ข้อสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบ กรมเจ้าท่า งานราชการ ข่าวล่าสุด

auipui34 profile image auipui34

เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 -15 ส.ค. 2557 กรมเจ้าท่า ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.


“กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 -15 ส.ค. 2557  นักเดินเรือปฏิบัติการ,นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานตรวจเรือปฏิบัติการ,นายช่างกลเรือปฏิบัติการ”

ตำแหน่ง: นักเดินเรือปฏิบัติการ,นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานตรวจเรือปฏิบัติการ,นายช่างกลเรือปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี  ปริญญาโท  
อัตราเงินเดือน: 17,500-21,790
อัตราว่าง: 6
ปฏิบัติงานที่: 
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 1 – 15 ส.ค. 2557
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


ชื่อตำแหน่ง : นักเดินเรือปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน : 16,200 – 21,490 บาท
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
รายละเอียดวุฒิ : 1) ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือ และ
2) ได้รับประกาศนียบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1) ได้รับประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส จากกรมเจ้าท่า หรือ ที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
2.2) ได้รับประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาด 3,000 ตันกรอส หรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส จาก
กรมเจ้าท่าหรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
2.3) ได้รับประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาด 3,000 ตันกรอส หรือมากกว่า จากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ชื่อตำแหน่ง : นายช่างกลเรือปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน : 16,200 – 21,790 บาท
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง : 2 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา : – ปริญญาตรี
- ปริญญาโท
รายละเอียดวุฒิ : คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1) ได้รับปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ทางวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ หรือทางวิศวกรรมเครื่องกล และ
2) ได้รับประกาศนียบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1) ได้รับประกาศนียบัตรรองต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่าจากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
2.2) ได้รับประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์จากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

2.3) ได้รับประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่าจาก กรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ชื่อตำแหน่ง : เจ้าพนักงานตรวจเรือปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน : 17,830 – 21,490 บาท
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง : 2 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา : – ปริญญาตรี
- ปริญญาโท
รายละเอียดวุฒิ : คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1) ได้รับปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ทางวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ หรือทางวิศวกรรมเครื่องกล และ
2) ได้รับประกาศนียบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1) ได้รับประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์จากกรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ ไม่ต่ำกว่านี้
2.2) ได้รับประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่าจาก กรมเจ้าท่า หรือที่กรมเจ้าท่าเทียบได้ ไม่ต่ำกว่านี้

ประกาศรับสมัคร : ข้าราชการ โดยวิธี : คัดเลือก
ชื่อตำแหน่ง : นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
อัตราเงินเดือน : 17,500 – 19,250 บาท
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา : ปริญญาโท
สมัครงาน กรมเจ้าท่า งานราชการ กรมเจ้าท่า รับสมัคร สอบ กรมเจ้าท่า 2557 สอบ กรมเจ้าท่า 57 กรมเจ้าท่า เปิดสอบ


วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมเจ้าท่า :ตนเอง  
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ: 20 ส.ค. 2557
สอบวันที่: 
ประกาศผลสอบ: 
ดาวน์โหลดรายละเอียด/ประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่!!

ข้อสอบ คู่มือสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบ กรมเจ้าท่า เลือกตามตำแหน่ง 2557 งานราชการ ข่าวล่าสุด

1.             กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีเปลี่ยนชื่อใหม่คือข้อใด

ก.      กรมเจ้าท่า                                     ค. กรมท่าเรือ

ข.      การขนส่งทางน้ำกรมเจ้าท่า      ง. พาณิชยราชนาวี

2.             เปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เป็น กรมเจ้าท่า เมื่อปี พ.ศ. ใด

ก.      พ.ศ.  2551                                   ค.  พ.ศ.  2553

ข.      พ.ศ.  2552                                   ง.  พ.ศ.  2554

3.             ข้อใดคืออธิบดีกรมเจ้าท่า

ก.      นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ                              ค. นายณัฐ จับใจ

ข.      เรือตรี ปรีชา เพ็ชรวงศ์                              ง. นายพงษ์วรรณ จารุเดชา

4.             ข้อใดคือหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปและปฏิบัติงานสารบรรณของกรม

ก.      สำนักงานเลขานุการกรม

ข.      กองกิจการระหว่างประเทศ

ค.      ฝ่ายการเจ้าหน้าที่

ง.       กองมาตรฐานคนประจำเรือ

5.             ข้อใดคือเรือที่เดินด้วยกรรเชียง แจวหรือพาย

ก.      เรือกำปั่น                                       ค.เรือเล็ก

ข.      เรือโป๊ะ                                          ง. เรือกล

6.             ข้อใดคือเรือโดยสาร

ก.      เรือที่ใช้ในการลำเลียงทหาร

ข.      เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬา

ค.      เรือที่ใช้สำหรับการจับสัตว์น้ำ

ง.       เรือที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 12 คน

7.             เจ้าพนักงานตรวจเรือ  ได้รับการแต่งตั่งจากส่วนใด

ก.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ข.      เลขาธิการกระทรวงคมนาคม

ค.      อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

ง.      รองอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

8.             ผู้ควบคุมเรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว ต้องจัดให้มีการชักธงชาติไทยในเมื่อใด

ก.      ผ่านเรือรบไทยหรือเรือรบต่างประเทศ

ข.      ขณะเรือเข้าหรือออกจากเมืองท่าไทย และเมืองท่าต่างประเทศ

ค.      ขณะเรืออยู่ในเมืองท่าไทยตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา จนถึงเวลาอาทิตย์ตก

ง.       ถูกทุกข้อ

9.             ข้อใดคือประธานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี

ก.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ข.      นายกรัฐมนตรี

ค.      ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

ง.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

10.      คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี

ก.      6  ปี                                                                ค. 3  ปี

ข.      4  ปี                                                                ง. 2  ปี

11.      ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล

ก.      การขนส่งของโดยเรือจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ

ข.      การขนส่งคนโดยสารโดยเรือจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ

ค.      การขนส่งของหรือคนโดยสารจากต่างประเทศมายังประเทศไทย

ง.       การขนส่งของหรือคนโดยสารทางทะเลชายฝั่งในราชอาณาจักรโดยเรือที่มีขนาดตั้งแต่1,000ตันกรอสขึ้นไป

12.      ข้อใดคือผู้ที่มีอำนาจออกกฎการถือท้ายและการเดินเรือ

ก.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ข.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ค.      ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

ง.       นายกรัฐมนตรี

13.      ข้อใดที่กำหนดแบบคำสั่งการกักเรือ

ก.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ข.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ง.       ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

14.      ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสัญญาการขนส่งของทางทะเล

ก.      ผู้ส่งของบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งในสัญญารับขนของทางทะเล

ข.      ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐาน

ค.      สัญญาที่ผู้ขนส่งรับขนของทางทะเลจากท่าหรือที่ในประเทศหนึ่งไปยังท่าหรือที่ในอีกประเทศหนึ่ง

ง.       ในการจัดส่งของไม่มีการคิดค่าระวาง

15.      เมื่อได้บรรทุกของลงเรือเสร็จแล้วต้องออกใบตราส่งชนิดใด

ก.      ส่งสินค้าตามคำสั่ง                      ค.  บรรทุกแล้ว

ข.      ทำการจัดส่งสินค้า                       ง. รับสินค้า



จำหน่ายเอกสาร คู่มือสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบ กรมเจ้าท่า 2557 
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- ความรู้เกี่ยวกับกรมเจ้าท่า
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมเจ้าท่า
- ความสามารถด้านตัวเลขและความสามารถการใช้ภาษาไทย
- แนวข้อสอบข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน การเมืองเศรษฐกิจและสังคม
- สรุปกฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
- แนวข้อสอบ กฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
- แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป

- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
- คำศัพท์เกี่ยวกับการเดินเรือ
เลือกตามตำแหน่งที่สอบ
กะลาสี 
สหโภชน์ 
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 
เจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอรื 
ช่างขุดลอก
ช่างยนต์ 
ช่างสำรวจ 
นายช่างเขียนแบบ 
นายช่างอิเล็กทรอนิกส์ 
นายช่างโยธา 
สรั่งเรือ 
สรั่งช่างกล 
ช่างเครื่องเรือ 
นายท้ายเรือกลชายทะเล 
พนักงานควบคุมเรือขุด
นักวิชาการเงินและบัญชี 
นักประชาสัมพันธ์ 
นักวิชาการขนส่ง (ควบคุมจราจรทางน้ำ) 
วิทยาจารย์ (ด้านการสอนวิชาคณิตฯ) 
วิทยาจารย์ (ด้านการสอบวิชาเคมีฯ) 
วิทยาจารย์ (ด้านปกครอง) 

ส่งเป็นไฟล์ PDF ทาง E-MAIL สามารถนำไปปริ้นได้เลย ในราคาชุดละ 399 บาท
* ส่งด่วนภายใน 3 ชม. ส่งช้าไม่เกิน 24:00 น. วันที่โอนเงิน * ( ควรดูที่ JUNK MAIL )
สั่งซื้อมาที่ 0914067400 หรือ ส่ง SMS / LINE ID = roihetpon1
ชำระค่าสินค้าและบริการ โอนเงินแล้วแจ้งที่  
auipui34@gmail.com  หรือ Line ID roihetpon1  แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน**
1. ธ. กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา เซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 048-0-17796-3 ชื่อบัญชี Sumalee Thongyot
2. ธ. กรุงไทย ออมทรัพย์ สาขา บิ๊กซีสะพานควาย เลขที่บัญชี 980-6-40570-6 ชื่อบัญชี Sumalee Thongyot
3. ธ. กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขา เซ็นทรัลพระราม 3 เลขที่บัญชี 748-2-66186-0 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai
4. ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บิ๊กซีรามอินทรา เลขที่บัญชี 402-398830-4 ชื่อบัญชี Pisitchai & Sumalee
5. ธ. กรุงศรีอยุธยา ออมทรัพย์ สาขา อุรุพงษ์ เลขที่บัญชี 130-1-28490-7 ชื่อบัญชี Pisitchai Kimchai

ดูข้อสอบเพิ่มเติมที่ www.thaionline1.com

** เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น. **


 

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช ๒๔๕๖


1. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ เริ่มใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันใด
ตอบ   วันที่ ๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ 
2. “เจ้าท่า” หมายความว่า 
ตอบ   อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี* หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี*มอบหมาย
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงในเรื่องใด
ตอบ  (๑) กำหนดแนวแม่น้ำลำคลองหรือทะเลอาณาเขตแห่งใดเป็นเขตท่าเรือและเขตจอดเรือ
(๒) กำหนดทางเดินเรือทั่วไปและทางเดินเรือในเขตท่าเรือนอกจากทางเดินเรือในเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ
(๓) กำหนดแนวทะเลแห่งใดภายในน่านน้ำไทยเป็นเขตควบคุมการเดินเรือ
4. นายเรือต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อเรือกำปั่นตามประเภทที่เจ้าท่าประกาศกำหนดลำใด เข้ามาในน่านน้ำไทย
ตอบ  (๑) แจ้งต่อเจ้าท่า
(๒) ชักธงสำหรับเรือนั้นขึ้นไว้ให้ปรากฏ
(๓) ติดตั้งและเปิดใช้โคมไฟตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
5. เรือประเภทใดเมื่อเข้ามาในเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องรายงานการเข้ามาถึงต่อเจ้าท่าตามแบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี*ภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จอดเรือเรียบร้อย
ตอบ  เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเล และเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป และเรือกำปั่นต่างประเทศ
6. เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป และเรือกำปั่นต่างประเทศที่เตรียมจะออกไปจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องชักธงลา (คือธงที่เรียกว่าบลูปีเตอร์) อย่างไร
ตอบ   ถ้าเรือกำหนดออกในเวลาบ่ายให้ชักธงขึ้นในเวลาเช้า ถ้าเรือกำหนดออกในเวลาเช้าให้ชักธงขึ้นในเวลาบ่ายของวันก่อน


7. เรือกำปั่นต่างประเทศ เมื่อเข้ามาในเมืองท่าของประเทศไทย ซึ่งมิได้กำหนดเป็นเขตท่าเรือ นายเรือต้องรายงานการเข้ามาหรือออกไปต่อเจ้าท่าภายในเวลาเท่าใด
ตอบ   24  ชั่วโมงนับแต่เรือเข้ามาหรือก่อนเรือออกไป และต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าท่า
8. เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเท่าใด
ตอบ   ไม่น้อยกว่า   6  ชั่วโมง   เพื่อให้เจ้าท่าตรวจสอบว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว จึงอนุญาตให้ออกเรือได้
9. นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดฝ่าฝืนเข้าไปในเขตควบคุมการเดินเรือ ต้องระวางโทษปรับเท่าใด
ตอบ   ตั้งแต่  2,000  บาท ถึง 10,000  บาท และให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งยึดใบประกาศนียบัตรควบคุมเรือ มีกำหนดไม่เกิน  6  เดือน
10. นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ถูกยึดใบประกาศนียบัตรควบคุมเรือต้องระวางโทษปรับเท่าใด
ตอบ     ต้องระวางโทษปรับ  10,000  บาท


แนวข้อสอบ
ความรู้เกี่ยวกับท่าเรือสินค้าและการเดินเรือ

1.    ความหมายของคำว่า “ ท่าเรือ ”  คืออะไร
ตอบ   คำว่า “ท่าเรือ” หรือ “เมืองท่า” ทางภาษาอังกฤษใช้ว่า “Port” หรือ “Seaport ” หมายถึงอาณาบริเวณพื้นที่สำหรับให้เรือเข้าจอดเทียบท่า มีการทอดสมอเรือ มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรมระหว่างเรือกับชายฝั่ง เช่น การขนถ่ายสินค้าจากเรือขึ้นสู่ฝั่ง หรือจากเรือลงเรือ หรืออาจกล่าวอย่างสั้น ๆ ว่า ท่าเรือ คือ อาณาบริเวณพื้นที่ที่มีการติดต่อกันระหว่างเรือกับชายฝั่ง (Ship/Shore interface)
2.    ท่าเรือจะประกอบด้วยพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  มีลักษณะเป็นที่กำบังเรือ (Harbour) ทั้งลักษณะที่เป็นธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับเรือกับชายฝั่ง 
3.    สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับท่าเรือได้แก่ 
ตอบ  อู่เรือ (Dock) เขื่อนกันคลื่น (Breakwater) หมุดหรือหลักผูกเรือ (Dolphin) และบริเวณที่ให้เรือเข้าจอดเทียบท่า (Berth) ซึ่งท่าเรือแต่ละแห่งควรมีจำนวนท่าสำหรับเทียบเรือตามความเหมาะสม ขึ้นกับขีดความสามารถในการรองรับการขนส่งสินค้าของแต่ละท่าเรือ (Port Capacity) และการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ (Costs) เพื่อให้กิจการท่าเรือได้รับผลประโยชน์สูงสุด
4.    หน้าที่ของท่าเรือ   ได้แก่
ตอบ  1. หน้าที่พื้นฐานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย (ฺBasic Function)
-    อำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเพื่อการค้าทางทะเล ทั้งในประเทศที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่และในประเทศเพื่อนบ้าน (ในกรณีที่เพื่อนบ้านไม่มีท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกของตัวเอง) และท่าเรือควรต้องอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่ผ่านท่าด้วย 
-    อำนวยความพร้อมกับเรือต่าง ๆ ที่เข้าผ่านท่าเพื่อทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 
-    อำนวยความสะดวกในการขนส่งทางบกโดยรถยนต์ รถไฟ การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางท่อ และการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ 
-    ทำหน้าที่เป็นเสมือนที่พักสำหรับเรือต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์อื่นที่นอกเหนือไปจากการขนถ่ายสินค้าหรือผู้โดยสาร ได้แก่ การซ่อมแซมเรือ ใช้ท่าเป็นอู่ต่อเรือหรือที่กำบังเรือ และจุดประสงค์กรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
2. หน้าที่โดยธรรมชาติ (Natural Function)
-    ต้องให้ความปลอดภัยกับเรือต่าง ๆ เมื่อเข้ามาใกล้ เข้าเทียบท่า หรือออกจากท่า ทำให้เกิดความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายเรือและยานพาหนะทางน้ำอื่น ๆ ขณะที่อยู่ภายในท่า โดยรวมถึงความ
ปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินภายในอาณาบริเวณท่าเรือ มีการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 
3. หน้าที่ตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและการเมือง (Local/Political Circumstances Function)
-    ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของรัฐบาล ในการบังคับใช้เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของเรือ ลูกเรือ และการควบคุมด้านมลพิษ
-    ทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนเรือต่าง ๆ เช่น การยอมรับสิทธิที่เรือจะยกธงของรัฐทำหน้าที่ให้บริการด้านอุทกศาสตร์และแผนที่
-    รับผิดชอบกิจกรรมทางการค้าและทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่หลักของท่าเรือ เช่น การขนสินค้าขึ้นลงเรือโดยกรรมกรและการเก็บสินค้าในโรงเก็บ โครงการอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านทรัพย์สิน หรือ การบริการที่ปรึกษาต่าง ๆ 
4. หน้าที่ตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและการเมือง (Local/Political Circumstances Function)
-    ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของรัฐบาล ในการบังคับใช้เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของเรือ ลูกเรือ และการควบคุมด้านมลพิษ
-    ทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนเรือต่าง ๆ เช่น การยอมรับสิทธิที่เรือจะยกธงของรัฐทำหน้าที่ให้บริการด้านอุทกศาสตร์และแผนที่
-    รับผิดชอบกิจกรรมทางการค้าและทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่หลักของท่าเรือ เช่น การขนสินค้าขึ้นลงเรือโดยกรรมกรและการเก็บสินค้าในโรงเก็บ โครงการอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านทรัพย์สิน หรือ การบริการที่ปรึกษาต่าง ๆ
-    ทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล สิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านความบันเทิง และความพึงพอใจอื่น ๆ สำหรับบุคลากรในท่าเรือหรือรวมไปถึงประชาชนในท้องถิ่นนั้นด้วย
5.    ลักษณะของท่าเรือมีกี่แบบ
ตอบ  รูปแบบท่าเรือโดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะคือ เป็นท่าเรือที่พัฒนาจากรูปแบบท่าที่เป็นธรรมชาติ (Natural Harbour Configuration) หรือท่าเรือที่ออกแบบก่อสร้างให้มีรูปแบบแตกต่างไปจากสภาพท่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Artificial Harbour Configuration)
6.    โครงสร้างท่าเรือที่จะก่อสร้างขึ้นอยู่กับอะไร
ตอบ  การออกแบบเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน และชนิดหรือขนาดเรือที่จะเข้าเทียบท่า 

ข้อสอบ เก็งข้อสอบ แนวข้อสอบ กรมเจ้าท่า งานราชการ ข่าวล่าสุด

ความคิดเห็น
auipui34 profile auipui34

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน