หมอขอฉีดยาหน่อย

manajan1 profile image manajan1

- คนไข้เดินเข้ามาในห้องตรวจ ยังไม่ทัน นั่งลง มักจะกล่าวคำหนึ่งออกมาได้ยินบ่อยๆ "หมอผมขอฉีดยานะ" ผมจะแกล้งนั่งนิ่งไปสักครู่แล้วตอบไปว่า "ที่ผมไม่ตอบเพราะผมยังไม่ทราบเลยว่า คุณเป็นอะไร แล้วโรคที่คุณเป็นนั้นมันมียาฉีดหรือไม่" เรื่องฉีดยาเป็นเรื่องหนึ่งที่ แพทย์กับคนไข้มักจะมีปัญหากัน คนไข้มองว่าต้องฉีดยาโรคจึงจะหาย แต่ความเป็นจริงมันเป็นดังนี้
- การที่โรคจะหายหรือไม่ ๑ ต้องวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง ผู้ป่วยต้องให้ประวัติที่ครบถ้วย ถูกต้อง ชัดเจน กับแพทย์ ๒ แพทย์ต้องตรวจร่างกายในส่วนที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับอาการที่เป็น ๓ หากจำเป็นก็อาจจะตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์หรือเอ็กซ์เรย์ ๔ ทำการวินิจฉัยโรค ถ้าแพทย์ได้ข้อมูลผิด วินิจฉัยโรคผิด จะรักษาว่าไม่ว่าด้วยยาฉีด ยากินโรคก็ไม่หาย ถ้าได้ข้อมูลถูกแต่แพทย์วินิจฉัยโรคผิด ก็ไม่หายเช่นกัน แต่ถึงจะวินิจฉัยโรคถูกต้อง แต่สั่งยาไม่ตรงกับโรคมาฉีดมันก็ไม่หายอยู่ดี การหายของโรคต้องวินิจฉัยให้ถูกต้อง จ่ายยาให้ถูกต้อง หากได้ยาที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นยากินหรือยาฉีดก็หายเหมือนกัน
- เราต้องเข้าใจเรื่องอายุการออกฤทธิ์ของยาด้วย ยาส่วนมากก็จะมีอายุการออกฤทธิ์อยู่ประมาณ ๔-๒๔ ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของยา หมายความว่า เมื่อเรากินยา หรือ ฉีดยาเข้าไป ยาจะมีเวลาออกฤทธิ์ในร่างกายของเราประมาณ ๔-๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นยาแต่ละชนิดจึงมีกำหนดการกินไว้ เช่น วันละ ๓ ครั้ง วันละ ๔ ครั้ง วันละครั้งเป็นต้น เพื่อให้ระดับยาในเลือดเพียงพอที่จะรักษาโรคได้
- โรคแต่ละโรคจะมีระยะเวลาการหายเฉพาะ เช่นไข้หวัด จะมีระยะเวลาประมาณ ๗ วันเป็นต้น เพราะการหายของโรคนอกจากจะอาศัยยาแล้ว ตัวที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือระบบการทำงานของเม็ดเลือดขาว ที่จะทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค
- ดังนั้นการฉีดยาเพียงเข็มเดียว ไม่ได้ทำให้โรคหาย แต่ที่หายจริงจากยากินที่ต้องกินต่อ ยาบางอย่างก็มีเฉพาะยาฉีด ยาบางอย่างก็มีเฉพาะยากิน ยาบ้างอย่างมีทั้ง กิน ทั้ง ฉีด หากเป็นยาที่มีทั้ง กิน และ ฉีด การกินยา ๑ เม็ด ก็ เท่ากับการ ฉีดยา ๑ เข็ม เพราะขนาดที่ให้จะเท่ากัน เช่น ครั้ง ๕๐๐ มิลลิกรัม ๑ เม็ดก็จะมียา ๕๐๐ มิลลิกรัม ฉีด ๑ เข็ม ก็จะมียา ๕๐๐ มิลลิกรัม มันจะเข้าที่ กิน หรือ ฉีด ก็ไปออกฤทธิ์ที่เดียวกัน

- แต่ปัญหาของยา ฉีด มีมากกว่ายา กิน เช่นหากฉีดไปถูกเส้นประสาทขา อาจจะทำให้ขาลีบ เดินไม่ได้ หรือหากเกิดอาการแพ้ มักมีอาการแพ้ที่รุนแรงมากกว่ายากิน แพทย์จึงมักจะไม่ใช้ยาฉีดในผู้ป่วยนอก เกรงว่าหากแพ้เกิดอาการที่บ้านอาจเป็นอันตรายได้
- กินยาเถอะครับ ปลอดภัยดี หากมีความจำเป็นเช่นยาตัวนั้นมีเฉพาะยาฉีด แพทย์เขาฉีดให้เอง เราอย่ามาทะเลาะกันเรื่อง ยาฉีด ยากิน เลยครับ

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

manajan1 Icon เตียงใหม่ 1 อ่าน 883 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon ผู้ยิ่งใหญ่ อ่าน 724 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon ทำไมจะลาออก อ่าน 867 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon เตรียมตัวให้พร้อม อ่าน 705 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
boner Icon อยากไปทำงานที่PCU 1 อ่าน 1,037 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon การเรียนนอกระบบ 5 อ่าน 2,018 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon แย้มแย้ม ชอบกินทุเรียน อ่าน 1,419 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon อำนาจ สิ่งที่ไม่เข้าใคร ออกใคร อ่าน 1,171 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
barbor Icon เอาไว้ก้อไร้ประโยชน์ 5 อ่าน 1,702 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon ซื้อของขวัญปีใหม่ให้ตนเอง 14 อ่าน 4,099 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
manajan1 Icon สุขสันต์วันปีใหม่ ๒๕๕๕ 1 อ่าน 1,226 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา