มุสลิมเชียงใหม่สะดุ้ง!โดนเครื่อข่ายธรรมกาย แฉวางแผนยึดไทยผุดมัสยิดกว่าร้อยแห่งในเชียงใหม่ ให้นักเรียนฟัง

guest profile image guest

ชมรมเครื่อข่ายธรรมกาย อปพส.เดินหน้าสร้างกิจกรรม“โครงการรวมพลังเยาวชนต้นแบบศีลธรรม”ให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยต้มที่ลำพูน แฉ มุสลิมคิดยึดเชียงใหม่? อ้างมีมัสยิดเกิน 100 แห่งที่เชียงใหม่ จนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ อปพส.มีพฤติกรรมอันเป็นภัยความมั่นคงอย่างร้ายแรง วอนรัฐหาทางสร้างความเข้าใจ ยุติปัญหา หวั่นเพิ่มความขัดแย้งระหว่างศาสนา ยังคงเดินหน้าสร้างกิจกรรมของตัวเองอย่างต่อเนื่อง

สำหรับองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนา (อปพส.) เพื่อสันติภาพ ที่มีคีย์แมนหลักอย่างนายอัยย์ เพชรทอง ศิษย์คนดังของวัดพระธรรมกาย ที่แม้แต่ทางวัดพระธรรมกายก็ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องถึงการเคลื่อนไหวในทุกครั้งที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคม แต่ศิษย์ธรรมกายกลุ่มนี้ก็ยังคงเดินหน้าทำกิจกรรม ที่อ้างว่าให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายพุ่งเป้าชัดเจนไปที่ศาสนาอิสลาม แม้เนื้อหาสาระในการบรรยายจะหมิ่นเหม่ต่อการสร้างความขัดแย้งของผู้ที่นับถือต่างศาสนา และในบางครั้งก็สามารถปลุกกระแสความสนใจของผู้คนในสังคมได้ แม้ข้อมูลที่นำมาใช้นั้นจะผิดไปจากความเป็นจริง แต่กลุ่มนี้ก็ยังสามารถเดินสายทำกิจกรรมได้ตามปกติ ปลุกกระแสมุสลิมยึดเชียงใหม่ การเดินสายขึ้นไปที่เชียงใหม่เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมด้วยการโพสต์ข้อความ

“อาการสาหัส?? มุสลิมบุกหนัก?? อปพส.เสวนากลางเมืองเชียงใหม่ เปิดข้อมูลน่าตระหนก?? ตะลึงทั้งเมือง มัสยิดเกิน 100 แห่ง!! ทั่วเมืองเชียงใหม่!! มุสลิมคิดยึดเชียงใหม่? ใช่หรือไม่??”

กิจกรรมล่าสุดนี้ทำเอากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ต้องออกมาแจงว่า มัสยิดเกิน 100 แห่งทั่วเมืองเชียงใหม่ เป็นข่าวปลอม ซึ่งกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว แม้จะไม่มีการกล่าวถึงว่าต้นตอมาจากใคร แต่ภาพที่ทางดีอีเอสนำมาใช้ประกอบนั้น คนที่ติดตามเรื่องเหล่านี้ก็ทราบดีว่ามาจาก อปพส.ที่ขึ้นไปทำกิจกรรมที่จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็น ข้อมูลเท็จ กรรมการอิสลามเชียงใหม่ออกหนังสือถึงผู้ว่าฯ การเดินสายที่ระบุว่าปลุกชาวพุทธให้ตื่นและรับรู้ถึงภัยของพระพุทธศาสนานั้น ในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้บังคับการรบพิเศษที่ 5 และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 รายงานพฤติการณ์ภัยความมั่นคงอันรายแรงของกลุ่มองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.)

ตามที่ได้มีองค์กรชาวพุทธกลุ่มหนึ่งใช้ชื่อว่า องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ (อปพส.) นำโดยนายอัยย์ เพชรทอง ได้มีพฤติกรรมอันเป็นภัยความมั่นคงอย่างร้ายแรง โดยใช้การโกหกบิดเบือนด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ ใส่ร้าย ปลุกปั่น เพื่อสร้างความแตกแยก เกลียดชังแก่ชาวไทยมุสลิมในภูมิภาคต่างๆ โดยในวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่ม อปพส.ได้เดินทางมาปลุกปั่นสร้างความแตกแยกที่อำเภอแม่อาย อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และห้องประชุมพุทธสถาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยกล่าวหาว่าจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนมัสยิดมากกว่า 100 มัสยิด ทั้งๆ ที่ข้อมูลความเป็นจริงที่ปรากฏทั้งในที่สาธารณะและข้อมูลจากทะเบียนของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนมัสยิดที่จดทะเบียนแล้วเพียง 14 มัสยิด และไม่ได้จดทะเบียนอีก 3 มัสยิด รวมเป็น 17 มัสยิดเท่านั้น นอกจากนั้น แกนนำกลุ่ม อปพส.ยังกล่าวหาใส่ร้ายบิดเบือนพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศไทย ซึ่งพระราชบัญญัติทั้งหลายล้วนออกมาโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา แต่แกนนำ อปพส.กลับดูหมิ่นเหยียดหยามและบิดเบือนว่าเป็นพระราชบัญญัติที่เอื้อประโยชน์ให้พวกมุสลิมเพื่อมายึดครองประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภัยความมั่นคงอันร้ายแรง ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 แกนนำ อปพส.ได้เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยให้ข้อมูลใส่ร้ายบิดเบือนและเป็นเท็จแก่คณะครูและนักเรียนในโรงเรียน เกี่ยวกับพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสดและนำข้อมูลความเคลื่อนไหวของกลุ่มขึ้นเผยแพร่ในสื่อโซเชียลฯ อย่างเฟซบุ๊กชื่อ องค์กรพลังชาวพุทธและองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) เพื่อขยายวงความเกลียดชังอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองแต่อย่างใด คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะองค์กรภายใต้พระราชบัญญัติบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ตามมาตรา 26(1) มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด มีความเห็นว่า พฤติการณ์การยุยงปลุกปั่น สร้างความเกลียดชังระหว่างศาสนาด้วยข้อมูลบิดเบือนอันเป็นเท็จ โดยกลุ่ม อปพส.ตลอดมานั้น นับเป็นภัยความมั่นคงอันร้ายแรงที่จะสร้างความแตกแยกระหว่างผู้คนในสังคมไทย และหากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่ใส่ใจหรือไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ได้ อาจส่งผลบานปลายขยายสู่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างศาสนาได้ในที่สุด และอาจลุกลามนำไปสู่ขั้นเลวร้ายที่สุด โดยถูกองค์กรศาสนาสุดโต่งข้ามชาติ นำไปเป็นเงื่อนไขในการเข้ามาแทรกแซงสร้างความรุนแรงวุ่นวายในสังคมได้ต่อไป จึงเรียนมายังหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้โปรดดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อจัดการและยุติความเคลื่อนไหวของกลุ่ม อปพส. เพื่อไม่ให้ขยายวงความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในสังคมไทยได้ต่อไป อปพส.จัดเสวนา ให้กับคณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยต้ม ชัยยะวงศาอุปถัมภ์ จังหวัดลำพูน คราวนี้ใส่แนวคิดที่เด็กนักเรียน จากนั้นกลุ่ม อปพส.ได้จัดเสวนาให้กับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมป์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมด้วยการโพสต์ข้อความ เยาวชนตื่นแล้ว อ.ลี้ จ.ลำพูน ข่าวดีข่าวด่วนเยาวชนตื่นตัวรับรู้ภัย เด็กรุ่นใหม่ไม่ยอมให้ใครทำลายศาสนา อปพส.ลงพื้นที่เปิดโปง พ.ร.บ.อันตราย ปลุกเยาวชนให้ตื่น จากนั้นได้ถ่ายทอดสดการเสวนาผ่านเฟซบุ๊ก และโพสต์ข้อความอีกชุด อปพส.จัดเสวนา 18/2/63 ให้กับคณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมป์ จ.ลำพูน พระพุทธศาสนามีความสำคัญมาอย่างยาวนาน ตื่นรู้ทันภัย พ.ร.บ.อิสลาม 3 ฉบับ สถานการณ์พระพุทธศาสนาทางภาคเหนือ สิทธิที่แตกต่างของนักศึกษาชาวพุทธ นักศึกษาอิสลาม นักวิชาการด้านศาสนาอิสลามกล่าวว่า กรณีของงานเสวนาที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ซึ่งแตกต่างจากการเสวนาครั้งก่อนๆ ของ อปพส. ที่ผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นพระและผู้สูงอายุ แต่ครั้งนี้จัดที่โรงเรียนบ้านห้วยต้ม มีการนำเอานักเรียนเข้ามาร่วมฟังด้วย โดยความร่วมมือของผู้อำนวยการโรงเรียน การให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนให้กับนักเรียนอย่างนี้ ไม่แตกต่างจากเป็นการล้างสมองเด็ก อย่างผู้ใหญ่เมื่อรับฟังแล้วอาจไปเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือนำไปพูดคุยหารือกับบุคคลอื่นก่อนจะตัดสินใจว่าเชื่อหรือไม่ แต่อย่างเด็กนักเรียนเมื่อกรอกให้พวกเขาไปแล้วและเป็นการจัดโดยโรงเรียน โอกาสที่พวกเขาจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้นมีความเป็นไปได้สูง ที่สำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ทราบข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแล้วนำไปบอกต่อให้กับคนในครอบครัวหรือบุคคลอื่น ย่อมเป็นเรื่องที่อันตราย ที่สำคัญเมื่อฝังความเชื่อลงไปแล้ว ความคิดเหล่านี้จะติดตัวไปตลอดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กลายเป็นฐานให้กับทางกลุ่มที่มีแนวคิดแบบนี้ไปตลอด สายธรรมกายเคยหนุนโรงเรียนนี้ ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบข้อมูลถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์แห่งนี้ พบว่า สื่อของวัดพระธรรมกายได้เผยแพร่กิจกรรม โครงการรวมพลังเยาวชนต้นแบบศีลธรรม 4.0 ครั้งที่ 1 จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ภายในงานได้รับความเมตตาจากพระครูกิตติปริยัตินิเวศน์ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดลำพูน เป็นประธานสงฆ์ นายผิน มายาง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นายสุกฤษฎ์ รอดกรุง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ เป็นผู้แทนกล่าวรายงาน ทั้งนี้คณะครูและนักเรียนได้ร่วมกันสวดมนต์ในบทธัมมจักกัปปวัตนสูตร เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้นักเรียนยังได้เข้าฐานเรียนรู้ นิทรรศการและฐานกิจกรรม ห้องเรียนต้นแบบ และศีล 5 ภาพยนตร์พุทธประวัติและบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฐานปฏิบัติการเดิน การถอดและวางรองเท้า ฐานปฏิบัติทำความสะอาดและจัดระเบียบสิ่งของ ฐานปฏิสันถารและบารมี 10 ทัศ และฐานคุณครู สื่อนวัตกรรมและถอดบทเรียน ซึ่งในครั้งนี้มีนักเรียนและคณะครูเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน หวั่นเพิ่มปมความขัดแย้ง พื้นที่ดังกล่าวถือว่าอยู่ในเครือข่ายที่มีสายสัมพันธ์กับทางวัดพระธรรมกายมาก่อน อปพส.ก็สายธรรมกาย ส่วนทางวัดพระธรรมกายจะทราบเรื่องในครั้งนี้หรือไม่ เชื่อว่าทางวัดคงออกมาปฏิเสธเหมือนทุกครั้งที่กลุ่ม อปพส.เคลื่อนไหว ก่อนหน้านี้ทางสำนักจุฬาราชมนตรี เคยออกคำชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อกรณีการเผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่คลาดเคลื่อน เมื่อ 19 ธันวาคม 2562 หลังจากที่กลุ่ม อปพส.เคลื่อนไหว จากนั้น อปพส. ได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรหลายคณะ เมื่อ 18 ธันวาคม 2562 เพื่อขอให้ตรวจสอบพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2559 อปพส.เคลื่อนไหวมาตลอดนับตั้งแต่เกิดเหตุจับกุมพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม และหลายครั้งที่มีการโพสต์ข้อความที่สร้างความเข้าใจผิดและกระทบต่อศาสนาอิสลาม แต่ไม่พบว่ามีหน่วยงานใดมาหาทางยุติความไม่เข้าใจดังกล่าว สิ่งที่กลุ่มนี้กำลังดำเนินการอยู่นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก อาจกลายเป็นปมในการเพิ่มความไม่เข้าใจกันของ 2 ศาสนาได้ จะเห็นได้ว่าขณะนี้มีการออกมาชี้แจงจากสำนักจุฬาราชมนตรีและจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ เราจึงอยากให้ภาครัฐเห็นความสำคัญในเรื่องนี้และหาทางยุติปัญหาแล้วมาทำความเข้าใจกัน.

เนื้อหาโดย: Etjet'aime
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา