ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

cl_km profile image cl_km
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ความคิดเห็น
guest profile guest
หวาดดีครับ
guest profile guest
หวัดดีคนข้างบน อิอิ
guest profile guest
หวัดดี ด้วยคน
guest profile guest
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
 
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
 
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให ้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จากนั้น ก็ได้มี ISP เกิดขึ้นตามมาอีกหลาย บริษัทเพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ 



ขอบคุณที่มา http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=CoM_ScIeNcE&club_id=1620&table_id=1&cate_id=1076&post_id=7315
guest profile guest

อินเทอร์เน็ต คืออะไร

        อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

IP (Internet protocal) Address

 คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง

ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน

IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

1.  เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
2. เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
3. เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
4. เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
5. ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
6. เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร

ประวัติความเป็นมา

1.   ประวัติในระดับนานาชาติ

- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)

- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง

- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น

- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
2.  ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยี แห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ที่มา http://www.thaiall.com/internet/internet02.htm

guest profile guest

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
"อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆเช่น ตัวอักษร ภาพและเสียงได้ รวมทั้งค้นหาข้อมูลจากที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต

ในปี พ.ศ.2512 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ในทางทหารระบบหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากระบบเครือข่ายทั่วไป คือสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องหรือสายรับส่งข้อมูลบางส่วนจะเสียหายหรือถูกทำลายไปก็ตาม ระบบเครือข่ายนี้มีชื่อเรียกว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงกันด้วยสายรับส่งข้อมูลที่แยกออกเป็นหลายเล้นทางประสานกันเหมือนร่างแห เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปให้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งใน ARPANET มันจะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ และทยอยส่งไปให้ปลายทางตามที่กำหนด โดยแต่ละชิ้นยิ่ยๆนี้อาจไปคนละทางกัน แต่จะไปรวมกันที่ปลายทางตามลำดับที่ถูกต้องตามเดิมได้ แต่ถ้าหากในระหว่างทางข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง (Packet) เกิดสูญหายหรือผิดพลาด อันเนื่องมาจากสัญญานรบกวนก็ดี หรือสายส่งข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่กลางทางเสียหายหรือถูกทำลายก็ดี เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งสัญญานกลับมาแจ้งให้คอมพิวเตอร์ต้นทางรับรู้และจัดการส่งข้อมูลเฉพาะส่วนที่ขาดไปให้ใหม่โดยใช้เส้นทางอื่นแทน ด้วยวิธีนี้เราสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งออกไปจะถึงปลายทางอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายเกิดความเสียหายก็ตาม และเฉพาะข้อมูลส่วนที่เสียหายเท่านั้นที่จะต้องส่งใหม่ ไม่ใช่ส่งใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นซึ่งจะเสียเวลามาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายของ ARPANET จะสามารถรับส่งข้อมูลไปยังปลายทางโดยใช้สายส่งข้อมูลเท่าที่เหลืออยู่ได้ และเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้นให้พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการรับส่งข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังรูป

          ก้าวแรกของ ARPANET ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 4 เครื่อง คือคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาตาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลีส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เมื่อมีการทดลองใช้งาน ARPANET จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว กระทรวงกลาโหมของสหรัฐก็ได้ขยายเครือข่ายของ ARPANET ออกไป โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ รวม 50 แห่งในปี พ.ศ.2515 ซึ่งเครือข่ายของ ARPANET ในขณะนั้นใช้งานเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทางทหารเป็นส่วนใหญ่โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่าย ARPANET จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลอันเดียวกัน เรียกว่า Network Control Protocal (NCP) เป็นส่วนควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และเปรียบเสมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐาน NCP ที่ใช้ในขณะนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไปมากๆไม่ได้ จึงได้เเริ่มมีการพัฒนามาตรฐานในการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมาเรียกว่า Transmission Control Protocal/Internet Protocal หรือโปรโตคอลแบบ TCP/IP ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่ ARPANET ได้วางรากฐานไว้ให้กับอินเตอร์เน็ต เพราะจากมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบ TCP/IP นี้ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้และนับว่าเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยที่เดียว โปรโตคอล TCP/IP ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปีถัดมาคือ ปี 2526 และถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ UNIX เวอร์ชั่น 4.2 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์คได้เพิ่มขึ้นจาก 235 เครื่องในปี 2525 มาเป็น 500 เครื่องในปี 2526 และเพิ่มเป็น 1,000 เครื่องในปี 2527

          ต่อมาในปี 2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Science Foundation (NSF) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่งเรียกว่า NSFNET ซึ่งประกอบด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่อง ใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้ใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลเช่นกัน ทำให้การขยายตัวของเน็ตเวิร์คเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษามีความต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้การใช้งานซูเปอร์คอมพิวเตอร์คุ้มค่าที่สุด และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ประกอบกับการรับส่งข้อมูลก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจึงเพิ่มเป็น 5,000 เครื่อง นอกจาก ARPANET และ NSFNET แล้วยังมีเครือข่ายอื่นๆ อีกหลายเครือข่าย เช่น UUNET, UUCP, BITNET, CSNET ฯลฯ ซึ่งต่อมาก็ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยมี NSFNET เป็นเครือข่ายหลัก เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง หรือ backbone ของระบบ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจึงได้เพิ่มเป็นกว่า 20,000 เครื่องในปี 2530 และก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเป็น 100,000 เครื่องในปี 2532

          หลังจากที่ ARPANET ได้รวมเข้ากับ NSFNET แล้วในปี 2530 เครือข่าย ARPANET ก็ค่อยๆ ลดบทบาทลง เนื่องจากการเปลี่ยนไปใช้ความสามารถของ NSFNET แทน จนกระทั่งปี 2533 ก็เลิกใช้งาน ARPANET โดยสิ้นเชิง แต่จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายก็ยังคงเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณต่อไป และในปี 2544 ก็ได้มีการจัดตั้งสมาคม CIX (Commercial Internet Exchange) ขึ้น โดนขณะนั้นมีเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 600,000 เครื่องในระบบ และเมื่ออินเตอร์เน็ตมีอายุครบรอบ 25 ปี คือในปี 2537 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็พุ่งขึ้นสูงกว่า 2,000,000 เครื่อง ปัจจุบันประมาณการกันว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่ออยู่ในอินเตอร์เน็ตมีเกือบ 10 ล้านเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ และมีคนใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ต่อเชื่อมเข้ามาไม่ต่ำกว่าวันละหลาย 10 ล้านคน

จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

 

        จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ ปี 2530 ม.สงขลา  (PSU) ได้ทำการใช้ e-mail เป็นครั้งแรก โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเวลาเดียวกัน สถาบัน AIT (Asian Insitute of Technology) ได้ทดสอบ UUCP โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne และ มหาวิยาลัยในโตเกียว แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร

        ปี 2531 Thai Computer Science Network (TCSNet) ถือกำเนิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ออสเตรเลีย ในโครงการ Australian International Development Plan (IDP) มหาวิทยาลัย 3 สถาบันในไทยเข้าในโครงการ TCSNet ด้วยได้แก่ PSU, AIT, CU (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

        พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์
แห่งชาติ (NECTEC),  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "
เครือข่ายไทยสาร"

        พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชน
มีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)

        พ.ศ. 2538 เกิดโครงการ SchoolNet โดย NECTEC, Internet สำหรับเอกชนได้ถือกำเนิดในปีนี้เช่นเดียวกัน หลังจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) ศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ก็ให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก โดย Internet Thailand ได้เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 512 Kbps ในช่วงเวลาเดียวกัน KSC Comnet ก็ได้รับลิขสิทธิ์เช่นกัน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็มีอีก 3 บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมา Internet ในประเทศไทยก็เริ่มโตอย่างรวดเร็ว 

พ.ศ. 2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ 

พ.ศ. 2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก

เครดิต :

www.skn.ac.th/a_cd/java/tree/internet/history.html

www.geocities.com/pex08/internet.html

guest profile guest
"อินเทอร์เน็ต  นับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุด
และมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุด ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้พัฒนาศักยภาพขึ้นมา
อย่างรวดเร็ว กระทั่งถึงปัจจุบัน มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ
ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งหลังที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

      อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

     ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

ะบบการสื่อสารกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

  อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร
ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

ระบบเครือข่ายแบบเดิม

ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ

    การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้

    ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก

    ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

    ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 
( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand

    กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

   ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ไม่ได้ส่งข้อมูลเป็นชุดยาวๆ หากแต่ส่งไปเป็นชิ้นๆ เป็นชุดๆ หรือเรียกกันทั่วไปว่า แพ็กเกต (Packet) แพ็กเกตจะถูกส่งไปตามสายเคเบิล เมื่อไปถึงผู้รับแล้ว แพ็กเกตจะมารวมกันเป็นข้อความยาวๆ เหมือนเดิม แต่ถ้าแพ็กเกตใดขาดหายหรือตกหล่น คอมพิวเตอร์ก็จะตรวจสอบ และส่งแพ็กเกตมาใหม่ จนข้อมูลครบเหมือนเดิม

     การที่ข้อมูลจะถูกส่งถ่ายเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายนั้น จะมีปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสาร ทำให้ไม่อาจส่งถ่ายข้อมูลได้สะดวก จึงได้มีการพัฒนาภาษากลางสำหรับสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิดสามารถสื่อสารกันได้ ภาษาดังกล่าวเรียกว่า TCP/IP ย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol

    การวิ่งไป-มาของข้อมูลจะผ่านเส้นทางหลักที่เรียกว่า แบ็กโบน (Backbone) ผ่านทางเร้าเตอร์ (Router) ซึ่งเปรียบเสมือนบริษัทตัวการเส้นทางให้ข้อมูลเดินทางไป-มาได้สะดวกและรวดเร็ว ถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย

 


guest profile guest
"อินเทอร์เน็ต  นับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุด
และมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุด ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้พัฒนาศักยภาพขึ้นมา
อย่างรวดเร็ว กระทั่งถึงปัจจุบัน มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ
ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งหลังที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

      อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

     ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

ะบบการสื่อสารกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

  อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร
ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

ระบบเครือข่ายแบบเดิม

ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ

    การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้

    ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก

    ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

    ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 
( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand

    กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

   ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ไม่ได้ส่งข้อมูลเป็นชุดยาวๆ หากแต่ส่งไปเป็นชิ้นๆ เป็นชุดๆ หรือเรียกกันทั่วไปว่า แพ็กเกต (Packet) แพ็กเกตจะถูกส่งไปตามสายเคเบิล เมื่อไปถึงผู้รับแล้ว แพ็กเกตจะมารวมกันเป็นข้อความยาวๆ เหมือนเดิม แต่ถ้าแพ็กเกตใดขาดหายหรือตกหล่น คอมพิวเตอร์ก็จะตรวจสอบ และส่งแพ็กเกตมาใหม่ จนข้อมูลครบเหมือนเดิม

     การที่ข้อมูลจะถูกส่งถ่ายเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายนั้น จะมีปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสาร ทำให้ไม่อาจส่งถ่ายข้อมูลได้สะดวก จึงได้มีการพัฒนาภาษากลางสำหรับสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิดสามารถสื่อสารกันได้ ภาษาดังกล่าวเรียกว่า TCP/IP ย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol

    การวิ่งไป-มาของข้อมูลจะผ่านเส้นทางหลักที่เรียกว่า แบ็กโบน (Backbone) ผ่านทางเร้าเตอร์ (Router) ซึ่งเปรียบเสมือนบริษัทตัวการเส้นทางให้ข้อมูลเดินทางไป-มาได้สะดวกและรวดเร็ว ถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย

 http://school.obec.go.th/ckn/network2/new_page_6.htm


guest profile guest
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

           ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
- มหาวิทยาลัยยูทาห์
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
- สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
        และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
งานหลักของเครือ ข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
         พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยก็ว่าได้

       จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
      พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่าย อื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)

      ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
ใน ปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง

        ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้


อินเตอร์ เน็ตในประเทศไทย

        ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศั
- โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
- เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
- สายโทรศัพท์ทองแดง

          โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับ ได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
หลังจาก นั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอกจากนี้ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
          ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ"

         หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 ร่วมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535
ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)
และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537
AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร

       ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread
guest profile guest

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)

 

อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย

 

อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบน มาตรฐานเดียวกัน

ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยา ศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บ เบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)

ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

 

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

 ที่มา : http://www.thaiall.com/article/internet.htm#hist

http://www.modify.in.th/Computer-With-Internet/id141.aspx

guest profile guest

ความเป็นมาของระบบ Internet

อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชื่อว่า APRA (Advanced Research PojectAgency) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร

กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"โลกวันนี้ได้มาถึงจุดเลี้ยวต่อที่วัฒนธรรมได้หักมุมจากสังคม ที่แต่เดิมมีศูนย์กลาง อยู่ที่เครือข่าย

 

วิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มาสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลักดัน ให้สังคมก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) โดยทุกวันนี้ทั่วโลกมีมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 200 ล้านคน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรโลกเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว มีผู้ใช้ถึง 80 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 29 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา) จากข้อมูลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกัน พบว่าหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตในการ จับจ่ายสินค้า ผ่านเน็ต ปรึกษาแพทย์ผ่านเน็ต ฟังการถ่ายทอดวิทยุผ่านเน็ต ลงทุนผ่านเน็ต จำนองบ้านผ่านเน็ต ติดตามการขนส่งพัสดุผ่านเน็ต รับทราบข่าวผ่านเน็ต สนทนาโทรศัพท์ผ่านเน็ต รวมทั้งทำกิจกรรมการเมืองผ่านเน็ต และแม้กระทั่งสื่อสารรักกันผ่านเน็ต

ความหมาย Internet

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้มข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์

อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

ประโยชน์ Internet

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้

เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้ การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(New group)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

http://akira2010.blogspot.com/2008/01/internet.html

guest profile guest
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

          ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA

          ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง ๒๓ เครื่อง

          จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้

          แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไปใช้

          การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)

          ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

          การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address)

ไอพีแอดเดรสทุกตัวจะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลกการกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลขให้แก่เครือข่าย

          ผู้ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตโดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้านสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านต่อผ่านโมเด็มมาที่เครื่องหลัก หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้านจะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือติดต่อกับเพื่อนๆได้ ทั้งในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ

          อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่าในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

          ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร(THAISARN - THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสาามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้



ที่มา http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%A4%C7%D2%C1%E0%BB%E7%B9%C1%D2%A2%CD%A7%CD%D4%B9%E0%B7%CD%C3%EC%E0%B9%E7%B5
guest profile guest

อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535

อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้ แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET ที่เป็นระบบเปิด ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด

ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าใรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งานได้ทำให้อินเตอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกาจนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก

การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบันจุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน

ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิด ได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB

ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่าน เพื่อพัฒนาตลาด ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่นๆ

ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี economies of scale สำหรับการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money) ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000 นี้

ในด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตรองรับการใช้งานในด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มาตั้งแต่ต้นแล้ว เพียงแต่ขอบเขต ของการให้บริการตลอดจน จำนวนและรูปแบบของบริการเพิ่งจะมีอัตราเติบโตที่สูงมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์อาศัยเพียง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูลงานวิจัย ไปยังกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต่อมามีการใช้งานกลุ่มสนทนา (Discussion Forum) ที่เรียกว่า USENET Newsgroups ซึ่งทำให้สามารถรวมผู้คน เข้ามาปรึกษาหารือได้คราวละมาก ๆ โดยในแต่ละ FORUM จะมีเรื่องที่กำหนดหัวข้อไว้เช่น soc.culture.thai เป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับเมืองไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเรื่องทั่วไป comp.security เป็นกลุ่มสนทนาที่จะคุยกัน เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีกลุ่มสนทนาอยู่กว่า 8000 กลุ่มบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ไม่จำกัดอยู่ใน วงการอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้น บุคคลทั่วไปที่สนใจก็สามารถเข้าไปสนทนาในเรื่องวิชาการใดใดก็ได้ ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการศึกษานอกโรงเรียน (Informal Education) เป็นอย่างมาก ยิ่งภายหลังจากที่เทคโนโลยี WEB ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการอินเตอร์เน็ต ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก รูปแบบการใช้งาน (Applications) นั้นมีเหลือคณานับ เช่น การใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบทางไกล (Distant Education and Wide Area Learning) สามารถส่งข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง อนิเมชัน ไปยังนักเรียนได้ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามหาวิทยาลัยจำแลง (Virtual University) ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตัวมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ที่ทำการเล็ก ๆ เท่านั้นแต่นักศึกษาจะมีความรู้สึกว่าใหญ่ เมื่อเข้าไปเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยจำแลง ที่อาศัยบริการอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักศึกษาที่ห่างไกล มหาวิทยาลัยจริงหลาย ๆ แห่งก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดฝึกอบรมและสัมนาทางไกล มีงานประชุมทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายแห่งที่เปลี่ยนจากการประชุมจริง มาเป็นการจัดบนอินเตอร์เน็ต โดยยังอิงรูปแบบของงานประชุมจริง ๆ ไว้

การถ่ายทอดความรู้ และ การถ่ายเทความมั่งคั่งทางปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งรวดเร็วขึ้นอย่างมาก เราเคยใช้หนังสือเป็นตัวถ่ายทอดวิทยาการความรู้ เราเคยใช้การไปมาหาสู่ในการช่วยถ่ายเทภูมิปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ขณะนี้เราก็ยังคงใช้มันอยู่ หากแต่นับวันมันจะมีสัดส่วนที่น้อยลง ทุกวันนี้เราถ่ายเทข่าวสารความรู้ผ่านทางสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เราสามารถอ่านวารสารไบต์ และ ไทมส์ บนอินเตอร์เน็ต เราสามารถติดต่อพูดคุยผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสนทนา โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต (Internet Phone) จนถึงการประชุมแบบเห็นภาพ (Video Conference) ทุกวันนี้เมื่อมีความรู้เกิดขึ้น ณ ที่ใด มันสามารถที่จะถ่ายเทไปยังที่อื่น ๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้คนได้มีโอกาสเสวยสุขกับทรัพยากรทางปัญญาได้รวดเร็ว และ ทั่วถึงกว่าเดิม กล่าวคือ มันได้เพิ่มอำนาจแก่มวลชน เพราะเมื่อมวลชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น คุณภาพทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกันทั่วถึงขึ้น ย่อมกระจายอำนาจการตัดสินใจไปสู่กลุ่มคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น การตัดสินใจใดใดของรัฐบาลจะถูกควบคุมโดยพลังสารสนเทศของมวลชน การทำธุรกิจจะเป็นไปในแนวทาง ที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนทั้งนี้ภาคธุรกิจจะสามารถทราบความต้องการของมวลชนได้อย่างรวดเร็ว

ในด้านมืด อินเตอร์เน็ตก็ได้สร้างผลกระทบต่อมวลชนเช่นกัน ความสามารถในการเป็นสื่อในการถ่ายเททรัพยากรทางปัญญา จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งทำให้มันถูกใช้ในการก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายได้ง่ายขึ้น อาชญากรสามารถที่จะเจาะเข้าไป หาข้อมูลเพื่อแสวงหาประโยชน์จากความลับในทางการค้า หรือเข้าไปขโมยเงินซึ่งอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย อาชญากรจะมีความรู้มากขึ้น เพราะสามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำระเบิดซึ่งเขียนวิธีทำไว้อย่างละเอียดบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับ WEB นักก่อการร้ายในปัจจุบันใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในการประสานงานการวางระเบิดทั่วโลก ข้อมูลต่าง ๆ สามารถถูกส่งไปยังหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ของผู้ก่อการร้าย อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเดินทางของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ยังได้คุกคามต่อวัฒนธรรมของชนในหลายพื้นที่ที่ข้อมูลภายนอกอาจเป็นสิ่งต้องห้าม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาพโป๊และเปลือยซึ่งถือเป็นเรื่องแสนจะธรรมดาสำหรับประเทศในเขตยุโรปเหนือแต่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศอาหรับ หรือแม้แต่ประเทศเราเอง

การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้สังคมโลกเริ่มปรับตัวและจัดระเบียบใหม่ การดำเนินชีวิตของพลเมืองโลก เริ่มมีการปรับเปลี่ยน มีรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายมีการปฏิรูปทางการศึกษา พฤติกรรมในการบริโภคก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไป อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต ได้แผ่ขยายไปมากเกินกว่าอำนาจใดจะหยุดยั้งไว้ได้ นั่นไม่ใช่เพราะพลังของเทคโนโลยีแต่เป็นพลังของมวลชนต่างหาก

 

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค

เครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมาย

เครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยม

การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น

เนื่องจากในปัจจุบันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 เป็นต้นไป การใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มจะอยู่ตัว และมีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายเส้นทางการสื่อสารให้กว้างขึ้นเป็น 64 Kbps เป็นอย่างน้อย ประกอบกับทางเนคเทค ได้รับเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินลดลง จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่ายไทยสาร เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเชื่อต่อสมทบให้เนคเทคปีละ 240,000 บาท สำหรับการเชื ่อมต่อที่ความเร็ว 64 Kbps



ที่มา http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=2366
guest profile guest

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
 
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
 
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให ้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จากนั้น ก็ได้มี ISP เกิดขึ้นตามมาอีกหลาย บริษัทเพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ 

 
ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)



ที่มา http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=CoM_ScIeNcE&club_id=1620&table_id=1&cate_id=1076&post_id=7315
guest profile guest
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

          ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA

          ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง ๒๓ เครื่อง

          จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้

          แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไปใช้

          การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)

          ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

          การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address)

ไอพีแอดเดรสทุกตัวจะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลกการกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลขให้แก่เครือข่าย

          ผู้ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตโดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้านสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านต่อผ่านโมเด็มมาที่เครื่องหลัก หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้านจะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือติดต่อกับเพื่อนๆได้ ทั้งในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ

          อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่าในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

          ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร(THAISARN - THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสาามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้


ปัจจุบันเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาจนสามารถส่งดาวเทียมและสร้างสถานีอวกาศได้สำเร็จ

ชื่อและหมายเลขไอพี
อินเทอร์เน็ตมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายคนอาจตั้งข้อสังเกตว่า เราส่งอีเมลไปยังปลายทางได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้อง-การล็อกอิน (login) เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่ายระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่า เครื่องนั้นอยู่ที่ใดการอ้างอิงเข้าหากันเพื่อหาตำแหน่งที่อยู่จึงต้องมีการจัดระบบที่ดี เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการออกแบบมาเพื่อให้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลถึงกันได้ทั้งหมด อีกทั้งทำให้ขยายเครือข่ายได้ง่ายและเป็นระบบ
รหัสหมายเลขไอพีประจำเครื่อง

          คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายจะมีรหัสหมายเลขประจำเครื่อง รหัสหมายเลขนี้เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP address) ตัวเลขไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกัน ตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์การนำไปปฏิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องการทำการขอหมายเลขประจำเครือ-ข่ายเพื่อกำหนดส่วนขยายต่อสำหรับแต่ละเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับอิเล็กทรอนิกส์เมลของเครือข่างองค์กร มีหมายเลขไอพีเป็นตัวเลขประจำเครื่อง ขนาด ๓๒ บิต ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ฟิลด์ดังตัวอย่างเช่น

          แต่ละฟิลด์จะมี ๘ ชนิด แต่เมื่อเรียกขานรหัสหมายเลขไอพีนี้ จะใช้ตัวเลขฐานสิบ แบ่งเป็น ๔ ชุด โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ดังนั้น จากตัวเลข ๓๒ บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น

          ตัวเลขไบนารี ๓๒ หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง เมื่อกำหนดตัวเลข ๔ ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จึงมีขนาดได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ๒๕๕ เมื่อนำมาเรียงกันแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น





เครือข่ายมีหมายเลขประจำ

          การแบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น ๔ ฟิลด์นั้นตัวเลขที่ประกอบอยู่เป็นตัวเลขของเครือข่ายด้วยเช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้รหัส 158.108 นำหน้า เครือข่ายของบริษัท

          ไอบีเอ็มที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลกใช้รหัส ๙.นำหน้า เครือข่ายของบริษัทเอทีแอนด์ทีใช้รหัสหมายเลขไอพีเป็น 12 นำหน้า ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายเลข 192.150.249.นำหน้า เป็นต้น

           เนื่องจากเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมากดังนั้น จึงมีการกำหนดวิธีการแบ่งประเภทของเครือข่ายออกเป็นหลายคลาส คือ คลาส A คลาส B และคลาส C เป็นต้น

          คลาส A กำหนดตัวเลขฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีก ๓ ฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องหรือรหัสเครือข่ายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย คลาส Bกำหนดตัวเลข ๒ ฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่อง ๒ ฟิลด์ คลาส C กำหนดตัวเลขไว้ ๓ฟิลด์ จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว

          เมื่อพิจารณาตัวเลขรหัสไอพีใดๆหากตัวเลขฟิลด์แรกขึ้นต้นระหว่าง ๑-๑๒๖ ก็จะเป็นคลาส Aถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๒๘-๑๙๑ ก็จะเป็นคลาส B และถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๙๒-๒๒๓ ก็จะเป็นคลาส C

          ทางองค์กรบริหารเครือข่ายจะเป็นผู้กำหนดหมายเลขเครือข่ายนี้ให้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การกำหนดหมายเลขไอพีใช้วิธีกำหนดให้เรียงกันไปใครมาขอลงทะเบียนก่อน ก็จะให้เลขน้อยเรียง ตามลำดับเวลาที่ขอ และเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะรวดเร็วเช่นนี้ หมายเลขไอพีคงจะเต็มพิกัดครบทุกคลาสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่ายก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว โดยเพิ่มขยายหมายเลขไอพีให้มีจำนวนฟิลด์มากขึ้น





ใช้ชื่อแทนหมายเลข
เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้น และการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่อแทนรหัสหมายเลขไอพี การตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย มีระบบที่เป็นมาตรฐานที่กำหดนเป็นลำดับชั้น ชื่อแต่ละชื่อที่กำหนดขึ้นใช้แทนรหัสไอพี เช่น www.nextec.or.th ซึ่งแทนหมายเลข 192.150.251.33 หรือเครื่อง nwg.nectec.or.th ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของ NECTEC ใช้รหัส 192.150.251.31ดังนั้น เครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับชั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุดคือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึง ประเทศไทยดังนั้น ทุกประเทศที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะมีรหัสชื่อย่อประเทศอยู่ ตัวอย่างรหัสชื่อย่อประเทศแสดงการแบ่งโซนของกลุ่มองค์กรที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และยังแบ่งตามประเภทขององค์กรเพื่อให้ทราบจุดประสงค์ขององค์กรที่ต่ออยู่บนเครือข่ายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การแบ่งกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับที่ ๒ เช่น กลุ่มธุรกิจการค้า บริษัทเอกชนก็ใช้ co หรือ com กลุ่มสถาบันการศึกษาก็ใช้ edu หรือ ac เป็นต้น


โดเมนและการบริหารโดเมน

          เพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นไปอย่างมีระบบ จึงมีการกำหนดชื่อองค์กร ซึ่งเป็นชื่อเครือข่ายไว้ในระดับที่ ๓ เช่น เครือข่าย 158.108มีชื่อเครือข่าย ku และจัดเป็น ๑ โดเมน เมื่อเรียกชื่อเต็มเป็น ku.ac.th เครือข่ายนี้มีเครือข่ายย่อยได้หลายเครือข่าย เช่น 158.108.1 เป็นเครือข่ายของสำนักบริการคอมพิวเตอร์กลาง158.108.35 เป็นเครือข่ายของคณะวิศวกรรมศาสตร์158.108.18 เป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์เป็นต้น แต่ละเครือข่ายจะมีชื่อกำกับอีกก็ได้ เช่นcpe.ku.ac.th และ sci.ku.ac.th เป็นต้น

          ในการบริหารโดเมนภายในจะกระทำโดยองค์กรนั้น ระบบจะมี DNS - Domain NameSystem เป็นฐานข้อมูล และเป็นระบบการจัดการชื่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในเครือข่ายการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลนี้ เพื่อจะได้รับส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น  เมื่อมีเอกสารส่งมาจากต่างประเทศ และมีการจ่าหน้าเป็น cc2.cpe.ku.ac.th ส่วนของ thจะได้รับการตรวจสอบก่อน โดยบอกเส้นทางส่งต่อมาที่ประเทศไทย หลังจากนั้น ทางประเทศไทยในส่วนของ ku.ac จะได้รับการดำเนินการบอกเส้นทางให้วิ่งมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะดูแลโดเมนคือเครือข่ายย่อยและระบบเครื่องภายในเครือข่ายเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องที่กำหนด

          การบริหารระบบชื่อโดเมนนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อมีการต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่าย เครื่องที่ต่อเข้าระบบจะต้องแจ้งว่า ฐานข้อมูลระบบชื่ออยู่ที่ใด และจะมีการปรับปรุงข้อมูลที่เชื่อมต่อกันเองอย่างอัตโนมัติ



[กลับหัวข้อหลัก]

การกำหนดคุณสมบัติของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การอ้างอิงกับผู้ใช้
ในการติดต่อกับผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใด จะใช้วิธีการให้ผู้ใช้มีชื่อในบัญชีชื่อ หรือที่เรียกว่า ชื่อยูสเซอร์ (user name) และเก็บไว้ในบัญชีชื่อ ซึ่งบางครั้งเราเรียกว่า account nameการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายจะใช้ชื่อยูสเซอร์ของผู้นั้น ตามด้วยชื่อเครื่อง แต่คั่นด้วยเครื่องหมาย @ เช่น ถ้าต้องการติดต่อกับยูสเซอร์ชื่อ somsakบนเครื่อง nwg.nectec.or.th ก็ใช้แอดเดรสดังนี้ somsak@nwg.nectec.or.th
ที่มา
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?qID=&wi=&hnl=&ob=&asc=&q=ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต&select=1&id=2221#ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
guest profile guest
รัฐบาลสหรัฐจึงเริ่มต้นโครงการ อาร์พา เน็ต (ARPA net) เมื่อปี 2509 (1966) ดูแลโดย หน่วยงานวิจัยชั้นสูงของสหรัฐ
(ARPA: The Advanced Research Projects Agency ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น DARPA: Defense Advanced Research Projects
Agency ในปี 2514 (1971) แล้วเปลี่ยนกลับเป็น ARPA ในปี 2536 (1993) และล่าสุดเปลี่ยนกลับเป็น DARPA ในปี 2539 (1996))
ในสังกัด กระทรวงกลาโหม เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จัก ค้นหาเส้นทางเชื่อมโยง และส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ (dynamic routing)ในกรณีที่เครือ ข่ายบางจุดถูกทำลาย หรือเกิดความเสียหาย เครือข่ายที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบที่เหลือ จะต้องทำงานได้สำเร็จลุล่วงต่อไปได้
จุดเริ่มของ อาร์พาเน็ต ได้ทำการทดลองต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ จาก 4 แห่ง ช่วงเดือนกันยายน 2512 (1969)เริ่มต้นจาก
มหาวิทยาลัย ลอสแองเจอลิส (UCLA) กับ สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเพิ่มอีกสองแห่ง คือมหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา (UCSB) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย , และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูท่าห์ (UTAH)
แนวคิดเบื้องต้นของวิธีการส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เกิดจากพัฒนาการของ "โปรโตคอล (Protocol) " ซึ่งหมายถึง มาตรฐานกลาง
ของการเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลากหลายระบบ รวมถึงวิธีการส่งข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้
โปรโตคอลเหล่านี้ มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ ตั้งแต่ NCP (Network Control Protocol) และล่าสุดเป็น TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
จากเครือข่ายแวน (wide-area computer network) ระบบแรกที่เกิดในปี 2508 (1965) เป็นการต่อ คอมพิวเตอร์ TX-2 ในแมสซาจูเส็ท เข้าไปควบคุมเรียกใช้งานคอมพิวเตอร์ Q-32 ในแคลิฟอร์เนีย เชื่อมต่อกันด้วยระบบเซอร์กิตสวิชชิ่ง ผ่านสายโทรศัพท์ความเร็วต่ำ (dial-up telephone line) ซึ่งมีความเร็วไม่เพียงพอทำให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญยิ่ง ขึ้นมาทดแทน ช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างระบบคุยกันรู้เรื่องคือ "แพ็คเก็จ สวิชชิ่ง" (packet switching)กลายมาเป็นความแพร่หลายของ ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน(LAN: Local Area Network)คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)และเวิร์คเตชั่น (workstation)ส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ต(Ethernet technology) ในปี 2516 (1973)ทำให้ระบบเครือข่ายขยายขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งมีการแบ่งขนาดของระบบเป็นคลาส (Class)ต่างๆ และใช้ระบบหมายเลขไอพี(IP)แทนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น 255.255.0.0 แต่เนื่องจากไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ทำให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นระบบโดเมนเนม (DNS: Domain Name System) ขึ้น โดยพอล มอคคาเพทริส (Paul Mockapetris แห่ง USC/ISI) เช่น www.cisco.com และทำให้ระบบอินเตอร์เน็ต ขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ
จวบจนกระทั่งปี 2528 (1985) ระบบอินเตอร์เน็ต ถือเป็นเทคโนโลยีที่ฮอทฮิต สมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้งานด้านการสื่อสาร แพร่ขยายไปในวงกว้าง ทั้งนักวิจัย นักพัฒนา และบุคคลทั่วไป
ในประเทศไทย การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี 2535 โดยมีจุดเชื่อมต่อ 2 แห่ง คือ จากศูนย์เทคโนโลยีและอีเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ NECTEC และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมีคนรู้จักและใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเตอร์เน็ตขยายจากอาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในระอับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยทางกายภาพ คือคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาลต่างระบบเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแต่สิ่งที่สัญจรไปในอินเตอร์เน็ตเปรียบได้กับเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างอินเตอร์เน็ตนั้น ซึ่งก็คือข้อมูลชนิดต่างๆที่เรียกผ่านบริการพื้นฐานของอินเตอร์เน็ต
http://sk.nfe.go.th/natawee/KwonNichakr/p3.html
guest profile guest

พ.ศ. 2510

เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า ?อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์

พ.ศ. 2512
โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า ?แพ็กเก็ตสวิตชิง? (packet Switching)

 

พ.ศ. 2515
เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้

พ.ศ. 2525
ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

พ.ศ. 2527
มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย

พ.ศ. 2529
มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ ?เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์? หรือ CSnet

พ.ศ. 2532 
มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า ?อินเตอร์เน็ต (Internet)?

อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

guest profile guest

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

 

 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

  1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
  1. สนทนา (Chat)
  1. อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
  1. การติดตามข่าวสาร
  1. การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
  1. การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
  1. การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ
  1. การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
  1. การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
  1. การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)
  1. การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
  1. โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
  1. การอับโหลดข้อมูล
  1. อื่นๆ

 

 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.463 พันล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2551) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรป ร้อยละ 26.3 และอเมริกาเหนือ ร้อยละ 17.0 แต่หากจัดลำดับจำนวนผู้ใช้ตามประเทศ ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 253 ล้านคน

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7

 

guest profile guest

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

อินเทอร์เน็ต พัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ.1969 โดยหน่วยงานวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงของสงครามเย็นที่สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตกำลังแข่งขันด้านการทหารกันอย่างหนัก สหรัฐฯ จึงริเริ่มโครงการอาร์พาเน็ตนี้ขึ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักค้นหาเส้นทางเชื่อมโยงและส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ เผื่อว่าเครือข่ายบางจุดอาจเสียหายหรือถูกทำลายเครือข่ายที่เหลือจะได้ทำงานต่อไปได้

ในครั้งนั้นเพนตากอนจับมือกับมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยยูทาห์, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตาบาบารา, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยใช้เครือข่ายของอาร์พาเน็ตเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทางทหารเสียเป็นส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายของอาร์พาเน็ตจะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลอันเดียวกัน เรียกว่า
Network Control Program (NCP) เป็นส่วนควบคุม การรับส่งข้อมูล, การตรวจสอบ ความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และเปรียบเสมือนตัวกลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน

ข้อจำกัดของอาร์พาเน็ต คือ ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อออกไปมากๆ ได้ จึงมีการพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลแบบใหม่ขึ้น และในวันที่ 1 มกราคม 1983 อาร์พาเน็ต ได้เปลี่ยนมาใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) แทน NCP และนั่นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ ได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอาร์พาเน็ต เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย จนเครือข่ายมีขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่าย ในปีค.ศ.1983 ทางการทหารสหรัฐฯ จึงขอแยกตัวออกเป็นเครือข่ายย่อยชื่อว่า
MILNET (Military Network)

นับแต่นั้นมา มีเครือข่ายของสถาบัน องค์กรของทั้งสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต่างๆ ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยต่างเหล่านี้เป็นการเชื่อมต่อด้วยเทคนิคแบบ "อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล" (IP) เครือข่ายขนาดยักษ์นี้จึงถูกเรียกว่า
"อินเทอร์เน็ต"

สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านเรานั้น มีใช้เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อปีค.ศ. 1987 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงานได้มอบหมายให้เนคเทค หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ทำการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

และได้มีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1995 เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย อนุมัติให้บริษัทเคเอสซีเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP เจ้าแรกของไทยเพื่อให้บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป หลังจากนั้น ก็ได้มี ISP อีกหลายบริษัทเกิดตามมา

guest profile guest

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
        ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่

 

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

 

กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ

  1. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )
  2. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie
  3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT
  4. มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex

 

 เครือข่ายที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง นับเป็นจุดกำเนิดของอาร์พาเน็ตก่อนที่จะพัฒนาจน กระทั่งกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเครือข่ายเชิงทดลองเพื่อ ศึกษาว่ารูปแบบเครือข่ายที่ใช้จะมี ความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด สามารถส่งผ่านข้อมูลได ้รวดเร็วเพียงใด โดยจุดประสงค์หลักแล้วอาร์พา ต้องการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการ ทหารที่มีคุณลักษณะเฉพาะ คือ แม้ว่าอมพิวเตอร์บางจุดในเครือข่ายจะหยุดทำงานหรือสายสื่อสา รบางเส้นทางถูกตัดขาด คอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือในเครือข่ายยังควรติดต่อสื่อสารถึงกันได้อยู่ นอกจากนี้ยังต้องสามารถต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่มี Hardware แตกต่างกันเข้าสู่ เครือข่ายได้ อาร์พาเน็ตเปิดตัวสู่สาธารณชนเป็นทางการครั้งแรกในงาน ICCC ( International Conference on Computers and Communications ) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ยุคของโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี หนึ่งปีให้หลังจากงาน ICCC อาร์พาเ ปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ดาร์พา" ( Defense AdvanceProject Agency ) และได้เริ่มงานวิจัยโครงการ ใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเชื่อมระหว่าง คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะรับส่งข้อมูลถึงกันได ้ย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดวิธีการ สื่อสารถึงกัน ตัวอย่างของข้อตกลงในการสื่อสารมีดัง เช่น ลักษณะของข้อมูล ขนาดข้อมูลจะส่งถึงกันครั้งละ กี่ไบต์ชุดข้อมูลที่ส่งไปจะต้องมีข้อมูลอื่นส่ง ผนวกไปอย่างไรบ้าง หรือเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการรับส่งจะต้องตรวจสอบหรือดำเนิน การอย่างไรต่อไป ข้อตกลงระหว่างกันนี้เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า โปรโตคอล ( Protocol ) Protocol เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อใช้ เป็นเกณฑ์ในการออก แบบโปรแกรมไม่ว่าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมี Hardware แตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม หากว่าทำ งานตาม Protocolที่กำหนดแล้วสามารถสื่อสารถึงกันได้เสมอ Protocol ที่ใช้ในระยะต้นของอาร์พา เน็ตเป็น Protocol ที่เรียกว่า Network Control Protocol ซึ่ง Protocol นี้มีข้อจำกัดด้านรูปแบบของ การใช้สายสื่อสาร และจำนวนโฮสต์ที่จะเชื่อม ต่อเข้าด้วยกัน อาร์พาได้วางแผนการขยายเครือข่าย และเปิดการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอื่นการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่ายกับเครือข่ายต้องการ Protocol ซึ่งทำงานได้กับสายสื่อสาร และ Hardware หลากรูปแบบและสามารถรองรับโอสต์จำนวน มากได้ Protocol ซึ่งมีลักษณะตรงกับความต้องการในช่วง เวลาดังกล่าวได้แก่ Protocol TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ศูนย์ วิจัยซีรอกซ์แห่งพาโลอัลโต ( Xerox Palo Alto Research Center ) ได้พัฒนาระบบสื่อสารแบบส่ง ข้อมูลออกไปเป็นกลุ่ม และต่อมาได้พัฒนาไปเป็นระบบ แลนอีเธอร์เน็ต ( Ethernet Local Area Network ) ทั้ง TCP/IP และ ระบบ LAN นับเป็นแรงผลักดันให้ มีการขยายตัวของอาร์พาเน็ตอย่างรวดเร็ว TCP/IP และ UNIX ในปี พ.ศ. 2523 ดาร์พาตัดสินใจเลือกใช้ TCP/IP เป็น Protocol ของ อาร์พาเน็ตและเพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยหันมาใช้ TCP/IP ด้วย ดาร์พาจึงว่าจ้างบริษัท BBN ทำหน้าที่พัฒนา Protocol TCP/IP สำหรับ UNIX ซึ่งแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ UNIX รุ่นแรกที่มี TCP/IP ใช้ชื่อว่า 4.2BSD(Berkley Software Distribution ) ยุคแห่งการกำเนิด เครือข่าย ผู้ใช้อาร์พาเน็ตในขณะนั้นจำกัดอยู่แต่เพียงผู้ใช้ในหน่วยงานของกองทัพและหน่วยงาน เอกชนที่มีงานวิจัยด้านการทหารกับดาร์พาเท่านั้น ในขณะที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นอีกเป็น จำนวนมากต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต แต่ดาร์พามีขอบเขตการดำเนินงานเน้นทางด้านการทหาร จึงไม่สามารถให้เงินทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานโดยทั่วไปได้ ทคโนโลยีของเครือข่ายที่มีต้นแบบมาจากอาร์พาเน็ตส่งผลให้มีการก่อตั้งเครือข่ายขึ้นอีกหลายเครือข่าย เครือข่ายของเอ็นเอสเอฟ เอ็นเอสเอฟเป็นหน่วยงานที่เล็งเห็นความสำคัญด้านเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่องานวิจัยจึงได้เตรียม แผนการขยายโอกาสการใช้เครือข่ายให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2523 เอ็นเอสเอฟ ได้จัดสรรงบประมาณสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ระยะแรกขึ้น 6 แห่ง และปีถัดมาได้ปรับ ปรุงเครือข่ายที่ที่ต่อเชื่อมศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ใหม่ โดยใช้ Protocol TCP/IP และให้ชื่อเครือข่ายว่า "เอ็นเอสเอฟเน็ต" ( NSFNET ) ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้ง 6 แห่งประกอบด้วย

  • ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ จอห์น วอน นอยมานน์ ( John von Neumann national; Super Computer Center :JVNNSC ) ในเมืองพรินเซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซี
  • ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซานดิเอโก ( San Diego Supercomputer Center : SDSC ) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
  • ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประยุกต์แห่งชาติ ( National Center for Supercomputing Applications : NCSA ) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
  • ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติที่คอร์เนลล์ (Cornell National Supercomputing Facility : CNSF ) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  • ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์พิทสเบอร์ก ( Pittsburgh Supercomputer Center : PSC ) มหาวิทยาลัยพิทสเบอร์ก
  • แผนกวิทยาศาสตร์คำนวณแห่งศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติ ( The Scientific Computing Division of the National Center for Atmospheric Research : NCAR ) ที่เมืองบูลเดอร์ มลรัฐ โคโลราโด

นักวิจัยที่ทำงานกับ NSFสามารถใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยและใช้บริการ เครือข่ายอื่น ๆ เช่น E-mail การถ่ายโอนแฟ้ม และการใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งปุจจุบันก็ยังเปิดให้บริการ ตามวัตถุประสงค์นี้อยู่

จากอาร์พาเน็ตสู่อินเทอร์เน็ต

ในระยะต้นของการพัฒนาเครือข่าย อาร์พาเน็ตเป็นเส้นทางสื่อสารหลักของเครือข่าย ที่เรียกว่า "สันหลัง" หรือ "Backbone" ภายในทวีป และในช่วงต่อมาจึงมีเครือข่ายอื่นเชื่อมต่อเข้ามา เช่น NSFnet และ เครือข่ายของ NASA เป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียกเครือข่ายก็เปลี่ยนไปเป็นลำดับจาก อาร์พาอินเทอร์เน็ต เป็น เฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และยังเปลี่ยนไปเป็น TCP/IP Internet กระทั่งในที่สุดกลายมาเป็นชื่อที่ร ู้ จักในปัจจุบันว่า "อินเทอร์เน็ต" พัฒนาการต่อมา ในปลาย พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตถูกแบ่งแยกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการ วิจัยและเครือข่ายของกองทัพ เครือข่ายด้านงานวิจัยยังคงใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตอยู่เช่นเดิม ส่วนเครือข่ายของ กองทัพมีชื่อเรียกใหม่ว่า "มิลเน็ต" ( MILNET ) อาร์พาเน็ตให้บริการจนกระทั่งถึงจุดที่สมรรถนะของเครือข่ายไม่พอเพียงที่จะรับภาระการสื่อสาร หลักของอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป ดาร์พาจึงได้ปลดระวางอาร์พาเน็ตลงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 และเอ็นเอสเอฟเน็ตได้รับเป็นเส้นทางหลักของการสื่อสารแทน การเติบโตของอินเทอร์เน็ต ในช่วงหนึ่งปีให้หลังของการเปลี่ยนมาใช้ TCP/IP มีจำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ต รวมกัน 213 โฮสต ์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 1,024 โฮสต์ และในเดือน มกราคมปี พ.ศ.2536 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นไปกว่า 1,000,000 โฮสต์ แต่ละวันจะ มีโฮสต์เพิ่มเข้าสู่ระบบและมีผู้ใช้รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนโฮสต์โดยประมาณภายใน อินเทอร์เน็ตนับจากปี พ.ศ. 2524 ถึง 2537 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบเอ๊กโปเนนเชียล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัวในทุก ๆ ปี และยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ไม่หยุดยั้ง จำนวนโฮสต์โดยประมาณใน พ.ศ. 2538 คาดว่ามีราวหกล้านเครื่อง หากประเมินว่าโฮสต ์หนึ่งมีผู้ใช้เฉลี่ย 5-8 ราย จะประมาณว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอยู่กว่า 30 ล้านคน การขยายตัว ของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ในอัตรา 10-15 % ต่อเดือน

guest profile guest

 ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
 
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
 
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให ้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จากนั้น ก็ได้มี ISP เกิดขึ้นตามมาอีกหลาย บริษัทเพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ 

 
ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)

guest profile guest
คนที่ไม่ลงที่ มา

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าซ้ำกันหรือเปล่า
guest profile guest
คนที่ไม่ลงที่ มา

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าซ้ำกันหรือเปล่า
guest profile guest

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
ที่มา http://www.bcoms.net/article/historyinternet.asp

guest profile guest

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

 

            ปี ค.ศ. 1962 ก่อนที่โลกของอินเตอร์เน็ตจะถูกคิดค้นขึ้นมา คอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ มีจำนวนไม่มากและหน่วยความจำน้อยและไม่สามารถสั่งให้ปฏิบัติงานยาก ๆ ได้ในปีค.ศ.1939-1964การสื่อสารทางด้านข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ ยังเป็นการผูกขาดโดยองค์การโทรศัพท์ การวิจัยของกองทัพอเมริกัน Advanced Research Projects Agency (APRA) เป็นการวางรากฐานของอินเตอร์เน็ตในอนาคต เจ ซี อาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับความคิดเรื่องเครือข่ายที่ใหญ่โต ที่จะเข้าสู่ข้อมูลได้ทุกหนทุกแห่ง และได้ศึกษาทดลองเรื่องดังกล่าวโดยความร่วมมือจากผู้ร่วมงานของหลายหน่วยงาน  จากความร่วมมือของคณะกรรมอุตสาหกรรมของรัฐในการพัฒนา ASCII (American Standard Code for Information Interchange) ซึ่งเป็นมาตรฐานคอมพิวเตอร์ที่เป็นสากล และในระยะเริ่มต้นได้เปิดโอกาสให้เครื่องคอมพิวเตอร์จากการผลิตที่แตกต่างกันสามรถแลกข้อมูลกันได้ทั้งตัวเลขอารบิค ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ กระบวนการทางอินเทอร์เน็ตได้ดำเนินการครั้งแรกในระบบการสำรองที่นั่งของสายการบินอเมริกัน และธุรกิจการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม SABRE (Semi Automatic Business Research Environment) ได้เชื่อมต่อสถานี 2,000 แห่ง ในเมือง 60 แห่ง โดยการใช้สายโทรศัพท์  ในระยะเวลาดังกล่าวคอมพิวเตอร์ที่ผลิตสู่ตลาดมีขนาดเล็กพอที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ และการศึกษาค้นคว้าของอินเตอร์เน็ตในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินต่อไป   ในปี ค.ศ. 1968 โรเบิร์ต ( Larry Roberts) ได้ประชุมที่เมือง Am Arbec รัฐมิชิแกน นำนักวิจัยมาแลกเปลี่ยนความคิดกัน และได้ข้อสรุปที่แนะนำให้มีการจัดการระบบเครือข่าย   ซึ่งเป็นต้นแบบของเส้นทางการเชื่อมเครือข่ายในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังนำเสนอการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีความเร็วสูงซึ่งเราจะเห็นได้ว่ากระบวนการพัฒนาดังกล่าวในยุคปัจจุบันเมื่ออินเตอร์เน็ตขยายเข้าสู่วงการธุรกิจผู้ผลิตก็จะต้องปรับปรุงเครื่องมือให้กะทัดรัดเหมาะสมกับการใช้งานและนั่นหมายถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต   ในขณะเดียวกับก็ขยายเปิดโลกกว้างในส่วนของการศึกษาเช่นกัน เมื่อเรากล่าวถึง internet เราจะพูดถึงเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเครือข่าย โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะรวบรวม webpage ล้านๆไว้บน webservers หน้าของ webpage เหล่านี้จะบรรจุรูปภาพ ตัวอักษร หน้าภาพเคลื่อนไหว และเสียง webpage จะเขียนด้วยอักษรหรือรหัสที่เรียกว่า Html ( Hypertext Mankup Language) เป็นชุดที่เรียกว่า websiteแต่ละ webpage จะมีที่อยู่หรือ URL เฉพาะของตน และ URL จะมี http และอาณาเขตของตนเอง ( เช่น “co.th”) ส่วนใหญ่จะเชื่อมผู้ใช้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่เรียกว่า homepage โดย webpage จะเชื่อมกับ Hyperlink เมื่อ linkถูกclick จะได้ page หน้าอื่น ซึ่งอยู่บน server อื่นเมื่อย้าย webpage ไปยังหน้าอื่นจะเรียกว่า”surf” the net. ซึ่งต้องการคำสั่งที่จะอ่านเรียก browser เช่น Internet Explorer การค้นหาหัวข้อบน net สามารถใช้เครื่องมือหลายชนิดในการค้น เช่น Google MSN และ Alta ในขณะที่ Yahoo และ Exsite เป็น web dictionary เหมือนโทรศัพท์หน้าเหลือง

 

ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่

- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ

- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- มหาวิทยาลัยมหิดล

- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี

- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ

- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- มหาวิทยาลัยขอนแก่น

- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

 

ที่มา      http://pirun.ku.ac.th/~g5086066/report1g2.doc

            http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/Internet/historythai.html

guest profile guest

ประวัติอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม   

            อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้

 

            สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ

                สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)

อินเตอร์เน็ต คือ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่  ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง 

            การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)   

            เราลองคิดดูว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันนั้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์จากเมืองไทย ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ซึ่งต้องมีความแตกต่างกันของชนิดเครื่องทาง Hardware และระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทาง Software แล้วถ้าคิดถึงทั่วโลกย่อมต้องมีความหลากหลายทาง Hardware และ Software กันมากมาย แต่ทำไมปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีภาษาสากลใช้สื่อสารกันโดยเฉพาะ คือเรียกว่ามี Protocol เฉพาะนั่นเอง ซึ่งเราเรียก Protocol เฉพาะนี้ว่า TCP/IP โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) Internet Protocol (IP) นั่นเอง 

 

เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย คือ

1.  การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต  ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ      สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ      Macintosh ได้

            2.  อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึง      กันได้

            3.  อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้

 

ที่มา  http://www.satitm.chula.ac.th/computer/info/8/index.htm

guest profile guest

ความเป็นมาของระบบ Internet


อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"โลกวันนี้ได้มาถึงจุดเลี้ยวต่อที่วัฒนธรรมได้หักมุมจากสังคม ที่แต่เดิมมีศูนย์กลาง อยู่ที่เครือข่าย

วิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มาสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลักดัน ให้สังคมก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) โดยทุกวันนี้ทั่วโลกมีมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 200 ล้านคน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรโลกเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว มีผู้ใช้ถึง 80 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 29 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา) จากข้อมูลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกัน พบว่าหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตในการ จับจ่ายสินค้า ผ่านเน็ต ปรึกษาแพทย์ผ่านเน็ต ฟังการถ่ายทอดวิทยุผ่านเน็ต ลงทุนผ่านเน็ต จำนองบ้านผ่านเน็ต ติดตามการขนส่งพัสดุผ่านเน็ต รับทราบข่าวผ่านเน็ต สนทนาโทรศัพท์ผ่านเน็ต รวมทั้งทำกิจกรรมการเมืองผ่านเน็ต และแม้กระทั่งสื่อสารรักกันผ่านเน็ต

 

guest profile guest

ความเป็นมา และต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต

                อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนสหพันธ์ เป็นการรวบรวมเครือข่ายของหน่วยงานระดับชาติ ระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน การเข้าใจอินเตอร์เน็ตตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะทำให้เราเข้าใจต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ตได้ดียิ่งขึ้น

                ประวัติของอินเตอร์เน็ตเริ่มมาตั้งแต่สมัยแรกที่มีการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1960 ผู้อ่านอาจจินตนาการไม่ออกว่าสมัยนั้นมีการใช้เมนเฟรมกันอย่างแพร่หลาย และการพยายามทำให้เมนเฟรมสามารถสื่อสารกันได้นั้นเป็นเรื่องแปลกใหม่มาก เมื่อเทียบกับทุกวันนี้ที่การนำคอมพิวเตอร์แบบพีซีมาเชื่อมต่อกันเป็นระบบแลน LAN Local Area Network เป็นเรื่องธรรมดา แต่ขอให้นึกไว้ว่าพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้นเกิดควบคู๋ไปกับพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                หน่วยงานหนึ่งในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S Department of Defense, DOD) คือ หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พา (Advance Research Projects Agency, ARPA) ได้ประกาศรับข้อเสนอโครงงานเพื่อเชื่อมต่อไซต์ทั้งสีในเดือนกรกฎาคม 1988 อาร์พาได้เลือกข้อเสนอของโบลท์ เบอราเนค และนิวแมน (Bolt Beranck and Newman, BBN) ในเดือนธันวาคม 1968 BBN ยังคงเป็นผู้ให้บริการแลเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตที่สำคัญจนถึงทุกวันนี้ (แผนกหนึ่งของ BBN ได้รับเลือกให้ดูแลเครือข่ายระดับภูมิภาค NEARnet ในเดือนกรกฎาคม 1993) ไซต์เริ่มแรกได้แก่สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์

                ถ้าใช้ศัพท์ในยุคปัจจุบัน เครือข่ายที่สร้างขึ้นมานี้เรียกว่าเป็นเครือข่ายระดับกว้าง (Wide Area Network, WAN) ถึงแม้จะค่อนข้างเล็กกว่าก็ตาม ในขณะนั้นยังไม่มีระบบแลนและไม่มีแม้แต่เครื่องพีซี จึงไม่มีการ์ดอินเตอร์เฟสสำหรับใส่ลงในเครื่องเพื่อให้เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายได้ BBN ได้สร้างชุดของโพรเซลเซอร์สื่อสารข้อมูล (Interface Message Processor) โดยใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่บนมินิคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ไซต์ทั้งสี่เริ่มเชื่อมต่อถึงกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1969 เป็นจุดกำเนิดแม่แบบของอินเตอร์เน็ต เครือข่ายนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่ออาร์พาเน็ต (ARPANET) ในช่วงของการทดลองสร้างเครือข่ายนี้ ได้เกิดต้นฉบับของโปรโตคอลหลักซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ เทลเน็ต และโปรโตคอลในการถ่ายโอนไฟล์ หรือ FTP (File Transfer Protocol) อาร์พาเน็ตในสมัยแรกใช้โปรโตคอลควบคุมเครือข่าย (Network Control Protocol) ในการจัดการข้อมูล

                ในช่วงต้นของอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่าในสมัยนี้ และสายการสื่อสารก็ส่งข้อมูลได้ช้ากว่ามาก มีความเร็วสูงเพียง 50 กิโลบิตต่อวินาที จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายก็มีน้อย (ในปี 1981 มีโฮสต์เพียง 200 โฮสต์เท่านั้น) ผู้ออกแบบอาร์พาก็ได้เล็งเห็นว่าต้องสร้างเครือข่ายที่ไม่ใช่เพียงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เป็นเครือข่ายของเครือข่ายต่างๆ (network of networks) ในขณะนั้นมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายเกิดขึ้นหลายชนิด และกลุ่มอาร์พาเน็ตก็พยายามเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างกันเข้าด้วยกัน โปรโตคอลพื้นฐานสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตคือทีซีพี/ไอพี ได้เกิดขึ้นในกลางทศวรรษที่ 1970 โปรโตคอลนี้สร้างโดยวินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN ทีซีพี/ไอพีถูกใช้ร่วมกับโปรโตคอลควบคุมเครือข่าย หรือ NCP จนกระทั่งปี 1993 จึงได้เข้ามาแทนที่ NCP อย่างสมบูรณ์

                เมื่อมีการติดตั้งโหนดบนอาร์พาเน็ตมากขึ้น อาร์พาเน็ตก็โตขึ้นตามลำดับ โหนดส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม หรือมหาวิทยาลัยที่ทำงานวิจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม ขณะที่อาร์พาเน็ตเริ่มเติบโตขึ้นจนกลายเป็นเครือข่ายระดับชาติ นักวิจัยที่ศูนย์วิจัยของซีร็อกซ์ที่พาโลอัลโต (Palo Alto Research Center) ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายท้องถิ่น นั่นคือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) วิธีการนี้ใช้เทคนิคที่มีชื่อเป็นทางการว่า “การตรวจสอบพาหะบนสื่อร่วมและการตรวจการชน” (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) ซึ่งเป็นวิธีการส่งข้อมูลที่ใช้หลักการง่ายๆที่ได้จากการประชุมคือ ผู้ร่วมประชุมพูดเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าคนสองคนพูดพร้อมกัน คนหนึ่งต้องหยุดพูด อีกคนจึงเริ่มพูดใหม่ได้ บางครั้งถ้าทุกคนพูดพร้อมกันก็จะไม่มีใครพูดกันรู้เรื่องหรือสื่อสารกันได้เลย

                ในต่อมาอีเธอร์เน็ตได้กลายเป็นมาตรฐานหนึ่งที่สำคัญในการติดตั้งระบบเครือข่ายท้องถิ่น ระหว่างนั้นดาร์พา (DARPA, ชื่อใหม่ของอาร์พา) ได้ให้ทุนสนับสนุนการรวมทีซีพี/ไอพี เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบอร์คเลย์ เมื่อบริษัทต่างๆเริ่มขายเวิร์กสเตชันประสิทธิภาพดีที่รันระบบยูนิกซ์ ที่ซีพี/ไอพี ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ผู้ขายอย่างบริษัทซันได้เพิ่มพอร์ตอีเธอร์เน็ตไว้ด้านหลังเครื่อง ทำให้การใช้ทีซีพี/ไอพี บนอีเธอร์เน็ตกลายเป็นวิธีเชื่อมต่อเวิร์กสเตชันเข้าด้วยกัน

                ตลอดทศวรรษที่ 1980 หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเริ่มติดตั้งเครื่องพีซีให้กับพนักงานระดับสูงอย่างแพร่หลาย เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีและเวิร์กสเตชันแพร่หลายมากขึ้นคือ เทคโนโลยีที่ทำให้สร้างโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำบนชิป ราคาถูกเป็นจำนวนมากได้ และเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้ผู้ขายสามารถผลิตการ์ดสำหรับเสียบเพิ่มราคาไม่สูงนัก ซึ่งทำให้พีซีหลากหลายชนิดเชื่อต่อกับอีเธอร์เน็ตได้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรได้แก้ไขซอฟต์แวร์ทีซีพี/ไอพี จากยูนิกซ์ของเบิร์ดเลย์ให้ทำงานบนพีซีได้ ทำให้เครื่องพีซีและเครื่องที่ใช้ยูนิกซ์สามารถพูดคุยด้วยภาษาเดียวกันบนเครือข่ายเดียวกันได้

                ในกลางทศวรรษที่ 1980 โปรโตคอลทีซีพี/ไอพีของอินเตอร์เน็ตได้ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสถาบันการศึกษาหลายแห่ง (ในระยะกว้าง) และยังใช้ในระบบเครือข่ายท้องถิ่นและเครือข่ายของสถาบันหลายแห่ง นับเป็นระยะที่พร้อมแล้วสำหรับการขยายตัวอย่างมหาศาลของอินเตอร์เน็ต

ความเป็นมาของอินเตอร์ เน็ตในประเทศไทย

             - พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า

             - พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือ ข่ายไทยสาร"

             - พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)

             ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ที่มา: หนังสือ THE INTERNET FOR EVERRYONE คู่มือสำหรับผู้ใช้และผู้ให้บริการ (หน้า 7-9) หัวข้อความเป็นมาและต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต แต่งโดย Richard W.Wigginss แปลและเรียบเรียงโดย พัชญา พิทักษ์ไพรวัน, เมธี เผ่าบุญมี, สุธี เผ่าบุญมี

             เว็บไซต์ http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter1.htm หัวข้อ ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

guest profile guest

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ตเริ่มต้นมาจากผลของสงครามทางการเมืองในยุคสงครามเย็น เมื่อ พ.ศ. 2510  โดยมีฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย  ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตย และรัสเซียเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์  ทั้งสองประเทศต่างคิดกลัวในเรื่องของขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่จะเข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ  ซึ่งจะส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันนั้นเกิดความเสียหาย  กระทรวงกกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2512 โดยให้ชื่อโครงการว่า ARPANET  ( Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยและเพื่อพัฒนาให้เกิดระบบเครือข่ายข้อมูลแบบกระจายศูนย์   ซึ่งจะทำให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์ในระหว่าง  การติดต่อสื่อสาร โดยระบบเครือข่ายนี้จะแตกต่างจากระบบทั่วไป  ในด้านการสื่อสารนั้นสามารถ    รับส่ง   ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์  หรือ สายสัญญาณในการส่ง ในแต่ละจุดจะเกิดความเสียหายหรือถูกทำลายไปบางส่วน  ซึ่งในโครงการนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องนั้นจะเชื่อมโยงกันด้วยสายส่งข้อมูลที่แยกออกเป็นหลาย ๆ เส้น เปรียบเสมือนกับการประสานกันของร่างแห และเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่ส่งไปนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่า Packet  แล้ว     ข้อมูลจะถูกทยอยส่งไปให้ปลายทางตามที่กำหนด โดยแต่ละชิ้นส่วนของข้อมูลนั้น อาจจะไปคนละเส้นทางแต่จะไปรวมกันที่ปลายทางตามลำดับที่ถูกต้อง แต่หากเกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการเดินทางของข้อมูล ส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากข้อผิดพลาดทางด้านสัญญาณรบกวน สายส่งสัญญาณเกิดความเสียหาย หรือแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกทำลายระหว่างการส่งข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งสัญญาณกลับมาแจ้งเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้รับรู้ และจัดการส่งข้อมูลเฉพาะ    ส่วนที่ขาดไปให้ใหม่โดยใช้เส้นทางอื่นแทน  ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นไปถึงปลายทางอย่างแน่นอน  

            เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP  ( Interface Messange Process ) ซึ่งเป็นการต่อเชื่อมถึงกันทางสายโทรศัพท์ เพื่อทำการสื่อสารกันโดยเฉพาะ ระหว่างมหาวิทยาลัย 4  แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ

1. มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex

2. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie

3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงาน ภายใต้ ระบบปฏิบัติการ OS/MVT

4. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )

 

            เมื่อมีการเชื่อมต่อจากทั้ง  4   มหาวิทยาลัยข้างต้นนี้จะเห็นว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีระบบปฏิบัติการ  และโฮสต์ ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ซอฟแวร์เพื่อเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการและโฮสต์ให้ติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการ  ติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เรียกว่า “Packet Switching” จากการทดลองใช้งานเครือข่าย ARPANET   จนเป็นที่พอใจแล้ว ในปี พ.ศ. 2515  กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันถึง 50 แห่ง โดยเครือข่าย ARPANET จะใช้งานเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทางด้านการทหารเป็นส่วนใหญ่ ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมดนี้ ARPANET ได้มีการกำหนดมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า  Network Control Protocol หรือ NCP เพื่อเป็นการควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบ และ   การเป็น       ตัวกลางในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเข้าด้วยกัน  แต่มาตรฐาน NCP ยังมีข้อจำกัดและข้อผิดพลาดในด้านของจำนวนเครื่องที่ต่อเข้ากัน อันเป็นผลทำให้ ARPANET ไม่สามารถที่จะขยายจำนวนเครื่องเพื่อรองรับการสื่อสารออกไปได้มากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525  ARPANET ได้มีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ โดยใช้ชื่อมาตรฐานใหม่นี้ว่า  TCP/IP  (Transmission Control Protocol/Internet)  ซึ่งมาตรฐานการสื่อสารนี้ได้รองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถรับส่งข้อมูลหรือสื่อสารระหว่างกันได้  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญหลักสำหรับอินเทอร์เน็ต ในปี พ.ศ. 2526 โพรโทคอล TCP/IP  ได้มีการยอมรับกันอย่างแพร่หลายมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในปีพ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตถูกแบ่งแยกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการ วิจัย และเครือข่ายของกองทัพ เครือข่ายด้านงานวิจัยโดยใช้ชื่อ  ARPANET   ส่วนทางด้านเครือข่ายของ กองทัพมีชื่อเรียกใหม่ว่า "มิลเน็ต" ( MILNET )  

            ARPANET ให้บริการจนกระทั่งถึงจุดที่สมรรถนะของเครือข่ายไม่พอเพียงที่จะรับภาระการสื่อสาร หลักของอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2529  มูลนิธิวิทยาศาตร์แห่งชาติ หรือ NSF (National Science Foundation) ได้รับเป็นเส้นทางหลักของการสื่อสารแทน การเติบโตของอินเทอร์เน็ต ในช่วงหนึ่งปีให้หลังของการเปลี่ยนมาใช้ TCP/IP มีจำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ต รวมกัน 213 โฮสต ์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 1,024 โฮสต์ และในเดือน มกราคมปี พ.ศ.2536 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นไปกว่า 1,000,000 โฮสต์ แต่ละวันจะ   มีโฮสต์เพิ่มเข้าสู่ระบบและมีผู้ใช้รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง   จำนวนโฮสต์โดยประมาณภายใน          อินเทอร์เน็ตนับจากปี พ.ศ. 2524 ถึง 2537 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบเอ๊กโปเนนเชียล นับตั้งแต่ปี      พ.ศ. 2529  จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากกว่า  2  เท่าตัวในทุก ๆ  ปี และยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ไม่หยุดยั้ง จำนวนโฮสต์โดยประมาณใน  พ.ศ. 2538 คาดว่ามีราวหกล้านเครื่อง หากประเมินว่าโฮสต์ หนึ่งมีผู้ใช้เฉลี่ย 5-8 ราย จะประมาณว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอยู่กว่า 30 ล้านคน การขยายตัว ของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ในอัตรา 10-15 %  ต่อเดือนปัจจุบันนี้ได้เป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตในอนาคต

 ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

            นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการ  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์  สถาบันที่ติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะ   ดังกล่าวคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบัน   เอไอที (AIT) การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้งสองสถาบันเป็นการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิคส์โดยความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยง      เครือข่ายด้วยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้น  ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต sritrang.psu.th ซึ่งนับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัด ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยคำว่า “th” เป็นรหัสที่ย่อมาจากคำว่า Thailand

            ปี พ.ศ. 2535  นับว่าเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย ลีสไลน์” (leased line) ซึ่งเป็นสายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย ยูยูเน็ต” (UUNET) ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด     (UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะเริ่มแรกโดยลีสไลน์ความเร็ว 9600 bps (bps : bit per second)  ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายเครือข่ายโดยตั้งชื่อว่า จุฬาเน็ต” (ChulaNet) และได้ปรับปรุงความเร็วของลีสไลน์จาก 9600 bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbpsและ 128 kbps ตามลำดับ ในปีเดียวกันได้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาเหล่านี้คือ สถาบันเอไอที  (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (AU) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่าย ไทยเน็ต” (THAInet) ในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษาเพียง 4 แห่งเท่านั้น     ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น เครือข่ายไทยเน็ตจึงมีขนาดเล็ก จึงนับว่าเครือข่ายไทยเน็ตเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์” (gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

            ปี พ.ศ. 2535  เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและ   วิจัย โดยมีชื่อว่า เอ็นดับเบิลยูจี” (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อว่าศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือ เนคเทค” (NECTEC : National Electronic  and Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยนั้น กลุ่มเอ็นดับเบิลยูจี ได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า ไทยสาร” (ThaiSarn : Thai Social / scientific and Research Network)

            สำหรับเครือข่ายไทยสารได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายจากเนคเทค โดยมีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรสำคัญ ๆ ในประเทศไทยเข้าด้วยกัน โดยจะมีเนคเทคเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันเช่นนี้เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเนคเทคได้สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม NEWgroup (NECTEC E-mail Working Group) ในปี พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยวิธีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic mail หรือ E-mail) ในตอนแรกกลุ่ม NEWgroup ประกอบด้วยสมาชิกจากสถาบันการศึกษา จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) สถาบันเอไอที (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เป็นต้น ซึ่งต่อมากลุ่ม NEWgroup ได้เปลี่ยนชื่อย่อเป็น "เอ็นดับเบิลยูจีดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในตอนเริ่มแรกของการพัฒนาระบบเครือข่ายของไทยสารเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์เชื่อมต่อชนิดที่เรียกว่าโมเด็ม” (modem) โดยเชื่อมต่อด้วยระบบ ยูยูซีพี” (UUCP : Unix to Unix Copy) ซึ่งต่อมาได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านเกตเวย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2536 และในปัจจุบันเครือข่ายไทยสารได้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายยูยูเน็ตของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเช่าลีสไลน์ขนาดความเร็ว 64 kbps จึงนับว่าเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สองของประเทศไทย ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่าง ๆ มากกว่า 30 แห่ง โดยมีสถาบันการศึกษาและองค์กรของรัฐเป็นสมาชิกเครือข่ายจำนวนมากสถาบันเอไอที เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเกตเวย์ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่เนคเทค ดังนั้นนับว่าสถาบันเอไอทีเป็นเครือข่ายเชื่อมระหว่างเครือข่ายไทยเน็ตกับ ไทยสาร ซึ่งเป็นผลดีต่อการสื่อสารระหว่างสมาชิกในเครือข่ายไทยเน็ตและเครือข่ายไทยสาร โดยมีผลทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้ว การสื่อสารระหว่างเครือข่ายทั้งสอง ต้องผ่านอินเทอร์เน็ตไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ววกกลับมาประเทศไทย ซึ่งเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ

ที่มา : จากเว็บ http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/work_Technology/patcharee001/3.htm

guest profile guest

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ในปี พ.ศ.2500 ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่าเทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่มีชื่อว่า Advanced Research Projects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA

                ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก 3 ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANET จนกระทั่งในปี พ.ศ.2512 โครงการ ARPANET ได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย4 แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ.2514 เครือข่าย ARPANET ขยายใหญ่ขึ้นและสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ถึง 23 เครื่อง

จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิดและหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้ แนวความคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้นในปี พ.ศ.2515 ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโตคอลใหม่และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol) และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโตคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการ ARPANET ได้นำโพรโตคอล TCP/IP ไปใช้

การพัฒนาเครือย่างได้ดำเนินมาเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าในช่วงหลังกระทรวงกลาโหมของอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุนและหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่างนี้ก็ยังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนามาตรฐานต่าง ๆ เข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)

ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับกรสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือที่ใช้ชื่อย่อว่า NSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยงและได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมล์กับประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมล์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโตคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP Address)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider) หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

ในปี พ.ศ.2535 เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร (THAISARN – THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้

http://www.thaibizcenter.com/knowledgecenter.asp?kid=3107

guest profile guest
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายนานาชาติที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมายรวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสารซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย โดยมีประวัติความเป็นมา คือ
ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ ทำให้กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริการับรู้ว่าเทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA ต่อมา ในปี พ.ศ.2508 ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่องเครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก 3 ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2512 โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เข้าด้วยกันในปี พ.ศ. 2514 เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง 23 เครื่อง ในปี พ.ศ.2518(ค.ศ.1975) เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น ปี พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) ให้มีการกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP (Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค
เครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมาย เครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยม การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น
เนื่องจากในปัจจุบันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 เป็นต้นไป การใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มจะอยู่ตัว และมีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายเส้นทางการสื่อสารให้กว้างขึ้นเป็น 64 Kbps เป็นอย่างน้อย ประกอบกับทางเนคเทค ได้รับเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินลดลง จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่ายไทยสาร เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเชื่อต่อสมทบให้เนคเทคปีละ 240,000 บาท สำหรับการเชื ่อมต่อที่ความเร็ว 64 Kbps


ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=13e0c96184ebd113&clk=wttpcts
guest profile guest
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายนานาชาติที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมายรวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสารซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย โดยมีประวัติความเป็นมา คือ
อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้
ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ ทำให้กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริการับรู้ว่าเทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA ต่อมา ในปี พ.ศ.2508 ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่องเครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก 3 ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2512 โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เข้าด้วยกันในปี พ.ศ. 2514 เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง 23 เครื่อง ในปี พ.ศ.2518(ค.ศ.1975) เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น ปี พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) ให้มีการกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP (Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค
เครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมาย เครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยม การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น
เนื่องจากในปัจจุบันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 เป็นต้นไป การใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มจะอยู่ตัว และมีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายเส้นทางการสื่อสารให้กว้างขึ้นเป็น 64 Kbps เป็นอย่างน้อย ประกอบกับทางเนคเทค ได้รับเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินลดลง จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่ายไทยสาร เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเชื่อต่อสมทบให้เนคเทคปีละ 240,000 บาท สำหรับการเชื ่อมต่อที่ความเร็ว 64 Kbps


ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=13e0c96184ebd113&clk=wttpcts
guest profile guest
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตนี้นะครับ มีจุดเริ่มต้นจากเครือข่ายของกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกานะครับ ซึ่งในช่วงปี ค.ศ. 1960 ซึ่งอยู่ในช่วงที่โลกยังหวาดหลัวสงครามนิวเคลียกันมาก จึงได้มีการเริ่มโครงการที่จะสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและการทหาร ครับ โดยมีจุดประสงค์คือจะเป็นเครือข่ายที่ทำงานอยู่ได้แม้ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหายไปแล้ว จึงได้มีการตั้งหน่วยงานวิจัยทางทหารขึ้นมา ชื่อ อาร์ปา ซึ่งดังนี้จึงถูกเรียกว่า อาร์ปาเน็ต และต่อมาในปี ค.ศ. 1969 เครือข่ายนี้ก็ได้ถูกเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยอีก 4 แห่ง จากนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐก็ได้ยกเครือข่ายนี้ให้เป็นสาธารณสมบัติ จนถึงปี ค.ศ. 1971 เครือข่ายอาร์ปานี้นะครับก็เริ่มเข้าสู่วงการศึกษา โดยมีหน่วยงานและมหาวิทยาลัย 15 แห่ง และก็ได้มีการขยายตัวขึ้นเป็น 2 เท่า ของทุกๆ ปี จนถึงปี ค.ศ. 1984 เครือข่ายนี้นะครับก็ได้ใหญ่โตมากขึ้น จึงมีการวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP ขึ้นมา และในปี ค.ศ. 1989 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเครือข่ายอาร์ปาเน็ตไปเป็น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และก็นำมาใช้ในทางธุรกิจและการพาณิชย์อีกด้วยนะครับ
 
guest profile guest

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดจากความร่วมมือของกระทรวงกลาโหมอเมริกัน(DOD หรือ US Department Of Defense) และองค์การป้องกันประเทศอเมริกา(ARPA หรือ Armed-Forces Research Project Agency) ก่อตั้งโครงการ ARPANET เพื่อทดลองระบบเครือข่ายของหน่วยงานทางทหาร เป็นการกระจายการเก็บข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพื่อป้องกันการทำลายข้อมูลจากข้าศึกมีการเชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์จากที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ให้สามารถทำงานแทนกันได้



อินเตอร์เน็ตทำอะไรได้บ้าง
?

        เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้
Internet มีมากมาย เช่น

1. เพื่อค้นหาข้อมูล

2. เพื่อความบันเทิงและข่าวสาร ได้แก่ ดูหนัง  ฟังเพลง

3. เพื่อการสนทนาหรือจดหมายอีเล็กทรอนิกส์

4.เพื่อการศึกษา

5.
เพื่อธุรกิจ

 

ที่มา  www.zazana.com

         www.mcp.ac.th

guest profile guest

ความเป็นมา และต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต

                อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนสหพันธ์ เป็นการรวบรวมเครือข่ายของหน่วยงานระดับชาติ ระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน การเข้าใจอินเตอร์เน็ตตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะทำให้เราเข้าใจต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ตได้ดียิ่งขึ้น

                ประวัติของอินเตอร์เน็ตเริ่มมาตั้งแต่สมัยแรกที่มีการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1960 ผู้อ่านอาจจินตนาการไม่ออกว่าสมัยนั้นมีการใช้เมนเฟรมกันอย่างแพร่หลาย และการพยายามทำให้เมนเฟรมสามารถสื่อสารกันได้นั้นเป็นเรื่องแปลกใหม่มาก เมื่อเทียบกับทุกวันนี้ที่การนำคอมพิวเตอร์แบบพีซีมาเชื่อมต่อกันเป็นระบบแลน LAN Local Area Network เป็นเรื่องธรรมดา แต่ขอให้นึกไว้ว่าพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้นเกิดควบคู๋ไปกับพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                หน่วยงานหนึ่งในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S Department of Defense, DOD) คือ หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พา (Advance Research Projects Agency, ARPA) ได้ประกาศรับข้อเสนอโครงงานเพื่อเชื่อมต่อไซต์ทั้งสีในเดือนกรกฎาคม 1988 อาร์พาได้เลือกข้อเสนอของโบลท์ เบอราเนค และนิวแมน (Bolt Beranck and Newman, BBN) ในเดือนธันวาคม 1968 BBN ยังคงเป็นผู้ให้บริการแลเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตที่สำคัญจนถึงทุกวันนี้ (แผนกหนึ่งของ BBN ได้รับเลือกให้ดูแลเครือข่ายระดับภูมิภาค NEARnet ในเดือนกรกฎาคม 1993) ไซต์เริ่มแรกได้แก่สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์

                ถ้าใช้ศัพท์ในยุคปัจจุบัน เครือข่ายที่สร้างขึ้นมานี้เรียกว่าเป็นเครือข่ายระดับกว้าง (Wide Area Network, WAN) ถึงแม้จะค่อนข้างเล็กกว่าก็ตาม ในขณะนั้นยังไม่มีระบบแลนและไม่มีแม้แต่เครื่องพีซี จึงไม่มีการ์ดอินเตอร์เฟสสำหรับใส่ลงในเครื่องเพื่อให้เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายได้ BBN ได้สร้างชุดของโพรเซลเซอร์สื่อสารข้อมูล (Interface Message Processor) โดยใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่บนมินิคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ไซต์ทั้งสี่เริ่มเชื่อมต่อถึงกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1969 เป็นจุดกำเนิดแม่แบบของอินเตอร์เน็ต เครือข่ายนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่ออาร์พาเน็ต (ARPANET) ในช่วงของการทดลองสร้างเครือข่ายนี้ ได้เกิดต้นฉบับของโปรโตคอลหลักซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ เทลเน็ต และโปรโตคอลในการถ่ายโอนไฟล์ หรือ FTP (File Transfer Protocol) อาร์พาเน็ตในสมัยแรกใช้โปรโตคอลควบคุมเครือข่าย (Network Control Protocol) ในการจัดการข้อมูล

                ในช่วงต้นของอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่าในสมัยนี้ และสายการสื่อสารก็ส่งข้อมูลได้ช้ากว่ามาก มีความเร็วสูงเพียง 50 กิโลบิตต่อวินาที จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายก็มีน้อย (ในปี 1981 มีโฮสต์เพียง 200 โฮสต์เท่านั้น) ผู้ออกแบบอาร์พาก็ได้เล็งเห็นว่าต้องสร้างเครือข่ายที่ไม่ใช่เพียงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เป็นเครือข่ายของเครือข่ายต่างๆ (network of networks) ในขณะนั้นมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายเกิดขึ้นหลายชนิด และกลุ่มอาร์พาเน็ตก็พยายามเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างกันเข้าด้วยกัน โปรโตคอลพื้นฐานสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตคือทีซีพี/ไอพี ได้เกิดขึ้นในกลางทศวรรษที่ 1970 โปรโตคอลนี้สร้างโดยวินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN ทีซีพี/ไอพีถูกใช้ร่วมกับโปรโตคอลควบคุมเครือข่าย หรือ NCP จนกระทั่งปี 1993 จึงได้เข้ามาแทนที่ NCP อย่างสมบูรณ์

                เมื่อมีการติดตั้งโหนดบนอาร์พาเน็ตมากขึ้น อาร์พาเน็ตก็โตขึ้นตามลำดับ โหนดส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม หรือมหาวิทยาลัยที่ทำงานวิจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม ขณะที่อาร์พาเน็ตเริ่มเติบโตขึ้นจนกลายเป็นเครือข่ายระดับชาติ นักวิจัยที่ศูนย์วิจัยของซีร็อกซ์ที่พาโลอัลโต (Palo Alto Research Center) ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายท้องถิ่น นั่นคือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) วิธีการนี้ใช้เทคนิคที่มีชื่อเป็นทางการว่า “การตรวจสอบพาหะบนสื่อร่วมและการตรวจการชน” (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) ซึ่งเป็นวิธีการส่งข้อมูลที่ใช้หลักการง่ายๆที่ได้จากการประชุมคือ ผู้ร่วมประชุมพูดเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าคนสองคนพูดพร้อมกัน คนหนึ่งต้องหยุดพูด อีกคนจึงเริ่มพูดใหม่ได้ บางครั้งถ้าทุกคนพูดพร้อมกันก็จะไม่มีใครพูดกันรู้เรื่องหรือสื่อสารกันได้เลย

                ในต่อมาอีเธอร์เน็ตได้กลายเป็นมาตรฐานหนึ่งที่สำคัญในการติดตั้งระบบเครือข่ายท้องถิ่น ระหว่างนั้นดาร์พา (DARPA, ชื่อใหม่ของอาร์พา) ได้ให้ทุนสนับสนุนการรวมทีซีพี/ไอพี เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบอร์คเลย์ เมื่อบริษัทต่างๆเริ่มขายเวิร์กสเตชันประสิทธิภาพดีที่รันระบบยูนิกซ์ ที่ซีพี/ไอพี ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ผู้ขายอย่างบริษัทซันได้เพิ่มพอร์ตอีเธอร์เน็ตไว้ด้านหลังเครื่อง ทำให้การใช้ทีซีพี/ไอพี บนอีเธอร์เน็ตกลายเป็นวิธีเชื่อมต่อเวิร์กสเตชันเข้าด้วยกัน

                ตลอดทศวรรษที่ 1980 หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเริ่มติดตั้งเครื่องพีซีให้กับพนักงานระดับสูงอย่างแพร่หลาย เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีและเวิร์กสเตชันแพร่หลายมากขึ้นคือ เทคโนโลยีที่ทำให้สร้างโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำบนชิป ราคาถูกเป็นจำนวนมากได้ และเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้ผู้ขายสามารถผลิตการ์ดสำหรับเสียบเพิ่มราคาไม่สูงนัก ซึ่งทำให้พีซีหลากหลายชนิดเชื่อต่อกับอีเธอร์เน็ตได้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรได้แก้ไขซอฟต์แวร์ทีซีพี/ไอพี จากยูนิกซ์ของเบิร์ดเลย์ให้ทำงานบนพีซีได้ ทำให้เครื่องพีซีและเครื่องที่ใช้ยูนิกซ์สามารถพูดคุยด้วยภาษาเดียวกันบนเครือข่ายเดียวกันได้

                ในกลางทศวรรษที่ 1980 โปรโตคอลทีซีพี/ไอพีของอินเตอร์เน็ตได้ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสถาบันการศึกษาหลายแห่ง (ในระยะกว้าง) และยังใช้ในระบบเครือข่ายท้องถิ่นและเครือข่ายของสถาบันหลายแห่ง นับเป็นระยะที่พร้อมแล้วสำหรับการขยายตัวอย่างมหาศาลของอินเตอร์เน็ต

ความเป็นมาของอินเตอร์ เน็ตในประเทศไทย

             - พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า

             - พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือ ข่ายไทยสาร"

             - พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)

             ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ที่มา: หัวข้อ ข้อความเป็นมาและต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต จากหนังสือ THE INTERNET FOR EVERRYONE คู่มือสำหรับผู้ใช้และผู้ให้บริการ (หน้า 7-9) ชื่อผู้แต่ง Richard W.Wigginss แปลและเรียบเรียงโดย พัชญา พิทักษ์ไพรวัน, เมธี เผ่าบุญมี, สุธี เผ่าบุญมี

ที่มา:  หัวข้อความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เว็บไซต์http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter1.htm   

 

 

guest profile guest

ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ทุกคนรู้จักใช้อินเทอร์เน็ตแต่อาจยังไม่ทราบถึงประวัติและที่มาของสื่อไร้พรมแดนว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เรามาทำความรูจักกับอินเทอร์เน็ตกันดีกว่า (ยึดถือสุภาษิต รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหามกัน) ที่มาที่ไปของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) เมื่อหน่วยงานวิจัยชั้นสูง หรือ อาร์พา (ARPA: Advance Research Project Agency) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา นำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มาเชื่อมโยงต่อกันเพื่อใช้สนับสนุนงานทางทหาร และเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลที่อาจถูกทำลายในสภาวะสงคราม อันเป็นผลสืบเนื่องของความตึงเครียดทางการเมืองของโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยในขณะนั้น โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะสามารถเรียกดูข้อมูลและแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้ และเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ว่า อาร์พาเน็ต (ARPAnet)

อาร์พาเน็ตในช่วงแรก ๆ วางเครือข่ายด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่เครื่อง ผู้ใช้เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กับทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อเครือข่ายได้รับการพัฒนาและวางเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น กลุ่มประชาชนเริ่มให้
ความสนใจและใช้อาร์พาเน็ตเพื่อความบันเทิงในชีวิตประจำวัน เช่น การพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและเล่นเกมส์ต่าง ๆ

ด้วยการพัฒนาระบบที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังทวีปยุโรป เช่นการวางเครือข่ายในประเทศอังกฤษและนอร์เวย์ ปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ.2516) 



ในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2517) หน่วยงานที่ดูแลับผิดชอบอาร์พาเน็ตได้มีการปรับปรุงอีกครั้งและเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น ดาร์พา (DARPA: Defense Advance Research Project Agency) และโอนหน้าที่ทั้งหมดให้กับ หน่วยงานสื่อสารของกองทัพอเมริกา หรือ DCA (Defense Communications Agency) และอาร์พาเน็ตได้รับการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง โดยแบ่งเครือข่ายออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกทำหน้าที่เครือข่ายด้านงานวิจัย ยังใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเช่นเดิม อีกส่วนใช้เป็นเครือข่ายของกองทัพ เรียกว่า มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อด้วยโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) 



และในทศวรรษที่ 1980 ประเทศสหัฐอเมริกาได้จัดตั้งกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้น หรือที่เรียกว่า กองทุนเอ็นเอสเอฟ ขึ้น (NSF: National Science Foundation) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนวิจัยด้านเครือข่าย และ ได้ออกทุนสร้างเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ที่ต้องการค้นคว้างานด้านการศึกษาได้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แต่เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่สามารถรองรับข้อมูลในจำนวนมาก ๆ ได้ จึงมีการสร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถรองรับข้อมูลได้มากกว่าอาร์พาเน็ต มีชื่อว่า เอ็นเอสเอฟเน็ต (NSFNet) จากนั้นได้ทำการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างอาร์พาเน็ต เอ็นเอสเอฟเน็ต และระบบเครือข่ายอื่น ๆ เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนมีชื่อเรียกการเชื่อมโยงนี้ในที่สุดว่า อินเทอร์เน็ต 

         

สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2535 โดยเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) ปรากฏใช้ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งเชื่อมระบบมาจากประเทศออสเตรเลีย 

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 และได้มีการเปิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538

ที่มา

http://www.okmd.or.th/th/knowledge_detail.asp?id=185#

guest profile guest

ประวัติอินเทอร์เน็ต

   อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมหรือเครือข่ายขนาดใหญ่ การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันนั้นใช้มาตรฐาน ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน มีขอบเขตครอบคลุมในทุกพื้นที่ของทุกๆ มุมโลก
ประวัติของอินเตอร์เน็ตเริ่มต้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 โดยหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พา (Advanced Research Projects Agency, ARPA) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S. Department of Defense, DOD) ในลักษณะโครงการวิจัยทางการทหาร ในยุคสงครามเย็น และได้มีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนถึงกลางทศวรรษที่ 1980 ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอินเตอร์เน็ต เมื่อมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (National Science Foundation, NSF) ได้สรุปว่าต้องการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเชื่อมต่อกับซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้งห้าเครื่องของศูนย์ข้อมูล เพื่อให้นักวิจัยทั้งประเทศเข้ามาใช้ข้อมูลร่วมกันได้ จากนั้นในปี 1986 ก็ได้มีการพัฒนาต่อมาอีกโดยทางมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติหรือเอ็นเอสเอฟ ได้เสนอการสร้างเครือข่ายซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ และในปี 1987 ได้เสนอ backbone เพื่อเชื่อมเครือข่ายระดับภูมิภาคเข้ากับเครื่องซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับbackboneของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (National Science Foundation, NSF) รวมทั้งระบบเครือข่ายระดับภูมิภาคพร้อมใช้งานทำให้มหาวิทยาลัยจำนวนมากได้ตัดสินใจต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตเพื่อร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ          

การเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (National Science Foundation, NSF)ไม่เพียงแต่สถาบันทางการศึกษาเท่านั้นที่สนใจ แต่หน่วยงานของรัฐอื่นๆ และองค์กรทางธุรกิจต่างๆ ก็ได้ให้ความสนใจในเครือข่ายนี้ด้วยเช่นกัน จึงนับได้ว่าในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 เป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์อและอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม
อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมายให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับ

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ปี .. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย         

  1. โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
  1. สายโทรศัพท์ทองแดง

 

โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป

นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา

ในปี .. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)  ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25   นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี .. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ"

          หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 ร่วมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี .. 2535
ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)
และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537   AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร

          ปี .. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

ที่มา : http://www.computers.co.th/blog/?p=6
http://scrubberry.multiply.com/journal/item/10

 

guest profile guest
อินเทอร์เน็ต

          อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง

ดังรูปที่ 1.1


อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

 

สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น

                ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย

                ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

ที่มา : http://www.kruboon.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=58&page=2
guest profile guest

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

            เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ (สหรัฐอเมริกา) กับรัสเซีย
เนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์ สามารถสั่งการและทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอย
ควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู หรือขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง
อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เอง
จึงได้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA (Advanced Research
Projects Agency) และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า
“อินเทอร์เน็ต” (Internet)

            สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี  พ.ศ.2530    โดยมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ ได้เชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์กับประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกัน
กระทรวงวิทยาศาสตร์โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย จากนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามมหาวิทยาลัยจึงมีการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน


ที่มา : http://www.punyisa.com/unit4/unit4-2.htm
guest profile guest
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency) รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดยตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่า IMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละ IMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

          กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ
1. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )
2. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940 และระบบปฏิบัติการ Genie
3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75 ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT
4. หาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10 ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex

          ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก อาร์ปา มาเป็น ดาร์พา DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) ตอนหลังเปลี่ยนเป็น Defence Communication Agency ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency

          ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) เป็นครั้งแรก

           ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET

          และในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นเครือข่ายหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร

           

          จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา"

           ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมา

          

          เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)
ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้

ที่มา : http://www.lms.dmw.ac.th/internet/main.php?result=content1
guest profile guest

**เพิ่มที่มาค่ะ
อินเทอร์เน็ต
(อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

 

 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)

2. สนทนา (Chat)

3.อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด

4.การติดตามข่าวสาร

5.การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล

6.การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์

7.การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ

8.การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์

9.การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์

10.การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)

11.การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)

12.โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)

13.การอับโหลดข้อมูล

อื่นๆ

 

 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.463 พันล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2551) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรป ร้อยละ 26.3 และอเมริกาเหนือ ร้อยละ 17.0 แต่หากจัดลำดับจำนวนผู้ใช้ตามประเทศ ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 253 ล้านคน

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7

**ที่มา http://www.modify.in.th/Computer-With-Internet/id141.aspx 

guest profile guest

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ในปี 2510 ในช่วงที่โลกยังมีการหวาดกลัวสงครามนิวเคลียร์กันมา กระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา (DOD : Departmemt of  Defense) ได้ริเริ่มโครงการที่จะสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ แม้ว่าเครือข่ายบางส่วนจะถูกทำลายไปด้วยระเบิดนิวเคลียร์ จึงได้ตั้งหน่วยงานวิจัยทางทหารขึ้นชื่อว่า อาร์ปา (ARPA , Advanced Research Project Agency) หรือที่เรียกย่อๆว่า “อาร์ปาเน็ต (ARPANET)”

ต่อมาในปี 2512 เครือข่ายอาร์ปาได้ถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอีก 4 แห่ง เพื่อเป็นการทดลองและหลังจากนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ก็ได้ยกเครือข่ายอาร์ปาเน็ตให้เป็นสมบัติสาธารณะ ที่รู้จักกันในชื่อว่า “อินเตอร์เน็ต (Internet)

ในช่วงแรก อินเตอร์เน็ตถูกใช้อย่างจำกัดอยู่ในงานการทหารและราชการเท่านั้น จนเมื่อประมาณปี 2514 อินเตอร์เน็ตก็เริ่มเข้าสู่วงการการศึกษา โดยในปีแรกมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานเข้าร่วม 15 แห่ง สมาชิกระบบอินเตอร์เน็ตมีอัตราการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องเป็น 2 เท่า ทุกๆปี โดยในต้นปี 2539 จำนวนคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host) เกือบห้าล้านเครื่อง นับได้ว่าเป็นเครือข่ายที่มีการเจริญเติบโตเร็วจนแทบไม่น่าเชื่อว่าเริ่มจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพียงแค่สี่เครื่องเมื่อสามสิบปีก่อน

ประเทศไทยของเราเริ่มเข้าไปสัมผัสอินเตอร์เน็ตครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2530 โดยเริ่มจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์สถาบันการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันแรกๆที่มีการนำมาใช้ ดังนั้นการใช้อินเตอร์เน็ตในช่วงนั้นจึงจำกัดอยู่ในวงการการศึกษาและการวิจัย ต่อมาในปี 2531 เริ่มมีบริษัทเอกชนสามารถเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยที่บริษัทแรกที่เปิดดำเนินการเป็นผู้บริการอินเตอร์เน็ต หรือเรียกย่อๆว่า ISP คือบริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต ซึ่งในปีนี้เองอินเตอร์เน็ตได้แพร่หลายในบุคคลทั่วไปอย่างแท้จริง และก็ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 จากหนังสือ ก้าวสู่โลกอินเตอร์เน็ต ฉบับสมบูรณ์ ของ กรภัทร สุทธิดารา

guest profile guest

ความเป็นมา ของอินเตอร์เน็ต

 

อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

ที่มา http://www.bcoms.net/article/historyinternet.asp

guest profile guest

*เพิ่มที่มาค่ะ

อินเทอร์เน็ต (
Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

อินเทอร์เน็ต พัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ.1969 โดยหน่วยงานวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงของสงครามเย็นที่สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตกำลังแข่งขันด้านการทหารกันอย่างหนัก สหรัฐฯ จึงริเริ่มโครงการอาร์พาเน็ตนี้ขึ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักค้นหาเส้นทางเชื่อมโยงและส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ เผื่อว่าเครือข่ายบางจุดอาจเสียหายหรือถูกทำลายเครือข่ายที่เหลือจะได้ทำงานต่อไปได้

ในครั้งนั้นเพนตากอนจับมือกับมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยยูทาห์, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตาบาบารา, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยใช้เครือข่ายของอาร์พาเน็ตเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทางทหารเสียเป็นส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายของอาร์พาเน็ตจะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลอันเดียวกัน เรียกว่า
Network Control Program (NCP) เป็นส่วนควบคุม การรับส่งข้อมูล, การตรวจสอบ ความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และเปรียบเสมือนตัวกลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน

ข้อจำกัดของอาร์พาเน็ต คือ ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อออกไปมากๆ ได้ จึงมีการพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลแบบใหม่ขึ้น และในวันที่ 1 มกราคม 1983 อาร์พาเน็ต ได้เปลี่ยนมาใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) แทน NCP และนั่นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ ได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอาร์พาเน็ต เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย จนเครือข่ายมีขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่าย ในปีค.ศ.1983 ทางการทหารสหรัฐฯ จึงขอแยกตัวออกเป็นเครือข่ายย่อยชื่อว่า
MILNET (Military Network)

นับแต่นั้นมา มีเครือข่ายของสถาบัน องค์กรของทั้งสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต่างๆ ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยต่างเหล่านี้เป็นการเชื่อมต่อด้วยเทคนิคแบบ "อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล" (IP) เครือข่ายขนาดยักษ์นี้จึงถูกเรียกว่า
"อินเทอร์เน็ต"

สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านเรานั้น มีใช้เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อปีค.ศ. 1987 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงานได้มอบหมายให้เนคเทค หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ทำการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

และได้มีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1995 เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย อนุมัติให้บริษัทเคเอสซีเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP เจ้าแรกของไทยเพื่อให้บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป หลังจากนั้น ก็ได้มี ISP อีกหลายบริษัทเกิดตามมา

ที่มา https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=40233

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

cl_km Icon เทคนิคการค้นหาข้อมูล 51 อ่าน 6,511 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon การให้บริการอินเตอร์เน็ต 47 อ่าน 9,248 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cl_km Icon ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต 44 อ่าน 5,593 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา