รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

cl_km profile image cl_km
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความคิดเห็น
guest profile guest

ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมาก ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์บริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้ามาใช้ในกิจการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วทุกมุมโลกและสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกเวลาส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในการนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายของกิจการ คือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพาณิชย์ โดยการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ (Website)ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะก่อให้เกิด การลดต้นทุน ลดเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มช่องทางการตลาดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ


รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
1.
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

2. ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
3.
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
4.
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th

5. ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ

1.   การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล
การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์

2.      การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ

3.   การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

 

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สรุปจากที่ผ่านมานั้นจะพบว่าจะมีข้อที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตอยู่ 3 ประเด็นคือ

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ

2. ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น)

3. ไม่มีข้อจำกัด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค

1. หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา คุณภาพสินค้าและข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ
2.
อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลได้ง่าย

3. มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น

4. เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดลงในเครื่องมือค้นหาก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย

5. ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย

6. สินค้าบางอย่างสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง คงไม่ใช่กับทุกสินค้าหรือทุกผู้ผลิตที่มีความต้องการมาทำการขายเอง อาจจะได้กับสินค้าบางชนิด 

7. ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร จากเดิมที่ในการค้าต้องส่งแฟกซ์ หรือบางทีบอกจดทางโทรศัพท์ รับใบคำสั่งซื้อแล้วมาคีย์เข้าระบบ ถ้าสามารถทำการติดต่อกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลกันได้เลยจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้
8.
ลดเวลาในการผลิต นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการวัตถุดิบ การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ

9. เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานส่วนหลัง

10. เปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้า ซัพพลายเออร์รายใหม่

11. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง

12. เพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น

13. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า การให้บริการหลังการขายให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว

 
ที่มา : http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2158

guest profile guest
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ความเป็นมา
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้ม ีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า
ความหมาย
        พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

            • แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
            ปัจจัยทางการบริหาร
            โครงสร้างพื้นฐาน
            ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
          สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
          สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
        •  ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
          ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))

        •  ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)

        •  ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)

                การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B
โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace
          Seller oriented marketplace
  ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
          Buyer-Oriented Marketplace
  โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้
          Intermedialy-Oriented marketplace
โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา

ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ

การค้นหาข้อมูล
          การเลือกและการต่อรอง

        •  การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต
        •  การจัดส่งสินค้า/บริการ

        •  การบริการหลังการขาย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C
แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C
          ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
          การโฆษณา
          แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
          ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
          ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
          การท่องเที่ยว
          อสังหาริมทรัพย์
          การประมูล (Auctions)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to G
        ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต,การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ C to C
         ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer to Consumer : C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้

พฤติกรรมของลูกค้า
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ
          ตัวบุคคล
          องค์การ

การวิจัยทางการตลาด
 การ วิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/ บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัย เพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
          เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)
          เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)
          การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)
          การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า
มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
        •  เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
          ห้องสนทนา (Chat rooms)
          อีเมล์ (E-mail)
          FAQs (Frequent Answers and Questions)
          ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
          ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
          ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
          ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
          ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
          สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
          ความปลอดภัย (Safety)

วิธีการรักษาความปลอดภัย
        •  การใช้รหัส (Encryption)
          ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
          โปรโตคอล (Protocols)

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
          ประโยชน์ต่อบุคคล

ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
        •  ประโยชน์ต่อสังคม
        •  ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        •  ข้อจำกัดด้านเทคนิค
        •  ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
        •  ข้อจำกัดด้ายเศรษฐกิจ
        •  ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ

ที่มา http://www.bcoms.net/temp/lesson10.asp3.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) 

        http://www.sme.go.th/cms/c/journal_articles/view_article_content?article_id=VC04-08-C08&article_version=1.0
guest profile guest
 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
ในโลกยุคไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีที่ได้
รับความนิยมมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของหลายๆคน อินเตอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายในโลกไว้ด้วยกัน ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับงานด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการศึกษา การแพทย์ การค้า สื่อโฆษณาและอื่นๆมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในทุกสาขาอาชีพ ในส่วนของ
การค้านั้นอินเตอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เรียกย่อๆว่า
E-Commerce หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หรือบางครั้งก็มีผู้เรียกกันง่ายๆว่า ธุรกิจดอทคอม
ในความเป็นจริงการดำเนินธุรกิจการค้าที่มีการซื้อขายและการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของระบบอินเตอร์เน็ต
โทรศัพท์ และโทรสาร หรือการค้าขายโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า EDI (Electronic Data Interchange)
ถือว่าเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น การที่มีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า ทั้งยังสามารถดำเนินการได
้ตลอด 24 ชั่งโมง โดยไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมไหนในโลกก็สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี
อินเตอร์เน็ตกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการนำเสนอข้อมูลข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตสู่สายตาคนทั่วโลกภายใน
ระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการค้ามากขึ้น ทั้งยังก็ให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น และในปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการทางด้านต่างๆ
ที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก เช่น การชำระเงินค่าสินค้าโดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ
โอนเงินผ่านทางธนาคาร รวมถึงมีผู้ให้บริการทางด้านการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังทุกจุดหมายทั่วโลกได้อย่างงรวดเร็ว
เช่น FedEx , DHL ทำให้ผู้ขายสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย จากที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นได้ว่า
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการดำเนินธุรกิจใน
รูปแบบนี้ลงทุนไม่มากนัก ได้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง และสะดวกสบาย

รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีรูปแบบการดำเนินการธุรกิจหลายรูปแบบ ดังนี้
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Consumer (B2C)
3. Consumer-to-Business (C2B)
4. Consumer-to-Consumer (C2C)
5. Business-to-Government (B2G)

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
            ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมาก
ขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
ได้มากมายหลายประการ ได้แก่
1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของ
บริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง
และมาจากที่ต่างๆกัน
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้
โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายใน
องค์กรนั้นๆ
4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่ง
ขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงิน
เข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้น
อยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่
เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการ
มีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่
ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจาก
ประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป(Member System)
9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมลล์ใน
การติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหา
และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที

สิ่งจำเป็นสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนประกอบหลายส่วนที่ทำให้ระบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ซึ่งสิ่งที่จำเป็น
ที่ทำให้ระบบสามารถดำเนินการได้ก็คือ
1. แหล่งที่มาของข้อมูล จะต้องทำการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลที่จะนำมาดำเนินธุรกิจ โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยว
ข้องไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆก็ตาม เช่น เอกสารที่เป็นกระดาษ เอกสารที่เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
2. ประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ซึ่งได้มาจากผู้ให้ข้อมูลต่างๆ เช่น บุคคลทั่วไป กลุ่มธุรกิจเล็กๆ หรือ
องค์กรขนาดใหญ่ ควรที่จะมีหลักการและวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ควรที่จะมีความ
สามารถในการที่จะเก็บข้อมูลได้มาก และหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บมาใช้งาน
3. การจัดเตรียมข้อมูลของร้านค้า ในการดำเนินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วก็ต้องทำการปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เสียก่อน
4. การเตรียมข้อมูลของสินค้า จะต้องรวบรวมข้อมูลของสินค้าไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่ต้องมีขนาดเหมาะสม เตรียมชื่อ หมวดหมู่
คำบรรยายรวมถึงขั้นตอนและวัสดุที่นำมาผลิตและราคาสินค้า
5. การแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อความสะดวกและความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบออนไลน์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
อย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ ข้อมูลของผู้จัดหา หรือข้อมูลของลูกค้าแต่ละราย
บริการในการค้นหาข้อมูลเหล่านี้ในการค้าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัญชีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Catalog) ที่กรองข้อมูล (Information
Filter) เครื่องค้นหา (Search Engine) และ Software Agent
6. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องการวิธีการในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆดังนั้นการชำระเงิน
แบบอิเล็กทรอนิกส์จึงเกิดขึ้น การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ เงินตราดิจิตอล (Digital Currency) การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
และอิเล็กทรอนิกส์เช็ค
7. ระบบรักษาความปลอดภัย จะต้องสามารถป้องกันการโจรกรรมคุกคามและการฉ้อโกงจากกลุ่มต่างๆทั้งภายนอกและภายใน ดังนั้นระบบจะต้องถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้บริการด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. การเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ สิ่งแวดล้อมของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน มีกลุ่มบุคคลมากมายที่สามารถจะเข้าสู่ระบบการค้า
อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อาจใช้เครื่องมือในการสื่อสารชนิดต่างๆกันในการเข้าสู่ระบบและค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา Palm Computer โทรศัพท์ประจำบ้าน เครื่อง PCT จานรับสัญญาณดาวเทียม ไมโครเวฟ
หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือในระบบ GSM หรือ Digital 1800 (ในปัจจุบันมีการพัฒนาโปรโตคอลที่ชื่อว่า WAP หรือ
Wireless Application Protocol เพื่อใช้ในการเรียกดูข้อมูลเว็บเพผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ) ดังนั้นเมื่อระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส
์เกิดการเจริญเติบโตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือในการรองรับการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบต้องมีกาารพัฒนาควบคู่ไปด้วย ปัญหาด้าน
ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือความสามารถร่วมมือกันของระบบต่างๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ
9. กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ปัญหาต่างๆของกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นแน่นอนที่ส่วนใหญ่ต้องเป็นกฎหมาย
ที่ใช้บังคับในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายที่บังคับใช้บนอินเตอร์เน็ตยังเป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดนัก แต่จาก
การ ที่มีการโต้เถียงและความพยายามในการแก้ไขกฎหมายต่างๆให้ดีขึ้น ทไให้รูปลักษณ์ของกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ภายในเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตมีหนทางที่ดีขึ้น ประเทศไทยก็มีร่างกฎหมายการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส ์
และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ นอกจากนั้นในประเทศไทยยังมีข้อ
โต้แย้งเรื่องภาษีสรรพากร ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผู้ประกอบการค้าบนนี้เป็นผู้ประกอบการที่ผิดกฎหมาย


ขอขอบคุณแหล่งที่มา
http://ban-pong.chiangmai.ac.th/internet_ec.html
guest profile guest
   Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

          จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce

 

          อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น

          E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ

          - การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
- การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
- การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
- บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce

          เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน 

          E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

ความปลอดภัยกับ E-Commerce

          ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)

          ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


การชำระเงินบน E-Commerce

          จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต

          สำหรับในประเทศไทย   ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้

         1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

ที่มา เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย

http://guru.sanook.com/search/E-Commerce_(%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C)

 

guest profile guest

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)

รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)

รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)

รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)

รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
     • ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
        • ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
        • ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
        • ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
        • ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
     • ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
        • ลงประกาศตามกระดานข่าว
        • จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
        • โฆษณาผ่านอีเมล์
        • เผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
        • ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
        • การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
     • ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
        • ต้องรักษาความลับได้
        • เชื่อถือได้
        • พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
     • ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
        • สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
        • สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
        • software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
     • ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย

 

แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/9_3.html

guest profile guest
รูป แบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     แบ่งกันตามความสัมพันธ์ทางการตลาดได้ 3 รูปแบบดังนี้
        1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก


       2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและ บริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล


        3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า

ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
     • ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
        • ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
        • ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
        • ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
        • ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
     • ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
        • ลงประกาศตามกระดานข่าว
        • จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
        • โฆษณาผ่านอีเมล์
        • แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
        • ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
        • การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
     • ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
        • ต้องรักษาความลับได้
        • เชื่อถือได้
        • พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
     • ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
        • สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
        • สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
           • software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
     • ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย


http://www.thaigoodview.com
guest profile guest

รูปแบบการทำธุรกิจ

  1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
  2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
  3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
  4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

สามารถจำแนกรูปแบบการค้าได้ 8 แบบดังนี้

                เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมาย

  • 2. ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

                มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านทางตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

                ร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ต้องอาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์

                การประมูล มี 2 ลักษณะ คือ

                3.1 ผู้ขายเสนอขายก่อน โดยผู้ซื้อแข่งกันเสนอราคา

                3.2 ผู้ซื้อเสนอซื้อก่อน โดยผู้ขายแข่งกันเสนอราคา อาจเรียกว่า Reverse Auction หรือการประมูลแบบย้อนกลับ

                เวบไซต์ประเภทชุมชน เป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มุ่งเน้นการโฆษณาเป็นสำคัญ อาจเรียกว่าการโฆษณาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ “E-Advertisement”

                การตั้งตลาดกลางเพื่อใช้ซื้อขายสินค้าเฉพาะเรื่องขึ้นมา เช่น www.foodmarketexchange.com เป็นตัวอย่างของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย โดยผู้ขายต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านี้ก่อนใช้บริการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาด

                สำหรับองค์กรที่นำมาใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) การชำระเงินทางออนไลน์ (Online Bill-Payment) ตลาดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Job Market) เป็นต้น

                หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีแก่หน่วยงานราชการด้วย

                พัฒนาการรูปแบบใหม่ของการนำE-Commerce มาประยุกต์ใช้ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Communication) เนื่องจากสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้

http://www.depthai.go.th/
guest profile guest

ความหมาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการทำธุรกิจ
1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต 

สามารถจำแนกรูปแบบการค้าได้ 8 แบบดังนี้
1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue)
เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมาย
2. ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tailer or E-Retailing)
มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงผ่าน ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านทางตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
3. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
ร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ต้องอาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์
การประมูล มี 2 ลักษณะ คือ
3.1 ผู้ขายเสนอขายก่อน โดยผู้ซื้อแข่งกันเสนอราคา
3.2 ผู้ซื้อเสนอซื้อก่อน โดยผู้ขายแข่งกันเสนอราคา อาจเรียกว่า Reverse Auction หรือการประมูลแบบย้อนกลับ
4. การประกาศซื้อ-ขายสินค้า (Web Board)
เวบไซต์ประเภทชุมชน เป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มุ่งเน้นการโฆษณาเป็นสำคัญ อาจเรียกว่าการโฆษณาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ “E-Advertisement”
5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)
การตั้งตลาดกลางเพื่อใช้ซื้อขายสินค้าเฉพาะเรื่องขึ้นมา เช่น www.foodmarketexchange.com เป็นตัวอย่างของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศ ไทย โดยผู้ขายต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านี้ก่อนใช้บริการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาด
6. การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
สำหรับองค์กรที่นำมาใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) การชำระเงินทางออนไลน์ (Online Bill-Payment) ตลาดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Job Market) เป็นต้น
7. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีแก่หน่วยงานราชการด้วย
8. โมบายคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce)
พัฒนาการรูปแบบใหม่ของการนำE-Commerce มาประยุกต์ใช้ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Communication) เนื่องจากสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้

ที่มา http://www.depthai.go.th/

guest profile guest

โครงสร้างและองค์ประกอบของระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                องค์ประกอบหลักของระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย

1. เว็บเพจหรือร้านค้าบนเว็บ เพื่อที่จะสามารถประกาศขายสินค้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่เอาไปฝากกับเว็บไซต์อื่นหรือร้านอื่นไว้ หรือมีชื่อร้านหรือเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เช่น www.siamgift.com เป็นต้น หน้าเว็บเพจสำหรับเสนอขายสินค้า บางทีเราเรียกกันว่า หน้าร้าน” (Store Front)

2.   ระบบตะกร้ารับสั่งซื้อ เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บเพจได้ ซึ่งจะมีช่องไว้กรอกจำนวนสินค้าที่สั่งซื้อได้ โดยการคลิกซื้อแต่ละครั้งจะเป็นการหย่อนลงในตะกร้าหรือรถเข็น และสะสมไว้จนกว่าเราจะซื้อของครบ และตัดสินใจให้ระบบแคชเชียร์อัตโนมัติคำนวณเงิน (ระบบตะกร้ามีหลายรูปแบบ และสามารถปรับหรือออกแบบเฉพาะให้เหมาะกับกิจกรรมการค้าแต่ละประเภทได้)

3.   Secure Payment System เป็นระบบคำนวณเงินและชำระเงินสินค้าที่ปลอดภัย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต (ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันสามารถรับเงินผ่านเว็บด้วยบัตร Visa, AMEX, Master, SCB และ JCB ได้แล้ว) ซึ่งการโอนถ่ายข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหล ระบบที่ใช้กันมากในปัจจุบันคือ SSL (Secure Socket Layers) แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ปลอดภัยมากนัก เพราะไม่สามารถระบุตัวผู้ถือบัตรได้ เนื่องจากระบบนี้บอกได้เพียงว่าร้านค้าคือใคร? ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาคือ SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งสามารถระบุตัวทั้ง 2 ฝ่ายว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ แต่ยังติดปัญหาในเรื่องต้นทุนการลงทุนที่ค่อนข้างสูง จึงยังไม่แพร่หลาย

ประเภทของ E-COMMERCE

อีคอมเมิร์ซมีหลายประเภทตามการแบ่ง

E-Commerce  แบ่งเป็น 7 ประเภท คือ

1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B)

ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น  ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและธุรกิจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบริษัทเดียวกัน (intra-company EC) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบริษัทหนึ่งๆ มักเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ เช่น ระหว่างฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดจำหน่าย เป็นต้น

2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบริษัท (inter-company EC) มี 2 ประเภท คือ

- บริษัทคู่ค้าที่เฉพาะเจาะจง (specified) บริษัทที่เกี่ยวข้องมักเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกันมานาน เช่น บริษัทในเครือเดียวกัน หรือบริษัทที่จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบให้แก่กัน เป็นต้น กิจกรรมที่บริษัทเหล่านี้ทำร่วมกันผ่านทางเครือข่ายได้แก่ การวิจัยและการพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดการการผลิต การสั่งสินค้า และการหักบัญชี เป็นต้น

*ข้อสังเกตคือ  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกลุ่มบริษัทคู่ค้าที่เฉพาะเจาะจง มักจะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่เปรียบเสมือนเป็นแกนกลาง (hub) หรือเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยน และบริษัทอื่นๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นซี่ของล้อ (spoke) กล่าวคือ บริษัทที่เป็นซี่ของล้อจะไม่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเอง แต่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบริษัทที่เป็นศูนย์กลางเท่านั้น ในทางปฏิบัติ บริษัทที่เป็นแกนกลางมักจะเป็นบริษัทผู้ผลิต (manufacturer) รายใหญ่ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถใช้ได้ทั้งเครือข่ายเอกชน (private network) ของกลุ่มบริษัทนั้น หรือเครือข่ายสาธารณะ (public network) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้

- บริษัทคู่ค้าที่ไม่เฉพาะเจาะจง (unspecified) บริษัทที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการผ่านเครือข่ายสาธารณะ (public network) เช่น ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในรูปที่เรียกว่า เอ็กส์ทราเน็ต” (extranet) ซึ่งบริษัทใดๆ ก็สามารถเข้าร่วมได้ กิจกรรมที่อาจครอบคลุม ได้แก่ การโฆษณา การจัดซื้อและการขาย การหักบัญชี ในการติดต่อกันนี้ แต่ละบริษัทสามารถติดต่อระหว่างกันได้หมด โดยไม่ต้องผ่านบริษัทใดบริษัทหนึ่ง กล่าวคือ ไม่มีบริษัทไหนเป็นแกนกลางของการติดต่อนั่นเอง

2.ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C)

ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C)

ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค  ซึ่งรูปแบบที่สำคัญที่สุดของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ

1. การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) หมายถึงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของบริษัทเท่านั้น โดยยังไม่มีการรับสั่งสินค้าทางเครือข่าย

2. การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า แต่ยังคงชำระเงิน ด้วยวิธีการเดิม เช่น ชำระด้วยเช็ค หรือ บัตรเครดิตผ่านทางช่องทางปกติ

3. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า และชำระเงิน โดยในปัจจุบันการชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มักชำระด้วยการบอกหมายเลขบัตรเครดิต ในอนาคตการชำระเงินอาจทำได้โดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic money)

4. การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้าปลีกอย่างคลอบคลุม ตั้งแต่การโฆษณา การรับสั่งสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนการให้บริการหลังการขาย ในกรณีที่สินค้า เป็นสินค้า สินค้าสารสนเทศ” (information goods) เช่น ข่าวสาร ซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ หรือเพลงการจัดส่ง (delivery) สินค้าเหล่านี้ ยังสามารถทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย

5. การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การซื้อขายสินค้าทางการเงิน เช่น หลักทรัพย์ การซื้อขายสินค้าทั่วไป (commodity) เช่น น้ำมัน หรือทองคำ เป็นต้น

3.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C)

ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

4.Business to Government : B2G

- เป็นธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ

- ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement)

5.Consumer to Business (C2B)

- ธุรกรรมที่เกิดขึ้นโดยบุคคลทั่วไปที่ใช้ Internet เพื่อขายสินค้า หรือบริการให้กับองค์กร หรือ บุคคลทั่วไปที่มองหาผู้ขาย เพื่อติดต่อ และ ทำธุรกรรมในรูปแบบ Online

การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า)

เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า

 

6.Government to Business/Citizens (G2B, G2C)

- รูปแบบของหน่วยงานรัฐซื้อขายสินค้า บริการ หรือ สารสนเทศกับ องค์กรเอกชน หรือบุคคลทั่วไป

7.Mobile commerce

- รูปแบบการค้าในระบบไร้สาย (Wireless)

- บริการดาวน์โหลด Ring Tone ผ่านโทรศัพท์มือถือ

 

E-COMMERCE แบ่งเป็น 5 ประเภท

  (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต

(2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต

(3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ

(4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง

(5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้

E-Commerce แบ่งเป็น 3 ประเภท

(1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

- การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น

- การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น

- ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก

(2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

- การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น

- การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ

- การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

(3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้

- การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ

- การจัดการสินค้าคงคลัง

- การจัดส่งสินค้า

- การจัดการช่องทางขายสินค้า

- การจัดการด้านการเงิน

  E-Commerce แบ่งเป็น 7 ส่วน

(1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท

(2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ

(3)อินเตอร์เนตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง

(4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ

(6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ

(7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น

E-Commerce ตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

(1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต

(2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลป์ชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์

รูปแบบของ E-COMMERCE มี 4 รูปแบบ

1.Pure e-Commerce  ทำธุรกรรม e-Commerce ในรูปแบบดิจิทัลทุกขั้นตอน

2.Partial e-Commerce ทำธุรกรรม e-Commerce ที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical)

-การขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป

-การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM

3.Brick and Mortar Organization

-องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบทั่วไปขององค์กรธุรกิจ (Pure Physical)

-การซื้อสินค้าด้วยตนเอง หรือสั่งซื้อผ่านพนักงาน (Sales)

4.Click and Mortar Organization องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบ e-Commerce ในบาง

ขั้นตอน หรือ บางส่วนของกระบวนการทั้งหมด

ความสำคัญของ E-C0MERCE

 

1.  ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง

2. ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด

3. เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก

4. ช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5. สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

6.สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market

7. ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา

8. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

9.สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

10. สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย

ลักษณะเด่นของ E-COMMERCE

1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งทวีปหรือประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง และการเดินทาง ท่านสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่คนละทวีปกันได้ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที

2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น

3. คุณสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและเปิดได้ทุกวันโดยไม่วันหยุด

4. คุณไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้า E-Commerce จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้คุณ ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังหรือมีก็น้อยมาก

5. คุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่สร้าง Web Site ก็เปรียบเสมือนร้านค้าของคุณแล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับทำเลที่ตั้งของร้านค้า

6. E-Commerce สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้คุณโดยอัตโนมัติ

ประโยชน์ของ E-COMMERCE

 

                1. การเข้ามาดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างง่าย (low barrier to enter) ในแง่ของการลงทุน การจัดระบบ และการจัดองค์กร จึงทำให้เกิดมีการแข่งขันสูง (high competition) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มุ่งหวังที่จะให้ผู้ใช้ ผู้บริโภคเข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ แต่เนื่องจากการจัดทำเวบไวต์ยากที่จะสร้างความแตกต่าง เพราะผู้ประกอบการจะใช้เทคโนโลยีเดียวกัน จึงต้องอาศัยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางการค้า ผ่านสื่อกายภาพ (physical media) เช่น ทางโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง วารสาร หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ทุนค่อนข้างสูงมาก และเมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการจะประสบกับภาวะขาดทุนจนต้องเลิกกิจการไป

                    2. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในเชิงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า เริ่มจากผู้ประกอบการและลูกค้า สามารถสนองตอบต่อกัน (inter active) ได้แทบจะเรียกได้ว่า ตามเวลา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง (real time) ผ่านสหสื่อ ที่มีทั้งภาพ อักษร และเสียง โต้ตอบไปพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน นอกจากทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารแล้ว ยังสามารถจัดเตรียมหรือจัดสร้างข้อมูล เพื่อนำเสนอลูกค้าเฉพาะราย (Customization) ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนั้นแล้ว การกระจายข้อมูลสามารถกระจายออกไปได้ทั่วโลก จนทำให้เกิดกระแสโลกาภิวัตน์ (globalization) ทำให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มช่องทางการค้าระหว่างประเทศ ที่สามารถดำเนินการได้ทุกวันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง (7x24) ทุกวันทั้งปีไม่มีวันหยุด การเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องอาศัยบุคลากรที่มีคุณภาพสูง เริ่มตั้งแต่ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้เป็นพื้นฐานจะต้องคล่องแคล่วและต้องมีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศ นอกจากนั้นแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักเข้าใจในกฎหมาย กฎระเบียบ ของแต่ละประเทศ และประเภทของสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ ตลอดจนต้องเข้าใจในพฤติกรรม สังคม และวัฒนธรรมของประเทศที่คู่ค้าอาศัยอยู่

                        3. ความรวดเร็ว (speed) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินการกันได้ทั่วโลกภายในช่วงระยะเวลาอันสั้นมากเป็นวินาที ทำให้ร่นระยะเวลาในการดำเนินธุรกรรมระหว่างกัน และเนื่องจากได้มีกฎหมายรับรองการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินการผ่านเอกสารที่ต้องใช้เวลาในการจัดส่ง จะค่อยๆ ลดลงไปทำให้เกิดการประหยัด

                           4.ประหยัดต้นทุน (cost saving) ในการดำเนินการ นอกจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารแล้ว ยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อไปติดต่อกัน โดยอาศัยเทคโนโลยี การประชุมทางจอภาพ (VDO confereneing) หรืออาจก้าวไปไกลถึง การให้พนักงานทำงานอยู่กับบ้าน โดยเฉพาะกับงานบางอย่างบางประเภทที่สามารถแปรสภาพเป็นระบบดิจิทัลได้ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบ ฯลฯ เป็นต้นในกรณีที่จะนำเทคโนโลยีมาทดแทนพนักงาน หรือเพื่อลดจำนวนพนักงานลงจะต้องคำนึงถึงต้นทุนในการลงทุนจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ และที่สำคัญคือ ต้องจัดเตรียมจัดหาจัดจ้างพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ ที่แน่นอนอัตราค่าจ้างจะต้องแพงขึ้นกว่าพนักงานที่มีอยู่เดิม และถ้าจะให้พนักงานออกจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมา เช่น ค่าชดเชย ฯลฯ และที่สำคัญอีกประการ คือ อาจจะกระทบต่อขวัญ และกำลังใจของพนักงานอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลงาน

ความสัมพันธ์ของระบบการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                BANK (ธนาคาร) ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือ ตรวจสอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าและ/หรือบริการ ทาง Internet ผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้าและ/หรือบริการนั้นๆ เข้าบัญชีของร้านค้าสมาชิก 

TPSP (Transaction Processing Service Provider) คือ องค์กรผู้บริหารและพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลการชำระค่าสินค้าและ/หรือบริการผ่าน Internet ให้กับร้านค้าหรือ ISPต่างๆ ผ่าน Gateway โดย TPSP สามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุกๆ ร้านค้าหรือทุกๆ ISP และทำการเชื่อมต่อ Internet ระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร

CUSTOMER (ลูกค้า) สามารถชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการได้ด้วยบัตรเครดิต, บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลกระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)

MERCHANT (ร้านค้า) ที่ต้องการขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บน Site ของตนเอง หรือ ฝาก Home Pageไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่างๆ เพื่อขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านระบบของธนาคาร  ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerce กับธนาคารก่อน

ISP (Internet Service Provider) องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้ Internet ทั่วไปโดย ISP รับและจดทะเบียนDomain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Page มาฝากเพื่อขายสินค้า

 

http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2007-1/Assignment-02/BPA_30_51_v1/structure.htm

guest profile guest
รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

> ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
> ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
> ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
> ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th
> ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ
1. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
2. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
3. การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น


ที่มา http://mynameusa.blogspot.com/2008/03/e-commerce.html
guest profile guest

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

ความหมาย (E-Commerce)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

•  แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

•  ปัจจัยทางการบริหาร

•  โครงสร้างพื้นฐาน

ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

•  สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)

•  สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

•  ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)

•  ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C)

•  ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)

•  ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)


การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).  

        โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace (Turban et al., 2000)

•  Seller oriented marketplace

ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

•  Buyer-Oriented Marketplace

โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้

•  Intermedialy-Oriented marketplace

โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).  

        แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C

•  ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)

•  การโฆษณา

•  แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)

•  ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking

•  ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)

•  การท่องเที่ยว

•  อสังหาริมทรัพย์

•  การประมูล (Auctions)

ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต

        ขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ

•  การค้นหาข้อมูล

•  การเลือกและการต่อรอง

•  การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต

•  การจัดส่งสินค้า/บริการ

•  การบริการหลังการขาย

พฤติกรรมของลูกค้า

        การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ

•  ตัวบุคคล

•  องค์การ

การวิจัยทางการตลาด

        การวิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัยเพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า


โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)

        การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์

•  เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)

•  เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)

•  การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)

•  การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า

        มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น

•  เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)

•  ห้องสนทนา (Chat rooms)

•  อีเมล์ (E-mail)

•  FAQs (Frequent Answers and Questions)

•  ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)

•  ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

การรักษาความปลอดภัย

        ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)

•  ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)

•  ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)

•  ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)

•  สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)

  •  ความปลอดภัย (Safety)
      • วิธีการรักษาความปลอดภัย

        •  การใช้รหัส (Encryption)

        •  ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)

        •  โปรโตคอล (Protocols)


        ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ

        •  ประโยชน์ต่อบุคคล

        •  ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ

        •  ประโยชน์ต่อสังคม

        •  ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

        ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส

        •  ข้อจำกัดด้านเทคนิค

        •  ข้อจำกัดด้านกฎหมาย

        •  ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ

        •  ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ

        ที่มา http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson10-1.asp

        guest profile guest

        รูปแบบของ E-COMMERCE มี 4 รูปแบบ
        1.Pure e-Commerce ทำธุรกรรม e-Commerce ในรูปแบบดิจิทัลทุกขั้นตอน
        2.Partial e-Commerce ทำธุรกรรม e-Commerce ที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical)
        -การขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป
        -การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM
        3.Brick and Mortar Organization
        -องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบทั่วไปขององค์กรธุรกิจ (Pure Physical)
        -การซื้อสินค้าด้วยตนเอง หรือสั่งซื้อผ่านพนักงาน (Sales)
        4.Click and Mortar Organization องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบ e-Commerce ในบาง
        ขั้นตอน หรือ บางส่วนของกระบวนการทั้งหมด

        ที่มาhttp://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2007-1/Assignment-02/BPA_30_51_v1/structure.htm

        guest profile guest

        นิยาม E-Commerce
        อีคอมเมิร์ซ แท้จริงแล้วหมายถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเลคทรอนิค ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว แต่จริงๆแล้ว การค้าขายโดยผ่านทางเครื่องแฟกซ์ โดยเราแฟกซ์เอกสารการขายตรงออกไป และลูกค้าแฟกซ์ใบสั่งซื้อเข้ามาก็ถือเป็นอีคอมเมิร์ซ หรืออย่างพวกขายตรงทางโทรทัศน์อย่าง TV Media แล้วโทรเข้าไปซื้อก็เป็นการค้าแบบขายผ่านสื่ออิเลคทรอนิคเช่นกันหรืออย่างการขายผ่านเคเบิ้ลทีวีก็ใช่
        ในยุคที่โลกกำลังก้าวสู่คริสตศตวรรษใหม่ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรุนแรง รวดเร็ว จนกล่าวได้ว่า หากผู้ใด หรือประเทศใด ไม่อาจติดตามกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างทันท่วงที ย่อมตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและพ่ายแพ้บนเวทีการแข่งขันอันเข้มข้นในที่สุด
        คาดกันว่า ในคริสตศตวรรษที่ 21 การค้าขายนานาชนิดจะเกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ E-Commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่คนไทยจำต้องรู้เท่าทันเพื่อให้สามารถรับมือกับเทคโนโลยีชนิดใหม่นี้ได้อย่างทันท่วงที

                  ผลกระทบทางเศรษฐกิจส่วนรวมของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนโดยสกว. ได้นิยาม E-Commerce ว่าหมายถึง“การดำเนินการทางเศรษฐกิจใดๆ ที่กระทำบนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวอาจรวมถึง การออกแบบ การผลิต การโฆษณาสินค้า การค้าทั้งปลีกและส่ง และการทำธุรกรรม ตลอดจนการชำระเงิน ส่วนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาจรวมถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งเครือข่ายภายในองค์กร (Internal network) เครือข่ายเอกชน (private network) ระหว่างองค์กร หรือเครือข่ายสาธารณะ (public network) เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น เครือข่ายโทรทัศน์ และเครือข่ายโทรศัพท์ เป็นต้น

                  E-Commerce โดยเฉพาะที่ค้าขายกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และการกำหนดนโยบายของรัฐบาลประเทศต่างๆ รวมทั้งส่งผลต่อกฎหมาย การเมือง สังคม
        วัฒนธรรม ตลอดจนมโนทัศน์ของประชาชนต่อสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า เงินตรา และการพาณิชย์ เป็นต้น

                  ในด้านเศรษฐกิจส่วนรวม E-Commerce จะส่งผลกระทบต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทย มีผลต่อการเปิดเสรีการค้าและบริการ ต่อนโยบายการเงินการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ (information infrastructure) นอกจากนี้ E-Commerce ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจรายสาขา (sectoral economy) หลายสาขา โดยเฉพาะในสาขาบริการ เช่น ธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ การประกันภัย การค้าปลีก และการท่องเที่ยว

                  ในด้านสังคม E-Commerce จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค อาจส่งเสริมให้เกิดสารสนเทศที่ก่อปัญหา (harmful content) และปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ในด้านการเมือง E-Commerce ยังจะส่งผลต่อความมั่นคงทางการเมือง และการทหารจากปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล

                  เมื่อ E-Commerce เชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้หน่วยราชการไทยหลายแห่งต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ E-Commerce ยังเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับสังคมไทย ทำให้แนวนโยบายเรื่องนี้ยังคงไม่ชัดเจน และอยู่ในสภาพของการลองผิดลองถูก คณะวิจัยพบว่าปัญหา E-Commerce เป็นเรื่องที่มีความเร่งด่วนสูง แต่ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นต่างๆ เหล่านี้
        http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=267.0

        guest profile guest

        e-Commerce คืออะไร?
        การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)
        รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)
        รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)
        รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)
        รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

        ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce 5 ขั้นตอน
        ขั้นตอน 1 – สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Market Search)
        ขั้นตอน 2 – วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (Planning and Development)
        ขั้นตอน 3 – นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install)
        ขั้นตอน 4 – โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion)
        ขั้นตอน 5 – ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintenance)
        **ลักษณะพิเศษของการทำการค้าบนเว็บ : ไม่มีพรมแดน, ตัวต่อตัว, ตัดสินใจจากข้อมูล, กิจกรรมผสม, ไปถึงคนทั่วโลก, โต้ตอบทันควัน, ทำได้ 24 ชั่วโมง

        ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
        1. แต่งตั้ง คณะกรรมการควบคุมดูแล (Committee) ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นแกนหลัก
        2. วิจัยตลาด (Market Research) โดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด
        3. กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Market Target) ที่เราจะขายสินค้าให้ ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน
        4. วางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธิ์การพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้นมอบหมายให้คณะทำงานอีคอมเมอร์ซที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการ
        5. ทำการ พัฒนาเว็บเพจ (Webpage Developing) ตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อ
        6. ติดตั้ง ระบบอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce System) เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม
        7. จดทะเบียนชื่อโดเมน (Domain Name Registration) (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้งแต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่าจะเอาชื่อใด) และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรืออัปโหลดขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เสร็จแล้วก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น
        8. ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน (Evaluation) เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
        9. เฝ้าดูแล (Monitor) และปรับปรุงเนื้อหา ตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน

        ที่มา
        http://www.siamwebmate.com/articles/what-is-ecommerce/

        guest profile guest

           คือ การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ  เลือกสินค้า คำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า  ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า  โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet

        ข้อดี ข้อเสีย ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        ข้อดี

        1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง

        2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก

        3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย

        4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง

        5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

        ข้อเสีย

        1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ

        2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ

        3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน

        4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

        การทำการค้าระหว่าง Customer กับ Business (ผู้บริโภค กับ ธุรกิจ) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า

         

        2. การทำการค้าระหว่าง Business กับ Business (ธุรกิจ กับ ธุรกิจ ) เช่น ร้านขายหนังสือต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์                          

        3. การทำการค้าระหว่าง Business กับ Customer (ธุรกิจ กับ ผู้บริโภค ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน

         

        4. การทำการค้าระหว่าง Customer กับ Customer (ผู้บริโภค  กับ ผู้บริโภค) ด้วยกัน เช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคผู้ที่อื่นที่สนใจ ฯลฯ

         

        ขั้นตอนการทำธุระกรรม (Transaction)

        • จะเริ่มตั้งแต่การทำคำสั่งซื้อ การชำระเงินค่าสินค้า ไปจนการจัดส่งสินค้า ได้ทำการเลือกสินค้าใดๆไว้บ้างแล้วในตะกร้า รวมค่าสินค้าเป็นเท่าไร ภาษี ค่าจัด
        • การทำคำสั่งซื้อ(Ordering)

        ความสัมพันธ์ของ การค้าอิเล็กทรอนิกซ์

             เมื่อได้ข้อมูลและต้องการจะทำการซื้อสินค้าหรือจะทำธุระกรรมแล้วผู้ขายต้องมีระบบ รองรับอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Carts) ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่นแสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าส่งต่างๆ จะแสดงให้เห็น และสามารถให้ลูกค้าสามารถเก็บข้อมูลรายการสินค้าไว้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการ สั่งซื้อภายหลัง ตัวอย่างของระบบตะกร้าที่ได้รับการยอมรับว่าดีมากคือระบบของ Amazon.com

        1.BANK

            ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจ สอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internetผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของร้านค้า สมาชิก

        2.TPSP (TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER )

            องค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรม การประมวลผลการชำระค่าสินค้า และ/บริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSP สามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และบริการการ Internetระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร

         

         

        3.CUSTOMER

            ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้า /หรือบริการได้ด้วยบัตรเครดิต บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลกผ่าน ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)

        4. MERCHANT

            ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้า /หรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บนweb Site ของตนเอง หรือ ฝาก Home Pageไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้า หรือบริการผ่านระบบของธนาคาร  ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นสมาชิกร้านค้า E-Commerceกับธนาคารก่อน

        5. ISP (INTERNET SERVICE PROVIDER )

            องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสาร ทาง Internet  ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้ Internet ทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domainหรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Pageมาฝากเพื่อขายสินค้า

         

        ขั้นตอนการทำธุระกรรม (Transaction)

        จะเริ่มตั้งแต่การทำคำสั่งซื้อ การชำระเงินค่าสินค้า ไปจนการจัดส่งสินค้า ได้ทำการเลือกสินค้าใดๆไว้บ้างแล้วในตะกร้า รวมค่าสินค้าเป็นเท่าไร ภาษี ค่าจัด

        • การทำคำสั่งซื้อ(Ordering)

             เมื่อได้ข้อมูลและต้องการจะทำการซื้อสินค้าหรือจะทำธุระกรรมแล้วผู้ขายต้องมีระบบ รองรับอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Carts) ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่นแสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าส่งต่างๆ จะแสดงให้เห็น และสามารถให้ลูกค้าสามารถเก็บข้อมูลรายการสินค้าไว้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการ สั่งซื้อภายหลัง ตัวอย่างของระบบตะกร้าที่ได้รับการยอมรับว่าดีมากคือระบบของ Amazon.com

        • ระบบการชำระเงิน (Payment Systems)
        • ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งผู้ขาย และผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินจะมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้มากที่สุดที่สะดวกกับร้านค้าและลูกค้า เพราะในบางครั้งลูกค้าต้องการสินค้าแล้ว แต่ไม่สะดวกในเรื่องการชำระเงินก็จะไม่ซื้อสินค้าก็ได้  ในการพิจารณาเรื่องวิธีการชำระเงินนั้นให้พิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใคร เช่น เป็นลูกค้าภายในประเทศ กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน หรือกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัด วิธีที่สะดวกจะมีให้เลือกหลายวิธีเช่น ทางธนาณัติ การโอนเงินทางธนาคาร โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม และจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
        • การจัดส่งสินค้า
        • สินค้าจะมี 2 รูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้ (Tangible Goods) และสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods) ดังนั้นการจัดส่งจึงมี 2 รูปแบบคือ ส่งโดยผ่านผู้ให้บริการสำหรับสินค้าที่จับต้องได้ และในการจัดส่งต้องมีวิธีให้ลูกค้าเลือกได้หลายวิธีตามความต้องการเช่น ส่งพัสดุตามปกติ ส่ง EMS ส่งผ่านผู้ให้บริการรับส่งสินค้า(Courier) และต้องมีให้เลือกทั้งแบบส่งปกติ ส่งด่วน ส่งด่วนพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า ส่วนสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้น การจัดส่งจะทำการส่งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เลย เช่นดาวน์โหลดเพลง ซื้อข้อมูล การเป็นสมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น
        • การรักษาความปลอดภัยของระบบ
        • 1.Encryption
        •    เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัสระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ระบบนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต
        • 2.Authentication
        •     เป็นระบบตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้โดยการให้แจ้งข้อมูลในรูป  Password ของผู้ได้รับอนุญาต
        • 3.Firewalls
        •     เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hardware และ Soft ware โดย Firewallsจะวางอยู่ระหว่าง เครือข่ายภายในองค์กร (Local Network)และ เครือข่ายภายนอก (Internet) เพื่อป้องกันการบุกรุกจากจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Hacker)โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)
        •  4.PKI System
        •     (Public Infrastructure) เป็นกลุ่มข้อมูล Security Servicesซึ่งปกติจัดให้โดย Certificate (CA), Authentication, Encryption และ Certificate Management ใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุญแจสาธารณะ

        กฎหมายเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        • ขณะนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545 ซึ่งทำให้มีการรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับการทำเป็นหนังสือ คือการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมได้ กฎหมายฉบับนี้เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายฉบับนี้มีดังต่อไปนี้
        •  กฎหมายนี้รับรองการทำธุระกรรมด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เช่น โทรสาร โทรเลข ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมาตรา 7 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”

                            1. กฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคล

                                กฎหมายนี้จะทำให้การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์โดยขัดต่อวัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูลเป็นความผิดร้ายแรง นอกจากนี้การบุกรุกเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดูข้อมูลหรือนำไปเผยแพร่ต่อโดยมิได้ประกอบความผิดอื่นเช่น บุกรุกเข้าไป ในระบบร้านค้าแล้วนำหมายเลขบัตรเครดิตของลูกค้าใน เว็บไซต์ไปเผยแพร่โดยมิได้นำหมายเลขนั้นไปประกอบการทุจริต ซึ่งในอดีตจะมีความผิดเพียงการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นแต่กฎหมายนี้จะทำให้ผู้บุกรุกเข้าไปดูข้อมูลสามารถถูกลงโทษได้หนักขึ้น

                            2. กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

                                เป็นการมองว่าทรัพย์สินนั้นมิได้เป็นเพียงวัตถุที่มีรูปร่างเช่น บ้าน รถยนต์ เท่านั้นแต่ข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ก็ถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง ดังนั้นการบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขโมย แก้ไข ดัดแปลง หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์เหล่านี้ถือเป็นอาชญากรรมที่สามารถลงโทษตามกฎหมายได้

                            3. กฎหมายโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

                                ปัจจุบันการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในประเทศไทยนั้นเช่น โอนเงินข้ามธนาคาร หรือถอนเงินจากตู้ ATM นั้นใช้สัญญาที่เป็นกระดาษที่มีการลงนามก่อนทำ ธุระกรรม หรือระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวกำกับเท่านั้น ทำให้การใช้งานถูกจำกัด และไม่พร้อมที่จะตอบสนองระบบชำระเงินแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ไทยต้องมีกฎหมายนี้เพื่อเสริมให้ ธุระกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความคล่องตัวขึ้น

                            4. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78

                                การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้คือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ให้เกิดความทั่วถึงทั้งประเทศ ทั้งนี้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงเท่าเทียมกันทั่วประเทศ

         

        guest profile guest

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)

        รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)

        รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)

        รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)

        รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

        ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B2G) คือ รูปแบบการจำหน่ายขั้นตอนในกระบวนการขาย

          1. การหาข้อมูลสินค้า
          2. การตรวจสอบราคา และคุณสมบัติของสินค้า
          3. การสั่งซื้อสินค้า
          4. การตรวจสอบยืนยันราคา และสินค้าคงคลัง
          5. การออกแบบใบสั่งซื้อ
          6. การกำหนดเวลาส่งสินค้า
          7. การออกใบเสร็จรับเงิน
          8. การส่งสินค้า
          9. ส่งใบเสร็จรับเงิน
          10. การชำระเงิน

        ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย

          1. เปลี่ยนโครงสร้างการค้ารูปแบบใหม่ไปสู่ระบบดิจิทอล
          2. ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
          3. เสียเปรียบดุลการค้าต่างชาติที่พัฒนาทางเทคโนโลยีไปสูงกว่า
          4. ยังไม่มีกฏหมายที่ใช้บังคับการทำผิดบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง หรือคุ้มครองข้อมูลการซื้อขายที่ชัดเจน
          5. การส่งเสริมจากรัฐบาลเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปอย่างไม่เร่งร้อน
          6. ความไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัยของ e-commerce

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

          1. B to G (Business to Government)
          2. B to B (Business to Business)
          3. B to C (Business to Customer)
          4. C to C (Customer to Customer)
          5. G to C (Government to Customer)

        องค์ประกอบของ e-Commerce

          1. ผู้ซื้อ (Customer)
          2. ผู้ขาย (Warehouse หรือ โกดังสินค้า)
          3. ระบบชำระเงิน (Banking)
          4. ระบบขนส่ง (Shipping)

         

         

        guest profile guest
        นิยาม E-Commerce
        อีคอมเมิร์ซ(e-commerce) หรือการพาณิชย์อิเลคทรอนิค แท้จริงแล้วหมายถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเลคทรอนิค ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว แต่จริงๆแล้ว การค้าขายโดยผ่านทางเครื่องแฟกซ์ โดยเราแฟกซ์เอกสารการขายตรงออกไป และลูกค้าแฟกซ์ใบสั่งซื้อเข้ามาก็ถือเป็นอีคอมเมิร์ซ หรืออย่างพวกขายตรงทางโทรทัศน์อย่าง TV Media แล้วโทรเข้าไปซื้อก็เป็นการค้าแบบขายผ่านสื่ออิเลคทรอนิคเช่นกันหรืออย่างการขายผ่านเคเบิ้ลทีวีก็ใช่

        รูปแบบของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
        การทำการค้าบนเว็บนิยมแบ่งรูปแบบตามลักษณะของผู้ค้า และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าทำธุรกิจด้วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้คือ
        - Business to Business (B-to-B) : เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่ต้องส่งสินค้าเป็นล็อตขนาดใหญ่ ซึ่งการชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร เช่น T/T,L/C เป็นต้น
        - Business to Consumer (B-to-C) : เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกหรือภายในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือค้าส่งขนาดใหญ่ไว้ด้วย ซึ่งการชำระเงินส่วนใหญ่จะเป็นระบบบัตรเครดิต แต่อย่างไรก็ตาม การค้าแบบนี้มักทำให้เกิดการค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ แลหลายบริษัทฯ มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกัน
        - Consumer to Consumer (C-to-C) : เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากที่เดียวที่เปิดเว็บไซต์มาเพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ซึ่งผู้พัฒนาอาจเป็นเพียงนักเรียก นักศึกษาเท่านั้น

        การแบ่งกลุ่มข้างต้นนี้ ถือเป็นแนวทางคร่าวๆ ในการตัดสินใจว่าจะเลือกเดินในทางใดในการทำธุรกิจบนเว็บ ซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัวในขณะที่เราเองต้องประเมินตัวเองว่า จะวางตนอย่างไร

        ในยุคที่โลกกำลังก้าวสู่คริสตศตวรรษใหม่ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรุนแรง รวดเร็ว จนกล่าวได้ว่า หากผู้ใด หรือประเทศใด ไม่อาจติดตามกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างทันท่วงที ย่อมตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและพ่ายแพ้บนเวทีการแข่งขันอันเข้มข้นในที่สุด
        คาดกันว่า ในคริสตศตวรรษที่ 21 การค้าขายนานาชนิดจะเกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ E-Commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่คนไทยจำต้องรู้เท่าทันเพื่อให้สามารถรับมือกับเทคโนโลยีชนิดใหม่นี้ได้อย่างทันท่วงที

        ผลกระทบทางเศรษฐกิจส่วนรวมของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนโดยสกว. ได้นิยาม E-Commerce ว่าหมายถึง“การดำเนินการทางเศรษฐกิจใดๆ ที่กระทำบนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวอาจรวมถึง การออกแบบ การผลิต การโฆษณาสินค้า การค้าทั้งปลีกและส่ง และการทำธุรกรรม ตลอดจนการชำระเงิน ส่วนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาจรวมถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งเครือข่ายภายในองค์กร (Internal network) เครือข่ายเอกชน (private network) ระหว่างองค์กร หรือเครือข่ายสาธารณะ (public network) เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น เครือข่ายโทรทัศน์ และเครือข่ายโทรศัพท์ เป็นต้น

        E-Commerce โดยเฉพาะที่ค้าขายกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และการกำหนดนโยบายของรัฐบาลประเทศต่างๆ รวมทั้งส่งผลต่อกฎหมาย การเมือง สังคม
        วัฒนธรรม ตลอดจนมโนทัศน์ของประชาชนต่อสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า เงินตรา และการพาณิชย์ เป็นต้น

        ในด้านเศรษฐกิจส่วนรวม E-Commerce จะส่งผลกระทบต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทย มีผลต่อการเปิดเสรีการค้าและบริการ ต่อนโยบายการเงินการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ (information infrastructure) นอกจากนี้ E-Commerce ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจรายสาขา (sectoral economy) หลายสาขา โดยเฉพาะในสาขาบริการ เช่น ธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ การประกันภัย การค้าปลีก และการท่องเที่ยว

        ในด้านสังคม E-Commerce จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค อาจส่งเสริมให้เกิดสารสนเทศที่ก่อปัญหา (harmful content) และปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ในด้านการเมือง E-Commerce ยังจะส่งผลต่อความมั่นคงทางการเมือง และการทหารจากปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล

        เมื่อ E-Commerce เชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้หน่วยราชการไทยหลายแห่งต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ E-Commerce ยังเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับสังคมไทย ทำให้แนวนโยบายเรื่องนี้ยังคงไม่ชัดเจน และอยู่ในสภาพของการลองผิดลองถูก คณะวิจัยพบว่าปัญหา E-Commerce เป็นเรื่องที่มีความเร่งด่วนสูง แต่ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นต่างๆ เหล่านี้

        guest profile guest

        รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                 การค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้นมีหลายรูปแบบ ทำให้สามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ 
        ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
        คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น 
                    
        ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป                                                                 
        ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C)
        ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น         
                    
        ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th
                    
        ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย




        รูปแสดงตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง B2B, B2C

                 จากรูปจะเห็นว่า บริษัท ก.ยนต์การ เชื่อมต่อระบบสำนักงานส่วนหลังกับ ส.ชิ้นส่วนยนต์ ซึ่งถือเป็น Supplier ซื้อชิ้นส่วนมาผลิตต่อและเชื่อมต่อกับบริษัทผลิตรถยนไทย จำกัด ซึ่งจัดเป็นลูกค้าซื้อชิ้นส่วนต่อจาก ก.ยนต์การ นำไปใช้ประกอบในสินค้าของบริษัทผลิตรถไทย(ส่วนนี้จัดเป็น B2B) และในขณะเดียวกัน ก.ยนต์การ
        ก็ได้นำชิ้นส่วนบางส่วนมาใช้ในการผลิตสินค้าจำหน่ายให้กับลูกค้ารายย่อยพร้อมกันด้วย ผ่านทางเว็บไซต์ ของบริษัท(ส่วนนี้จัดเป็น B2C)
            จากการแบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ 
        ๑.
        การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล
        การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
        ๒.
        การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือ การใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
        ๓.
        การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

        ขอบคุณที่มา http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/types.html

         

        guest profile guest

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) Smiley
        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่อ
        อิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคาร
        อิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับ
        กิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์
        อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
         

         

         

        รูปแบบของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส
        จำแนกตามรูปแบบการค้า
        Smileyรายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง
        Smiley
        ร้านค้าปลีก (E-Tailer) มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง
        Smileyการประมูลสินค้า (Auction) ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์แต่อาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์
        Smileyการประมูลเพื่อขาย (Forward Auction / Auction)
        Smileyการประมูลเพื่อซื้อ (Reverse Auction)
        Smileyการประกาศขายสินค้าผ่านทางเว็บบอร์ด (Web Board) เว็บไซต์ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
        Smileyตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เว็บไซต์ซื้อขายสินค้าเฉพาะเรื่อง เช่น ตลาดไท ซึ่ง เป็นสื่อกลางสำหรับสินค้าเกษตร เว็บไซต์ (
        www.foodmarketexchange.com) Smileyเป็นตัวอย่างตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย


         ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aofkung&month=09-2009&date=12&group=6&gblog=4

         

         

         

         

        guest profile guest
        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
             แบ่งกันตามความสัมพันธ์ทางการตลาดได้ 3 รูปแบบดังนี้
        1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก


        ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (B2B : Business to Business)
        ที่มา : http://www.logisticsexchange.net/th/register.php

        2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล


        ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (C2C : Consumer to Consumer)
        http://www.boardofinnovation.com/business-model-examples/the-broker

        3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า


        การติดต่อระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค
        ที่มา : http://www.b2ccreation.com/images/B2C-eCommerce.jpg


        ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
        • ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
        • ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
        • ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
        • ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
        • ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
        • ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
        • ลงประกาศตามกระดานข่าว
        • จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
        • โฆษณาผ่านอีเมล์
        • แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
        • ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
        • การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
        • ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
        • ต้องรักษาความลับได้
        • เชื่อถือได้
        • พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
        • ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
        • สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
        • สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
        • software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
        • ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย


        guest profile guest

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

                        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Commerce ที่นิยมเรียกย่อๆว่า E-Commerce คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในคำจำกัดนี้มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่เป็นหัวใจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจและ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         

        รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1.       รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) เป็นร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพจน์ให้กับบริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง การสั่งซื้อมักกระทำผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โทรสาร เพราะร้านค้ามักไม่ระบุราคาในเว็บไซต์ แต่ต้องการเจรจาต่อตรองกับลูกค้า เมื่อตกลงซื้อขายแล้วการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบการค้าดั้งเดิมคือโอนเงินทางธนาคาร หรือเปิด L/C

        2.       ร้านค้าปลีก (E-Tailer) แบบจำลองธุรกิจประเภทนี้ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แกผู้บริโภคโดยตรง เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เพื่อเมความสะดวกให้กับผู้ซื้อ

        3.       การประมูลสินค้า (Auction) ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์แต่อาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดนยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์ ลักษณะการประมูลเป็นได้สองทาง คือ ผู้ขายเสนอขายก่อน แล้วให้ผู้ซื้อแข่งขันกันเสนอราคาซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ซื้อสินค้า เช่นเดียวกับการประมูลปกติ เว็บไซต์ประมูลที่ให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ eBay.com Amazon.com และอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอซื้อก่อน แล้วให้ผู้ขายแข่งขันเสนอราคาขายภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาต่ำสุดจะได้รับสิทธิ์ขายสินค้านั้นกับผู้ซื้อ การประมูลประเภทหลังนี้เรียกว่า Reverse Auction หรือการประมูลแบบย้อนหลัง ตัวอย่างเว็บไซต์ได้แก่ Priceline.com นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีปริมาณการสั่งซื้อมาก เช่น บริษัท เยเนอรัลมอร์เตอร์ หรือ จีอี อาจสร้างเว็บไซต์เพื่อทำการจัดซื้อโดยให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขาย อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Procuerment ในประเทศไทยมีเว็บไซต์ Pantavanij.com ซึ่งเป็นการรวมตัวการจัดซื้อของกลุ่มธุรกิจเช่น เจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของรูปแบบธุรกิจนี้

        4.       การประกาศขายสินค้า (Web board) เว็บไซต์ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ชุมชนหลายแห่ง เช่น Pantip.com Sanook.com จึงมักจัดให้มีเว็บบอร์ดเฉพาะสำหรับซื้อสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คล้ายกับลักษณะโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ต้องการขายมักจะเป็นผู้ลงประกาศข้อความนั้น และให้เบอร์โทรศัพท์หรือ E-mail เพื่อผู้ซื้อติดต่อเนื่องจากการค้าส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เมื่อตกลงราคากันเรียบร้อย ผู้ขายจะนัดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อพร้อมรับชำระเงินทันที

        5.       ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) การสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเองนั้นแม้จะมีค่าใช้จ่ายการสร้างไม่สูงมากนัก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อดึงให้ลูกค้าสนใจเข้ามาที่เว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์ชุมชนที่มีผู้ชายสามารถลงประกาศขายสินค้าได้แม้จะมีผู้เข้าชมมากแต่ลักษณะของผู้เข้าชมมีความหลากหลายทำให้โอกาสที่จะพบผู้สนใจสินค้ามีต่ำ จึงเกิดการตั้งเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อซื้อขายสิน้าเฉพาะเรื่องขึ้นมากเช่นเดียวกับตลาดไทยที่เป็นตลาดกลางสำหรับสินค้าเกษตรเว็บไซต์ www.foodmarketexchange.com เป็นตัวกลางของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย โดยผู้ขาย้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านั้นก่อนให้บริการ

        6.       การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) สำหรับองค์กรที่นำมาใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์       (Electronic  Banking) การชำระเงินทางออนไลน์ (Online Bill-Payment) ตลาดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Job Market) เป็นต้น

        7.       รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีแก่หน่วยงานราชการด้วย

         

         

        ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        คู่ค้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ

        - ธุรกิจ (Business)

        - รัฐบาล (Government)

        - ผู้บริโภคหรือประชาชน (Customer/Citizen)

        สามารถจัดประเภทตามลักษณะคู่ค้าโดยได้ส่วนผสม 6 ประเภทดังนี้

        ธุรกิจ (Business)

        รัฐบาล
        (Government)

        ผู้บริโภค/ประชาชน

        ธุรกิจ (Business)

        B2B

        B2G

        B2C

        รัฐบาล (Government)

        G2B

        G2G

        G2C

        ผู้บริโภค/ประชาชน

        C2B

        C2G

        C2C

         

        1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) หมายถึง การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์สั่งซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็น Supplier หรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่ง ผ่านระบบ EDI  โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business  (B2B)

        www.tesco.co.uk

        www.cementhaionline.com

        www.boeing.com

        www.value.co.th

         

        2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล(Business-to-Government หรือ B2G)หมายถึง เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐบาลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น

                        " การประมูลออนไลน์ โดยรัฐบาลดำเนินการจัดซื้อ โดยธุรกิจยื่นแบบประกวดราคาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

                        " เว็บไซต์ของกรมสรรพากรอนุญาตให้ธุรกิจสามารถยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.30) หรือ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทสามารถค้นหาและจองชื่อได้

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Government  (B2G)

        www.gprocurement.go.th

        www.rd.go.th

         

        3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับบริโภค(Business-to-Consumer หรือ B2C) หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Consumer  (B2C)

        www.abcjewelry.co.th

        www.pizza.co.th

         

        4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government-to-Government หรือ G2G) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยและต่างประเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Government-to-Government  (G2G)

        www.cgd.go.th 

         

        5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government-to-Citizen หรือ G2C) เป็นการให้บริการของหน่วยงานราชการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Government-to-Citizen  (G2C)

        www.rd.go.th

         

        6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-Consumer  (C2C)

        www.thaisecondhand.com

        www.ebay.com

         

        ที่มา : จากหนังสือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

        guest profile guest

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

        ความเป็นมา

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

        ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

        E-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง รูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นที่จะต้องพบหน้ากันโดยตรงก็สามารถติดต่อซื้อ ขายสินค้าหรือบริการนั้นได้

        ปัจจุบันอาจพบเห็น รูปแบบการทำการค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หลายลักษณะด้วยกัน เช่น ระบบโทรศัพท์บ้าน (เช่น บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์) ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มักเรียกบริการนี้ว่า Mobile-Commerce หรือ M-Commerce มากกว่า) รวมถึงระบบการซื้อขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ซึ่งในเนื้อหาในบทนี้จะพูดถึง E-Commerce ที่ใช้ช่องทางของอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือเท่านั้น ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดต่อไป

         

        ความสำคัญของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        1. ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุน ของธุรกิจต่ำลง

        2. ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด

        3. เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก

        4. มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        5. สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

        6. สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market

        7. ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา

        8. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

        9. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่ รู้จักของคนทั่วโลก

        10.สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย

         

        ประเภทของธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต

        สามารถจำแนกประเภทของธุรกิจได้จากรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

        1.  ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า (brick-and-mortar business) เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีหน้าร้าน แต่จะไม่มีการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะนี้

        2.  ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า (click-and mortar business) เป็นธุรกิจที่มีร้านค้ารวมทั้งร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจปกติ

        3.  ธุรกิจแบบคลิกและคลิก (click-and-click business) เป็นธุรกิจไม่มีร้านค้า มีเฉพาะบนเว็บเท่านั้น

        หมวดหมู่ของสินค้าและการให้บริการ

        -       ธุรกิจสื่อสาร

        -       ธุรกิจการโฆษณา

        -       ธุรกิจการซื้อและจัดส่งสินค้า

        -       ธุรกิจการศึกษาทางไกล

        -       ธุรกิจฐานข้อมูลออนไลน์

        -       ธุรกิจการประมูลสินค้า

        -       ธุรกิจศูนย์การค้าอิเล็กทรอนิกส์

        -       ธุรกิจด้านการเงิน

        -       ธุรกิจให้บริการด้านการท่องเที่ยว

        -       ธุรกิจซื้อขายหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น

        2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค

        3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล

        4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

        5. ภาครัฐกับประชาชน  ( Government to Customer ) หรือ G to C หรือ G2C

        ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

         

        โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. หน้าร้าน ( Storefront )  เพื่อแสดงข้อมูลสินค้าทั้งหมดของสินค้า รวมทั้งระบบค้นหาข้อมูลของร้านค้า

        2. ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ ( Shopping Cart System ) เป็นระบบต่อเนื่องจากหน้าร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสินค้าโดยคลิกข้อความสั่งซื้อ

        3. ระบบชำระเงิน ( Payment System )  มีวิธีการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่นโอนเงินเข้าบัญชี การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

        4. ระบบสมาชิก ( Member System ) มีการรับสมาชิกเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร สินค้าใหม่ของร้าน

        5. ระบบขนส่ง ( Transportation ) เป็นระบบจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีตัวเลือกหลายทางให้ลูกค้า

        6. ระบบติดตามคำสั่งซื้อ ( Order Tracking system ) เป็นระบบติดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

           

        กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

          1. ค้นหาข้อมูล  ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการแล้วนำข้อมูลสินค้าแต่ละร้านค้ามาเปรียบเทียบกัน โดยเครื่องมือที่ลูกค้าใช้ในการค้นหาเว็บไซต์ที่นิยม คือเครื่องมือค้นหา หรือที่เรียกว่า Search Engines

        2. สั่งซื้อสินค้า  เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนำรายการสินค้าที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า และจำมีการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าและปริมาณที่สั่งได้

        3. ชำระเงิน  เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่ต้องการ ในขั้นถัดมาจะเป็นการกำหนดวิธีการชำระเงิน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของลุกค้า

        4. ส่งมอบสินค้า  เมื่อกำหนดวิธีการชำระเงินเรียบร้อย จะเข้าสู่การเลือกวิธีขนส่งสินค้า ซึ่งการส่งมอบสินค้าอาจจัดส่งให้ลุกค้าโดนตรง การใช้บริการบริษัทขนส่ง

        5. บริการหลังการขาย  หลังการเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องมีบริการขายหลังการขายให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะมีการติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

         

        ที่มา  http://armka2518.exteen.com/20090121/entry

        guest profile guest

        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)

        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)

        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)

        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)

        - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

        รูปแบบการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น

        2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค

        3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล

        4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

        กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
        1. ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
        1. ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
        1. ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)

         

        e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน

        เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20

        1. ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
        1. ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง
        1. เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
        1. ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
        1. แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
        1. แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย

         

        หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ

        1. สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
        1. วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
        1. เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
        1. จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
        1. ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร เช่น Fedex, DHL, Logistic เป็นต้น
        1. สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
        1. ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
        1. สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
        1. โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง

        10. คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร

        11. เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน

        12. ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร

        13. สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า

        14. หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่

        15. เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด

        16. ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่

        17. ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ

        18. ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด

        19. การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง

        20. สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก

        21. ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมายด้าน IT

        ความสำคัญของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง
        1. ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
        1. เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก

        4.   มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        5.   สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

        6.   สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market

        7.   ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา

        8.   สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

        9.   สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

        10. สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย

        ที่มา      http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-070605101212716

                    http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-070605095912706

                    http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-070605101212717

        guest profile guest

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

                        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Commerce ที่นิยมเรียกย่อๆว่า E-Commerce คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในคำจำกัดนี้มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่เป็นหัวใจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจและ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         

        รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) เป็นร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพจน์ให้กับบริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง การสั่งซื้อมักกระทำผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โทรสาร เพราะร้านค้ามักไม่ระบุราคาในเว็บไซต์ แต่ต้องการเจรจาต่อตรองกับลูกค้า เมื่อตกลงซื้อขายแล้วการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบการค้าดั้งเดิมคือโอนเงินทางธนาคาร หรือเปิด L/C

        2. ร้านค้าปลีก (E-Tailer) แบบจำลองธุรกิจประเภทนี้ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แกผู้บริโภคโดยตรง เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เพื่อเมความสะดวกให้กับผู้ซื้อ

        3. การประมูลสินค้า (Auction) ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์แต่อาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดนยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์ ลักษณะการประมูลเป็นได้สองทาง คือ ผู้ขายเสนอขายก่อน แล้วให้ผู้ซื้อแข่งขันกันเสนอราคาซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ซื้อสินค้า เช่นเดียวกับการประมูลปกติ เว็บไซต์ประมูลที่ให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ eBay.com Amazon.com และอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอซื้อก่อน แล้วให้ผู้ขายแข่งขันเสนอราคาขายภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาต่ำสุดจะได้รับสิทธิ์ขายสินค้านั้นกับผู้ซื้อ การประมูลประเภทหลังนี้เรียกว่า Reverse Auction หรือการประมูลแบบย้อนหลัง ตัวอย่างเว็บไซต์ได้แก่ Priceline.com นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีปริมาณการสั่งซื้อมาก เช่น บริษัท เยเนอรัลมอร์เตอร์ หรือ จีอี อาจสร้างเว็บไซต์เพื่อทำการจัดซื้อโดยให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขาย อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Procuerment ในประเทศไทยมีเว็บไซต์ Pantavanij.com ซึ่งเป็นการรวมตัวการจัดซื้อของกลุ่มธุรกิจเช่น เจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของรูปแบบธุรกิจนี้

        4. การประกาศขายสินค้า (Web board) เว็บไซต์ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ชุมชนหลายแห่ง เช่น Pantip.com Sanook.com จึงมักจัดให้มีเว็บบอร์ดเฉพาะสำหรับซื้อสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คล้ายกับลักษณะโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ต้องการขายมักจะเป็นผู้ลงประกาศข้อความนั้น และให้เบอร์โทรศัพท์หรือ E-mail เพื่อผู้ซื้อติดต่อเนื่องจากการค้าส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เมื่อตกลงราคากันเรียบร้อย ผู้ขายจะนัดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อพร้อมรับชำระเงินทันที

        5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) การสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเองนั้นแม้จะมีค่าใช้จ่ายการสร้างไม่สูงมากนัก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อดึงให้ลูกค้าสนใจเข้ามาที่เว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์ชุมชนที่มีผู้ชายสามารถลงประกาศขายสินค้าได้แม้จะมีผู้เข้าชมมากแต่ลักษณะของผู้เข้าชมมีความหลากหลายทำให้โอกาสที่จะพบผู้สนใจสินค้ามีต่ำ จึงเกิดการตั้งเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อซื้อขายสิน้าเฉพาะเรื่องขึ้นมากเช่นเดียวกับตลาดไทยที่เป็นตลาดกลางสำหรับสินค้าเกษตรเว็บไซต์ www.foodmarketexchange.com เป็นตัวกลางของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย โดยผู้ขาย้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านั้นก่อนให้บริการ

        6. การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) สำหรับองค์กรที่นำมาใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์                 (Electronic  Banking) การชำระเงินทางออนไลน์ (Online Bill-Payment) ตลาดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Job Market) เป็นต้น

        7. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีแก่หน่วยงานราชการด้วย

         

         

        ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        คู่ค้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ

        - ธุรกิจ (Business)

        - รัฐบาล (Government)

        - ผู้บริโภคหรือประชาชน (Customer/Citizen)

        สามารถจัดประเภทตามลักษณะคู่ค้าโดยได้ส่วนผสม 6 ประเภทดังนี้

        ธุรกิจ (Business)

        รัฐบาล
        (Government)

        ผู้บริโภค/ประชาชน

        ธุรกิจ (Business)

        B2B

        B2G

        B2C

        รัฐบาล (Government)

        G2B

        G2G

        G2C

        ผู้บริโภค/ประชาชน

        C2B

        C2G

        C2C

         

        1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) หมายถึง การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์สั่งซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็น Supplier หรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่ง ผ่านระบบ EDI  โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business  (B2B)

        www.tesco.co.uk

        www.cementhaionline.com

        www.boeing.com

        www.value.co.th

         

        2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล(Business-to-Government หรือ B2G)หมายถึง เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐบาลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น

        " การประมูลออนไลน์ โดยรัฐบาลดำเนินการจัดซื้อ โดยธุรกิจยื่นแบบประกวดราคาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

        " เว็บไซต์ของกรมสรรพากรอนุญาตให้ธุรกิจสามารถยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.30) หรือ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทสามารถค้นหาและจองชื่อได้

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Government  (B2G)

        www.gprocurement.go.th

        www.rd.go.th

         

        3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับบริโภค(Business-to-Consumer หรือ B2C) หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Consumer  (B2C)

        www.abcjewelry.co.th

        www.pizza.co.th

         

        4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government-to-Government หรือ G2G) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยและต่างประเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Government-to-Government  (G2G)

        www.cgd.go.th 

         

        5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government-to-Citizen หรือ G2C) เป็นการให้บริการของหน่วยงานราชการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Government-to-Citizen  (G2C)

        www.rd.go.th

         

        6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-Consumer  (C2C)

        www.thaisecondhand.com

        www.ebay.com

         

        ที่มา : จากหนังสือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

        guest profile guest

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

                        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Commerce ที่นิยมเรียกย่อๆว่า E-Commerce คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในคำจำกัดนี้มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่เป็นหัวใจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจและ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         

        รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) เป็นร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพจน์ให้กับบริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง การสั่งซื้อมักกระทำผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โทรสาร เพราะร้านค้ามักไม่ระบุราคาในเว็บไซต์ แต่ต้องการเจรจาต่อตรองกับลูกค้า เมื่อตกลงซื้อขายแล้วการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบการค้าดั้งเดิมคือโอนเงินทางธนาคาร หรือเปิด L/C

        2. ร้านค้าปลีก (E-Tailer) แบบจำลองธุรกิจประเภทนี้ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แกผู้บริโภคโดยตรง เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เพื่อเมความสะดวกให้กับผู้ซื้อ

        3. การประมูลสินค้า (Auction) ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์แต่อาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดนยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์ ลักษณะการประมูลเป็นได้สองทาง คือ ผู้ขายเสนอขายก่อน แล้วให้ผู้ซื้อแข่งขันกันเสนอราคาซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ซื้อสินค้า เช่นเดียวกับการประมูลปกติ เว็บไซต์ประมูลที่ให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ eBay.com Amazon.com และอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอซื้อก่อน แล้วให้ผู้ขายแข่งขันเสนอราคาขายภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาต่ำสุดจะได้รับสิทธิ์ขายสินค้านั้นกับผู้ซื้อ การประมูลประเภทหลังนี้เรียกว่า Reverse Auction หรือการประมูลแบบย้อนหลัง ตัวอย่างเว็บไซต์ได้แก่ Priceline.com นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีปริมาณการสั่งซื้อมาก เช่น บริษัท เยเนอรัลมอร์เตอร์ หรือ จีอี อาจสร้างเว็บไซต์เพื่อทำการจัดซื้อโดยให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขาย อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Procuerment ในประเทศไทยมีเว็บไซต์ Pantavanij.com ซึ่งเป็นการรวมตัวการจัดซื้อของกลุ่มธุรกิจเช่น เจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของรูปแบบธุรกิจนี้

        4. การประกาศขายสินค้า (Web board) เว็บไซต์ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ชุมชนหลายแห่ง เช่น Pantip.com Sanook.com จึงมักจัดให้มีเว็บบอร์ดเฉพาะสำหรับซื้อสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คล้ายกับลักษณะโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ต้องการขายมักจะเป็นผู้ลงประกาศข้อความนั้น และให้เบอร์โทรศัพท์หรือ E-mail เพื่อผู้ซื้อติดต่อเนื่องจากการค้าส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เมื่อตกลงราคากันเรียบร้อย ผู้ขายจะนัดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อพร้อมรับชำระเงินทันที

        5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) การสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเองนั้นแม้จะมีค่าใช้จ่ายการสร้างไม่สูงมากนัก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อดึงให้ลูกค้าสนใจเข้ามาที่เว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์ชุมชนที่มีผู้ชายสามารถลงประกาศขายสินค้าได้แม้จะมีผู้เข้าชมมากแต่ลักษณะของผู้เข้าชมมีความหลากหลายทำให้โอกาสที่จะพบผู้สนใจสินค้ามีต่ำ จึงเกิดการตั้งเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อซื้อขายสิน้าเฉพาะเรื่องขึ้นมากเช่นเดียวกับตลาดไทยที่เป็นตลาดกลางสำหรับสินค้าเกษตรเว็บไซต์ www.foodmarketexchange.com เป็นตัวกลางของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย โดยผู้ขาย้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านั้นก่อนให้บริการ

        6. การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) สำหรับองค์กรที่นำมาใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์                 (Electronic  Banking) การชำระเงินทางออนไลน์ (Online Bill-Payment) ตลาดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Job Market) เป็นต้น

        7. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีแก่หน่วยงานราชการด้วย

         

         

        ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        คู่ค้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ

        - ธุรกิจ (Business)

        - รัฐบาล (Government)

        - ผู้บริโภคหรือประชาชน (Customer/Citizen)

        สามารถจัดประเภทตามลักษณะคู่ค้าโดยได้ส่วนผสม 6 ประเภทดังนี้

        ธุรกิจ (Business)

        รัฐบาล
        (Government)

        ผู้บริโภค/ประชาชน

        ธุรกิจ (Business)

        B2B

        B2G

        B2C

        รัฐบาล (Government)

        G2B

        G2G

        G2C

        ผู้บริโภค/ประชาชน

        C2B

        C2G

        C2C

         

        1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) หมายถึง การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์สั่งซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็น Supplier หรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่ง ผ่านระบบ EDI  โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business  (B2B)

        www.tesco.co.uk

        www.cementhaionline.com

        www.boeing.com

        www.value.co.th

         

        2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล(Business-to-Government หรือ B2G)หมายถึง เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐบาลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น

        " การประมูลออนไลน์ โดยรัฐบาลดำเนินการจัดซื้อ โดยธุรกิจยื่นแบบประกวดราคาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

        " เว็บไซต์ของกรมสรรพากรอนุญาตให้ธุรกิจสามารถยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.30) หรือ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทสามารถค้นหาและจองชื่อได้

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Government  (B2G)

        www.gprocurement.go.th

        www.rd.go.th

         

        3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับบริโภค(Business-to-Consumer หรือ B2C) หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Consumer  (B2C)

        www.abcjewelry.co.th

        www.pizza.co.th

         

        4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government-to-Government หรือ G2G) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยและต่างประเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Government-to-Government  (G2G)

        www.cgd.go.th 

         

        5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government-to-Citizen หรือ G2C) เป็นการให้บริการของหน่วยงานราชการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Government-to-Citizen  (G2C)

        www.rd.go.th

         

        6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง

        ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-Consumer  (C2C)

        www.thaisecondhand.com

        www.ebay.com

         

        ที่มา : จากหนังสือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

        guest profile guest
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce)
        คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทาง เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรืออินเทอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร การลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า ทำให้ลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาได้

        กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        1. ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
        2. ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
        3. ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
        4. ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        1. B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท
        2. B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล
        3. C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล
        4. G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค
        5. G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร



        ที่มา http://www.thaiabc.com/article/ecommerce.htm#link
        guest profile guest

        รูปแบบของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        แบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มดังนี้ คือ

        1. Business to Business (B-to-B)
        เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร

        2. Business to Consumer (B-to-C)
        เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลก หรือภายในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้ อาจจะรวมการค้าปลีก แบบล็อตใหญ่ หรือเหมาโหล หรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย

        3. Consumet to Consumer (C-to-C)
        เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และลักษณะการค้าแบบ C-to-C จะมีแนวโน้มมากขึ้น ในปัจจุบัน

        http://mathayom.brr.ac.th/~narong/goodWin8riew/e-Commerch/e_commerch.htm

        guest profile guest
        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
             แบ่งกันตามความสัมพันธ์ทางการตลาดได้ 3 รูปแบบดังนี้
        1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก


        ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (B2B : Business to Business)
        ที่มา : http://www.logisticsexchange.net/th/register.php

        2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล


        ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (C2C : Consumer to Consumer)
        http://www.boardofinnovation.com/business-model-examples/the-broker

        3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า


        การติดต่อระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค
        ที่มา : http://www.b2ccreation.com/images/B2C-eCommerce.jpg


        ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
        • ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
        • ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
        • ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
        • ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
        • ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
        • ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
        • ลงประกาศตามกระดานข่าว
        • จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
        • โฆษณาผ่านอีเมล์
        • แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
        • ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
        • การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
        • ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
        • ต้องรักษาความลับได้
        • เชื่อถือได้
        • พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
        • ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
        • สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
        • สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
        • software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
        • ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย


        แผนภาพ แสดงการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
        ที่มา : http://www.ecommerce.or.th/newsletter/dec1999.html
        guest profile guest

        ความหมาย

        Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

        อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce

                 อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
        E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ

        • การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
        • การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
        • การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
        • บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย

        บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce

                เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
        E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้
        บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

        ความปลอดภัยกับ E-Commerce

                ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
        ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

        การชำระเงินบน E-Commerce

                 จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
        สำหรับในประเทศไทย... ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer
        เพื่อ... สร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
        1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
        2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

        guest profile guest

        ความหมายของพาณิชณ์อิเล็กทรอนิกส์

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         

        รูปแบบการพาณิชณ์อิเล็กทรอนิกส์

        1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น

        2.ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค

        3.ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล

        4.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

         

         

        ข้อดีของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1.สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากต้องผ่านคนกลาง

        2.สามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากต้นทุนต่ำลง

        3.ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างและเร็วขึ้น

        4.เหมาะสำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใหม่หรือยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป

         

        วิธีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1.การฝากสินค้าขายของบน Shopping Mall (เป็นศูนย์รวมการขายสินค้าขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ตคล้ายกับศูนย์การค้า) เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย และสินค้าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องประชาสัมพันธ์หรือ Update ข้อมูลต่างๆ โดยวิธีการลงโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้า ทั้งในรูปแบบของการขายส่งและขายปลีก

        2.  สร้าง web Site ของตัวเอง เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้อง Update ข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่สามารถจัดหน้าร้าน และให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้ซื้อได้มากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการคิดค่าบริการในการลงโฆษณาสินค้า 

        ที่มา www.makewebeasy.com

         

        guest profile guest

        รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าตัวอย่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง การสั่งซื้อมักกระทำผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสาร เพราะร้านค้ามักไม่ระบุราคาในเว็บไซต์ แต่ต้องการเจรจาต่อรองลูกค้า เมื่อตกลงซื้อขายแล้วการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบการค้าดั้งเดิมคือโอนเงินทางธนาคาร หรือเปิด L/C

        2. ร้านค้าปลีก (E-Tailer) แบบจำลองธุรกิจประเภทนี้ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ซื้อ

        3. การประมูลสินค้า (Auction) ร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์แต่อาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์ ลักษณะการประมูลเป็นได้ทั้งสองทาง คือ ผู้ขายเสนอขายก่อน แล้วให้ผู้ซื้อแข่งขันกันเสนอราคาซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับสิทธิซื้อสินค้า เช่นเดียวกับการประมูลปกติ เว็บไซต์ประมูลที่ให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ eBay.com, Amazon.com และอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอซื้อก่อน และให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขายภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาขายต่ำสุดจะได้รับสิทธิขายสินค้านั้นกับผู้ซื้อ การประมูลประเภทหลังนี้จึงถูกเรียกว่า Reverse Auction หรือ การประมูลแบบย้อนกลับ ตัวอย่าง เว็บไซต์ได้แก่ Priceline.com นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีปริมาณการสั่งซื้อมาก เช่น บริษัท เยเนอรัลมอร์เตอร์ หรือ จีอี อาจสร้างเว็บไซต์เพื่อทำการจัดซื้อ โดยให้ผู้ขายแข่งกันเสนอราคาขาย อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Procurement ก็ได้ ในประเทศไทยมีเว็บไซต์ Pantavanij.com ซึ่งเป็นการรวบรวมการจัดซื้อของกลุ่มธุรกิจ เช่น เจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของรูปแบบธุรกิจนี้

        4. การประกาศขายสินค้า (Web Board) เว็บไซต์ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ชุมชนหลายแห่งเช่น pantip.com, sanook.com จึงมักจัดให้มีเว็บบอร์ดเฉพาะสำหรับซื้อขายสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คล้ายกับลักษณะโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ต้องการขายมักจะเป็นผู้ลงประกาศข้อความนั้น และให้เบอร์โทรศัพท์ หรือ E-mail เพื่อผู้ซื้อติดต่อเนื่องจากการค้าส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เมื่อตกลงราคากันเรียบร้อยผู้ขายจะนัดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อพร้อมชำระเงินทันที

        5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) การสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเองนั้นแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการสร้างไม่สูงมากนัก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อดึงให้ลูกค้าที่สนใจเข้ามาที่เว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์ชุมชนที่ผู้ขายสามารถลงประกาศขายสินค้าได้แม้จะมีผู้เข้าชมมาก แต่ลักษณะของผู้เข้าชมมีหลากหลายทำให้โอกาสที่จะพบผู้สนใจซื้อสินค้ามีต่ำ จึงเกิดการตั้งเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อซื้อสินค้าเฉพาะเรื่องขึ้นมาเช่นเดียวกับตลาดไทที่เป็นตลาดกลางสำหรับสินค้าเกษตรเว็บไซต์ www.foodmarketexchange.com เป็นตัวอย่างของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย โดยผู้ขายต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านี้ก่อนใช้บริการ

        รูปแบบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        1. ตัวกลางสารสนเทศ (Infomediaries) ผู้เล่นในกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นผู้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยตรง แต่ทำหน้าที่นำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน โดยอาจจะทำการสร้างตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนหลายรายเข้าด้วยกันในที่เดียว แล้วดำเนินการซื้อขายในรูปแบบที่ให้เลือกสินค้าจากแค็ตตาล็อก หรือรูปแบบการประมูลสินค้า ในกรณีของตัวกลางสารสนเทศในโลกดิจิตอล (Digital-World Infomadiaries) จะทำหน้าที่นำทางผู้ซื้อและผู้ขายไปสู่ตลาดซื้อขายอีกที่หนึ่ง เช่น Yahoo, Lycos เป็นต้น ส่วนตัวกลางสารสนเทศประเภทอื่นๆ ก็แบ่งได้ว่าเป็นตัวกลางสารสนเทศสำหรับผู้บริโภค (Consumer-Oriented Infomediaries) เช่น MySimon, AutoByTel, priceline.com หรือเป็นตัวกลางสำหรับธุรกิจ (Business- Oriented Infomediaries) เช่น MetalSite, buzzsaw.com ธุรกิจตัวกลางสารสนเทศเป็นธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการในโลกกายภาพ ใช้เพียงสารสนเทศเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ สิ่งของทางกายภาพที่เกี่ยวข้องก็มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น

        2. ผู้สร้างสินค้าหรือบริการ (Producers) ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยบริษัทที่เป็นผู้สร้างสินค้าหรือบริการขึ้นมาเอง เช่น Amazon ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีก, Dell ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ผู้สร้างสินค้าดิจิตอลก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน เช่น ผู้ผลิตบทเรียนออนไลน์ (elementk), ผู้ให้บริการทางการเงิน (eTrade) เป็นต้น ธุรกิจที่จัดในประเภทนี้จะถือเป็นผู้ขายและเป็นผู้รับผิดชอบต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกับตัวกลางสารสนเทศที่เป็นเพียงแค่ชี้ทางให้กับผู้บริโภคเพื่อไปหาผู้ขายอื่นๆ อีกทีหนึ่งเท่านั้น และตัวกลางสารสนเทศจะไม่ได้ถือว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบเต็มที่ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้อง

        3. ผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Enablers) ประกอบด้วยผู้เล่นหลายฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน บริษัทหรือองค์กรในกลุ่มนี้จะไม่ได้เข้าไปค้าขายหรือสร้างตลาดอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง แต่จะให้บริการหลายอย่างเพื่อช่วยให้การทำธุรกิจออนไลน์ประสบความสำเร็จ หน้าที่ที่หลากหลายเหล่านี้ ได้แก่

                        - เป็นผู้รับรองความน่าเชื่อถือของฝ่ายต่างๆ เช่น Verisign ฯลฯ

                        - ให้บริการจ่ายเงิน เช่น Visa, CyberCash ฯลฯ

                        - ให้บริการขนส่ง เช่น FedEx, UPS, DHL ฯลฯ

                        - บริหารการโฆษณาและการตลาดเช่น DoubleClick, CyberGold ฯลฯ

                        - วิจัยตลาดและรูปแบบธุรกิจพร้อมให้คำปรึกษา เช่น Forrester Research, IDC ฯลฯ

                        - สร้างองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านฮาร์ดแวร์ เช่น Intel, Dell, Sun ฯลฯ ด้านซอฟต์แวร์เช่น Oracle, Microsoft ฯลฯ ด้านระบบเครือข่าย เช่น Cisco, AT&T, Akamai ฯลฯ

                        - ให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Solution) ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ทำการติดตั้งระบบ ดูแลระบบในระยะยาว หรือบางบริษัทอาจให้บริการที่เพียงส่วนหนึ่งของทั้งหมดเท่านั้น บริษัทในกลุ่มนี้ ได้แก่ Loudcloud, IBM และบริษัทที่ปรึกษาด้าน IT ที่มีอยู่มากมาย ฯลฯ

                        - ประสานงานระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ เช่น CommerceNet, รัฐบาลประเทศต่างๆ ฯลฯ

        ที่มา:   หัวข้อรูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากหนังสือ E-Commerce เรียนรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (หน้า 10 - 12) พิมพ์ครั้งที่ 1ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ ลีมัคเดช

        ที่มา:   หัวข้อ รูปแบบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากหนังสือ พิชัยสงคราม E-Commerce (หน้า 97-100) ชื่อผู้แต่ง นภดล กมลวิลาศเสถียร

        guest profile guest

             พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
        ในโลกยุคไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีที่ได้
        รับความนิยมมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของหลายๆคน อินเตอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายในโลกไว้ด้วยกัน ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
        กับงานด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการศึกษา การแพทย์ การค้า สื่อโฆษณาและอื่นๆมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในทุกสาขาอาชีพ ในส่วนของ
        การค้านั้นอินเตอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เรียกย่อๆว่า
        E-Commerce
        หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หรือบางครั้งก็มีผู้เรียกกันง่ายๆว่า ธุรกิจดอทคอม
        ในความเป็นจริงการดำเนินธุรกิจการค้าที่มีการซื้อขายและการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของระบบอินเตอร์เน็ต
        โทรศัพท์ และโทรสาร หรือการค้าขายโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า EDI (Electronic Data Interchange)
        ถือว่าเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น การที่มีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า ทั้งยังสามารถดำเนินการได
        ้ตลอด 24 ชั่งโมง โดยไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมไหนในโลกก็สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี
        อินเตอร์เน็ตกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการนำเสนอข้อมูลข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตสู่สายตาคนทั่วโลกภายใน
        ระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการค้ามากขึ้น ทั้งยังก็ให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น และในปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการทางด้านต่างๆ
        ที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก เช่น การชำระเงินค่าสินค้าโดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ
        โอนเงินผ่านทางธนาคาร รวมถึงมีผู้ให้บริการทางด้านการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังทุกจุดหมายทั่วโลกได้อย่างงรวดเร็ว
        เช่น FedEx , DHL ทำให้ผู้ขายสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย จากที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นได้ว่า
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการดำเนินธุรกิจใน
        รูปแบบนี้ลงทุนไม่มากนัก ได้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง และสะดวกสบาย

        รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีรูปแบบการดำเนินการธุรกิจหลายรูปแบบ ดังนี้
        1. Business-to-Business (B2B)
        2. Business-to-Consumer (B2C)
        3. Consumer-to-Business (C2B)
        4. Consumer-to-Consumer (C2C)
        5. Business-to-Government (B2G)

        ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
        ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมาก
        ขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
        ได้มากมายหลายประการ ได้แก่
        1.
        ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของ
        บริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง
        และมาจากที่ต่างๆกัน
        2.
        ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
        3.
        ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้
        โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายใน
        องค์กรนั้นๆ
        4.
        แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ
        โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
        5.
        เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่ง
        ขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
        6.
        ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงิน
        เข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
        7.
        เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้น
        อยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่
        เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
        8.
        สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการ
        มีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่
        ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจาก
        ประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป(Member System)
        9.
        รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมลล์ใน
        การติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหา
        และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที

        สิ่งจำเป็นสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนประกอบหลายส่วนที่ทำให้ระบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ซึ่งสิ่งที่จำเป็น
        ที่ทำให้ระบบสามารถดำเนินการได้ก็คือ
        1.
        แหล่งที่มาของข้อมูล จะต้องทำการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลที่จะนำมาดำเนินธุรกิจ โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยว
        ข้องไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆก็ตาม เช่น เอกสารที่เป็นกระดาษ เอกสารที่เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
        2.
        ประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ซึ่งได้มาจากผู้ให้ข้อมูลต่างๆ เช่น บุคคลทั่วไป กลุ่มธุรกิจเล็กๆ หรือ
        องค์กรขนาดใหญ่ ควรที่จะมีหลักการและวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ควรที่จะมีความ
        สามารถในการที่จะเก็บข้อมูลได้มาก และหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บมาใช้งาน
        3.
        การจัดเตรียมข้อมูลของร้านค้า ในการดำเนินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์
        ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วก็ต้องทำการปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เสียก่อน
        4.
        การเตรียมข้อมูลของสินค้า จะต้องรวบรวมข้อมูลของสินค้าไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่ต้องมีขนาดเหมาะสม เตรียมชื่อ หมวดหมู่
        คำบรรยายรวมถึงขั้นตอนและวัสดุที่นำมาผลิตและราคาสินค้า
        5.
        การแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อความสะดวกและความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบออนไลน์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
        อย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ ข้อมูลของผู้จัดหา หรือข้อมูลของลูกค้าแต่ละราย
        บริการในการค้นหาข้อมูลเหล่านี้ในการค้าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัญชีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Catalog) ที่กรองข้อมูล (Information
        Filter)
        เครื่องค้นหา (Search Engine) และ Software Agent
        6.
        การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องการวิธีการในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆดังนั้นการชำระเงิน
        แบบอิเล็กทรอนิกส์จึงเกิดขึ้น การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ เงินตราดิจิตอล (Digital Currency) การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
        และอิเล็กทรอนิกส์เช็ค
        7.
        ระบบรักษาความปลอดภัย จะต้องสามารถป้องกันการโจรกรรมคุกคามและการฉ้อโกงจากกลุ่มต่างๆทั้งภายนอกและภายใน ดังนั้นระบบจะต้องถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้บริการด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        8.
        การเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ สิ่งแวดล้อมของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน มีกลุ่มบุคคลมากมายที่สามารถจะเข้าสู่ระบบการค้า
        อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อาจใช้เครื่องมือในการสื่อสารชนิดต่างๆกันในการเข้าสู่ระบบและค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
        ส่วนบุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา Palm Computer โทรศัพท์ประจำบ้าน เครื่อง PCT จานรับสัญญาณดาวเทียม ไมโครเวฟ
        หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือในระบบ GSM หรือ Digital 1800 (ในปัจจุบันมีการพัฒนาโปรโตคอลที่ชื่อว่า WAP หรือ
        Wireless Application Protocol
        เพื่อใช้ในการเรียกดูข้อมูลเว็บเพผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ) ดังนั้นเมื่อระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส
        ์เกิดการเจริญเติบโตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือในการรองรับการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบต้องมีกาารพัฒนาควบคู่ไปด้วย ปัญหาด้าน
        ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือความสามารถร่วมมือกันของระบบต่างๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ
        9.
        กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ปัญหาต่างๆของกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นแน่นอนที่ส่วนใหญ่ต้องเป็นกฎหมาย
        ที่ใช้บังคับในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายที่บังคับใช้บนอินเตอร์เน็ตยังเป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดนัก แต่จาก
        การ ที่มีการโต้เถียงและความพยายามในการแก้ไขกฎหมายต่างๆให้ดีขึ้น ทไให้รูปลักษณ์ของกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ภายในเครือข่าย
        อินเตอร์เน็ตมีหนทางที่ดีขึ้น ประเทศไทยก็มีร่างกฎหมายการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส
        และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ นอกจากนั้นในประเทศไทยยังมีข้อ
        โต้แย้งเรื่องภาษีสรรพากร

        guest profile guest
        อ้างอิง จาก guest เมื่อ 14/6/2553 8:58:00

             พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
        ในโลกยุคไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีที่ได้
        รับความนิยมมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของหลายๆคน อินเตอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายในโลกไว้ด้วยกัน ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
        กับงานด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการศึกษา การแพทย์ การค้า สื่อโฆษณาและอื่นๆมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในทุกสาขาอาชีพ ในส่วนของ
        การค้านั้นอินเตอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เรียกย่อๆว่า
        E-Commerce
        หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หรือบางครั้งก็มีผู้เรียกกันง่ายๆว่า ธุรกิจดอทคอม
        ในความเป็นจริงการดำเนินธุรกิจการค้าที่มีการซื้อขายและการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของระบบอินเตอร์เน็ต
        โทรศัพท์ และโทรสาร หรือการค้าขายโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า EDI (Electronic Data Interchange)
        ถือว่าเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น การที่มีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า ทั้งยังสามารถดำเนินการได
        ้ตลอด 24 ชั่งโมง โดยไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมไหนในโลกก็สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี
        อินเตอร์เน็ตกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการนำเสนอข้อมูลข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตสู่สายตาคนทั่วโลกภายใน
        ระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการค้ามากขึ้น ทั้งยังก็ให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น และในปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการทางด้านต่างๆ
        ที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก เช่น การชำระเงินค่าสินค้าโดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ
        โอนเงินผ่านทางธนาคาร รวมถึงมีผู้ให้บริการทางด้านการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังทุกจุดหมายทั่วโลกได้อย่างงรวดเร็ว
        เช่น FedEx , DHL ทำให้ผู้ขายสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย จากที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นได้ว่า
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการดำเนินธุรกิจใน
        รูปแบบนี้ลงทุนไม่มากนัก ได้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง และสะดวกสบาย

        รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีรูปแบบการดำเนินการธุรกิจหลายรูปแบบ ดังนี้
        1. Business-to-Business (B2B)
        2. Business-to-Consumer (B2C)
        3. Consumer-to-Business (C2B)
        4. Consumer-to-Consumer (C2C)
        5. Business-to-Government (B2G)

        ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
        ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมาก
        ขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
        ได้มากมายหลายประการ ได้แก่
        1.
        ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของ
        บริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง
        และมาจากที่ต่างๆกัน
        2.
        ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
        3.
        ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้
        โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายใน
        องค์กรนั้นๆ
        4.
        แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ
        โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
        5.
        เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่ง
        ขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
        6.
        ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงิน
        เข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
        7.
        เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้น
        อยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่
        เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
        8.
        สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการ
        มีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่
        ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจาก
        ประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป(Member System)
        9.
        รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมลล์ใน
        การติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหา
        และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที

        สิ่งจำเป็นสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนประกอบหลายส่วนที่ทำให้ระบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ซึ่งสิ่งที่จำเป็น
        ที่ทำให้ระบบสามารถดำเนินการได้ก็คือ
        1.
        แหล่งที่มาของข้อมูล จะต้องทำการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลที่จะนำมาดำเนินธุรกิจ โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยว
        ข้องไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆก็ตาม เช่น เอกสารที่เป็นกระดาษ เอกสารที่เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
        2.
        ประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ซึ่งได้มาจากผู้ให้ข้อมูลต่างๆ เช่น บุคคลทั่วไป กลุ่มธุรกิจเล็กๆ หรือ
        องค์กรขนาดใหญ่ ควรที่จะมีหลักการและวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ควรที่จะมีความ
        สามารถในการที่จะเก็บข้อมูลได้มาก และหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บมาใช้งาน
        3.
        การจัดเตรียมข้อมูลของร้านค้า ในการดำเนินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์
        ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วก็ต้องทำการปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เสียก่อน
        4.
        การเตรียมข้อมูลของสินค้า จะต้องรวบรวมข้อมูลของสินค้าไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่ต้องมีขนาดเหมาะสม เตรียมชื่อ หมวดหมู่
        คำบรรยายรวมถึงขั้นตอนและวัสดุที่นำมาผลิตและราคาสินค้า
        5.
        การแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อความสะดวกและความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบออนไลน์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
        อย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ ข้อมูลของผู้จัดหา หรือข้อมูลของลูกค้าแต่ละราย
        บริการในการค้นหาข้อมูลเหล่านี้ในการค้าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัญชีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Catalog) ที่กรองข้อมูล (Information
        Filter)
        เครื่องค้นหา (Search Engine) และ Software Agent
        6.
        การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องการวิธีการในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆดังนั้นการชำระเงิน
        แบบอิเล็กทรอนิกส์จึงเกิดขึ้น การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ เงินตราดิจิตอล (Digital Currency) การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
        และอิเล็กทรอนิกส์เช็ค
        7.
        ระบบรักษาความปลอดภัย จะต้องสามารถป้องกันการโจรกรรมคุกคามและการฉ้อโกงจากกลุ่มต่างๆทั้งภายนอกและภายใน ดังนั้นระบบจะต้องถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้บริการด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        8.
        การเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ สิ่งแวดล้อมของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน มีกลุ่มบุคคลมากมายที่สามารถจะเข้าสู่ระบบการค้า
        อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อาจใช้เครื่องมือในการสื่อสารชนิดต่างๆกันในการเข้าสู่ระบบและค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
        ส่วนบุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา Palm Computer โทรศัพท์ประจำบ้าน เครื่อง PCT จานรับสัญญาณดาวเทียม ไมโครเวฟ
        หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือในระบบ GSM หรือ Digital 1800 (ในปัจจุบันมีการพัฒนาโปรโตคอลที่ชื่อว่า WAP หรือ
        Wireless Application Protocol
        เพื่อใช้ในการเรียกดูข้อมูลเว็บเพผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ) ดังนั้นเมื่อระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส
        ์เกิดการเจริญเติบโตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือในการรองรับการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบต้องมีกาารพัฒนาควบคู่ไปด้วย ปัญหาด้าน
        ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือความสามารถร่วมมือกันของระบบต่างๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ
        9.
        กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ปัญหาต่างๆของกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นแน่นอนที่ส่วนใหญ่ต้องเป็นกฎหมาย
        ที่ใช้บังคับในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายที่บังคับใช้บนอินเตอร์เน็ตยังเป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดนัก แต่จาก
        การ ที่มีการโต้เถียงและความพยายามในการแก้ไขกฎหมายต่างๆให้ดีขึ้น ทไให้รูปลักษณ์ของกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ภายในเครือข่าย
        อินเตอร์เน็ตมีหนทางที่ดีขึ้น ประเทศไทยก็มีร่างกฎหมายการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส
        และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ นอกจากนั้นในประเทศไทยยังมีข้อ
        โต้แย้งเรื่องภาษีสรรพากร

        ที่มา : http://ban-pong.chiangmai.ac.th/internet_ec.html


        guest profile guest

        ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมาก ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์บริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้ามาใช้ในกิจการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วทุกมุมโลกและสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกเวลาส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในการนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายของกิจการ คือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เป็นการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพาณิชย์ โดยการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ (Website)ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะก่อให้เกิด การลดต้นทุน ลดเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มช่องทางการตลาดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

         

        รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

         

        • ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
        • ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
        • ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
        • ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th
        • ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

                 จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ

        1.   การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล
        การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์

        2.      การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ

        3.   การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
        ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

         

        ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        สรุปจากที่ผ่านมานั้นจะพบว่าจะมีข้อที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตอยู่ 3 ประเด็นคือ

        • ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ
        • ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น)
        • ไม่มีข้อจำกัด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติ

        ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค

        • หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา คุณภาพสินค้าและข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ
        • อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลได้ง่าย
        • มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น
        • เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดลงในเครื่องมือค้นหาก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย
        • ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย
        • สินค้าบางอย่างสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง คงไม่ใช่กับทุกสินค้าหรือทุกผู้ผลิตที่มีความต้องการมาทำการขายเอง อาจจะได้กับสินค้าบางชนิด
        • ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร จากเดิมที่ในการค้าต้องส่งแฟกซ์ หรือบางทีบอกจดทางโทรศัพท์ รับใบคำสั่งซื้อแล้วมาคีย์เข้าระบบ ถ้าสามารถทำการติดต่อกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลกันได้เลยจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้
        • ลดเวลาในการผลิต นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการวัตถุดิบ การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ
        • เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานส่วนหลัง
        • เปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้า ซัพพลายเออร์รายใหม่
        • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง
        • เพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น
        • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า การให้บริการหลังการขายให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว

        ที่มา : http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2158

        guest profile guest
        รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
         
                  ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
         
                  • ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภคช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้ เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลง เป็นต้น สำหรับตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบของ B2C อาทิเช่น www.abcjewelry.co.th ,www.pizza.co.th
         
        รูปแสดงเว็บไซต์ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง B2C
         
                  • ผู้ประกอบการ กับผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกันลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่องการขายส่งการทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆ กันไป สำหรับตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบของ B2B อาทิเช่น www.cementhaionline.com www.boeing.com www.value.co.th
         
        รูปแสดงเว็บไซต์ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง B2B
         
                  • การติดต่อระหว่างผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น สำหรับตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบของ C2C อาทิเช่น www.thaisecondhand.com www.ebay.com
         
        รูปแสดงเว็บไซต์ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง C2C
         
                  • การประกอบธุรกิจผู้ประกอบการ กับภาครัฐ (Business to Government – B2G ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ สำหรับตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบของ B2G อาทิเช่น www.mahadthai.com www.customs.go.th www.gprocurement.go.th
         
        รูปแสดงเว็บไซต์ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง B2G
         
             • ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เป็นการบริการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐาน และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย สำหรับตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบของ G2C อาทิเช่น www.rd.go.th www.mahadthai.com
         
         
        รูปแสดงเว็บไซต์ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง G2C
         ที่มา : http://www.itm0339.ob.tc/assignment1.html
        guest profile guest

        รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

        การให้คำนิยามของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขณะนี้มีผู้ที่ให้คำนิยามอยู่หลายความหมาย แต่ยังไม่มีคำจำกัดความใดที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ตัวอย่างคำจำกัดความของหลายๆสถาบัน มีดังต่อไปนี้

        • "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์" (ECRC Thailand,1999)
        • "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขายหรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์" (WTO, 1998)
        • "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ" (OECD, 1997)
        • "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลและการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่ายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, ใบตราส่ง, การประมูล, การออกแบบและวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่นสินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน)" (European Union, 1997)

        "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่างๆที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร" (ESCAP, 1998)

         

        ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง         

                ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

        1.สำหรับผู้บริโภค

        • ได้รับความสะดวก ประหยัดเวลาในการซื้อสินค้าอย่างครบวงจร
        • มีสินค้าและบริการให้เลือกมากขึ้น
        • เลือกชมสินค้าได้ตลอดเวลา (24x7)
        • สามารถเปรียบเทียบราคาของสินค้า และรับทราบความคิดเห็นต่อสินค้า/บริการนั้นๆ ผ่านทางเว็บบอร์ดได้ก่อนตัดสินใจซื้อ
        • ได้สินค้าที่มีคุณภาพดี และราคายุติธรรม เพราะซื้อสินค้าโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
        • ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วในกรณีที่สินค้านั้นสามารถส่งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เพลง และ ซอฟต์แวร์ เป็นต้น

        2.สำหรับผู้ประกอบการ

        • เข้าถึงลูกค้าทั่วโลก
        • เพิ่มยอดขาย
        • ลดต้นทุน
        • บนอินเทอร์เน็ตผู้ประกอบการรายย่อยมีโอกาสในการแข่งขันเท่าเทียมกับผู้ประกอบการรายใหญ่
        • ลดภาระสินค้าคงคลัง
        • ให้บริการและทำการตลาดต่อลูกค้ารายบุคคลได้
        • สถานที่ตั้งของบริษัทไม่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินกิจการ
        • เพิ่มประสิทธิภาพในการขายและการทำงานภายในสำนักงานโดยนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Automation) มาใช้

        3.สำหรับผู้ผลิต

        • เพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายมากขึ้น
        • เปิดตลาดใหม่
        • เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า
        • ลดค่าใช้จ่ายและความผิดพลาดในเรื่องข้อมูลการซื้อขาย
        • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดภาระสินค้าคงคลัง

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดประเภทของการดำเนินธุรกิจออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

        1. Business-to-Business (B2B) คือ การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจด้วยกันเอง เพื่อการค้าขาย การจัดการ การผลิตหรือวัตถุดิบ เช่น การสั่งซื้อสินค้าสำหรับห้างสรรพสินค้าจากผู้ผลิต หรือการสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ตัวอย่างการดำเนินงานในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการนำเข้าและส่งออกระหว่างคู่ค้าโดยใช้อีดีไอ (EDI) ผ่านกรมศุลกากร หรือการติดต่อธุรกิจระหว่างสำนักงานใหญ่และตัวแทนจำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบ B2B นี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
        1. Business-to-Consumer (B2C) คือ การทำธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการซื้อขายตามปกติ เพียงแต่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามาแทน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกประเภทสามารถเริ่มหรือขยายฐานธุรกิจได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก

        Business-to-Government (B2G) คือ การทำธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่รัฐบาลมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจะทำการประกาศและจัดซื้อครุภัณฑ์โดยใช้ระบบอีดีไอ ผู้ที่สนใจจะค้าขายด้วยนั้นต้องสามารถใช้ระบบอีดีไอในการรับส่งข้อมูลได้

         

        โครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และองค์ประกอบหลักที่ครบถ้วน โดยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย

        1. Telecommunication Infrastructure: โครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม ควรมีอย่างเพียงพอและทั่วถึงในราคาที่ยอมรับได้ เพื่อให้การใช้งานสามารถกระจายออกไปได้ทั่วประเทศ เช่น โทรศัพท์ ระบบวงจรเช่า ใยแก้วนำแสง และระบบไร้สาย เป็นต้น
        1. Internet Infrastructure: โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ทั้งที่เป็นการใช้บริการแบบส่วนบุคคลและแบบองค์กร ทั้งที่เป็นระบบหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Dial Up Service) หรือแบบเช่าสายสื่อสาร (Leased Line) เพื่อให้สมาชิกภายในองค์กรใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายขององค์กรเอง
        1. Internet Software and Tools: ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้บนอินเทอร์เน็ต เช่น HTML, Java, ASP , และ DHTML เป็นต้น

        องค์ประกอบหลักอื่น ๆ ได้แก่

        • ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง
        • เนื้อหาภายในเว็บไซต์ชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ในการขายสินค้า/บริการ
        • ออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว
        • มีความปลอดภัยในการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า สามารถป้องกันผู้บุกรุกไม่ให้เข้ามาแก้ไขหรือทำลายข้อมูล
        • สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้า/บริการ ว่าจะได้รับสินค้า/บริการแน่นอน และถ้าหากชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ข้อมูลจะไม่ถูกนำไปใช้ในการหาผลประโยชน์อื่น
        • มีทางเลือกในการชำระค่าสินค้า/บริการ ให้กับลูกค้าหลายๆ ทาง เช่น เงินสด บัตรเครดิต เช็คเงินสด ธนาณัติ หรือพัสดุเก็บเงินปลายทาง เป็นต้น
        • จัดส่งสินค้า/บริการให้ถึงมือลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ระมัดระวัง และตรงต่อเวลา
        • มีทางเลือกในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้หลายๆทาง (คำนึงถึงความเหมาะสมและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งด้วย)

        ซอฟต์แวร์สำหรับการทำธุรกิจ เมื่อมีการทำเว็บไซต์แล้วควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เชื่อมต่อให้ครบวงจรทั้งระบบการชำระเงิน การนำข้อมูลมาใช้กับระบบภายในสำนักงาน (Back Office) การจัดการสินค้าคงคลัง การสั่งซื้อสินค้า และระบบการจัดส่ง เป็นต้น

         

         

         

        http://www.ecommerce.or.th/faqs/faq1-1.html

        guest profile guest

        รูปแบบของการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์

         พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนา ด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบ คลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า


        ความหมาย (E-Commerce)

                  พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต


        กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็ก ทรอนิกส์

                กรอบแนวคิด ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

        •  แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        •  ปัจจัยทางการบริหาร

        •  โครงสร้างพื้นฐาน


        ประเภทสินค้าของพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์

                สำหรับ สินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

        •  สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)

        •  สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)


        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

        •  ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)

        •  ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C)

        •  ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)

        •  ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)


        การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to B
         

                โมเดลของ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace (Turban et al., 2000)

        •  Seller oriented marketplace

        ตามโมเดลนี้ องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์

        •  Buyer-Oriented Marketplace

        โมเดลนี้มีจุด มุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้

        •  Intermedialy-Oriented marketplace

        โมเดลนี้เป็น ตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา


        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C
         

                แอพพลิเค ชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C

        •  ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)

        •  การโฆษณา

        •  แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)

        •  ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking

        •  ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)

        •  การท่องเที่ยว

        •  อสังหาริมทรัพย์

        •  การประมูล (Auctions)


        ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต

                ขั้นตอนของ การซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ

        •  การค้นหาข้อมูล

        •  การเลือกและการต่อรอง

        •  การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต

        •  การจัดส่งสินค้า/บริการ

        •  การบริการหลังการขาย


        พฤติกรรมของลูกค้า

                การพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ

        •  ตัวบุคคล

        •  องค์การ


        การวิจัยทางการตลาด

                การวิจัย ทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/บริการบนอินเทอร์ เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัยเพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า


        โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)

                การทำ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต


        ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์

        •  เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)

        •  เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)

        •  การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)

        •  การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)


        การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า

                มีเครื่อง มือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น

        •  เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)

        •  ห้องสนทนา (Chat rooms)

        •  อีเมล์ (E-mail)

        •  FAQs (Frequent Answers and Questions)

        •  ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)

        •  ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

        การรักษาความ ปลอดภัย

                ความต้อง การการรักษาความปลอดภัย (security requirements)

        •  ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)

        •  ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)

        •  ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)

        •  สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)

           ความปลอดภัย (Safety)

        วิธีการรักษาความปลอดภัย

        •  การใช้รหัส (Encryption)

        •  ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)

        •  โปรโตคอล (Protocols)


        ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                ประโยชน์ ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ

        •  ประโยชน์ต่อบุคคล

        •  ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ

        •  ประโยชน์ต่อสังคม

        •  ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ


        ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส

        •  ข้อจำกัดด้านเทคนิค

        •  ข้อจำกัดด้านกฎหมาย

        •  ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ

        •  ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ

        แหล่งที่มา http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson10-1.asp

        guest profile guest

        *เพิ่มที่มาค่ะ
        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)

        รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)

        รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)

        รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)

        รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

        ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B2G) คือ รูปแบบ
        ขั้นตอนในกระบวนการขาย

          1. การหาข้อมูลสินค้า
          2. การตรวจสอบราคา และคุณสมบัติของสินค้า
          3. การสั่งซื้อสินค้า
          4. การตรวจสอบยืนยันราคา และสินค้าคงคลัง
          5. การออกแบบใบสั่งซื้อ
          6. การกำหนดเวลาส่งสินค้า
          7. การออกใบเสร็จรับเงิน
          8. การส่งสินค้า
          9. ส่งใบเสร็จรับเงิน
          10. การชำระเงิน

        ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย
          1. เปลี่ยนโครงสร้างการค้ารูปแบบใหม่ไปสู่ระบบดิจิทอล
          2. ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
          3. เสียเปรียบดุลการค้าต่างชาติที่พัฒนาทางเทคโนโลยีไปสูงกว่า
          4. ยังไม่มีกฏหมายที่ใช้บังคับการทำผิดบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง หรือคุ้มครองข้อมูลการซื้อขายที่ชัดเจน
          5. การส่งเสริมจากรัฐบาลเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปอย่างไม่เร่งร้อน
          6. ความไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัยของ e-commerce

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          1. B to G (Business to Government)
          2. B to B (Business to Business)
          3. B to C (Business to Customer)
          4. C to C (Customer to Customer)
          5. G to C (Government to Customer)

        องค์ประกอบของ e-Commerce
          1. ผู้ซื้อ (Customer)
          2. ผู้ขาย (Warehouse หรือ โกดังสินค้า)
          3. ระบบชำระเงิน (Banking)
          4. ระบบขนส่ง (Shipping)

         

         **ที่มา http://www.thaiall.com/mis/mis22.htm

         

        guest profile guest

        นิยาม
        อีคอมเมิร์ซ(e-commerce)
        หรือการพาณิชย์อิเลคทรอนิค แท้จริงแล้วหมายถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเลคทรอนิค ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว แต่จริงๆแล้ว การค้าขายโดยผ่านทางเครื่องแฟกซ์ โดยเราแฟกซ์เอกสารการขายตรงออกไป และลูกค้าแฟกซ์ใบสั่งซื้อเข้ามาก็ถือเป็นอีคอมเมิร์ซ หรืออย่างพวกขายตรงทางโทรทัศน์อย่าง TV Media แล้วโทรเข้าไปซื้อก็เป็นการค้าแบบขายผ่านสื่ออิเลคทรอนิคเช่นกัน หรืออย่างการขายผ่านเคเบิ้ลทีวีก็ใช่

        รูปแบบของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
        การทำการค้าบนเว็บนิยมแบ่งรูปแบบตามลักษณะของผู้ค้า และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าทำธุรกิจด้วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้คือ
        - Business to Business (B-to-B) : เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่ต้องส่งสินค้าเป็นล็อตขนาดใหญ่ ซึ่งการชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร เช่น T/T,L/C เป็นต้น
        - Business to Consumer (B-to-C) : เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกหรือภายในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือค้าส่งขนาดใหญ่ไว้ด้วย ซึ่งการชำระเงินส่วนใหญ่จะเป็นระบบบัตรเครดิต แต่อย่างไรก็ตาม การค้าแบบนี้มักทำให้เกิดการค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ แลหลายบริษัทฯ มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกัน
        - Consumer to Consumer (C-to-C) : เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากที่เดียวที่เปิดเว็บไซต์มาเพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ซึ่งผู้พัฒนาอาจเป็นเพียงนักเรียก นักศึกษาเท่านั้น

        การแบ่งกลุ่มข้างต้นนี้ ถือเป็นแนวทางคร่าวๆ ในการตัดสินใจว่าจะเลือกเดินในทางใดในการทำธุรกิจบนเว็บ ซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัวในขณะที่เราเองต้องประเมินตัวเองว่า จะวางตนอย่างไร


               ในยุคที่โลกกำลังก้าวสู่คริสตศตวรรษใหม่ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรุนแรง รวดเร็ว จนกล่าวได้ว่า 
        หากผู้ใด หรือประเทศใด ไม่อาจติดตามกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างทันท่วงที ย่อมตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
        และพ่ายแพ้บนเวทีการแข่งขันอันเข้มข้นในที่สุด
               คาดกันว่า ในคริสตศตวรรษที่ 21 การค้าขายนานาชนิดจะเกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเปHนจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ E-Commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่คนไทยจำต้องรู้เท่าทันเพื่อให้
        สามารถรับมือกับเทคโนโลยีชนิดใหม่นี้ได้อย่างทันท่วงที

        ผลกระทบทางเศรษฐกิจส่วนรวมของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนโดยสกว. ได้นิยาม E-Commerce ว่าหมายถึง“การดำเนินการทางเศรษฐกิจใดๆ ที่กระทำบนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวอาจรวมถึง การ
        ออกแบบ การผลิต การโฆษณาสินค้า การค้าทั้งปลีกและส่ง และการทำธุรกรรม ตลอดจนการชำระเงิน ส่วนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาจรวมถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งเครือข่ายภายในองค์กร (Internal network)
        เครือข่ายเอกชน (private network) ระหว่างองค์กร หรือเครือข่ายสาธารณะ (public network) เช่น เครือข่าย
        อินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น เครือข่ายโทรทัศน์ และเครือข่ายโทรศัพท์ เป็นต้น

        E-Commerce โดยเฉพาะที่ค้าขายกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และทางเศรษฐกิจ
        ที่สำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และการกำหนดนโยบายของรัฐบาลประเทศ
        ต่างๆ รวมทั้งส่งผลต่อกฎหมาย การเมือง สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนมโนทัศน์ของประชาชนต่อสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า
        เงินตรา และการพาณิชย์ เป็นต้น

        ในด้านเศรษฐกิจส่วนรวม E-Commerce จะส่งผลกระทบต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทย มีผลต่อการเปิดเสรีการค้าและบริการ ต่อนโยบายการเงิน การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ (information infrastructure) นอกจากนี้
        E-Commerce ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจรายสาขา (sectoral economy) หลายสาขา โดยเฉพาะในสาขาบริการ เช่น ธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ การประกันภัย การค้าปลีก และการท่องเที่ยว

        ในด้านสังคม E-Commerce จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค อาจส่งเสริมให้เกิดสารสนเทศที่ก่อปัญหา
        (harmful content) และปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ในด้านการเมือง E-Commerce ยังจะส่งผลต่อความมั่นคงทางการเมือง และการทหารจากปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล

        เมื่อ E-Commerce เชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้หน่วยราชการไทยหลายแห่งต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ E-Commerce ยังเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับสังคมไทย ทำให้แนวนโยบายเรื่องนี้ยังคงไม่ชัดเจน และอยู่ในสภาพของการลองผิดลองถูก คณะวิจัยพบว่า ปัญหา E-Commerce เป็นเรื่องที่มีความเร่งด่วนสูง แต่ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นต่างๆ
        เหล่านี้

        ตัวอย่างการดำเนินงานในด้าน E-Commerce ของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในปัจจุบัน อาทิ

        1. กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ได้ทำกิจกรรมโดยใช้ Electronic Data Interchange (EDI) ในการออกสินค้าขาออกที่ท่าดอนเมืองในช่วงแรก และจะขยายในส่วนที่การท่าเรือต่อไป
        2. กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำกิจกรรมโดยใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งออกให้กับผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และเสนอแนวความคิดในการเป็นแกนกลางจัดตั้งองค์กรรับรองความถูกต้อง
        3. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ทำกิจกรรมโดยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการใช้ประโยชน์จากการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        4. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ได้ทำกิจกรรมโดยจัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการรองรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        6 ฉบับ เช่น กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
        5. คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทย ในเรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงยุติธรรม ได้ทำกิจกรรมโดยยกร่างกฎหมายหลักด้านการพาณิชย์
        อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะกฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
        6. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำกิจกรรมโดยจัดทำข้อมูลการลงทุนอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
        7. ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท เทรดสยาม จำกัด ได้ทำกิจกรรมโดยจัดทำโครงการร่วมมือเพื่อพัฒนาการใช้ EDI ด้านการเงิน
        8. บริษัท การบินไทย จำกัด ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ทำกิจกรรมโดยทดลองโครงการจองบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านทางอินเตอร์เน็ต
        9. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ทำกิจกรรมโดยทดลองเปิดเว็บไซต์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรวบรวมคำร้องเรียนเรื่องอาชญากรรมที่เกิดจากการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์
        10. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานเอกชน ได้ทำกิจกรรมโดยจัดทำโครงการพัฒนามาตรฐานสมาร์ทการ์ดสำหรับประเทศไทย
        ปัญหาภาษีอากร

        หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเสนอให้อินเตอร์เน็ตเป็น “เขตปลอดภาษีศุลกากร” ในการประชุมองค์การการค้าโลก
        เมื่อปี 2541 แต่ประเทศไทยยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนต่อประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากเรายังไม่ทราบถึงผลกระทบของการประกาศให้ E-Commerce เป็นเขตปลอดภาษีอากรอย่างแน่ชัด และในอนาคตประเด็นนี้ จะยิ่งทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อสหรัฐ และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ กำลังเตรียมเสนอให้
        E-Commerce เป็นเขตปลอดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีการค้า ภาษีนิติบุคคล และภาษีอื่นๆ ด้วย

        งานวิจัยในอดีตบางชิ้นชี้ว่า การประกาศให้อินเตอร์เน็ตเป็นเขตปลอดภาษีศุลกากรในการค้าสินค้า จะมีผลทำให้สินค้าสารสนเทศ (information goods) ซึ่งหมายถึง สินค้าที่สามารถจัดเก็บและนำเสนอในรูปข้อมูลดิจิตอลได้
        เช่น เพลง ภาพยนตร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกิดการ “เบี่ยงเบนช่องทางการค้า” จากการค้าตามเส้นทางปกติ มาสู่การค้าผ่านอินเตอร์เน็ต สินค้าที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ได้ง่ายก็คือ สินค้าที่ถูกเก็บภาษีศุลกากร
        ในอัตราสูง เช่น เทป ภาพยนตร์ และซีดี เป็นต้น นอกจากนี้ E-Commerce ผ่านอินเตอร์เน็ต ยังจะมีผลต่อการเปิดเสรีในการค้าบริการบางส่วนโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะบริการโทรคมนาคม การเงิน ประกันภัย และบริการวิชาชีพ (professional service) ที่สามารถทำได้โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดย E-Commerce จะส่งผลต่อช่องทางการให้บริการ ทำให้เกิดการให้บริการแบบข้ามพรมแดนมากขึ้น แต่กลับลดความจำเป็นในการตั้งสำนักงานสาขาในต่างประเทศลง

        อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมาใช้วิธีเคราะห์เชิงคุณภาพโดยไม่ได้วิเคราะห์ในเชิงปริมาณทำให้เราไม่ทราบระดับ
        ความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่ชัด นอกจากนี้ ยังไม่มีการวิเคราะห์ว่าการค้าสินค้าสารสนเทศ
        ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ควรได้รับการตีความให้เป็นการค้าขายสินค้า หรือบริการ
        ทั้งที่การตีความทั้งสองแบบจะมีผลแตกต่างกันอย่างมาก กล่าวคือ หากตีความว่า การค้าดังกล่าวเป็นการค้าสินค้าแล้ว เราจะต้องให้ความสนใจในการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (rule of origin) การประเมินราคาทางศุลกากร และกฎเกณฑ์อื่นๆ ในการค้าสินค้า ในขณะที่หากตีความการค้าดังกล่าว เป็นการค้าบริการแล้ว เราจะต้องให้ความสนใจกับช่องทางในการให้บริการต่างๆ และกฎเกณฑ์ในการลงทุนแทน
        องค์กรรับรองความถูกต้อง

        โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของ E-Commerce คือ องค์กรรับรองความถูกต้อง (Certification Authority
        หรือ CA) ซึ่งหมายถึงบุคคลที่สาม ที่ได้รับความเชื่อถือในการทำหน้าที่รับรองว่า คู่สัญญาในกระบวนการ E-Commerce
        นั้น เป็นบุคคล หรือองค์กรตามที่กล่าวอ้างจริง โดยทั่วไปองค์กรรับรองจะมีบทบาทในการให้บริการใน 3 ด้านใหญ่ๆ คือ บริการในการเข้า และถอดรหัส (cryptographic service) บริการด้านบริหารการรับรอง (certification management service) และบริการเสริมต่างๆ

        เนื่องจากการรับรองความถูกต้องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ รัฐจึงมีความจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติ และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่ต้องประกอบธุรกิจนี้อย่างเข้มงวด ไม่ว่าในด้านขีดความสามารถทาง
        เทคโนโลยี และความรับผิดชอบทางกฎหมายต่างๆ และส่งเสริมให้มีการแข่งขันโดยผู้ประกอบการหลายราย เพื่อให้ E-Commerce ของไทยโดยรวมมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้ผลกระทบต่อเงินอิเล็กทรอนิกส์ และระบบชำระเงินต่อนโยบายสถาบันการเงิน

        แม้ว่า การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic money) รูปแบบต่างๆ จะยังไม่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก
        แต่ในอนาคต เมื่อเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic payment system)
        แพร่หลายมากขึ้น นวัตกรรมเหล่านี้อาจส่งผลต่ออุปทานของเงินในประเทศให้เพิ่มขึ้นทั้งฐานเงิน และความเร็วของเงินซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินทางใดทางหนึ่งอย่างแน่นอน

        นอกจากนี้ เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลด้านอื่นๆ ต่อระบบเศรษฐกิจ
        ส่วนรวม เช่น เกิดความปั่นป่วนของระบบการเงิน หากเอกชนที่ออกเงินอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความมั่นคงเพียงพอ การสูญเสียประโยชน์ของรัฐ ตลอดจนการฟอกเงิน หรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ และเตรียมมาตรการรองรับไว้
        การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

        ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce มีอยู่หลากหลาย เช่น การที่ประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มจะเรียกร้องให้ประเทศไทยปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อให้การคุ้มครอง
        โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศต่างๆ ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับ domain name และการคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูล นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีความเป็นไปได้ที่ประเทศพัฒนาแล้วจะเรียกร้องให้ประเทศไทยขยายขอบเขตสิ่งประดิษฐ์ที่
        สามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ ให้ครอบคลุมสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce เช่น ระบบการชำระเงิน
        ทางเครือข่าย หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะผู้วิจัยเชื่อว่า ยังไม่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายสิทธิบัตรไทย
        ในปัจจุบัน แต่ได้รับการคุ้มครองในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

        งานวิจัยที่ผ่านมา บางชิ้นช่วยให้เราเข้าใจปัญหาในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce ได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของ E-Commerce ทำให้งานเหล่านั้นไม่อาจตอบคำถามบางประการที่เกิดขึ้น
        ในปัจจุบันได้ เช่น ผลกระทบของอนุสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกต่อประเทศไทย ซึ่งประเด็นทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องกำหนดท่าทีที่ชัดเจนโดยเร็ว
        การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ E-Commerce

        กล่าวได้ว่า ที่ผ่านมา E-Commerce ของไทยพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งแนวนโยบายที่ชัดเจนในการสร้างขีดความสามารถของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce ตัวอย่างที่เห็น
        ได้ชัดเจนก็คือ เรายังไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าในประเทศ และชำระเงินโดยบัตรเครดิตทางอินเตอร์เน็ตได้ และเอกชนไม่สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตโฟน รวมทั้งบริการขนส่งพัสดุได้เนื่องจากถูกผูกขาดโดยรัฐ เป็นต้น
        ความคาดหวัง

        เมื่อโครงการนี้ดำเนินการจนสำเร็จ รายงานที่ได้จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ สถานภาพ สภาพปัญหา และแนวโน้มของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย และต่างประเทศ ในหัวข้อดังนี้
        1. ข้อเสนอแนะทางนโยบาย และกลยุทธ์ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศของคณะอนุกรรมการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ (กนศ.) ในการเจรจาในองค์การการค้าโลก และเวทีเจรจาอื่นๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        2. ข้อเสนอแนะต่อการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
        NECTEC) และกฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษา และพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทย ในเรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        กระทรวงยุติธรรม
          3. บทวิเคราะห์ผลกระทบของเงินอิเล็กทรอนิกส์ และระบบการชำระเงินต่อนโยบายการเงินของประเทศ และข้อเสนอแนะต่อการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลการออกเงินอิเล็กทรอนิกส์ และระบบการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
        4. ข้อมูลพื้นฐาน สถิติ บทวิเคราะห์ กลยุทธ์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการจัดทำแผนแม่บทการพาณิชย
        ์อิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และการจัดทำแผ่นพัฒนาเศรษฐกิจ
        และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ของสภาพัฒนา
        5. ฐานข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่จะสะดวกต่อการใช้ประโยชน์ และขยายผลต่อไป
        นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านนโยบาย หรือการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเผยแพร่ผลการวิจัยผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในรูปเอกสาร และผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมผู้สื่อข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ กับการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านสื่อมวลชน

        ความเข้าใจต่อปัญหา และแนวทางในการส่งเสริม E-Commerce ดังกล่าว เป็นสิ่งจำเป็น และเร่งด่วนอย่างยิ่ง เพื่อช่วยให้การวางแผนงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น แผนแม่บทการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้อย่างทันท่วงที

        E-Commerce ควรจะมีแนวทางเป็นอย่างไร เพื่อผลประโยชน์ของไทย จะช่วยสร้างความรู้ที่จะสามารถช่วยในการกำหนดนโยบาย การจัดทำแผน และการออกกฎหมายของไทย



        ที่มาhttp://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4com/Aticle4.htm
        guest profile guest

        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                        การทำการค้าบนเว็บแบ่งตามลักษณะของผู้ค้า และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าทำธุรกิจด้วย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ

        1. Business to Business ( B – to – B ) เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร โดยทั่วไปจะเป็นสินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่ต้องส่งสินค้าเป็นล็อตขนาดใหญ่ การชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร
        2. Business to Consumer ( B – to – C ) เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกหรือภายในท้องถิ่นของตน อาจรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่ หรือการค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย การชำระเงินส่วนใหญ่ชำระผ่านระบบบัตรเครดิต แต่การค้าแบบ B – to – C มักทำให้เกิดการค้าแบบ B – to – B ในอนาคตได้ และหลายบริษัทมักทำกิจกรรม 2 อย่างนี้ในคราวเดียวกัน
        3. Consumer to Consumer ( C – to – C ) เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้วรวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากที่เปิดเว็บไซต์เพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ผู้พัฒนาอาจเป็นเพียงนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น

        จากหนังสือ E-Commerce และกลยุทธ์การทำงานบนอินเตอร์เน็ต ของ วัชรพงศ์  ยะไวทย์

        guest profile guest

        รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

         

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่การดำเนินรายการ (Transaction)ทางด้านธุรกิจผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างฝ่ายต่างๆ เช่น ระหว่างบริษัท (ธุรกิจกับธุรกิจ) ระหว่างบริษัทกับลูกค้า (ธุรกิจกับผู้บริโภค) ระหว่างธุรกิจกับส่วนงานสาธารณะ หรือระหว่างลูกค้ากับส่วนสาธารณะ


        คนโดยทั่วไปมักคิดว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึงการที่ ผู้บริโภค
        เข้าไปยังเว็บไซท์ใดๆ เพื่อทำการซื้อสินค้าแบบออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
        การซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซท์เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยให้การ ดำเนินงานในการซื้อ-ขายของบริษัทใหญ่ๆ ทำได้ง่ายขึ้นหรือแม้กระทั่งกับบริษัทเล็กๆ เองก็มีโอกาสที่จะขายสินค้าในราคาต่ำ ในกลุ่มตลาดต่างๆ ทั่วโลก

        ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคได้แก่การซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้อง
        เบียดเสียดกับฝูงคน มากมายในห้างสรรพสินค้า, สามารถชื้อสินค้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
        เมื่ออยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน และได้รับสินค้าโดยตรงถึงบ้านไม่ต้องขนส่งเอง

        รูป การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการสั่งซื้อสินค้า


        ดังรูป แสดงตัวอย่างการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในขบวนการสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่จากบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งในการสั่งซื้อโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มตั้งแต่พนักงานเขียนคำร้องขอเพื่อสั่งซื้อสินค้าและนำไปผ่านการขออนุมัติการสั่งซื้อ เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจึงนำ
        ใบร้องขอนั้นไปทำเป็นแบบสั่งซื้ออย่างเป็นทางการและส่งไปยังผู้ขายสินค้าที่ต้องการ

        ขบวนการเหล่านี้สามารถสำเร็จได้โดยง่ายเมื่อใช้พาณิชย์อิเล็กทอรนิกส์ โดยพนักงานสามารถไปยังเว็บไซท์ของผู้ขายเฟอร์นิเจอร์ และเลือกสินค้าที่ต้องการจากรายการสินค้าในเว็บไซท์นั้นๆ และทำการสั่งซื้อสินค้าตามราคาที่ ตกลงไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ถ้าการสั่งซื้อต้องผ่านการอนุมัติก่อน ผู้อนุมัติจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงการสั่งซื้อนี้

        จากความสะดวกสบายต่างๆ ทั้งในด้านของผู้ดำเนินธุรกิจและในด้านของผู้บริโภค ในปัจจุบัน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (ที่มา : http://www.uni.net.th/~08_2543/chap07/720.html)

                  การเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        หนึ่งในการเติบโตที่เคียงคู่ไปกับธุรกิจประเภทใหม่นี้ คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: e-commerce หรือ Internet Commerce: I-Commerce) ทั้งในลักษณะของผู้ขายกับผู้ซื้อ (Business-to-Consumer: B2C) และผู้ขายกับผู้ขาย (Business-to-Business: B2B)

         


        เมื่อเกิดความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ย่อมมีความต้องการ
        ผู้พัฒนาระบบหรือนักวิเคราะห์ระบบมากขึ้นเป็นลำดับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
        ทำให้เกิดการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้รูปแบบในการดำเนินธุรกิจ
        แบบเก่า ๆ เปลี่ยนไปจากเดิมที่ลูกค้าต้องเดินทางไปยังบริษัทห้างร้านเพื่อเลือกซื้อสินค้า
        ปัจจุบันลูกค้าสามารถเลือกสั่งซื้อสินค้าได้ทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบวิธีการดำเนินธุรกิจ
        จึงเปลี่ยนไป ทั้งในด้านการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการประเมินผลกำไร

         


        ความสำเร็จด้านการตลาดบนเว็บจะขึ้นอยู่กับการจัดสร้างรูปแบบเว็บเพ็จที่สวยงามเพื่อดึงดูดลูกค้า ประกอบกับความน่าเชื่อถือ ความสมบูรณ์ และความปลอดภัย
        บริษัทจำนวนมากว่าจ้างนักวิเคราะห์ระบบ เพื่อพัฒนาจัดทำแบบจำลองการดำเนินธุรกิจ
        ทางอินเตอร์เน็ต จึงนับเป็นโอกาสที่ดีของนักวิเคราะห์ระบบ เพราะมีบริษัทเป็นจำนวนมาก
        ที่เตรียมพร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่สมรภูมิรบ เป็นคลื่นลูกต่อไปที่จะเข้าแข่งขันเพื่อการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        ที่มา  http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu48/les16.htm

        ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

        cl_km Icon เทคนิคการค้นหาข้อมูล 51 อ่าน 6,510 13 ปีที่ผ่านมา
        13 ปีที่ผ่านมา
        cl_km Icon การให้บริการอินเตอร์เน็ต 47 อ่าน 9,248 13 ปีที่ผ่านมา
        13 ปีที่ผ่านมา
        cl_km Icon ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต 44 อ่าน 5,593 13 ปีที่ผ่านมา
        13 ปีที่ผ่านมา