การเตรียมตัวมาพบแพทย์

manajan1 profile image manajan1

- เป้าหมายของผู้ป่วย กับเป้าหมายของแพทย์ คือเป้าหมายเดียวกัน คือการให้ผู้ป่วยหายจากโรคที่เป็น แต่มุมมองที่ต่างกัน ทำให้อาจไม่บรรลุเป้าหมายนั้น
- สิ่งที่แพทย์ต้องการจากผู้ป่วยคือประวัติที่สำคัญของการเจ็บป่วยนั้น แพทย์ต้องการทราบสาเหตุของการเจ็บป่วย ถ้าผู้ป่วยสามารถบอกได้ ก็จะทำให้แพทย์ วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง เมื่อวินิจฉัยได้แล้ว การรักษาไม่ใช่เรื่องยาก อะไรที่ผู้ป่วยคิดว่าน่าจะเป็นต้นเหตุของโรคต้องบอกให้แพทย์ทราบ แม้เรื่องนั้นจะเป็นความลับ หรือเรื่องน่าอายก็ตาม มิฉะนั้นแพทย์จะวินิจฉัยผิด ส่วนมากผู้ป่วยมักจะคิดว่า ถ้าแพทย์เก่ง ก็จะรู้เองว่าตนเองเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประวัติมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาก็ตรวจร่างกาย รองลงมาอีกก็คือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะเห็นว่าประวัติ อาการ การเจ็บป่วยมีความสำคัญมาก
- ประวัติแรกที่แพทย์ต้องทราบคือ อาการสำคัญ อาการสำคัญคืออาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาล อาจจะไม่ใช่อาการแรกที่เป็นก็ได้ เช่น มีไข้ เวียนหัวมา 3 วัน วันนี้มีคลื่นไส้อาเจียนมาก จึงมาโรงพยาบาล ดังนั้น อาการสำคัญของผู้ป่วยรายนี้ไม่ใช่เรื่อง ไข้ เวียนหัว แต่เป็น อาการ คลื่นไส้อาเจียนมาก อาการสำคัญ ก็คือปัญหาหลักของผู้ป่วย ดังนั้นเวลาที่ท่านเจ็บป่วยไปโรงพยาบาล พยาบาลจะถาม "เป็นอะไรมาค๊ะ" ท่านก็ต้องตอบว่า "คลื่นไส้อาเจียนมาก" พยาบาลก็จะถามต่อ "เป็นมานานเท่าไรค๊ะ" ท่านก็ตอบว่า "๓ ชั่วโมง"
- ประวัติต่อมา คือ ประวัติปัจจุบัน ประวัติส่วนนี้จะเป็นประวัติรายละเอียด ตั้งแต่เริ่มป่วย มีอาการเริ่มต้นอย่างไร อาการแต่ละอย่างเป็นอย่างไร เช่น ไข้ ไข้สูงหรือต่ำ ไข้ตลอดเวลาหรือเป็นพักๆ มีหนาวสั่นร่วมด้วยไหม
- ผมอยากแนะนำท่านผู้ป่วยที่จะมาตรวจ ถ้าเป็นไปได้ ท่านเขียนประวัติตั้งแต่เริ่มเป็นจนถึงปัจจุบันมาจะดีมาก เพราะว่าผู้ป่วยมักจะลืม ด้วยความตื่นเต้น กลัวแพทย์ ทำให้ลืมอาการที่สำคัญไป จนทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิด
- เรื่องระยเวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก ปัญหาที่พบบ่อย ถามว่า "ท้องเสียมากี่วัน" ผู้ป่วยตอบว่า "หลายวัน" คำตอบว่า หลายวัน ไม่มีประโยชน์ ทางการแพทย์ ท่านจะต้องตอบ จำนวนวันเลยว่า 3 วัน หรือ 2 เดือน จำนวนวันจะทำให้แพทย์คิดถึงโรคได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ขับออกมาจากร่างกายก็เช่นกัน ผู้ป่วยจะต้องดูสี เช่นถ้ามีเสมหะ ผู้ป่วยต้องบ้วนออกมาดูว่า สีอะไร ใส ขาว เหลือง สีแดงเป็นเลือด อุจจาระ ปัสสาวะก็เช่นกัน ต้องดูว่าสีอะไร แพทย์จะต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบในการวินิจฉัยโรค
- การวินิจฉัยโรค เกิดจากการนำเอา ประวัติการเจ็บป่วย มารวมกับการตรวจร่างกาย ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้ประมาณ ร้อยละ ๘๐ หากซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้วยังไม่สามารถวินิจฉัยแพทย์ก็จะต้องคิดต่อว่า การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ เอ็กซ์เรย์จะช่วยได้ไหม หากช่วยได้ ก็จะสั่งทำ
- ปัญหาที่พบบ่อย คือผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ด้วยความต้องการที่จะให้แพทย์ทำบางอย่าง เช่นมาถึง บอกแพทย์ว่า ต้องการเอ็กซ์เรย์ พอถามต่อว่าเป็นอะไรมา บอกว่า ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ แพทย์ก็จะบอกว่า ถ้าแบบนี้ เอ็กซ์เรย์ ไม่ได้ มันไม่เห็น พอแพทย์ตอบเช่นนี้ ผู้ป่วยก็จะเริ่มไม่พอใจแพทย์ ที่ไม่ทำตามความต้องการของตนเอง
- ในความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ของผู้ป่วยคือ ให้ประวัติที่ถูกต้องตามที่แพทย์ซักถาม ร่วมมือในการตรวจร่างกาย นอกนั้นเป็นหน้าที่ของแพทย์ จะเอ็กซ์เรย์ หรือ ตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ แพทย์ทุกคนอยากเก่ง อยากรักษาให้ผู้ป่วยหาย
- การวินิจฉัยโรค เป็นการนำเอาประวัติการเจ็บป่วย มารวมกับการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเอ็กซ์เรย์ นำมาประมวลว่า ผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคอะไร ผู้ป่วยบางท่าน แพทย์สามารถจะคิดถึงโรคที่น่าจะเป็นได้ตั้ง ๓-๔ โรค ไม่สามารถชี้ชัดว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง แบบนี้แพทย์ก็ต้องเลือกโรคที่คิดว่า น่าจะเป็นมากที่สุด เพื่อทำการรักษาก่อน แล้วนัดมาติดตามผลการรักษาอีกครั้ง ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากมักจะคิดว่าแพทย์เลี้ยงไข้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา แพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วย ๘ นาที่/คน สามารถวินิจฉัยโรคได้เลย ร้อยละ ๗๐ ส่วนอีก ร้อยละ ๓๐ ก็ต้องรักษาแบบโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุดไปก่อน โรงพยาบาลหนองแค แพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วย ๓ นาที/คน ก็คงจะวินิจฉัยโรคได้เลย ไม่เกินร้อยละ ๖๐ ที่เหลืออีก ร้อยละ ๔๐ ก็ต้องรักษาแบบโรคที่น่าจะเป็นไปก่อน

- ผมอยากให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ แพทย์มีโอกาสรักษาผิดพลาดได้ตลอดเวลา เพราะวิชาการแพทย์มันเรื่องของความ น่าจะเป็น เป็นเรื่องของสถิติที่เก็บรวบรวมไว้ และข้อมูลส่วนมากก็มาจากโลกตะวันตก ซึ่งอาจจะแตกต่างจากประเทศไทย แต่ถ้าผู้ป่วย ให้ประวัติที่แม่นยำมากเท่าไร โอกาสที่จะวินิจฉัยผิดพลาดก็จะน้อยลง

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

manajan1 Icon เตียงใหม่ 1 อ่าน 883 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon ผู้ยิ่งใหญ่ อ่าน 724 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon ทำไมจะลาออก อ่าน 867 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon เตรียมตัวให้พร้อม อ่าน 706 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
boner Icon อยากไปทำงานที่PCU 1 อ่าน 1,037 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon การเรียนนอกระบบ 5 อ่าน 2,018 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon แย้มแย้ม ชอบกินทุเรียน อ่าน 1,419 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon อำนาจ สิ่งที่ไม่เข้าใคร ออกใคร อ่าน 1,171 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
barbor Icon เอาไว้ก้อไร้ประโยชน์ 5 อ่าน 1,702 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon ซื้อของขวัญปีใหม่ให้ตนเอง 14 อ่าน 4,099 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon สุขสันต์วันปีใหม่ ๒๕๕๕ 1 อ่าน 1,226 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา