การนำมาสู่การสูญเสีย

wangstation profile image wangstation
มีหลายครั้งที่รูปถ่ายรูปหนึ่งสามารถสั่นคลอนหัวใจผู้คนมาก มายและทำให้โลกเปลี่ยนไป
คุณวิลเลี่ยม แอนเดอร์ซึ่งเป็นเจ้าของคอลัมภ์นี้ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เขาเข้าใจดีว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่พอใจรูปภาพเหล่านี้ และไม่เห็นความจำเป็นที่จะนำกลับมาลงซ้ำลงซาก แต่ในขณะเดียวกัน อดีตก็สอนเราหลายอย่าง และเราก็ควรที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะไม่ให้เรื่องโหดร้ายหลายเรื่องเกืดซ้ำ สองอีก

วันนี้เราจะมาแนะนำรูปถ่ายซึ่งเคยประดับอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร และติดตาผู้คนในยุคนั้นๆมาแล้วค่ะ

Execution of a Viet Cong Guerrilla (1968)



รูปนี้ถ่ายโดยเอ็ดดี้ อดัมส์ และทำให้เขาได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง
ในภาพ เกวนกอคลอง (Nguyen Ngoc Loan) ผู้บังคับบัญชากรมตำรวจ (ภายหลังกลายมาเป็นคนสนิทของเกวนเกาคีในสมัยที่เป็นรองนายกฯเวียดนาม) กำลังเหนี่ยวไกปืนใส่เกวนวังเลมบนท้องถนน ซึ่งเกวนกอคลองอ้างว่าอีกฝ่ายเป็นหนึ่งในหัวหน้าพวกเวียตกงซึ่งฆ่าลูกน้อง และครอบครัวของเขาอย่างทารุณ จะอย่างไรก็ดี เมื่อรูปนี้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก คนส่วนมากก็มีความเห็นว่าเกวนวังเลมในรูปนั้น นอกจากจะถูกมัดและไม่มีอาวุธแล้ว การประหารนี้เป็นเพียงศาลเตี้ยที่ไม่มีการตัดสินความผิดโดยศาลอย่างเป็นทาง การภายหลังเมื่อกองทัพอเมริกาถอนกำลังจากไซง่อน ในปี 1972 เกวนกอคลองก็อพยพไปยังอเมริกา และไปเปิดร้านพิซซ่าอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย หากในปี 1991 อดีตของเขาก็ถูกขุดคุ้ยจนต้องปิดร้านไป และในปี 1998 ก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง

The lynching of young blacks (1930)



โทมัส ชิปป์, อับราม สมิธ และเจมส์ คาเมรอน ชายผิวดำสามคนถูกจับในข้อหาปล้นและฆ่าเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นคนผิวขาว รวมทั้งข่มขืนหญิงผิวขาวซึ่งคนรักของผู้เคราะห์ร้าย ฝูงคนผิวขาวที่โกรธเกรี้ยวนับพันคนจึงบุกไปชิงตัวนักโทษจากคุกและรุมประชา ทัณฑ์ก่อนจะปิดฉากด้วยการแขวนคอ
เจมส์ คาเมรอนซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 16 ปี หนีรอดจากการประชาทัณฑ์นี้มาอย่างเฉียดฉิว เจมส์ให้การกับผู้สื่อข่าวว่าพวกเขาขโมยของจริง แต่ไม่ได้รู้เห็นอะไรเกี่ยวกับการปล้นหรือฆ่าแม้แต่น้อย พวกเขาถูกจับกุมในทันทีโดยไม่มีโอกาสแก้ต่าง อีกทั้งในเขตนี้ยังมีการรวมตัว ของ Klu Klux Klan กันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครั้ว นี้) ภายหลังเจมส์กลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพของคน ผิวดำ

Soweto Uprising (1976)



การจลาจลที่โซเวโตในประเทศแอฟริกาใต้ได้หยุดความสนใจของชาวโลกไว้ด้วยรูปของ เฮคเตอร์ ปีเตอร์สันวัย 12 ปีซึ่งเสียชีวิตจากการยิงกราดไม่เลือกหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจเกินหน้าที่ของตำรวจในการจลาจล ครั้งนี้อีกด้วย
การจลาจลที่โซเวโตนี้มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลประกาศบังคับให้ โรงเรียนใช้ภาษาแอฟริคานส์ในการสอนเท่านั้นโดย ผลทำให้ชนผิวดำจำนวนมากไม่พอใจ มีการประท้วงไม่ไปโรงเรียนเกิดขึ้นซึ่งลุกลามไปจนเกือบทั่วทุกโรงเรียนในโซ เวโต ก่อนจะกลายเป็นการประท้วงให้ยกเลิกกฏหมายดังกล่าว ในวันเดียวกับที่เกิดการเดินขบวน ตำรวจออกระงับสถานการณ์ด้วยแก้สน้ำตาซึ่งฝ่ายขบวนประท้วงก็โต้ตอบด้วยการ ขว้างก้อนหิน และรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการจลาจลในที่สุด ตำรวจ 300 นายเข้าปะทะกับนักเรียนผิวดำกว่าหมื่นคน ผลมีผู้เสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 รายเมื่อภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทั่วโลกต่างก็ประณามการกระทำของรัฐบาลแอฟริกาใต้ เด็กชายในภาพซึ่งเป็นผู้อุ้มเฮคเตอร์ถูกขับออกจากประเทศในเวลาถัดมา และหลังจากจดหมายฉบับสุดท้ายที่เขาส่งให้มารดาในปี 1978 เจ้าตัวก็หายสาปสูญไป ส่วนเด็กหญิงในรูปคือน้องสาวของเฮคเตอร์ เธอยังคงอยู่ที่โซเวโตจนทุกวันนี้

Hazel Bryant (1957)



ภาพนี้ถูกถ่ายขึ้นในปีที่ 4 หลังจากการเหยียดสีผิวถูกกำหนดให้เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย การแบ่งแยกยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของชาวอเมริกาโดยเฉพาะในหมู่คนฝั่งใต้ อลิซาเบธ เอ็คฟอร์ดเป็นหนึ่งในคนผิวดำกลุ่มแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนของคนผิวขาวและ ถูกรอบข้างคัดค้านอย่างรุนแรง ในรูปนี้ อลิซาเบธกำลังเดินไปโรงเรียนท่ามกลางเสียงก่นด่าของเพื่อนร่วมโรงเรียนซึ่ง ในจำนวนนั้นมีเฮเซล ไบรอันท์ (คนที่อ้าปากกว้างที่สุดนั่นแหละค่ะ) รวมอยู่ด้วยรูปนี้ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งในร้อยรูปของศตวรรษที่ยี่สิบ และทรมานจิตใจเฮเซลอยู่เป็นเวลานานหลายปี ภายหลังในปี 1963 เฮเซลกล่าวขอโทษอลิซาเบธต่อการกระทำของตัวเอง ทั้งสองเคยออกรายการของโอปร้าพร้อมกันในปี 1998 อีกด้วย

Triangle Shirtwaist Company Fire (1911)



บริษัทไทรแองเกิ้ลเชิ้ตเวสต์มักจะล็อคประตูโรงงานไว้เสมอเพื่อกันไม่ให้คน งานหนีหรือขโมยของ หากในปี 1911 ประตูซึ่งถูกลงกลอนนี้ก็ได้ตัดสินชะตาชีวิตของคนงานเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นที่ ชั้นแปดของตึก มีคนงาน 146 คนเสียชีวิตไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง 62 คนจากจำนวนนี้เสียชีวิตจากการกระโดดหรือตกลงมาจากชั้นเก้า (มีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เขาเห็นชายหญิงคู่หนึ่งแลกจูบกันก่อนจะกระโดดตามกันลงมา)ในภาพคือศพของผู้เคราะห์ร้ายที่ตกลงมาจากตึกและประชาชนซึ่งแหงนหน้ามองเหตุการณ์สยองนี้อยู่อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้ทำให้มีการรณรงค์ปรับปรุงกฏหมายแรงงานครั้งใหญ่เกิดขึ้น

สงคราม (1972)



ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งจากสงครามเวียดนามนี้คือภาพของ Phan Thị Kim Phúc หรือคิมฮุค ในขณะนั้นเธอมีอายุ 9 ปี และหนีจากการทิ้งระเบิดนาปาล์มมาในสภาพเปลือยเปล่า ภาพนี้ถูกยกให้เป็นเครื่องหมายของความน่าสะพรึงกลัวของสงครามและได้รับ รางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง หลังจากถ่ายรูปนี้แล้ว ช่างภาพได้นำคิมฮุคและเด็กเหล่านี้ไปส่งโรงพยาบาล คิมฮุคบาดเจ็บสาหัส ทั่วตัวของเธอเต็มไปด้วยแผลไฟลวกหากก็เอาชีวิตรอดมาได้ เธอรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 14 เดือนและผ่านการผ่าตัด 17 ครั้งปัจจุบัน คิมฮุคอยู่ที่แคนาดาและเป็นแม่ลูกสอง เธอเป็นเครื่องหมายของผู้ต่อต้านสงคราม และได้รับตำแหน่งเป็นทูตสันติภาพในปี 1997

Kent State (1970)



เมื่อประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศว่าจะส่งทหารไปบุกกัมพูชา กระแสต่อต้านอย่างรุนแรงก็ก่อตัวขึ้นตาม มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ และการต่อต้านนี้ก็กลายมาเป็นการจลาจลที่มหาวิทยาลัยเคนท์ในรัฐโอไฮโอ ทหารประจำรัฐยิงปืนเข้าใส่กลุ่มนักศึกษาเพื่อหมายจะระงับเหตุการณ์ไม่สงบ ผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและผู้บาดเจ็บ 9 ราย หลายคนที่ถูกยิงนี้เป็นเพียงนักศึกษาที่มาเข้าเรียนตามปกติโดยไม่ได้เข้า ร่วมการประท้วงแต่อย่างไรในภาพ แมรี่ แอนน์ เวคซิโอ เข่าอ่อนทรุดตัวลงเหนือศพของเจฟฟรีย์ มิลเลอร์ซึ่งถูกทหารประจำรัฐยิงเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่วินาทีก่อน ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง

The Unknow Rebel (1989)





ในภาพคือชายไม่ทราบชื่อซึ่งยืนขวางรถถังซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปสงบการประท้วง ที่กลายไปเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่จตุรัสเทียนอันเหมิงในภายหลังกล้องวีดีโอได้บันทึกภาพชายผู้นี้ซึ่งออกไปขวางทางรถถัง ฝ่ายรถถังเองก็พยายามจะเลี้ยวหลบชายดังกล่าวหลายครั้งซึ่งเจ้าตัวก็ตามมา ขวางไปทุกครั้ง จนกระทั่งชายผู้นี้ปีนขึ้นไปมีปากเสียงกับทหารบนรถถัง ก่อนเจ้าตัวจะถูกคนอีกกลุ่มเข้ามาห้ามและพาหายไปในฝูงคน (ไม่ทราบแน่ว่าคนกลุ่มหลังนี้เป็นประชาชนผู้หวังดี หรือตำรวจนอกเครื่องแบบ) จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่าชายในรูปเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือมีชื่อจริงว่ากระไรภาพทั้งสองถูกถ่ายจากชั้นหกของโรงแรมปักกิ่งซึ่งอยู่ห่างออกไป 800 เมตร โดยภาพบนเป็นของสจ๊วจต์ แฟรงคลิน และภาพล่างเป็นของเจฟฟ์ ไวด์เนอร์

เผาร่างประท้วง (1963)



ติช กว๋าง ดึ๊ก คือพระภิกษุชาวเวียดนามที่เผาตัวเองกลางสี่แยกในกรุงไซง่อน เพื่อประท้วงรัฐบาลที่ไม่ให้ความเป็นธรรมต่อพุทธศาสนิกชนในเวียดนามหลังจากเผาตัวเองในครั้งนี้ สหรัฐได้กดดันรัฐบาลจนยอมตกลงรับข้อเสนอของกลุ่มพทธศาสนิกชนในเวลาหกวันนับ จากนั้น วันถัดจากการเซ็นสัญญา งานศพของพระติช กว๋าง ดึ๊กได้ถูกจัดขึ้น และมีผู้มาร่วมไว้อาลัยกว่า 4000 คน

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

wangstation Icon กำลังใจดีๆให้ตัวเอง อ่าน 695 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon เรื่องเล่าจากหญิงชรา อ่าน 864 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon ให้กำลังใจสำหรับใครหลายๆคน อ่าน 812 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon กำลังใจเพื่อกันและกัน อ่าน 727 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon ความหวัง ความรักและเงื่อนไข อ่าน 748 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon การนำมาสู่การสูญเสีย อ่าน 854 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon กำลังใจกับ... ความล้มเหลว อ่าน 747 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon โอกาส 1 อ่าน 751 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
wangstation Icon วันแรกที่พระเจ้าสร้างโลก อ่าน 1,137 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ข้อคิด 14 สิ่งที่สุดในชีวิตเรา อ่าน 794 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา