33 ประเด็น ถาม-ตอบ ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน

manman profile image manman
คำนำ
       ภารกิจส่วนหนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็คือ การรักษาไว้ซึ่งชาติ และราชบัลลังก์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนป้องกับประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของชาติอันเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่บัญญัติเอาไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 70 และ 71
       
       แม้ว่า เรื่องปราสาทพระวิหารและเรื่องอาณาเขตระหว่างไทย-กัมพูชา มีความสลับซับซ้อนทางวิชาการยากแก่การเข้าใจ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้ให้นโยบายจัดทำเอกสารชุดนี้ขึ้นมาที่เน้นการสื่อสารในรูปแบบที่ทำความ เข้าใจให้ง่ายขึ้นในรูปแบบของตารางคำถาม-คำตอบ เพื่อทำให้ผู้อ่านได้เลือกอ่านในเฉพาะประเด็นที่สงสัย หรือเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในสังคมเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรู้ เท่าทันการบิดเบือนข้อมูลที่เกิดขึ้นในทางการเมืองโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ได้แบ่งออก 2 ตอน โดยตอนแรกจะเป็นการตอบคำถามในลักษณะสรุป 33 ประเด็น เกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000, มรดกโลก และการรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยโดยกัมพูชา และตอนที่สองจะเป็นการเปรียบเทียบจุดยืน 20 ประเด็นระหว่างรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
       
       หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารชิ้นนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านได้มีความเข้า ใจ นำไปเล่าต่อ หรือสำเนาพิมพ์เพิ่มเพื่อแจกจ่ายเอกสารชุดนี้ หรือขยายผลต่อไปให้ประชาชนที่ยังไม่รู้ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายที่กำลังจะ เกิดขึ้น และช่วยกันลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทยในเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนัก
       
                    ด้วยจิตคารวะ
                 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
        โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและทีมงาน
                  เขียนและเรียบเรียง

       คือ 1.เส้นเขตแดนถาวรที่ใช้สันปันน้ำและหน้าผาที่มีความชัดเจนตามธรรมชาติ จากหลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกจนสุดที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ความยาว 195 กิโลเมตร (เส้นสีน้ำเงิน) 2.เส้นเขตแดนที่ไม่ชัดเจนและมีการทำหลักเขตแดน ตั้งแต่ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันตกและลงมาทางใต้จนสุด บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ความยาว 603 กิโลเมตร มีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกตั้งแต่หลักที่ 1 ถึง 73 (เส้นสีแดง)

      
      
      
    
      
             สรุปถาม-ตอบกรณีปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา
       
       1.พันธมิตรฯ นักวิชาการ และภาคประชาชนคัดค้านเรื่องอะไร?
       ตอบ: คัดค้านไม่ให้ประเทศไทยเสียดินแดนจาก
       1.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งปวงที่ไทยทำกับกัมพูชา
       2.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
       3.การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยโดยกัมพูชา
       
       สรุปถาม-ตอบเกี่ยวกับข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน กับเขาพระวิหาร
       
       2.แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทำโดยใคร และเมื่อไหร่?
       ตอบ: ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) โดยสยามไม่เคยเซ็นยอมรับเห็นชอบด้วย และไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส และไม่เป็นไปตามที่ได้มีการเดินสำรวจและตกลงปักปันกันระหว่างสยามกับ ฝรั่งเศส
       
       3.ถ้าไทยไม่ยึดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน แล้วฝ่ายไทยยึดหลักอะไรเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ?
       ตอบ:1.สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส (ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907) และยึดสันปันน้ำเป็นเขตแดน
       2.ผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ที่ยึดสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน
       
       4.แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนทำให้ไทยเสียดินแดนเพราะอะไร?
       ตอบ: มี ความผิดพลาดมาก เขียนผิดธรรมชาติ และรุกล้ำดินแดนไทยบริเวณเขาพระวิหาร 2,875 ไร่ สุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียดินแดนเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่มีแผนจะผนวกเข้าเป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทพระวิหาร 1.5 ล้านไร่ และดินแดนส่วนอื่นๆอีกรวม 1.8 ล้านไร่ ตลอดชายแดนไทย-กัมพูชา
       
       5.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ระหว่างไทยกับกัมพูชามีอยู่ในเอกสารอะไรบ้าง?
       ตอบ:
       1.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย-กัมพูชา พ.ศ.2543 (เอ็มโอยู 2543)
       2.แผนแม่บทฯ พ.ศ.2546 (ทีโออาร์ 2546)
       3.มติรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551
       4.บันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)
       
       6.ปัญหา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ.2543 (เอ็มโอยู 2543) ที่สำคัญคืออะไร?
       1.มีการระบุให้ไทย-กัมพูชาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ
       2แสน ได้ด้วย ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (อยู่ใน ข้อ 1 ค.) ทำให้ไทยต้องสุ่มเสี่ยงเสียดินแดนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
       2.งดเว้นดำเนินการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมพื้นที่ชายแดน (ข้อ 5) โดยฝ่ายกัมพูชานอกจากจะรุกล้ำและยึดครองดินแดนเพิ่มเติมไทยแล้ว กัมพูชายังร้องเรียนกับไทยและนานาชาติกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายละเมิดเงื่อนไข นี้ตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้โต้แย้งหลายครั้ง
       3.ให้ระงับข้อพิพาทใดๆที่เกิดจาการตีความหรือการบังคับใช้ เอ็มโอยู 2543 โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา (ข้อ 8) ทำให้กัมพูชาเหิมเกริมรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้น
       4.ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 224
       5.เป็นเอกสารเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเอกสารหลายชนิดที่มีข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน (ดูคำตอบข้อ 5)
       
       7.การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร?
       ตอบ:
       1.เขตแดนไทย-กัมพูชาซึ่งต้องไปหา/ซ่อมแซม/หลักเขตแดนทางบกเก่า 73 หลัก จาก ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ (หลักเขตที่ 1) ไปทางทิศตะวันออก ถึง บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (หลักเขตที่ 73) ความยาว 603 กิโลเมตร หากสูญหายหรือต้องการทำเพิ่มเพื่อความชัดเจนก็สามารถทำได้
       
       2.เขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือทำอะไรอีก เพราะบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงสำรวจและปักปันไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ว่าให้ใช้สันปันน้ำและหน้าผาซึ่งชัดเจนมากเป็นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยและไม่ต้องสำรวจเพื่อทำหลักเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น จาก ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออก จนถึง ช่องบก จ.อุบลราชาธานี ความยาว 195 กิโลเมตร ซึ่งย่อมรวมถึงเขาพระวิหารและบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย
       
       8.ศาลโลกตัดสินคดี ปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 ตัดสินแค่ไหน?
       ตอบ:
       1.ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามที่กัมพูชาร้องขอ
       2.ศาลโลกไม่ตัดสินเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตามที่กัมพูชาร้องขอ
       3.ด้วยกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้คัดค้านและทักท้วง ศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
       4.ไทยจะต้องถอนทหาร, ตำรวจ, ผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียง
       5.ไทยมีพันธะต้องคืนบรรดาโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับปราสาทคืนให้กัมพูชา
       
       9.ไทยปฏิบัติตัวอย่างไรกับคดีปราสาทพระวิหาร?
       ตอบ:
       1.ไทยยื่นประท้วง คัดค้าน และสงวนสิทธิ์ในตัวปราสาทพระวิหารต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งการสงวนไว้ซึ่งสิทธิ์ไม่มีกำหนดระยะเวลา
       2.ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทสำหรับแนวปฏิบัติการไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าไปเท่านั้น โดยไทยยังคงยึดถือว่าแนวหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนยังคงเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่แท้จริง และในทางปฏิบัติบันไดทางขึ้นตัวปราสาทฯยังอยู่ฝั่งไทย โดยที่กัมพูชาก็ยอมรับสภาพเช่นนี้มาโดยตลอด ไม่เคยร้องขอให้เกินไปกว่านี้แต่อย่างใด
       3.หลังจากคดีปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุขยายคำประกาศรับเขตอำนาจบังคับของศาลโลกจนถึง ปัจจุบัน (คำประกาศหมดอายุในระหว่างพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร)
       
       10.ศาลโลกจะขยายผล หรือกัมพูชาจะฟ้องศาลโลกแล้วไทยจะเสียดินแดนมากกว่านี้ได้หรือไม่?
       ตอบ:
       1.ไทยได้เรียนรู้ว่าศาลโลกไม่ให้ความเป็นธรรมกับไทย ศาลโลกใช้กฎหมายปิดปากกับไทยเป็นประเทศเดียวและประเทศแรกในโลก ศาลโลกตัดสินตามการเมืองเอาใจเขมรให้มาอยู่ข้างโลกเสรีกับมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น ทั้งนี้ทนายของกัมพูชาก็คืออดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
       2.ศาลโลกจำกัดคำพิพากษาเฉพาะประเด็นที่ฟ้องและตัดสินเฉพาะตัวปราสาท พระวิหารเท่านั้น ไม่สามารถขยายผลไปยังแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ได้
       3.ที่จริงแล้วคำพิพากษาศาลโลกไม่มีอำนาจหรือสภาพบังคับประเทศต่างๆได้ แต่ไทยเลือกที่จะปฏิบัติตามโดยดีเอง
       4.การขึ้นศาลโลกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องยินยอม ไทยจึงมีสิทธิ์ที่จะไม่ยินยอมขึ้นศาลโลกได้
       
       11.เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้ไทยกับกัมพูชาจำกัดวงให้เจรจากันเอง โดยไม่ต้องไปศาลโลกอีกครั้งให้ไทยต้องเสียเปรียบ ใช่หรือไม่?
       ตอบ: ไม่จริง เพราะศาลโลกไม่สามารถขยายผลเกินกว่าขอบเขตที่ตัดสินในคำพิพากษา ศาลโลกไม่อยู่ในสภาพบังคับไทยได้ และ ไม่มีใครมาบังคับให้ไทยต้องขึ้นศาลโลกได้ (ดูคำตอบข้อ 10)
       
       12.เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติไม่มาแทรกแซง จริงหรือไม่ ?
       ตอบ: ไม่ จริง เพราะกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 2 วรรค 7 ไม่ให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติมาแทรกแซงความสัมพันธ์หรือความขัดแย้ง ระหว่างประเทศอยู่แล้วตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายในระดับนานาชาติ
       
       13.หากไทยยินยอมกัมพูชาที่จะเดินสำรวจเพื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณ “เขาพระวิหาร” จะมีความหมายว่าอย่างไร?
       ตอบ:
       1.เท่ากับว่า ไทยได้สละแนวขอบหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนที่สุด ซึ่งบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่าให้ใช้เป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดน ใดๆทั้งสิ้น ให้กลายมาเป็นว่าต้องมาสำรวจและตกลงจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ระหว่าง ไทย-กัมพูชา
       
       2.ทำให้นานาชาติเข้าใจว่า ไทย-กัมพูชา กำลัง ยึดถือเส้นเขตแดนอย่างอื่นที่ต้องสำรวจซ้ำและมีความไม่ชัดเจนจนถึงขั้นต้อง ทำหลักเขตแดนกันใหม่จากที่ไม่เคยมี ซึ่งย่อมต้องหมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน มากกว่าจะหมายถึงขอบหน้าผาตามที่ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสยึดถือ
       
       14.ในเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้มี เฉพาะแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งอยู่ในข้อ 1 (ค) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงให้ทำตามสนธิสัญญาในข้อ 1(ก) และ 1(ข) ได้ด้วย จึงไม่ได้สรุปว่าจะใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช่หรือไม่?
       ตอบ:
       1.“ชื่อเต็มของแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน” อ้างว่า เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งทำตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำให้นานาชาติย่อมเข้าใจว่า แผนที่เป็นผลงานสุดท้ายที่สรุปกันแล้ว จึงต้องยึดเอาแผนที่เป็นหลักตลอดแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยไม่มีการยกเว้นในระวางใดทั้งสิ้น
       

       2.เอกสารกรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2547 ระบุชัดเจนว่าหากสันปันน้ำขัดแย้งกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ให้ยึดแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเป็นหลัก รวมถึงระวางดงรักและเขาพระวิหารด้วย
       
       3.หากยึดตามสนธิสัญญาว่าให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนจริง ก็คงไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ในบริเวณเขาพระวิหาร เพราะ บริเวณดังกล่าวบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้วได้สรุปให้ใช้ขอบหน้าผาซึ่งเป็นสันปันน้ำที่มีความชัดเจนให้เป็น เขตแดนตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น
       
       4.กัมพูชากล่าวหาไทยว่าใช้ทหารรุกรานดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งในบันทึกผลการประชุม เจบีซี และในคณะกรรมการมรดกโลก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงแต่ประการใด
       
       15.ผลบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน?
       ตอบ:
       1.บันทึกการประชุมเพื่อสำรวจซ้ำและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร  เสมือนเป็นการสละผลงานการสำรวจและปักปันของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศสซึ่งได้สรุปไปเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่า ให้ใช้แนวสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยต้องทำหลักเขตแดนใดๆ
       
       2.เป็น ผลบันทึกการประชุมที่มีคำปราศรัยใส่ร้ายประเทศไทยว่ารุกล้ำดินแดนกัมพูชาตาม แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้มีการโต้แย้งใดๆ
       
       3.มีร่างข้อตกลงชั่วคราว ที่ยืนยันจะใช้ เอ็มโอยู 2543 และ ทีโออาร์ 2546 ซ้ำ และยังตกลงจะให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากดินแดนบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพื้นที่สันติภาพ และทำให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถดำเนินการได้ทันที
       
       16.เอ็มโอยู 2543 คือ เครื่องมืออันวิเศษที่ทำให้ไทยสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดงว่าว่าฝ่าย กัมพูชาละเมิดเอ็มโอยู 2543 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จริงหรือไม่? และหากไม่มี เอ็มโอยู 2543 ก็จะไม่มีเครื่องมือไปบอกว่ากัมพูชาทำผิดข้อตกลง จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       ไม่จริง เพราะไทยเรามีสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศส ที่สามารถระบุชัดเจนด้วยเหตุผลที่แข็งแรงกว่าว่า “กัมพูชาละเมิดอธิปไตยไทย”รุกล้ำเลยแนวสันปันน้ำและขอบหน้าผา
       
       ตรงกันข้ามเหตุผลของ เอ็มโอยู 2543 ที่ใช้เหตุผลว่า มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่พิพาทนั้น กลับใช้กับพื้นที่ซึ่งเป็นของไทยและไม่เคยเป็นของกัมพูชามาก่อน มาบัดนี้ไทยก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในดินแดนไทยได้แต่อย่าง ใด
       
       ซ้ำร้ายกัมพูชากลับกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามเอ็มโอยู 2543 อีกด้วย
       
       17.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน แม้มีปัญหาในอดีตก็จะต้องกลับมาเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอยู่ดี เราไม่ควรห่วงเกินไป จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       1.กัมพูชาได้อาศัยเงื่อนไทยที่ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในส่วนที่กัมพูชาไม่เคยครอบครองมาก่อน
       
       2.กัมพูชาสามารถโฆษณาชวนเชื่อจากข้อผิดพลาดมากมายกับนานาชาติว่าไทย-กัมพูชา ยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนแล้ว
       
       3.ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาได้ใช้เป็นเอกสารประกอบพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
       
       4.รัฐสภาไทยมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของอำนาจทุนที่ครอบงำพรรคที่เอื้อประโยชน์ต่อกัมพูชาได้
       
       18. เอ็มโอยู 2543 ยกเลิกฝ่ายเดียวไม่ได้ จริงหรือไม่?
       ตอบ: ไม่จริง ไม่มีข้อห้ามใน เอ็มโอยู 2543 ว่าห้ามยกเลิก แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ใช้ ครม.ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 (บันทึกความเข้าใจพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล) กับกัมพูชามาแล้วทั้งๆที่ในเวลานั้นอ้างเหตุผลทางการเมือง ในขณะที่กัมพูชาได้ละเมิดเอ็มโอยู 2543 ไปแล้วหลายครั้ง ไทยจึงมีสิทธิ์ และมีความชอบธรรมที่จะยกเลิก เอ็มโอยู 2543 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
       
       คำถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
       
       19.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ปี 2551 คืออะไร?
       ตอบ:
       1.ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
       2.กัมพูชาได้ส่งแผนผังรวมถึงขอบด้านข้างตัวปราสาทพระวิหารซึ่งไทยถือว่ารุกล้ำดินแดนไทย
       3.กัมพูชาเสนอเอกสารในลักษณะจะทำให้พื้นที่กันชน และพื้นที่พัฒนารอบตัวปราสาทพระวิหาร กินรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย
       4.กัมพูชาเสนอเอกสารแผนที่ภาพรวมว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาคือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ส่วนไทยไม่ทักท้วงในประเด็นนี้
       5.จะมีการตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อให้ความคุ้มครอง ทรัพย์สินมรดกโลก (มี 7 ชาติ อเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, กัมพูชา, ไทย)
       6.กำหนดให้กัมพูชายื่นแผนบริหารจัดการในปี 2553
       
       20.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ปี 2552 คืออะไร?
       ตอบ:กัมพูชา ได้ร้องต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า ไทยใช้กำลังทหารรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ในบริเวณเขาพระวิหารตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมาจนทำให้กัมพูชาเสียหาย โดยฝ่ายไทยไม่ทักท้วงแต่ประการใด
       
       21.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 ปี 2553 คืออะไร?
       ตอบ:
       1.คณะกรรมการมรดกโลกได้แจ้งในรายงานว่า องค์การยูเนสโกได้ให้เงินช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชา จำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ซ่อมและสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย เพราะจากเหตุที่กัมพูชาได้กล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงอีก
       
       2.กัมพูชาได้ส่งมอบแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนให้กับทุกชาติประกอบแผนบริหารจัดการมรดกโลก (ยกเว้นประเทศไทย)
       
       3.ไทย-กัมพูชา ยอมลงนามในร่างมติประนีประนอมระหว่างกัน โดยให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาใน การประชุมครั้งที่ 35 เดือนมิถุนายน 2554
       
       22.เหตุผลที่เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารเป็น มิถุนายน 2554 เพราะอะไร?
       ตอบ:
       1.ฝ่ายไทยร้องเรียนว่ากัมพูชาได้ส่งเอกสารล่วงหน้าไม่ถึง 6 สัปดาห์ ผิดกติกามรดกโลก
       
       2.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นชอบให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 โดยมีเงื่อนไขจะทำให้ไทยต้องเสียเปรียบในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้ง ที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554
       
       23.สิ่งที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติลงนามร่างมติประนีประนอมกับกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกสรุปว่ามีเนื้อหาอะไร?
       ตอบ:
       1.รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34
       2.อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลกและการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการมรดก
       โลกย้อนหลังทั้งหมดในกรณีปราสาทพระวิหาร
       3.ศูนย์มรดกโลกได้รับมอบเอกสารจากกัมพูชาแล้ว
       4.จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานฯพื้นที่มรดกโลก
       ปราสาทพระวิหาร 7 ชาติ
       5.จะตัดสินพิจารณาเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 35 ปี 2554
       
       24.สิ่งที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนาม มีนัยยะต่อการประชุมครั้งที่ 35 ปี เดือนมิถุนายน 2554 ว่าอย่างไร?
       ตอบ:
       1.ไทยและคณะกรรมการมรดกโลกได้รับมอบเอกสารล่วงหน้าแล้ว 1 ปี ก่อนถึงการประชุมครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 ทำให้ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างที่เคยใช้ว่ากัมพูชาไม่ได้ยื่นแผน
       บริหารจัดการล่วงหน้า 6 สัปดาห์ตามกติกาของคณะกรรมการมรดกโลก
       
       3.ไทยได้รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34 ซึ่งทุกประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย) ต่างได้รับ
       มอบแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
       
       4.ไทยได้ยอมรับการอ้างอิงและการรับรองรายงานการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการ
       มรดกโลกที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นกระทบไทย, การ
       อ้างอิงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน, การอ้างว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน
       1 ต่อ 2 แสน, การที่ยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาสร้างตลาดในดินแดนไทยเพราะไทย
       รุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ไทยไม่ได้ปฏิเสธ
       
       5.ไม่ปฏิเสธการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การ จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของปราสาท พระวิหาร 7 ชาติ     
       
       25. เอ็มโอยู 2543 ที่อ้างว่าการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จ เป็นเหตุผลที่ทำให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลก จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       1.ไม่จริง เพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการมรดกโลกได้รับแต่แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยไทยไม่คัดค้านจึงเชื่อว่าคำว่า การจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จนั้น หมายถึงไม่แล้วเสร็จตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งไม่กระทบต่อพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกที่น้อยกว่าเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนและชื่อของแผนที่ใน เอ็มโอยู 2543 นานาชาติย่อมเข้าใจว่า เป็นแผนที่ซึ่งได้ปฏิบัติตาม
       สนธิสัญญาและคณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส จึงเป็นผลลัพธ์ของการกำหนดเส้นเขต
       แดน
       
       2.ไม่จริง เพราะถ้าเชื่อเช่นนั้นจริง ยูเนสโกจะไม่ให้เงินมาสนับสนุนสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย
       
       3.ไม่จริง เพราะถ้ามีน้ำหนักทำให้เลื่อนได้จริง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ไม่จำเป็นต้องลงนามในร่างข้อตกลงประนีประนอมที่ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียเปรียบ ในการประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554
       
       26. เงื่อนไขที่สำคัญที่จะทำให้คณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาคืออะไร?
       ตอบ:
       1.ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553
       
       2.พื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นพื้นที่สันติภาพและสงบ ไม่มีทหารและไม่มีการปะทะ ตลอดจนมีการรื้อถอนสิ่งที่ไม่เกี่ยวออกจากแผนบริหารจัดการมรดกโลกออกจาก พื้นที่
       
       คำถามเกี่ยวกับกรณีกัมพูชารุกล้ำและยึดครองดินแดนไทย
       
       27. หลังจากไทยได้ลงนามใน เอ็มโอยู 2543 กับกัมพูชาแล้วเกิดอะไรขึ้น?
       ตอบ:
       1.กัมพูชาประกาศพระราชกฤษฎีกาใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งๆที่ไม่เคยทำเช่นนี้มาก่อน
       
       2.รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้นบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งการขยายตลาด ชุมชน สร้างวัด สร้างถนนวิ่งอ้อมจากฝั่งกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทยขึ้นถึงตัวปราสาทพระวิหาร และขยายตัวมากขึ้นอย่างไม่หยุด
       
       3.ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมทั้งนำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนเป็นเอกสารประกอบด้วย
       
       4.รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยเพิ่มเติม ทั้งช่องตาเฒ่า, ปราสาทโดนตรวล, ปราสาทตาเมือนธม, ภูมะเขือ, ปราสาทตาควาย, ถนนศรีเพ็ญ ฯลฯ
       
       5.เป็นฝ่ายร้องเรียนกับนานาชาติว่าไทยละเมิด เอ็มโอยู 2543 รุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน
       
       28. การประท้วงถือว่าไทยยังไม่เสียดินแดนจริงหรือไม่?
       ตอบ: ในทางพฤตินัยถือว่าไทยได้สูญเสียดินแดน เพราะไทยไม่แสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณที่ถูกรุกรานและยึดครองได้ เช่น การเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ฯลฯ ยิ่งที่ปล่อยให้เป็นปัญหานานวันก็ยิ่งยากในการขอพื้นที่คืน
       
       29. ต้องการสงครามกัมพูชาหรือไม่?
       ตอบ: การปะทะตามตะเข็บชายแดนเพื่อรักษาอธิปไตย เป็นการปะทะจำกัดขอบเขต ต่างกันกับการทำสงครามอย่างสิ้นเชิง
       
       การละเมิดอธิปไตยควรใช้การเจรจาและทางการทูตเป็นจุดเริ่มต้น แต่หากไม่ฟังแล้ว ไทยต้องแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในพื้นที่ดังกล่าวให้ได้ เช่น การใช้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, การจัดเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา แต่เมื่อฝ่ายทางการไทยอ่อนแอกัมพูชาจึงเหิมเกริมและใช้กองกำลังทหารติดอาวุธ รุกรานและยึดครอง ดังนั้นไทยก็มีความชอบธรรมที่จะใช้ทหารในการผลักดันเช่นกันเพื่อรักษา อธิปไตยของชาติ
       
       30. กลยุทธ์ทางการทหารของกัมพูชาคืออะไร?
       ตอบ:
       1.ใช้ทหารบุกรุกยึดครองแล้วขยายชุมชนให้กัมพูชายึดครองโดยพฤตินัย
       2.พื้นที่มรดกโลกปราสาทพระวิหาร เมื่อใกล้ถึงวันพิจารณาแผนบริหารจัดการ กัมพูชาจึงถอนชุมชน เพื่อให้ถอนทหารและงดเว้นการปะทะทั้งสองฝ่าย โดยใช้ข้ออ้างในการสำรวจและทำหลักเจแดนตามเอ็มโอยู 2543 แต่แท้ที่จริงก็คือการทำให้เป็นพื้นที่สันติภาพเพื่อให้แผนบริหารจัดการมรดก โลกปราสาทพระวิหารได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ถือเป็นการนำนานาชาติมาผ่านเวทีมรดกโลกมาสร้างความชอบธรรมให้กัมพูชายึดครอง ดินแดนไทย ขยายความชอบธรรมในกรรมสิทธิ์ในดินแดนดังกล่าวให้เป็นของกัมพูชาในระหว่างที่ เจรจาไม่สำเร็จตามที่กัมพูชาต้องการ
       
       31. กัมพูชาถอนชุมชน ตลาดและวัด โดยอ้างหลายครั้งว่าสถานภาพถอยกลับไปก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยฝ่ายไทยอ้างเป็นผลงานว่าเป็นผลงานจาก เอ็มโอยู 2543 และการเจรจา จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       กัมพูชา อ้างว่าให้ถอยกลับไปก่อน วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 หมายถึงว่า ทหารไทยได้เลิกรุกรานกัมพูชาตาแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และพร้อมที่จะบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลกแล้ว โดยกัมพูชาได้สร้างหลักฐานเอกสารอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ
       
       1. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 กัมพูชาให้ร้ายว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จนองค์การยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาให้ซ่อมสร้างตลาดในดินแดนไทย 50,000 เหรียญสหรัฐ โดยไทยไม่ทักท้วง
       
       2.ในคำปราศรัยในบันทึกผลการประชุม ประธานเจบีซีฝ่ายกัมพูชากล่าวร้ายว่าตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ประเทศไทยได้มีการปะทะละเมิดเอ็มโอยู 2543
       
       32. การลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ได้อะไร?
       ตอบ:
       1.ยกเลิกสิ่งที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ และไม่ยอมรับการละเมิดอธิปไตยไทย
       
       2.ถือเป็นการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผิดพลาดในการประชุมที่ ผ่านมาทั้งหมด และสิ่งทีกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตโดยฝ่ายไทยได้แจ้งล่วงหน้าก่อนแล้ว
       
       3.หากไทยลาออกจาภาคีอนุสัญญามรดกโลกล่าช้า หรือยังจะใช้เป็นเวทีในการเจรจาคัดค้านต่อไป ย่อมเท่ากับว่าไทยยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมา และหากปล่อยผ่านไปถึงการประชุมลงมติแผนบริหารจัดการมรดกโลกในครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 แล้ว ไทยจะต้องเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอีกหลายชาติ จากที่เคยเผชิญหน้ากับกัมพูชาประเทศเดียว
       
       4.ไม่กระทบต่อทะเบียนมรดกโลกที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้
       
       33. ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย?
       ตอบ:
       1.ลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อแสดงการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้ละเมิด อธิปไตยไทยและไม่ฟังคำทักท้วง
       
       2.ผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาออกจากดินแดนไทย พร้อมทั้งทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาดังเดิม
       
       3.ยกเลิกและหยุดยั้งข้อผูกพันทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน
             สรุปถาม-ตอบกรณีปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา
       
       1.พันธมิตรฯ นักวิชาการ และภาคประชาชนคัดค้านเรื่องอะไร?
       ตอบ: คัดค้านไม่ให้ประเทศไทยเสียดินแดนจาก
       1. ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งปวงที่ไทยทำกับกัมพูชา
       2. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
       3. การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยโดยกัมพูชา
       
       สรุปถาม-ตอบเกี่ยวกับข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน กับเขาพระวิหาร
       
       2. แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทำโดยใคร และเมื่อไหร่?
       ตอบ: ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) โดยสยามไม่เคยเซ็นยอมรับเห็นชอบด้วย และไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส และไม่เป็นไปตามที่ได้มีการเดินสำรวจและตกลงปักปันกันระหว่างสยามกับ ฝรั่งเศส
       
       3.ถ้าไทยไม่ยึดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนแล้วฝ่ายไทยยึดหลักอะไรเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ?
       ตอบ:1.สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส (ค.ศ. 1904 และ ค.ศ.1907) และยึดสันปันน้ำเป็นเขตแดน
       2.ผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ยึดสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน
       
       4.แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนทำให้ไทยเสียดินแดนเพราะอะไร?
       ตอบ: มี ความผิดพลาดมาก เขียนผิดธรรมชาติ และรุกล้ำดินแดนไทยบริเวณเขาพระวิหาร 2,875 ไร่ สุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียดินแดนเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่มีแผนจะผนวกเข้าเป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทพระวิหาร 1.5 ล้านไร่ และดินแดนส่วนอื่นๆอีกรวม 1.8 ล้านไร่ ตลอดชายแดนไทย-กัมพูชา
       
       5.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ระหว่างไทยกับกัมพูชามีอยู่ในเอกสารอะไรบ้าง?
       ตอบ:
       1.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (เอ็มโอยู 2543)
       2.แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2546 (ทีโออาร์ 2546)
       3.มติรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย -กัมพูชา (เจบีซี) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551
       4.บันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)
       
       6.ปัญหา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (เอ็มโอยู 2543) ที่สำคัญคืออะไร?
       1. มีการระบุให้ไทย-กัมพูชาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ
       2แสนได้ด้วย ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (อยู่ใน ข้อ 1 ค.) ทำให้ไทยต้องสุ่มเสี่ยงเสียดินแดนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
       2. งดเว้นดำเนินการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมพื้นที่ชายแดน (ข้อ 5) โดยฝ่ายกัมพูชานอกจากจะรุกล้ำและยึดครองดินแดนเพิ่มเติมไทยแล้ว กัมพูชายังร้องเรียนกับไทยและนานาชาติกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายละเมิดเงื่อนไข นี้ตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้โต้แย้งหลายครั้ง
       3. ให้ระงับข้อพิพาทใดๆที่เกิดจาการตีความหรือการบังคับใช้ เอ็มโอยู 2543 โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา (ข้อ 8) ทำให้กัมพูชาเหิมเกริมรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้น
       4. ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 224
       5. เป็นเอกสารเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเอกสารหลายชนิดที่มีข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน (ดูคำตอบข้อ 5)
       
       7.การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร?
       ตอบ:
       1.เขตแดนไทย-กัมพูชาซึ่งต้องไปหา/ซ่อมแซม/หลักเขตแดนทางบกเก่า 73 หลัก จาก ช่องสะงำ จ. ศรีสะเกษ (หลักเขตที่ 1) ไปทางทิศตะวันออก ถึง บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (หลักเขตที่ 73) ความยาว 603 กิโลเมตร หากสูญหายหรือต้องการทำเพิ่มเพื่อความชัดเจนก็สามารถทำได้
       
       2.เขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือทำอะไรอีก เพราะบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงสำรวจและปักปันไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ว่าให้ใช้สันปันน้ำและหน้าผาซึ่งชัดเจนมากเป็นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยและไม่ต้องสำรวจเพื่อทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น จาก ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออก จนถึง ช่องบก จ.อุบลราชาธานี ความยาว 195 กิโลเมตร ซึ่งย่อมรวมถึงเขาพระวิหารและบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย
       
       8.ศาลโลกตัดสินคดี ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ตัดสินแค่ไหน?
       ตอบ:
       1.ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามที่กัมพูชาร้องขอ
       2.ศาลโลกไม่ตัดสินเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตามที่กัมพูชาร้องขอ
       3.ด้วยกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้คัดค้านและทักท้วง ศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
       4.ไทยจะต้องถอนทหาร, ตำรวจ, ผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียง
       5.ไทยมีพันธะต้องคืนบรรดาโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับปราสาทคืนให้กัมพูชา
       
       9.ไทยปฏิบัติตัวอย่างไรกับคดีปราสาทพระวิหาร?
       ตอบ:
       1.ไทยยื่นประท้วง คัดค้าน และสงวนสิทธิ์ในตัวปราสาทพระวิหารต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งการสงวนไว้ซึ่งสิทธิ์ไม่มีกำหนดระยะเวลา
       2.ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทสำหรับแนวปฏิบัติการไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าไปเท่านั้น โดยไทยยังคงยึดถือว่าแนวหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนยังคงเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่แท้จริง และในทางปฏิบัติบันไดทางขึ้นตัวปราสาทฯยังอยู่ฝั่งไทย โดยที่กัมพูชาก็ยอมรับสภาพเช่นนี้มาโดยตลอด ไม่เคยร้องขอให้เกินไปกว่านี้แต่อย่างใด
       3.หลังจากคดีปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุขยายคำประกาศรับเขตอำนาจบังคับของศาลโลกจนถึง ปัจจุบัน (คำประกาศหมดอายุในระหว่างพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร)
       
       10.ศาลโลกจะขยายผล หรือกัมพูชาจะฟ้องศาลโลกแล้วไทยจะเสียดินแดนมากกว่านี้ได้หรือไม่?
       ตอบ:
       1.ไทยได้เรียนรู้ว่าศาลโลกไม่ให้ความเป็นธรรมกับไทย ศาลโลกใช้กฎหมายปิดปากกับไทยเป็นประเทศเดียวและประเทศแรกในโลก ศาลโลกตัดสินตามการเมืองเอาใจเขมรให้มาอยู่ข้างโลกเสรีกับมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น ทั้งนี้ทนายของกัมพูชาก็คืออดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
       2.ศาลโลกจำกัดคำพิพากษาเฉพาะประเด็นที่ฟ้องและตัดสินเฉพาะตัวปราสาท พระวิหารเท่านั้น ไม่สามารถขยายผลไปยังแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ได้
       3.ที่จริงแล้วคำพิพากษาศาลโลกไม่มีอำนาจหรือสภาพบังคับประเทศต่างๆได้ แต่ไทยเลือกที่จะปฏิบัติตามโดยดีเอง
       4.การขึ้นศาลโลกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องยินยอม ไทยจึงมีสิทธิ์ที่จะไม่ยินยอมขึ้นศาลโลกได้
       
       11.เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้ไทยกับกัมพูชาจำกัดวงให้เจรจากันเอง โดยไม่ต้องไปศาลโลกอีกครั้งให้ไทยต้องเสียเปรียบ ใช่หรือไม่?
       ตอบ: ไม่จริง เพราะศาลโลกไม่สามารถขยายผลเกินกว่าขอบเขตที่ตัดสินในคำพิพากษา ศาลโลกไม่อยู่ในสภาพบังคับไทยได้ และ ไม่มีใครมาบังคับให้ไทยต้องขึ้นศาลโลกได้ (ดูคำตอบข้อ 10)
       
       12.เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติไม่มาแทรกแซง จริงหรือไม่ ?
       ตอบ: ไม่ จริง เพราะกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 2 วรรค 7 ไม่ให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติมาแทรกแซงความสัมพันธ์หรือความขัดแย้ง ระหว่างประเทศอยู่แล้วตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายในระดับนานาชาติ
       
       13. หากไทยยินยอมกัมพูชาที่จะเดินสำรวจเพื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณ “เขาพระวิหาร” จะมีความหมายว่าอย่างไร?
       ตอบ:
       1.เท่ากับว่าไทยได้สละแนวขอบหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนที่สุด ซึ่งบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่าให้ใช้เป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดน ใดๆทั้งสิ้น ให้กลายมาเป็นว่าต้องมาสำรวจและตกลงจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ระหว่าง ไทย-กัมพูชา
       
       2.ทำให้นานาชาติเข้าใจว่า ไทย-กัมพูชา กำลัง ยึดถือเส้นเขตแดนอย่างอื่นที่ต้องสำรวจซ้ำและมีความไม่ชัดเจนจนถึงขั้นต้อง ทำหลักเขตแดนกันใหม่จากที่ไม่เคยมี ซึ่งย่อมต้องหมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน มากกว่าจะหมายถึงขอบหน้าผาตามที่ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสยึดถือ
       
       14.ในเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้มี เฉพาะแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งอยู่ในข้อ 1 (ค) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงให้ทำตามสนธิสัญญาในข้อ 1 (ก) และ 1(ข) ได้ด้วย จึงไม่ได้สรุปว่าจะใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช่หรือไม่?
       ตอบ:
       1.“ชื่อเต็มของแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน” อ้างว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งทำตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำให้นานาชาติย่อมเข้าใจว่า แผนที่เป็นผลงานสุดท้ายที่สรุปกันแล้ว จึงต้องยึดเอาแผนที่เป็นหลักตลอดแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยไม่มีการยกเว้นในระวางใดทั้งสิ้น
       

       2.เอกสารกรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2547 ระบุชัดเจนว่าหากสันปันน้ำขัดแย้งกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ให้ยึดแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเป็นหลัก รวมถึงระวางดงรักและเขาพระวิหารด้วย
       
       3.หากยึดตามสนธิสัญญาว่าให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนจริง ก็คงไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ในบริเวณเขาพระวิหาร เพราะ บริเวณดังกล่าวบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้วได้สรุปให้ใช้ขอบหน้าผาซึ่งเป็นสันปันน้ำที่มีความชัดเจนให้เป็น เขตแดนตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น
       
       4.กัมพูชากล่าวหาไทยว่าใช้ทหารรุกรานดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งในบันทึกผลการประชุม เจบีซี และในคณะกรรมการมรดกโลก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงแต่ประการใด
       
       15.ผลบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน?
       ตอบ:
       1.บันทึกการประชุมเพื่อสำรวจซ้ำและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร  เสมือนเป็นการสละผลงานการสำรวจและปักปันของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศสซึ่งได้สรุปไปเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่า ให้ใช้แนวสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยต้องทำหลักเขตแดนใดๆ
       
       2.เป็น ผลบันทึกการประชุมที่มีคำปราศรัยใส่ร้ายประเทศไทยว่ารุกล้ำดินแดนกัมพูชาตาม แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้มีการโต้แย้งใดๆ
       
       3.มีร่างข้อตกลงชั่วคราว ที่ยืนยันจะใช้ เอ็มโอยู 2543 และ ทีโออาร์ 2546 ซ้ำ และยังตกลงจะให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากดินแดนบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพื้นที่สันติภาพ และทำให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถดำเนินการได้ทันที
       
       16.เอ็มโอยู 2543 คือเครื่องมืออันวิเศษที่ทำให้ไทยสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดงว่าว่า ฝ่ายกัมพูชาละเมิดเอ็มโอยู 2543 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จริงหรือไม่? และหากไม่มี เอ็มโอยู 2543 ก็จะไม่มีเครื่องมือไปบอกว่ากัมพูชาทำผิดข้อตกลง จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       ไม่จริง เพราะไทยเรามีสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศส ที่สามารถระบุชัดเจนด้วยเหตุผลที่แข็งแรงกว่าว่า “กัมพูชาละเมิดอธิปไตยไทย”รุกล้ำเลยแนวสันปันน้ำและขอบหน้าผา
       
       ตรงกันข้ามเหตุผลของ เอ็มโอยู 2543 ที่ใช้เหตุผลว่า มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่พิพาทนั้น กลับใช้กับพื้นที่ซึ่งเป็นของไทยและไม่เคยเป็นของกัมพูชามาก่อน มาบัดนี้ไทยก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในดินแดนไทยได้แต่อย่าง ใด
       
       ซ้ำร้ายกัมพูชากลับกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามเอ็มโอยู 2543 อีกด้วย
       
       17.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน แม้มีปัญหาในอดีตก็จะต้องกลับมาเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอยู่ดี เราไม่ควรห่วงเกินไป จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       1.กัมพูชาได้อาศัยเงื่อนไทยที่ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในส่วนที่กัมพูชาไม่เคยครอบครองมาก่อน
       
       2.กัมพูชาสามารถโฆษณาชวนเชื่อจากข้อผิดพลาดมากมายกับนานาชาติว่าไทย-กัมพูชา ยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนแล้ว
       
       3.ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาได้ใช้เป็นเอกสารประกอบพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
       
       4.รัฐสภาไทยมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของอำนาจทุนที่ครอบงำพรรคที่เอื้อประโยชน์ต่อกัมพูชาได้
       
       18. เอ็มโอยู 2543 ยกเลิกฝ่ายเดียวไม่ได้ จริงหรือไม่?
       ตอบ: ไม่จริง ไม่มีข้อห้ามใน เอ็มโอยู 2543 ว่าห้ามยกเลิก แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ใช้ ครม.ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 (บันทึกความเข้าใจพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล) กับกัมพูชามาแล้วทั้งๆที่ในเวลานั้นอ้างเหตุผลทางการเมือง ในขณะที่กัมพูชาได้ละเมิดเอ็มโอยู 2543 ไปแล้วหลายครั้ง ไทยจึงมีสิทธิ์ และมีความชอบธรรมที่จะยกเลิก เอ็มโอยู 2543 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
       
       คำถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
       
       19. สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ปี 2551 คืออะไร?
       ตอบ:
       1.ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
       2.กัมพูชาได้ส่งแผนผังรวมถึงขอบด้านข้างตัวปราสาทพระวิหารซึ่งไทยถือว่ารุกล้ำดินแดนไทย
       3.กัมพูชาเสนอเอกสารในลักษณะจะทำให้พื้นที่กันชน และพื้นที่พัฒนารอบตัวปราสาทพระวิหาร กินรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย
       4.กัมพูชาเสนอเอกสารแผนที่ภาพรวมว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาคือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ส่วนไทยไม่ทักท้วงในประเด็นนี้
       5.จะมีการตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อให้ความคุ้มครอง ทรัพย์สินมรดกโลก (มี 7 ชาติ อเมริกา,จีน,ญี่ปุ่น,ฝรั่งเศส,เบลเยียม,กัมพูชา,ไทย)
       6.กำหนดให้กัมพูชายื่นแผนบริหารจัดการในปี 2553
       
       20.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ปี 2552 คืออะไร?
       ตอบ:กัมพูชา ได้ร้องต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า ไทยใช้กำลังทหารรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ในบริเวณเขาพระวิหารตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมาจนทำให้กัมพูชาเสียหาย โดยฝ่ายไทยไม่ทักท้วงแต่ประการใด
       
       21.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 ปี 2553 คืออะไร?
       ตอบ:
       1.คณะกรรมการมรดกโลกได้แจ้งในรายงานว่า องค์การยูเนสโกได้ให้เงินช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชา จำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ ซ่อมและสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย เพราะจากเหตุที่กัมพูชาได้กล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงอีก
       
       2.กัมพูชาได้ส่งมอบแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนให้กับทุกชาติประกอบแผนบริหารจัดการมรดกโลก (ยกเว้นประเทศไทย)
       
       3.ไทย-กัมพูชา ยอมลงนามในร่างมติประนีประนอมระหว่างกัน โดยให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาใน การประชุมครั้งที่ 35 เดือนมิถุนายน 2554
       
       22. เหตุผลที่เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารเป็น มิถุนายน 2554 เพราะอะไร?
       ตอบ:
       1. ฝ่ายไทยร้องเรียนว่ากัมพูชาได้ส่งเอกสารล่วงหน้าไม่ถึง 6 สัปดาห์ ผิดกติกามรดกโลก
       
       2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นชอบให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 โดยมีเงื่อนไขจะทำให้ไทยต้องเสียเปรียบในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้ง ที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554
       
       23.สิ่งที่นายสุวิทย์ คุณกิตติลงนามร่างมติประนีประนอมกับกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกสรุปว่ามีเนื้อหาอะไร?
       ตอบ:
       1. รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34
       2. อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลกและการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการมรดก
       โลกย้อนหลังทั้งหมดในกรณีปราสาทพระวิหาร
       3. ศูนย์มรดกโลกได้รับมอบเอกสารจากกัมพูชาแล้ว
       4. จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานฯพื้นที่มรดกโลก
       ปราสาทพระวิหาร 7 ชาติ
       5.จะตัดสินพิจารณาเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 35 ปี 2554
       
       24. สิ่งที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนาม มีนัยยะต่อการประชุมครั้งที่ 35 ปี เดือนมิถุนายน 2554 ว่าอย่างไร?
       ตอบ:
       1. ไทยและคณะกรรมการมรดกโลกได้รับมอบเอกสารล่วงหน้าแล้ว 1 ปี ก่อนถึงการประชุมครั้ง
       ที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 ทำให้ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างที่เคยใช้ว่ากัมพูชาไม่ได้ยื่นแผน
       บริหารจัดการล่วงหน้า 6 สัปดาห์ตามกติกาของคณะกรรมการมรดกโลก
       
       3.ไทยได้รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34 ซึ่งทุกประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย)ต่างได้รับ
       มอบแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
       
       4.ไทยได้ยอมรับการอ้างอิงและการรับรองรายงานการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการ
       มรดกโลกที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นกระทบไทย, การ
       อ้างอิงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน, การอ้างว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน
       1 ต่อ 2 แสน, การที่ยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาสร้างตลาดในดินแดนไทยเพราะไทย
       รุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ไทยไม่ได้ปฏิเสธ
       
       5.ไม่ปฏิเสธการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การ จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของปราสาท พระวิหาร 7 ชาติ     
       
       25. เอ็มโอยู 2543 ที่อ้างว่าการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จ เป็นเหตุผลที่ทำให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลก จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       1.ไม่จริง เพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการมรดกโลกได้รับแต่แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยไทยไม่คัดค้านจึงเชื่อว่าคำว่า การจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จนั้น หมายถึงไม่แล้วเสร็จตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งไม่กระทบต่อพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกที่น้อยกว่าเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนและชื่อของแผนที่ใน เอ็มโอยู 2543 นานาชาติย่อมเข้าใจว่า เป็นแผนที่ซึ่งได้ปฏิบัติตาม
       สนธิสัญญาและคณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส จึงเป็นผลลัพธ์ของการกำหนดเส้นเขต
       แดน
       
       2.ไม่จริง เพราะถ้าเชื่อเช่นนั้นจริง ยูเนสโกจะไม่ให้เงินมาสนับสนุนสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย
       
       3.ไม่จริง เพราะถ้ามีน้ำหนักทำให้เลื่อนได้จริง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ไม่จำเป็นต้องลงนามในร่างข้อตกลงประนีประนอมที่ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียเปรียบ ในการประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554
       
       26. เงื่อนไขที่สำคัญที่จะทำให้คณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาคืออะไร?
       ตอบ:
       1.ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553
       
       2.พื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นพื้นที่สันติภาพและสงบ ไม่มีทหารและไม่มีการปะทะ ตลอดจนมีการรื้อถอนสิ่งที่ไม่เกี่ยวออกจากแผนบริหารจัดการมรดกโลกออกจาก พื้นที่
       
       คำถามเกี่ยวกับกรณีกัมพูชารุกล้ำและยึดครองดินแดนไทย
       
       27. หลังจากไทยได้ลงนามใน เอ็มโอยู 2543 กับกัมพูชาแล้วเกิดอะไรขึ้น?
       ตอบ:
       1.กัมพูชาประกาศพระราชกฤษฎีกาใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งๆที่ไม่เคยทำเช่นนี้มาก่อน
       
       2.รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้นบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งการขยายตลาด ชุมชน สร้างวัด สร้างถนนวิ่งอ้อมจากฝั่งกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทยขึ้นถึงตัวปราสาทพระวิหาร และขยายตัวมากขึ้นอย่างไม่หยุด
       
       3.ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมทั้งนำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนเป็นเอกสารประกอบด้วย
       
       4.รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยเพิ่มเติม ทั้งช่องตาเฒ่า, ปราสาทโดนตรวล, ปราสาทตาเมือนธม, ภูมะเขือ, ปราสาทตาควาย, ถนนศรีเพ็ญ ฯลฯ
       
       5.เป็นฝ่ายร้องเรียนกับนานาชาติว่าไทยละเมิด เอ็มโอยู 2543 รุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน
       
       28. การประท้วงถือว่าไทยยังไม่เสียดินแดนจริงหรือไม่?
       ตอบ: ในทางพฤตินัยถือว่าไทยได้สูญเสียดินแดน เพราะไทยไม่แสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณที่ถูกรุกรานและยึดครองได้ เช่น การเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ฯลฯ ยิ่งที่ปล่อยให้เป็นปัญหานานวันก็ยิ่งยากในการขอพื้นที่คืน
       
       29. ต้องการสงครามกัมพูชาหรือไม่?
       ตอบ: การปะทะตามตะเข็บชายแดนเพื่อรักษาอธิปไตย เป็นการปะทะจำกัดขอบเขต ต่างกันกับการทำสงครามอย่างสิ้นเชิง
       
       การละเมิดอธิปไตยควรใช้การเจรจาและทางการทูตเป็นจุดเริ่มต้น แต่หากไม่ฟังแล้ว ไทยต้องแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในพื้นที่ดังกล่าวให้ได้ เช่น การใช้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, การจัดเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา แต่เมื่อฝ่ายทางการไทยอ่อนแอกัมพูชาจึงเหิมเกริมและใช้กองกำลังทหารติดอาวุธ รุกรานและยึดครอง ดังนั้นไทยก็มีความชอบธรรมที่จะใช้ทหารในการผลักดันเช่นกันเพื่อรักษา อธิปไตยของชาติ
       
       30. กลยุทธ์ทางการทหารของกัมพูชาคืออะไร?
       ตอบ:
       1.ใช้ทหารบุกรุกยึดครองแล้วขยายชุมชนให้กัมพูชายึดครองโดยพฤตินัย
       2.พื้นที่มรดกโลกปราสาทพระวิหาร เมื่อใกล้ถึงวันพิจารณาแผนบริหารจัดการ กัมพูชาจึงถอนชุมชน เพื่อให้ถอนทหารและงดเว้นการปะทะทั้งสองฝ่าย โดยใช้ข้ออ้างในการสำรวจและทำหลักเจแดนตามเอ็มโอยู 2543 แต่แท้ที่จริงก็คือการทำให้เป็นพื้นที่สันติภาพเพื่อให้แผนบริหารจัดการมรดก โลกปราสาทพระวิหารได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ถือเป็นการนำนานาชาติมาผ่านเวทีมรดกโลกมาสร้างความชอบธรรมให้กัมพูชายึดครอง ดินแดนไทย ขยายความชอบธรรมในกรรมสิทธิ์ในดินแดนดังกล่าวให้เป็นของกัมพูชาในระหว่างที่ เจรจาไม่สำเร็จตามที่กัมพูชาต้องการ
       
       31. กัมพูชาถอนชุมชน ตลาดและวัด โดยอ้างหลายครั้งว่าสถานภาพถอยกลับไปก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยฝ่ายไทยอ้างเป็นผลงานว่าเป็นผลงานจาก เอ็มโอยู 2543 และการเจรจา จริงหรือไม่?
       ตอบ:
       กัมพูชา อ้างว่าให้ถอยกลับไปก่อน วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 หมายถึงว่า ทหารไทยได้เลิกรุกรานกัมพูชาตาแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และพร้อมที่จะบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลกแล้ว โดยกัมพูชาได้สร้างหลักฐานเอกสารอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ
       
       1. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 กัมพูชาให้ร้ายว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จนองค์การยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาให้ซ่อมสร้างตลาดในดินแดนไทย 50,000 เหรียญสหรัฐ โดยไทยไม่ทักท้วง
       
       2.ในคำปราศรัยในบันทึกผลการประชุม ประธานเจบีซีฝ่ายกัมพูชากล่าวร้ายว่าตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ประเทศไทยได้มีการปะทะละเมิดเอ็มโอยู 2543
       
       32. การลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ได้อะไร?
       ตอบ:
       1.ยกเลิกสิ่งที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ และไม่ยอมรับการละเมิดอธิปไตยไทย
       
       2.ถือเป็นการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผิดพลาดในการประชุมที่ ผ่านมาทั้งหมด และสิ่งทีกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตโดยฝ่ายไทยได้แจ้งล่วงหน้าก่อนแล้ว
       
       3.หากไทยลาออกจาภาคีอนุสัญญามรดกโลกล่าช้า หรือยังจะใช้เป็นเวทีในการเจรจาคัดค้านต่อไป ย่อมเท่ากับว่าไทยยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมา และหากปล่อยผ่านไปถึงการประชุมลงมติแผนบริหารจัดการมรดกโลกในครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 แล้ว ไทยจะต้องเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอีกหลายชาติ จากที่เคยเผชิญหน้ากับกัมพูชาประเทศเดียว
       
       4.ไม่กระทบต่อทะเบียนมรดกโลกที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้
       
       33. ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย?
       ตอบ:
       1.ลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อแสดงการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้ละเมิด อธิปไตยไทยและไม่ฟังคำทักท้วง
       
       2.ผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาออกจากดินแดนไทย พร้อมทั้งทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาดังเดิม
       
       3.ยกเลิกและหยุดยั้งข้อผูกพันทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน
        
       
       ตารางเปรียบเทียบ 20 จุดยืนของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
       
กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกรณีเขตแดนไทย-กัมพูชา
      
      
      
      
      
      
      
      
                     คำปราศรัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
                       เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

       
       พี่น้องร่วมชาติ และมิตรร่วมชีวิตที่รักของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า ศาลโลก ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และทางรัฐบาลได้ออกแถลงให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบเป็นลำดับนั้น
        
       รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยเฉพาะตัวของข้าพเจ้า ถือว่า เรื่องนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผลได้ผลเสียของชาติ อันเป็นเรื่องของแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้มา อุตสาห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้ และตกทอดมาถึงรุ่นเรา
       
       เนื่องจากในคำปราศรัยนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าทราบดีว่า ในส่วนลึกและหัวใจแล้ว คนไทยผู้รักชาติทุกคน มีความเศร้าสลดและมีความข่มขืนใจเพียงใด แสดงออกถึงของประชาชนในการเดินขบวนทั่วประเทศ เพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่อย่างชัดเจนแล้ว
       
       ทั้งนี้มิใช่ว่าพวกเราจะนั่งนิ่งเฉยหรือท้อแท้ใจ ชาติไทยยอมท้อแท้ทอดอาลัยไม่ได้ เราเคยสูญเสียดินแดนแก่ประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง หากบรรพบุรุษของเรายอมท้อแท้ เราจะเอาแผ่นดินที่ไหนมาอยู่กันได้จนถึงทุกวันนี้ เราจะต้องหาวิธีการสู้ต่อไป
       
       สำหรับกรณีเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอทบทวนเข้าใจกับเพื่อนร่วมชาติทั้งหลายว่า รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ไม่ได้เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลก ทั้งในข้อเท็จจริงกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม
       
       เมื่อเป็นดังนี้ แม้นรัฐบาลและปวงชนชาวไทย จะได้มีความรู้สึกสลดใจและข่มขืนเพียงใด ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัติสหประชาชาติ กล่าวคือ ต้องยอมให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร ตามพันธกรณีแห่งกฎบัติสหประชาชาติ แต่รัฐบาลขอตั้งประท้วงและขอสงวน สิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้ เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินทางกฎหมายที่จำเป็น ซึ่งอาจจะมีขึ้นในภายภาคหน้า ให้กรรมสิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันสมควร
       
       พี่น้องทั้งหลายคงทราบดีว่า ชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไปเนื่องจากเขาพระวิหาร อีกสิบปีอีกกี่ร้อยปี เราก็สามารถสร้างเกียรติภูมิคราวนี้กลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าทราบว่า การสูญเสียปราสาทเขาพระวิหารครั้งนี้ เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจของคนไทยทั้งชาติ
       
       ฉะนั้นแม้นว่ากัมพูชาจะได้ปราสาทเขาพระวิหารนี้ไป ก็คงไปได้แค่ซากปรักหักพัง และแผ่นดินเฉพาะรองรับเขาพระวิหารเท่านั้น วิญญาณของปราสาทเขาพระวิหารยังคงอยู่กับคนไทยตลอดไป ประชาชนชาวไทยจะระลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทเขาพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไป ด้วยอุปเล่ห์เพทุบาย คนที่ไม่มีเกียรติและไม่รับผิดชอบ ไม่รักความเป็นธรรม เมื่อประเทศไทยเราประพฤติปฏิบัติดีในสังคมโลก อันเป็นที่มีศีลธรรม มีสัตย์ ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว ปราสาทเขาพระวิหารจะต้องกลับมาสู่ดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง
       
       เหตุการณ์เกี่ยวกับเขาพระวิหารครั้งนี้ สลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน และเป็นรอยจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไปตลอด เสมือนแผลที่อยู่ในใจของคนไทยทั้งชาติ แต่ข้าพเจ้าหวังอยู่เสมอว่า ในที่สุด ธรรมมะย่อมชนะอธรรม การหัวเราะที่หลังย่อมดังกว่า และนานกว่าพี่น้องร่วมชาติทุกท่าน ได้โปรดวางใจรัฐบาลซึ่งข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้ จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวสู่อนาคตอันสุขใสให้ได้ และข้าพเจ้ารับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า เมื่อถึงคราวที่ชาติคับขันแล้ว ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องประชาชนชาวไทย เอาเลือดทาแผ่นดิน ไม่เสียดายชีวิตแม้แต่นิดเดียว แต่เราจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเองมีความเจ็บช้ำน้ำใจไม่น้อยไปกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย
       
       การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า การมาพูดกับท่านด้วยน้ำตา น้ำตาของข้าพเจ้า เป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย ของเลือด ของความคับแค้น และการผูกใจเจ็บชั่วชีวิตชาตินี้และชาติหน้า ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย
       
       ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญาณด้วยสัตย์วาจาดังนี้ พี่น้องที่รักชาติทั้งหลายน้ำตาไม่อาจทำให้เราฉลาดขึ้น แต่เราจะต้องได้อะไรคืนมา ในขั้นสุดท้ายชาติไทยจะต้องประสบกับชัยชนะเสมอ เราต้องกล้าสู้ เราต้องกล้ายิ้มรับภัยที่มาถึงตัวเรา ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบริวารพุทธศาสนา ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมตลอดมา
       
       ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่า ชาติของเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องหนึ่งในบรรดาเรื่องใหญ่ทั้งหลาย มีความสำคัญมากกว่านี้ ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาไปในสู่วิถีทางที่ดีขึ้น เหตุนี้ไม่ใช่เหตุผลความอับจนของ  เรา จงหวังและทำในเรื่องชาติที่สำคัญกว่านี้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเหลือเกินว่า ชาติไทยของเรามีอนาคตแจ่มใสและรุ่งโรจน์อย่างแน่อนและมั่นคงในอนาคตอันใกล้ นี้ เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเราต่อไป
       
       พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย วันนี้เป็นวันหนึ่งและในวันข้างหน้า เราจะต้องเอาปราสาทเขาพระวิหารคืนมาให้จงได้ และให้เป็นของชาติไทย

                                  เพลง สุดแผ่นดิน
                                          ส.อ.พรเลิศ สารานิยกุล
       
       สุดดินคือถิ่นน้ำ              เขตคามไทยสุดแนว
       เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว     ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่
       
       ชาติไทยในเก่ากาล          ถูกเขารานย่ำใจ
       เคยเสียน้ำตามากเพียงไหน  เสียเนื้อเลือดเท่าไรชาวไทยจำได้ดี
       
       เราถอยมาอยู่แสนไกล      รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรี
       พระสยามทรงนำโชคดี      ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นดินทอง
       
       ไม่มีที่แห่งไหน              ให้ไทยไปจับจอง
       เราถอยไปไม่ได้พี่น้อง      ใครคิดมาแย่งครองผองไทยจงสู้ตาย
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

guest Icon เคล็ดลับทำงานสาวทำงาน อ่าน 931 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon วิธีผูกเชือกรองเท้า อ่าน 2,772 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
manman Icon โฆษณาโบราณ อ่าน 2,794 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา