พิธีบายศรีสู่ขวัญ" รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง

lookmoo1981 profile image lookmoo1981

"พิธีบายศรีสู่ขวัญ" รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง

พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทยและคนลาว บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ ด้วยความเชื่อที่ว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ

บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์ พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น

 ติดต่อช่างทำบายศรี


"Bai Sri Su Kwan Ceremony" to maintain life and follow the owner everywhere

Bai Sri Su Kwan Ceremony It is one of the traditions of Thai and Lao people. It is also sometimes called the Bai Sri ceremony, the ceremony to make the kwan, the ceremony to make the kwan, and the ceremony to receive the kwan, with the belief that everyone is born with an abstraction known as "kwan", which is responsible for maintaining life and following its owner everywhere. The ceremony of Su Kwan is thus inviting the missing Kwan to come and live with him. and believes that it promotes strong willpower conscious and careless

The Bai Sri Su Kwan tradition uses a kwan ware called Bai Sri, made of banana leaves, shaped like a krathong, in layers, large and small, up to three floors, 5 floors, 7 floors, or 9 floors, with a pillar embroidered in the middle as the core. There are sacrifices placed in the bai Sri and there are khai Kwan (boiled eggs) plugged on the top of the bai Sri. There are many types such as Bai Sri Tong, Bai Sri Pak Cham, Bai Sri Yai (Khmer language, bai = rice + Sri = Siri, meaning rice is Siri or Khao Kwan). The line is wrapped. around to use to tie the wrist of the gift recipient The ceremonial leader is called Dr. Kwan.

Baisi has an assumption that it was invented from the beliefs of Brahmins. Considered from using banana leaves to invent baisri because the banana leaf is pure and unstained from old food to be contaminated. and one more thing is The appearance of the Baisri modeled on Mount Phra Sumeru, which is the dwelling place of Lord Shiva. As well as offerings are believed from Brahmins such as eggs, cucumbers, coconuts, including ceremonies such as candlelight, anointing, and various ceremonies, these are all Brahmins.

 ติดต่อช่างทำบายศรี


“白斯里苏关礼”保命,处处随主人

白斯里苏关仪式 这是泰国和老挝人民的传统之一。它有时也被称为拜斯里仪式、制作关的仪式、制作关的仪式和接受关的仪式,相信每个人天生都有一个被称为“关”的抽象,这是负责维持生命并随处跟随其主人。苏关的仪式就这样邀请失踪的关关来和他一起生活。并相信它会促进强大的意志力 有意识和粗心

白斯里苏关传统使用一种名为白斯里的关器,由香蕉叶制成,形如水灯,层层叠叠,大小不一,最高可达三层、五层、七层或九层,并绣有一根柱子中间为核心。bai Sri 里有祭品,bai Sri 上面塞着 khai Kwan(煮鸡蛋)。有很多类型,如 Bai Sri Tong、Bai Sri Pak Cham、Bai Sri Yai(高棉语,bai = Rice + Sri = Siri,意思是大米是Siri或Khao Kwan。线缠绕。用来绑礼物接收者的手腕 礼仪负责人被称为关博士。

白思有一个假设,认为它是从婆罗门的信仰中发明出来的。从使用香蕉叶发明baisri考虑 因为香蕉叶是纯净的,没有被旧食物污染。还有一件事是 Baisri 的外观仿照湿婆神的住所帕须弥山(Mount Phra Sumeru)。除了鸡蛋,黄瓜,椰子等婆罗门的供品,包括烛光,涂油和各种仪式等仪式,这些都是婆罗门。

 ติดต่อช่างทำบายศรี

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 เดือนที่ผ่านมา
2 เดือนที่ผ่านมา