อะไรที่ทำให้คิงเพาเวอร์ถูกสื่อกล่าวหาว่าผูกขาด

guest profile image guest

ช่วงนี้ประเด็นเรื่องสัมปทานดิวตี้ฟรีในสนามบินบ้านเรากำลังเป็นที่กล่าวถึงโดยเฉพาะจากสื่อที่ชื่อว่าฐานเศรษฐกิจ จะเห็นว่าสื่อนี้เหมือนเป็นไม้เบื่อไม้เมาของกลุ่มนายทุนใหญ่ๆ แต่ที่พอจะสังเกตเห็นได้ว่าหลังๆ นี่คิงเพาเวอร์จะโดนสื่อยี่ห้อนี้ขยี้ข่าวอยู่เป็นเนืองๆ และก็มีประเด็นเรื่องของคิงเพาเวอร์ผูกขาดเกิดขึ้น..............อีกครั้ง
    ซึ่งประเด็นนี้ก็ต้องยอมรับว่าในสายตาของสังคมก็คงมองคิงเพาเวอร์ว่าเป็นการผูกขาดดิวตี้ฟรี.....แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ  เท่าที่หาข้อมูลได้เบื้องต้นก็พบบทสัมภาษณ์ของนายวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ได้ให้สัมภาษณ์ นสพ.ไทยรัฐ “เจ้าพ่อคิงพาเวอร์ ตอบคำถามเรื่องดิวตี้ฟรี ไม่ใช่ “สัมปทานผูกขาด” ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของสัมปทานกับคิงเพาเวอร์ไว้ดังนี้





    จากบทสัมภาษณ์ก็จะเห็นได้ว่ามีการประมูลเกิดขึ้นซึ่งผู้เข้าร่วมประมูล 5 ราย  ว่ามีผู้เข้าร่วมประมูลได้ 2 ราย อีกรายหนึ่งไม่ประสบความสำเร็จ พูดแบบภาษาบ้านๆ หน่อยก็คือเจ๊งนั่นเอง แล้วทาง ทอท.ก็ปรับเปลี่ยนให้เหลือรายเดียว ซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลอะไรก็มิทราบรายละเอียดได้ ก็ทำให้เหลือคิงเพาเวอร์เจ้าเดียวที่ได้สัมปทานที่มีระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 48 จนถึงปัจจุบัน แต่ถ้านับนิ้วตั้งแต่ปีที่ได้สัมปทานก็จะพบว่ามันกินระยะเวลาเกินสิบปี มันเข้าสู่ปีที่ 13 แล้วเสียด้วยซ้ำ อันนี้ก็เพราะคิงเพาเวอร์เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับมาตรการเยียวยาเมื่อครั้งที่มีม็อบเข้าไปบุกยึดสนามบินนั่นแล...จึงได้รับการต่อสัญญาสัมปทานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากเหตุทางการเมืองครั้งนั้น  มันจึงไม่ใช่การผูกขาด
    และจะขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมในการประมูลดิวตี้ฟรีที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดคือที่ดอนเมือง เมื่อช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา
  

ในครั้งนั้นก็มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย คือ คิงเพาเวอร์  กลุ่มเซนทรัล และกลุ่มเดอะมอลล์กรุ๊ป และผู้ชนะคือคิงเพาเวอร์เพราะได้มีการนำเสนอราคาที่มากกว่า โดยเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายเดือนเป็นเงินรวม 17,651,120 บาท และจากการเจรจาต่อรอง บริษัท คิงเพาเวอร์ฯ ยินดีเพิ่มค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทอท.อีกเดือนละ 31,280 บาท รวมเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายเดือนปีแรก เฉลี่ยเดือนละ 17,682,400 บาท 


จากการประมูลที่เกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง 2 คราจะเห็นได้ว่ามีผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่า 1 ราย ด้วยเพราะเหตุนี้สัมปทานดิวตี้ฟรีจึงไม่ใช่สัมปทานผูกขาด อย่างที่สื่อหรือคนอื่นๆ เข้าใจกัน
    นอกเหนือจากนี้ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดความอ่อนไหวไปกับชุดความคิดที่ว่า “คิงเพาเวอร์ผูกขาด”  เพราะได้มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มคน โดยมีแกนนำคนสำคัญคือ “รวิฐา พงศ์นุชิต” อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะนายกสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย ที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้หน่วยงานที่กำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงคมนาคม กรมศุลกากร รวมถึงบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท.โดยมีทุนดิวตี้ฟรีรายใหม่สัญชาติเกาหลีอย่าง “ล็อตเต้” เป็นต้นตอของความขัดแย้งทั้งหมด รวมทั้งยังมีกลุ่มทุนห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ของไทยเอง ไม่ว่าจะเป็นค่ายเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ฯลฯ ที่มีเป้าหมายจับกุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นแนวร่วมภายใต้ “สมาคมค้าปลีกไทย”

    ซึ่งก็มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าคุณรวิฐามีผลประโยชน์กับการเข้ามาของดิวตี้ฟรีเกาหลีอย่างล็อตเต้หรือป่าว? เนื่องจากว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นล็อตเต้ก็เห็นว่ามีชื่อของคุณ รวิฐา พงศ์นุชิต อยู่ในโครงสร้างดังกล่าวด้วย งานนี้ก็ต้องอาศัยดุลยพินิจส่วนตัวกันแล้วแหละครับ

และจากประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าประเด็นสัมปทานดิวตี้ฟรีมักจะได้รับการกวนน้ำให้ขุ่นอยู่เสมอบวกกับข้อมูลที่ดูง่ายต่อการบิดพลิ้ว (เพราะสัมปทานมันเกิดขึ้นนานมาแล้ว) มันจึงทำให้เกิดความอ่อนไหวในการรับรู้ของสังคม  ตีความผิดเพี้ยนกันไปต่างๆ นาๆ และเพราะด้วยปัจจัยเหล่านี้แหละ สาเหตุที่ทำให้มีประเด็น “คิงเพาเวอร์ผูกขาด” ขึ้นมาตามหน้าสื่อต่างๆ และถูกพูดถึงในสังคมก็เป็นได้

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://pantip.com/topic/37570891
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา