อธิบายบทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ

cl_km profile image cl_km
อธิบายบทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ
ความคิดเห็น
guest profile guest

 สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
           สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

 ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

 ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

  ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo02/info0427.html

http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/satabun.htm

http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/view/64676

 

guest profile guest

 สถาบันบริการสารนิเทศมีหน้าที่รวบรวมและพยายามเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างแต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มักจะมี
จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ เพื่อบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดดังนั้นการจำแนกหน้าที่ของสถาบันบริการ
สารสนเทศจึงมีอยู่หลายประการดังนี้

 

1. รวบรวมทรัพยากรสสารนิเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์ในสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารนิเทศนั้น ๆ
จัดบริการให้ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและข้อมูลที่ใช้เพื่ออ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น

 

 

2. จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการ
จัดเก็บและการบริการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 

 

3. ผลิตทรัพยากรสารนิเทศ ปฐมภูมิ (Primary Sources) ทุติยภูมิ (Secondary Sources) และ ตติยภูมิ (Tertiary Sources)
เพื่อบริการและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการสารนิเทศอื่น ๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร
หรือจดหมายข่าว จุลสาร ซีดีรอม วีดีทัศน์ ทำโฮมเพจสถาบัน ทำดัชนีวารสาร ทำสาระสังเขป รวบรวมบรรณานุกรมทั่ว ๆ ไป
ทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ทำกฤตภาค จัดทำสำเนาเอกสาร รูปภาพ หนังสือ และบริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น

 

 

4. จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูล และทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ รูปแบบต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการ
สารนิเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายและที่มีผู้ขอใช้บริการมา

 

 

5. จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคืนสารนิเทศ (Information Retrieval Service)

 

 

6. จัดสถานที่อ่านและจัดหาครุภัณฑ์ที่นั่งค้นคว้า ทันสมัย มีขนาดเหมาะกับผู้ใช้ และจัดที่นั่งเป็นสัดส่วน
ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ บริการให้มาใช้เป็นประจำ

 

 

7. จัดให้มีศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ ได้อีก เช่น จัดทำสหบัตรทรัพยากรสารนิเทศ
  (Union Catalog) เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ใช้ได้ทราบแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ รวบรวมรายชื่อแหล่งสารนิเทศหรือสถาบันบริการสารนิเทศ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศบอกสถานที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายและราคาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น ๆ

 

 

8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น จัดนิทรรศการใหม่
นิทรรศการตามเทศกาล นิทรรศการปะวัติบุคคลสำคัญ แข่งขันตอบปัญหาในหนังสือ ประกวดอ่านทำนองเสนาะ ฯลฯ

 

 

9. จัดบริการพิเศษอื่น ๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น บริการถ่ายเอกสาร บริการแปลบริการบรรณานิทัศน์บริการยืมระหว่างสถาบัน
บริการสารนิเทศ เป็นต้น

 

 

10. บริการค้นคว้าข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต

 

 

11. จัดบริการบรรยาย ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ 

 

สถาบันบริการสารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ  หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่

1. ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)
ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่งพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีบริการครอบคลุมหลายด้าน  แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน  บริการยืม คืน  และบริการช่วยการค้นคว้า      ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น  5  ประเภทได้แก่
1.1
 ห้องสมุดโรงเรียน (school library)  จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ  อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน   และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์  ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
1.2
 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library)   เน้นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้นสังกัดเปิดทำการสอน   เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์   ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไปเช่น    สำนักหอสมุด   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยบริการ   ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา  เป็นต้น
1.3
 ห้องสมุดเฉพาะ (special library)  เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด   มักสังกัดอยู่กับสมาคม  หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการเฉพาะด้าน  เช่น  ห้องสมุดธนาคาร   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น 
1.4
 ห้องสมุดประชาชน (public library)    เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน  ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา  ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน  ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
1.5
 หอสมุดแห่งชาติ (national library)  เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งที่เป็นหนังสือต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารโบราณและจารึก  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ   ให้บริการการอ่าน   ศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย 
หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติได้แก่
   ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)  และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)   ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ    ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ    ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติ    และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ    
หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี
    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม   และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด เช่น
ภาคกลาง ได้แก่
  หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี  และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ
ภาคเหนือ
  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่   และหอสมุดแห่งชาติลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
   หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ภาคตะวันออก
   ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี     และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ภาคใต้ ได้แก่
  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถสงขลา   หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก จ.สงขลา   หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถตรัง  และหอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจภูเก็ต

2. ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน
   แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ  เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ     ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ  ตัวเลข  รายงานการวิจัย  สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา    ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น  3  ฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายห้องสมุด  ฝ่ายการเอกสาร  และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่
  ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย  (ศบอ.)    ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC)  สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทยให้บริการสารสนเทศแก่นักวิจัย
  ผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไทย ในรูปของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ประสานงานและร่วมมือกับหอสมุด สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ   และให้บริการค้นคว้าทำสำเนารายงาน FAO (Food and Agriculture Organization) ของ สหประชาชาติ ที่ ศบอ.เป็นตัวแทนรับฝากในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509
เอกสารการวิจัยของ ศบอ.
  เริ่มตีพิมพ์รายงานแต่ละโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ที่วิจัยโดยนักวิจัยของสถาบันฯเอง รวมถึงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เป็นต้น มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกว่า 2,000  ฉบับ ในหลากหลายกลุ่มสาขา เช่น  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การบรรจุหีบห่อ  การบริหารและการจัดการ   การพัฒนาบุคลากรและชุมชน  การวิจัยตลาดและธุรกิจ   เทคโนโลยีการก่อสร้าง   เทคโนโลยีการเกษตร  เทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีพลังงาน  เทคโนโลยีวัสดุ  เทคโนโลยีวิศวกรรม  เทคโนโลยีอาหาร  นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม  เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน  และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น

3. ศูนย์ข้อมูล  (data center)
ศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข
  จัดระบบและเผยแพร่สู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย  มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน  เช่น  ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ     ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ  เป็นต้น

4. หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)
หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือ
         ลงทะเบียน  และรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง    อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ    กองการทะเบียนของกรมการปกครอง    ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์    และสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เป็นต้น

5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  โดยนำมาคัดเลือก   วิเคราะห์    สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  ใบข้อมูล  (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการตอบคำถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย      เนื่องจากกระบวนการทำงานของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์  และนักวิชาการ  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

6. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service)  ที่เหมาะสม  หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ต้องการ   โดยการจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม  ดัชนีและสาระสังเขป   และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทำหน้าที่ประสานการแจกจ่าย  ได้แก่  ห้องสมุดยูเนสโก   หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)   และหอสมุดแห่งชาติของไทย  เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
  มีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน     โดยยูเนสโก (UNESCO) เป็นผู้จัดตั้งข่ายงานทั้งสองในระดับภูมิภาคเรียกว่า ASTINFO  และ APINESS
“ASTINFO” ย่อมาจาก Regional Network for the Exchange of Information and Experiences in  Science and Technology in Asia and Pacific มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ข่ายงานภูมิภาคเพื่อการแลกเปลี่ยนสารนิเทศและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค”  ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ คือ ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์  เนปาล และประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2527 โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ  6 ศูนย์ คือ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดเกษตรศาสตร์   สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล   กองหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
“APINESS” ย่อมาจาก Asia-Pacific Information Network in Social Sciences มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า  ข่ายงานสารนิเทศด้านสังคมศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค มีสมาชิก 17 ประเทศ โดย 12 ประเทศจาก   ASTINFO จัดตั้งข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2531 โดย ประกอบด้วยศูนย์สมทบทั้ง 6 ของ ASTINFO และหน่วยงานอื่นอีก 4 แห่ง คือ ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งสองข่ายงานข้างต้น
  มีภารกิจในการให้บริการข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ในข่ายงานฯ  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในข่ายงานฯ จัดดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนาระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์   จัดดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   เช่นจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูเนสโก ที่เกี่ยวกับ ASTINFO และ APINESS

7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers)  
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
  ทำหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ  โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะแหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ  เป็นต้น  (ศรีสุภา  นาคธน, 2548)

8. หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)
หน่วยงานจดหมายเหตุ
  ทำหน้าที่รวบรวมและอนุรักษ์เอกสารราชการ  และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่  คำสั่ง ระเบียบ  ข้อบังคับ  บันทึก  หนังสือโต้ตอบ  รายงาน  แผนที่  ภาพถ่าย  แบบแปลน  เพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน    ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งเพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ  ตัวอย่างเช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ   หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย  และหอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม  เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
   มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม     จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและบำรุงรักษาเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า     ให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารโต้ตอบของส่วนราชการ   เอกสารส่วนบุคคล   เอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งที่เป็นเอกสารประเภทลายลักษณ์และประเภทไมโครฟิล์มรวม    ทั้งบริการเอกสารประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ เช่น   ภาพถ่าย   แผนที่   แผนผัง   แบบแปลน    สไลด์   ซีดี   แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ
  ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร    และมีหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาในต่างจังหวัด  ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ตรัง  ยะลา  และสงขลา    หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา และอุบลราชธานี    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี    หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครศรีธรรมราช   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี    หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑ จังหวัดสุพรรณบุรี

9. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าบริการ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์มีหลายรูปแบบได้แก่
 ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      ให้บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล  (selective dissemination of information service : SDI)       โดยจัดส่งรายการทางบรรณานุกรม   ดรรชนีและสาระสังเขปให้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้ตรวจสอบ    ส่วนการเข้าถึงตัวเอกสาร    จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ   ความสำเร็จของศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัยจึงอยู่ที่การมีห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่ดีสนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย
สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ
  (extension services–liason and advisory)  ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารสนเทศในสาขาเกษตร   อุตสาหกรรมและกิจการบริการสาธารณะอื่น ๆ   หรือแนะนำแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ   บริการนี้จึงมักเชื่อมโยงกับทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก 
ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (
abstract and index services)  ให้บริการฐานข้อมูลสาระสังเขปและดรรชนีวารสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  ส่วนใหญ่ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก  สามารถสืบค้นในระบบออฟไลน์ (offline system) ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวัสดุย่อส่วน ซีดีรอม และระบบออนไลน์ (online system) ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น  สาระสังเขปวิทยานิพนธ์  (Dissertation Abstracts International) ของบริษัท  University Microfilm     สาระสังเขปและดรรชนี  Biological Abstracts  และ  Bioresearch Index  จัดทำโดย  บริษัทไบโอสิส  (BIOSIS)  เป็นต้น

10.   เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network)  
เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการสารสนเทศ
  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการบริการทางบรรณานุกรม  ได้แก่  การทำบัตรรายการ  การพัฒนาทรัพยากร  การยืมระหว่างห้องสมุด  และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)
เครือข่ายยูนิเน็ตจัดดำเนินการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า “ThaiLIS” (Thai Library Integrated System)   โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบันจำนวน 24 แห่ง   ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต    มีสารสนเทศที่ให้บริการในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม
  (union catalog)  เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบัน 24 แห่ง   ปัจจุบันมีข้อมูลบรรณานุกรมจำนวนกว่า 2 ล้านระเบียน  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ http://uc.thailis.or.th   
ฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม
  (digital collection)  เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (full text)  พร้อมภาพ  ให้บริการข้อมูลวิทยานิพนธ์  งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่ง  ปัจจุบันมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  จำนวนกว่า  50,000 รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์   http://dcms.thailis.or.th/index.php   
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (
reference database)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 7 ฐานได้แก่     Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science 
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (
e-Book) ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลิขสิทธิ์ของ  SpringerLink จำนวน  1,528  รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่ 
URL : http://ebook.SpringerLink.com
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (
e-Book) ลิขสิทธิ์ของ NetLibrary จำนวน 5,962 รายการ และหนังสือ Publicly accessible eBooks จำนวน 3,400 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่  URL: http://www.netlibrary.com
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (
dissertation fulltext)  ให้บริการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย จำนวน 3,850 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่ URL: http://ebook.thailis.or.th

งานบริการสารสนเทศ
สถาบันสารสนเทศเน้นให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันไปตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง    ซึ่งพอจะสรุปบริการที่จัดให้โดยทั่วไปได้ดังนี้

1. บริการการอ่าน    เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในระบบชั้นเปิดและจัดที่นั่งสำหรับอ่านค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล   พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือช่วยค้นซึ่งอาจจะเป็นบัตรรายการหรือรายการในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยสะดวก 

2. บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  เป็นบริการรวบรวมรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการอยู่ในสถาบัน  หรืออาจรวบรวมเฉพาะเรื่องที่มีผู้สนใจ  หรือรวบรวมตามระยะเวลาที่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า  เช่น  การทำบัตรรายการ  การทำดัชนีวารสาร  บริการโอแพค (OPAC) ของห้องสมุด  และ การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประจำปี ของหอสมุดแห่งชาติ  เป็นต้น

3. บริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ  เป็นบริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศออกไปใช้ภายนอกสถาบัน  โดยผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันบริการสารสนเทศ

4. บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกที่ต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันอื่น โดยสถาบันต้นสังกัดของสมาชิกช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสาน  ซึ่งผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าขนส่ง เป็นต้น

5. บริการจองหนังสือหรือบริการหนังสือสำรอง  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด  แต่มีผู้สนใจต้องการใช้จำนวนมาก  สถาบันบริการสารสนเทศอาจให้บริการจองหนังสือล่วงหน้า  หรืออาจจัดบริการหนังสือสำรองไว้ในสถาบันโดยไม่ให้ยืมออกนอกสถาบันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้ได้ใช้บริการอย่างทั่วถึงทุกคน

6. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   เป็นบริการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีในสถาบัน และแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ   

7. บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  เป็นบริการแนะนำแหล่งหรือสถาบันบริการสารสนเทศ  วิธีการใช้  วิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงแหล่งจัดเก็บไว้  ได้อย่างรวดเร็ว  และใช้ประโยชน์ในแหล่งสารสนเทศนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

8. บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  เป็นบริการเผยแพร่สารสนเทศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ   เพื่อชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง เช่น การจัดนิทรรศการ  การจัดประชุมอภิปรายทางวิชาการ  การจัดทำจุลสาร วารสารวิชาการ เป็นต้น

9. บริการข่าวสารทันสมัย  เป็นบริการรวบรวม  คัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ แก่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการ  เช่น การทำสำเนาบทความจากวารสาร  การทำบรรณานุกรมและสาระสังเขปแล้วส่งให้ผู้ใช้บริการ เป็นต้น

10. บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล  เป็นบริการถ่ายสำเนาเอกสารไปใช้ประโยชน์  เช่น   บริการถ่ายเอกสาร    บริการพิมพ์ผลการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์  อินเทอร์เน็ต  หรือแฟ้มข้อมูล

11. บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เพื่อให้ผู้ค้นคว้าได้ใช้บริการต่าง ๆ เช่น  การสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์  และการใช้บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e –mail)   เป็นต้น

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
     มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัย  รวมทั้งให้บริการสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในการให้การศึกษาแก่ชุมชนท้องถิ่น มีประวัติความเป็นมา และให้บริการสารสนเทศ ดังนี้

1. ประวัติความเป็นมา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาปรับปรุงมาตามลำดับดังนี้
  (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2547)
พ.ศ. 2509
  จัดตั้งเป็นห้องสมุดโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ที่อาคาร 2 ชั้น 2  และต่อมาได้ต่อเติมอาคารชั้นล่างเป็นที่ตั้งของห้องสมุด    ต่อมาโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยาได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.2511 โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูได้ย้ายเข้ามาอยู่รวมกับวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา
   จึงได้รวมหนังสือของห้องสมุดทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน
พ.ศ. 2512
  วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ได้เปิดสอนนักศึกษาภาคค่ำเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเปิดสอนนักศึกษาภาคปกติ   จึงได้ขยายต่อเติมห้องสมุดออกใน      แนวกว้าง เพื่อให้มีพื้นที่บริการนักศึกษาที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
พ.ศ. 2515
  เริ่มก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งค่าครุภัณฑ์เป็นเงินจำนวน 2 ล้านบาท   และตั้งชื่ออาคารว่า อาคารหอสมุดกลาง
พ.ศ. 2517
  ย้ายห้องสมุดจากอาคาร 2 มาอยู่ที่อาคารหอสมุดกลาง และเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นต้นมา
พ.ศ. 2533 ได้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ พัฒนาฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร โดยใช้โปรแกรมไมโคร ซีดีเอส/ไอสิส
  (Micro CDS/ISIS)  ในการจัดการฐานข้อมูล
พ.ศ. 2534 ได้เริ่มพัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือขึ้นอีกหนึ่งฐาน
    พร้อมทั้งให้บริการสืบค้น OPAC (Online Public Access Catalog) ดรรชนีวารสารและบรรณานุกรมหนังสือจากคอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการใช้บัตรรายการ
พ.ศ. 2538
  วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาเปลี่ยนฐานะเป็นสถาบันราชภัฏ  และได้เปลี่ยนชื่อหอสมุดกลางเป็น  “สำนักวิทยบริการ” 
พ.ศ. 2540
  ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักวิทยบริการหลังใหม่  เป็นอาคารเอกเทศ  4  ชั้น รูปแบบของอาคารได้ปรับเปลี่ยนจากแบบของกองอาคารสถานที่ สำนักงานสถาบันราชภัฏ โดยออกแบบให้มีความสูงไม่เกิน 12  เมตร   ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างอาคารในพื้นที่โครงการมรดกโลก  ลักษณะอาคารได้เพิ่มพื้นที่ใช้สอยใน     แนวราบมากขึ้น ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน  33.8  ล้านบาท  และค่าวัสดุครุภัณฑ์ประจำอาคารจำนวน  12  ล้านบาท
พ.ศ. 2543
   เริ่มใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรม วีทีแอลเอส (Visionary Technology  in Library Solutions : VTLS)   เข้ามาจัดการฐานข้อมูลแทนโปรแกรม  Micro CDS/ISIS   และได้พัฒนางานบริการ ยืมคืนสิ่งพิมพ์  เป็นระบบยืมคืน ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ  ให้สามารถสืบค้นหนังสือของสำนักวิทยบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และปลายปีเดียวกันนี้ได้เริ่มเปิดใช้อาคารสำนักวิทยบริการหลังใหม่ โดยมีการเชื่อมโยงอาคารใหม่เข้ากับอาคารเดิม ทำให้มีพื้นที่บริการและพื้นที่ใช้สอยได้เต็มตามมาตรฐานห้องสมุดระดับอุดมศึกษา และสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจและบทบาทของสำนักวิทยบริการ บริการ สถาบัน ชุมชน และท้องถิ่นได้ตามวัตถุประสงค์
พ.ศ. 2545 ได้จัดบริการข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดบริการห้องอยุธยาศึกษา
  พร้อมฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อยุธยาศึกษา  ซึ่งสามามารถสืบค้นได้จากผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พ.ศ. 2546
  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาส           ราชนครินทร์  ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณประทานนามอาคารหลังใหม่เป็น อาคาร           บรรณราชนครินทร์”  
พ.ศ. 2548
  สถาบันราชภัฏเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัย  และจัดรวมสำนักวิทยบริการเข้ากับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ   จัดตั้งเป็น  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  จนถึงปัจจุบัน

2.  ระเบียบการใช้บริการ
ในการใช้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
   ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อปฏิบัติดังนี้  (คู่มือการใช้บริการสำนักวิทยบริการ 2547)  
2.1
 ผู้มีสิทธิ์เข้าใช้บริการได้แก่ อาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาปัจจุบัน และนักเรียนโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาหรือบัตรสมาชิก   ส่วนนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัว       นักศึกษาหรือบัตรสมาชิกให้นำใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนมาแสดงเพื่อขอเข้าใช้บริการสำนักวิทยบริการทุกครั้งก่อนเข้าใช้บริการ
2.2
 บุคคลภายนอกที่ประสงค์จะเข้าใช้บริการต้องได้รับอนุญาตจากบรรณารักษ์และเสียค่าบริการครั้งละ  20  บาท นักเรียนเสียค่าบริการครั้งละ 10 บาท
2.3
 แต่งกายสุภาพ นักศึกษาภาคปกติต้องแต่งเครื่องแบบในวันเวลาราชการ
2.4
 ไม่อนุญาตให้นำกระเป๋าหรือถุงและเครื่องมือในการตัดกระดาษทุกชนิด เข้ามาในสำนักวิทยบริการ
2.5
 เก็บสิ่งของไว้ในตู้รับฝากของ  ยกเว้นของมีค่าโดยติดต่อขอใช้บริการกับเจ้าหน้าที่รับฝากของ
2.6
 ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปในบริเวณสำนักวิทยบริการ
2.7
 ไม่ส่งเสียง หรือสนทนากันเสียงดังรบกวนผู้อื่น
2.8
 งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ
2.9
 ห้ามฉีก ตัด ลักขโมยหนังสือ  มิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย  และพ้นจากสภาพการเป็นนักศึกษา
2.10
 หนังสือที่อ่านแล้วให้นำไปวางที่โต๊ะกลางที่จัดไว้ให้  ไม่ต้องนำหนังสือไปเก็บที่ชั้นด้วยตนเอง
2.11
 วารสารและหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้ว โปรดนำไปเก็บไว้ที่จัดไว้ให้ไม่วาง  ทิ้งไว้ตามโต๊ะหรือเก้าอี้
2.12
 บัตรสมาชิกใช้เฉพาะเจ้าของบัตรเท่านั้น
2.13
 ก่อนออกจากสำนักวิทยบริการ ต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือและสิ่งของทุกครั้ง
2.14
 ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ และคำตักเตือนของบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการโดยเคร่งครัด

3.  บริการของสำนักวิทยบริการ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  จัดให้บริการสารสนเทศ ดังนี้
3.1
 บริการยืมคืนหนังสือ   ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือได้ที่เคาน์เตอร์ยืมคืนหนังสือ   บริเวณชั้นที่ 1   อาคารอาคารบรรณราชนครินทร์ ซึ่งมีระเบียบและวิธีปฏิบัติดังนี้
3.1.1
 ระเบียบการยืม  ปฏิบัติดังนี้
อาจารย์สามารถยืมได้ 20 เล่ม กำหนดส่งภายใน 1 ภาคเรียน
นักศึกษาระดับปริญญาตรียืมได้ 7 เล่ม กำหนดส่งภายใน 7 วัน
นักศึกษาระดับปริญญาโทยืมได้ 10 เล่มกำหนดส่งภายใน 7 วัน
3.1.2
 การทำบัตรยืม   ติดต่อขอทำบัตรได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืมคืน  โดยใช้รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป    ใบเสร็จรับเงินการลงทะเบียนในภาคเรียนนั้น  หรือสำเนาใบรับฝากเงินค่าลงทะเบียนของธนาคาร  และบัตรประจำตัวประชาชน
บัตรยืมจะมีระยะเวลาการใช้งานได้
  1 ภาคเรียน สำหรับนักศึกษาภาคพิเศษ (กศ.บป.)  และ 1 ปีการศึกษาสำหรับนักศึกษาภาคปกติ  ในการต่ออายุบัตรให้นำบัตรยืมเดิม  พร้อมด้วยใบเสร็จรับเงินการลงทะเบียนของภาคเรียนต่อไปมาแสดงเป็นหลักฐานในการต่ออายุบัตร    ในกรณีที่บัตรสูญหาย และประสงค์จะทำบัตรใหม่ให้นำรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป   เงินค่าธรรมเนียม 10 บาท  และเขียนใบคำร้องขอทำบัตรใหม่ได้ที่เจ้าหน้าที่บริการยืมคืน 
3.1.3
 วิธีปฏิบัติในการเสียค่าปรับ ปฏิบัติดังนี้
กรณีที่นักศึกษาส่งคืนหนังสือทุกประเภทเกินกำหนดเวลา
   นักศึกษา   จะต้องชำระเงินค่าปรับในอัตราวันละ 5 บาทต่อ 1 เล่ม
กรณีหนังสือหาย ผู้ทำหนังสือหายต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ยืมคืนก่อนถึงวันกำหนดส่ง
   และต้องชำระค่าหนังสือเป็นสองเท่าของราคาที่ปรากฏในทะเบียน หรือราคาที่มีจำหน่ายในท้องตลาด  พร้อมด้วยค่าดำเนินการด้านเทคนิคอีกเล่มละ  60  บาท  ในกรณีที่แจ้งหายภายหลังวันกำหนดส่ง  ต้องชำระค่าปรับการยืมหนังสือเกินกำหนดเวลาเพิ่มอีกวันละ  5 บาทต่อ 1 เล่ม
3.2
 บริการตู้เก็บสิ่งของ  เนื่องจากสำนักวิทยบริการไม่อนุญาตให้นำกระเป๋าเข้าไปภายในห้องสมุด    ผู้ใช้บริการต้องเก็บกระเป๋าส่วนตัวไว้ที่ตู้เก็บสิ่งของ โดยใช้บัตรยืมของห้องสมุดหรือบัตรประจำตัวนักศึกษาเป็นหลักฐานขอรับกุญแจตู้เก็บสิ่งของบริเวณหน้าห้องสมุด   ตู้เก็บสิ่งของจะให้บริการเฉพาะผู้เข้าใช้บริการในสำนักวิทยบริการเท่านั้น  สิ่งของมีค่าเช่น โทรศัพท์มือถือ  เครื่องประดับ  ฯลฯ  ให้นำติดตัวไปด้วยไม่ควรเก็บสิ่งของมีค่าไว้ในตู้เก็บสิ่งของ  หากสูญหายทางสำนักวิทยบริการจะไม่รับผิดชอบ
3.3
 บริการวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ให้บริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา ได้แก่ วารสาร  นิตยสาร  หนังสือพิมพ์  จุลสาร  กฤตภาค จดหมายข่าว  สยามจดหมายเหตุ  ราชกิจจานุเบกษา 
การขอใช้บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลา
   ผู้ขอใช้บริการต้องนำบัตรยืมหรือบัตรประจำตัวนักศึกษาแสดงกับเจ้าหน้าที่   และเขียนรายการวารสารหรือหนังสือพิมพ์ที่ขอใช้ในแบบฟอร์ม   ไม่อนุญาตให้นำทรัพยากรสารสนเทศในฝ่ายสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทุกชนิดออกนอกห้องบริการ
3.4
 บริการเทคโนโลยีทางการศึกษา  ให้บริการสารสนเทศในรูปแบบของ วีดิโอ  ซีดี  ซีดีรอม  วีซีดี  ดีวีดี  เทปเสียง  สไลด์  โทรทัศน์  เคเบิ้ลทีวี  ทั้งเป็นรายบุคคลและกลุ่มย่อย    นอกจากนี้ยังมีบริการรายการโทรทัศน์ภายในมหาวิทยาลัย (cable television)  ในชื่อสถานีโทรทัศน์ เออาร์ยู  (ARU)   เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์  และเพื่อการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยแก่อาจารย์และนักศึกษา
การใช้บริการเทคโนโลยีทางการศึกษา
  ผู้เข้าใช้บริการต้องแสดงบัตรห้องสมุดหรือบัตรประจำตัวนักศึกษาก่อนเข้าใช้บริการทุกครั้ง   ขอใช้วีดิทัศน์ได้ครั้งละ 1 รายการ  และยืมหูฟังได้ครั้งละ 1 ชุด/ 1 คน   ไม่อนุญาตให้นำอุปกรณ์หรือ     โสตทัศนวัสดุที่ไม่ใช่ของสำนักวิทยบริการเข้ามาใช้   หากต้องการใช้บริการต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษ 
3.5
 บริการอินเทอร์เน็ต  ให้บริการอินเทอร์เน็ตเฉพาะสมาชิกของสำนักวิทยบริการเท่านั้น  ผู้ใช้บริการต้องแสดงบัตรห้องสมุดหรือบัตรนักศึกษาก่อนเข้าใช้บริการ  สมาชิกใช้บริการได้ครั้งละ  1  ชั่วโมง  ในกรณีที่ต้องการขอเพิ่มเวลาต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่
3.6
 บริการฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์  ให้บริการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกบอกรับและฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย   ซึ่งเข้าใช้ได้ที่   URL : http://www.aru.ac.th   
ฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการได้แก่
  TIAC,   ERIC,  Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science,  SpringerLink
3.7
 บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล  มีอัตราค่าบริการดังนี้
ถ่ายเอกสารสิ่งพิมพ์
    ค่าบริการแผ่นละ   50  สตางค์     พิมพ์ผลการสืบค้นด้วยเครื่องเลเซอร์  แผ่นละ 2 บาท    สำเนาสแกนภาพ (scaning)  ลงแผ่นซีดีรอม รูปละ 10 บาท

สรุป
แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่ให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   ประเภทแหล่งสารสนเทศแบ่งตามลำดับการผลิตได้เป็น  3  ประเภทคือ   สารสนเทศปฐมภูมิ สารสนเทศทุติยภูมิ  สารสนเทศตติยภูมิ ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศในลำดับรอง
สถาบันบริการสารสนเทศ
  ให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง มีหลายประเภทได้แก่ ห้องสมุดหรือหอสมุดจะเน้นจัดเก็บและจัดบริการผู้ใช้ด้านการอ่านและการยืมสารสนเทศ    ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารจะเน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ทำการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ   ศูนย์ข้อมูลจะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลสถิติ ตัวเลข และการเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิก   หน่วยงานทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนและสถิติที่เกี่ยวข้อง    ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการข่าวสารทันสมัยเฉพาะสาขาวิชาในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  บทความปริทัศน์  และจัดส่งให้สมาชิกที่สนใจ   ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศจะเน้นบริการความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  หน่วยงานจดหมายเหตุเน้นให้บริการเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและส่วนบุคคล  ภาพถ่าย  แผนที่ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีสถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ที่ให้บริการโดยคิดค่าบริการ
  ซึ่งให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ   ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี เป็นต้น
ในปัจจุบัน สถาบันหลายแห่งได้ร่วมกันเป็นเครือข่ายบริการสารสนเทศ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน
   เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน  และให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS)   
บริการสารสนเทศ
  ที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดให้โดยทั่วไป ได้แก่ บริการการอ่าน  บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  บริการยืมทรัพยากร  บริการยืมระหว่างสถาบัน    บริการจองหนังสือ  บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  บริการข่าวสารทันสมัย  บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล   บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
     มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ให้บริการสารสนเทศเช่นเดียวกับสถาบันบริการสารสนเทศทั่วไป  แต่มีระเบียบข้อกำหนดที่นักศึกษาและผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะ  ดังนั้นผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจก่อนเข้าใช้บริการ

 

 

 

 

guest profile guest

บริการสารสนเทศประวัติและพัฒนาการ

บริการสารสนเทศ (information service) เริ่มมีขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายศตวรรษที่ 19

โดยมีพัฒนาการมาจากงานบริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้า(reference service) ในห้องสมุด

บริการดังกล่าวเริ่มมีขึ้นในห้องสมุดประชาชนก่อนสถาบันบริการประเภทอื่น บริการนี้จะช่วยแนะนำ ให้

ผู้ใช้รู้วิธีใช้หนังสือและห้องสมุดให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ค.ศ. 1876 เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) และบรรณารักษ์ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมห้องสมุด

อเมริกัน (American Library Association - - ALA) และในปีเดียวกันนั้นเป็นปีที่สมาคมห้องสมุด

อเมริกันเริ่มออกวารสารชื่อ Library Journal วารสารดังกล่าวตีพิมพ์บทความของบรรณารักษ์ ห้อง

สมุดประชาชนวูซเซสเตอร์ (Worcester Library) ชื่อ Samuel Green เรื่อง "Personal

Relations Between Librarians and Readers" ซึ่งเป็นบทความเกี่ยวกับการทดลองบริการช่วย ผู้

อ่านเป็นรายบุคคลในห้องสมุดประชาชนวูซเซสเตอร์ จากบทความของ Samuel Green ได้มี

บรรณารักษ์จำ นวนมากนำ แนวความคิดการบริการช่วยเหลือผู้ใช้ ไปทดลองใช้ในห้องสมุดของตนเอง

โดยได้เล็งเห็นว่าบรรณารักษ์ไม่ควรเป็นแต่เพียงผู้รักษาหรือเฝ้าหนังสือเท่านั้น ควรเป็นนักการศึกษา

และให้คำ แนะนำ ช่วยเหลือผู้ใช้สถาบันบริการในการหาข้อมูลต่าง ๆ (ยุพิน เตชะมณี, 2522)

ค.ศ. 1886 เมลวิล ดิวอี้ ได้ตั้งแผนกบริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้า (reference

department) ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) โดยทำ หน้าที่จัดหาหนังสือ

อ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น บรรณานุกรม สารานุกรม พจนานุกรม และสิ่งพิมพ์อ้างอิงอื่น ๆ ที่มีคุณภาพดีไว้บริการผู้อ่านรวมทั้งแนะนำ ให้ผู้อ่านรู้จักวิธีใช้หนังสืออ้างอิง และรู้วิธีค้นหาสาระข้อมูลใน

หนังสืออ้างอิงด้วยตนเอง

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1896 เป็นต้นมา บริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้าได้รับการยอมรับถึง

ความสำ คัญ โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์เริ่มบรรจุวิชา Reference Service ใน

หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศทุกประเภทเริ่มจัดตั้ง

แผนกบริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้าเป็นงานสำ คัญส่วนหนึ่งของสถาบันบริการสารสนเทศ

ปัจจุบันงานของแผนกนี้ได้พัฒนารูปแบบ ลักษณะของบริการ รวมทั้งการนำ เทคโนโลยี

ใหม่ ๆ มาใช้ในสถาบันบริการสารสนเทศ ทำ ให้งานบริการก้าวหน้าจนมีศัพท์ใหม่เรียกบริการประเภท

นี้ว่า บริการสารสนเทศ (information service) ซึ่งมีความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าบริการตอบ คำ

ถามและช่วยการค้นคว้า (reference service) กล่าวคือ

บริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้า หมายถึงงานบริการตอบคำ ถามที่ผู้ใช้บริการประสงค์

จะได้คำ ตอบอย่างกว้าง ๆ โดยใช้ reference sources ได้แก่ หนังสือ หนังสืออ้างอิง และเครื่องมือช่วย

ค้นหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ช่วยค้นหาคำ ตอบให้ตามความต้องการของผู้ใช้ ส่วนใหญ่มักจะให้เฉพาะราย

ชื่อหนังสือที่มีคำ ตอบอยู่เท่านั้น

สำ หรับบริการสารสนเทศ หมายถึง งานบริการที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ้ง ช่วยค้นหา ข้อ

มูลหรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้บริการหลายประเภท เช่น บริการจัดทำ ดรรชนีและสาระสังเขป

บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น และยังต้องติดต่อกับศูนย์

เอกสารและศูนย์สารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ ในการค้นหา ข้อมูล

โดยใช้ information sources นั้น นอกจากจะเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว information sources ยังรวม

ถึงสารสนเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถค้นข้อมูลออกมาในรูปบรรณานุกรม และเนื้อหา

เต็มฉบับ (fulltext) บริการสารสนเทศมีจุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์

รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

องค์ประกอบของบริการสารสนเทศ

การบริการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการดำ เนินงานที่เป็นระบบ โดยมีองค์

ประกอบหลักของระบบดังนี้ คือ ประเภทสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศหรือสถาบันบริการสารสนเทศ

ผู้ใช้สารสนเทศ ผู้ให้บริการสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการและบริการสารสนเทศ

1. ประเภทสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการประมวลผลและมีผู้ถ่ายทอด บันทึก เรียบเรียง

รวบรวมไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปของทรัพยากรตีพิมพ์ ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ และทรัพยากร

อิเล็กทรอนิกส์

1.1 ทรัพยากรตีพิมพ์ (printed materials) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่

ผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ มีหลายประเภทได้แก่ หนังสือ หนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์รัฐบาล วารสาร หนังสือพิมพ์

จุลสาร และกฤตภาค

1.2 ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (non-printed materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์

หมายถึงวัสดุที่มีคุณค่าทางการศึกษาซึ่งไม่ขึ้นกับตัวหนังสือเป็นสำ คัญ แต่ให้สาระความรู้ผ่านประสาท

สัมผัสทางหูและตาเป็นหลักในการสื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และเกิดการเรียนรู้ที่ ถูก

ต้อง ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์มีคุณค่าต่อการศึกษาและการสอน ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ในห้องสมุด ได้แก่

ทัศนวัสดุ โสตทัศนวัสดุ โสตวัสดุ และวัสดุย่อส่วน

1.3 ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (electronic materials) หมายถึง ทรัพยากรที่

ต้องใช้ระบบแสงเลเซอร์ หรือคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการอ่านหรือฟัง ในปัจจุบันทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์

มีจำ นวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทรัพยากร

อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมออนไลน์ (OPAC) ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online

database) ฐานข้อมูลสำ เร็จรูปซีดีรอม (CD-ROM ) อินเทอร์เน็ต (Internet)

2. แหล่งสารสนเทศ โดยทั่วไปแล้วนักวิชาการจำ แนกแหล่งสารสนเทศไว้หลายรูปแบบ

ดังนี้

ประภาวดี สืบสนธิ์ (2533) จำ แนกแหล่งสารสนเทศออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แหล่งสารสนเทศภายในบุคคล เป็นแหล่งสารสนเทศที่ผู้แสวงหาสารสนเทศ

แต่ละบุคคลสามารถสร้างสารสนเทศขึ้นเองได้ โดยประมวลความคิด ความรู้ ความจำ และใช้ประสบ

การณ์ของตนเอง

2. แหล่งสารสนเทศภายนอก เป็นแหล่งสารสนเทศที่มิใช่ตัวผู้แสวงหาสารสนเทศ

ซึ่งประกอบด้วยแหล่งสารสนเทศบุคคล ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน สมาชิกในครอบครัว บุคคล

ผู้เป็นผู้รู้ ตัวกลางเผยแพร่สารสนเทศ ที่ปรึกษา ฯลฯ

พิมพ์รำ ไพ เปรมสมิทธ์ (2534) ได้แบ่งแหล่งสารสนเทศเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. แหล่งสารสนเทศบุคคล รวมถึงประสบการณ์ ความรู้ ตลอดจนแนวความคิด

ของผู้แสวงหาสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศส่วนตัว รวมถึงบุคคลอื่น ๆ ที่ผู้แสวงหาสารสนเทศ

สามารถไปปรึกษาหารือพูดคุย เพื่อได้มาซึ่งสารสนเทศ เช่น เพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งแหล่ง

สารสนเทศบุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่ไม่เป็นทางการ (informal information source)

2. แหล่งสารสนเทศสถาบัน คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กร

สมาคม ตลอดจนบุคคลที่ทำ งานในหน่วยงานสถาบันนั้น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ สมาคม บรรณารักษ์

เป็นต้น ซึ่งแหล่งสารสนเทศสถาบันเป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นทางการ (formal information sources)

3. แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นตัวกลาง

ในการถ่ายทอดความรู้และการแพร่กระจายข่าว

แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศในปัจจุบันที่สำ คัญมีดังต่อไปนี้

(ชุติมา สัจจานนท์, 2532)

1. ห้องสมุด (Library) คือ แหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศ ทั้งทรัพยากร

ตีพิมพ์ ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ และทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ความรู้

การค้นคว้าวิจัย ความจรรโลงใจ และการพักผ่อนหย่อนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน

และดำ เนินงานห้องสมุด ห้องสมุดโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ห้องสมุด โรงเรียน ห้อง

สมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดประชาชน และหอสมุด แห่งชาติ ทั้งนี้ห้อง

สมุดแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ นโยบายในการให้บริการแตกต่างกัน

2. ศูนย์สารสนเทศ (information center) คือ แหล่งจัดเก็บและให้บริการ สาร

สนเทศเฉพาะสาขาวิชาแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการค้น

คว้า วิจัย และปฏิบัติงาน ศูนย์สารสนเทศเกิดขึ้นในยุคที่กระแสแห่งความรู้และข่าวสารท่วมท้น ช่วย

เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการเรียกใช้สารสนเทศเฉพาะวิชาที่มีความลึกซึ้ง เฉพาะเจาะจง

การจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศโดยห้องสมุดในรูปแบบเดิม ไม่สามารถสนองความต้องการของผู้

ใช้ได้สมบูรณ์ ศูนย์สารสนเทศมีหน้าที่หลักเหมือนกับห้องสมุด คือ รวบรวม จัดเก็บ ดำ เนินการทาง

เทคนิค เผยแพร่สารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศมีความคล้ายคลึงกับห้องสมุดเฉพาะ คือ จัดตั้งขึ้นตาม

สาขาวิชาต่าง ๆ เก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์และวัสดุในสาขาวิชานั้น ๆ เช่น เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา

เป็นต้น และผู้ใช้สนใจในเนื้อหาของเอกสารสิ่งพิมพ์มากกว่าตัวเล่ม ดังนั้นบริการ รวบรวม

บรรณานุกรม สาระสังเขปและดรรชนี จึงมีความสำ คัญมากในการเรียกใช้เอกสาร ศูนย์สาร

สนเทศจึงมักจำ กัดขอบเขตวิชาให้อยู่ในวงแคบ เพื่อที่จะรวบรวมสารสนเทศได้ลึกซึ้งและครบถ้วน

การจัดตั้งศูนย์สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะความขาดแคลนสารสนเทศและเพื่อสนอง

ความต้องการของหน่วยงาน หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจ ศูนย์สารสนเทศมีหลายลักษณะตาม

ประเภทของงาน ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจกำ หนดขอบเขตตามสินค้า (commodity) หรือตามภารกิจ

(mission) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศูนย์สารสนเทศทางเฟอร์โรซีเมนต์ ศูนย์สารสนเทศทางข้าว

ศูนย์สารสนเทศด้านวัสดุและเทคนิคการหีบห่อ (packaging materials and technique) เป็นต้น

3. ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องใด

เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ และใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ถ้าการจัดเก็บขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่า คลังข้อมูล (Guindrat and Menou, 1983)

ศูนย์ข้อมูลเป็นหน่วยงานจัดดำ เนินการเกี่ยวกับข้อมูลดิบ ข้อมูลที่ดำ เนินการไป

แล้วบางส่วน และมักเป็นเรื่องกว้าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสำ มะโนประชากร สินค้า และวัสดุ

ศูนย์ข้อมูลทำ หน้าที่ประเมินค่าข้อมูล ให้บริการรวบรวมและเผยแแพร่ข้อมูล

4. หน่วยงานสถิติ สถิติเป็นตัวเลข/ข้อมูล ที่ถูกนำ มาใช้ในการบริหารงาน

การวางแผนงานโครงการวิเคราะห์ ประเมินผล หรือนำ ผลมาช่วยในการตัดสินใจของหน่วยงาน

ตลอดจนปรับปรุงขบวนการตัดสินใจ ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการทุกแขนง ซึ่งได้อาศัยการ

วิเคราะห์ตัวเลขทางสถิติเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง สมมติฐาน หรือทฤษฎีต่าง ๆ ดังนั้นตัวเลข/ข้อมูล จึงมี

ความสำ คัญสำ หรับนักบริหาร นักวิชาการ นักการศึกษา นักวิจัย

ลักษณะหน่วยงานสถิติของประเทศไทยจำ แนกได้ 5 ประการ คือ

4.1 หน่วยงานสถิติที่ผลิตในรูปของผลพลอยได้จากสายงานบริหาร ซึ่งใน

ระบบราชการของไทยมีหน่วยงานสถิติประเภทนี้กระจัดกระจายอยู่ใน กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ

เช่น กระทรวงมหาดไทย

4.2 หน่วยงานสถิติเฉพาะเรื่องภายในกระทรวง ทบวง กรม เช่น ศูนย์

สถิติการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์ กอง

สถิติสาธารณสุข สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

4.3 หน่วยงานสถิติขนาดใหญ่ จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานโดยตรง เช่น

สำ นักงานสถิติแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบทางด้านการกำ กับงานและแนวการประสานงานสถิติ

และรับผิดชอบในการจัดทำ สำ มะโนและการสำ รวจเชิงสถิติขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถิติ

พื้นฐานที่สำ คัญและจำ เป็นต่อการใช้ของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐและเอกชน

4.4 หน่วยงานประมวลผลข้อมูลสถิตโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่

ศูนย์ประมวลผลเครื่องจักรแห่งประเทศไทยของสำ นักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์คอมพิวเตอร์ของกระทรวง

การคลัง ศูนย์คอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ของกองวิเคราะห์และ

วิจัยของกรมทางหลวง ศูนย์สถิติการพานิชของกระทรวงพาณิชย์ ศูนย์สารสนเทศของกระทรวง

ศึกษาธิการ ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทยของสำ นักงานพลังงานแห่งชาติ

4.5 สถาบันการศึกษาและวิชาการเฉพาะเรื่อง มีอยู่หลายหน่วยงาน เช่น

สำ นักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (information analysis center) คือ หน่วยงานที่

ทำ หน้าที่สืบค้น เลือกสรร ประเมินค่า และสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมักเป็นปัญหา

ของผู้ใช้ และให้คำ ตอบเป็นแนวทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการ

ดำ เนินงานเป็นวิชาการชั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ดังนั้นบริการของศูนย์

จึงมีราคาแพง ความคล้ายคลึงระหว่างศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศและศูนย์สารสนเทศ

5.1 สารสนเทศที่จัดเก็บ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์

เผยแพร่หรืออยู่ในระหว่างการดำ เนินการ

5.2 เนื้อหาวิชาของสารสนเทศ ครอบคลุมสาขาวิชาหรือเรื่องใดเรื่อง

หนึ่งที่มีความเฉพาะเจาะจง ลึกซึ้ง

5.3 บุคลากรของศูนย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชาหรือนักวิชาการที่มี

ความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ

5.4 กิจกรรมและบริการ มุ่งเน้นตัวผู้ใช้ซึ่งเป็นนักวิชาการเฉพาะสาขา

และให้บริการสารสนเทศโดยนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

ความแตกต่างระหว่างศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศและศูนย์สารสนเทศ ศูนย์วิเคราะห์

สารสนเทศมีความแตกต่างจากศูนย์สารสนเทศ ในเรื่องหน้าที่และกิจกรรม ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ

ไม่ได้ทำ หน้าที่แต่เพียงจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศเท่านั้น แต่ต้องทำ หน้าที่สังเคราะห์ กลั่นกรอง

และย่อยสารสนเทศเพื่อให้คำ ตอบ ซึ่งเป็นแนวทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหา

6. ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ

6.1 หน่วยงานที่ทำ หน้าที่รวบรวม จัดเก็บหลักฐานต่าง ๆ เช่น ผลงานวิจัย ราย

งานความก้าวหน้าของโครงการงานที่สิ้นสุดแล้ว งานที่กำ ลังดำ เนินอยู่ แล้วออกเอกสารสรุปกิจการ

เหล่านี้

6.2 หน่วยงานที่ให้บริการด้านอ้างอิงถึงแหล่งต่าง ๆ ที่มีผลงานตามข้อ

6.1

6.3 หน่วยงานที่รวบรวมและแจกจ่ายผลงานตามข้อ 6.1 ไปยังผู้สนใจหรือ

ต้องการ

ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศอาจเป็นหน่วยอิสระหรือเป็นแผนกเฉพาะในหน่วยงาน สาร

สนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมเอกสารที่มีแหล่งผลิตต่าง ๆ กัน ที่จะอำ นวยความสะดวกใน

การเข้าถึงเอกสารได้แหล่งเดียว ผู้ผลิตเอกสารจะส่งข่าวให้ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศได้ทราบว่าได้ผลิต

เอกสารประเภทใดออกมาบ้าง และมักจะจัดส่งเอกสารให้ศูนย์ด้วยหนึ่งฉบับ เมื่อศูนย์ได้รับแล้วก็

จะแจ้งข่าวต่อไปยังผู้ให้ ในรูปของบรรณานุกรม ดรรชนี และแจ้งให้ทราบว่ามีการทำ สำ เนาเป็น

เอกสารหรือไมโครฟอร์ม หรือถ้าไม่ได้รับต้นฉบับ ก็จะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าจะต้องติดต่อกับหน่วย

งานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ผลิต

7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referral center) ให้บริการตอบคำ ถามของผู้ใช้

โดยการแนะผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สถาบันบริการสารสนเทศต่าง ๆ สมาคม

วิชาชีพ สถาบันวิจัย ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ศูนย์จะมีนามานุกรมและรายชื่อแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ

ซึ่งจัดทำ ขึ้นและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศช่วยเสริมงานของห้องสมุดทุก

ประเภท โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถหาคำ ตอบให้แก่ผู้ใช้ได้ บริการจากศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะ

ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

8. หอจดหมายเหตุ (archieve) เก็บรักษาจดหมายเหตุ ได้แก่ เอกสารราชการ

และเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ระเบียบข้อบังคับ คำ สั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน

แบบพิมพ์ แผนที่ ภาพถ่าย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำ เนินงาน

ของรัฐบาลหรือสถาบันเอกชน เพื่อใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหลักฐานสำ หรับการค้นคว้าวิจัย

และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

9. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ สถาบันบริการสารสนเทศ-

เชิงพาณิชย์ ในลักษณะที่เป็นธุรกิจ ตามความต้องการของลูกค้า และมีบริการอย่างกว้างขวางหลายรูป

แบบ เช่น

นายหน้าสารสนเทศ (information broker) หมายถึงบุคคลและองค์การที่ทำ

หน้าที่รวบรวมจัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของ ลูกค้า

บริการที่ให้ เช่น การจัดส่งเอกสาร การค้นสารสนเทศ บริการเขียนโครงร่างวิจัย เขียนรายงาน ทำ วิจัย

การวิเคราะห์การตลาด งานบรรณาธิการ การแปล การจัดทำ โฆษณา ฯลฯ

ผู้ผลิตฐานข้อมูลและผู้จำ หน่ายฐานข้อมูล โดยอาจเป็นผู้ผลิตฐานข้อมูล

และจัดจำ หน่ายฐานข้อมูลด้วย หรือมอบลิขสิทธิ์ให้บริษัทตัวแทนจัดจำ หน่าย ซึ่งมีทั้งองค์การทาง

การค้าและองค์กรของรัฐ เช่น National Library of Medicine เป็นผู้ผลิตฐานข้อมูล MEDLINE,

UN/FAO ผลิตฐานข้อมูล AGRIS ส่วนผู้จัดจำ หน่ายฐานข้อมูลที่สำ คัญ ได้แก่ บริษัท DIALOG

Information Services เป็นต้น

3. ผู้ใช้สารสนเทศ ผู้ใช้สารสนเทศแต่ละบุคคลและแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมการค้นหา

และการใช้สารสนเทศแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการค้น

หาและการใช้สารสนเทศ สรุปได้ดังนี้ (จิรวรรณ ภักดีบุตร, 2532)

1. ภารกิจทางด้านอาชีพและหน้าที่การงานของผู้ใช้ ความแตกต่างของบุคคล

แต่ละกลุ่มอาชีพและตำ แหน่งหน้าที่การงานมีส่วนกำ หนดลักษณะการค้นหาและการใช้สารสนเทศเป็น

อย่างมาก

2. คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ใช้ คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ใช้เป็นส่วนสำ คัญที่กำ หนด

พฤติกรรมการค้นหาและการใช้สารสนเทศ เพราะเป็นพื้นฐานและความสนใจส่วนตัวของผู้ใช้แต่ละคน

ประกอบด้วย สาขาวิชาที่ผู้ใช้ได้ศึกษามา ระดับการศึกษาของผู้ใช้ สภาพแวดล้อมส่วนตัว เป็นต้น

3. การเข้าถึงและการใช้สารสนเทศ คือ ความสะดวกในการรับสารสนเทศของผู้ใช้

ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ คือ มีแหล่งสารสนเทศและคู่มือช่วยการค้นคว้า ผู้ใช้สามารถค้นหา

สารสนเทศที่ต้องการได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว

การจัดแยกกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศ เป็นการกระทำ โดยการแยกกลุ่มผู้ใช้จากกลุ่มใหญ่

เพียงกลุ่มเดียวให้เป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศและจัดบริการต่าง ๆ

ให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม การแบ่งกลุ่มผู้ใช้จะยึดหลักความ

คล้ายคลึงกันของสมาชิกในกลุ่มและความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ใช้จึงคำ นึงถึงความต้องการของผู้ใช้ที่

แตกต่างกัน การแบ่งกลุ่มผู้ใช้จะแบ่งย่อยลงไปกี่กลุ่มก็ได้ ยิ่งแบ่งย่อยละเอียดลงไปเท่าใดสถาบัน

บริการสารสนเทศก็ยิ่งสนองตอบต่อความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้นเท่านั้น การแบ่งกลุ่มผู้ใช้อาจทำ

ได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามอาชีพ แบ่งตามอายุ หรือจัดแบ่งตามเขตที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ตัวอย่างกลุ่มของผู้ใช้สารสนเทศและสารสนเทศที่ต้องการ เช่น

กลุ่มนักบริหารและสารสนเทศที่ต้องการ

กลุ่มนักบริหาร หมายถึง กลุ่มบุคคลผู้นำ ในองค์กร หรือหน่วยงาน เป็นผู้ที่ดำ เนิน

งานและรับผิดชอบในการวินิจฉัย ตัดสินใจ สั่งการ และควบคุมดูแลให้การดำ เนินงานเป็นไปตาม

นโยบายและการสั่งงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

กลุ่มนักบริหารจำ แนกตามระดับการบริหารหรือระดับการตัดสินใจ ดังนี้

1. กลุ่มนักบริหารระดับสูง หมายถึง กลุ่มผู้นำ ระดับสูงในองค์กร มีตำ แหน่ง

สูงสุดในองค์กรนั้น เป็นผู้ที่ต้องวินิจฉัย ตัดสินใจ สั่งการ มีส่วนสำ คัญในการกำ หนดนโยบายและ วาง

แผนพัฒนาองค์กร เช่น ประธานกรรมการ ผู้จัดการและผู้อำ นวยการ เป็นต้น

2. กลุ่มนักบริหารระดับกลาง หมายถึง กลุ่มผู้นำ ระดับกลางในองค์กรที่มีหน้าที่

และความรับผิดชอบในการดำ เนินการและจัดการ การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนที่

กำ หนดไว้โดยกลุ่มนักบริหารระดับสูง ตลอดจนควบคุมดูแลให้มีการดำ เนินงานตามแผนภายในระยะ

เวลาที่กำ หนด เช่น ผู้ดำ รงตำ แหน่งผู้อำ นวยการกอง และหัวหน้ากองในหน่วยงานขอรัฐ ระดับกรม หรือ

ผู้จัดการฝ่ายในบริษัทหรือหน่วยงานเอกชน

3. กลุ่มนักบริหารระดับปฏิบัติการ หมายถึง กลุ่มนักบริหารที่รับผิดชอบในงาน

ระดับย่อยลงมา เป็นผู้ที่ปฏิบัติการ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามนโยบายและแผนที่ นัก

บริหารระดับสูงและระดับกลางกำ หนดไว้ เช่น ผู้ดำ รงตำ แหน่งหัวหน้าแผนก หัวหน้างานทั้งในหน่วย

งานของรัฐและเอกชน

สารสนเทศที่กลุ่มนักบริหารต้องการ องค์กรหรือหน่วยงานมีหน้าที่

รับผิดชอบในการจัดและดำ เนินภารกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ

หน่วยงานนั้น ตลอดจนควบคุมดูแลการดำ เนินงานและการปฏิบัติงานในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างเรียบ

ร้อยและมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหมาย รวมทั้งการวางแผนและเตรียมการสำ หรับภาระหน้าที่ใน

อนาคตด้วย สารสนเทศเป็นสิ่งที่สำ คัญและจำ เป็นสำ หรับนักบริหาร ซึ่งต้องทำ หน้าที่ตัดสินใจและ

วินิจฉัยสั่งการและการวางแผน ในหน่วยงานจึงมีการจัดตั้งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

(Management Information System - - MIS) เพื่อรวบรวมสารสนเทศที่สำ คัญและจำ เป็นในการ

บริหารขององค์กรนั้น เช่น สารสนเทศทรัพยากรของหน่วยงาน บุคลากร งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์

การตลาด เป็นต้น เพื่อช่วยและประกอบการตัดสินใจและวางแผน

กลุ่มนักบริหารต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกันไปตามระดับของภาระหน้าที่ในองค์

กร ดังนี้

1. กลุ่มนักบริหารระดับสูง ต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม ภาระ หน้า

ที่ และนโยบายขององค์กร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร ซึ่งอาจ

มีผลต่อนโยบายและแนวปฏิบัติของหน่วยงานของตน ความคืบหน้าทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ

สังคมภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับทรัพยากรของประเทศและ

องค์กร เช่น งบประมาณ กำ ลังคน วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น สารสนเทศที่ต้องการอาจอยู่ในรูปของ ตัว

เลข สถิติ และข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องเป็นสารสนเทศที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ เพื่อ

การกำ หนดวัตถุประสงค์ นโยบาย การวางแผนขององค์กรโดยรวม เพื่อประกอบการตัดสินใจ การวาง

แผนระยะยาว การจัดสรรทรัพยากร การจัดหาและการใช้ทรัพยากร

2. กลุ่มนักบริหารระดับกลาง ต้องการสารสนเทศในลักษณะเดียวกับผู้บริหารใน

ระดับสูง แต่เน้นหนักภายในองค์กร ซึ่งอาจเป็นตัวเลข สถิติ ข้อเท็จจริง กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่มี

ผลกระทบต่อการบริหารและดำ เนินงานขององค์กร ตลอดจนนโยบายจากผู้บริหารระดับสูง สารสนเทศ

ที่ต้องการอาจเป็นสารสนเทศหรือข้อมูลย้อนหลังและข้อมูลทันสมัย เพื่อนำ สารสนเทศนั้นไปดำ เนินการ

จัดการ และปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนงานและนโยบายที่รับมาจากผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ใช้จัดสรร

และควบคุมทรัพยากรให้เป็นไปตามแบบแผน

3. กลุ่มนักบริหารระดับปฏิบัติการ ต้องการสารสนเทศที่เป็นข้อเท็จจริงเฉพาะด้านที่

เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ คำ สั่งปฏิบัติงาน และแผนปฏิบัติที่ให้รายละเอียดของงานที่ต้องการกระทำ

เพื่อให้ดำ เนินการและควบคุมดูแลให้ปฏิบัติไปตามแผนในช่วงระยะเวลาที่กำ หนด กลุ่มนักบริหารระดับ

ปฏิบัติการส่วนใหญ่ มักเป็นผู้มีความรู้และความสามารถทางวิชาการเฉพาะด้านหรืออาจมีความรู้ทาง

วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ เช่น ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การบัญชี นิติศาสตร์

เป็นต้น

กลุ่มนักธุรกิจและสารสนเทศที่ต้องการ

กลุ่มนักธุรกิจ หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการค้าธุรกิจและอุตสาห-

กรรมทั้งในภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเอกชน เป็นเจ้าของกิจการค้า ผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ในบริษัทห้างร้าน ธนาคาร สถาบันการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบการ มีตำ แหน่ง

ผู้จัดการ ผู้อำ นวยการ หัวหน้าแผนก และตำ แหน่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

สารสนเทศที่กลุ่มนักธุรกิจต้องการ งานธุรกิจเป็นงานที่ไม่อยู่นิ่ง มีการ

เคลื่อนไหวตลอดเวลา นักธุรกิจต้องเป็นผู้ที่สามารถคาดการณ์และมองเห็นการณ์ไกล ทราบการเปลี่ยน

แปลงของโลกทางด้านค้า การแข่งขัน นักธุรกิจต้องตื่นตัว รู้ และติดตามความเคลื่อนไหวทางธุรกิจ

อย่างตลอดเวลาและต่อเนื่อง การตัดสินใจในทางการค้าและการลงทุนแต่ละครั้งต้องอาศัย สาร

สนเทศหลายกระแสและหลายด้านมาประกอบ เพื่อกันความผิดพลาดหรือความเสียหายของธุรกิจ

สารสนเทศที่กลุ่มนักธุรกิจต้องการอาจจำ แนกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. สารสนเทศภายในองค์กร สารสนเทศภายในองค์กรประกอบด้วย

1.1 สารสนเทศเกี่ยวกับบุคลากร การเงินและงบประมาณ

กำ ลังการผลิต และทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้อาจเป็นส่วนที่อยู่ในระบบสารสนเทศเพื่อการ

จัดการขององค์กรนั้นอยู่แล้ว เป็นข้อมูลที่สำ คัญในการจัดการและบริหารงานของบรษัทให้สำ เร็จและ

บรรลุวัตถุประสงค์

1.2 สารสนเทศเกี่ยวกับการค้าและธุรกิจของบริษัท นักธุรกิจ

ต้องการสารสนเทศที่เป็นรายละเอียดของบริษัทตนรับผิดชอบอยู่ ประเภทและชนิดของการค้าและ อุต

สาหกรรมที่ตนผลิตหรือร่วมลงทุน ตลอดจนแนวโน้มการขยายบริษัทและการตลาด สารสนเทศของ

บริษัทประกอบกับสารสนเทศภายนอกองค์กร ซึ่งมีส่วนสำ คัญที่จะทำ ให้ธุรกิจประสบความสำ เร็จหรือ

ความล้มเหลวได้

2. สารสนเทศภายนอกองค์กร เป็นสารสนเทศภายนอกบริษัทซึ่งมีส่วน

เกี่ยวข้องโดยตรงหรืออาจมีผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของตน เป็นสารสนเทศที่มีความสำ คัญไม่ยิ่ง

หย่อนกว่าสารสนเทศภายใน ประกอบด้วย

2.1 สารสนเทศภายนอกองค์กรทางเศรษฐกิจ เป็นสารสนเทศที่

เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางด้านการค้าธุรกิจและการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ ในระดับ

จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ และกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน เช่น ประเทศคู่ค้า กลุ่มอาเซียน และกลุ่มประชาคม

เศรษฐกิจยุโรป (Economic European Community- -EEC) เป็นต้น สารสนเทศที่ต้องการนั้นอาจเป็น

ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สถิติทางเศรษฐกิจที่สำ คัญที่จะมีผลต่อธุรกิจการค้าและการตลาด เช่น

นโยบายการเงินของประเทศ ค่าเงินบาท อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของเงินตราสกุล ต่าง

ๆ ของประเทศคู่ค้า หรือประเทศที่คาดว่าจะเป็นตลาดการค้าของสินค้าของตน หรือที่รับเอาสินค้าเข้า

มาจำ หน่ายในประเทศ รวมทั้งอัตราค่าดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารต่าง ๆ มูลค่าหุ้นของ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและประเทศคู่ค้า และสารสนเทศเกี่ยวกับระบบการให้สิทธิพิเศษทาง

ภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System Of Preferences- -GSP) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ย่อมมี

ผลทั้งโดยตรงและทางอ้อมต่อธุรกิจ

2.2 สารสนเทศภายนอกองค์กรทางการเมือง สารสนเทศที่

ต้องการอาจอยู่ในรูปของข่าว ข่าวสาร บทวิเคราะห์ทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การ

เปลี่ยนรัฐบาล และผู้บริหารประเทศทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น การเลือกตั้ง

ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนภาพรวมทางการเมือง และนโยบายทางการเมือง ที่

มีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการค้าขายของประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนกับประเทศใน

แหลมอินโดจีน เช่น ลาว เขมร เวียดนาม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการเมืองทั้งสิ้น

สารสนเทศเหล่านี้นับว่าสำ คัญมาก

2.3 สารสนเทศภายนอกองค์กรทางกฎหมาย และระเบียบ

ข้อบังคับต่าง ๆ ที่จำ เป็นต้องทราบและหาแนวทางในการปรับวิธีการค้าขายและธุรกิจให้เข้ากับ

กฎหมายนั้น หรือหาช่องทางที่จะใช้กฎหมายนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าของตน เช่น การแก้ไข

กฎหมายลิขสิทธิ์จะมีผลกระทบอย่างไรต่อการค้าของไทย การค้าของตนจะได้รับผลกระทบหรือไม่

เป็นต้น สารสนเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สำ คัญ และจำ เป็นในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น

2.4 สารสนเทศภายนอกองค์กรทางสังคมและทั่วไป นักธุรกิจ

ต้องการสารสนเทศที่อยู่ในรูปสถิติ ตัวเลขที่ได้กลั่นกรองและวิเคราะห์แล้ว ไม่ต้องการข้อมูลที่เป็น

ทฤษฎีหรือที่อ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่เป็นหลักทฤษฎี หรือเน้นหนักทางวิชาการ แต่ต้องการตัวข่าว รายงานข่าว

หรือแม้แต่ข่าวลือ หรือเรื่องที่พูดถึงอาจเป็นข่าวซุบซิบเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถจะนำ มา

กลั่นกรองประกอบการตัดสินใจในการลงทุนทางการค้าของตน รวมทั้งข้อมูลของบริษัทหรือหน่วยงานที่

ตนรับผิดชอบ และที่มีธุรกิจติดต่อกัน หรืออาจเป็นข้อมูลของบริษัทคู่แข่งขันทางธุรกิจการค้า ซึ่งล้วน

แล้วแต่เป็นสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจ วางแผน และปรับปรุงการค้า กลยุทธ์การตลาด และขยาย

กิจการธุรกิจ

กลุ่มนักวิชาการและสารสนเทศที่ต้องการ

กลุ่มนักวิชาการ หมายถึง กลุ่มผู้ปฏิบัติงานวิชาการทั้งด้านการเรียนการสอน

การวิจัย และการทดลองต่าง ๆ ในทุกสาขาวิชา ได้แก่ ครู อาจารย์ นักวิจัยที่ทำ การสอนหรือปฏิบัติงาน

ในสถาบันการศึกษาระดับสูง และครอบคลุมถึงนักวิชาการหรือนักวิจัยที่ปฏิบัติงานวิชาการในกระทรวง

ทบวง กรม และสถาบันอื่น ๆ ที่มีลักษณะงานที่มุ่งไปทางด้านการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการ

มากกว่าการบริหาร

สารสนเทศที่กลุ่มนักวิชาการต้องการ โดยทั่วไปนักวิชาการต้องการ

สารสนเทศเพื่อประกอบการสอน การวิจัย และศึกษาเรื่องราวในหัวข้อที่ตนสนใจ เป็นที่อ่านและศึกษา

อย่างกว้างขวาง สารสนเทศที่ต้องการมีลักษณะอย่างกว้าง ๆ ดังนี้

1. สารสนเทศทั้งที่เป็นหลักทฤษฎีและเป็นการพัฒนาการในสาขาวิชา

ทั่วไปและสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งนักวิชาการจำ เป็นต้องแสวงหาความเลิศทางวิชาการในสาขาวิชาที่

ตนถนัด เช่น นักวิชาการในสาขาเศรษฐศาสตร์อาจสนใจสารสนเทศทางด้านเศรษฐกิจและการค้า

เพื่อนำ ไปใช้ในหัวเรื่องเฉพาะด้าน เช่น จุลเศรษฐศาสตร์ การคลังสาธารณะ เป็นต้น

2. สารสนเทศจากตำ รา บทความในวารสาร และข้อมูลที่เป็นสถิติทั้ง

ปัจจุบันและย้อนหลัง เพื่อนำ ไปใช้ประกอบการศึกษาวิจัยและหาข้อสรุป ซึ่งอาจนำ ไปสู่การพัฒนา

ทฤษฎีใหม่ต่อไป ตัวเลขและสถิติที่ต้องการต้องเป็นตัวเลขที่ต่อเนื่องกัน เพื่อจะนำ ไปใช้ในการศึกษา

เปรียบเทียบในระยะเวลาที่ต้องการ ความต้องการสถิติที่ต่อเนื่องและทันสมัยนี้ก่อให้เกิดปัญหาในการ

ติดตามตัวข้อมูล เพราะมักพบข้อมูลที่ล้าสมัยหรืออาจไม่ต่อเนื่องกันทำ ให้การศึกษาขาดช่วงลง

3. สารสนเทศในเอกสาร รายงานการวิจัยต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบ

ความก้าวหน้าและรายงานผลการค้นพบใหม่ ๆ ที่สำ คัญเพื่อจะทราบว่าได้เคยมีการศึกษางานใน หัว

ข้อใกล้เคียงกันหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ทำ การศึกษาซํ้าซ้อนกัน สารสนเทศในรายงานการวิจัย บางครั้งอาจ

เป็นเอกสารไม่เผยแพร่และเปิดเผย อาจรู้อยู่ในกลุ่มเฉพาะและแวดวงจำ กัดเท่านั้น บางครั้ง นัก

วิชาการอาจได้รับสารสนเทศจากการพูดคุยสนทนากับเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ และสารสนเทศที่ต้องการ

ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในตำ แหน่งหรือปฏิบัติงานในฐานะ นัก

บริหาร นักธุรกิจ หรือนักวิชาการแต่อย่างใด เช่น กลุ่มเกษตรกร ประชาชนในชนบท กลุ่มแม่บ้าน

และกลุ่มนักเรียน นักศึกษาเป็นต้น

1. กลุ่มเกษตรกรและประชาชนในชนบท หมายถึง ประชาชนผู้ประกอบ

อาชีพทางด้านเกษตรกรรม ทั้งทางด้านการเพาะปลูก ทำ สวน ทำ ไร่ทำ นา และประชาชนผู้อยู่อาศัยอยู่

ในเขตชนบทในท้องถิ่นห่างไกล

2. กลุ่มแม่บ้าน หมายถึง กลุ่มสตรีที่ปฏิบัติหน้าที่และภารกิจในการดูแล

ความเป็นอยู่ของครอบครัว เลี้ยงดูบุตรและปฏิบัติงานบ้าน บางคนอาจประกอบอาชีพอื่น ๆ

3. กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา หมายถึง ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนในระดับมัธยม

ศึกษาขึ้นไปจนถึงระดับปริญญา

สารสนเทศที่ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ต้องการ

ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ต้องการสารสนเทศหลากหลายและแตกต่างกันไป

อาจต้องการสารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเอง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติอยู่ หรืออาจต้องการเพื่อเป็น

การพักผ่อนและจรรโลงในเท่านั้น

1. กลุ่มเกษตรกรและประชาชนในชนบท ต้องการสารสนเทศที่

เกี่ยวข้องกับอาชีพและเศรษฐกิจของตน เช่น ความรู้และข่าวสารทางด้านเกษตรกรรม การเพาะปลูก

การทำ นา การทำ สวน ทำ ไร่ และข่าวจากทางราชการ เช่น ราคาซื้อขายของพืชผลและผลิตผลทางการ

เกษตรต่าง ๆ เช่น ราคาข้าว ราคามันสำ ปะหลัง เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วกลุ่มเกษตรกรและประชาชน

ในชนบทยังต้องการสารสนเทศที่ให้ความบันเทิง เช่น รายการบันเทิงจากวิทยุและภาพยนตร์

2. กลุ่มแม่บ้าน ต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ข่าว

ทั่วไป ความรู้ทางด้านคหกรรมศาสตร์ เช่น วิธีการประกอบอาหารและถนอมอาหาร เย็บปักถักร้อย การ

เลี้ยงดูบุตร ตลอดจนสารสนเทศประเภทบันเทิงจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ส่วน

ใหญ่ต้องการสารสนเทศที่ไม่ลึกซึ้งและไม่เน้นหนักทางวิชาการ สารสนเทศจะเป็นประเภทเพื่อ พัก

ผ่อนหย่อนใจและจรรโลงใจ

3. กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ต้องการสารสนเทศที่ใช้ประกอบ

การเรียนในวิชาต่าง ๆ ของตน อาจไม่ใช้สารสนเทศที่เน้นหนักทางวิชาการที่ลึกซึ้งนัก อาจอยู่ในรูปของ

แบบเรียน ตำ รา สารคดี ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันและประจำ วัน ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์

เป็นต้น ถ้าเป็นนักศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีต้องการสารสนเทศที่ลึกซึ้งเฉพาะวิชาที่ศึกษา

การแบ่งกลุ่มผู้ใช้ดังกล่าวข้างต้นจะทำ ให้ผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศสามารถกำ หนดและ

จัดลำ ดับความสำ คัญของกลุ่มผู้ใช้ เพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศและจัดบริการให้เหมาะสมและ

สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด ซึ่งหมายถึงการนำ ไปสู่การปฏิบัติงานบริการ สาร

สนเทศที่บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ผู้ให้บริการสารสนเทศ ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของสังคมข่าวสาร (information

age) เป็นยุคที่การพัฒนาเทคโนโลยีส่งผลให้มีการผลิตสารสนเทศออกมามากมายจนเกิดสถานการณ์ที่

เรียกว่า ยุคของการทะลักทะลายของข่าวสาร (information exploration) และนอกจากนี้สารสนเทศยัง

เข้ามาเป็นตัวแปรที่มีบทบาทสำ คัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและ

ของโลก สารสนเทศมีความจำ เป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร การวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดจน

การพัฒนาประเทศและการพัฒนาขีดความสามารถของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นในแต่ละหน่วยงานจึงมี

การจัดตั้งหรือพัฒนาหน่วยงานที่ให้บริการข้อมูลสารสนเทศเป็นของตนเอง โดยไม่จำ กัดอยู่แต่ในรูป

แบบของห้องสมุด แตอ่ าจจะอยู่ในรูปแบบของศูนยส์ ารสนเทศ ศูนย์เอกสาร ศูนยส์ ื่อ ศูนยค์ อมพิวเตอร์

หอจดหมายเหตุ หรือบางครั้งอาจจะอยู่ในรูปของศูนย์บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (information

brokers) (ยุพิน เตชะมณี และคนอื่น ๆ, 2534)

เมื่อหน่วยงานที่ให้บริการข้อมูลสารสนเทศแก่ผู้ใช้ไม่จำ กัดเฉพาะห้องสมุดเท่านั้น ทำ ให้

บุคลากรที่ให้บริการสารสนเทศก็ไม่ใช่เฉพาะบรรณารักษ์เพียงกลุ่มเดียวดังที่ผ่านมาในอดีต แต่หมายรวม

บุคลากรที่ให้บริการสารสนเทศ (information professionals) ในแต่ละหน่วยงานอาจจะมีชื่อเรียก แตก

ต่างกันออกไป แต่ก็มักจะมีหน้าที่หลักคล้าย ๆ กันคือ เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการ สาร

สนเทศ โดยดำ เนินการเรื่องการจัดเก็บการค้นคืนสารสนเทศ การวิเคราะห์ ปรับแต่งสารสนเทศให้ตรง

ตามความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งการวิเคราะห์วินิจฉัยความต้องการของผู้ใช้ ค้นหาหรือชี้แนะ

แหล่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ดังนั้นเท่าที่ปรากฏในปัจจุบันจึงพบว่าผู้ทำ หน้าที่เหล่านี้จึงมีชื่อเรียก

แตกต่างกันไป เช่น ผู้จัดการสารสนเทศ (information management) ผู้ขายสารสนเทศ (information

broker) ไซเบอเรียน (cyberian) หมายถึง บรรณารักษ์ที่ต้องทำ งานเกี่ยวข้องกับทางด่วนข้อมูลหรือ

อินเทอร์เน็ต (Rice-Lively and Rocine, 1997)

Stueart (1997) ได้จำ แนกผู้ที่ประกอบอาชีพด้านสารสนเทศออกเป็นกลุ่มย่อยตามหน้าที่

ลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้คือ

1. กลุ่มผู้ทำ หน้าที่ผลิตสารสนเทศ (recording and reproduction) ได้แก่ ผู้ที่

ดำ เนินงานด้านสำ นักพิมพ์ (publishers) ผู้ที่ทำ งานการพิมพ์ (printers)

2. กลุ่มผู้ที่ทำ หน้าที่ถ่ายทอดสารสนเทศ (transformation) ไปยังผู้รับสารสนเทศ

ในรูปแบบที่เหมาะสม ได้แก่ บรรณาธิการ (editors) นักแปล (translators) นักข่าว (reporters)

นักโฆษณา (advertisers) นักวิจัย (researchers) เป็นต้น

3. กลุ่มผู้ที่จัดเก็บรักษาสารสนเทศ ได้แก่ บรรณารักษ์ (librarians) ผู้จัดการงาน

เอกสาร (record managers) นักจดหมายเหตุ (archivists) ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ (computer

specialists)

4. กลุ่มที่ทำ หน้าที่ในการเข้าถึงสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ (physical access)

ได้แก่ บรรณารักษ์ที่ให้บริการยืม-คืน (circulation librarians) ผู้ให้บริการสารสนเทศ (information

brokers)

5. กลุ่มผู้ที่ทำ หน้าที่การสังเคราะห์และการให้หรือกำ หนดรายละเอียดของคำ ค้น

สารสนเทศ (description & synthesis) ได้แก่ บรรณารักษ์ทำ รายการสารสนเทศ (catalogers) ผู้

จัดทำ ดัชนีและสาระสังเขป (indexers and abstractors) นักสถิติ (statisticians)

6. กลุ่มที่ทำ หน้าที่วิเคราะห์และประเมินผลสารสนเทศ รวมทั้งการแนะนำ ให้ผู้ใช้

เข้าถึงเนื้อหาสารสนเทศอย่างเป็นระบบ (evaluation and analysis) ได้แก่ บรรณารักษ์บริการตอบคำ

ถามและช่วยการค้นคว้า (reference librarians) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ (information

specialists) นักวิเคราะห์การเงิน (financial analysts)

จากความเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรสารสนเทศ รูปแบบสารสนเทศ รวมทั้งการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำ เนินงานเกี่ยวกับสารสนเทศ ตลอดจนอำ นวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ใน

การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวมาแล้ว จึงทำ ให้บุคลากรที่ทำ งานด้านสารสนเทศไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไร ก็

ตาม ซึ่ง Marsterson (1986) อ้างถึงใน กุลธิดา ท้วมสุข, 2541 ได้รวบรวมคำ และวลีที่ใช้เรียกผู้ที่ทำ

หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศไว้ดังนี้ คือ ผู้ทำ หน้าที่สื่อกลาง (mediator; intermediary) ผู้อำ นวย

ความสะดวกด้านสารสนเทศ (information facilitator) เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician) ผู้ประมวลผล

ข้อมูล (data processor) ผู้กลั่นกรองข้อมูล (filter) ผู้สอน (teacher) เป็นต้น

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา เทคโนโลยีเครือข่ายได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง

อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้ใช้ทั้งโลกสามารถเข้าไปค้นข้อมูล

จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างนักวิชาการในสาขาเดียว

กันได้โดยไม่จำ กัดสถานที่และเวลา ในปัจจุบันหน่วยงานแต่ละแห่งพยายามที่จะสร้างเว็บไซต์ ( web

site) ของตนเองเพื่อจะกระจายข้อมูลข่าวสารของตนเองไปยังผู้ใช้คนอื่น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะการเปลี่ยน

แปลงการให้บริการสารสนเทศอีกขั้นหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลที่นำ เอา

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการสารสนเทศ ด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในด้านการ

จัดการข้อมูลสารสนเทศ และการให้บริการดังกล่าว ทำ ให้บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศต้อง

เปลี่ยนแปลงจากลักษณะการทำ งานของบรรณารักษ์ในอดีต มาเป็นบทบาทของนักสารสนเทศใน

สังคมสารสนเทศในปัจจุบัน กล่าวคือนักสารสนเทศควรจะทำ หน้าที่และบทบาทดังนี้ (กุลธิดา ท้วมสุข,

2541 ; Focus Future, 1997)

- ทำ หน้าที่เกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูลภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศมากกว่าแหล่ง

ข้อมูลภายในสถาบันบริการสารสนเทศ

- มีบทบาทสำ คัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางไกล (distance learning)

- ให้บริการแบบขึ้นอยู่กับผู้ใช้เฉพาะรายมากขึ้น (personal client-based

services)

- ทำ หน้าที่เป็นผู้สอนทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูล

- เป็นผู้ให้คำ ปรึกษาด้านการออกแบบฐานข้อมูล

- เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic publishing

specialist)

- เป็นผู้ควบคุม กลั่นกรอง และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล

- เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ใน

วรรณกรรม

- เป็นผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต

ดังนั้นบทบาทของนักสารสนเทศ จึงต้องทำ หน้าที่ประสานงานระหว่างแหล่งสารสนเทศและ

ผู้ใช้ นักสารสนเทศต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ให้ถูกต้องและทำ ให้ผู้ใช้

ได้ข้อมูลที่ต้องการจริง ๆ และต้องตัดสินใจให้ได้ว่าอะไรคือสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ เป็นจำ นวนเท่าไร

จึงจะเพียงพอ นอกจากนี้นักสารสนเทศยังต้องทำ หน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับแหล่งสารสนเทศ ดังนี้

ความรู้ความสามารถของนักสารสนเทศ

จากการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำ คัญในการจัดการสารสนเทศ

ตลอดจนความต้องการสารสนเทศเพื่อการบริหารและการดำ เนินงานขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

นั้นมีสูงมาก นอกจากนี้สารสนเทศเหล่านั้นต้องมีคุณภาพซึ่งเน้นถึงความถูกต้องตรงตามความ

ต้องการและทันต่อเวลา สารสนเทศเหล่านี้อาจจะมีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความรู้ความ

สามารถของบุคลากรที่ให้บริการสารสนเทศที่หน่วยงานต่าง ๆ ต้องการนั้นพบว่า คุณลักษณะของ

นักสารสนเทศที่ตลาดแรงงานต้องการนั้นมีความเปลี่ยนแปลง ตามสภาพการณ์ด้านการจัดการ สาร

สนเทศในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจจะเนื่องมาจากระดับของความสำ คัญของ

สารสนเทศต่อการปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ และการที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำ คัญในด้านการจัด

การสารสนเทศ ตลอดจนการผลิตทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบที่เปลี่ยนไป กุลธิดา ท้วมสุข (2541)

ได้สรุปความรู้ความสามารถของนักสารสนเทศที่หน่วยงานต่าง ๆ คาดหวังจากผลงานวิจัย ของประภา

วดี สืบสนธ์ (2527) ; ยุพิน เตชะมณี และคณะ (2534) ; พิมพา อินแบน, กุลธิดา ท้วมสุข และ

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ (2540) ไว้ดังนี้

1. ความสามารถด้านงานเทคนิค

- คัดเลือกสิ่งพิมพ์และสิ่งไม่ตีพิมพ์ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้

- วิเคราะห์และให้เลขหมู่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ คัดเลือกทรัพยากร

สารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้

- จัดทำ รายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบ

คอมพิวเตอร์

- จัดการและประสานงานด้านเทคนิคกับหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่น ๆ

ได้

- ประมวลข้อมูลสารสนเทศโดยผ่านการปรุงแต่ง การวิเคราะห์ และ

การสังเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้

2. ความสามารถด้านการบริการ

- สื่อสารกับผู้ใช้เพื่อทราบความต้องการข้อมูลที่แท้จริง

- แนะนำ ชี้โยงแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ

- ค้นหาและให้บริการสารสนเทศได้โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์

- รู้แหล่งข้อมูลสารสนเทศสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

- เขียนสรุปข้อมูลที่ค้นได้ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ

3. ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

- รู้และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

- ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ

และเครื่องมือที่ใช้ในสำ นักงาน

- รู้วิธีการใช้โปรแกรมสำ เร็จรูปและประยุกต์ใช้กับงานจัดการข้อมูล

สารสนเทศที่รับผิดชอบได้

- เข้าใจเทคโนโลยีเครือข่ายสำ หรับการจัดการสารสนเทศและจัดการให้มี

ขึ้นในหน่วยงานและสถาบันได้

- รู้ระบบและขั้นตอนการดำ เนินงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละส่วน

สามารถอธิบายให้นักวิเคราะห์ระบบหรือนักคอมพิวเตอร์เข้าใจได้

4. ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ

- สื่อสารโต้ตอบภาษาอังกฤษได้

- อ่าน เขียนหนังสือโต้ตอบและเอกสารวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษได้

- รู้แหล่งข้อมูลสารสนเทศสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

- เขียนสรุปข้อมูลที่ค้นได้ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ

จากบทบาทและภาระหน้าที่ของนักวิชาชีพสารสนเทศในอนาคต และสภาพแวดล้อมที่

เปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย ภูมิภาค และสังคมโลก นักสารสนเทศควรจะมีความรู้ความสามารถใน

เรื่องต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศและระบบบริการสารสนเทศ ได้แก่ ระเบียบและ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศในระดับชุมชน ประเทศ

หรือนานาชาติ

2. ความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของชุมชน ประเทศ และระดับ

นานาชาติ

3. ภาษาและการสื่อความหมายโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

4. จริยธรรมวิชาชีพ หรือ จรรยาบรรณ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการและบริการสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี

การสื่อสาร ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำ เนินงานของสถาบันบริการสารสนเทศ และการจัดการ

สารสนเทศเป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนในการดำ เนินงานของสถาบันบริการ สาร

สนเทศที่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลสำ เร็จรูปซีดีรอม หรือ

ฐานข้อมูลบรรณานุกรมของเครือข่ายมาไว้ในฐานข้อมูลของสถาบัน การนำ ระบบบาร์โค้ดมาใช้ในการ

บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดภาระงานที่ต้องทำ ซํ้า ๆ กัน เช่น งานพิมพ์บัตร ราย

การ งานเรียงบัตรรายการ ทำ ให้สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน

3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการดำ เนินงาน เช่น การติดต่อ

สั่งซื้อหนังสือกับตัวแทนจำ หน่ายผ่านระบบเครือข่าย การให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ การรวบรวม

บรรณานุกรมตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถเลือกถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก

และรวดเร็วกว่าการรวบรวมจากบัตรรายการ

4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิตของสถาบันบริการสารสนเทศ การจัดทำ

สารสนเทศสำ เร็จรูป

5. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การใช้งบประมาณของสถาบันบริการเป็นไปอย่าง

ประหยัด กล่าวคือ สารสนเทศบางอย่างสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งที่ให้บริการโดยไม่ต้องสิ้นเปลือง

งบประมาณในการสั่งซื้อเข้ามาให้บริการ

6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การใช้แรงงานของบุคลากรของสถาบันบริการเป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการทำ งานซํ้า ๆ กันได้อย่างรวดเร็ว ทำ ให้ผู้ให้

บริการมีเวลาไปพัฒนางานอย่างอื่น และเป็นการลดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติงาน ซํ้า ๆ ของ

บุคลากรด้วย

7. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เกิดสารสนเทศที่สนับสนุนให้การดำ เนินงานใน

สถาบันบริการสารสนเทศมีความถูกต้อง แม่นยำ และทันต่อเหตุการณ์

8. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผลการดำ เนินงานของสถาบันบริการสารสนเทศใน

ภาพรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างสูงสุด

โดยให้บริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อขอใช้บริการหลายประเภทผ่านระบบเครือข่าย และสามารถสืบค้น

สารสนเทศได้จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก

งานบริการสารสนเทศถือว่าเป็นหัวใจของสถาบันบริการสารสนเทศ เนื่องจากเป็น

งานที่ผู้ให้บริการช่วยอำ นวยความสะดวกให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศตามความต้องการไม่ว่าสารสนเทศ

นั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งในการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในงานบริการสารสนเทศนั้นส่งผลให้

ผู้ใช้ สามารถเข้าถึงเนื้อหาสารสนเทศได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น ดังนี้

1. งานบริการสืบค้นสารสนเทศ (information retrieval service) เป็นการให้

บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางซึ่งประกอบด้วย

1.1 ฐานข้อมูลบรรณานุกรมที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดทำ ขึ้น

1.2 ฐานข้อมูลสำ เร็จรูปซีดีรอม (CD-ROM database) ได้แก่ ฐานข้อมูล

ที่สถาบันบริการสารสนเทศบอกรับมาให้บริการแทนสิ่งพิมพ์ที่เป็นตัวเล่ม

1.3 ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online database) ได้

2. งานบริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้า (reference servcice) ห้องสมุดบอกรับ

ฐานข้อมูลสำ เร็จรูปซีดีรอมที่ใช้กับงานบริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้าแทนสิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม

มาให้บริการแก่ผู้ใช้ ได้แก่ ฐานข้อมูลสารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม แผนที่ ดรรชนีวารสารและ

สาระสังเขป เป็นต้น และการให้บริการตอบคำ ถามผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

3. งานบริการรวบรวมบรรณานุกรม การใช้คอมพิวเตอร์สามารถทำ ได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งบรรณานุกรมในห้องสมุด และรวบรวมจากห้องสมุดอื่นโดยใช้ระบบ OPAC ของสถาบันบริการ

สารสนเทศนั้น

4. งานบริการยืมระหว่างสถาบันบริการ บรรณารักษ์สามารถใช้ระบบ OPAC ของ

สถาบันบริการอื่น เพื่อตรวจสอบรายการบรรณานุกรมในการยืมระหว่างสถาบัน และใช้บริการ

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อขอข้อมูลอื่น ๆ หรือส่งรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการยืมทางระบบ

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนระบบเดิม การส่งสารสนเทศที่ยืมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

5. บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล (selective dissemination of

information service - - SDI) เป็นบริการที่บรรณารักษ์จัดส่งสารสนเทศใหม่ ๆ ที่สถาบันบริการได้รับ

ให้แก่ผู้ใช้ตามความต้องการ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลรายการคำ สำ คัญที่แสดง เนื้อ

หาสารสนเทศที่ผู้ใช้สนใจไว้ในแฟ้มข้อมูลสมาชิก (user file) เมื่อได้รับสารสนเทศใหม่ ๆ ที่ สอด

คล้องกับคำ สำ คัญ ผู้ให้บริการจะทำ การแจ้งหรือส่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ในระบบออนไลน์

6. บริการข่าวสารทันสมัย (current awareness service) สามารถใช้คอมพิวเตอร์

ในการดำ เนินงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบเดิม เช่น การแจ้งรายชื่อสิ่งพิมพ์ใหม่ รายชื่อ

บทความในวารสาร หรือการแจ้งข่าวสารบริการใหม่ ๆ ของสถาบันบริการ

7. บริการจัดสง่ สารสนเทศให้แกผู้ใช้ในระบบอิเล็กทรอนิกส ? (document delivery)

สรุป ในสังคมปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการแข่งขันและเกิดความเปลี่ยน

แปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม เป็นยุคของการค้าไร้พรมแดน โดยเทคโนโลยี

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามามีบทบาทสำ คัญในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลไปยัง

ผู้ใช้บริการ ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศทำ ให้ปริมาณข้อมูล ข่าวสาร ถูกผลิตออกมาเป็นจำ นวน

มากมายมหาศาล ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจำ เป็นต้องเปลี่ยนบทบาทเพื่อให้สามารถติดตาม

ควบคุม และจัดการกับข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำ นวนมากนี้ได้อย่างเหมาะสม โดยการเปลี่ยนแปลง

บทบาทจากที่เน้นการเป็นเจ้าของข้อมูลมาสู่แนวคิดใหม่คือ เน้นการเข้าถึงข้อมูล (access resource)

และเปลี่ยนบทบาทของการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศแบบเผื่อว่าจะมีผู้ใช้ต้องการใช้ (just in case)

มาเป็นจัดหาทรัพยากรสารสนเทศแบบจัดหาเมื่อมีผู้ใช้ต้องการ (information on demand) ให้ได้ภาย

ในเวลาที่ต้องการ ประกอบกับรูปแบบในการจัดเก็บสารสนเทศในปัจจุบันนอกจากจะอยู่ในรูปของ

สิ่งพิมพ์แล้วยังอยู่ในรูปของโสตทัศนวัสดุ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้สถาบันบริการ ไม่

จำ เป็นต้องเป็นเจ้าของ แต่สามารถเข้าถึงและเรียกใช้จากแหล่งต่าง ๆ ได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

และสถาบันบริการสารสนเทศได้ปรับเปลี่ยนการให้บริการสารสนเทศอีกขั้นหนึ่ง โดยเน้นบริการ สาร

สนเทศเชิงรุกถึงตัวผู้ใช้ผ่านบริการบนเว็บไซต์ ( web site) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสถาบัน

บริการไปยังผู้ใช้ ซึ่งด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในด้านการให้บริการสารสนเทศดังกล่าว ทำ ให้

บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ ต้องเปลี่ยนแปลงจากลักษณะการทำ งานของบรรณารักษ์มาเป็น

บทบาทของนักสารสนเทศในสังคมสารสนเทศ ทำ หน้าที่ประสานงานระหว่างแหล่งสารสนเทศและ ผู้ใช้

แหล่งที่มาอ้างอิง : จากเว็บ
home.kku.ac.th/hslib/
จากหนังสือในบทความ :

กุลธิดา ท้วมสุข. "บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์." มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

16 (พฤษภาคม - ตุลาคม 2541) : 71-82.

 

จิรวรรณ ภักดีบุตร. "ผู้ใช้และผู้ให้บริการสารนิเทศ." ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สารนิเทศศาสตร์

เบื้องต้น หน่วยที่ 1-7. หน้า 166-179. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532.

 

จีราภรณ์ รักษาแก้ว. "สารสนเทศ." ใน เอกสารการสอนชุดวิชาระบบสารสนเทศเพื่อ

การจัดการ. หน้า 57-86. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2528.

 

ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล. "ศูนย์สารสนเทศที่ควรจะเป็น : นักวิชาการและสารสนเทศในศตวรรษที่ 21."

 

ใน บรรณารักษ์ 40. หน้า 6-91. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

 

ชุติมา สัจจานนท์. สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2530.

------------. "สถาบันบริการสารนิเทศ." ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น

หน่วยที่ 1-7. หน้า 121-156. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532.

 

นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. "บริการสารสนเทศ:ความหมายและประเภท." วารสารห้องสมุด.

27(มกราคม - มีนาคม 2526) : 17-23.

 

นันทา วิทวุฒิศักดิ์. สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ :

 

คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2536.

 

ประภาวดี สืบสนธิ์. ความสามารถของบัณฑิตบรรณารักษศาสตร์ ที่ผู้บริหารห้องสมุด

มหาวิทยาลัยคาดหวัง. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.

 

-----------. การใช้และการแสวงหาสารสนเทศของเกษตรกรอำ เภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี.

 

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.

 

------------. "ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการสารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ และการใช้แหล่ง

สารสนเทศ." ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ. หน้า 307-

324. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2533.

 

พิมพ์รำ ไพ เปรมสมิทธ์. "การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความต้องการและการแสวงหาสารสนเทศ." ใน การ

สัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 8 เรื่อง กลยุทธ์การ

แสวงหาสารสนเทศ : ศาสตร์และศิลป์. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการห้องสมุดสถาบัน

อุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.

-----------. "สารสนเทศกับผู้บริหาร." วารสารบรรณารักษศาสตร์ (จุฬาลงกรณ์) 12(2535):

11-21.

-----------. "แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดเก็บสารนิเทศ." โดมทัศน์ 16,1 (มกราคม-มิถุนายน

2538): 59-66.

พิมพา อินแบน, กุลธิดา ท้วมสุข และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. "ลักษณะงานและความรู้ความสามารถ

ของบุคลากรผู้ให้บริการสารสนเทศในองค์กรของรัฐและเอกชนตามความคิดเห็นของผู้

บริหาร." บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศาสตร์ มข. 17 (กันยายน-ธันวาคม 2542) :

69-82.

ยุพิน เตชะมณี. บริการตอบคำ ถามและช่วยการค้นคว้า. ขอนแก่น :ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2522

ยุพิน เตชะมณี และคนอื่น ๆ. การสำ รวจระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรที่ให้บริการ

ข้อมูลสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และ

สารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534.

รัถพร ซังธาดา. สารสนเทศและการค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : ภาควิชาบรณารักษ-

ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2539.

อำ รุง จันทวาณิช และคนอื่น ๆ. "สารสนเทศเพื่อการวางแผนกละการบริหารการศึกษาระดับ

จังหวัด." ใน ชุดฝึกอบรมการวางแผนพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการในระดับ

จังหวัด. หน้า 79-88. พิมพ์ครั้งที่ 2(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำ นักงานการประถมศึกษา

แห่งชาติ, 2528.

Disney, Christine. Informations Technology Dictionary. Great Britain : Longman, 1986.

Focus Feature. "The Lirarian and the Library User : What Future Holders." Electronic

Library. 15,1(1997): 15-19.

Guindrat, Claire and Menou, Michael. General Introduction to the Technique of Information

and Document Work. Paris : UNESCO, 1983.

Stueart, Robert. "Preparing Information Professionals for the Next Century." The ASTINFO

Newsletter 12(1): 11-14.

------------. The Virtual Library and the Future of Scholarly Communications. Bangkok : Asian

Institute of Technology, 1997.

Rice-Lively, Mary Lynn and Racine, J. Drew. "The Role of Academic Librarians in the Era of

Information Technology." Journal of Academic Lirarianship 23(1): 31-41.

guest profile guest

บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ
1. บทบาทในการจัดการสารสนเทศ
-
ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ
-
กระบวนการแสวงหาสารสนเทศของผู้ให้บริการ
-
การจัดการระบบสารสนเทศและการจัดเก็บรวมทั้งการปรับปรุง
-
การสร้างเครื่องมือในการเข้าถึงสารสนเทศ
-
การบริการและเผยแพร่
-
การใช้สารสนเทศของผู้ใช้บริการ
แหล่งบริการสารสนเทศ
2.
บทบาทในการสอนและแนะนำ/อบรม การสืบค้นสารสนเทศ
3.
บทบาทในการคัดกรองสารสนเทศ
4.
บทบาทในการทำงานร่วมกับผู้ใช้บริการ (เช่น แพทย์ พยาบาล นักวิจัย)  

บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ
- ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูลภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศมากกว่าแหล่งข้อมูลภายในสถาบันบริการสารสนเทศ
-
มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางไกล
-
ให้บริการแบบขึ้นอยู่กับผู้ใช้เฉพาะรายมากขึ้น
-
ทำหน้าที่เป็นผู้สอนทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
-
เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบฐานข้อมูล
-
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
-
เป็นผู้ควบคุม กลั่นกรอง และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลสารสนเทศ
-
เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธ์ในวรรณกรรม
-
เป็นผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
ความรู้ความสามารถของผู้ให้บริการสารสนเทศ
    ความสามารถด้านวิชาชีพ
ความสามารถด้านงานเทคนิค
-
คัดเลือกสิ่งพิมพ์และสิ่งไม่ตีพิมพ์ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
-
วิเคราะห์และกำหนดเลขหมู่ได้อย่างกูกต้องแม่นยำ คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
-
จัดทำรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์
-
จัดการและประสานงานด้านเทคนิคกับหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่น ๆ ได้
-
ประมวลข้อมูลสารสนเทศโดยผ่านการปรับปรุงแต่งการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
ความสามารถด้านการบริการ
-
สื่อสารกับผู้ใช้เพื่อทราบความต้องการข้อมูลที่แท้จริง
-
แนะนำชี้โยงแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ
-
ค้นหาและให้บริการสารสนเทศได้โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
-
รู้แหล่งข้อมูลสารสนเทศสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-
เขียนสรุป สังเคราะห์ ปรุงแต่งข้อมูลที่ค้นได้ถูกต้องและตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-
รู้และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
-
ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ และเครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน
-
รู้วิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและประยุกต์ใช้กับงานจัดการข้อมูล สารสนเทศที่รับผิดชอบได้
-
เข้าใจเทคโนโลยีเครือข่ายสำหรับการจัดการสารสนเทศและการจัดการให้มีขึ้นในหน่วยงานและสถาบันได้
-
รู้ระบบและขั้นตอนการดำเนินงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละส่วน
-
สามารถอธิบายให้นักวิเคราะห์ระบบหรือนักคอมพิวเตอร์เข้าใจได้

ความหมายและประเภท
แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง  แหล่งที่มา  แหล่งผลิต แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต  แบ่งได้เป็น  3  ประเภทคือ
1.
สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ
2.
สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น
3.
สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น  
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศทุติยภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ

สถาบันบริการสารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ  หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่
1.
ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)
ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่งพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีบริการครอบคลุมหลายด้าน  แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน  บริการยืม คืน  และบริการช่วยการค้นคว้า      ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น  5  ประเภทได้แก่
1.1
ห้องสมุดโรงเรียน (school library)  จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ  อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน   และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์  ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
1.2
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library)   เน้นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้นสังกัดเปิดทำการสอน   เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์   ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไปเช่น    สำนักหอสมุด   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยุบริการ   ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา  เป็นต้น
1.3
ห้องสมุดเฉพาะ (special library)  เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด   มักสังกัดอยู่กับสมาคม  หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการเฉพาะด้าน  เช่น  ห้องสมุดธนาคาร   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น 
1.4
ห้องสมุดประชาชน (public library)    เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน  ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา  ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน  ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
1.5
หอสมุดแห่งชาติ (national library)  เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งที่เป็นหนังสือต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารโบราณและจารึก  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ   ให้บริการการอ่าน   ศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย 
หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติได้แก่   ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)  และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)   ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ    ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ    ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติ    และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ    
หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม   และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด เช่น
ภาคกลาง ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี  และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ
ภาคเหนือ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่   และหอสมุดแห่งชาติลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่   หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ภาคตะวันออก   ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี     และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ภาคใต้ ได้แก่  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถสงขลา   หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก จ.สงขลา   หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถตรัง  และหอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจภูเก็ต
2.
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน   แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ  เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ     ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ  ตัวเลข  รายงานการวิจัย  สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา    ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น  3  ฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายห้องสมุด  ฝ่ายการเอกสาร  และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่  ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย  (ศบอ.)    ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC)  สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทยให้บริการสารสนเทศแก่นักวิจัย  ผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไทย ในรูปของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ประสานงานและร่วมมือกับหอสมุด สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ   และให้บริการค้นคว้าทำสำเนารายงาน FAO (Food and Agriculture Organization) ของ สหประชาชาติ ที่ ศบอ.เป็นตัวแทนรับฝากในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509
เอกสารการวิจัยของ ศบอ.  เริ่มตีพิมพ์รายงานแต่ละโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ที่วิจัยโดยนักวิจัยของสถาบันฯเอง รวมถึงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เป็นต้น มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกว่า 2,000  ฉบับ ในหลากหลายกลุ่มสาขา เช่น  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การบรรจุหีบห่อ  การบริหารและการจัดการ   การพัฒนาบุคลากรและชุมชน  การวิจัยตลาดและธุรกิจ   เทคโนโลยีการก่อสร้าง   เทคโนโลยีการเกษตร  เทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีพลังงาน  เทคโนโลยีวัสดุ  เทคโนโลยีวิศวกรรม  เทคโนโลยีอาหาร  นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม  เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน  และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
3.
ศูนย์ข้อมูล  (data center)
ศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข  จัดระบบและเผยแพร่สู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย  มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน  เช่น  ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ     ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ  เป็นต้น
4.
หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)
หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือ         ลงทะเบียน  และรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง    อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ    กองการทะเบียนของกรมการปกครอง    ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์    และสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เป็นต้น
5.
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  โดยนำมาคัดเลือก   วิเคราะห์    สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  ใบข้อมูล  (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการตอบคำถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย      เนื่องจากกระบวนการทำงานของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์  และนักวิชาการ  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
6.
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service)  ที่เหมาะสม  หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ต้องการ   โดยการจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม  ดัชนีและสาระสังเขป   และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทำหน้าที่ประสานการแจกจ่าย  ได้แก่  ห้องสมุดยูเนสโก   หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)   และหอสมุดแห่งชาติของไทย  เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค  มีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน     โดยยูเนสโก (UNESCO) เป็นผู้จัดตั้งข่ายงานทั้งสองในระดับภูมิภาคเรียกว่า ASTINFO  และ APINESS
“ASTINFO”
ย่อมาจาก Regional Network for the Exchange of Information and Experiences in  Science and Technology in Asia and Pacific มีชื่อเป็นภาษาไทยว่าข่ายงานภูมิภาคเพื่อการแลกเปลี่ยนสารนิเทศและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค”  ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ คือ ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์  เนปาล และประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2527 โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ  6 ศูนย์ คือ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดเกษตรศาสตร์   สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล   กองหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
“APINESS”
ย่อมาจาก Asia-Pacific Information Network in Social Sciences มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า  ข่ายงานสารนิเทศด้านสังคมศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค มีสมาชิก 17 ประเทศ โดย 12 ประเทศจาก   ASTINFO จัดตั้งข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2531 โดย ประกอบด้วยศูนย์สมทบทั้ง 6 ของ ASTINFO และหน่วยงานอื่นอีก 4 แห่ง คือ ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งสองข่ายงานข้างต้น  มีภารกิจในการให้บริการข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ในข่ายงานฯ  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในข่ายงานฯ จัดดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนาระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์   จัดดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   เช่นจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูเนสโก ที่เกี่ยวกับ ASTINFO และ APINESS
7.
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers)  
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  ทำหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ  โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะแหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ  เป็นต้น 

8. หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)
หน่วยงานจดหมายเหตุ  ทำหน้าที่รวบรวมและอนุรักษ์เอกสารราชการ  และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่  คำสั่ง ระเบียบ  ข้อบังคับ  บันทึก  หนังสือโต้ตอบ  รายงาน  แผนที่  ภาพถ่าย  แบบแปลน  เพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน    ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งเพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ  ตัวอย่างเช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ   หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย  และหอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม  เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ   มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม     จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและบำรุงรักษาเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า     ให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารโต้ตอบของส่วนราชการ   เอกสารส่วนบุคคล   เอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งที่เป็นเอกสารประเภทลายลักษณ์และประเภทไมโครฟิล์มรวม    ทั้งบริการเอกสารประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ เช่น   ภาพถ่าย   แผนที่   แผนผัง   แบบแปลน    สไลด์   ซีดี   แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ  ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร    และมีหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาในต่างจังหวัด  ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ตรัง  ยะลา  และสงขลา    หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา และอุบลราชธานี    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี    หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครศรีธรรมราช   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี    หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑ จังหวัดสุพรรณบุรี
9.
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าบริการ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์มีหลายรูปแบบได้แก่
ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      ให้บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล  (selective dissemination of information service : SDI)       โดยจัดส่งรายการทางบรรณานุกรม   ดรรชนีและสาระสังเขปให้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้ตรวจสอบ    ส่วนการเข้าถึงตัวเอกสาร    จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ   ความสำเร็จของศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัยจึงอยู่ที่การมีห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่ดีสนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย
สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ  (extension services–liason and advisory)  ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารสนเทศในสาขาเกษตร   อุตสาหกรรมและกิจการบริการสาธารณะอื่น    หรือแนะนำแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ   บริการนี้จึงมักเชื่อมโยงกับทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก 
ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (abstract and index services)  ให้บริการฐานข้อมูลสาระสังเขปและดรรชนีวารสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  ส่วนใหญ่ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก  สามารถสืบค้นในระบบออฟไลน์ (offline system) ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวัสดุย่อส่วน ซีดีรอม และระบบออนไลน์ (online system) ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น  สาระสังเขปวิทยานิพนธ์  (Dissertation Abstracts International) ของบริษัท  University Microfilm     สาระสังเขปและดรรชนี  Biological Abstracts  และ  Bioresearch Index  จัดทำโดย  บริษัทไบโอสิส  (BIOSIS)  เป็นต้น
10.
เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network)  
เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการบริการทางบรรณานุกรม  ได้แก่  การทำบัตรรายการ  การพัฒนาทรัพยากร  การยืมระหว่างห้องสมุด  และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)
เครือข่ายยูนิเน็ตจัดดำเนินการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า “ThaiLIS” (Thai Library Integrated System)   โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบันจำนวน 24 แห่ง   ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต    มีสารสนเทศที่ให้บริการในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม  (union catalog)  เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบัน 24 แห่ง   ปัจจุบันมีข้อมูลบรรณานุกรมจำนวนกว่า 2 ล้านระเบียน  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ http://uc.thailis.or.th   
ฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม  (digital collection)  เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (full text)  พร้อมภาพ  ให้บริการข้อมูลวิทยานิพนธ์  งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่ง  ปัจจุบันมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  จำนวนกว่า  50,000 รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์   http://dcms.thailis.or.th/index.php   
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (reference database)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 7 ฐานได้แก่     Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science 
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลิขสิทธิ์ของ  SpringerLink จำนวน  1,528  รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่ 
URL : http://ebook.SpringerLink.com
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ลิขสิทธิ์ของ NetLibrary จำนวน 5,962 รายการ และหนังสือ Publicly accessible eBooks จำนวน 3,400 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่  URL: http://www.netlibrary.com
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (dissertation fulltext)  ให้บริการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย จำนวน 3,850 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่ URL: http://ebook.thailis.or.th

 

guest profile guest
สถาบันบริการสารนิเทศมีหน้าที่รวบรวมและพยายามเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างแต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มักจะมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ เพื่อบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดดังนั้นการจำแนกหน้าที่ของสถาบันบริการ
สารสนเทศจึงมีอยู่หลายประการดังนี้
1. รวบรวมทรัพยากรสสารนิเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์ในสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารนิเทศนั้น ๆ
จัดบริการให้ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและข้อมูลที่ใช้เพื่ออ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น
2. จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการ
จัดเก็บและการบริการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. ผลิตทรัพยากรสารนิเทศ ปฐมภูมิ (Primary Sources) ทุติยภูมิ (Secondary Sources) และ ตติยภูมิ (Tertiary Sources)
เพื่อบริการและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการสารนิเทศอื่น ๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร
หรือจดหมายข่าว จุลสาร ซีดีรอม วีดีทัศน์ ทำโฮมเพจสถาบัน ทำดัชนีวารสาร ทำสาระสังเขป รวบรวมบรรณานุกรมทั่ว ๆ ไป
ทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ทำกฤตภาค จัดทำสำเนาเอกสาร รูปภาพ หนังสือ และบริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น
4. จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูล และทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ รูปแบบต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการ
สารนิเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายและที่มีผู้ขอใช้บริการมา
5. จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคืนสารนิเทศ (Information Retrieval Service)
6. จัดสถานที่อ่านและจัดหาครุภัณฑ์ที่นั่งค้นคว้า ทันสมัย มีขนาดเหมาะกับผู้ใช้ และจัดที่นั่งเป็นสัดส่วน
ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ บริการให้มาใช้เป็นประจำ
7. จัดให้มีศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ ได้อีก เช่น จัดทำสหบัตรทรัพยากรสารนิเทศ
  (Union Catalog) เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ใช้ได้ทราบแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ รวบรวมรายชื่อแหล่งสารนิเทศหรือสถาบันบริการสารนิเทศ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศบอกสถานที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายและราคาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น ๆ
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น จัดนิทรรศการใหม่
นิทรรศการตามเทศกาล นิทรรศการปะวัติบุคคลสำคัญ แข่งขันตอบปัญหาในหนังสือ ประกวดอ่านทำนองเสนาะ ฯลฯ
9. จัดบริการพิเศษอื่น ๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น บริการถ่ายเอกสาร บริการแปลบริการบรรณานิทัศน์บริการยืมระหว่างสถาบัน
บริการสารนิเทศ เป็นต้น
10. บริการค้นคว้าข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต
11. จัดบริการบรรยาย ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ
guest profile guest
สถาบันบริการสารนิเทศมีหน้าที่รวบรวมและพยายามเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างแต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มักจะมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ เพื่อบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดดังนั้นการจำแนกหน้าที่ของสถาบันบริการ
สารสนเทศจึงมีอยู่หลายประการดังนี้
1. รวบรวมทรัพยากรสสารนิเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์ในสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารนิเทศนั้น ๆ
จัดบริการให้ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและข้อมูลที่ใช้เพื่ออ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น
2. จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการ
จัดเก็บและการบริการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. ผลิตทรัพยากรสารนิเทศ ปฐมภูมิ (Primary Sources) ทุติยภูมิ (Secondary Sources) และ ตติยภูมิ (Tertiary Sources)
เพื่อบริการและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการสารนิเทศอื่น ๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร
หรือจดหมายข่าว จุลสาร ซีดีรอม วีดีทัศน์ ทำโฮมเพจสถาบัน ทำดัชนีวารสาร ทำสาระสังเขป รวบรวมบรรณานุกรมทั่ว ๆ ไป
ทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ทำกฤตภาค จัดทำสำเนาเอกสาร รูปภาพ หนังสือ และบริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น
4. จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูล และทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ รูปแบบต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการ
สารนิเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายและที่มีผู้ขอใช้บริการมา
5. จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคืนสารนิเทศ (Information Retrieval Service)
6. จัดสถานที่อ่านและจัดหาครุภัณฑ์ที่นั่งค้นคว้า ทันสมัย มีขนาดเหมาะกับผู้ใช้ และจัดที่นั่งเป็นสัดส่วน
ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ บริการให้มาใช้เป็นประจำ
7. จัดให้มีศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ ได้อีก เช่น จัดทำสหบัตรทรัพยากรสารนิเทศ
  (Union Catalog) เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ใช้ได้ทราบแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ รวบรวมรายชื่อแหล่งสารนิเทศหรือสถาบันบริการสารนิเทศ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศบอกสถานที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายและราคาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น ๆ
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น จัดนิทรรศการใหม่
นิทรรศการตามเทศกาล นิทรรศการปะวัติบุคคลสำคัญ แข่งขันตอบปัญหาในหนังสือ ประกวดอ่านทำนองเสนาะ ฯลฯ
9. จัดบริการพิเศษอื่น ๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น บริการถ่ายเอกสาร บริการแปลบริการบรรณานิทัศน์บริการยืมระหว่างสถาบัน
บริการสารนิเทศ เป็นต้น
10. บริการค้นคว้าข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต
11. จัดบริการบรรยาย ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ
guest profile guest

สถาบันบริการสารสนเทศ

สถาบันบริการสารสนเทศ  หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตาม ความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่ (ชุติมา  สัจจานันท์,  2531) 

แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศในปัจจุบันที่สำคัญ

1.       ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)

2.       ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)

3.       ศูนย์ข้อมูล  (data center)

4.       หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)

5.       ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)

6.       ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)

7.       ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers) 

8.       หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)

9.       สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)

10.    เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network)  

 

สังคมสารสนเทศในปจจุบัน กลาวคือนักสารสนเทศควรจะทําหนาที่และบทบาทดังนี้(กุลธิดา ทวมสุข,2541 ; Focus Future, 1997)

 

·       ทํ าหนาที่เกี่ยวของกับแหลงขอมูลภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศมากกว

แหลงขอมูลภายในสถาบันบริการสารสนเทศมีบทบาทสําคัญเกี่ยวกับการเรียนรูทางไกล (distancelearning)ใหบริการแบบขึ้นอยูกับผูใชเฉพาะรายมากขึ้น (personal client-basedservices)

·       ทําหนาที่เปนผูสอนทักษะเกี่ยวกับการใชเทคโนโลยีในการเขาถึงขอมูล

·       เปนผูใหคําปรึกษาดานการออกแบบฐานขอมูล

·       เปนผูเชี่ยวชาญดานการพิมพอิเล็กทรอนิกส(electronic publishing

·       specialist)เปนผูควบคุม กลั่นกรอง และตรวจสอบคุณภาพของขอมูล

·       เปนผูมีสวนเกี่ยวของกับการคุมครองทรัพยสินทางปญญาและลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม

·       เปนผูมีบทบาทเกี่ยวของกับการพัฒนาและการใชอินเทอรเน็ตและอินทราเน็ต

ดังนั้นบทบาทของนักสารสนเทศ จึงตองทําหนาที่ประสานงานระหวางแหลงสารสนเทศและผูใชนักสารสนเทศตองมีความสามารถในการวิเคราะหความตองการของผูใชใหถูกตองและทําใหผูใชไดอมูลที่ตองการจริง ๆ และตองตัดสินใจใหไดาอะไรคือสารสนเทศที่ผูใชองการ เปนจํานวนเทาไรจึงจะเพียงพอ นอกจากนี้นักสารสนเทศยังตองทําหนาที่เชื่อมโยงระหวางผูใชกับแหลงสารสนเทศ ดังนี้

 

สถาบันบริการสารสนเทศมีหน้าที่ในการให้บริการสารสนเทศต่อผู้ใช้ บริการที่จัดให้มีทั้งบริการที่จัดเป็นประจำ และบริการในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เป็นครั้งคราว ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

           บริการที่จัดประจำ

           บริการในโอกาสพิเศษ

 

บริการที่จัดประจำ

1. บริการให้อ่าน

2. บริการ ยืม-คืน (circulation)

3. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (reference service / information service)

4. บริการแนะนำการใช้สถาบันบริการสารสนเทศ

5. บริการรวบรวมบรรณานุกรม

6. บริการข่าวสารทันสมัย (current awareness service)

7. บริการหนังสือจองหรือหนังสือสำรอง (reserve book service)

8. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (inter-library lending)

9. บริการถ่ายสำเนาเอกสาร

10. บริการค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล

บริการในโอกาสพิเศษ

1. การจัดนิทรรศการ อาจจัดในโอกาสพิเศษหรือวันสำคัญต่าง ๆ

2. การจัดอภิปราย ปาฐกถา หรือโต้วาที

3. การจัดฉายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์

ที่มา

http://www.thaimisc.pukpik.com/freewebboard

http://tanoo.wordpress.com

http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo02/info052.html

guest profile guest

บทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ

         คือ งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ  เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์ เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า   "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"

 

ความหมายของสถาบันบริการสารสนเทศ
         การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น  ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ   ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ   การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ   นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่างๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต   ดังจะกล่าวต่อไปนี้

    สรุปได้ว่า   สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม

 

 

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ 

 

1. ห้องสมุด (Library)    

       ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library  มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า  Liber   ซึ่งแปล ว่าหนังสือห้องสมุด  จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และ สื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

 

           

 -  ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries)   คือ แหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุ เป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพและบรรจุ เป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)

-  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries)  คือ หัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น

-  ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries)  คือ แหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด
                -  ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries)  คือ แหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้
      1) ห้องสมุดประชาชน สังกัดกรุงเทพมหานคร   

       2) ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ    

       3) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ     

       4) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน

       5)  หอสมุดแห่งชาติ  คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น

 

 

 

2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center)  

       คือ โดยทั่วไปหมายถึง  หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็น คำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้

-  ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center)  คือ  เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-  ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers)  ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

 -  ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center)   หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

 -  ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center)   คือ  ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย

 -  ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center)  หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ

 -  หน่วยงานอื่น   ซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ

 -  รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป

 

 

3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center)   

   คือ  ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล  ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้

 -  ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย

 -  ศูนย์ข้อมูลสำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด   จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน

 -  ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  คือ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ

 -  กระทรวง พาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า  โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)

4. หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน  

      คือ เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้

 -  หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้

 -  หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ

5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center)  

    คือ  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง

6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center)

      คือ  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

 

7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives)   คือ จดหมาย เหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

  -  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป

   -  หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่ง มอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

     -  หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ

8. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
           คือ  เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ
ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)  สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network) 



แหล่งที่มา  http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/viewnew/64676
guest profile guest

บทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ

         คือ งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ  เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์ เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า   "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"

 

ความหมายของสถาบันบริการสารสนเทศ
         การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น  ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ   ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ   การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ   นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่างๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต   ดังจะกล่าวต่อไปนี้

    สรุปได้ว่า   สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม

 

 

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ 

 

1. ห้องสมุด (Library)    

       ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library  มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า  Liber   ซึ่งแปล ว่าหนังสือห้องสมุด  จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และ สื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

 

           

 -  ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries)   คือ แหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุ เป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพและบรรจุ เป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)

-  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries)  คือ หัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น

-  ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries)  คือ แหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด
                -  ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries)  คือ แหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้
      1) ห้องสมุดประชาชน สังกัดกรุงเทพมหานคร   

       2) ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ    

       3) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ     

       4) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน

       5)  หอสมุดแห่งชาติ  คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น

 

 

 

2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center)  

       คือ โดยทั่วไปหมายถึง  หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็น คำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้

-  ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center)  คือ  เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-  ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers)  ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

 -  ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center)   หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

 -  ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center)   คือ  ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย

 -  ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center)  หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ

 -  หน่วยงานอื่น   ซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ

 -  รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป

 

 

3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center)   

   คือ  ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล  ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้

 -  ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย

 -  ศูนย์ข้อมูลสำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด   จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน

 -  ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  คือ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ

 -  กระทรวง พาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า  โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)

4. หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน  

      คือ เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้

 -  หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้

 -  หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ

5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center)  

    คือ  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง

6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center)

      คือ  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

 

7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives)   คือ จดหมาย เหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

  -  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป

   -  หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่ง มอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

     -  หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ

8. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
           คือ  เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ
ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)  สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network) 



แหล่งที่มา  http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/viewnew/64676
guest profile guest

สถาบันบริการสารสนเทศ   เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุดศูนย์สารสนเทศ  

ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น    ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงสถาบันบริการสารสนเทศประเภทห้องสมุด  เท่านั้น

ห้องสมุด  (Library)  เป็นสถานที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเป็นวิทยาการที่เกิดจากความรู้  ความคิดของนักปราชญ์  นักการศึกษา  นักวิทยาศาสตร์  นำมาจัดทำเป็นหลักฐานและมีการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ  เพื่อความสะดวกในการให้บริการ  แบ่งได้เป็น  5  ประเภท  คือ

1. หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ  ห้องสมุดประจำชาติ   หรือประจำประเทศใด

ประเทศหนึ่ง  มีหน้าที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ  ที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้น ๆ

2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  (University  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา

ระดับอุดมศึกษา  จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมการเรียน  การสอน 

การวิจัยในระดับอุดมศึกษา

3. ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เป็นศูนย์วัสดุการศึกษา  ส่งเสริมการเรียนการสอนของครู และนักเรียน

4. ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ  ห้องสมุดที่เปิดบริการแก่ประชาชนทั่วไปอย่าง

เสรี    ตั้งอยู่ในชุมชนทั่วไป  โดยเฉพาะในเขตอำเภอและจังหวัด  มีหน้าที่ให้การศึกษานอกระบบ

โรงเรียนแก่ประชาชน 

5. ห้องสมุดเฉพาะ  (Special   Library)   คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์

บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  ให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน

2. เพื่อความรู้  ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ  ที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้

3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย

4. เพื่อความจรรโลงใจ

5. เพื่อความเพลิดเพลิน

งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุด
หรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิค
ที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการ
สารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสาร
นิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ" ดังนั้นจึงสรุปความสำคัญของงานบริการ
ได้ดังนี้

1.  ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับสารนิเทศที่ตรงกับความต้องการผู้ใช้บริการที่เข้ามาในสถาบันบริการสารนิเทศ
จะต้องมีทรัพยากรสารนิเทศที่ตรงกับความต้องการ นั่นย่อมแสดงว่าห้องสมุดจะต้องมีในสิ่งมี่ผู้ใช้บริการต้องการสถาบัน
บริการสารนิเทศจะต้องมีวิธีการหรือกลยุทธ์ในการจัดบริการ หรือจัดทรัพยากรสารนิเทศให้ตรงกับความต้องการให้มากที่สุด

2.  ช่วยให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในปัจจุบันสังคมทุกชนชั้นให้ความสำคัญและสนใจในข้อมูลข่าวสาร จนกระทั่งมีเทคโนโลยีต่าง ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องและจัดการกับข้อมูล ข่าวสารที่มีอยู่อย่างมากมาย มหาศาล ดังนั้นผู้ให้บริการสารสนเทศจะต้องจัดบริการให้ข้อมูล
ข่าวสารนั้นได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ทันสมัย ถูกต้อง สมบูรณ์ที่สุด

3. ช่วยประหยัดเวลาในการใช้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการเข้ามาในสถาบันบริการสารนิเทศควรจะใช้เวลาในการเข้าถึง
ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและได้ทรัพยากรสารนิเทศที่ตรงเป้าหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน
สถาบันบริการสารนิเทศต่าง ๆ พยายามที่จะอำนวยความสะดวกด้วยการนำเทคโนโลยีสารนิเทศเข้ามาจัดการตรงนี้
หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ" (Automatic Library) จากการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
เข้ามาใช้งานในสถาบันบริการสารนิเทศ จะเห็นได้ว่าผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
สามารถจะสืบค้นจากระบบ Internet จากทั่วทุกมุมโลกได้หรือเมื่อเข้ามาใช้ห้องสมุดก็สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศ
ได้อย่างตรงเป้าหมาย

4. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การจัดบริการในสถาบันบริการสารนิเทศที่ดีจะทำให้ผู้ใช้บริการเข้าไปใช้บริการบ่อย ๆ
ซึ่งจะก่อให้เกิดลักษณะนิสัยที่ดี เพราะเมื่อผู้ใช้บริการเข้าห้องสมุดบ่อย ๆ อ่านข่าวสารบ่อย ๆ อ่านนิตยสาร
หรือหนังสือพิมพ์เป็นประจำ จะทำให้เกิดความเคยชิน และเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวผู้ใช้ก็จะติดนิสัยอ่านหนังสือและ
การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตลอดไป

5. ช่วยให้การศึกษา งานบริการสารนิเทศ ช่วยให้การศึกษาทั่งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน เพราะการบริการสารนิเทศ
ช่วยถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิด
การศึกษาและการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

6. ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามกระบวนการจัดเก็บและเผยแพร่วัฒนธรรมและ
ประเพณีอย่างเป็นระบบระเบียบและรวบรวมไว้ในแหล่งเดียวกัน จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบของข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ทำให้วัฒนธรรม ประเพณีทีดีงามได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่ไม่ให้สูญหาย

7.  เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติหากได้รับการเผยแพร่อย่างก้วางขวางและทั่วถึงย่อมทำให้ได้รับประโยชน์อย่าง
สูงสุดจากการศึกษาค้นคว้าจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้คุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้นและเกิดการพัฒนา
ทางด้านเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไป

8.  เพื่อให้เกิดความพึงพอใจจากการเข้าใช้บริการ การจัดงานบริการที่ดีย่อมทำให้เกิดความประทับใจและพึงพอใจจากผู้ที่เข้ามา
ใช้สถาบันบริการสารนิเทศนั้น ๆ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในจึงควรเน้นการอำนวยความสะดวกและสบายตา
สบายใจในการเข้ามาใช้บริการ เมื่อผู้ใช้เกิดความสบายใจสบายตาก็ย่อมทำให้เกิดนิสัยรักที่จะเข้ามาในสถาบันบริการสารนิเทศ
ส่งผลให้เกิดนิสัยรักการศึกษาค้นคว้า การที่สถาบันบริการสารนิเทศ สามารถจัดบริการได้ดีหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้
จากจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้ ดังนั้นการที่การที่จะทำอย่างไรให้ได้รับความนิยม จึงจำเป็นต้องจัดบริการเพื่อให้เกิด
ความพึงพอใจจากผู้ใช้ให้มากที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า "ผู้ใช้บริการคือบุคคลที่สำคัญที่สุดของเรา"

ที่มา http://e-learning.snru.ac.th/els/pawinee/samkun.html

guest profile guest

สถาบันบริการสารสนเทศ (Information Service Center)

หมายถึง แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้ใช้

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ

  1. ห้องสมุด (Library)
  2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center / Information Center)
  3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
  4. หน่วยงานสถิติ (Statistical Office)
  5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center)
  6. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (Information Clearing House)
  7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center)
  8. หอจดหมายเหตุ (Archive)
  9. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Information Service Center)

บทบาทและหน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศ

1. รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์

2. จัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบด้วยคอมพิวเตอร์

3. ผลิตทรัพยากรสารสนเทศ

4. จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลและทรัพยากรสารนิเทศใหม่ๆ

5. จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคว้าสารสนเทศ

6. จัดสถานที่อ่านที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย

7. จัดให้มีศูนย์แนะนำแหล่งสารสนเทศ

8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

9.จัดบริการพิเศษต่างๆให้กับผู้ใช้

10.จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

11.จัดบริการบรรยาย ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ

ประเภทของผู้ให้บริการสารสนเทศ

1. บรรณารักษ์(Librarian) ผู้ปฏิบัติงานในระดับวิชาชีพ มีหน้าที่บริหาร จัดการ ดำเนินงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศตามที่ต้องการ

2. นักเอกสารสนเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(Documentatist) ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศ ที่มีความรู้ในการวิเคราะห์ ค้นคืน จัดเก็บเนื้อหา ผู้มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

3. นักจดหมายเหตุ : บุคลากรผู้ที่ปฏิบัติงานในหอจดหมายเหตุ มีหน้าที่คัดเลือก จัดระบบ และจัดเก็บเนื้อหา จดหมายเหตุและเอกสารสำคัญของชาติ

4. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) ผู้ดำเนินธุรกิจขายบริการสารสนเทศ

5. ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแหล่งสารสนเทศ : ผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถบอกได้ว่า ข้อมูลที่ต้องการสามารถหาได้จากแหล่งสารสนเทศใดบ้าง

www.natinai.sru.ac.th/content/IT/ch_06.ppt

www.ranong-cc.ac.th/Associate/IT%20for%20Life%207.doc

course.eau.ac.th/course/Download/0010136/resource

guest profile guest

    สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ

ห้องสมุด

          ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง

สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด


          
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

สถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

  ศูนย์สารสนเทศ

จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น

ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ

คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

ศูนย์ข้อมูล

          ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

 ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

 ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ

ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

  หน่วยงานจดหมายเหตุ

หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.
บริษัทค้าสารสนเทศ (information company)
คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ

2.
นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker)
คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)

3.
ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (
online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

แหล่งสารสนเทศ (information resources)


หมายถึง แหล่งที่เกิด ผลิต หรือสถานที่ที่รวบรวมสารสนเทศในทุกรูปแบบไว้ เป็นแหล่งจัดเก็บ และบริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ เป็นการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา ไว้เผยแพร่แก่คนในยุคปัจจุบัน และคนในยุคหลัง และนำมาใช้ประโยชน์ แหล่งสารสนเทศที่สำคัญๆ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน และแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช ้ให้เหมาะสมกับความต้องการ


การเลือกใช้แหล่งสารสนเทศ

          จากแหล่งสารสนเทศประเภทต่างๆ เมื่อมีความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้น ผู้ใช้สามารถเลือกใช้แหล่งสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ โดยมีหลักในการพิจารณา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, 2547, หน้า 25-26) ดังนี้

1. มีความสะดวกในการเข้าใช้
เช่น อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งสารสนเทศที่เข้าใช้ได้สะดวก รวดเร็ว โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เพียงแต่ผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้อินเทอร์เน็ตเป็น ส่วนห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสะดวกในการเข้าใช้ จัดตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางและเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด

2. มีความน่าเชื่อถือ
ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าแหล่งบุคคลและอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีวิธีการคัดเลือก จัดหา จัดเก็บ ทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และมุ่งเน้นให้บริการสารสนเทศ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้ ประหยัดเวลาในการค้นหาสารสนเทศ ขณะที่อินเทอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศในอินเทอร์เน็ต ไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของทำหน้าที่กลั่นกรองเนื้อหา ส่วนแหล่งสารสนเทศบุคคล ควรคำนึงถึงผู้ที่มีชื่อเสียง คุณวุฒิ หรือประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

3. มีความสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการ
เช่น ถ้าต้องการความรู้ เฉพาะสาขาวิชาควรเลือกใช้ ห้องสมุดคณะ ห้องสมุดเฉพาะ หรือศูนย์สารสนเทศ หรือถ้าต้องการความรู้หลากหลายสาขาวิชา ควรเลือกใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาอ่านไม่ได้ จากทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ อาจต้องใช้แหล่งบุคคลที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น

4. ความทันสมัยของเนื้อหาที่นำเสนอ
สื่อมวลชน เป็นแหล่งที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น ข้อมูลข่าวสาร ที่เผยแพร่จึงล้าสมัยเร็ว เช่น ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ตลาดหุ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณา วัน เดือน ปี ของการผลิต หรือเผยแพร่ข้อมูลของแหล่งสื่อมวลชนด้วย 

 ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในสถาบันบริการสารสนเทศ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

วัสดุตีพิมพ์ (printed materials)

หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่บันทึกความรู้ที่มีเนื้อหาสาระเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง หรือเพื่อความบันเทิง ลงบนกระดาษ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1
หนังสือ (books) เป็นสารสนเทศที่มีรูปแบบเก่าและปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญมาก เนื่องจากหนังสือสามารถเก็บไว้ได้นาน คงทนถาวร อ่านได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ สามารถนำติดตัวไปได้ทุกสถานที่ หนังสือสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้
2 ประเภท คือ
หนังสือสารคดี
           หนังสือบันเทิงคดี

          2
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (serials) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ทุก 7 วัน รายเดือน 2 เดือน 3 เดือน แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 3 ประเภท คือ
หนังสือพิมพ์รายวัน (newspapers)
           วารสาร (journals/periodicals)
           หนังสือรายปี (annual)

          3
จุลสาร (pamphlets) หรืออาจเรียกว่า อนุสาร เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีความหนาไม่เกิน 60 หน้า เสนอเรื่องราวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะ เนื้อหาสั้น เข้าใจง่าย นิยมใช้เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่ต้องการประชาสัมพันธ์ ให้ทราบกันโดยทั่วไป และจำนวนมาก เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นที่สนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่มีประโยชน์ เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีการพิมพ์เป็นหนังสือมาก่อน

4
กฤตภาค (clippings) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งจัดทำขึ้นไว้ให้บริการ โดยนำเรื่องที่สำคัญ มีประโยชน์ เช่น ข่าว บทความ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ วารสาร นำมาผนึกลงบนกระดาษ จัดเก็บไว้ในแฟ้ม หรือซองเอกสาร เป็นเรื่องๆ เพื่อสะดวกในการค้นคืนและให้บริการ

วัสดุไม่ตีพิมพ์ (non-printed materials)

หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่บันทึกไว้ในสื่อต่างๆ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการตีพิมพ์ และไม่จัดทำเป็นรูปเล่ม แบ่งออกเป็น

1
ต้นฉบับตัวเขียน (manuscript)
คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดทำขึ้น โดยใช้ลายมือเขียน ได้แก่ หนังสือที่จัดทำในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการพิมพ์ โดยใช้การจาร หรือสลักลงบนวัสดุต่างๆ เช่น สมุดข่อย ใบลาน แผ่นปาปิรัส (papyrus) แผ่นดินเหนียว แผ่นหนัง ศิลาจารึก เป็นต้น ซึ่งรวมถึงต้นฉบับของผู้เขียนที่อาจเป็นลายมือเขียนหรือเป็นฉบับพิมพ์ ทั้งพิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดและเครื่องคอมพิวเตอร์

2
โสตวัสดุ (audio materials)
คือ วัสดุสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารสนเทศ   

3
ทัศนวัสดุ (visual materials)
คือ วัสดุสารสนเทศที่ต้องใช้สายตาเป็นสื่อในการรับรู้สารสนเทศโดยการดู อาจดูโดยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ  
4
โสตทัศนวัสดุ (audiovisual materials)
เป็นวัสดุสารสนเทศ ี่ถ่ายทอดโดย การใช้ทั้งภาพและเสียงประกอบกัน   

5
วัสดุย่อส่วน (microforms)
เป็นวัสดุสารสนเทศที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพย่อส่วน จากของจริงลงบนแผ่นฟิล์มหรือวัสดุที่ใช้บันทึกภาพ ประโยชน์ที่ได้คือ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เมื่อต้องการใช้สารสนเทศ จะต้องนำฟิล์มย่อส่วนนั้นมาเข้าเครื่องอ่าน จึงจะสามารถอ่านได้ และถ้าต้องการทำสำเนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ต้องมีเครื่องพิมพ์ หรือเครื่องทำสำเนาภาพจากวัสดุย่อส่วนด้วย3. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (electronic materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปอักษร ภาพ และเสียงไว้ โดยการแปลงสารสนเทศให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดเก็บและแสดงผลออกมา โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง อีกครั้งหนึ่ง เช่น

3.1.
เทปแม่เหล็ก (magnetic tape)
มีลักษณะคล้ายแถบบันทึกเสียง ความยาวปกติ 2,400 ฟุต กว้าง 0.5 นิ้ว ทำด้วยพลาสติก เคลือบด้วยสารไอออนออกไซด์ (iron oxide) ทำให้เป็นสารแม่เหล็ก ข้อมูลที่มีความยาว 80 ตัวอักษร สามารถบันทึกไว้ในเทปแม่เหล็กที่มีความยาวเพียง 0.1 นิ้ว หรือ 1 ม้วน บรรจุข้อมูลได้ถึง 100 ล้านตัวอักษร สามารถบันทึกซ้ำหรือลบข้อมูลได้

3.2
จานแม่เหล็ก/แผ่นดิสเก็ต (disket)
 

เป็นแผ่นโลหะหุ้มด้วยไมลาอีก 1 ชั้น มีหลายชนิดและหลายขนาด แต่ละชนิดมีสมรรถนะความจุในการบันทึกข้อมูลได้แตกต่างกัน

3.3
แผ่นจานแสง (optical disc) เป็นแผ่นโลหะผสมพิเศษ มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ? นิ้ว บันทึกและอ่านสารสนเทศด้วยระบบแสงเลเซอร์ ต้องมีเครื่องบันทึกและอ่านโดยเฉพาะ ประเภทของจานแสงที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด คือ ซีดี-รอม (Compact Disc Read Only Memory - CD-ROM) มีลักษณะเหมือนแผ่นจานแสงทั่วไป ใช้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ แผ่นซีดี-รอม มีความสามารถในการบรรจุสารสนเทศได้มาก ซีดี-รอม 1 แผ่น จุข้อความได้เทียบเท่าหนังสือหนาประมาณ 300,000 หน้ากระดาษ หรือ 600 ล้านตัวอักษร ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งภาพ เสียง ตัวอักษร และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม (multimedia) และเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

ที่มา :
http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo02/index.html

guest profile guest

 สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
           สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

 ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

 ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

  ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

guest profile guest

 สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
           สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

 ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

 ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

  ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

guest profile guest

 สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
           สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

 ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

 ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

  ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

guest profile guest

 สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
           สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

 ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

 ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

  ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

guest profile guest

 สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
           สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

 ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า

ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ

จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ

ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี คือ การจัดบริการในรูปห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดหลายแห่ง โดยการใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ทำให้เกิดห้องสมุดรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากห้องสมุดที่คุ้นเคยทั้งความหมาย รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างออกไป เช่น ห้องสมุดปราศจากกำแพง (library without wall) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library) ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) เป็นต้น มีลักษณะการให้บริการสารสนเทศดิจิทัล ทั้งลักษณะเนื้อหาเต็ม (fulltext) และสื่อประสม การค้นคืนสารสนเทศเพิ่มความสามารถการค้นคืน ในลักษณะการค้นคืนรายการผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ (Web Online Catalog หรือ WebOPAC) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน เพราะผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ สถานที่ใดก็ได้ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดที่ให้บริการ แต่สามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกแทนบรรณารักษ์ (librarian) ผู้ให้บริการว่า ไซเบอร์เรียน (cyberian) ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการ ให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการจากสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (cyber space) ที่ผ่านเข้ามาใช้สารสนเทศในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

 ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้

  ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น

  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่

1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต

2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น

guest profile guest

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ

Tags สถาบันบริการสารสนเทศ
0





สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา บุคลิกภาพ ด้านการบันเทิง การประกอบอาชีพ การตัดสินใจ พัฒนาการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ดังจะกล่าวต่อไปนี้
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล เป็นต้น (
http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/satabun.htmวันที่ 15 กันยายน 2550)
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ(
http://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/it107/C7.htm 15 กันยายน 2550 )
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ ( ชุติมา สัจจานันท์ 2531: 157- 168 และ Atherton 1977: 85 -121 )
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ สถาบันบริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2541:353)
สรุปได้ว่า “สถาบันบริการสารสนเทศ” คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
วิทยาการ ความรู้ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ความก้าวหน้าของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการถ่ายทอดและเรียนรู้ ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจึงมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในสังคมสารสนเทศ เช่นปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์ข้อมูล หน่วยทะเบียน สถิติ ศูนย์วิเคราะห์สารนิเทศ ศูนย์ประมวลแจกจ่ายสารนิเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ และสถาบันบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงมีผู้รู้ได้แบ่งประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้(ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ (ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
1. ห้องสมุด (Library) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Liber ซึ่งแปลว่าหนังสือห้องสมุด จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือแหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุเป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)
1.2 ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries) คือหัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น
1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือแหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด
1.4 ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือแหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้
1) ห้องสมุดประชาชนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดประชาชนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่องานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร เช่น ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ซอยพระนาง บางเขต ปทุมวัน ฯลฯ
2.) ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด อำเภอ
3) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล (British Council) ห้องสมุดสถานสอนภาษา เอยูเอ (AUA) หรือห้องสมุดที่ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดเนียลสันเฮย์ (Neilson Haya)
4) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารศรีนคร ในกรุงเทพมหานคร มี 3 สาขา คือ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาสามแยก สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ต่างจังหวัด 2 แห่ง คือ สาขาเชียงใหม่และสาขาพิจิตร
5) หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ สำหรับใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และถือเสมือนว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ หอสมุดแห่งชาติของไทยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสาขาในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา เชียงใหม่ ลำพูน สิงห์บุรี นครราชสีมา จันทบุรี ฯลฯ
2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) โดยทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็นคำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้
2.1 ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.2 ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
2.3 ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
2.4 ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย
2.5 ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ
2.6 หน่วยงานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ
2.7 รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป
3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้
3.1 ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
3.2 ศูนย์ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
3.3 ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ
3.4 กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)
4.หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้
4.2 หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ
ตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง
6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมายเหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
7.1 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป
7.2 หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่งมอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7.3 หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ
7.4 หน่วยงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.5 หน่วยงานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง
7.6 หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง
7.7 หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา
ประเภทของสถาบันหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ (
http://www.nrru.ac.th/preelearning/panitnan/05.html   วันที่ 15 ก.ย. 2550 )
1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวม
ทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ
1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)
เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบัน
การศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

               1.2  ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)
เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป เช่น สำนักหอสมุด สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร ศูนย์บรรณสาร และศูนย์สื่อการศึกษา
(ประภาวดี สืบสนธิ์. 2543 : 150)

               1.3  ห้องสมุดเฉพาะ   (Special Library)        
เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ห้องสมุดกฎหมาย ห้องสมุดธนาคาร ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ
1.4 ห้องสมุดประชาชน (Public Library)
เป็นห้องสมุดชุมชน ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้ ทุกเพศทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

              1.5  หอสมุดแห่งชาติ  (National Library)
มีหน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น
2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือ
เฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center (TIAC)
3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่
ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ
4. หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ (Statistical Office)
เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้าน
หรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่ ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

 6.  ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ หมายถึง หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ (British Library) หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติของไทย และห้องสมุดยูเนสโก

7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้ โดยทางศูนย์จะรวบรวม จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์

 8.  หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์
แผนที่ แผนผัง แบบแปลน พิมพ์เขียว ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม
วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ 5 ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม

 9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ
ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร แก้วลาย. 2533 : 20-23) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่ ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services) สำนักงานติดต่อ และให้คำปรึกษาสารสนเทศ (Extendion Services – Liason and Advisory) ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services) และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network)

 10.  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม

guest profile guest

สถาบันบริการสารสนเทศ

            สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             3.1 ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ

                        จำแนกสถาบันบริการสารสนเทศตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ เป็น 9 ประเภท ได้แก่

•1)   ห้องสมุด (Library) เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุดที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชาและสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน้าที่หลักในการให้บริการ คือ บริการยืม- คืน บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และบริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาและเพื่อความบันเทิง เป็นต้น

                        สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา บุคลิกภาพ ด้านการบันเทิง การประกอบอาชีพ การตัดสินใจ พัฒนาการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต


ห้องสมุดแบ่งออกเป็น

ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งสื่อการศึกษาค้นคว้าและสื่อการเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียน
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (Academic Library) เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เช่นเดียวกับห้องสมุดโรงเรียน แต่การให้บริการจะกว้างขวางและมีระดับความรู้สูงมากขึ้น เช่น ให้บริการค้นคว้าและวิจัย ให้บริการวารสารเฉพาะวิชาต่างๆเพิ่มมากขึ้น
ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น สังกัดอยู่ในหน่วยงานวิชาการ องค์กรหรือสถาบันบริการเฉพาะด้าน เป็นต้น เช่น
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (203.157.48.5/net/lib)
- ห้องสมุดของกรมควบคุมมลพิษ (library.pcd.go.th)
- ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร (secreta.doae.go.th/library)
- ห้องสมุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (
www.tat.or.th/tat/library)
- ห้องสมุดดาราศาสตร์ (thaiastro.nectec.or.th/library/library.html)
- ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (
www.set.or.th/library)
- ห้องสมุดแถบเสียง สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (
www.nectec.or.th/org/tab/service/services.htm)
- ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (
www.nesdb.go.th/library/library_nesdb.html)
- ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (
www.fda.moph.go.th/lib)
- ห้องสมุดรัฐสภาไทย (
www.parliament.go.th/library)
ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อบริการประชาชนในชุมชนต่างๆ ทุกระดับความรู้ ทุกเพศทุกวัย และทุกอาชีพ ให้บริการส่งเสริมการอ่านและการค้นคว้าตลอดชีวิต เป็นเสมือนวิทยาลัยในชุมชน ได้แก่
- ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร (
www.geocities.com/wangsaiphun_library)
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (
www.geocities.com/cmlibrary2003)
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบูรณ์ (
www.geocities.com/librarypetch)
หอสมุดแห่งชาติ (National Library) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมสะสมและรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติไว้ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ผลิตในประเทศ จะต้องส่งให้หอสมุดแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ ทำการรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number : ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number : ISSN)


 ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Do*****entation Center / Information Center) เป็นแหล่งจัดเก็บรวบรวมสารสนเทศเฉพาะเรื่อง เฉพาะสาขาวิชา เพื่อการค้นคว้าวิจัย และเพื่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์สารสนเทศนั้นๆ โดยตรง เช่น

- ศูนย์เอกสารการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (rdi.kku.ac.th/LIB/page_5.htm)
- ศูนย์เอกสารองค์กรอนามัยโลก (whodoc.moph.go.th)
- ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (TIAC) (
http://www.tiac.or.th/)
- ศูนย์เอกสารกลาง กรมสรรพากร (
http://www.rd.go.th/publish/6134.0.html)
•2) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) คือ แหล่งรวบรวมข้อมูลและบริการข้อมูลตัวเลขสถิติต่างๆ งานวิจัยต่างๆ ได้แก่

- ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (www.tiac.or.th/tiacthai/industry.htm)
- ศูนย์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (
www.nso.go.th/thai/indext.htm)
- ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (
www.oie.go.th/industrystat_th.asp)
- ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (
http://www.set.or.th/)
- ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของกระทรวงพลังงาน (
http://www.energy.go.th/)
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (conservation.forest.ku.ac.th/ecotourdb/cgi-bin/frame_main.asp)
- ศูนย์ข้อมูลมติชน (mic.matichon.co.th)

หน่วยงานสถิติ (Statistical Office) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บสถิติและเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานนั้นๆ เช่น ศูนย์สถิติการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์สถิติการพาณิชย์ ของกระทรวงพาณิชย์ และกองสถิติสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนั้นมีหน่วยงานสถิติของสถาบันต่างๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันประชากรศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

•2)   ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ทำหน้าที่รวบรวมและให้บริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยการนำมาทำการวิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล เพื่อใช้ในการให้บริการตอบคำถามและจัดส่งให้ผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย และในรูปของสิ่งพิมพ์

•3)   ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (Information Clearing House) ทำหน้าที่รวบรวมจัดเก็บและผลิตทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่อต่างๆ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ติดต่อขอทรัพยากรสารสนเทศในสาขาที่เกี่ยวข้องจากผู้ผลิต เพื่อรวบรวมให้เป็นระบบ สะดวกในการค้นคว้า และการแนะนำแหล่งข้อมูล เช่น การทำบัตรรายการ จัดทำบรรณานุกรม ดัชนี สาระสังเขป และจัดทำรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ เป็นต้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (The Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ (The British Library) หอสมุดแห่งชาติของไทย ห้องสมุดยูเนสโก และมูลนิธิเอเชีย (Asia Foundation) เป็นต้น

•4)   ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลหรือสถาบันสารสนเทศอย่างกว้างขวางในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบ สามารถแนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการได้  นอกจากนั้นยังจัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ แจ้งข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ตลอดจนรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ จัดทำเป็นบรรณานิทัศน์ ดัชนีวารสาร และสาระสังเขป เป็นต้น

•5)   หอจดหมายเหตุ (Archive) ทำหน้าที่จัดเก็บเอกสารทางราชการและเอกสารทางประวัติศาสตร์ของรัฐบาล เช่น  ระเบียบข้อบังคับ  คำสั่ง  หนังสือโต้ตอบ บันทึกรายงาน แบบพิมพ์ แผนที่ แผนผัง และภาพถ่าย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย

•6)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Information Service Center) อาจจะเป็นห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลที่จัดให้มีบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่นการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต โดยเก็บค่าสมาชิกหรือเก็บตามราคาที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นอาจจะเก็บค่าบริการเป็นค่าสมาชิกสำหรับการจัดส่งเอกสารหรือข่าวสารด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การสรุปข่าวหรือจดหมายข่าว เป็นต้น

                        นอกจากนั้นมีบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ ตัวแทนขายสารสนเทศและองค์กรที่ทำธุรกิจอุตสาหกรรมสารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมจัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่าและเผยแพร่สารสนเทศและให้บริการตามความต้องการ เช่น การส่งเอกสาร การค้นสารสนเทศ บริการเขียนโครงร่างงานวิจัย เขียนรายงาน ทำวิจัย วิเคราะห์ตลาด งานแปล จัดทำโฆษณาและงานบรรณาธิการ เป็นต้น

                        ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทต่างๆ ได้จัดตั้งเป็นสถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ ได้แก่

- ศูนย์ข้อมูลมติชน ให้บริการสืบค้นข้อมูลจากแฟ้มข่าวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในประเทศไทย พร้อมข่าวสารจากนิตยสารและสิ่งพิมพ์อื่นๆ มีบริการตัดเก็บข่าวจากหนังสือและวารสาร จัดส่งข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และบริการห้องสมุดภาพ เป็นต้น
- บริษัทยูไนเต็ด บรอดแบนด์เทคโนโลยี จำกัด (ยูบีที) ให้บริการข้อมูลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
- บริษัท โอซีแอลซี (OCLC) ให้บริการค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

หน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศ

1) รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์กับสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารสนเทศนั้น ๆ
2) จัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการ
3) ผลิตทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อบริการ จำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยนกับสถาบันสารสนเทศอื่นๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์
4) จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคว้าสารสนเทศ
5) จัดสถานที่อ่านให้เหมาะสมเป็นสัดส่วน ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย
6) จัดให้มีศูนย์แนะนำแหล่งสารสนเทศ โดยการรวบรวมรายชื่อแหล่งสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารสนเทศอื่นๆได้อีก
7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ
8) จัดบริการพิเศษต่างๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น การจัดทำข่าวสารทันสมัย การหมุนเวียนวารสารบริการหนังสือสำรอง (Reserved Book) บริการแปล (Translation Service) บริการถ่ายเอกสาร บริการทำบรรณนิทัศน์ (Book Annotation Service) และบริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter-library Loan Service) เป็นต้น
9) จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

guest profile guest

อธิบายบทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ


การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้


ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ

 

1. ห้องสมุด (Library)

ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด ที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชาในรูปแบบของสื่อทุกรูปแบบ ทั้งสิ่งตีพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน้าที่หลักคือ บริการยืม-คืน บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

  • เพื่อการศึกษา
  • เพื่อความรู้
  • เพื่อการค้นคว้าวิจัย
  • เพื่อจรรโลงใจ
  • เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

 


ประเภทของห้องสมุด

1. ห้องสมุดเฉพาะ (Special   Library ) ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  ให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา

2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย (University Library) คือห้องสมุดของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา  จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมการเรียน  การสอน  การวิจัยในระดับอุดมศึกษา

3. ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เป็นศูนย์วัสดุการศึกษา  ส่งเสริมการเรียนการสอนของครู และนักเรียน

4. ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ  ห้องสมุดที่เปิดบริการแก่ประชาชนทั่วไปอย่างเสรี    ตั้งอยู่ในชุมชนทั่วไป  โดยเฉพาะในเขตอำเภอและจังหวัด  มีหน้าที่ให้การศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่ประชาชน  

5. หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ  ห้องสมุดประจำชาติ   หรือประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง  มีหน้าที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ  ที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้น ๆ

 


2.ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center)

เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่องให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและ ดัชนี วารสารเฉพาะวิชา ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด ของสถาบันนั้น เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center (TIAC)


3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center)

เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่ ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงาน พลังงานแห่งชาติ

 


4. หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ (Statistical Office)

เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆเป็นตัวเลขเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ

5.ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)

 ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล  และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ  เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

6. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ   หมายถึง  หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ   ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม  หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา  โดยจัดทำส้มบัตรรายการค้น บรรณานุกรม   ดรรชนี   สาระสังเขป  หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library) หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)  หอสมุดแห่งชาติของไทย และห้องสมุดยูเนสโก

7.  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)

เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้  โดยทางศูนย์จะรวบรวม  จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์

 


8. หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ (Archive)

หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทางประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์ แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์  เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ 5 ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม

 


9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)

เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)  สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network

 

10.ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม 

 


บริการสารสนเทศ


 สถาบันบริการสารสนเทศมีหน้าที่ในการให้บริการสารสนเทศต่อผู้ใช้ บริการที่จัดให้มีทั้งบริการที่จัดเป็นประจำ และบริการในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เป็นครั้งคราว ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้


บริการที่จัดประจำ


          1. บริการให้อ่าน คือ บริการที่ทางสถาบันบริการสารสนเทศจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในระบบชั้นเปิดและจัดที่นั่งไว้ ปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้ามาเลือกอ่านทรัพยากรสารสนเทศได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล จะเข้ามาอ่านเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เปิดให้บริการ

          2. บริการ ยืม-คืน (circulation) ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศไปอ่าน หรือศึกษาค้นคว้าได้ นอกสถาบันบริการสารสนเทศ โดยจะต้องสมัครเป็นสมาชิก และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันบริการสารสนเทศเกี่ยวกับการยืม-คืน

3. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (reference service / information service) คือ บริการที่ผู้ให้บริการให้การช่วยเหลือผู้ใช้ บริการให้ได้รับสารสนเทศที่ต้องการ รวมทั้งช่วยให้ได้รับความสะดวก ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

4. บริการแนะนำการใช้สถาบันบริการสารสนเทศ เป็นบริการที่จัดขึ้น สำหรับแนะนำให้ผู้ใช้บริการ สามารถใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ให้บริการ อย่างเต็มที่ เช่น บริการนำชมห้องสมุด

          5. บริการรวบรวมบรรณานุกรม เป็นบริการรวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งที่ได้รับคำขอร้อง และทางสถาบันบริการสารสนเทศทำขึ้นเอง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าวิจัยของผู้ใช้บริการ

6. บริการข่าวสารทันสมัย (current awareness service) เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้ทราบสารสนเทศใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ วิธีการที่ให้บริการอาจจะทำในลักษณะการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดที่ทางห้องสมุดได้รับ หรือทำรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ทางสถาบันบริการสารสนเทศได้รับใหม่ ส่งให้กับผู้ใช้บริการตามสาขาวิชาที่สนใจ

7. บริการหนังสือจองหรือหนังสือสำรอง (reserve book service) ส่วนใหญ่มีในสถาบันบริการสารสนเทศที่เป็นสถาบันการศึกษา คือ ผู้สอนกำหนดให้นักเรียน นักศึกษา อ่านหนังสือประกอบ การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะกำหนดรายชื่อหนังสือมาให้กับทางห้องสมุด และแจ้งให้ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือตามรายชื่อไว้เป็นหนังสือสำรอง เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ที่ลงเรียนในรายวิชาที่กำหนดใช้อ่านประกอบการเรียนการสอน หนังสือสำรองส่วนใหญ่จะจัดเก็บแยกไว้เป็นพิเศษ ปกติจะอยู่บริเวณที่ทำงานของผู้ปฏิบัติงานยืม-คืน หรือบริเวณหนังสืออ้างอิง ถ้าต้องการใช้ต้องแจ้งความประสงค์ต่อผู้ปฏิบัติงาน และมีเวลาสำหรับการยืมออกมาใช้บริการนอกห้องสมุดสั้นกว่าหนังสือทั่วไป

          8. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (inter-library lending) เนื่องจากปัจจุบันทรัพยากรสารสนเทศมีมาก และมีเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ในขณะที่สถาบันบริการสารสนเทศมีงบประมาณจำกัด สถานที่มีเท่าเดิม บางครั้งไม่สามารถจัดหา หรือติดตามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ครบถ้วน และมีผู้ใช้บริการน้อยครั้ง สถาบันบริการสารสนเทศบางแห่ง อาจจะมีทรัพยากรสารสนเทศบางชิ้น ที่อีกแห่งหนึ่งไม่มี ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา สถาบันบริการสารสนเทศจึงได้พยายามหาความร่วมมือระหว่างกัน ในการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเกิดข้อตกลงความร่วมมือในการยืมระหว่างห้องสมุด คือ ห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่มีจากห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศอื่น ที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการของตนเอง ต้องการใช้มาให้บริการเพียงแต่ ผู้ใช้แจ้งความต้องการว่าต้องการสารสนเทศชิ้นใดจากที่ใด หรืออาจไม่ระบุสถานที่กรณีที่ไม่ทราบ ผู้ให้บริการจะค้นหาให้ว่ามีให้บริการที่ใด และถ้าสามารถยืมระหว่างห้องสมุดได้จะยืมมาให้ ถ้าหากกว่ายืมไม่ได้อาจจะขอใช้บริการถ่ายสำเนา

          9. บริการถ่ายสำเนาเอกสาร เป็นบริการที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ใช้อาจไม่ประสงค์จะยืมทรัพยากรสารสนเทศกลับไปบ้าน และต้องการสารสนเทศเพียงบางส่วนเท่านั้นก็สามารถถ่ายสำเนาไปใช้ได้ เป็นการประหยัดเวลาในการคัดลอก ลดปัญหาการฉีกทำลายสิ่งพิมพ์ และการขโมย โดยเฉพาะหนังสืออ้างอิงที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด บริการถ่ายสำเนานี้ สถาบันบริการสารสนเทศอาจให้บริการเอง หรือติดต่อหน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกมาดำเนินการให้บริการในราคาถูกตามอัตราที่กำหนด

10. บริการค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล ปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม จึงมีการนำเทคโนโลยีทั้งสองอย่างมาใช้ร่วมกัน ทำให้สารสนเทศแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ในสถาบันบริการสารสนเทศก็เช่นเดียวกัน มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม มาใช้ในด้านการให้บริการสารสนเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ทันสมัย รวดเร็ว ตรงกับความต้องการมากที่สุด โดยไม่จำกัดเฉพาะสารสนเทศที่มีภายในสถาบันบริการสารสนเทศของตนเอง หรือภายในประเทศเท่านั้น แต่ขยายขอบเขตออกไปถึงนอกสถาบันและนอกประเทศ โดยการติดต่อระบบออนไลน์ สามารถค้นคืนสารสนเทศ ได้ทันทีที่ต้องการ

 

   
บริการในโอกาสพิเศษ

          จากกิจกรรมและบริการที่กล่าวมานั้น ส่วนใหญ่เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดให้เป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้มีกิจกรรมและบริการที่จัดเป็นครั้งคราว เพื่อส่งเสริมความรู้และกระตุ้นหรือจูงใจ ให้มีผู้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น

          1. การจัดนิทรรศการ อาจจัดในโอกาสพิเศษหรือวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทางศาสนา หรืออาจจะมีสารสนเทศใหม่ๆ ที่สมควรจะนำมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบ อาจจัดเป็นแผ่นป้ายนิทรรศการแสดงไว้

          2. การจัดอภิปราย ปาฐกถา หรือโต้วาที อาจเชิญนักพูด หรือผู้มีความรู้มาอภิปราย ปาฐกถา หรือโต้วาที ในหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของผู้ใช้บริการขณะนั้น หรือเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้ หรือบางครั้งอาจเป็นหัวข้อที่สนุกให้ความเพลิดเพลิน เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจอาจจัดสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง

          3. การจัดฉายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ ทั้งที่ให้ความรู้และความบันเทิงอาจจัดสัปดาห์ละครั้ง

นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมซึ่งส่วนใหญ่จะจัดในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน หรือหอสมุดแห่งชาติ ที่มีการให้บริการสำหรับเด็ก ๆ เช่น กิจกรรมการเล่าเรื่อง หรือวิจารณ์เกี่ยวกับหนังสือ การเล่านิทาน การจัดประกวด การเล่นเกม การแสดงหุ่น การแสดงละคร เป็นต้น

 

 


ที่มา

 

 

http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/view/64676

 

http://e-learning.snru.ac.th/els/pawinee/samkun.html

 

http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo02/info052.html

 

 

 

 

guest profile guest

บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ
1. บทบาทในการจัดการสารสนเทศ
    -
ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ
    -
กระบวนการแสวงหาสารสนเทศของผู้ให้บริการ
    -
การจัดการระบบสารสนเทศและการจัดเก็บรวมทั้งการปรับปรุง
    -
การสร้างเครื่องมือในการเข้าถึงสารสนเทศ
    -
การบริการและเผยแพร่
    -
การใช้สารสนเทศของผู้ใช้บริการ
แหล่งบริการสารสนเทศ
2.
บทบาทในการสอนและแนะนำ/อบรม การสืบค้นสารสนเทศ
3. 
บทบาทในการคัดกรองสารสนเทศ
4.
บทบาทในการทำงานร่วมกับผู้ใช้บริการ (เช่น แพทย์ พยาบาล นักวิจัย)  
    
บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ
- ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูลภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศมากกว่าแหล่งข้อมูลภายในสถาบันบริการสารสนเทศ
-
มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางไกล
-
ให้บริการแบบขึ้นอยู่กับผู้ใช้เฉพาะรายมากขึ้น
-
ทำหน้าที่เป็นผู้สอนทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
-
เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบฐานข้อมูล
-
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
-
เป็นผู้ควบคุม กลั่นกรอง และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลสารสนเทศ
-
เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธ์ในวรรณกรรม
-
เป็นผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
ความรู้ความสามารถของผู้ให้บริการสารสนเทศ
    ความสามารถด้านวิชาชีพ
        
ความสามารถด้านงานเทคนิค
        -
คัดเลือกสิ่งพิมพ์และสิ่งไม่ตีพิมพ์ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
        -
วิเคราะห์และกำหนดเลขหมู่ได้อย่างกูกต้องแม่นยำ คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
        -
จัดทำรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์
        -
จัดการและประสานงานด้านเทคนิคกับหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่น ๆ ได้
        -
ประมวลข้อมูลสารสนเทศโดยผ่านการปรับปรุงแต่งการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
        
ความสามารถด้านการบริการ
        -
สื่อสารกับผู้ใช้เพื่อทราบความต้องการข้อมูลที่แท้จริง
        -
แนะนำชี้โยงแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ
        -
ค้นหาและให้บริการสารสนเทศได้โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
        -
รู้แหล่งข้อมูลสารสนเทศสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        -
เขียนสรุป สังเคราะห์ ปรุงแต่งข้อมูลที่ค้นได้ถูกต้องและตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
        
ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        -
รู้และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
        -
ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ และเครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน
        -
รู้วิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและประยุกต์ใช้กับงานจัดการข้อมูล สารสนเทศที่รับผิดชอบได้
        -
เข้าใจเทคโนโลยีเครือข่ายสำหรับการจัดการสารสนเทศและการจัดการให้มีขึ้นในหน่วยงานและสถาบันได้
        -
รู้ระบบและขั้นตอนการดำเนินงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละส่วน
        -
สามารถอธิบายให้นักวิเคราะห์ระบบหรือนักคอมพิวเตอร์เข้าใจได้

ความหมายและประเภท
แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง  แหล่งที่มา  แหล่งผลิต แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต  แบ่งได้เป็น  3  ประเภทคือ
1. 
สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ
2. 
สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น
3. 
สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น  
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศทุติยภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ

สถาบันบริการสารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ  หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่
1. 
ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)
ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่งพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีบริการครอบคลุมหลายด้าน  แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน  บริการยืม คืน  และบริการช่วยการค้นคว้า      ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น  5  ประเภทได้แก่
1.1 
ห้องสมุดโรงเรียน (school library)  จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ  อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน   และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์  ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
1.2 
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library)   เน้นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้นสังกัดเปิดทำการสอน   เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์   ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไปเช่น    สำนักหอสมุด   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยุบริการ   ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา  เป็นต้น
1.3 
ห้องสมุดเฉพาะ (special library)  เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด   มักสังกัดอยู่กับสมาคม  หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการเฉพาะด้าน  เช่น  ห้องสมุดธนาคาร   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น 
1.4 
ห้องสมุดประชาชน (public library)    เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน  ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา  ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน  ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
1.5 
หอสมุดแห่งชาติ (national library)  เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งที่เป็นหนังสือต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารโบราณและจารึก  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ   ให้บริการการอ่าน   ศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย 
หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติได้แก่   ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)  และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)   ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ    ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ    ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติ    และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ    
หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม   และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด เช่น
ภาคกลาง ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี  และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ
ภาคเหนือ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่   และหอสมุดแห่งชาติลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่   หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ภาคตะวันออก   ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี     และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ภาคใต้ ได้แก่  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถสงขลา   หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก จ.สงขลา   หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถตรัง  และหอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจภูเก็ต
2. 
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน   แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ  เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ     ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ  ตัวเลข  รายงานการวิจัย  สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา    ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น  3  ฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายห้องสมุด  ฝ่ายการเอกสาร  และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่  ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย  (ศบอ.)    ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC)  สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทยให้บริการสารสนเทศแก่นักวิจัย  ผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไทย ในรูปของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ประสานงานและร่วมมือกับหอสมุด สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ   และให้บริการค้นคว้าทำสำเนารายงาน FAO (Food and Agriculture Organization) ของ สหประชาชาติ ที่ ศบอ.เป็นตัวแทนรับฝากในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509
เอกสารการวิจัยของ ศบอ.  เริ่มตีพิมพ์รายงานแต่ละโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ที่วิจัยโดยนักวิจัยของสถาบันฯเอง รวมถึงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เป็นต้น มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกว่า 2,000  ฉบับ ในหลากหลายกลุ่มสาขา เช่น  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การบรรจุหีบห่อ  การบริหารและการจัดการ   การพัฒนาบุคลากรและชุมชน  การวิจัยตลาดและธุรกิจ   เทคโนโลยีการก่อสร้าง   เทคโนโลยีการเกษตร  เทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีพลังงาน  เทคโนโลยีวัสดุ  เทคโนโลยีวิศวกรรม  เทคโนโลยีอาหาร  นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม  เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน  และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
3. 
ศูนย์ข้อมูล  (data center)
ศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข  จัดระบบและเผยแพร่สู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย  มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน  เช่น  ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ     ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ  เป็นต้น
4. 
หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)
หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือ         ลงทะเบียน  และรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง    อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ    กองการทะเบียนของกรมการปกครอง    ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์    และสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เป็นต้น
5. 
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  โดยนำมาคัดเลือก   วิเคราะห์    สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  ใบข้อมูล  (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการตอบคำถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย      เนื่องจากกระบวนการทำงานของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์  และนักวิชาการ  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
6. 
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service)  ที่เหมาะสม  หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ต้องการ   โดยการจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม  ดัชนีและสาระสังเขป   และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทำหน้าที่ประสานการแจกจ่าย  ได้แก่  ห้องสมุดยูเนสโก   หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)   และหอสมุดแห่งชาติของไทย  เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค  มีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน     โดยยูเนสโก (UNESCO) เป็นผู้จัดตั้งข่ายงานทั้งสองในระดับภูมิภาคเรียกว่า ASTINFO  และ APINESS
“ASTINFO”
ย่อมาจาก Regional Network for the Exchange of Information and Experiences in  Science and Technology in Asia and Pacific มีชื่อเป็นภาษาไทยว่าข่ายงานภูมิภาคเพื่อการแลกเปลี่ยนสารนิเทศและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค”  ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ คือ ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์  เนปาล และประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2527 โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ  6 ศูนย์ คือ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดเกษตรศาสตร์   สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล   กองหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
“APINESS”
ย่อมาจาก Asia-Pacific Information Network in Social Sciences มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า  ข่ายงานสารนิเทศด้านสังคมศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค มีสมาชิก 17 ประเทศ โดย 12 ประเทศจาก   ASTINFO จัดตั้งข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2531 โดย ประกอบด้วยศูนย์สมทบทั้ง 6 ของ ASTINFO และหน่วยงานอื่นอีก 4 แห่ง คือ ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งสองข่ายงานข้างต้น  มีภารกิจในการให้บริการข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ในข่ายงานฯ  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในข่ายงานฯ จัดดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนาระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์   จัดดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   เช่นจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูเนสโก ที่เกี่ยวกับ ASTINFO และ APINESS
7. 
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers)  
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  ทำหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ  โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะแหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ  เป็นต้น 

8. หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)
หน่วยงานจดหมายเหตุ  ทำหน้าที่รวบรวมและอนุรักษ์เอกสารราชการ  และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่  คำสั่ง ระเบียบ  ข้อบังคับ  บันทึก  หนังสือโต้ตอบ  รายงาน  แผนที่  ภาพถ่าย  แบบแปลน  เพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน    ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งเพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ  ตัวอย่างเช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ   หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย  และหอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม  เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ   มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม     จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและบำรุงรักษาเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า     ให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารโต้ตอบของส่วนราชการ   เอกสารส่วนบุคคล   เอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งที่เป็นเอกสารประเภทลายลักษณ์และประเภทไมโครฟิล์มรวม    ทั้งบริการเอกสารประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ เช่น   ภาพถ่าย   แผนที่   แผนผัง   แบบแปลน    สไลด์   ซีดี   แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ  ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร    และมีหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาในต่างจังหวัด  ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ตรัง  ยะลา  และสงขลา    หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา และอุบลราชธานี    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี    หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครศรีธรรมราช   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี    หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑ จังหวัดสุพรรณบุรี
9. 
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าบริการ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์มีหลายรูปแบบได้แก่
 
ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      ให้บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล  (selective dissemination of information service : SDI)       โดยจัดส่งรายการทางบรรณานุกรม   ดรรชนีและสาระสังเขปให้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้ตรวจสอบ    ส่วนการเข้าถึงตัวเอกสาร    จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ   ความสำเร็จของศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัยจึงอยู่ที่การมีห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่ดีสนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย
สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ  (extension services–liason and advisory)  ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารสนเทศในสาขาเกษตร   อุตสาหกรรมและกิจการบริการสาธารณะอื่น    หรือแนะนำแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ   บริการนี้จึงมักเชื่อมโยงกับทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก 
ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (abstract and index services)  ให้บริการฐานข้อมูลสาระสังเขปและดรรชนีวารสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  ส่วนใหญ่ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก  สามารถสืบค้นในระบบออฟไลน์ (offline system) ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวัสดุย่อส่วน ซีดีรอม และระบบออนไลน์ (online system) ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น  สาระสังเขปวิทยานิพนธ์  (Dissertation Abstracts International) ของบริษัท  University Microfilm     สาระสังเขปและดรรชนี  Biological Abstracts  และ  Bioresearch Index  จัดทำโดย  บริษัทไบโอสิส  (BIOSIS)  เป็นต้น
10.  
เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network)  
เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการบริการทางบรรณานุกรม  ได้แก่  การทำบัตรรายการ  การพัฒนาทรัพยากร  การยืมระหว่างห้องสมุด  และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)
เครือข่ายยูนิเน็ตจัดดำเนินการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า “ThaiLIS” (Thai Library Integrated System)   โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบันจำนวน 24 แห่ง   ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต    มีสารสนเทศที่ให้บริการในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม  (union catalog)  เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบัน 24 แห่ง   ปัจจุบันมีข้อมูลบรรณานุกรมจำนวนกว่า 2 ล้านระเบียน  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ http://uc.thailis.or.th   
ฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม  (digital collection)  เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (full text)  พร้อมภาพ  ให้บริการข้อมูลวิทยานิพนธ์  งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่ง  ปัจจุบันมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  จำนวนกว่า  50,000 รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์   http://dcms.thailis.or.th/index.php   
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (reference database)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 7 ฐานได้แก่     Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science 
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลิขสิทธิ์ของ  SpringerLink จำนวน  1,528  รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่ 
URL : http://ebook.SpringerLink.com
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ลิขสิทธิ์ของ NetLibrary จำนวน 5,962 รายการ และหนังสือ Publicly accessible eBooks จำนวน 3,400 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่  URL: http://www.netlibrary.com
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (dissertation fulltext)  ให้บริการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย จำนวน 3,850 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่ URL: http://ebook.thailis.or.th

ที่มา   :     http://www.google.co.th

guest profile guest
แหล่งบริการสารสนเทศ

เนื้อหาในบทเรียนนี้ ครอบคลุมถึงความหมายและประเภท  สถาบันที่ให้บริการสารสนเทศ  และบริการสารสนเทศแบบต่าง ๆ ที่สถาบันสารสนเทศแต่ละประเภทจัดให้บริการ  รวมทั้งแนะนำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระ นครศรีอยุธยา  เพื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจถึงลักษณะและบริการของสถาบันสารสนเทศประเภท ต่าง ๆ      รวมทั้งการให้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อจะได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าสารสนเทศต่อไป

ความหมายและประเภท
แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง  แหล่งที่มา  แหล่งผลิต แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต  แบ่งได้เป็น  3  ประเภทคือ
1. สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ
2. สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น
3. สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น  
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศทุติย ภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ

สถาบันบริการสารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ  หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตาม ความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่ (ชุติมา  สัจจานันท์,  2531) 
1. ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)
ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่ง พิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีบริการครอบคลุมหลายด้าน  แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน  บริการยืม – คืน  และบริการช่วยการค้นคว้า      ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น  5  ประเภทได้แก่
1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (school library)  จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ  อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน   และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์  ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจาก การบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
1.2 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library)   เน้นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้น สังกัดเปิดทำการสอน   เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์   ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไปเช่น    สำนักหอสมุด   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยบริการ   ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา  เป็นต้น
1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (special library)  เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด   มักสังกัดอยู่กับสมาคม  หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการเฉพาะด้าน  เช่น  ห้องสมุดธนาคาร   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น 
1.4 ห้องสมุดประชาชน (public library)    เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน  ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา  ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน  ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
1.5 หอสมุดแห่งชาติ (national library)  เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งที่เป็น หนังสือต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารโบราณและจารึก  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ   ให้บริการการอ่าน   ศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ การศึกษาตามอัธยาศัย 
หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ ได้แก่   ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้    ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)  และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)   ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ    ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ    ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติ    และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ    
หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม   และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด เช่น
ภาคกลาง ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี  และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ
ภาคเหนือ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่   และหอสมุดแห่งชาติลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่   หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ภาคตะวันออก   ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี     และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ภาคใต้ ได้แก่  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สงขลา   หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก จ.สงขลา   หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง  และหอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจภูเก็ต
2. ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน   แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ  เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ     ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ  ตัวเลข  รายงานการวิจัย  สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา    ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น  3  ฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายห้องสมุด  ฝ่ายการเอกสาร  และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่  ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย  (ศบอ.)    ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC)  สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทยให้บริการสารสนเทศแก่นักวิจัย  ผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไทย ในรูปของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ประสานงานและร่วมมือกับหอสมุด สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ   และให้บริการค้นคว้าทำสำเนารายงาน FAO (Food and Agriculture Organization) ของ สหประชาชาติ ที่ ศบอ.เป็นตัวแทนรับฝากในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509
เอกสารการวิจัยของ ศบอ.  เริ่มตีพิมพ์รายงานแต่ละโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ที่วิจัยโดยนักวิจัยของสถาบันฯเอง รวมถึงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เป็นต้น มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกว่า 2,000  ฉบับ ในหลากหลายกลุ่มสาขา เช่น  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การบรรจุหีบห่อ  การบริหารและการจัดการ   การพัฒนาบุคลากรและชุมชน  การวิจัยตลาดและธุรกิจ   เทคโนโลยีการก่อสร้าง   เทคโนโลยีการเกษตร  เทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีพลังงาน  เทคโนโลยีวัสดุ  เทคโนโลยีวิศวกรรม  เทคโนโลยีอาหาร  นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม  เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน  และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
3. ศูนย์ข้อมูล  (data center)
ศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข  จัดระบบและเผยแพร่สู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย  มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน  เช่น  ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ     ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ  เป็นต้น
4. หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)
หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือ         ลงทะเบียน  และรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง    อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ    กองการทะเบียนของกรมการปกครอง    ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์    และสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เป็นต้น
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  โดยนำมาคัดเลือก   วิเคราะห์    สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  ใบข้อมูล  (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการตอบคำถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทัน สมัย      เนื่องจากกระบวนการทำงานของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์  และนักวิชาการ  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
6. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้า ถึงแหล่งสารสนเทศ  แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service)  ที่เหมาะสม  หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ ต้องการ   โดยการจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม  ดัชนีและสาระสังเขป   และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทำหน้าที่ประสานการแจกจ่าย  ได้แก่  ห้องสมุดยูเนสโก   หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)   และหอสมุดแห่งชาติของไทย  เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค  มีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน     โดยยูเนสโก (UNESCO) เป็นผู้จัดตั้งข่ายงานทั้งสองในระดับภูมิภาคเรียกว่า ASTINFO  และ APINESS
“ASTINFO” ย่อมาจาก Regional Network for the Exchange of Information and Experiences in  Science and Technology in Asia and Pacific มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ข่ายงานภูมิภาคเพื่อการแลกเปลี่ยนสารนิเทศและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค”  ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ คือ ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์  เนปาล และประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2527 โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ  6 ศูนย์ คือ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดเกษตรศาสตร์   สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล   กองหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
“APINESS” ย่อมาจาก Asia-Pacific Information Network in Social Sciences มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า  ข่ายงานสารนิเทศด้านสังคมศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค มีสมาชิก 17 ประเทศ โดย 12 ประเทศจาก   ASTINFO จัดตั้งข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2531 โดย ประกอบด้วยศูนย์สมทบทั้ง 6 ของ ASTINFO และหน่วยงานอื่นอีก 4 แห่ง คือ ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งสองข่ายงานข้างต้น  มีภารกิจในการให้บริการข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ใน ข่ายงานฯ  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในข่าย งานฯ จัดดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนาระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคม ศาสตร์   จัดดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   เช่นจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูเนสโก ที่เกี่ยวกับ ASTINFO และ APINESS
7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers)  
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  ทำหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ  โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะแหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ  เป็นต้น  (ศรีสุภา  นาคธน, 2548)
8. หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)
หน่วยงานจดหมายเหตุ  ทำหน้าที่รวบรวมและอนุรักษ์เอกสารราชการ  และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่  คำสั่ง ระเบียบ  ข้อบังคับ  บันทึก  หนังสือโต้ตอบ  รายงาน  แผนที่  ภาพถ่าย  แบบแปลน  เพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน    ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งเพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ  ตัวอย่างเช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ   หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย  และหอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม  เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ   มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม     จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและบำรุงรักษาเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญทาง ด้านประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า     ให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารโต้ตอบของส่วนราชการ   เอกสารส่วนบุคคล   เอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งที่เป็นเอกสารประเภทลายลักษณ์และประเภท ไมโครฟิล์มรวม    ทั้งบริการเอกสารประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ เช่น   ภาพถ่าย   แผนที่   แผนผัง   แบบแปลน    สไลด์   ซีดี   แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ  ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร    และมีหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาในต่างจังหวัด  ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ตรัง  ยะลา  และสงขลา    หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา และอุบลราชธานี    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี    หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครศรีธรรมราช   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี    หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑ จังหวัดสุพรรณบุรี
9. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าบริการ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์มีหลายรูปแบบได้แก่
 ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      ให้บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล  (selective dissemination of information service : SDI)       โดยจัดส่งรายการทางบรรณานุกรม   ดรรชนีและสาระสังเขปให้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้ตรวจสอบ    ส่วนการเข้าถึงตัวเอกสาร    จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ   ความสำเร็จของศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัยจึงอยู่ที่การมีห้องสมุดและศูนย์ สารสนเทศที่ดีสนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย
สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ  (extension services–liason and advisory)  ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารสนเทศในสาขาเกษตร   อุตสาหกรรมและกิจการบริการสาธารณะอื่น ๆ   หรือแนะนำแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ   บริการนี้จึงมักเชื่อมโยงกับทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก 
ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (abstract and index services)  ให้บริการฐานข้อมูลสาระสังเขปและดรรชนีวารสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  ส่วนใหญ่ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก  สามารถสืบค้นในระบบออฟไลน์ (offline system) ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวัสดุย่อส่วน ซีดีรอม และระบบออนไลน์ (online system) ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น  สาระสังเขปวิทยานิพนธ์  (Dissertation Abstracts International) ของบริษัท  University Microfilm     สาระสังเขปและดรรชนี  Biological Abstracts  และ  Bioresearch Index  จัดทำโดย  บริษัทไบโอสิส  (BIOSIS)  เป็นต้น
10.   เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network)  
เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการ สารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการบริการทางบรรณานุกรม  ได้แก่  การทำบัตรรายการ  การพัฒนาทรัพยากร  การยืมระหว่างห้องสมุด  และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)
เครือข่ายยูนิเน็ตจัดดำเนินการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ พัฒนาการศึกษา  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วม กัน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า “ThaiLIS” (Thai Library Integrated System)   โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบันจำนวน 24 แห่ง   ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต    มีสารสนเทศที่ให้บริการในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม  (union catalog)  เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยและสถาบัน 24 แห่ง   ปัจจุบันมีข้อมูลบรรณานุกรมจำนวนกว่า 2 ล้านระเบียน  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ http://uc.thailis.or.th   
ฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม  (digital collection)  เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (full text)  พร้อมภาพ  ให้บริการข้อมูลวิทยานิพนธ์  งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่ง  ปัจจุบันมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  จำนวนกว่า  50,000 รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์   http://dcms.thailis.or.th/index.php   
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (reference database)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 7 ฐานได้แก่     Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science 
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลิขสิทธิ์ของ  SpringerLink จำนวน  1,528  รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่ 
URL : http://ebook.SpringerLink.com
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ลิขสิทธิ์ของ NetLibrary จำนวน 5,962 รายการ และหนังสือ Publicly accessible eBooks จำนวน 3,400 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่  URL: http://www.netlibrary.com
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (dissertation fulltext)  ให้บริการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย จำนวน 3,850 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่ URL: http://ebook.thailis.or.th

งานบริการสารสนเทศ
สถาบันสารสนเทศเน้นให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันไปตามหน้าที่และ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง    ซึ่งพอจะสรุปบริการที่จัดให้โดยทั่วไปได้ดังนี้
1. บริการการอ่าน    เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในระบบชั้นเปิด และจัดที่นั่งสำหรับอ่านค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล   พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือช่วยค้นซึ่งอาจจะเป็นบัตรรายการหรือรายการในฐาน ข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยสะดวก 
2. บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  เป็นบริการรวบรวมรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการอยู่ในสถาบัน  หรืออาจรวบรวมเฉพาะเรื่องที่มีผู้สนใจ  หรือรวบรวมตามระยะเวลาที่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า  เช่น  การทำบัตรรายการ  การทำดัชนีวารสาร  บริการโอแพค (OPAC) ของห้องสมุด  และ การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประจำปี ของหอสมุดแห่งชาติ  เป็นต้น
3. บริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ  เป็นบริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศออกไปใช้ภายนอกสถาบัน  โดยผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของ สถาบันบริการสารสนเทศ
4. บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกที่ต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศจาก สถาบันอื่น โดยสถาบันต้นสังกัดของสมาชิกช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสาน  ซึ่งผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าขนส่ง เป็นต้น
5. บริการจองหนังสือหรือบริการหนังสือสำรอง  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่อย่าง จำกัด  แต่มีผู้สนใจต้องการใช้จำนวนมาก  สถาบันบริการสารสนเทศอาจให้บริการจองหนังสือล่วงหน้า  หรืออาจจัดบริการหนังสือสำรองไว้ในสถาบันโดยไม่ให้ยืมออกนอกสถาบันในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้ได้ใช้บริการอย่างทั่วถึงทุกคน
6. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   เป็นบริการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีในสถาบัน และแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ   
7. บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  เป็นบริการแนะนำแหล่งหรือสถาบันบริการสารสนเทศ  วิธีการใช้  วิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงแหล่งจัดเก็บไว้  ได้อย่างรวดเร็ว  และใช้ประโยชน์ในแหล่งสารสนเทศนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 
8. บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  เป็นบริการเผยแพร่สารสนเทศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ   เพื่อชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง เช่น การจัดนิทรรศการ  การจัดประชุมอภิปรายทางวิชาการ  การจัดทำจุลสาร วารสารวิชาการ เป็นต้น
9. บริการข่าวสารทันสมัย  เป็นบริการรวบรวม  คัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ แก่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการ  เช่น การทำสำเนาบทความจากวารสาร  การทำบรรณานุกรมและสาระสังเขปแล้วส่งให้ผู้ใช้บริการ เป็นต้น
10. บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล  เป็นบริการถ่ายสำเนาเอกสารไปใช้ประโยชน์  เช่น   บริการถ่ายเอกสาร    บริการพิมพ์ผลการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์  อินเทอร์เน็ต  หรือแฟ้มข้อมูล
11. บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต  เพื่อให้ผู้ค้นคว้าได้ใช้บริการต่าง ๆ เช่น  การสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์  และการใช้บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e –mail)   เป็นต้น

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ     มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัย  รวมทั้งให้บริการสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในการให้การศึกษาแก่ชุมชนท้อง ถิ่น มีประวัติความเป็นมา และให้บริการสารสนเทศ ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาปรับปรุงมาตามลำดับดังนี้  (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ,  2547)
พ.ศ. 2509  จัดตั้งเป็นห้องสมุดโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ที่อาคาร 2 ชั้น 2  และต่อมาได้ต่อเติมอาคารชั้นล่างเป็นที่ตั้งของห้องสมุด    ต่อมาโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยาได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูพระนครศรี อยุธยา
พ.ศ.2511 โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูได้ย้ายเข้ามาอยู่รวมกับวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา   จึงได้รวมหนังสือของห้องสมุดทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน
พ.ศ. 2512  วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ได้เปิดสอนนักศึกษาภาคค่ำเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเปิดสอนนักศึกษาภาคปกติ   จึงได้ขยายต่อเติมห้องสมุดออกใน      แนวกว้าง เพื่อให้มีพื้นที่บริการนักศึกษาที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
พ.ศ. 2515  เริ่มก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งค่าครุภัณฑ์เป็นเงินจำนวน 2 ล้านบาท   และตั้งชื่ออาคารว่า “อาคารหอสมุดกลาง”
พ.ศ. 2517  ย้ายห้องสมุดจากอาคาร 2 มาอยู่ที่อาคารหอสมุดกลาง และเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นต้นมา
พ.ศ. 2533 ได้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ พัฒนาฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร โดยใช้โปรแกรมไมโคร ซีดีเอส/ไอสิส  (Micro CDS/ISIS)  ในการจัดการฐานข้อมูล
พ.ศ. 2534 ได้เริ่มพัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือขึ้นอีกหนึ่งฐาน    พร้อมทั้งให้บริการสืบค้น OPAC (Online Public Access Catalog) ดรรชนีวารสารและบรรณานุกรมหนังสือจากคอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการใช้บัตรรายการ
พ.ศ. 2538  วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาเปลี่ยนฐานะเป็นสถาบันราชภัฏ  และได้เปลี่ยนชื่อหอสมุดกลางเป็น  “สำนักวิทยบริการ” 
พ.ศ. 2540  ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักวิทยบริการหลังใหม่  เป็นอาคารเอกเทศ  4  ชั้น รูปแบบของอาคารได้ปรับเปลี่ยนจากแบบของกองอาคารสถานที่ สำนักงานสถาบันราชภัฏ โดยออกแบบให้มีความสูงไม่เกิน 12  เมตร   ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างอาคารในพื้นที่โครงการมรดกโลก  ลักษณะอาคารได้เพิ่มพื้นที่ใช้สอยใน     แนวราบมากขึ้น ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน  33.8  ล้านบาท  และค่าวัสดุครุภัณฑ์ประจำอาคารจำนวน  12  ล้านบาท
พ.ศ. 2543   เริ่มใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรม วีทีแอลเอส (Visionary Technology  in Library Solutions : VTLS)   เข้ามาจัดการฐานข้อมูลแทนโปรแกรม  Micro CDS/ISIS   และได้พัฒนางานบริการ ยืมคืนสิ่งพิมพ์  เป็นระบบยืมคืน ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ  ให้สามารถสืบค้นหนังสือของสำนักวิทยบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และปลายปีเดียวกันนี้ได้เริ่มเปิดใช้อาคารสำนักวิทยบริการหลังใหม่ โดยมีการเชื่อมโยงอาคารใหม่เข้ากับอาคารเดิม ทำให้มีพื้นที่บริการและพื้นที่ใช้สอยได้เต็มตามมาตรฐานห้องสมุดระดับอุดม ศึกษา และสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจและบทบาทของสำนักวิทยบริการ บริการ สถาบัน ชุมชน และท้องถิ่นได้ตามวัตถุประสงค์
พ.ศ. 2545 ได้จัดบริการข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดบริการห้องอยุธยาศึกษา  พร้อมฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อยุธยาศึกษา  ซึ่งสามามารถสืบค้นได้จากผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พ.ศ. 2546  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาส           ราชนครินทร์  ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณประทานนามอาคารหลังใหม่เป็น “อาคาร           บรรณราชนครินทร์”  
พ.ศ. 2548  สถาบันราชภัฏเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัย  และจัดรวมสำนักวิทยบริการเข้ากับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ   จัดตั้งเป็น  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  จนถึงปัจจุบัน
2.  ระเบียบการใช้บริการ
ในการใช้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ   ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อปฏิบัติดังนี้  (คู่มือการใช้บริการสำนักวิทยบริการ,  2547)  
2.1 ผู้มีสิทธิ์เข้าใช้บริการได้แก่ อาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาปัจจุบัน และนักเรียนโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยแสดงบัตร ประจำตัวนักศึกษาหรือบัตรสมาชิก   ส่วนนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัว       นักศึกษาหรือบัตรสมาชิกให้นำใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนมาแสดงเพื่อขอเข้า ใช้บริการสำนักวิทยบริการทุกครั้งก่อนเข้าใช้บริการ
2.2 บุคคลภายนอกที่ประสงค์จะเข้าใช้บริการต้องได้รับอนุญาตจากบรรณารักษ์และ เสียค่าบริการครั้งละ  20  บาท นักเรียนเสียค่าบริการครั้งละ 10 บาท
2.3 แต่งกายสุภาพ นักศึกษาภาคปกติต้องแต่งเครื่องแบบในวันเวลาราชการ
2.4 ไม่อนุญาตให้นำกระเป๋าหรือถุงและเครื่องมือในการตัดกระดาษทุกชนิด เข้ามาในสำนักวิทยบริการ
2.5 เก็บสิ่งของไว้ในตู้รับฝากของ  ยกเว้นของมีค่าโดยติดต่อขอใช้บริการกับเจ้าหน้าที่รับฝากของ
2.6 ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปในบริเวณสำนักวิทยบริการ
2.7 ไม่ส่งเสียง หรือสนทนากันเสียงดังรบกวนผู้อื่น
2.8 งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ
2.9 ห้ามฉีก ตัด ลักขโมยหนังสือ  มิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย  และพ้นจากสภาพการเป็นนักศึกษา
2.10 หนังสือที่อ่านแล้วให้นำไปวางที่โต๊ะกลางที่จัดไว้ให้  ไม่ต้องนำหนังสือไปเก็บที่ชั้นด้วยตนเอง
2.11 วารสารและหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้ว โปรดนำไปเก็บไว้ที่จัดไว้ให้ไม่วาง  ทิ้งไว้ตามโต๊ะหรือเก้าอี้
2.12 บัตรสมาชิกใช้เฉพาะเจ้าของบัตรเท่านั้น
2.13 ก่อนออกจากสำนักวิทยบริการ ต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือและสิ่งของทุกครั้ง
2.14 ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ และคำตักเตือนของบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการโดยเคร่งครัด
3.  บริการของสำนักวิทยบริการ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  จัดให้บริการสารสนเทศ ดังนี้
3.1 บริการยืมคืนหนังสือ   ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือได้ที่เคาน์เตอร์ยืมคืนหนังสือ   บริเวณชั้นที่ 1   อาคารอาคารบรรณราชนครินทร์ ซึ่งมีระเบียบและวิธีปฏิบัติดังนี้
3.1.1 ระเบียบการยืม  ปฏิบัติดังนี้
อาจารย์สามารถยืมได้ 20 เล่ม กำหนดส่งภายใน 1 ภาคเรียน
นักศึกษาระดับปริญญาตรียืมได้ 7 เล่ม กำหนดส่งภายใน 7 วัน
นักศึกษาระดับปริญญาโทยืมได้ 10 เล่มกำหนดส่งภายใน 7 วัน
3.1.2 การทำบัตรยืม   ติดต่อขอทำบัตรได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืมคืน  โดยใช้รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป    ใบเสร็จรับเงินการลงทะเบียนในภาคเรียนนั้น  หรือสำเนาใบรับฝากเงินค่าลงทะเบียนของธนาคาร  และบัตรประจำตัวประชาชน
บัตรยืมจะมีระยะเวลาการใช้งานได้  1 ภาคเรียน สำหรับนักศึกษาภาคพิเศษ (กศ.บป.)  และ 1 ปีการศึกษาสำหรับนักศึกษาภาคปกติ  ในการต่ออายุบัตรให้นำบัตรยืมเดิม  พร้อมด้วยใบเสร็จรับเงินการลงทะเบียนของภาคเรียนต่อไปมาแสดงเป็นหลักฐานใน การต่ออายุบัตร    ในกรณีที่บัตรสูญหาย และประสงค์จะทำบัตรใหม่ให้นำรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป   เงินค่าธรรมเนียม 10 บาท  และเขียนใบคำร้องขอทำบัตรใหม่ได้ที่เจ้าหน้าที่บริการยืมคืน 
3.1.3 วิธีปฏิบัติในการเสียค่าปรับ ปฏิบัติดังนี้
กรณีที่นักศึกษาส่งคืนหนังสือทุกประเภทเกินกำหนดเวลา   นักศึกษา   จะต้องชำระเงินค่าปรับในอัตราวันละ 5 บาทต่อ 1 เล่ม
กรณีหนังสือหาย ผู้ทำหนังสือหายต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ยืมคืนก่อนถึงวันกำหนดส่ง   และต้องชำระค่าหนังสือเป็นสองเท่าของราคาที่ปรากฏในทะเบียน หรือราคาที่มีจำหน่ายในท้องตลาด  พร้อมด้วยค่าดำเนินการด้านเทคนิคอีกเล่มละ  60  บาท  ในกรณีที่แจ้งหายภายหลังวันกำหนดส่ง  ต้องชำระค่าปรับการยืมหนังสือเกินกำหนดเวลาเพิ่มอีกวันละ  5 บาทต่อ 1 เล่ม
3.2 บริการตู้เก็บสิ่งของ  เนื่องจากสำนักวิทยบริการไม่อนุญาตให้นำกระเป๋าเข้าไปภายในห้องสมุด    ผู้ใช้บริการต้องเก็บกระเป๋าส่วนตัวไว้ที่ตู้เก็บสิ่งของ โดยใช้บัตรยืมของห้องสมุดหรือบัตรประจำตัวนักศึกษาเป็นหลักฐานขอรับกุญแจตู้ เก็บสิ่งของบริเวณหน้าห้องสมุด   ตู้เก็บสิ่งของจะให้บริการเฉพาะผู้เข้าใช้บริการในสำนักวิทยบริการเท่านั้น  สิ่งของมีค่าเช่น โทรศัพท์มือถือ  เครื่องประดับ  ฯลฯ  ให้นำติดตัวไปด้วยไม่ควรเก็บสิ่งของมีค่าไว้ในตู้เก็บสิ่งของ  หากสูญหายทางสำนักวิทยบริการจะไม่รับผิดชอบ
3.3 บริการวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ให้บริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา ได้แก่ วารสาร  นิตยสาร  หนังสือพิมพ์  จุลสาร  กฤตภาค จดหมายข่าว  สยามจดหมายเหตุ  ราชกิจจานุเบกษา 
การขอใช้บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลา   ผู้ขอใช้บริการต้องนำบัตรยืมหรือบัตรประจำตัวนักศึกษาแสดงกับเจ้าหน้าที่   และเขียนรายการวารสารหรือหนังสือพิมพ์ที่ขอใช้ในแบบฟอร์ม   ไม่อนุญาตให้นำทรัพยากรสารสนเทศในฝ่ายสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทุกชนิดออกนอก ห้องบริการ
3.4 บริการเทคโนโลยีทางการศึกษา  ให้บริการสารสนเทศในรูปแบบของ วีดิโอ  ซีดี  ซีดีรอม  วีซีดี  ดีวีดี  เทปเสียง  สไลด์  โทรทัศน์  เคเบิ้ลทีวี  ทั้งเป็นรายบุคคลและกลุ่มย่อย    นอกจากนี้ยังมีบริการรายการโทรทัศน์ภายในมหาวิทยาลัย (cable television)  ในชื่อสถานีโทรทัศน์ เออาร์ยู  (ARU)   เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์  และเพื่อการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยแก่อาจารย์และนักศึกษา
การใช้บริการเทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้เข้าใช้บริการต้องแสดงบัตรห้องสมุดหรือบัตรประจำตัวนักศึกษาก่อนเข้าใช้ บริการทุกครั้ง   ขอใช้วีดิทัศน์ได้ครั้งละ 1 รายการ  และยืมหูฟังได้ครั้งละ 1 ชุด/ 1 คน   ไม่อนุญาตให้นำอุปกรณ์หรือ     โสตทัศนวัสดุที่ไม่ใช่ของสำนักวิทยบริการเข้ามาใช้   หากต้องการใช้บริการต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษ 
3.5 บริการอินเทอร์เน็ต  ให้บริการอินเทอร์เน็ตเฉพาะสมาชิกของสำนักวิทยบริการเท่านั้น  ผู้ใช้บริการต้องแสดงบัตรห้องสมุดหรือบัตรนักศึกษาก่อนเข้าใช้บริการ  สมาชิกใช้บริการได้ครั้งละ  1  ชั่วโมง  ในกรณีที่ต้องการขอเพิ่มเวลาต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่
3.6 บริการฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์  ให้บริการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกบอกรับและฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย   ซึ่งเข้าใช้ได้ที่   URL : http://www.aru.ac.th   
ฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการได้แก่  TIAC,   ERIC,  Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science,  SpringerLink
3.7 บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล  มีอัตราค่าบริการดังนี้
ถ่ายเอกสารสิ่งพิมพ์    ค่าบริการแผ่นละ   50  สตางค์     พิมพ์ผลการสืบค้นด้วยเครื่องเลเซอร์  แผ่นละ 2 บาท    สำเนาสแกนภาพ (scaning)  ลงแผ่นซีดีรอม รูปละ 10 บาท

สรุป
แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่ให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   ประเภทแหล่งสารสนเทศแบ่งตามลำดับการผลิตได้เป็น  3  ประเภทคือ   สารสนเทศปฐมภูมิ สารสนเทศทุติยภูมิ  สารสนเทศตติยภูมิ ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศในลำดับ รอง
สถาบันบริการสารสนเทศ  ให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง มีหลายประเภทได้แก่ ห้องสมุดหรือหอสมุดจะเน้นจัดเก็บและจัดบริการผู้ใช้ด้านการอ่านและการยืม สารสนเทศ    ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารจะเน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ทำการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ   ศูนย์ข้อมูลจะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลสถิติ ตัวเลข และการเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิก   หน่วยงานทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนและสถิติที่ เกี่ยวข้อง    ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการข่าวสารทันสมัยเฉพาะสาขาวิชาในลักษณะของ แฟ้มข้อมูล  บทความปริทัศน์  และจัดส่งให้สมาชิกที่สนใจ   ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศจะเน้นบริการความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่ง สารสนเทศ  หน่วยงานจดหมายเหตุเน้นให้บริการเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็น เอกสารสำคัญของทางราชการและส่วนบุคคล  ภาพถ่าย  แผนที่ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีสถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ที่ให้บริการโดยคิดค่า บริการ  ซึ่งให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ   ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี เป็นต้น
ในปัจจุบัน สถาบันหลายแห่งได้ร่วมกันเป็นเครือข่ายบริการสารสนเทศ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน   เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน  และให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS)   
บริการสารสนเทศ  ที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดให้โดยทั่วไป ได้แก่ บริการการอ่าน  บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  บริการยืมทรัพยากร  บริการยืมระหว่างสถาบัน    บริการจองหนังสือ  บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  บริการข่าวสารทันสมัย  บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล   บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ     มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ให้บริการสารสนเทศเช่นเดียวกับสถาบันบริการ สารสนเทศทั่วไป  แต่มีระเบียบข้อกำหนดที่นักศึกษาและผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะ  ดังนั้นผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจก่อนเข้าใช้บริการ

คำถามท้ายบท
1. แหล่งสารสนเทศมีกี่ประเภท  อะไรบ้างจงอธิบาย
2. ห้องสมุดแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ต่างกันอย่างไร
3. ศูนย์สารสนเทศมีลักษณะอย่างไร มีความคล้ายคลึงกับห้องสมุดประเภทใด
4. ศูนย์สารสนเทศ  ศูนย์ข้อมูล  และศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  มีความคล้ายคลึงและความแตกต่างอย่างไร  จงอธิบาย
5. หอจดหมายเหตุให้บริการสารสนเทศประเภทใดบ้าง  จงอธิบาย
6. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ คืออะไร  ให้บริการสารสนเทศอะไรบ้าง จงอธิบาย
7. เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)  ให้บริการสารสนเทศอะไรบ้าง จงอธิบาย
8. บริการสารสนเทศที่มีความสำคัญและมีประโยชนต่อการศึกษาค้นคว้า มีอะไรบ้าง  จงอธิบายมาอย่างน้อย  5  บริการ
9. ระเบียบการใช้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยามีอะไรบ้าง จงอธิบายมาอย่างน้อย 5 ข้อ 
10. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  มีบริการสารสนเทศอะไรบ้าง  จงอธิบาย
11. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดบ้างที่มีให้บริการในแต่ละชั้นของสำนักวิทยบริการ
12. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดบ้างที่สำนักวิทยบริการฯไม่ให้ยืมออกไปใช้ภายนอก
 
เอกสารอ้างอิง

คู่มือการใช้บริการสำนักวิทยบริการ.  (2547).  พระนครศรีอยุธยา : สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชุติมา  สัจจานันท์.  (2531).  การเลือกและการจัดหาวัสดุห้องสมุด.  กรุงเทพฯ :
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. 

ศรีสุภา  นาคธน.  (2548).  สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และการค้นคืน.  ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.  (2547).   รายงานประจำปี 2546 : สำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.  พระนครศรีอยุธยา : สำนักฯ.
 

สถาบัน บริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ บทบาทหน้าที่ความสำคัญ ความแตกต่างระหว่างศูนย์สารสนเทศและห้องสมุด การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาบันบริการสารสนเทศ (information paradigm shift) สาเหตุการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง ห้องสมุดและสถาบันบริการสารสนเทศในฐานะเป็นองค์กรระบบเปิด (open systems)
27/12/2547 : แนวคิดและทฤษฎีการบริหารจัดการ
ประวัติและพัฒนาการของการจัดการยุคที่หนึ่งถึงสาม แนวคิดและทฤษฎีการบริหารจัดการ ระดับของการจัดการ ทักษะทางการจัดการ บทบาทของผู้บริหารจัดการและลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ การจัดการคุณภาพทั้งองค์กร การรื้อปรับระบบ การออกแบบองค์กรสมัยใหม่ องค์กรสมัยใหม่ด้านผลผลิต ด้านกลยุทธ์ ด้านผู้บริหาร ด้านการจัดการ ด้านพนักงานและภาพการบริหารองค์กรในอนาคต

พัฒ นาการของการจัดการในสถาบันบริการสารสนเทศ
ประวัติและพัฒนาการด้านการบริหารจัดการสถาบันบริการสารสนเทศ แนวคิดระบบการบริหารจัดการในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงในงานบริการสารสนเทศและระบบสารสนเทศ รูปแบบใหม่ของสถาบันบริการสารสนเทศ องค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (organic organization) การพัฒนาสถาบันบริการสารสนเทศไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization)

วัฒนธรรมองค์กรและโครงสร้างของสถาบันบริการสารสนเทศ
รูปแบบองค์กรแบบทางการและไม่เป็นทางการ วัฒนธรรมองค์กร สถาบันบริการสารสนเทศในฐานะที่เป็นองค์กร โครงสร้างขององค์กร แนวคิดขององค์กรแบบแยกส่วน เช่น องค์ประกอบ แนวการปฏิบัติ ผลิตภัณฑ์ ลูกค้า กระบวนการ แหล่งข้อมูล ลำดับชั้นขององค์กรแบบรวมศูนย์กลางและการกระจายอำนาจ การประสานงานและความร่วมมือ ประเภทขององค์กรแบบเป็นทางการในปัจจุบันและในอนาคต การลดขนาดโครงสร้างของสถาบันบริการสารสนเทศ และสถาบันบริการสารสนเทศในอนาคต


ภาวะผู้นำและการสร้างทีมงานในสถาบันบริการสารสนเทศ
ต่อไปนี้ ผู้นำและผู้บริหาร แนวคิดเกี่ยวกับภาวะการเป็นผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ พฤติกรรมของผู้นำ รูปแบบของผู้นำตามสถานการณ์ ความท้าทายในภาวะของผู้นำ การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้นำ จริยธรรมทางการบริหาร ปัจจัยที่กระทบต่อจริยธรรมทางการบริหาร วิธีการสร้างมาตรฐานจริยธรรมที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม บรรษัทภิบาล การสร้างทีมงาน ประเภทของทีมงาน คุณลักษณะของทีมงาน ประสิทธิภาพของทีมงาน การบริหารความขัดแย้งในทีมงาน คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ

http://tanoo.wordpress.com

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=pbat&topic=20&page=3

guest profile guest
สถาบันบริการสารสนเทศ    สถาบันบริการสารสนเทศ   เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   
ศูนย์ข้อมูล เป็นต้น

บทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ

1. เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล เช่นห้องสมุด หรือศูนย์สารสนเทศ
2.เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ในโรงเรียนมีสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น มี ศูนย์วัสดุการสอน เพื่อให้นักเรียนได้หาความรู้และมีเทคโนโลยีการสอนใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์
3.ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่ ห้องสมุดประชาชน
4.ทำให้ความรู้ได้รับการพัฒนาและต่อยอดได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีสถาบันสารสนเทศเป็นแหล่งข้อมูลและง่ายต่อการเข้าถึง

ที่มา
ความรู้ส่วนหนึ่งจาก
www.planet.kapook.com ประกอบการวิเคราะห์บทบาทด้วยตนเอง
guest profile guest

กิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center-TIAC) หน่วยงานที่มีบทบาทในการให้บริการสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีและเป็นผู้นำแนวคิดการตลาดในการบริหารจัดการหน่วยงานบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ โดยไม่หวังกำไร ริเริ่มการพัฒนาฐานข้อมูลของประเทศไทย ได้แก่ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (Thai Theses) กระตุ้นให้มีการใช้สารสนเทศเพื่อการทำงาน และส่งผลให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า วิจัยต่อยอดงานวิจัยในหน่วยงานวิจัยขั้นสูงและสถาบันระดับอุดมศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม

            ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณเงินกู้และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าโดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี เพื่อริเริ่มบริการฐานข้อมูล และข่าวสารสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธุรกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศไทย ในรูปเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดต้นทุนสารสนเทศต่างประเทศ จึงเป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดบริการเชิงพาณิชย์ที่ไม่หวังผลกำไร สร้างเครือข่ายห้องสมุดและผู้ใช้บริการ สร้างสรรค์บริการและเทคโนโลยีใหม่ บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศ พัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมร่วมกับภาคีสมาชิก สามารถสนองความต้องการสารสนเทศและเติมเต็มแก่สังคมสารสนเทศและความรู้ภูมิปัญญาให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง กำหนดเปิดบริการในเดือนมกราคม 2533

23 พฤษภาคม 2532 การประชุมโครงการศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี

ปัจจุบันศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น "ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS: Science and Technology Knowledge Services) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. มีที่ตั้งที่ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี

 

 สถาบันบริการสารนิเทศมีหน้าที่รวบรวมและพยายามเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างแต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มักจะมี
จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ เพื่อบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดดังนั้นการจำแนกหน้าที่ของสถาบันบริการ
สารสนเทศจึงมีอยู่หลายประการดังนี้ (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์.  2542 : 17)

 

1. รวบรวมทรัพยากรสสารนิเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์ในสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารนิเทศนั้น
จัดบริการให้ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและข้อมูลที่ใช้เพื่ออ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น

 

2. จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการ
จัดเก็บและการบริการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 

3. ผลิตทรัพยากรสารนิเทศ ปฐมภูมิ (Primary Sources) ทุติยภูมิ (Secondary Sources) และ ตติยภูมิ (Tertiary Sources)
เพื่อบริการและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการสารนิเทศอื่น ๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร
หรือจดหมายข่าว จุลสาร ซีดีรอม วีดีทัศน์ ทำโฮมเพจสถาบัน ทำดัชนีวารสาร ทำสาระสังเขป รวบรวมบรรณานุกรมทั่ว ๆ ไป
ทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ทำกฤตภาค จัดทำสำเนาเอกสาร รูปภาพ หนังสือ และบริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น

 

4. จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูล และทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ รูปแบบต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการ
สารนิเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายและที่มีผู้ขอใช้บริการมา

 

5. จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคืนสารนิเทศ (Information Retrieval Service)

 

6. จัดสถานที่อ่านและจัดหาครุภัณฑ์ที่นั่งค้นคว้า ทันสมัย มีขนาดเหมาะกับผู้ใช้ และจัดที่นั่งเป็นสัดส่วน
ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ บริการให้มาใช้เป็นประจำ

 

7. จัดให้มีศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ ได้อีก เช่น จัดทำสหบัตรทรัพยากรสารนิเทศ
(Union Catalog)
เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ใช้ได้ทราบแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ รวบรวมรายชื่อแหล่งสารนิเทศหรือสถาบันบริการสารนิเทศ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศบอกสถานที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายและราคาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น

 

8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น จัดนิทรรศการใหม่
นิทรรศการตามเทศกาล นิทรรศการปะวัติบุคคลสำคัญ แข่งขันตอบปัญหาในหนังสือ ประกวดอ่านทำนองเสนาะ ฯลฯ

 

9. จัดบริการพิเศษอื่น ๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น บริการถ่ายเอกสาร บริการแปลบริการบรรณานิทัศน์บริการยืมระหว่างสถาบัน
บริการสารนิเทศ เป็นต้น

 

10. บริการค้นคว้าข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต

 

11. จัดบริการบรรยาย ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ

http://e-learning.snru.ac.th/els/pawinee/nati.html

 

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้
               
สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น (  http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/satabun.htmวันที่ 15 กันยายน 2550)
                   
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ(http://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/it107/C7.htm 15 กันยายน 2550 )
                   
สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ  ( ชุติมา สัจจานันท์  2531: 157- 168  และ Atherton  1977: 85 -121 )
                   
สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  สถาบันบริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ  หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
(
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2541:353)
สรุปได้ว่า  “สถาบันบริการสารสนเทศ”  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
วิทยาการ ความรู้ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ความก้าวหน้าของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการถ่ายทอดและเรียนรู้ ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจึงมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในสังคมสารสนเทศ เช่นปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์ข้อมูล หน่วยทะเบียน สถิติ ศูนย์วิเคราะห์สารนิเทศ ศูนย์ประมวลแจกจ่ายสารนิเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ และสถาบันบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงมีผู้รู้ได้แบ่งประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้(ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ (ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
1.
ห้องสมุด (Library) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Liber ซึ่งแปลว่าหนังสือห้องสมุด จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1
ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือแหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุเป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)
1.2
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries) คือหัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น
1.3
ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือแหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด
1.4
ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือแหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้
1)
ห้องสมุดประชาชนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดประชาชนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่องานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร เช่น ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ซอยพระนาง บางเขต ปทุมวัน ฯลฯ
2.)
ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด อำเภอ
3)
ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล (British Council) ห้องสมุดสถานสอนภาษา เอยูเอ (AUA) หรือห้องสมุดที่ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดเนียลสันเฮย์ (Neilson Haya)
4)
ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารศรีนคร ในกรุงเทพมหานคร มี 3 สาขา คือ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาสามแยก สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ต่างจังหวัด 2 แห่ง คือ สาขาเชียงใหม่และสาขาพิจิตร
5)
หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ สำหรับใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และถือเสมือนว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ หอสมุดแห่งชาติของไทยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสาขาในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา เชียงใหม่ ลำพูน สิงห์บุรี นครราชสีมา จันทบุรี ฯลฯ
2.
ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) โดยทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็นคำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้
2.1
ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.2
ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
2.3
ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
2.4
ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย
2.5
ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ
2.6
หน่วยงานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ
2.7
รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป
3.
ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้
3.1
ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
3.2
ศูนย์ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
3.3
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ
3.4
กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)
4.
หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1
หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้
4.2
หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ
ตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
5.
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง
6.
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
7.
หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมายเหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
7.1
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป
7.2
หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่งมอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7.3
หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ
7.4
หน่วยงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.5
หน่วยงานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง
7.6
หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง
7.7
หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา
ประเภทของสถาบันหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ (http://www.nrru.ac.th/preelearning/panitnan/05.html   วันที่ 15 ก.ย. 2550 )
1.
ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวม
ทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ           
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ           
บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ
1.1
ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)
เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบัน
การศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา


1.2
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)
เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย     วิทยาลัย    และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย  ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน  การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา  ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป  เช่น    สำนักหอสมุด  สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร  ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา 
(
ประภาวดี  สืบสนธิ์.  2543 : 150)


1.3
ห้องสมุดเฉพาะ   (Special Library)        
เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดกฎหมาย  ห้องสมุดธนาคาร  ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนั้น
1.4
ห้องสมุดประชาชน  (Public Library) 
เป็นห้องสมุดชุมชน  ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้  ทุกเพศทุกวัย  และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น


1.5
หอสมุดแห่งชาติ  (National Library)
มีหน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น
2.
ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือ
เฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ  ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง   เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา  ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย   มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป   สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center  (TIAC)
3. 
ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่
ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ
4. 
หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ  (Statistical Office)
                     เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้าน
หรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ
 5. 
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล  และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ  เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น


 6. 
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ   หมายถึง  หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ    ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม  หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา  โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม   ดรรชนี   สาระสังเขป     หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)  หอสมุดแห่งชาติของไทย  และห้องสมุดยูเนสโก
 
 7. 
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้  โดยทางศูนย์จะรวบรวม  จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์


8. 
หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์
แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม
วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์  เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ 5 ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม


9. 
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ
ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)  สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network) 


 10. 
ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม  ทำให

 

 

งานชิ้นแรก ปี 2533 บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

สำนักงานแห่งแรกของศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี เริ่มบริการเมื่อปี 2533 หลังจากที่ดำเนินการก่อตั้งและกำหนดนโยบายบริหารจัดการเป็นเวลา 2 ปี ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (Science and Technology Development Board-STDB) บริการฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศจาก Dialog และ BRS บริการฝึกอบรมและแนะนำฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศ บริการที่ปรึกษากลยุทธ์การสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ การสืบค้นฐานข้อมูลและการจัดบริการเอกสารเรื่องเต็ม บริการแบบเชิงพาณิชย์ ระยะแรกบริการฟรี ต่อมาคิดค่าบริการแบบไม่มีกำไร อาคารสำนักงาน ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว 804 ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุงเทพฯ10900 โทร 541 1704-6 โทรสาร 276 1326

  • ผู้ใช้วันเปิดบริการวันแรก สิงหาคม 2533

ศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ ท่านแรกติดต่อด้วยตัวเองใช้บริการทีสำนักงาน วันเดียวกันอาจารย์ดรุณา สมบูรณกุล(AIT)ใช้บริการทางโทรสาร

http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/view/64676

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5

guest profile guest

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้
                สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น 
            สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ                    
สถาบันบริการสารสนเทศ
  คือ  สถาบันบริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ  หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2541:353)
สรุปได้ว่า  “สถาบันบริการสารสนเทศ”  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
วิทยาการ ความรู้ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ความก้าวหน้าของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการถ่ายทอดและเรียนรู้ ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจึงมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในสังคมสารสนเทศ เช่นปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์ข้อมูล หน่วยทะเบียน สถิติ ศูนย์วิเคราะห์สารนิเทศ ศูนย์ประมวลแจกจ่ายสารนิเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ และสถาบันบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงมีผู้รู้ได้แบ่งประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้(ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ (ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
1. ห้องสมุด (Library) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Liber ซึ่งแปลว่าหนังสือห้องสมุด จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือแหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุเป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)
1.2 ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries) คือหัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น
1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือแหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด
1.4 ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือแหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้
1) ห้องสมุดประชาชนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดประชาชนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่องานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร เช่น ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ซอยพระนาง บางเขต ปทุมวัน ฯลฯ
2.) ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด อำเภอ
3) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล (British Council) ห้องสมุดสถานสอนภาษา เอยูเอ (AUA) หรือห้องสมุดที่ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดเนียลสันเฮย์ (Neilson Haya)
4) ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารศรีนคร ในกรุงเทพมหานคร มี 3 สาขา คือ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาสามแยก สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ต่างจังหวัด 2 แห่ง คือ สาขาเชียงใหม่และสาขาพิจิตร
5) หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ สำหรับใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และถือเสมือนว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ หอสมุดแห่งชาติของไทยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสาขาในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา เชียงใหม่ ลำพูน สิงห์บุรี นครราชสีมา จันทบุรี ฯลฯ
2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) โดยทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็นคำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้
2.1 ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.2 ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
2.3 ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
2.4 ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย
2.5 ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ
2.6 หน่วยงานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ
2.7 รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป
3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้
3.1 ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
3.2 ศูนย์ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
3.3 ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ
3.4 กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)
4.หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้
4.2 หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ
ตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง
6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมายเหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
7.1 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป
7.2 หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่งมอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7.3 หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ
7.4 หน่วยงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.5 หน่วยงานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง
7.6 หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง
7.7 หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา
ประเภทของสถาบันหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ (http://www.nrru.ac.th/preelearning/panitnan/05.html   วันที่ 15 ก.ย. 2550 )
1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวม
ทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ
1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)
เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบัน
การศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา


1.2 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)
เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป เช่น สำนักหอสมุด สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร ศูนย์บรรณสาร และศูนย์สื่อการศึกษา
(ประภาวดี สืบสนธิ์. 2543 : 150)


1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library)
เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ห้องสมุดกฎหมาย ห้องสมุดธนาคาร ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ
1.4 ห้องสมุดประชาชน (Public Library)
เป็นห้องสมุดชุมชน ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้ ทุกเพศทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น


1.5 หอสมุดแห่งชาติ (National Library)
มีหน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น
2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือ
เฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center (TIAC)
3.  ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่
ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ
4.  หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ  (Statistical Office)
                     เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้าน
หรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ
 5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่ ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น


 6.  ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ หมายถึง หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ (British Library) หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติของไทย และห้องสมุดยูเนสโก
 
 7.  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้ โดยทางศูนย์จะรวบรวม จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์


8.  หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์
แผนที่ แผนผัง แบบแปลน พิมพ์เขียว ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม
วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ 5 ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม


9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
                
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ
ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร แก้วลาย. 2533 : 20-23) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่ ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services) สำนักงานติดต่อ และให้คำปรึกษาสารสนเทศ (Extendion Services – Liason and Advisory) ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services) และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network)



 10.  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม คือ ห้องสมุดดิจิตัล เป็นการนำเทคโนโลยีหลาย ๆ รูปแบบทั้งสิ่งพิมพ์และข้อมูลดิจิทัลมาประสมประสานในการจัดการกับทรัพยากรสารสนเทศ โดยจัดเก็บให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล เช่น ความจำอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จานแม่เหล็ก หรือ จานออปติคัล ฯลฯ และมีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครือข่ายผ่านเส้นใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) หรือผ่านดาวเทียมเพื่อให้ผู้ใช้จากทั่วโลกสามารถเข้าถึงสารสนเทศเหล่านี้ได้
ทั้งนี้เนื้อหาของสารสนเทศดิจิตัลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เรื่องราวที่สร้างมาและอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ประเภทหนึ่งและเนื้อหาในวัสดุที่เปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิม (เช่น หนังสือ จุลสาร รูปภาพ ภาพยนตร์ และเสียง ที่บันทึกไว้) เป็นวัสดุดิจิตัล

guest profile guest
ที่มา ของข้อมูล
http://www.planet.kapook.com/tomnakhae.blog
www.google.co.th
guest profile guest

บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ
1. บทบาทในการจัดการสารสนเทศ
-
ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ
-
กระบวนการแสวงหาสารสนเทศของผู้ให้บริการ
-
การจัดการระบบสารสนเทศและการจัดเก็บรวมทั้งการปรับปรุง
-
การสร้างเครื่องมือในการเข้าถึงสารสนเทศ
-
การบริการและเผยแพร่
-
การใช้สารสนเทศของผู้ใช้บริการ
แหล่งบริการสารสนเทศ
2.
บทบาทในการสอนและแนะนำ/อบรม การสืบค้นสารสนเทศ
3.
บทบาทในการคัดกรองสารสนเทศ
4.
บทบาทในการทำงานร่วมกับผู้ใช้บริการ (เช่น แพทย์ พยาบาล นักวิจัย)  

บทบาทของผู้ให้บริการสารสนเทศ
- ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูลภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศมากกว่าแหล่งข้อมูลภายในสถาบันบริการสารสนเทศ
-
มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางไกล
-
ให้บริการแบบขึ้นอยู่กับผู้ใช้เฉพาะรายมากขึ้น
-
ทำหน้าที่เป็นผู้สอนทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
-
เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบฐานข้อมูล
-
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
-
เป็นผู้ควบคุม กลั่นกรอง และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลสารสนเทศ
-
เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธ์ในวรรณกรรม
-
เป็นผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
ความรู้ความสามารถของผู้ให้บริการสารสนเทศ
    ความสามารถด้านวิชาชีพ
ความสามารถด้านงานเทคนิค
-
คัดเลือกสิ่งพิมพ์และสิ่งไม่ตีพิมพ์ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
-
วิเคราะห์และกำหนดเลขหมู่ได้อย่างกูกต้องแม่นยำ คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
-
จัดทำรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์
-
จัดการและประสานงานด้านเทคนิคกับหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่น ๆ ได้
-
ประมวลข้อมูลสารสนเทศโดยผ่านการปรับปรุงแต่งการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
ความสามารถด้านการบริการ
-
สื่อสารกับผู้ใช้เพื่อทราบความต้องการข้อมูลที่แท้จริง
-
แนะนำชี้โยงแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ
-
ค้นหาและให้บริการสารสนเทศได้โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
-
รู้แหล่งข้อมูลสารสนเทศสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-
เขียนสรุป สังเคราะห์ ปรุงแต่งข้อมูลที่ค้นได้ถูกต้องและตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-
รู้และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
-
ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ และเครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน
-
รู้วิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและประยุกต์ใช้กับงานจัดการข้อมูล สารสนเทศที่รับผิดชอบได้
-
เข้าใจเทคโนโลยีเครือข่ายสำหรับการจัดการสารสนเทศและการจัดการให้มีขึ้นในหน่วยงานและสถาบันได้
-
รู้ระบบและขั้นตอนการดำเนินงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละส่วน
-
สามารถอธิบายให้นักวิเคราะห์ระบบหรือนักคอมพิวเตอร์เข้าใจได้

ความหมายและประเภท
แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง  แหล่งที่มา  แหล่งผลิต แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต  แบ่งได้เป็น  3  ประเภทคือ
1.
สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ
2.
สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น
3.
สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น  
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศทุติยภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ

สถาบันบริการสารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ  หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่
1.
ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)
ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่งพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีบริการครอบคลุมหลายด้าน  แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน  บริการยืม คืน  และบริการช่วยการค้นคว้า      ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น  5  ประเภทได้แก่
1.1
ห้องสมุดโรงเรียน (school library)  จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ  อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน   และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์  ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
1.2
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library)   เน้นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้นสังกัดเปิดทำการสอน   เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์   ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไปเช่น    สำนักหอสมุด   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยุบริการ   ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา  เป็นต้น
1.3
ห้องสมุดเฉพาะ (special library)  เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด   มักสังกัดอยู่กับสมาคม  หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการเฉพาะด้าน  เช่น  ห้องสมุดธนาคาร   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น 
1.4
ห้องสมุดประชาชน (public library)    เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน  ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา  ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน  ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
1.5
หอสมุดแห่งชาติ (national library)  เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งที่เป็นหนังสือต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารโบราณและจารึก  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ   ให้บริการการอ่าน   ศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย 
หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติได้แก่   ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)  และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)   ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ    ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ    ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติ    และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ    
หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม   และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด เช่น
ภาคกลาง ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี  และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ
ภาคเหนือ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่   และหอสมุดแห่งชาติลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่   หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ภาคตะวันออก   ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี     และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ภาคใต้ ได้แก่  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถสงขลา   หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก จ.สงขลา   หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถตรัง  และหอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจภูเก็ต
2.
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน   แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ  เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ     ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ  ตัวเลข  รายงานการวิจัย  สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา    ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น  3  ฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายห้องสมุด  ฝ่ายการเอกสาร  และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่  ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย  (ศบอ.)    ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC)  สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทยให้บริการสารสนเทศแก่นักวิจัย  ผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไทย ในรูปของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ประสานงานและร่วมมือกับหอสมุด สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ   และให้บริการค้นคว้าทำสำเนารายงาน FAO (Food and Agriculture Organization) ของ สหประชาชาติ ที่ ศบอ.เป็นตัวแทนรับฝากในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509
เอกสารการวิจัยของ ศบอ.  เริ่มตีพิมพ์รายงานแต่ละโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ที่วิจัยโดยนักวิจัยของสถาบันฯเอง รวมถึงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เป็นต้น มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกว่า 2,000  ฉบับ ในหลากหลายกลุ่มสาขา เช่น  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การบรรจุหีบห่อ  การบริหารและการจัดการ   การพัฒนาบุคลากรและชุมชน  การวิจัยตลาดและธุรกิจ   เทคโนโลยีการก่อสร้าง   เทคโนโลยีการเกษตร  เทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีพลังงาน  เทคโนโลยีวัสดุ  เทคโนโลยีวิศวกรรม  เทคโนโลยีอาหาร  นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม  เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน  และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
3.
ศูนย์ข้อมูล  (data center)
ศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข  จัดระบบและเผยแพร่สู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย  มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน  เช่น  ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ     ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ  เป็นต้น
4.
หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)
หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือ         ลงทะเบียน  และรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง    อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ    กองการทะเบียนของกรมการปกครอง    ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์    และสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เป็นต้น
5.
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  โดยนำมาคัดเลือก   วิเคราะห์    สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  ใบข้อมูล  (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการตอบคำถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย      เนื่องจากกระบวนการทำงานของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์  และนักวิชาการ  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
6.
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service)  ที่เหมาะสม  หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ต้องการ   โดยการจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม  ดัชนีและสาระสังเขป   และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทำหน้าที่ประสานการแจกจ่าย  ได้แก่  ห้องสมุดยูเนสโก   หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)   และหอสมุดแห่งชาติของไทย  เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค  มีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน     โดยยูเนสโก (UNESCO) เป็นผู้จัดตั้งข่ายงานทั้งสองในระดับภูมิภาคเรียกว่า ASTINFO  และ APINESS
“ASTINFO”
ย่อมาจาก Regional Network for the Exchange of Information and Experiences in  Science and Technology in Asia and Pacific มีชื่อเป็นภาษาไทยว่าข่ายงานภูมิภาคเพื่อการแลกเปลี่ยนสารนิเทศและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค”  ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ คือ ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์  เนปาล และประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2527 โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ  6 ศูนย์ คือ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดเกษตรศาสตร์   สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล   กองหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
“APINESS”
ย่อมาจาก Asia-Pacific Information Network in Social Sciences มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า  ข่ายงานสารนิเทศด้านสังคมศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค มีสมาชิก 17 ประเทศ โดย 12 ประเทศจาก   ASTINFO จัดตั้งข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2531 โดย ประกอบด้วยศูนย์สมทบทั้ง 6 ของ ASTINFO และหน่วยงานอื่นอีก 4 แห่ง คือ ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งสองข่ายงานข้างต้น  มีภารกิจในการให้บริการข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ในข่ายงานฯ  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในข่ายงานฯ จัดดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนาระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์   จัดดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   เช่นจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูเนสโก ที่เกี่ยวกับ ASTINFO และ APINESS
7.
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers)  
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  ทำหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ  โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะแหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ  เป็นต้น 

8. หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)
หน่วยงานจดหมายเหตุ  ทำหน้าที่รวบรวมและอนุรักษ์เอกสารราชการ  และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่  คำสั่ง ระเบียบ  ข้อบังคับ  บันทึก  หนังสือโต้ตอบ  รายงาน  แผนที่  ภาพถ่าย  แบบแปลน  เพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน    ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งเพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ  ตัวอย่างเช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ   หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย  และหอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม  เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ   มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม     จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและบำรุงรักษาเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า     ให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารโต้ตอบของส่วนราชการ   เอกสารส่วนบุคคล   เอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งที่เป็นเอกสารประเภทลายลักษณ์และประเภทไมโครฟิล์มรวม    ทั้งบริการเอกสารประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ เช่น   ภาพถ่าย   แผนที่   แผนผัง   แบบแปลน    สไลด์   ซีดี   แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ  ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร    และมีหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาในต่างจังหวัด  ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ตรัง  ยะลา  และสงขลา    หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา และอุบลราชธานี    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี    หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครศรีธรรมราช   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี    หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑ จังหวัดสุพรรณบุรี
9.
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าบริการ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์มีหลายรูปแบบได้แก่
ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      ให้บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล  (selective dissemination of information service : SDI)       โดยจัดส่งรายการทางบรรณานุกรม   ดรรชนีและสาระสังเขปให้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้ตรวจสอบ    ส่วนการเข้าถึงตัวเอกสาร    จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ   ความสำเร็จของศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัยจึงอยู่ที่การมีห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่ดีสนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย
สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ  (extension services–liason and advisory)  ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารสนเทศในสาขาเกษตร   อุตสาหกรรมและกิจการบริการสาธารณะอื่น    หรือแนะนำแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ   บริการนี้จึงมักเชื่อมโยงกับทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก 
ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (abstract and index services)  ให้บริการฐานข้อมูลสาระสังเขปและดรรชนีวารสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  ส่วนใหญ่ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก  สามารถสืบค้นในระบบออฟไลน์ (offline system) ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวัสดุย่อส่วน ซีดีรอม และระบบออนไลน์ (online system) ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น  สาระสังเขปวิทยานิพนธ์  (Dissertation Abstracts International) ของบริษัท  University Microfilm     สาระสังเขปและดรรชนี  Biological Abstracts  และ  Bioresearch Index  จัดทำโดย  บริษัทไบโอสิส  (BIOSIS)  เป็นต้น
10.
เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network)  
เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการบริการทางบรรณานุกรม  ได้แก่  การทำบัตรรายการ  การพัฒนาทรัพยากร  การยืมระหว่างห้องสมุด  และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)
เครือข่ายยูนิเน็ตจัดดำเนินการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า “ThaiLIS” (Thai Library Integrated System)   โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบันจำนวน 24 แห่ง   ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต    มีสารสนเทศที่ให้บริการในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม  (union catalog)  เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบัน 24 แห่ง   ปัจจุบันมีข้อมูลบรรณานุกรมจำนวนกว่า 2 ล้านระเบียน  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ http://uc.thailis.or.th   
ฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม  (digital collection)  เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (full text)  พร้อมภาพ  ให้บริการข้อมูลวิทยานิพนธ์  งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่ง  ปัจจุบันมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  จำนวนกว่า  50,000 รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์   http://dcms.thailis.or.th/index.php   
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (reference database)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 7 ฐานได้แก่     Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science 
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลิขสิทธิ์ของ  SpringerLink จำนวน  1,528  รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่ 
URL : http://ebook.SpringerLink.com
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ลิขสิทธิ์ของ NetLibrary จำนวน 5,962 รายการ และหนังสือ Publicly accessible eBooks จำนวน 3,400 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่  URL: http://www.netlibrary.com
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (dissertation fulltext)  ให้บริการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย จำนวน 3,850 รายการ   เข้าใช้บริการได้ที่ URL: http://ebook.thailis.or.th

ที่มา   :    http://www.google.co.th

 

guest profile guest
 สถาบันบริการสารสนเทศ   

สถาบันบริการสารสนเทศ   
เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น ห้องสมุด ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงสถาบันบริการสารสนเทศประเภทห้องสมุด เท่านั้น

ห้องสมุด  (Library)  เป็นสถานที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเป็นวิทยาการที่เกิดจากความรู้  ความคิดของนักปราชญ์  นักการศึกษา  นักวิทยาศาสตร์  นำมาจัดทำเป็นหลักฐานและมีการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ  เพื่อความสะดวกในการให้บริการ  แบ่งได้เป็น  5  ประเภท  คือ

1. หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ  ห้องสมุดประจำชาติ   หรือประจำประเทศใด

ประเทศหนึ่ง  มีหน้าที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ  ที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้น ๆ

2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  (University  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา

ระดับอุดมศึกษา  จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมการเรียน  การสอน  

การวิจัยในระดับอุดมศึกษา

3. ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เป็นศูนย์วัสดุการศึกษา  ส่งเสริมการเรียนการสอนของครู และนักเรียน

4. ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ  ห้องสมุดที่เปิดบริการแก่ประชาชนทั่วไปอย่าง

เสรี    ตั้งอยู่ในชุมชนทั่วไป  โดยเฉพาะในเขตอำเภอและจังหวัด  มีหน้าที่ให้การศึกษานอกระบบ

โรงเรียนแก่ประชาชน  

5. ห้องสมุดเฉพาะ  (Special   Library)   คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์

บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  ให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา

 

        วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน

2. เพื่อความรู้  ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ  ที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้

3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย

4. เพื่อความจรรโลงใจ

5. เพื่อความเพลิดเพลิน    

ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในสถาบันบริการสารสนเทศ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

วัสดุตีพิมพ์ (printed materials)

วัสดุไม่ตีพิมพ์ (non-printed materials)


วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (electronic materials)
บริการสารสนเทศ

          สถาบันบริการสารสนเทศมีหน้าที่ในการให้บริการสารสนเทศต่อผู้ใช้ บริการที่จัดให้มีทั้งบริการที่จัดเป็นประจำ และบริการในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เป็นครั้งคราว ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

บริการที่จัดประจำ

           บริการในโอกาสพิเศษ



    ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ

                    สารสนเทศ  หรือ  สารนิเทศ  (Information)   หมายถึง ข้อเท็จจริง  ข้อมูล  ข่าว เรื่องราวความรู้ทั่วไป  ความรู้ทางวิชาการ  ความรู้สึก  ความคิดของนักวิชาการ  นักคิด  นักปราชญ์   นักวิชาการ  ที่แสดงออกโดยการบันทึกไว้ทั้งในรูปวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์สารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม   เช่น  ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ    พัฒนาการศึกษา       พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  
    ศูนย์สารสนเทศ (
    Information Center)
    โดยทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็นคำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้
    2.1 ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    2.2 ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
    2.3 ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
    2.4 ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย
    2.5 ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ
    2.6 หน่วยงานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ
    2.7 รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป
    3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้
    3.1 ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
    3.2 ศูนย์ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
    3.3 ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ
    3.4 กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)
    4.หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้
    4.1 หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้
    4.2 หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ
    ตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
    5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง
    6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
    7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมายเหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
    7.1 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป
    7.2 หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่งมอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    7.3 หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ
    7.4 หน่วยงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    7.5 หน่วยงานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง
    7.6 หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง
    7.7 หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา

    ที่มาhttp://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/view/64676
    www.google.co.th

guest profile guest
สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม

สถาบันบริการสารสนเทศ   เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   

ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น    ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงสถาบันบริการสารสนเทศประเภทห้องสมุด  เท่านั้น

ห้องสมุด  (Library)  เป็นสถานที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเป็นวิทยาการที่เกิดจากความรู้  ความคิดของนักปราชญ์  นักการศึกษา  นักวิทยาศาสตร์  นำมาจัดทำเป็นหลักฐานและมีการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ  เพื่อความสะดวกในการให้บริการ  แบ่งได้เป็น  5  ประเภท  คือ

1. หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ  ห้องสมุดประจำชาติ   หรือประจำประเทศใด

ประเทศหนึ่ง  มีหน้าที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ  ที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้น ๆ

2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  (University  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา

ระดับอุดมศึกษา  จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมการเรียน  การสอน  

การวิจัยในระดับอุดมศึกษา

3. ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เป็นศูนย์วัสดุการศึกษา  ส่งเสริมการเรียนการสอนของครู และนักเรียน

4. ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ  ห้องสมุดที่เปิดบริการแก่ประชาชนทั่วไปอย่าง

เสรี    ตั้งอยู่ในชุมชนทั่วไป  โดยเฉพาะในเขตอำเภอและจังหวัด  มีหน้าที่ให้การศึกษานอกระบบ

โรงเรียนแก่ประชาชน  

5. ห้องสมุดเฉพาะ  (Special   Library)   คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์

บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  ให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา

 

        วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน

2. เพื่อความรู้  ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ  ที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้

3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย

4. เพื่อความจรรโลงใจ

5. เพื่อความเพลิดเพลิน

ดังนั้นจึงสรุปความสำคัญของงานบริการ
ได้ดังนี้

1.  ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับสารนิเทศที่ตรงกับความต้องการผู้ใช้บริการที่เข้ามาในสถาบันบริการสารนิเทศ
จะต้องมีทรัพยากรสารนิเทศที่ตรงกับความต้องการ นั่นย่อมแสดงว่าห้องสมุดจะต้องมีในสิ่งมี่ผู้ใช้บริการต้องการสถาบัน
บริการสารนิเทศจะต้องมีวิธีการหรือกลยุทธ์ในการจัดบริการ หรือจัดทรัพยากรสารนิเทศให้ตรงกับความต้องการให้มากที่สุด


2.  ช่วยให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในปัจจุบันสังคมทุกชนชั้นให้ความสำคัญและสนใจในข้อมูลข่าวสาร จนกระทั่งมีเทคโนโลยีต่าง ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องและจัดการกับข้อมูล ข่าวสารที่มีอยู่อย่างมากมาย มหาศาล ดังนั้นผู้ให้บริการสารสนเทศจะต้องจัดบริการให้ข้อมูล
ข่าวสารนั้นได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ทันสมัย ถูกต้อง สมบูรณ์ที่สุด
3. ช่วยประหยัดเวลาในการใช้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการเข้ามาในสถาบันบริการสารนิเทศควรจะใช้เวลาในการเข้าถึง
ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและได้ทรัพยากรสารนิเทศที่ตรงเป้าหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน
สถาบันบริการสารนิเทศต่าง ๆ พยายามที่จะอำนวยความสะดวกด้วยการนำเทคโนโลยีสารนิเทศเข้ามาจัดการตรงนี้
หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ระบบห้องสมุดอัตโนมัต" (Automatic Library) จากการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
เข้ามาใช้งานในสถาบันบริการสารนิเทศ จะเห็นได้ว่าผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
สามารถจะสืบค้นจากระบบ Internet จากทั่วทุกมุมโลกได้หรือเมื่อเข้ามาใช้ห้องสมุดก็สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศ
ได้อย่างตรงเป้าหมาย
4. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การจัดบริการในสถาบันบริการสารนิเทศที่ดีจะทำให้ผู้ใช้บริการเข้าไปใช้บริการบ่อย ๆ
ซึ่งจะก่อให้เกิดลักษณะนิสัยที่ดี เพราะเมื่อผู้ใช้บริการเข้าห้องสมุดบ่อย ๆ อ่านข่าวสารบ่อย ๆ อ่านนิตยสาร
หรือหนังสือพิมพ์เป็นประจำ จะทำให้เกิดความเคยชิน และเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวผู้ใช้ก็จะติดนิสัยอ่านหนังสือและ
การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตลอดไป
5. ช่วยให้การศึกษา งานบริการสารนิเทศ ช่วยให้การศึกษาทั่งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน เพราะการบริการสารนิเทศ
ช่วยถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิด
การศึกษาและการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
6. ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามกระบวนการจัดเก็บและเผยแพร่วัฒนธรรมและ
ประเพณีอย่างเป็นระบบระเบียบและรวบรวมไว้ในแหล่งเดียวกัน จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบของข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ทำให้วัฒนธรรม ประเพณีทีดีงามได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่ไม่ให้สูญหาย
7.  เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติหากได้รับการเผยแพร่อย่างก้วางขวางและทั่วถึงย่อมทำให้ได้รับประโยชน์อย่าง
สูงสุดจากการศึกษาค้นคว้าจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้คุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้นและเกิดการพัฒนา
ทางด้านเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไป

8.  เพื่อให้เกิดความพึงพอใจจากการเข้าใช้บริการ การจัดงานบริการที่ดีย่อมทำให้เกิดความประทับใจและพึงพอใจจากผู้ที่เข้ามา
ใช้สถาบันบริการสารนิเทศนั้น ๆ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในจึงควรเน้นการอำนวยความสะดวกและสบายตา
สบายใจในการเข้ามาใช้บริการ เมื่อผู้ใช้เกิดความสบายใจสบายตาก็ย่อมทำให้เกิดนิสัยรักที่จะเข้ามาในสถาบันบริการสารนิเทศ
ส่งผลให้เกิดนิสัยรักการศึกษาค้นคว้า การที่สถาบันบริการสารนิเทศ สามารถจัดบริการได้ดีหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้
จากจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้ ดังนั้นการที่การที่จะทำอย่างไรให้ได้รับความนิยม จึงจำเป็นต้องจัดบริการเพื่อให้เกิด
ความพึงพอใจจากผู้ใช้ให้มากที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า "ผู้ใช้บริการคือบุคคลที่สำคัญที่สุดของเรา"

ที่มา
http://e-learning.snru.ac.th/els/pawinee/samkun.html

guest profile guest
อธิบายบทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศ

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"

ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้

                สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น (  http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/satabun.htmวันที่ 15 กันยายน 2550)
                    สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ(http://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/it107/C7.htm 15 กันยายน 2550 )
                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ  ( ชุติมา สัจจานันท์  2531: 157- 168  และ Atherton  1977: 85 -121 )
                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  สถาบันบริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ  หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2541:353)
                    สรุปได้ว่า  “สถาบันบริการสารสนเทศ”  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
วิทยาการ ความรู้ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ความก้าวหน้าของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการถ่ายทอดและเรียนรู้ ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจึงมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในสังคมสารสนเทศ เช่นปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์ข้อมูล หน่วยทะเบียน สถิติ ศูนย์วิเคราะห์สารนิเทศ ศูนย์ประมวลแจกจ่ายสารนิเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ และสถาบันบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงมีผู้รู้ได้แบ่งประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้(ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ (ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
1. ห้องสมุด (Library) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Liber ซึ่งแปลว่าหนังสือห้องสมุด จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1  ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือแหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุเป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)
1.2  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries) คือหัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น
1.3  ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือแหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด
1.4  ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือแหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้
1)  ห้องสมุดประชาชนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดประชาชนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่องานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร เช่น ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ซอยพระนาง บางเขต ปทุมวัน ฯลฯ
2.)  ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด อำเภอ
3)  ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล (British Council) ห้องสมุดสถานสอนภาษา เอยูเอ (AUA) หรือห้องสมุดที่ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดเนียลสันเฮย์ (Neilson Haya)
4)  ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารศรีนคร ในกรุงเทพมหานคร มี 3 สาขา คือ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาสามแยก สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ต่างจังหวัด 2 แห่ง คือ สาขาเชียงใหม่และสาขาพิจิตร
5)  หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ สำหรับใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และถือเสมือนว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ หอสมุดแห่งชาติของไทยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสาขาในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา เชียงใหม่ ลำพูน สิงห์บุรี นครราชสีมา จันทบุรี ฯลฯ
2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) โดยทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็นคำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้
2.1  ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.2  ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
2.3  ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
2.4  ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย
2.5  ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ
2.6  หน่วยงานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ
2.7  รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป
3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้
3.1  ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย
3.2  ศูนย์ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
3.3  ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ
3.4  กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)
4.หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1  หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้
4.2  หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจ
ตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง
6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมายเหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
7.1  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป
7.2  หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่งมอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7.3  หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ
7.4  หน่วยงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.5  หน่วยงานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง
7.6  หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง
7.7  หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา
ประเภทของสถาบันหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ (http://www.nrru.ac.th/preelearning/panitnan/05.html   วันที่ 15 ก.ย. 2550 )
1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
             ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวม
ทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ           
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ           
บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ
               1.1   ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)
               เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบัน
การศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา


               1.2  ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)
                 เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย     วิทยาลัย    และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย  ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน  การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา  ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป  เช่น    สำนักหอสมุด  สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร  ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา 
 (ประภาวดี  สืบสนธิ์.  2543 : 150)


               1.3  ห้องสมุดเฉพาะ   (Special Library)        
                เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดกฎหมาย  ห้องสมุดธนาคาร  ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ
               1.4  ห้องสมุดประชาชน  (Public Library) 
                เป็นห้องสมุดชุมชน  ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้  ทุกเพศทุกวัย  และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น


              1.5  หอสมุดแห่งชาติ  (National Library)
               มีหน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น
2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center)
                        เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือ
เฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ  ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง   เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา  ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย   มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป   สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center  (TIAC)
3.  ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่
 ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ
 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ
 4.  หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ  (Statistical Office)
                     เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้าน
หรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ
 5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่ ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น


 6.  ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ หมายถึง หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ    ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม  หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา  โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม   ดรรชนี   สาระสังเขป     หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)  หอสมุดแห่งชาติของไทย  และห้องสมุดยูเนสโก
 
 7.  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)
เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้  โดยทางศูนย์จะรวบรวม  จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์


 8.  หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์
แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม
วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์  เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ 5 ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม


 9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
                
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ
ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)  สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network) 


 10.  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
                         เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม
http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/view/64676

  สถาบันบริการสารสนเทศ

สถาบันบริการสารสนเทศ   เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   

ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น    ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงสถาบันบริการสารสนเทศประเภทห้องสมุด  เท่านั้น

ห้องสมุด  (Library)  เป็นสถานที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเป็นวิทยาการที่เกิดจากความรู้  ความคิดของนักปราชญ์  นักการศึกษา  นักวิทยาศาสตร์  นำมาจัดทำเป็นหลักฐานและมีการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ  เพื่อความสะดวกในการให้บริการ  แบ่งได้เป็น  5  ประเภท  คือ

1. หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ  ห้องสมุดประจำชาติ   หรือประจำประเทศใด

ประเทศหนึ่ง  มีหน้าที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ  ที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้น ๆ

2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  (University  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา

ระดับอุดมศึกษา  จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมการเรียน  การสอน  

การวิจัยในระดับอุดมศึกษา

3. ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เป็นศูนย์วัสดุการศึกษา  ส่งเสริมการเรียนการสอนของครู และนักเรียน

4. ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ  ห้องสมุดที่เปิดบริการแก่ประชาชนทั่วไปอย่าง

เสรี    ตั้งอยู่ในชุมชนทั่วไป  โดยเฉพาะในเขตอำเภอและจังหวัด  มีหน้าที่ให้การศึกษานอกระบบ

โรงเรียนแก่ประชาชน  

5. ห้องสมุดเฉพาะ  (Special   Library)   คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์

บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  ให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน

2. เพื่อความรู้  ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ  ที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้

3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย

4. เพื่อความจรรโลงใจ

5. เพื่อความเพลิดเพลิน

http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/satabun.htm

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา