชุมระดับชาติ (Nation Conference of Professors of Educational Administration

( อ้างใน . บุรัญชัย จงกลนี . ม . ป . ป . : 14-15) เมื่อปี ค . ศ . 1951 ได้มีการประมวลปรัชญา ของการบริหาร การศึกษา ไว้ว่า
1. ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สำคัญในการบริหาร (Application of intelligence to life problems)
2. ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลจำนวนมาก หรือบุคคลหลายๆ คนเข้ามามีส่วนร่วม ในการกระทำ โดยไม่ทำงานตามลำพัง (Necessity of social group action)
3. ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน และจะต้องให้ความยอมรับนับถือใน ความเห็น ธรรมชาติ และความสามารถของผู้อื่น (Respect of the individual)
4. ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ของการศึกษาเป็นหลัก การบริหารการศึกษา จะไม่มีความหมายถ้าขาดเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ผู้บริหารจะต้องถือว่า เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของ การศึกษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหมาะสมกับสภาพ ของสังคม ในฐานะผู้นำผู้บริหาร จะต้องปรับปรุงการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Function Social Organization)
5. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ประสานประโยชน์ ซึ่งเข้ามาให้บริการ แก่บุคคลอื่นทุกๆ คน ในการที่จะช่วยให้เขาดำเนินงานต่างๆ ในการให้การศึกษาให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุด (Administrator as group instrument)
6. ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั้งหลายมาทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อและรับฟังความคิดเห็น ของบุคคล ทุกคนในวงการศึกษาและในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ (Freedom of Communication)
7. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเองเป็นผู้นำ มิใช่เจ้านายผู้ทรงอำนาจ (Administrator as a leader)
8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือ นักการศึกษา ผู้ยึดมั่นในปรัชญาของการศึกษา จึงต้องปฏิบัติและ วางตนอย่างนักการศึกษา (Administrator as an educator)
9. ผู้บริหารจะต้องเสียสละทุกอย่างเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน และเพื่อให้สังคมดี ขึ้นทุกๆ ทาง (Dedication of pubic education to community betterment)
10. ผู้บริหารจะต้องประสานงานประสานน้ำใจ ระหว่างชาวบ้านกับสถานศึกษาในการดำเนินงาน การศึกษา (School community integration in education)
11. ผู้บริหารจะต้องประเมินผลงานตนเองอยู่เสมอ การประเมินจะต้องทำทั้งสองอย่าง คือ ประเมินวิธีการ หรือกระบวนการทำงานพร้อมๆ กันไปกับการประเมินการปฏิบัติงาน เพราะการทำงาน จะมุ่งเอาแต่ผลอย่างเดียวไม่ได้ วิธีการก็จำเป็น (Two fold evaluation of Administration means and ends)
12. ผู้บริหารจะต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ จะไม่ทำความเสื่อมเสีย ให้ผู้คนเหยียดหยามวิชาชีพของนักบริหาร (Professional integrity and responsibility)
13. ผู้บริหารจะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และแสวงหาความชำนาญ ทุกวิธีทาง เพื่อให้การบริหารงานของตนเองทันสมัย (Necessity for professional growth)

คุณสมบัติทั้ง 13 ประการนี้ เป็นแนวทางแห่งความเชื่อหรือปรัชญาของนักการบริหารที่พึงมี อันเป็นวิถี หรือแนวทางที่ผู้บริหารพึงยึดถือในการบริหารงาน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วน แต่การที่ได้ทราบไว้ก็จะเป็นประโยชน์ ให้แก่นักบริหาร ที่จะสามารถหยิบยกเอามาประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับงาน ของนักบริหาร ซึ่งแตกต่างกันออกไปของแต่ละคนได้
สุรศักดิ์ ปาเฮ (2543 : 72-73) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงบริบทต่างๆ ไปอย่างมากมายในปัจจุบัน ว่าควรมีลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้
1. มองกว้างไกลอย่างต่อเนื่องและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ (Vission) สามารถที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการบริหาร (Strategic Management)
2. สามารถที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ (Analyze Situation) เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์และ แผนปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายได้อย่างเหมาะสม
3. ไวต่อการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งสังคมภายนอกและภายในองค์กร ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งรู้จักวิเคราะห์ความเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย
4. ความสามารถในการจัดระบบการสื่อสารให้ได้ผล (Effective Communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทั่วถึงทุกระดับขององค์กร หน่วยงาน / สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ (It) เป็นอย่างดี
5. ความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) ต้องสามารถวางแผนบุคคล สรรหา คัดเลือก กำหนดระบบงบประมาณ ความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทราบแนวคิด ทัศนคติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และนำมาเป็นข้อมูล ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
6. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร สามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพฤติปฏิบัติเพื่อ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เป็นแบบอย่าง ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน แสวงหาผลประโยชน์ ให้ตนเองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

เช่นเดียวกับ ถวิล อรัญเวศ (2544 : 17 – 18) ได้ให้ทรรศนะนักบริหารมืออาชีพว่าควรจะมีลักษณะดังนี้
1. กล้าตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของนักบริหาร นักบริหารมืออาชีพ ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจหรือวินัจฉัยสั่งการ เป็นคนที่สุขุมรอบคอบ มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ
2. ไวต่อข้อมูล นักบริหารมืออาชีพ จำเป็นต้องเป็นคนที่ทันสมัย ไวต่อข้อมูลหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ
3. เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สามารถมองเห็นภาพ ในอนาคตและแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
4. ซื่อสัตย์และสร้างสรรค์ผลงาน คือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีการสร้างสรรค ์ผลงาน ให้ปรากฏต่อสายตาเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ
5. ประสานสิบทิศ นักบริหารมืออาชีพจำต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานงานกับ หน่วยงาน หรือบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถไกล่เกลี่ยข้อกรณีพิพาทได้ และสามารถ ขจัดปัดเป่าปัญหา ต่างๆ ในหน่วยงานได้
6. คิดสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ จะต้องคิดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
7. จูงใจเพื่อร่วมงาน จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดความกระตือรือร้น ในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่องานสูง ประเมินผล การปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม รู้จักให้การชมเชย ให้รางวัลหรือบำเหน็จ ความชอบ
8. ทนทานต่อปัญหาและอุปสรรค จะต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างสันติสุข ไม่หนีปัญหา และไม่หมักหมมปัญหาไว้
9. รู้จักยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องรู้จักยืดหยุ่น และอ่อนตัวตามเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกินไป บางครั้งก็ต้องดำเนินการในสายกลาง แต่ในบางครั้งต้องมี ความเด็ดขาด
10. บริหารงานแบบมีส่วนร่วม จะต้องบริหารงานแบบให้ทีมงานมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบ

สมบัติ บุญประเคน (2544 : 20 – 21) ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร ในยุคปฏิรูปการศึกษาไว้ว่า แบบผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องประกอบด้วย 6 ป สรุปได้ดังนี้
1. ปฏิรูป การทำงานของผู้บริหารแบบนี้จะเป็นนักคิด นักพัฒนา ปรับเปลี่ยนหน่วยงาน และพัฒนางานตลอดเวลา การดำเนินงานต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้ ผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ
2. ประชาธิปไตย เป็นการบริหารงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาจะต้องพบกันครึ่งทาง หาแนวทางที่พึงประสงค์ให้ได้ ผู้บริหารจะต้องตัดสินปัญหาที่ไม่มีทางออกให้ได้ ผู้บริหารจะต้องมีบุคลิกภาพ และการทำงานเป็นประชาธิปไตย จึงจะเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน
3. ประสาน เป็นลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมาก ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานจะคำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ รู้จักใช้ความสามารถ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด มีความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาดีมาก ให้เกียรติปูนบำเหน็จรางวัล และยกย่องอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่แย่งเอาผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ประนีประนอม บุคลิกลักษณะของผู้บริหารแบบนี้ จะพยายามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความขัดแย้ง ในหน่วยงาน จะอะลุ่มอล่วยตลอดเวลา สิ่งใดที่พอยอมได้ก็จะยอม ไม่ติดใจกับปัญหา
5. ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะมีบุคลิกที่ว่าจะทำอะไร จะพูดที่ไหนจะเป็นเรื่องสำคัญทุกเรื่อง มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจสูง มีมนุษยสัมพันธ์ดี การทำงานจะสนับสนุน ให้ทุกคนทำรายงาน และ นำรายงานมาประชาสัมพันธ์
6. ประชาสงเคราะห์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานทุกเรื่อง เป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน การพัฒนาบุคลากรจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีความก้าวหน้าในอาชีพ และครอบครัวอยู่เสมอ มีการให้อภัยเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการตักเตือนอย่างรุนแรง ผู้ร่วมงานจะมีความสุขมากในการทำงาน เป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน

จากที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น สอดคล้องกับผลการวิจัยบางชิ้นงานที่สรุปและจำแนกถึง คุณลักษณะ ของผู้บริหารที่ส่งผลสำเร็จ ต่อการบริหารการศึกษาอย่างมืออาชีพ สามารถจำแนกได้เป็น 10 ประการ ได้แก่ ( สุรศักดิ์ ปาเฮ . 2543 : 72 – 73)
1. มีความพร้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Command of Basic Facts) ต้องรู้ความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและนอกองค์กร โดยมีข้อมูลและสารสนเทศ ช่วยในการดำเนินการ และบริหารงาน ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. มีความรู้ทางวิชาชีพ (Relevant Professional Knowledge) เป็นความรู้ที่รวมถึงความรู้ทางเทคนิค เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ทางการบริหาร เช่น หลักการทฤษฎีการบริหาร การวางแผน การจัดองค์กร หลักสูตร การสอน การวัดผลประเมินผล เหล่านี้เป็นต้น
3. มีความรู้เท่าทันในสถานการณ์ (Continuing Sensitivity to Events) สามารถปรับตัวและสนอง ได้ฉับไวและต่อเนื่องกับสถานการณ์รอบด้าน และดำเนินบทบาทได้อย่าง เหมาะสม รวดเร็ว และเข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้าง
4. มีทักษะในการเข้าสังคม (Social Skills and Abilities) โดยการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การกระจายอำนาจ การเจรจาต่อรอง การมอบหมายงาน การสมาคม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร
5. มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Analytical , Problem Solving , Decision Making Skills) อาศัยหลักตรรกศาสตร์ การใช้เหตุผลและ วิจารณญาณเข้าช่วย เพื่อรักษาความสมดุล ให้เกิดขึ้นทุกๆ ด้านในองค์กร
6. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Resilience) ผู้บริหารต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มั่นคงในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวง่าย จะต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกมีจิตระลึกเสมอ และแสดงออก ได้อย่างเหมาะสม
7. มีพฤติกรรมกล้าเสี่ยง (Pro activity inclination to Respond Purposefully to events) ผู้บริหารการศึกษา มืออาชีพต้องมองงานได้อย่างทะลุปรุโปร่ง รู้ระบบการทำงานอย่างดี รู้ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งตนเองและสมาชิกในองค์กร และรู้รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาว และเป้าหมายโดยรวม
8. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ริเริ่มโครงการใหม่ๆ และทำให้สำเร็จ เป็นที่ยอมรับ ของบุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่เกิดการยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ดี มีความละเอียดรอบคอบ และยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
9. มีความรู้สึกไวต่อบุคคลอื่น (Mental Agility) เกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา สามารถค้นหาทางเลือก ได้หลากหลายเพื่อการแก้ไขปัญหา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เกียรติและสนใจในความรู้สึก ของคนอื่น
10. มีความรู้และฝึกฝนการเรียน (Balanced Leaning Habits and Skills) ต้องรู้ว่าจะรู้ต้องรู้อะไร และต้องรู้ให้จริง ต้องคิดเป็นคิดได้ และสามารถบูรณาการความรู้ได้ ประยุกต์ ใช้ได้ สามารถสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ ได้จากการปฏิบัติงาน สามารถพัฒนางานวิชาการ และรูปแบบวิธีการจากทฤษฎีได้

สุพล วังสินธ์ (2545 : 29 – 30) ได้สรุปคุณลักษณะที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ไว้ว่า
1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
2. มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงาน
3. มีจิตสำนึกในความมุ่งมั่น
4. ใจกว้าง เปิดโอกาสให้ครูมีเสรีภาพในการคิด
5. ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ให้เกิดตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา
6. มีศักยภาพในการจัดการระบบบริหารโรงเรียน โดยการนำระบบคุณธรรมมาใช้ใน โรงเรียน
7. สร้างขวัญกำลังใจให้ครู มีกำลังใจที่จะเป็นครูดี ครูเก่ง ครูที่ปรึกษา ( Mentor)

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

1. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พอสรุป ได้ดังนี้
1. เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของครูและ นักเรียน
2. เป็นผู้นำในการบริหาร โดยยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
3. เป็นผู้นำด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้
4. เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ
5. เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน
6. เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม อย่างแข็งขัน
7. เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา และเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในทางสร้างสรรค์
8. เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
9. เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีการบริหารที่ใช้โรงเรียนฐาน (SBM : School Based Management) ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้ ( ธีระ รุญเจริญ . อัดสำเนา )
1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก
4. การประสานความสัมพันธ์
5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร
6. การสร้างแรงจูงใจ
7. การประเมินภายในและประเมินภายนอก
8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย พัฒนา
9. การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
10. การส่งเสริมเทคโนโลยี

3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 39 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542 ที่ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ใน 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป สรุปพอสังเขปได้ดังนี้ ( สำนักงานปฏิรูปการศึกษา . 2543 : 82 – 84)

ด้านวิชาการ
1. มีความรู้และเป็นผู้นำด้านวิชาการ
2. มีความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารงาน
3. สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที
4. มีวิสัยทัศน์
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ มุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
7. รอบรู้ทางด้านการศึกษา
8. ความรับผิดชอบ
9. แสวงหาข้อมูลข่าวสาร
10. รายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
11. ใช้นวัตกรรมทางการบริหาร
12. คำนึงถึงมาตรฐานวิชาการ

การบริหารงบประมาณ
1. เข้าใจนโยบาย อำนาจหน้าที่ และกิจกรรมในหน่วยงาน
2. มีความรู้ระบบงบประมาณ
3. เข้าใจระเบียบคลัง วัสดุ การเงิน
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. มีความละเอียดรอบคอบ
6. มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
7. หมั่นตรวจสอบการใช้งบประมาณอยู่เสมอ
8. รายงานการเงินอย่างเป็นระบบ

การบริหารงานบุคคล
1. มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคล
2. เป็นแบบอย่างที่ดี
3. มีมนุษยสัมพันธ์
4. มีอารมณ์ขัน
5. เป็นนักประชาธิปไตย
6. ประนีประนอม
7. อดทน อดกลั้น
8. เป็นนักพูดที่ดี
9. มีความสามารถในการประสานงาน
10. มีความสามารถจูงใจให้คนร่วมกันทำงาน
11. กล้าตัดสินใจ
12. มุ่งมั่นพัฒนาองค์กร

การบริหารทั่วไป
1. เป็นนักวางแผนและกำหนดนโยบายที่ดี
2. เป็นผู้ที่ตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการที่ดี
3. มีความรู้ และบริหารโดยใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
4. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
5. รู้จักมอบอำนาจและความรับผิดชอบแก่ผู้ที่เหมาะสม
6. มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และตื่นตัวอยู่เสมอ
7. มีความรับผิดชอบงานสูง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค
8. กำกับ ติดตาม และประเมินผล

4. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียน เป็นการให้หลักฐานข้อมูลแก่ประชาชนว่า บุคลากรในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน และสาธารณชนมั่นใจในคุณภาพของนักเรียน ดังนั้น โรงเรียนต้องจัด ให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่กล่าวถึงที่ยังเป็นผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะต้องบริหารแบบมีส่วนร่วม มีลักษณะของผู้นำแบบประชาธิปไตย จะให้ความสำคัญ ให้เกียรติและเคารพ ในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน ยอมรับและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็นร่วมแก้ปัญหาและร่วมตัดสินใจ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้ร่วมงาน ซื่อสัตย์ จริงใจ มีความสามารถกระตุ้น และจูงใจให้เกิดความรักและความผูกพันในโรงเรียน
ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลง บทบาทของตนเองโดยการใช้หลักการบริหารคุณภาพที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิดร่วม ตัดสินใจ โรงเรียนสร้างทีมงาน ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)

ปัจจัยเสริมสร้างความเป็นนักบริหารมืออาชีพ

นอกจากคุณลักษณะและบทบาทที่สำคัญของการเป็นนักผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่จะเป็นตัวชี้วัด (Indicators) สำคัญของการเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ได้อย่างสง่างาม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อการปฏิบัติภารกิจตามบทบาท หน้าที่เชิงบริหารจัดการศึกษา ในสถานศึกษา ปัจจัยบ่งบอกความสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
1. คุณวุฒิด้านการศึกษา เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญจะต้องมี กล่าวคือ ต้องมีคุณวุฒิด้านการศึกษา ตรงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดในกฎหมายวิชาชีพ โดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการมืออาชีพทางการบริหาร บุคคลเหล่านี้ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โท เอก ด้านการศึกษาเป็นสำคัญ
2. ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ต้องมีประสบการณ์สั่งสมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ประสบการณ ์ด้านการบริหารทางการศึกษาในองค์กรทางการศึกษาระดับต่างๆ ในตำแหน่งทาง การบริหารการศึกษา ที่ได้ดำเนินบทบาทภารกิจตามสายงานที่กำหนดไว้
3. ประสบการณ์การฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องได้รับการเพิ่มพูน ประสบการณ์ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การศึกษาดูงานจากแหล่งวิทยาการความรู้ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การสร้างผลงานทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบของการสร้างนักบริหารการศึกษาก้าวสู่มืออาชีพ โดยมีผลงานทางวิชาการเป็นเครื่องมือยืนยันถึงศักยภาพดังกล่าว ผลงานสามารถจัดกระทำได้หลายรูปแบบ ทั้งด้านการวิเคราะห์งานวิจัย การเขียนและเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ การเขียนบทความ ตำรา ฯลฯ ออกเผยแพร่แก่หน่วยงานอื่นๆ ให้แพร่หลายทั่วถึง รวมทั้งการเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผลงานดีเด่นที่สั่งสมไว้ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ อาจดูจากหลักฐาน ที่เป็นผลงานที่สั่งสมไว้ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
6. ลักษณะเฉพาะของเอกัตบุคคล เป็นลักษณะเฉพาะตัว (Character) ที่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ควรเสริมสร้างให้บังเกิดขึ้น ได้แก่
1. มีบุคลิกที่ดี สง่างาม น่านับถือ
2. มีความขยันหมั่นเพียร สัมมาอาชีพ
3. มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว หน่วยงาน
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. ตรงต่อเวลา บริหารเวลาได้ดี
6. กระตือรือร้นในการทำงาน
7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
8. รักษาระเบียบวินัยได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดี

สรุป

ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์

wach10 profile wach10
ทฤษฏีการบริหาร

ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
ในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการบริหาร ภาพรวมของ

การบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมุมมอง

ในการบริหารสถานศึกษายิ่งขึ้นต่อไป

คำจำกัดความ

คำว่า “การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้

กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบ ริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหาร ตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบ ริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกัน กำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)

ส่วนคำว่า “การบริหารการศึกษา” หมาย ถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัย

ทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)

คำว่า “สถานศึกษา” หมาย ความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมี วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตาม ประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การ บริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของ

การ ปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) (ที่มา : http://www.kunkroo.com/admin1.html,)
ปัจจัยสำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2 เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
4. การจัดการ (Management)

กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำ

มาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการ

ทาง ศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี

การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ

เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลา และการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียว ที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี

ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor

จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง

2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป

2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะ อย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ใน ด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคน งาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้

1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่ กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วม มือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็น เรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น

3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,

Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้

1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้ บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ ค่อนข้างให้อิสระภาพ

4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้า ด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ

สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

wach10 profile wach10
คู่มือผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
http://www.thailearn.net/publication/book4/book4.pdf

หลักการบริหาร

วันนี้ขอนำเสนอหลักการบริหารที่จำเป็นอย่างยิ่งในการนำไปใช้ในการบริหารสถาน ศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องรู้หลักการบริหารนะครับ.........
หลักการบริหาร

การบ ริหาร ( Administration ) หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ดังนั้นการบริหารจะต้องเกี่ยวข้องกับ
1. บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. ร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
3. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
ลักษณะสำคัญของการบริหาร
การบริหารมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย
2. มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินงาน
3. มุ่งสร้างผลงานให้เกิดขึ้น
4. ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆด้านรวมกัน
5. ความสำคัญของงานอยู่ที่ความร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกมิใช่ผู้บริหารแต่ฝ่ายเดียว
6. มีผลกระทบในวงกว้าง
7. มีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้แก่ โทรทัศน์ วีดีโอ คอมพิวเตอร์ แฟกซ์ เป็นต้น
8. มีผู้นำกลุ่ม

Luther Gulick ได้กำหนดขั้นตอนหรือหลักการบริหารไว้ 7 ประการ เรียกว่า POSDCORB มีรายละเอียดดังนี้
1. การวางแผน ( Planning ) หมายถึง การจัดวางโครงการและแผนปฏิบัติรวมทั้งวิธีปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน
2. การจัดหน่วยงาน ( Organizing ) หมายถึง การกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่การแบ่งส่วนงานและการจัดสายงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
3. การจัดตัวบุคคล ( Staffing ) หมายถึง การบริหารงานด้านบุคคล ได้แก่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหาและการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี
4. การอำนวยการ ( Directing ) หมายถึง การวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในฐานะที่ผู้บริหารเป็น หัวหน้าหน่วยงาน
5. การประสานงาน ( Co-ordinating ) หมายถึง การประสานกิจการด้านต่างๆของหน่วยงานเพื่อให้เกิดมีการร่วมมือประสานงานที่ ดีและดำเนินไปสู่จุดหมายไปทางเดียวกัน
6. การรายงาน ( Reporting ) หมายถึง การรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงาน ได้ทราบความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าของกิจการอย่างสม่ำเสมอ
7. การงบประมาณ ( Budgeting ) หมายถึง การจัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงิน และการควบคุมตรวจสอบทางด้านการเงินและทรัพย์สิน


ทักษะในการบริหาร
การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การนั้น ผู้บริหารทุกคนต้องมีทักษะที่จำเป็น 3 ประการด้วยกัน คือ
1. ทักษะในด้านการปฏิบัติงาน ( Technical Skill ) บางครั้งเรียก “เก่งงาน” หมายถึง จะต้องมีความรู้ในเรื่องวิธีการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือเฉพาะอย่างเป็นอย่างดีเป็นผู้มีความชำนาญในงานเฉพาะสาขา อาชีพ เช่น วิศวกร ศัลยแพทย์ นักดนตรี นักบัญชี นักคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระดับล่างจะต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติได้
2. ทักษะในเรื่องคน ( Human Skill ) บางครั้งเรียก “เก่งคน” หมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี ถือเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจูงใจการสื่อสาร การประสานงาน ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ทักษะนี้มีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ
3. ทักษะในเรื่องความคิด ( Conceptual Skill ) บางครั้งเรียก “เก่งคิด” หมายถึง เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารองค์การ สามารถมององค์การในภาพส่วนรวม มีวิธีการตลอดจนแนวคิดในการที่จะพัฒนาให้องค์การไปในทิศทางที่กำหนด หรือสามารถที่จะแก้ไขปัญหาองค์การให้อยู่รอดเมื่อเกิดเหตุวิกฤติ อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม อันจะทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้
ทักษะทั้ง 3 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องมีในตัวผู้บริหารทุกระดับ แต่จะมีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในองค์การนั้นๆ ทักษะแต่ละทักษะมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้บริหารแต่ละระดับไม่เท่ากัน เช่น ทักษะด้านการปฏิบัติงาน ( Technical Skill ) มีความจำเป็นมากสำหรับผู้บริหารระดับต้น และลดน้อยลงไปตามความสำคัญในผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ทักษะในเรื่องความคิด ( Conceptual Skill ) จำเป็นมากสำหรับผู้บริหารระดับสูง แต่จะลดความสำคัญลงในระดับกลางและระดับล่างตามสมควร สำหรับทักษะเรื่องคน ( Human Skill ) นั้นมีความจำเป็นเท่าๆกันสำหรับผู้บริหารทุกระดับ

ปัจจัยและข้อจำกัดในการบริหาร
ใน การบริหารงานทุกประเภทจำเป็นจะต้องมีปัจจัยหรือทรัพยากรพื้นฐานทางการบริหาร โดยทั่วไปถือว่าปัจจัยที่สำคัญของการบริหารมี 4 อย่าง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ 4 M”s ได้แก่
1. คน ( Man )
2. เงิน ( Money )
3. วัสดุอุปกรณ์ ( Material )
4. การจัดการ ( Management )
5. การจัดการหรือวิธีการ ( Method )
6. ตลาด ( Market )
7. เวลา ( Minute )

การปกครองบังคับบัญชา
การปกครองบังคับบัญชา เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ กรอบแนวคิดที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับการปกครองบังคับบัญชา ประกอบด้วย
1. การปกครองบังคับบัญชา
2. ภาวะผู้นำ
3. การนิเทศงาน
4. การอำนวยการและการให้คำแนะนำปรึกษา

1. การปกครองบังคับบัญชา
การปกครอง หมายถึง การควบคุม ดูแล ตรวจตราผู้ร่วมงาน ( ผู้ใต้บังคับบัญชา ) ให้ปฏิบัติงานไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น รวดเร็ว และอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ มีความประพฤติดี สมัครสมาน สามัคคีและดูแลความทุกข์สุข ตลอดถึงการให้คุณให้โทษด้วย
การบังคับบัญชา หมายถึง การสั่งการ แนะนำ ให้ผู้ร่วมงาน ( ผู้ใต้บังคับบัญชา ) ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ดังนั้นการปกครองบังคับบัญชา หมายถึง การควบคุม ตรวจตราบังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ความประพฤติ การดูแลทุกข์สุข ตลอดจนการให้ความดีความชอบ การลงโทษ การบรรจุ แต่งตั้งให้ผู้ร่วมงานได้รับความชอบ ความเที่ยงธรรม

หลักการปกครองบังคับบัญชา
1. หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักความยุติธรรม
4. หลักความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
5. ผู้ปกครองบังคับบัญชาต้องมีพรหมวิหาร 4
6. หลักการบำรุงขวัญ
7. หลักการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน
8. หลักประชาธิปไตย
9. หลักในการครองตน ครองคน และครองงาน
10. หลักมนุษยสัมพันธ์

2. ภาวะผู้นำ ( Leadership )
ภาวะผู้นำ คือ การที่ผู้นำใช้อิทธิพล หรืออำนาจหน้าที่ในความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ ต่างๆ เพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ประเภทของผู้นำ มี 3 ประเภท คือ
1. ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย ( Autocratic Leaders )
2. ผู้นำแบบประชาธิปไตย ( Democratic Leaders )
3. ผู้นำแบบตามสบาย/ผู้นำแบบเสรีนิยม ( Laissez - faire Leaders )

ลักษณะของผู้นำที่ดี
1. กล้ารับผิดชอบ
2. มีความสามารถและกล้าแสดงความคิดเห็น
3. ไม่เอารัดเอาเปรียบ
4. มีไหวพริบดี
5. มีความกระตือรือร้น
6. มีความสุขุมรอบคอบ
7. ไม่หูเบา มีเหตุผล
8. ไม่รับสินบน
9. เปิดใจให้กว้าง

3. การนิเทศงาน
การนิเทศงาน หมายถึง การควบคุม ตรวจตรา ดูแลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้บริหารสามารถแก้ไข ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้ดำเนินการไปตามแผน หรือกำหนดวิธีการดำเนินงานให้เกิดผลดี มีประสิทธิภาพสูง และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยดูที่ปัจจัยกิจกรรมดำเนินงานและผลงานแต่ละส่วน
คุณสมบัติของผู้นิเทศงาน
1. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ รอบรู้และเคยทำงานในหน่วยงานนั้นมาแล้ว
2. คุณสมบัติส่วนตัว
2.1 สนใจงานในหน้าที่และงานอื่นๆนอกหน้าที่
2.2 เป็นที่รักใคร่ชอบพอของผู้ร่วมงาน
2.3 เป็นบุคคลที่มีเหตุผล
3. ความสามารถทางมนุษย์สัมพันธ์
3.1 สามารถเข้าใจคน
3.2 รู้วิธีสร้างสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.3 เข้าใจหลักพฤติกรรมของมนุษย์
3.4 ปฏิบัติตนตามหลักการและแบบอย่างที่ดี
3.5 ประเมินตนเองและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4. มีความสามารถในการบริหารงานเพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดและก้าวหน้าอยู่เสมอ

4. การอำนวยการและการให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงาน
การอำนวยการ หมายถึง การกำหนด สั่ง หรือชี้แนะงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว การอำนวยการจะหมายรวมถึง
1. การตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการ
2. การสั่งงาน
3. การสอนหรือแนะนำและตรวจสอบดูแล
4. การจูงใจ
5. การเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ
6. การใช้หลักมนุษยสัมพันธ์
7. การจัดระบบการติดต่อสื่อสาร
8. การมอบอำนาจหน้าที่

การ ให้คำแนะนำการปฏิบัติงาน หมายถึง การบอกกล่าวชี้แนะหรือการอบรมสั่งสอน โดยผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับคำแนะแนะจดจำหรือประพฤติปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือความคิดเห็นของตน การให้คำปรึกษาแนะนำจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้ ขอคำปรึกษาได้เป็นอย่างดี
การให้คำปรึกษาแนะนำ จึงมีหลักการปฏิบัติ 3 ประการ หรือหลัก 3 ก คือ
1. กัน เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ
2. แก้ เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ก่อ เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อก่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

wach10 profile wach10
ผู้บริหารสถานศึกษา...พัฒนาผู้เรียน

ผู้บริหารสถานศึกษา เปรียบกับผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาคธุรกิจที่มีอำนาจตัดสินใจทั้งด้านการ วางแผน การจัดสรรงบประมาณ การพัฒนาบุคลากร และการสร้างความร่วมมือ

ซึ่งต้องอาศัยความรู้และทักษะการบริหารจัดการ เพื่อให้การบริหารสถานศึกษามีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารมาโดยตลอด โดยส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถด้านการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเอาตัวรอดในสังคมที่มีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าผู้บริหารสถานศึกษายังคงต้องปรับปรุงในบางด้าน ที่จำเป็นต่อการพัฒนาผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะบทบาทการบริหารที่ครอบคลุมถึงการป้องกันและแก้ปัญหาของผู้เรียนด้วย

จากการประเมินผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ปี 2548 พบว่า ผู้บริหารฯ ยังไม่เข้าใจถึงการปฏิรูปการศึกษาและบทบาทตนเอง จึงทำให้การแก้ปัญหาผู้เรียนมีความจำกัด เน้นเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างอาคารเรียน การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ การจัดฝึกอบรมและดูงานนอกสถานที่ เป็นต้น เพื่อรองรับการประเมินภายนอก ในขณะที่ ปัญหาผู้เรียนกลับไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาความรุนแรง ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ความเลื่อมล้ำทางการศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม นอกจากนี้ การสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนยังมีน้อยมาก


ศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ เคยกล่าวถึงความสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ในงานวิจัยเรื่อง กัลยาณมิตรสำหรับผู้บริหาร กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2547) ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปคือ ผู้ที่เอาใจใส่และส่งเสริมผู้เรียนตามความถนัดและความสามารถ รวมทั้งเฝ้าระวังผู้เรียนมิให้เกิดภาวะเสี่ยงในอนาคต มิใช่ง่วนอยู่กับเอกสาร งานบริหารและธุรการ แต่เพื่อหันมามองผู้เรียนมากยิ่งขึ้น”

ดังนั้น บทบาทที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น คือ การแก้ไขปัญหาผู้เรียน นอกจากการพัฒนาสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งแนวทางดังนี้


กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาผู้เรียน
ผู้บริหารควรกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าจะพัฒนาเยาวชนในด้านใดบ้าง โดยก่อนอื่นผู้บริหารควรมีการประเมินสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบันว่าจะมีผล กระทบต่อผู้เรียนอย่างไร รวมถึงการนำผลการทำวิจัยที่เกี่ยวกับผลกระทบของสภาพสังคมต่อผู้เรียน เพื่อดูข้อเสนอในการพัฒนาผู้เรียน แล้วนำวิเคราะห์ว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เช่น ปัญหายาเสพติด วัตถุนิยม การมีเพศสัมพันธ์ในวันเรียน เป็นต้น สถาบันการศึกษาควรพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะความสามารถในเรื่องใด บ้าง ที่จำเป็นต่อการเอาตัวรอดในสังคม


ปรับเปลี่ยนการบริหารเป็นแบบเชิงรุก
ผู้บริหารควรไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะมีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนและเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับสภาพสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นลักษณะ การบริหารจัดการควรเปลี่ยนจาก “เชิงรับ” สู่ “เชิงรุก” มากขึ้น ผู้บริหารควรสามารถคาดการณ์ได้ว่า การพัฒนาผู้เรียนควรไปในทิศทางใดในอนาคต อาทิ ปัจจุบัน การแข่งขันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้เกิดการผลิตเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้บริหารฯ สามารถคาดการณ์ได้ทันทีว่า ผู้เรียนอาจตกเป็นทาสของเทคโนโลยีหรือใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิดได้ ดังนั้น สถานศึกษาจำเป็นต้องมีการสอนทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและวิธีหลีก เลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของเทคโนโลยี


บริหารองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน
การบริหารองค์ความรู้จะทำให้ผู้บริหารฯ สามารถดึงทรัพยากรและองค์ความรู้มาใช้ได้ง่าย สามารถลดความผิดพลาดและความสิ้นเปลือง โดย จัดทำฐานข้อมูลของสถานศึกษา ผู้บริหารฯ ควรให้สถานศึกษามีฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผู้เรียน อาทิ ปัญหาของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น ปัญหาผลการเรียนตกต่ำ พนันบอล ยกพวกตีกัน ยาเสพติด ติดเกม ฯลฯ ปัญหาของชุมชนที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้เรียน เช่น ชุมชนมีปัญหาการลักเล็กขโมยน้อย ปัญหายาเสพติด ปัญหาความยากจน ฯลฯ ทรัพยากรในชุมชนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียน เช่น ลานกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน ฯลฯ รวมทั้ง

ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งฐานข้อมูลเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาผู้เรียนเป็นรายบุคคล การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน การป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในสถานศึกษา รวมถึงสามารถเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ผู้ปกครอง นักจิตวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ เพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันและแก้ปัญหาผู้เรียน


นอกจาก การแสดงบทบาทตามที่กล่าวมาข้างต้น ในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษา จำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็นบางอย่าง ที่เอื้อต่อการบริหารสถานศึกษา และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ดังนี้


มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ผู้บริหารฯ ควรมีหัวคิดก้าวหน้า กล้าคิดหาสิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน โดยไม่ยึดติดกับประสบการณ์และระบบราชการแบบเดิม แต่ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของอำนาจหน้าที่และทรัพยากรของสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารฯ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการตามบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว


เรียนรู้ไม่อยู่นิ่ง ผู้บริหารฯ ควรมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือทิศทางการศึกษาทั้งในเชิงลึก เชิงกว้างและมองไกล รวมถึง การใฝ่รู้ในด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร อนาคตศึกษา จิตวิทยา การเมือง เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้เหล่านี้มาพัฒนาสถานศึกษา และพัฒนาผู้เรียน


ขยันสร้างทีมงาน การพัฒนาผู้เรียน ผู้บริหารฯ ไม่สามารถดำเนินงานได้คนเดียว จำเป็นต้องสร้างทีมงานเพื่อช่วยบริหารจัดการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยอธิบายวิสัยทัศน์และเป้าหมายให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ทราบ เพื่อให้มีทิศทางการทำงานแบบเดียวกัน



สังคมที่อยู่ภายใต้กระแสโลกภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและควบคุมได้ยาก นั่นหมายถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนย่อมควบคุมได้ยากเช่นเดียว กัน ผู้บริหารสถานศึกษาในวันนี้จึงควรบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ ๆ และพัฒนาทักษะความสามารถของตนเองอยู่เสมอ

โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความสามารถ เตรียมพร้อมให้เท่าทันกับสังคมยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นเกราะป้องผู้เรียนให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย.

wach10 profile wach10
สู่นักบริหารมืออาชีพ

มีทฤษฎีหลากหลายทฤษฎีที่จะนำมาวิเคราะห์ว่า “นักบริหาร” หรือ “ผู้บริหาร” เป็น “นักบริหารมืออาชีพ” ได้หรือไม่นั้น โดยดูได้จากทฤษฎีต่างๆ ดังนี้
ทฤษฎี 3 ทักษะ” (Three Skills)
เป็นทฤษฎีของคาทซ์ (Kats) และเป็นทฤษฎีที่จะนำมาวิเคราะห์นักบริหารมืออาชีพได้ คือนักบริหารมืออาชีพควรมีทักษะทั้ง 3 ทักษะ ซึ่งประกอบด้วย
1.ทักษะในคตินิยม (Conceptual Skill) คือทักษะที่สามารถเข้าใจ หน่วยงานของตนในทุกลักษณะ และเห็นความสัมพันธ์ของหน่วยงานของตน ที่มีต่อหน่วยงานหรือองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เข้าใจว่าหน่วยงานของตนมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แบ่งงานเป็นหน่วยงานย่อยๆอะไรบ้าง และสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง
2.ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ (Human Skill) คือทักษะในความสามารถที่จะทำงาน ร่วมกับคนอื่นได้ เพราะผู้บริหารจะต้องทำงานสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ช่วย หัวหน้าภาควิชา ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ เป็นต้น
3.ทักษะทางเทคนิค (Technical Skill) คือทักษะในการทำงานที่เกี่ยวกับกิจกรรม เฉพาะอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การพิมพ์ การร่างหนังสือติดต่องาน การทำสื่อการสอน การสอน เป็นต้น
จากแผนภูมิข้างบนนี้ C คือ Conceptual Skill, H คือ Human Skill,
T คือ Technical Skill ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่หรือนักบริหารมืออาชีพควรมี Conceptual Skill และ Human Skill ให้มากกว่า Technical Skill ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กหรือหัวหน้าหมวดวิชา ส่วนครูน้อยควรมี Technical Skill มากกว่า Conceptual Skill และ Human Skill<b

guest profile guest
พี่ค่ะ ดีมากเลยค่ะ แต่ จำไม่ได้เอาสั้นๆ ได้ความคิดรวบยอดจะดีมากเลย

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

wach10 Icon ไดฟูกุซาญ่าจอดรถไร้มารยาท อ่าน 682 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ อ่าน 1,541 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ขอความอนุเคราะห์อีกครั้ง อ่าน 1,154 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ข้อสอบชุดวิจัย 3 อ่าน 2,026 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon My World 5 M.5 Unit One อ่าน 1,632 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon แจ้งสถานที่สอบประมวลฯ อ่าน 728 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
guest Icon หลักฐานที่ใช้ในการสอบประมวลฯ 2 อ่าน 1,282 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ทบทวน..ข้อสอบประมวล.. 1 อ่าน 1,400 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เพื่อนร่วมสาขา 1 อ่าน 903 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wach10 Icon ข้อสอบประมวลฯ 4 อ่าน 2,365 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา