ข้อสอบ คู่มือสอบ แนวข้อสอบ ตำแหน่งบริหารระดับกลาง กกต. ใหม่ล่าสุด

thaionline1 profile image thaionline1

ข้อสอบ คู่มือสอบ แนวข้อสอบ ตำแหน่งบริหารระดับกลาง กกต. ใหม่ล่าสุด

คู่มือเตรียมสอบตำแหน่งบริหารระดับกลาง  กกต.

สอบภายในตำแหน่งบริหารระดับกลาง ที่ปฏิบัติงานทั่วไปและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
(หน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง)

ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ปรนัย ๑๐๐ ข้อ (ภาค ก)

          ทดสอบความรู้ความเข้าใจ และทักษะในหลักการแนวคิด เทคนิควิธีการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนงานระดับฝ่าย ในเรื่องการวางแผนการปฏิบัติงาน การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรมของผู้บริหาร โดยยึดหลัก

          ๑.หลักปรัชญาเศรษกิจเพียงพอ

          ๒.หลักธรรมาภิบาล 

          ๓.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

          และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง โดยแบ่งออกเป็น ๓ หมวด ดังนี้

๑.      หมวดการบริหาร

๑.๑ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

๑.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงานพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ (สมรรถนะ)

๑.๓ เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงาน

     ๒.  หมวดการปฏิบัติหน้าที่

๒.๑ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐

๒.๒ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

๒.๓ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.และการได้มาซึ่ง สว.

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

-๒-

๒.๔ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

๒.๕ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

๒.๖ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

๒.๗ กฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง

๒.๘ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

๒.๙ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

๒.๑๐ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

๒.๑๑ กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

*๒.๑๒ ความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

*๒.๑๓ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

*๒.๑๔ ประมวลกฎหมายอาญา

*๒.๑๕ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

     ๓. หมวดความรู้ทั่วไป ได้แก่ เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม


1.       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 บังคับให้เมื่อใด
ก.       วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข.       วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ค.       วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ง.       วันที่ 21ธันวาคม พ.ศ. 2552
ตอบ  ข. วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552
มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.       ข้อใดคือความหมายของ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ก.       การออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ข.       ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ค.       ผู้ที่กำหนดให้เป็นเขตออกเสียงประชามติ
ง.       ไม่มีข้อถูก
ตอบ  ข. ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
                “ผู้มีสิทธิออกเสียง” หมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
3.       ข้อใดคือความหมายของ “จังหวัด” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ก.       กรุงเทพมหานคร
ข.       เขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ทั้ง 77 จังหวัด
ค.       เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง.       ระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก
ตอบ  ก. กรุงเทพมหานคร
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
“จังหวัด” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร
4.       ผู้ใดคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ก.       ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ข.       รองประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ค.       รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ง.       ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ก. ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๔ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
5.       นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียดดังข้อใด
ก.       กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
ข.       กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียงดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หรือเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี
ค.       ถ้ากฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ง.       ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
มาตรา 5 ในกรณีที่จะดำเนินการจัดทำประชามติตามมาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(1) กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
(2 กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียงดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หรือเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี
6.       ประชามติตามที่มีกฎหมายบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้  ต้องดำเนินการอย่างไร
ก.       ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ข.       ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ค.       ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ง.       ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ตอบ ค. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
มาตรา 5 ( วรรคท้าย )
ในกรณีที่จะดำเนินการจัดทำประชามติตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา 165(2) ของรัฐธรรมนูญให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
7.       เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในนับแต่วันที่มีประกาศ
ก.      30  วัน                                                            ค.  10   วัน
ข.      15  วัน                                                            ง.  7      วัน
ตอบ  ง.  7      วัน
                                มาตรา 6 เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีประกาศดังกล่าว
8.       วันออกเสียงในการจัดทำประชามติต้องกำหนดวันออกเสียงภายในระยะกี่วัน
ก.       ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
ข.       ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง
ค.       ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
ง.       ถูกทุกข้อ
ตอบ  ก. ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 6 เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีประกาศดังกล่าววันออกเสียงต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทุกเขตออกเสียง และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) วันออกเสียงในการจัดทำประชามติตามมาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญต้องกำหนดวันออกเสียงภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
9.       ผู้มีสิทธิออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถเสนอคำฟ้องภายในกำหนดระยะเวลากี่วันต่อศาลใด
ก.      60 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลฎีกา
ข.      60 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครอง
ค.      30 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครอง
ง.      30  วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครองสูงสุด
                ตอบ ง. 30  วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครองสูงสุด
                                มาตรา 6  (วรรคท้าย)
                                ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงใดแล้ว ถ้ามีผู้มีสิทธิ
ออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ หรือตามเจตนารมณ์ของมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญสามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว
10.    ข้อใดคือวิธีออกเสียงลงคะแนนออกเสียงประชามติ
ก.       แบบตรง                                        ค. แบบปกปิด
ข.       แบบลับ                                          ง. ถูกทั้ง  ก  และ ข
ตอบ  ง. ถูกทั้ง  ก  และ ข
                มาตรา 8 การออกเสียง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบ ตำแหน่งบริหารระดับกลาง กกต. ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- การจัดการภาครัฐแนวใหม่
- การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- แนวข้อสอบวิชา เศรษฐกิจพอเพียง
- หลักธรรมาภิบาล
- แนวข้อสอบฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ 
- แนวข้อสอบ พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
- แนวข้อสอบ   พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
- แนวข้อสอบ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
- พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.และการได้มาซึ่ง สว. 2554
- พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550
-  แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 
-  แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง 
-  แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 
- แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 
- แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ 
- แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ 
- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
- แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
- แนวข้อสอบประมวลกฎหมายอาญา 
- แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- แนวข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา