คำ5 คำถามยอดฮิต เมื่อคิดจะเอารถเข้าไฟแนนซ์

lookmoo1981 profile image lookmoo1981

คำ5 คำถามยอดฮิต เมื่อคิดจะเอารถเข้าไฟแนนซ์
ถามที่ 1: อยากเอารถเข้าไฟแนนซ์ จะมีรถใช้ไหม?
ถ้าคุณเลือกสินเชื่อทะเบียนรถ ก็จะมีรถใช้เหมือนปกติเลยครับ

หลายคนมักจะเข้าใจผิดเวลาได้ยินใครพูดว่า เอารถเข้าไฟแนนซ์ ก็มักจะคิดว่าต้องนำรถไปจอดทิ้งไว้ที่เต็นท์รถของผู้ให้กู้ แต่จริงๆ แล้วคุณสามารถเลือกได้ เพราะมีทั้ง “จำนำรถแบบจอด” และ “สินเชื่อทะเบียนรถ”

สินเชื่อทะเบียนรถนั้นมีข้อดีมากกว่าจำนำแบบจอดอยู่หลายข้อ คือนอกจากจะมีรถใช้เหมือนเดิมแล้ว ยังไม่ต้องห่วงด้วยว่ารถจะหายหรือไม่ มากกว่าไปกว่านั้นคือ ผู้ให้กู้หลายแห่งยังให้เลือกได้ด้วยว่า จะโอนทะเบียนหรือไม่โอนทะเบียน ซึ่งถ้าเลือกแบบไม่โอนเล่ม เล่มทะเบียนของเราก็จะสะอาดวิ้ง ไม่มีร่องร่อยการขอสินเชื่อปรากฏอยู่ให้เสียประวัติด้วย
คำถามที่ 2: ถ้าไม่มีคนค้ำ เอารถเข้าไฟแนนซ์ได้ไหม?
ได้ แต่มีเงื่อนไข แล้วแต่กรณี

ต้องอธิบายก่อนว่า เหตุผลที่ต้องมีผู้ค้ำก็เพราะไฟแนนซ์ต้องการความมั่นใจว่าจะได้รับค่างวดตรงตามที่ตกลงกันในสัญญา นึกภาพง่ายๆ ก็เหมือนเวลามีคนแปลกหน้ามาขอยืมเงินคุณ คุณก็คงต้องการทำความรู้จักว่าเขาเป็นใคร ทำงานอะไร มีรายได้เท่าไหร่ และอยากจะได้หลักฐานต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้เงินคืนแน่ๆ ใช่ไหมครับ

ดังนั้น ถ้าผู้กู้ไม่สามารถแสดงให้มั่นใจได้ว่ามีรายได้และวินัยในการชำระเงินที่ดีพอ เช่น เคยค้างชำระหนี้บัตรเครดิต มีหนี้สินเยอะ หรือมีรายได้น้อย ทำให้ไม่มีหลักฐานว่าจะสามารถชำระหนี้ตรงเวลาหรือเปล่า ฯลฯ เรื่องเหล่านี้จะทำให้ไฟแนนซ์ไม่แน่ใจในตัวผู้กู้ และอยากจะขอความมั่นใจเพิ่มด้วยการขอ “ผู้ค้ำประกัน”

ในหลายกรณี ไฟแนนซ์มักจะกำหนดให้ผู้กู้สามารถนำรถมาขอกู้เงินได้ก็ต่อเมื่อมี “ผู้ค้ำประกัน” เท่านั้น เพื่อเป็นหลักประกันว่าถ้าในอนาคตผู้กู้ไม่สามารถผ่อนชำระค่างวด ไฟแนนซ์ก็สามารถเรียกเก็บค่างวดจากผู้ค้ำประกันได้ โดยผู้ค้ำจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น มีฐานเงินเดือนเยอะเป็น 2 เท่าของค่างวด มีที่อยู่ชัดเจนและควรจะเป็นเจ้าของบ้านตามทะเบียนบ้าน ฯลฯ

แต่สำหรับผู้ให้สินเชื่อบางแห่ง เช่น เงินติดล้อ ก็เปิดโอกาสให้สามารถเอารถมาขอสินเชื่อได้โดยไม่ต้องมีคนค้ำ เพียงแค่อยู่ในเงื่อนไขดังนี้
ผู้ขอกู้ต้องถือกรรมสิทธิ์รถตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ผู้ขอกู้มีที่อยู่ปัจจุบันในพื้นที่ให้บริการสาขามากกว่า 1 ปี
วงเงินกู้ไม่เกิน 250,000 บาท
รู้หรือไม่?
ผู้ค้ำประกัน กับ ผู้กู้ร่วม ต่างกันยังไง

ผู้ค้ำประกัน หมายถึง บุคคลภายนอกที่มาทำสัญญากับเจ้าหนี้ ว่าจะต้องเป็นผู้ชำระหนี้ให้แทนลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถทวงหนี้จากผู้ค้ำประกัน และสามารถฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนได้ โดยผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสายเลือดเดียวกันกับลูกหนี้ แต่อาจจะเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกัน

ผู้กู้ร่วม หมายถึง บุคคลที่มีฐานะเป็นเหมือนผู้กู้ร่วมอีกคนหนึ่งในสัญญากับลูกหนี้ และผู้กู้ร่วมจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบชำระหนี้สินที่กู้มาให้เทียบเท่ากับลูกหนี้ แต่ว่าผู้ที่จะสามารถเป็นผู้กู้ร่วมกับลูกหนี้ได้จะต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัวเท่านั้น เช่น พ่อแม่ สามีภรรยา หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกัน ต่างจากผู้ค้ำประกันที่ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในครอบครัว
คำถามที่ 3: ยังผ่อนไม่หมด เอารถเข้าไฟแนนซ์ได้ไหม
ได้

ถ้าคุณกำลังผ่อนรถอยู่ แต่กำลังคิดว่าภาระค่าผ่อนตอนนี้เริ่มจะตึงตัวเกินไป ส่งค่างวดไม่ไหว การเอารถไปเข้าไฟแนนซ์อีกครั้งกับผู้ให้กู้เจ้าใหม่ หรือเจ้าเดิมแต่ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระให้เหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น เราจะเรียกการทำแบบนี้ว่า “รีไฟแนนซ์” ครับ

การรีไฟแนนซ์ คือ การกู้ยืมเงินสินเชื่อก้อนใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้ของสินเชื่อก้อนเดิมให้หมด เพื่อจะย้ายไปผ่อนสินเชื่อใหม่ที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้มากกว่า

สถาบันการเงินหรือบริษัทที่ให้บริการรีไฟแนนซ์รถ จะมีเงื่อนไขในการรีไฟแนนซ์แตกต่างกันไป เช่น ถ้ารถยนต์อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ ไม่มีประวัติค้างชำระเกิน 90 วัน เป็นต้น จึงควรศึกษาเปรียบเทียบเงื่อนไขของแต่ละเจ้า รวมถึงคำนวณความคุ้มค่าในการรีไฟแนนซ์ให้ดีนะครับ เพราะการรีไฟแนนซ์ก็เหมือนกับการเริ่มขอกู้ใหม่เลย คุณอาจต้องเสียเวลาในการทำเอกสาร และเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
คำถามที่ 4: ถ้าเอารถเข้าไฟแนนซ์ แต่ไม่ใช่ชื่อเราได้ไหม
ไม่ได้

กฎหมายกำหนดไว้ว่า คุณไม่มีสิทธิ์นำรถของผู้อื่นไปขอสินเชื่อได้ เพราะลองคิดว่าถ้าเพื่อนของคุณ หรือใครก็ตามแอบนำเล่มทะเบียนรถของคุณไปขอกู้เงิน กรรมสิทธิ์รถก็จะตกเป็นของไฟแนนซ์ไปทันทีโดยที่คุณไม่รู้ตัว! ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ถึงจะเป็นลูกหลานหรือญาติสนิทกับเจ้าของรถก็ไม่สามารถนำทะเบียนรถ หรือตัวรถไปขอสินเชื่อได้ เว้นแต่ว่าเจ้าของรถทำหนังสือมอบอำนาจให้คุณเป็นผู้รับมอบอำนาจ นำรถไปขอสินเชื่อ

หมายเหตุ: การขอสินเชื่อทะเบียนรถที่เงินติดล้อ ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้

ข้อควรระวัง
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงได้เห็นแล้วว่า “เล่มทะเบียนรถ” เป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดในการเอารถเข้าไฟแนนซ์ ถ้าคุณเป็นเจ้าของรถ การเก็บเล่มทะเบียนไว้ในรถจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากรถถูกขโมย ขโมยก็จะได้เล่มทะเบียนไปด้วย ควรถ่ายเอกสารเก็บไว้ และเก็บเล่มจริงไว้ให้มิดชิด เพราะมีหลายกรณีที่ญาติพี่น้องต้องการใช้เงินด่วนหรือติดการพนัน แล้วแอบนำเล่มทะเบียนไปขอกู้เงิน แถมยังไม่ชำระหนี้ กลับกลายเป็นว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รถเองก็ต้องมาชำระหนี้แทน
คำถามที่ 5: เอารถเข้าไฟแนนซ์ที่ไหนดี
ในการเลือกนำรถเข้าไฟแนนซ์ สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องคิดถึงก็คือ “ความน่าเชื่อถือ” โดยไฟแนนซ์ที่เราเลือกนำรถไปขอสินเชื่อ จะต้องเป็นที่ถูกกฎหมายเท่านั้นนะครับ ไม่อย่างนั้น ระวังจะเจอดอกเบี้ยโหด หรือหนักกว่านั้นคือรถหายไปกับสายลมก็เป็นได้

แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าบริษัทนี้หรือเต็นท์รถนี้ถูกกฎหมายหรือเปล่า?

วิธีตรวจสอบง่ายๆ ที่สร้างความมั่นใจได้คือ สถาบันทางการเงินหรือบริษัทนั้นๆ จะต้องมีใบอนุญาตผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ เพื่อรับรองว่าเป็นหน่วยงานที่มีสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย

นอกเหนือจากนั้น ก็ควรจะดูจากอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จะต้องไม่เกินกว่าประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน จะต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 28% (สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ให้บริการได้ทั่วประเทศ) หรือไม่เกิน 36% (สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กที่ให้บริการได้เฉพาะจังหวัด)

                   ติดต่อสอบถาม   



ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 เดือนที่ผ่านมา
2 เดือนที่ผ่านมา