องค์ความรู้เรื่อง โคก หนอง นา โมเดล

lookmoo1981 profile image lookmoo1981

รับขุดออกแบบโมเดลโคกหนองนา ขุดโคกหนองนา เกษตรทฤษฏีใหม่
รับงานขุดออกแบบ โมเดลโคกหนองนา 
รับขุดสระถมที่  วางผังสวนเกษตร
รับออกแบบฟาร์มสเตย์  รับออกแบบสวนเกษตรทฤษฎีใหม่
ผลงานของเรา


                  ติดต่อสอบถาม

องค์ความรู้เรื่อง โคก หนอง นา โมเดล

ความเป็นมา
องค์ความรู้เรื่องนี้ มีที่มาจากในปัจจุบันประเทศไทยรับมือกับวิกฤตภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากเป็น
อันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 เกษตรกรในพื้นที่หลายจังหวัดขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภค
บริโภค รวมถึงน้ำสำหรับใช้ในการทำเกษตร ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพ หารายได้เลี้ยงปากท้องของตนเอง
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 14 ชัยนาท จึงมีแนวคิดการในปรับปรุงพื้นที่ภายในศูนย์เพื่อ
เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคลากรของศูนย์ฯ14 และประชาชนทั่วไป ให้สามารถจัดการพื้นที่ที่แห้งแล้งให้
กลับมาชุ่มชื้น สามารถทำการเกษตรได้ โดยศูนย์ฯ14 นำความรู้ที่ได้จากการไปอบรมโครงการของศูนย์กสิกร
รมธรรมชาติมาบเอื้อง รวมถึงการดำเนินการจัดโครงการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา ลุ่มน้ำปิง
จังหวัดตาก มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามศาตร์พระราชา โคก หนอง
นา โมเดล โดยปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืช ผัก สวนครัว เพื่อนำไปใช้บริโภคใน
ครัวเรือนได้ และมีพื้นที่รองรับน้ำฝนไว้ใช้ในการเพาะปลูก

การจัดการความรู้
การรวบรวมข้อมูลในการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่เป็นแปลงเรียนรู้จากการประยุกต์
ตามศาสตร์พระราชา โคก หนอง นา โมเดล เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของข้าราชการ พนักงานราชการ
และลูกจ้างประจำในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 14 จังหวัดชัยนาท โดยมีแนวคิดว่า “องค์ความรู้”
เรื่องนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนทั่วไป และเป็นแนวทางหนึ่งในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่แห้ง
แล้งให้กลับมามีความชุ่มชื้น สามารถทำการเกษตรได้ โดยรวบรวมความรู้จาก 2 ประเภท ดังนี้

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์การทำการเกษตรที่
มีอยู่ในตัวของบุคลากรศูนย์ฯ 14 นำความรู้จากการเข้าอบรมโครงการของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
และการดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา ลุ่มน้ำปิง จังหวัดตาก
ที่ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำของศูนย์ฯ 14 ได้ลงมือฝึกปฏิบัติจริง
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) รวบรวมความรู้จากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
โคก หนอง นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร เป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่
เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก หนอง นา โมเดล เป็นการที่ให้
ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ โคก หนอง นา
โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.โคก : พื้นที่สูง
– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”
ตามแนวทางพระราชดำริ
– ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น
เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยง
เป็นเครือข่าย
– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
2. หนอง : หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ
–ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
-2-
– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไป
ตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
– ทำฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บ
น้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และ
เพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
3. นา
– พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์
ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอด
สารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา
(โดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย)

ภาพที่ 1 โคก หนอง นา โมเดล
กระบวนการจัดทำ
การนำโมเดล โคก หนอง นา มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของศูนย์ฯ14 เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบพื้นที่ เป็นการกำหนดแบบและขอบเขตในการดำเนินการ ซึ่งการออกแบบคำนึงถึงความ
เหมาะสมของพื้นที่ซึ่งใช้พื้นที่บริเวณหลังสำนักงานที่ปลูกต้นไม่อยู่เดิม
ภาพที่ 2 ภาพออกแบบ
-4-
ขั้นตอนที่ 2 ขุดคลองไส้ไก่ โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลด
พลังงานในการรดน้ำต้นไม้คลองไส้ไก่ควรมีลักษณะเป็นรูปตัววีความลึกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่
(ที่มาตรฐาน คือ ความกว้างของท้องร่องประมาณ 80 ซม. ความลาดเอียงประมาณ 45 องศา สูงประมาณ
120 ซม.) ไหล่คลองไส้ไก่ต้องมีความแน่นเพื่อกันการชะล้างหน้าดิน หากต้องการให้เก็บน้ำได้ดีควรทำท้องร่อง
ให้แน่น ในบางจุดควรทำลักษณะแบบหลุมขนมครกเพื่อเก็บน้ำได้จำนวนมากขึ้น

ภาพที่ 3 ขุดคลองไส้ไก่

ภาพที่ 4 คลองไส้ไก่และหลุมขนมครก

ภาพที่ 5 ทุบดินให้แน่นป้องกันการชะล้างของหน้าดิน

ขั้นตอนที่ 3 ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในศูนย์ฯ 14 เช่น วัชพืช ใบไม้ จากคอนโดปุ๋ย ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
(คอนโดปุ๋ย คือ การนำวัชพืชและเศษใบไม้รอบสำนักงาน มาใส่ในพื้นที่ที่เตรียมเพื่อให้วัชพืชและเศษใบไม้เกิด
การย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์) เพื่อนำมาปรับปรุงดินที่แห้งแล้งโดยผสมกับวัตถุดิบต่างๆ
ประกอบด้วย ขี้วัว น้ำหมักพด.2

ภาพที่ 6 คอนโดปุ๋ย รวบรวมวัชพืชและใบไม้บริเวณศูนย์ใส่ในพื้นที่ที่เตรียมไว้และรดน้ำเพื่อให้เกิด
ความชื้น เร่งกระบวนการย่อยสลาย

ขั้นตอนที่ 4 ห่มดิน เนื่องจากพื้นที่แปลงสาธิตเป็นดินทรายไม่สามารถกักเก็บน้ำฝนได้ ทำให้ดินมีความแห้ง
แล้ง ต้นไม้ที่มีอยู่เดิมไม่เจริญเติบโต จึงต้องทำการเปิดหน้าดินเดิมความลึกประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อนำปุ๋ยที่หมัก
ที่เตรียมไว้มาโรยบนหน้าดินโดยใช้วิธี “แห้งชามน้ำชาม” (แห้งชามน้ำชาม คือ นำปุ๋ยที่หมักไว้โรยบนหน้าดิน
แล้วตามด้วยขี้วัวพอประมาณ รดน้ำและราดน้ำหมักชีวภาพ) หลังจากนั้นกลบด้วยดิน และทิ้งระยะเวลา
ประมาณ 1 – 2 เดือน เพื่อรอการย่อยสลายเป็นอาหารดิน (สำหรับการห่มดินสามารถใช้วัตถุดิบเป็นฟางข้าว
ต้นข้าวโพด หรือวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นนำมาปรับใช้ตามความเหมาะสม)
ภาพที่ 7 ขุดลอกหน้าดินเดิม
ภาพที่ 8 นำใบไม้ที่อยู่ในคอนโดปุ๋ยมาใส่ในพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุง

ขั้นตอนที่ 5 ปลูกพืชผักสวนครัว เตรียมความพร้อมโดยการทำค้างไม้เลื้อย และเพาะเมล็ดพืช เช่น มะเขือ
พริก เป็นต้น หลังจากพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น นำต้นกล้าที่เพาะไว้มาปลูก พร้อมทั้งดูแลรดน้ำ

ขั้นตอนที่ 6 การกักเก็บน้ำของคลองไส้ไก่ หลังจากทำตามขั้นตอนดังกล่าว เมื่อมีฝนตกจะทำให้พื้นที่เดิมที่ไม่
สามารถเก็บน้ำได้ สามารถเก็บน้ำได้

ผลที่ได้รับ
1. ทำให้บุคลากรของศูนย์ฯ14 ได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง
2. ทำให้มีพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
3. ทำให้มีผักสวนครัวบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
4. บุคลากรศูนย์ฯ 14 สามารถนำไปถ่ายทอด และปรับใช้ในครัวเรือนของตนเองได้
ปัจจัยความสำเร็จ
1. นำหลักการ “การเก็บน้ำ, บำรุงดิน” ในดินของตนเองเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งมาลองทำเป็น
แปลงเรียนรู้
2. ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ทำให้บุคลากรของ
ศูนย์ฯ 14 มีเวลาในการทำแปลงเรียนรู้อย่างเต็มที่
3. การนำแนวคิด “สิ่งที่เกิดจากการปฏิบัติจริง” มาปรับใช้
4. การทำ โคก หนอง นา โมเดล “ต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน”

โคกหนองนาโมเดลเชียงราย
โคกหนองนาโมเดลเชียงใหม่
โคกหนองนาโมเดลน่าน
โคกหนองนาโมเดลพะเยา
โคกหนองนาโมเดลแพร่
โคกหนองนาโมเดลแม่ฮ่องสอน
โคกหนองนาโมเดลลำปาง
โคกหนองนาโมเดลลำพูน
โคกหนองนาโมเดลอุตรดิตถ์
โคกหนองนาโมเดลกาฬสินธุ์
โคกหนองนาโมเดลขอนแก่น
โคกหนองนาโมเดลชัยภูมิ
โคกหนองนาโมเดลนครพนม
โคกหนองนาโมเดลนครราชสีมา
โคกหนองนาโมเดลบึงกาฬ
โคกหนองนาโมเดลบุรีรัมย์
โคกหนองนาโมเดลมหาสารคาม
โคกหนองนาโมเดลมุกดาหาร
โคกหนองนาโมเดลยโสธร
โคกหนองนาโมเดลร้อยเอ็ด
โคกหนองนาโมเดลเลย
โคกหนองนาโมเดลสกลนคร
โคกหนองนาโมเดลสุรินทร์
โคกหนองนาโมเดลศรีสะเกษ
โคกหนองนาโมเดลหนองคาย
โคกหนองนาโมเดลหนองบัวลำภู
โคกหนองนาโมเดลอุดรธานี
โคกหนองนาโมเดลอุบลราชธานี
โคกหนองนาโมเดลอำนาจเจริญ
โคกหนองนาโมเดลกำแพงเพชร
โคกหนองนาโมเดลชัยนาท
โคกหนองนาโมเดลนครนายก
โคกหนองนาโมเดลนครปฐม
โคกหนองนาโมเดลนครสวรรค์
โคกหนองนาโมเดลนนทบุรี
โคกหนองนาโมเดลปทุมธานี
โคกหนองนาโมเดลพระนครศรีอยุธยา
โคกหนองนาโมเดลพิจิตร
โคกหนองนาโมเดลพิษณุโลก
โคกหนองนาโมเดลเพชรบูรณ์
โคกหนองนาโมเดลลพบุรี
โคกหนองนาโมเดลสมุทรปราการ
โคกหนองนาโมเดลสมุทรสงคราม
โคกหนองนาโมเดลสมุทรสาคร
โคกหนองนาโมเดลสิงห์บุรี
โคกหนองนาโมเดลสุโขทัย
โคกหนองนาโมเดลสุพรรณบุรี
โคกหนองนาโมเดลสระบุรี
โคกหนองนาโมเดลอ่างทอง
โคกหนองนาโมเดลอุทัยธานี
โคกหนองนาโมเดลจันทบุรี
โคกหนองนาโมเดลฉะเชิงเทรา
โคกหนองนาโมเดลชลบุรี
โคกหนองนาโมเดลตราด
โคกหนองนาโมเดลปราจีนบุรี
โคกหนองนาโมเดลระยอง
โคกหนองนาโมเดลสระแก้ว
โคกหนองนาโมเดลกาญจนบุรี
โคกหนองนาโมเดลตาก
โคกหนองนาโมเดลประจวบคีรีขันธ์
โคกหนองนาโมเดลเพชรบุรี
โคกหนองนาโมเดลราชบุรี
โคกหนองนาโมเดลกระบี่
โคกหนองนาโมเดลชุมพร
โคกหนองนาโมเดลตรัง
โคกหนองนาโมเดลนครศรีธรรมราช
โคกหนองนาโมเดลนราธิวาส
โคกหนองนาโมเดลปัตตานี
โคกหนองนาโมเดลพังงา
โคกหนองนาโมเดลพัทลุง
โคกหนองนาโมเดลภูเก็ต
โคกหนองนาโมเดลระนอง
โคกหนองนาโมเดลสตูล
โคกหนองนาโมเดลสงขลา
โคกหนองนาโมเดลสุราษฎร์ธานี
โคกหนองนาโมเดลยะลา
โคกหนองนาโมเดลกรุงเทพมหานคร

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 เดือนที่ผ่านมา
2 เดือนที่ผ่านมา