ประมูล 5G จบไปแล้ว! กสทช.ทำรายได้กว่า 100,521 ล้านบาท จาก 3 คลื่นความถี่ 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz ถือได้ว่าเป็นการประมูลที่มาไว จบไวเกินคาด
สรุปว่าแต่ละค่ายมือถือที่ลงทะเบียนสนใจเข้าร่วมประมูลกันทั้งหมด 5 ค่าย แบ่งเป็นได้แก่
- AIS ประมูลได้ 3 คลื่น 23 ใบอนุญาต แบ่งเป็น
• 700 MHz - 1 ใบอนุญาตๆ ละ 17,153 ล้านบาท
• 2600 MHz - 10 ใบอนุญาตๆ ละ 1,956 ล้านบาท
• 26 GHz - 12 ใบอนุญาตๆ ละ 445 ล้านบาท
ทั้งหมด 42,060 ล้านบาท
- TRUE ประมูลได้ 2 คลื่น 17 ใบอนุญาต แบ่งเป็น
• 2600 MHz - 9 ใบอนุญาตๆ ละ 1,956 ล้านบาท
• 26 GHz - 8 ใบอนุญาตๆ ละ 445 ล้านบาท
ทั้งหมด 21,449.7 ล้านบาท
- CAT ประมูลได้ 1 คลื่น 2 ใบอนุญาต เป็น
• 700 MHz - 2 ใบอนุญาตๆ ละ 17,153 ล้านบาท
ทั้งหมด 34,306 ล้านบาท
- TOT ประมูลได้ 1 คลื่น 4 ใบอนุญาต เป็น
• 26 GHz - 4 ใบอนุญาตๆ ละ 445 ล้านบาท
ทั้งหมด 1,795 ล้านบาท
- DTAC ประมูลได้ 1 คลื่น 2 ใบอนุญาต เป็น
• 26 GHz - 2 ใบอนุญาตๆ ละ 445 ล้านบาท
ทั้งหมด 910.4 ล้านบาท
ทำให้แต่ละค่ายมือถือมีคลื่นที่ครอบครองดังตารางด้านล่าง
ตารางสรุปหลังการประมูลคลื่น 5G ใครมีคลื่นใดบ้าง
รูปขนาดใหญ่ - https://sv1.picz.in.th/images/2020/02/19/x533oa.jpg
สรุป
- ในการประมูลครั้งนี้ กสทช. สามารถประมูลคลื่น 5G และส่งเงินเข้ารัฐได้ถึง 100,521 ล้านบาท ยังไม่รวม VAT
- เปิดประมูล 49 ใบอนุญาต ประมูลได้ 48 ใบอนุญาต
- รับรองผลการประมูลในวันที่ 19 ก.พ. 2563
- ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศในลำดับต้นๆ ที่เปิดประมูล 5G
- AIS จ่ายเงินประมูลมากที่สุดถึง 42,060 ล้านบาท
- DTAC จ่ายเงินประมูลน้อยที่สุดแค่ 910.4 ล้านบาท
- TRUE มีคลื่นความถี่ในครอบครองมากที่สุด 8 คลื่นความถี่
- TOT มีคลื่นความถี่ในครอบครองน้อยที่สุด 3 คลื่นความถี่
- คลื่น 1800 MHz ไม่มีผู้สนใจเข้าประมูล
แต่ที่สำคัญคือ ทั้ง TRUE, AIS และ DTAC จะมีคลื่นทั้ง 3 ระยะที่มีประสิทธิภาพ และความสามารถแตกต่างกันเพื่อให้บริการกับผู้บริโภคได้ ทั้งในส่วนของ Low-band, Mid-band และ High-band
ดังนั้น สำหรับเราๆ ซึ่งเป็นผู้บริโภคแล้ว ก็สามารถเลือกค่ายมือถือที่เหมาะสมตามประเภทการใช้งานของแต่ละบุคคลได้ ทั้งในเรื่องของราคา ประสิทธิภาพ และบริการหลังการขาย เป็นต้น