ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสแตนเลส สตีล

lookmoo1981 profile image lookmoo1981

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสแตนเลส สตีล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสแตนเลส สตีล
สแตนเลสสตีล คือ โลหะผสม (Ferrous Alloy) ระหว่างเหล็กกับสารหลายชนิด ที่สำคัญ คือ สารโครเมี่ยมอย่างน้อย 10%

ที่ทำให้เหล็กกลายเป็นโลหะผสม ที่สามารถทนการกัดกร่อน และ ทนสนิมทั้งจากธรรมชาติ และจากสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

สแตนเลส สตีล แบ่งออกได้มากกว่า 150 ชนิด แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ 8 กลุ่มด้วยกันขึ้นอยู่กับส่วนผสมของธาตุต่างๆ ที่ทำให้

มีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกันไป การเลือกใช้ต้องพิจารณาจากคุณสมบัติ และความเหมาะสมของงานด้วย ส่วนผสมที่ทำให้งาน

มีคุณสมบัติแตกต่างกันหลัก ๆ มีดังนี้

สารโครเมี่ยม เป็นสารผสมหลักที่จะทำให้เหล็กมีคุณสมบัติในการทนทานต่อการเกิดสนิม และการกัดกร่อนต่าง ๆ

สารนิเกิ้ล ช่วยเสริมความต้านทานในการเกิดสนิม และทำให้สแตนเลสไม่ดูดแม่เหล็ก

สารโมลิดินั่ม ทำให้สแตนเลส มีความต้านทานในการเกิดสนิมสูงขึ้น และความคงทนต่อสารเคมี เช่น คลอรีน เป็นต้น

สารคาร์บอน เป็นตัวเพิ่มความแข็งให้กับสแตนเลส ถ้ามีคาร์บอนน้อย สแตนเลสก็จะมีความเหนียวเพิ่มขึ้นแทน

 

สแตนเลส สตีล ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในท้องตลาด คือ
สแตนเลสเกรด 304 (SUS 304) เป็นสแตนเลสที่มีสารโครเมี่ยมอยู่ 18% และนิเกิ้ลอยู่ 8 % บางที่เรียกว่า สแตนเลส 18/8 ซึ่งจะไม่มี

สารโมลิดินั่ม , มีคาร์บอนต่ำ และเป็นสแตนเลสที่ทนต่อการเกิดสนิม (Oxidation) และทนการกัดกร่อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี (Corrosion)

เนื่องจากมีสารนิเกิ้ลจึงทำให้แม่เหล็กดูดไม่ติด มีคาร์บอนด์ ต่ำจึงมีความเหนียวสูง สามารถใช้กับการปั้มขึ้นรูปสูง ๆ ได้ เช่น การทำอ่างซิงค์หรือภาชนะ

ในครัวต่าง ๆ เพราะสามารถทนความร้อนได้ดี เช่น หม้อ กระทะ เป็นต้น

สแตนเลสเกรด 316 (SUS 316) เป็นสแตนเลส ที่นิยมใช้รองลงมาจากเกรด 304 เป็นสแตนเลสสตีล ที่มีส่วนผสมคล้ายกับเกรด

SUS 304 แต่เกรด 316 จะมีส่วนผสมของ สารโมลิดินั่ม เพิ่มเข้าไปทำให้สแตนเลสเกรดนี้ สามารถทนต่อการเกิดสนิม และการกัด

กร่อนได้สูงกว่าเกรด 304 โดยเฉพาะการทนต่อสารคลอรีน ( Warm Chlorine Enviromentle ) จึงนิยมใช้ในงานทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน

ห้องแลป ส่วนงานอุตสหกรรมอาหาร , อุตสหกรรมสารเคมีต่างๆ , อุปกรณ์เรือ จนถึงประเภทงานสปริง ที่ต้องให้ทนสนิม โดยการ

ลดคาร์บอนลงจาก 0.08% ลงมาเหลือ 0.03% ทำให้สแตนเลสเหนียวขึ้นจนสามารถเป็นสปริงได้ เป็นเกรด SUS 316 L (Low Carbon)

สแตนเลสเกรด 430 (SUS 430) เป็นสแตนเลสที่คล้าย เกรด 304 แต่จะไม่มีสารนิเกิ้ล จึงทำให้แม่เหล็กดูดติด แต่จะไม่ติดขนาด

เหล็ก แต่ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันสนิมได้ดี แม้จะไม่เท่าเกรด 304 แต่เกรดนี้จะมีคาร์บอนด์สูงถึง 0.12% จึงมีความแข็งแกร่งสูงกว่าสแตนเลสเกรด 304

และ 316 เหมาะสำหรับงานที่รับแรงสูงกว่า เพราะปรกติสแตนเลสมักจะมีความเหนียวมากกว่าความแข็ง ในกรณีที่สารคาร์บอนสูงกว่า 0.15% จะกลายเป็น

เกรด 420 ซึ่งมีความแข็งที่เหมาะสำหรับทำอุปกรณ์ชุดครัวในเรื่องการตัดหั่นต่าง ๆ เช่น ทำมีดต่าง ๆ เป็นต้น

การทำสกรูน๊อตสแตนเลสจะนิยมใช้เกรด SUS 304 เพื่อมีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีพอสมควร ส่วนเกรด SUS 316 จะนิยมใช้กับงานใน

อุตสหกรรมเคมี ในห้องแลป หรือในท้องทะเล ส่วนสกรูปลายสว่านที่เป็นสแตนเลสจะเป็นเกรด SUS 410 เพราะมีความแข็งพอใช้ และเกรด 304 หรือ

เกรด 316 ใช้ไม่ได้ เพราะมีความแข็งไม่พอ แต่ความสามารถในการทนสนิมจะน้อยกว่า

สแตนเลสเกรด 202 (SUS202) เป็นสแตนเลสอีกเกรดที่น่าสนใจ ซึ่งจะประกอบด้วย โครเมี่ยม , นิเกิ้ล และแมงกานีส ซึ่งแม่เหล็ก

ดูดไม่ติด แต่ความทนทานต่อสนิมจะต่ำกว่าเกรด SUS 304 มักนิยมใช้ในงานผลิตสินค้า ฮาร์ดแวร์ ต่าง ๆ เช่น บานพับ และกลอนประตูเกรดล่าง

 ติดต่อช่าง                                  

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 เดือนที่ผ่านมา
2 เดือนที่ผ่านมา