มะดัน

guest profile image guest
มะดัน
ชื่อที่ใช้เรียก "มะดัน" ( Garcinia schomburgkiana Pierre )

1. ชื่อ มะดัน

2. ชื่ออื่น -

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana Pierre

4. วงศ์ GUTTIFERAE

5. ชื่อสามัญ Madan

6. แหล่งที่พบ พบทั่วไปของทุกภาคมากภาคกลาง

7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น

8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเล็กๆ มากมาย โคนกิ่งเล็กๆ จะเป็นเต้านูนรอบบางต้นมีกิ่งเล็กๆ งอกสานกันไปมาคล้ายรังนก เรียก รกมะดัน

ใบ เป็นใบรูปหอกสีเขียวแข็งออกเป็นคู่ตรงข้ามกันเป็นมัน ใบยาวประมาณ 9 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ปลายแหลม

ดอก ดอกออกเป็นกลุ่ม 3-6 ดอก ดอกเดี่ยวเล็กๆ ดอกสีเขียวและแดงเรื่อๆ มี 4 กลีบ ยาว 6.5 มม. กว้าง 3 มม. ออกตามข้อ

ผล เป็นรูปกลมยาวปลายเรียวหรือยาวรี ผลยาว 5-7 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ผลสีเขียวเป็นมันรสเปรี้ยวจัด


9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน 10. การขยายพันธุ์ เมล็ด

11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบดินร่วนซุยชุ่มชื้นขึ้นบริเวณป่าโปร่ง ป่าละเมาะทั่วไปหรือที่ลุ่มต่ำ

12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน (ฤดูฝน) ผล เดือนสิงหาคม – กันยายน

13. คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย


Cal Moist ure Protein Fat CHO Fibre Ash . Ca P Fe  A.I.U B1  B2 Niacin C

Unit % Gm. Gm. Gm. Gm. Gm mg. mg. mg.
mg. mg. mg. mg.
ผลมะดัน 31 91.5 0.3 0.1 7.3 0.6 0.2 103 8 Tr. 225 0.01 0.04 0.2 16


14. การปรุงอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดหรือลวกร่วมกับน้ำพริก ยำ ผล นำมาปรุงให้ รสเปรี้ยวให้แทนมะนาวได้ เช่น แกงสายบัว แกงส้ม แกงปลา น้ำพริกมะดัน ซอยใส่ ข้าวคลุกกะปิ หรือนำไปดอง 15. ลักษณะพิเศษ ใบมีรสเปรี้ยว ผลรสเปรี้ยวจัด บำรุงโลหิต ช่วยขับเสมหะ ขับฟอกโลหิต ระบายอ่อนๆ

16. ข้อควรระวัง -

17. เอกสารอ้างอิง

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2535. คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. 48 หน้า.

คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์. 2540. ไม้อเนกประสงค์ กินได้. 486 หน้า.

เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ 379 หน้า.

วัชรี ประชาศรัยสรเดช. 2542. ผักพื้นเมือง เหนือ อีสาน ใต้. 81 หน้า.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2542. ผักพื้นบ้านภาคกลาง 279 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2538. ผักพื้นบ้าน : ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย 261 หน้า.

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

guest Icon มะดัน อ่าน 1,689 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ตะลิงปลิง อ่าน 1,633 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon กระเจี๊ยบแดง อ่าน 1,906 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon มังคุด อ่าน 1,483 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon กล้วยหอม อ่าน 768 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
manman Icon กระท้อน อ่าน 1,986 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
manman Icon สรรพคุณผลไม้และสมุนไพร อ่าน 3,104 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา