มหากาพย์ทวงคืนปตท. จะเป็นอย่างไร? มาดูกัน

kamponsuwannawong profile image kamponsuwannawong

ผมหรือใคร ที่ให้ข้อมูลเรื่องท่อก๊าซคลาดเคลื่อน?
ที่นางสาวรสนา โตสิตระกูลโพสต์ในเฟสบุ๊คตั้งคำถามว่าบทความเรื่องท่อก๊าซของผม “มีข้อเท็จจริงที่น่าจะคลาดเคลื่อน หรือไม่” ผมขอยืนยันต่อสาธารณชนว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นไปตามข้อเท็จจริงครับ

1- “ปตท.” เป็นชื่อย่อของทั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก่อนแปรรูปและหลังแปรรูป ที่ปัจจุบันชื่อเต็มว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

2- แต่ที่ น.ส.รสนาบอกว่า ปัจจุบันรัฐถือหุ้นใน ปตท.เพียง 51% นั้น คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เพราะนอกจากที่กระทรวงการคลังถือหุ้นตรง 51% แล้ว ยังมีอีก 12% ที่ถือโดยกองทุนวายุภักษ์*ของกระทรวงการคลัง (ณ วันที่ 12 ต.ค.2561) รวมเป็น 63% ถ้ารวมที่กองทุนประกันสังคม.ถือด้วยก็จะเป็น 65% ดูเพิ่มเติมด้านล่าง

3- ที่ น.ส.รสนากล่าวว่าแนวทางของรัฐบาลชวนฯ ในปี 2542 กำหนดให้ระบบท่อก๊าซที่แยกออกมาก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่การปิโตรเลียมถือหุ้น 100% แต่เมื่อแปรรูปจริงในปี 2544 ที่กำหนดให้แยกท่อฯ ภายใน 1 ปีให้หลังเข้าตลาดฯ จึงมีผลทำให้ทรัพย์สินที่ควรจะตกเป็นของรัฐ 100% ตกเป็นชอง ปตท.ซึ่งรัฐถือหุ้นเพียงไม่ถึง 100% นั้น เป็นความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยากจากการสรุปสาระสำคัญในมติ กพช.วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เรื่องที่ 2 ข้อที่ 1 ความว่า

“....คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2543 รับทราบแนวทางการแปรรูปของ ปตท. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดย ในส่วนของกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะแยกออกมาจัดตั้งเป็นบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมี บมจ. ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100

4- การแยกท่อก๊าซ “ก่อน” เข้าตลาดหลักทรัพย์ กับ “หลัง” เข้าตลาดฯ 1 ปีนั้น ไม่ได้ทำให้มูลค่าหุ้น ปตท.แตกต่างกัน เพราะอย่างที่ผมอธิบายด้วยมติ กพช.ข้างต้น บริษัทที่เป็นเจ้าของท่อนั้นจะเป็นของ บจม.ปตท.100% ไม่ว่าแยกระบบท่อก๊าซก่อนหรือหลังการเข้าตลาดฯ (ดูแผนภูมิในcomment ประกอบ)

แต่ถ้าผมมีอำนาจเต็มที่ซึ่งผมไม่มี ผมจะแยกท่อให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนเข้าตลาดฯ รวมทั้งออก พรบ.การประกอบกิจการพลังงานเพื่อดึงอำนาจรัฐทั้งหมดออกมาจาก ปตท. และเปิดบริการผ่านท่อให้บุคคลที่ 3 เข้ามาแข่งขันกับ ปตท.ได้ (TPA) ด้วย

ผมจบคณิตศาสตร์แค่ปริญญาตรี ไม่ใช่ปริญญาเอกอย่างที่กล่าว แต่ตรรกะนี้ผมว่าคนจบคณิตศาสตร์ประถม 4 ก็น่าจะพอเข้าใจได้

5- ที่ผมถามว่า 1 ปีหลังการเข้าตลาดฯ (ธันวาคม 2544) แล้วรัฐบาลไม่ดำเนินการแยกท่อก๊าซนั้น “ฝ่ายทวงคืน ปตท.” อยู่ที่ไหน ทำไมไม่โวยวาย น.ส.รสนาตอบว่าก็ตนได้ยื่นฟ้องเพิกถอนการแปรรูป ปตท.กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในเมื่อสิงหาคม 2549 ไงเล่า

ผมไม่ลืมครับ แต่เป็นการตอบที่ไม่ตรงคำถาม เด็กป.4 ก็คิดเลขได้ว่า 2544 + 1 = 2545 แล้วมาลบจาก 2549 จะได้คำตอบว่า 4 ปี เด็ก ป.7 อาจจะคิดเดือนด้วย ก็จะได้ 3 ปี 8 เดือน ไม่ว่าตัวเลขไหนก็ถือว่านานนะครับ

แล้วถ้าคิดจากปีที่ ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ 2544 ก็ยิ่งนานเข้าไปอีก แล้วเหล่าพลเมืองเสียงดังที่อ้างว่าปกป้องผลประโยชน์ชาติตอนนั้นมัวทำอะไรอยู่? ปล่อยให้สิ่งที่เขาเรียกว่า “ขายชาติ” เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา โดยไม่ด่าทอ ไม่ต่อต้านคัดค้าน ไม่แม้แต่ท้วงติง ผมถึงต้องตั้งข้อสันนิษฐานว่าพวกเขาในตอนนั้นยังชื่นชมหรือได้ประโยชน์จากทักษิณ จึงมิได้ตำหนิติเตียนแต่ประการใด

6- เรื่องคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่ผมบอกว่าให้คืน “ท่อบางส่วน” แต่ น.ส.รสนาบอกว่านั่นผิด เพราะศาลสั่งให้คืน “ท่อทั้งระบบ” นั้นเป็นเรื่องของการตีความของ น.ส.รสนาเองที่แตกต่างจากศาล

ส่วนผมนั้นน้อมรับคำตัดสินของศาล และได้มีส่วนในปฏิบัติตามในช่วงที่ผมมีอำนาจหน้าที่ ซึ่งศาลท่านก็ยืนยันหลายครั้งแล้ว ว่า ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว

7 ** น.ส.รสนาและบางคนไม่เห็นด้วยกับการตีความของศาล และได้ยื่นฟ้องต่อศาลอีกหลายครั้ง แต่ศาลก็ยังยืนยันว่า ปตท.คืนท่อครบแล้ว อีกทั้งยังไปวิจารณ์ศาลจนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 ศาลปกครองสูงสุดได้ไต่สวนคำร้องกรณีละเมิดอำนาจศาล ** 

ระหว่าง ปตท. ผู้กล่าวหาและ น.ส.รสนา โตสิกูล นายศรีราชา วงศารยางกูร และนายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1-3 และต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2560 ศาลได้อ่านคำสั่งซึ่งมีสาระสำคัญว่า

การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด มิได้มีลักษณะเป็นการวิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษาคดีของศาลปกครองโดยสุจริต ด้วยวิธีการทางวิชาการ 

แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษา ที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองสูงสุด  จึงเห็นควรลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 สถานเบา โดยมีคำสั่งตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร

นอกจากนั้นในคำสั่งละเมิดอำนาจศาลดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดยังได้วินิจฉัยในสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อความที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวพาดพิงคำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด โดยได้ให้เหตุผลและยืนยันถึงความรอบคอบ ยุติธรรม และเป็นกลางของศาลในการทำคำสั่งและวินิจฉัยในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 35 / 2550 ด้วย

8- ในฐานะ รมว.พลังงานผมเป็นผู้ลงนามในหนังสือถึง ครม.เมื่อวันที่18 ธันวาคม 2550 เกี่ยวกับการดำเนินการตามคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งหนังสือดังกล่าวระบุชัดเจนว่า “ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้อง”

และยังได้เปิดช่องไว้ด้วยว่า “หากมีข้อโต้แย้งทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในการดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สิน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติต่อไป” ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ร่วมอยู่ในที่ประชุม ครม.นั้นด้วย และ ครม.ก็เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ

ผมพ้นตำแหน่ง รมว.พลังงานตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 และหลังจากนั้นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ปตท.หรือกลุ่ม ปตท.เลย จนมารับตำแหน่งประธานเมื่อกรกฎาคม 2557

9- มาทราบภายหลังว่า สตง.มิได้มีหนังสือ ”รับรองความถูกต้อง” ของรายการทรัพย์สินที่ได้ตกลงกันระหว่าง กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ ปตท.ตอนที่ยื่นต่อศาลเมื่อ 25 ธันวาคม 2551 แต่ก็ทราบมาด้วยว่า

ปตท.ได้ยื่นรายการทรัพย์สินที่จะแบ่งแยกให้กับ สตง.อย่างเป็นทางการตั้งแต่ต้นปี 2551 แต่ สตง.ก็มิได้มีการตอบหนังสือนั้นแต่ประการใด

ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการตามคำพิพากษาจำนวน 4 ครั้ง เพราะกระบวนการแบ่งแยกที่ดินต่าง ๆ ต้องใช้เวลามาก แต่ ปตท.ได้ส่งรายงานความคืบหน้าต่อศาลโดยตลอดตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม 2551 รวม 9 ครั้ง ก็ไม่น่าแปลกนักที่ศาลสามารถออกคำวินิจฉัยในวันที่ 26 ธันวาคม 2551

** สตง.เพิ่งจะส่งหนังสือคัดค้านถึง ปตท.ในภายหลัง แม้หนังสือจะลงวันที่ 26 ธันวาคม แต่ก็ไม่ได้มีการส่งมา ปตท.จนกระทั่งวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ** 

ทั้งนี้ทั้งนั้น สตง.ในฐานะผู้สอบบัญชีของ ปตท. ได้เซ็นรับรองงบการเงินของ ปตท.แบบไม่มีเงื่อนไขตลอดมา โดยในงบการเงินของ ปตท. ปี 2551 สตง.ได้หมายเหตุว่า ปตท. ได้รับหนังสือ สตง. ดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 และตั้งแต่ปี 2552 สตง.ก็มิได้มีหมายเหตุดังกล่าวอีกจนปัจจุบัน

10 การวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อเดือนกันยายน ปี 2559 ที่ น.ส.รสนาอ้างถึงนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่มีคำสั่งศาลปกครองหลายครั้งยืนยันการส่งมอบทรัพย์สิน โดยเฉพาะคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเต็มองค์คณะ วันที่ 7 เมษายน 2559 ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลวันที่ 26 ธันวาคม 2551

นักกฎหมายอาจมีความเห็นไม่ตรงกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยไม่ว่าฉบับไหน ศาลคือฝ่ายตุลาการ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตีความกฎหมายและตัดสินคดีความทั้งปวง

ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดอย่างเคร่งครัด และไม่สามารถปฏิบัติตามความเห็นของนักกฎหมายอื่นได้

11- อนึ่ง แม้คำตัดสินของศาลได้กล่าวถึง “การแปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” แต่ก็ได้ระบุว่า... “ดังนั้นเมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ก็มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า”

** จึงถือว่าการออก พรบ.การประกอบกิจการพลังงานมีผลในการเยียวยาปัญหานี้ ศาลจึงได้ตัดสินให้ ปตท.คืนเฉพาะทรัพย์สินที่ได้มากจากการใช้อำนาจมหาชนและเงินของรัฐ **

เรื่องท่อในทะเลที่ น.ส.รสนาเห็นว่าควรคืนให้รัฐนั้น ผมขี้เกียจจะอภิปรายด้วย เพราะศาลได้ยืนยันว่า ปตท.คืนท่อครบถ้วนแล้วหลายรอบ เถียงกันไปก็เสียเวลาผมเปล่าๆ ขนาดศาลปกครองสูงสุด น.ส.รสนายังไม่ฟังเลย แถมวิพากษ์วิจารณ์จนถูกตัดสินว่าละเมิดอำนาจศาล

** ที่ น.ส.รสนากล่าวหาด้วยคำถามว่าผมในตำแหน่งประธานบอร์ด ปตท.ได้ “ผลักดันนโยบายแยกท่อส่งก๊าซมาตั้งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.โดยกำหนดลดสัดส่วนหุ้นของรัฐบาลเหลือเพียง 25% ใช่หรือไม่ ?” ขอตอบชัดๆ ว่า ไม่ใช่ และไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด **

- ที่ผ่านมาผมได้ฟ้องร้องบุคคลจำนวนหนึ่งที่ให้ข้อมูลบิดเบือนต่อสังคมและทำให้ผมเสียหาย ถ้าเขาเหล่านั้นไม่ให้ร้ายผม ผมก็คงไม่ไปเสียเวลาฟ้องร้องหรอกครับ

- ที่ผมพูดรวมๆ ถึงอดีตลิ่วล้อทักษิณนั้น ไม่ได้เอ่ยชื่อใคร น.ส.รสนาก็ไม่ควรกินปูนร้อนท้อง แต่ผมเหมารวมเนื่องจากเป็นกระแสที่สื่อสายหนึ่งซึ่งเคยเชลียร์ทักษิณจนน่าสะอิดสะเอียน เช่นในรายการทุกวันศุกร์ช่อง 9 อสมท. แต่ภายหลังได้เปลี่ยนจุดยืนไปโดยสิ้นเชิง จากเชลียร์เป็นชำแหละ และด่าทอต่อต้านทักษิณอย่างรุนแรง

ผมไม่ทราบว่าคุณรสนาเคยชื่นชมอะไรในระบบทักษิณหรือเปล่า แต่ผมแค่ตั้งข้อสังเกตว่าทุกคนที่รุมด่าผมในช่วงที่ผ่านมา คนเด่นๆ ในกระบวนการ “ทวงคืน ปตท.” ไม่มีใครออกมาคัดค้านการแปรรูป ปตท.ในสมัยทักษิณเรืองอำนาจเลย อีกทั้งบางคนยังเคยรับใช้ทักษิณอย่างชัดเจน

อาจจะเป็นกระแสสังคมที่หลงรักทักษิณตามกันไป ก่อนใครบางกลุ่มจะพลิกจุดยืนมาสร้างกระแสเกลียดชังทักษิณและ “ทวงคืน ปตท.” เพราะทราบมาว่าตอน ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มีกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคบางท่าน (ไม่ได้ชื่อรสนานะครับ) ได้ซื้อหุ้น IPO ด้วย

ขอบคุณข้อมูล : https://www.facebook.com/fellowshipoftheenergy/posts/2030711713662672?__tn__=-R
http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประโยชน์การแปรรูป-ปตท/

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาล็อค 1 อ่าน 9 2 วันที่ผ่านมา
2 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon แผ่นป้ายสแกนจ่าย QR Code อ่าน 6 3 วันที่ผ่านมา
3 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สีมะฮอกกานี อ่าน 9 4 วันที่ผ่านมา
4 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องฝาสไลด์ดึงขึ้นด้านบน อ่าน 11 5 วันที่ผ่านมา
5 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่องค์พระพุทธรูป สีสัก อ่าน 13 7 วันที่ผ่านมา
7 วันที่ผ่านมา
8 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่องค์พระพุทธรูป อ่าน 16 9 วันที่ผ่านมา
9 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาล็อคอครีลิคใส อ่าน 16 10 วันที่ผ่านมา
10 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon ถาดไม้ขนาดเล็ก อ่าน 14 10 วันที่ผ่านมา
10 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่ถ้วยรางวัล อ่าน 9 12 วันที่ผ่านมา
12 วันที่ผ่านมา
22 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สไตล์วินเทจ อ่าน 15 23 วันที่ผ่านมา
23 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon ถาดไม้ใส่อุปกรณ์เครื่องครัว อ่าน 15 25 วันที่ผ่านมา
25 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนสีสักทอง อ่าน 16 26 วันที่ผ่านมา
26 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องทิชชู อ่าน 16 27 วันที่ผ่านมา
27 วันที่ผ่านมา