รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารอย่างไรให้ถูกกฎหมาย

lookmoo1981 profile image lookmoo1981
บริษัทรื้อถอน
รับซื้อรื้อถอนสแตนเลส
รับซื้อรื้อถอนเศษเหล็ก
ทุบรื้อถอนโครงหลังคา
รับซื้อรื้อถอนเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

                                                   ติดต่อเรา


รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เจ้าของบ้านจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ดี เพราะการรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารต้องพิจารณาในแง่ของการก่อสร้างและกฎหมายควบคู่กันไปด้วย ลองมาดูข้อควรรู้ ข้อควรระวัง และข้อปฏิบัติในการรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารให้ปลอดภัยทั้งต่อผู้อาศัยและถูกต้องตามกฎหมาย

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการรื้อบ้าน รื้ออาคาร
การรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารต่าง ๆ ล้วนจำเป็นต้องทำโดยได้รับใบอนุญาตเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 39 ทวิ โดยบ้านและอาคารที่ต้องรื้อถอนนั้นต้องเข้าข่ายลักษณะต่อไปนี้

1. บ้านหรืออาคารสูงเกิน 50 เมตร ซึ่งระยะห่างจากอาคารหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคารนั้น

2. บ้านหรืออาคารอยู่ห่างอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตร

ยกตัวอย่าง บ้านของคุณสูงเกิน 15 เมตร โดยบริเวณนั้นก็มีอาคารอื่น ๆ หรือชุมชนล้อมรอบ มีระยะห่างไม่ถึง 15 เมตร เจ้าบ้านก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตรื้อบ้าน เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีกรณีซ่อมแซมหรือต่อเติมเล็ก ๆ น้อย ๆ บางกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาต โดยเจ้าบ้านลงมือทำได้ทันทีตามสมควร ไม้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อน กรณีดังกล่าวอ้างอิงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 พ.ศ. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่

1. การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต

2. การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต

3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นวัสดุที่แตกต่างจากเดิม ต้องขออนุญาต

4. การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต

5. การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต

ถ้าพิจารณาจากข้อยกเว้น 5 ข้อแล้ว จะเห็นว่า การต่อเติมส่วนใหญ่ที่เรา ๆ ทำกันอยู่ ล้วนต้องขออนุญาต เพราะพื้นที่ที่เราต่อเติม ส่วนใหญ่จะเกินกว่า 5 ตารางเมตร

รื้อบ้าน-รื้อถอนอาคาร ให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร
เมื่อพิจารณาแล้วว่าบ้านหรืออาคารของเราจำเป็นต้องรื้อถอนออก เจ้าบ้านควรยื่นเรื่องขอรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายมีข้อปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นเตรียมการก่อนรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร
ผู้ยื่นขออนุญาตจำเป็นต้องเตรียมเอกสาร เพื่อขอยื่นคำอนุญาตที่สำนักงานเขตหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลพื้นที่ที่จะทำการรื้อถอนบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. แบบบ้าน ประกอบด้วย

- แบบแปลนทุกชั้น

- รูปด้าน จำนวน 2 รูป

- รูปตัด 2 รูป

- รายการประกอบแบบ (ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการรื้อถอน วัสดุที่ใช้ โดยลงรายละเอียดให้ครบถ้วนตามหลักการรื้อถอนอาคาร)

2. คำร้อง ข.1

3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นขออนุญาต

4.ใบยินยอมที่ดิน (ใช้ยื่นกรณีที่ผู้ยื่นขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่นั้น)

5. บัตรทะเบียนบ้านเจ้าของที่ดิน

6. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินเท่าฉบับจริง

7. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรและสถาปนิก

- หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองวิศวกรและสถาปนิก

- สำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกรและสถาปนิก

- หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองผู้ควบคุมงานของวิศวกรและสถาปนิก

- สำเนาใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพ

8. เอกสารอื่น ๆ

- การแสดงระบบบำบัดน้ำเสีย

- รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย

ขั้นยื่นคำร้องขอรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร
เมื่อเตรียมเอกสารสำหรับยื่นอนุญาตครบถ้วนแล้วนั้น ก็ทำเรื่องกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที โดยผู้ยื่นขออนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคำร้อง รวมทั้งรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เพื่อออกใบอนุญาตรื้อถอนอาคารให้แก่ผู้ขอยื่นอนุญาตต่อไป

ขั้นเตรียมรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร
หลังจากเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตรื้อถอนอาคารให้แล้ว ผู้ยื่นขออนุญาตก็เริ่มดำเนินการรื้อถอนอาคารได้ โดยต้องเตรียมการดังนี้

1. ปิดป้ายโครงการรื้อถอนอาคาร โดยลงรายละเอียดเกี่ยวกับการรื้อถอนดังกล่าวให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

2. ส่งมอบใบอนุญาตก่อสร้างพร้อมแบบแปลนประจำติดไว้ที่ทำการก่อสร้างรื้อถอน

3. ระบุวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการรื้อถอนอาคาร ผู้ควบคุมงาน และหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานแก่สำนักงานเขตพื้นที่หรือองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไปยื่นเรื่องอีกครั้ง

รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร ไม่ขออนุญาต ต้องรับโทษอะไรบ้าง
หากเราดำเนินการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ขออนุญาต ฝ่าฝืนไม่ขออนุญาตเพื่อดำเนินการรื้อถอน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในใบขอนุญาตรื้อถอนอาคารนั้น จะได้รับโทษตามกฎหมาย โดยจะถูกจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งจะถูกปรับรายวันไม่เกินวันละ 10,000 บาท กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของใบขออนุญาตรื้อถอนอาคารให้ถูกต้อง

นอกจากนี้ หากแก้ไขการรื้อถอนให้ถูกต้องตามใบขออนุญาตไม่ได้ หรือเจ้าบ้านไม่ยินยอมแก้ไขโดยดี ก็จำเป็นต้องสั่งรื้อถอนบ้านหรืออาคารนั้นทั้งหมด และหากยังเพิกเฉยต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ก็จะได้รับโทษจำคุกเพิ่มไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100.000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งปรับรายวันไม่เกินวันละ 30,000 บาท จนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง

อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ อะไรบ้าง
โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายสำหรับรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารนั้นจะตกอยู่ประมาณ 5,000-30,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดบ้านและระดับความยากง่ายในการรื้อถอน นอกจากนี้ หากมีการออกแบบหรือต่อเติมบ้านหรืออาคารเพิ่มเติม ก็อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาตามสมควร โดยอัตราค่าออกแบบตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ครอบคลุมเฉพาะการออกแบบและตกแต่งภายใน ดังนี้

1. อัตราค่าออกแบบบ้านพักที่มีงบประมาณไม่เกิน 10 ล้านบาท คิดเป็น 7.5% ของงบประมาณ

2. อัตราค่าออกแบบสำหรับการตกแต่งภายในที่มีงบไม่เกิน 10 ล้านบาท คิดเป็น 10% ของงบประมาณ

ทุบรื้อถอนเชียงราย
ทุบรื้อถอนเชียงใหม่
ทุบรื้อถอนน่าน
ทุบรื้อถอนพะเยา
ทุบรื้อถอนแพร่
ทุบรื้อถอนแม่ฮ่องสอน
ทุบรื้อถอนลำปาง
ทุบรื้อถอนลำพูน
ทุบรื้อถอนอุตรดิตถ์
ทุบรื้อถอนกาฬสินธุ์
ทุบรื้อถอนขอนแก่น
ทุบรื้อถอนชัยภูมิ
ทุบรื้อถอนนครพนม
ทุบรื้อถอนนครราชสีมา
ทุบรื้อถอนบึงกาฬ
ทุบรื้อถอนบุรีรัมย์
ทุบรื้อถอนมหาสารคาม
ทุบรื้อถอนมุกดาหาร
ทุบรื้อถอนยโสธร
ทุบรื้อถอนร้อยเอ็ด
ทุบรื้อถอนเลย
ทุบรื้อถอนสกลนคร
ทุบรื้อถอนสุรินทร์
ทุบรื้อถอนศรีสะเกษ
ทุบรื้อถอนหนองคาย
ทุบรื้อถอนหนองบัวลำภู
ทุบรื้อถอนอุดรธานี
ทุบรื้อถอนอุบลราชธานี
ทุบรื้อถอนอำนาจเจริญ
ทุบรื้อถอนกำแพงเพชร
ทุบรื้อถอนชัยนาท
ทุบรื้อถอนนครนายก
ทุบรื้อถอนนครปฐม
ทุบรื้อถอนนครสวรรค์
ทุบรื้อถอนนนทบุรี
ทุบรื้อถอนปทุมธานี
ทุบรื้อถอนพระนครศรีอยุธยา
ทุบรื้อถอนพิจิตร
ทุบรื้อถอนพิษณุโลก
ทุบรื้อถอนเพชรบูรณ์
ทุบรื้อถอนลพบุรี
ทุบรื้อถอนสมุทรปราการ
ทุบรื้อถอนสมุทรสงคราม
ทุบรื้อถอนสมุทรสาคร
ทุบรื้อถอนสิงห์บุรี
ทุบรื้อถอนสุโขทัย
ทุบรื้อถอนสุพรรณบุรี
ทุบรื้อถอนสระบุรี
ทุบรื้อถอนอ่างทอง
ทุบรื้อถอนอุทัยธานี
ทุบรื้อถอนจันทบุรี
ทุบรื้อถอนฉะเชิงเทรา
ทุบรื้อถอนชลบุรี
ทุบรื้อถอนตราด
ทุบรื้อถอนปราจีนบุรี
ทุบรื้อถอนระยอง
ทุบรื้อถอนสระแก้ว
ทุบรื้อถอนกาญจนบุรี
ทุบรื้อถอนตาก
ทุบรื้อถอนประจวบคีรีขันธ์
ทุบรื้อถอนเพชรบุรี
ทุบรื้อถอนราชบุรี
ทุบรื้อถอนกระบี่
ทุบรื้อถอนชุมพร
ทุบรื้อถอนตรัง
ทุบรื้อถอนนครศรีธรรมราช
ทุบรื้อถอนนราธิวาส
ทุบรื้อถอนปัตตานี
ทุบรื้อถอนพังงา
ทุบรื้อถอนพัทลุง
ทุบรื้อถอนภูเก็ต
ทุบรื้อถอนระนอง
ทุบรื้อถอนสตูล
ทุบรื้อถอนสงขลา
ทุบรื้อถอนสุราษฎร์ธานี
ทุบรื้อถอนยะลา
ทุบรื้อถอนกรุงเทพมหานคร

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน