ความหมายโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต

lookmoo1981 profile image lookmoo1981

ความหมายโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
“ชายสองคนกำลังนั่งมองแก้วกาแฟที่มีหูจับข้างเดียว คนแรกเห็นหูแก้วกาแฟเพราะอยู่ด้านเดียวกับหูจับ ส่วนคนที่สองไม่เห็นหูจับเพราะมองจากฝั่งตรงกันข้าม จึงคิดไปว่าแก้วนี้ไม่มีหูจับ” เชื่อหรือไม่ว่าสถานะการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นบ่อยคร้ังในสังคมเรา หากแต่ไม่ใช่การมานั่งมองแก้วกาแฟแต่เป็นมุมมองของการรับรู้ปัญหาสังคมที่แต่ละคนต่างก็มีภาพของความเข้าใจที่ไม่เหมือนกันตามพื้นฐานของที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุให้แนวทางการพัฒนาไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการทำให้สังคมเราได้รับการเยียวยาไปในทิศทางที่ถูกที่ควร จึงจำเป็นต้องทำให้ภาพเหล่านั้นชัดเจนและเห็นเป็นภาพเดียวกันเสียก่อน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในสังคมไทยมีปัญหามากมายที่ได้รับการเยียวยาอย่างไม่ถูกวิธีหรือแก้แล้วแก้อีกก็ยังไม่ดีขึ้น เมื่อถึงคราต้องเปลี่ยนยุคสมัย วิธีรับมือกับปัญหานั้นๆก็เปลี่ยนตามไปด้วย แต่ทว่าหนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับคือการสร้างความมั่นคงและแข็งแรงให้กับหน่วยเล็กที่สุดในสังคม นั้นก็คือ “ครอบครัวหรือชุมชน” เพราะเมื่อชุมชนแข็งแรง พึ่งพาตัวเองได้ ก็จะดึงคนออกจากสังคมเมือง ลดปัญหาการว่างงานและอื่นๆที่ตามมา แต่คำถามสำคัญก็ยังคงอยู่ที่ว่าจะใช้กระบวนการและเครื่องมือพัฒนาใดที่จะทำให้ชุมชนแข็งแรงและยั่งยืนได้จริง

โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย เป็นโครงการที่ช่วยชาวบ้านในเรื่องของการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและยังรวมถึงการออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านและสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นบริเวณนั้น

แนวความคิดดังกล่าวทางสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตรผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10

30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจเพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์และความร่มเย็น และอีก 10% สำหรับที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น

ติดต่อสอบถาม

The meaning of the project to develop a model area for improving the quality of life

“Two men are looking at a coffee mug with one handle. The first person sees the ear of the coffee cup because it is on the same side as the handle. The second person could not see the handle because he was looking from the opposite side. So I thought that this glass has no handle.” Believe it or not, this situation happens often in our society But it's not about sitting and looking at a coffee cup, but looking at the perception of social problems that each person has a different picture of understanding based on different backgrounds. This causes the development guidelines to not go in the same direction. Thus making our society healed in the right direction. Therefore, it is necessary to make them clear and see the same image first.

It is well known that in Thai society there are many problems that have been improperly cured or solved and still not getting better. When it's time to change the era The way of dealing with that problem has also changed. However, one of the accepted sustainable solutions is to build stability and strength for the smallest unit in society, that is, “family or community”. self-reliant will pull people out of the urban society Reduce unemployment and other problems that follow. But the key question remains as to what processes and development tools will be used to make communities stronger and more sustainable.

Project to develop a model area for improving the quality of life According to the new theory applied to Khok Nong Na model operated by the Ministry of Interior It is a project that helps villagers in water management for agriculture and also includes designing an agricultural area that combines new theory agriculture with folk wisdom and in harmony with the nature of the area.

Such concepts by the Institute of Sufficiency Economy and the Natural Farming Foundation has brought the royal speech given by His Majesty King Bhumibol Adulyadej, the reign of King Rama IX on the new theory of agriculture According to the sufficiency economy line, it is used to manage water and agricultural areas in harmony with folk wisdom. by dividing the area into the proportion of 30 : 30 : 30 : 10

30% for water source By digging ponds to make swamps and canals, 30% for farming, 30% for rice planting, for hump or forest, planting 3 forests, 4 benefits is planting trees for use. Edible and economic trees for the benefit of having to eat, have, have, use, have fertility and peace, and another 10% for housing and raising animals such as chickens, fish, cows and buffaloes, etc.

ติดต่อสอบถาม

开发改善生活质量示范区项目的意义

“两个男人正在看着一个带把手的咖啡杯。第一个人看到咖啡杯的耳朵是因为它与把手在同一侧。第二个人看不到把手,因为他是从对面看的。所以我觉得这个玻璃杯没有把手。”信不信由你,这种情况 在我们的社会中经常发生 但这不是坐着看咖啡杯,而是看社会问题的认知,每个人基于不同的背景有不同的理解图景。这导致开发指南不朝着同一个方向发展。从而使我们的社会朝着正确的方向愈合。因此,有必要使它们清晰并首先看到相同的图像。

众所周知,在泰国社会中,有很多问题没有得到妥善的治疗或解决,仍然没有好转。是时候改变时代了 处理这个问题的方式也发生了变化。然而,公认的可持续解决方案之一是为社会中最小的单位,即“家庭或社区”建立稳定和力量。自力更生 将人们从城市社会中拉出来 减少失业和其他随之而来的问题。但关键问题仍然是将使用哪些流程和开发工具来使社区更强大、更可持续。

开发改善生活质量的示范区项目 根据适用于内政部运作的 Khok Nong Na 模型的新理论 这是一个帮助村民进行农业用水管理的项目,还包括设计一个将新理论农业与民间智慧相结合并与该地区自然和谐相处的农业区。

自给自足经济研究所和自然农业基金会的此类概念 带来了拉玛九世国王普密蓬·阿杜德陛下关于农业新理论的皇家演讲 按照自给自足经济路线,用民间智慧来管理水源和农田。将面积按 30 : 30 : 30 : 10 的比例划分

水源30% 挖池塘造沼泽和运河,30%用于耕作,30%用于种植水稻,用于驼峰或造林,种植3林,4惠植树供使用。可食用和经济的树木,用于食用、拥有、拥有、使用、生育和和平,另外 10% 用于住房和饲养动物,如鸡、鱼、牛和水牛等。

ติดต่อสอบถาม

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 เดือนที่ผ่านมา
2 เดือนที่ผ่านมา