31 มี.ค. นี้ ทุกธนาคารเริ่มส่งภาษีออนไลน์

guest profile image guest

“มาตรการเก็บภาษีธุรกิจออนไลน์” แบบจริงจังกว่าทุกครั้ง นั่นก็เป็นเพราะว่าเมื่อก่อนคนขายออนไลน์ส่วนใหญ่นั้นอยู่นอกระบบภาษี งานนี้รัฐบาลจึงได้มีการขอความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งของรัฐ และเอกชน ในการเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในบัญชี (อ้างอิงจาก เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/27837.0.html)

 

บัญชีแบบไหนที่เข้าข่ายถูกสถาบันการเงินส่งข้อมูลให้รัฐตรวจสอบ?

  1. บัญชีที่มีการฝาก–รับโอน “ทุกบัญชี” รวมกันมากกว่า 3,000 ครั้ง/ปี
  2. หากไม่ถึง 3,000 ครั้ง แต่มียอดรวมเกิน 2 ล้านบาท ที่มาจากการฝาก–รับโอน “ทุกบัญชี” เกิน 200 ครั้ง/ปี ก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบ

หากถูกตรวจสอบ กรมสรรพากรก็จะตรวจสอบย้อนหลังไปอีก 10 ปี

ทำไมต้องเป็นเลขนี้ 3,000 ครั้ง / 2 ล้าน 200 ครั้ง?

กรมสรรพากรมองว่า บัญชีบุคคลธรรมดาใดก็ตามที่มีเงินเข้าออกเกินวันละ 10 กว่าครั้ง (ทั้งปีรวมก็ 3,000 กว่าครั้ง) หรือคนที่รับ–ส่งเงินหลักล้าน หลายๆ ครั้ง นั่นเข้าข่ายบุคคลที่น่าสงสัยว่าทำธุรกิจสีเทา ธุรกิจที่ยังไม่เข้าระบบภาษี หรือแม้กระทั่งการรับเงินใต้โต๊ะ การฉ้อโกงต่างๆ

ถ้ารายได้ไม่ถึงต้อง “ยื่น” ภาษีหรือไม่?

ตามหลักแล้ว คนที่มีรายได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเงินเดือน หรือทำธุรกิจใดๆ มีหน้าที่ต้อง “ยื่น” ภาษีเช่นเดียวกันหมด แต่ถามว่าจะต้อง “เสียภาษี” หรือไม่? อันนี้ขึ้นอยู่กับรายได้ของเราค่ะ ตอนนี้กฏหมายเรากำหนดให้คนที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี (ยื่นเข้าไปก่อน แต่ไม่ต้องเสีย เข้าใจตรงกันนะ!! แล้วเดี๋ยวนี้ก็ยื่นก็ง่ายมากๆ แค่เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรแล้ว Log-in กรอกรายละเอียดต่างๆ ได้เลยค่ะ )

 

ถ้ารายได้จากการขายออนไลน์เกิน 150,000 ขึ้นไป เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

แต่ละอาชีพ แต่ละที่มาของเงิน ก็จะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับคนขายของออนไลน์แล้ว ถือว่ารายได้ของเราอยู่ใน “ประเภทที่ 8” ซึ่งพิเศษกว่าพนักงานกินเงินเดือนทั่วๆ ไปตรงที่ เราต้องเสียภาษี 2 ครั้งต่อปี – โดยใช้แบบฟอร์มครึ่งปีชื่อ ...94 และแบบฟอร์มแบบเต็มปีคือ ...90”

ซึ่งทุกครั้งก่อนยื่นภาษี เราต้องอย่าลืมลบ “ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน” จากการทำธุรกิจออกก่อนนะคะ ไม่งันเสียภาษีอานเลย  คนที่ซื้อมาขายไป รัฐกำหนดง่ายๆ ว่าเหมาไปเลย 60% ของรายได้ ให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายไป ไม่ต้องเอามาคำนวณ ส่วนใครที่ผลิตสินค้าเองขายเอง ก็ต้องยื่นเอกสารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริงจากการผลิต ***แต่ถ้าใครขายเก่งง จนมีรายได้จากการขายมากกว่า 1 ล้านบาทต่อไป เค้าไม่ใช้สูตรค่าใช้จ่าย 60% นะคะ จะไปใช้เป็นสูตร “เงินได้สุทธิ x 0.5% = ภาษีที่ต้องเสียเลย ไม่ต้องคิดในส่วนค่าใช้จ่ายเหมือนสูตรแรกอีกต่อไป” ***

จากนั้น ถ้าคุณเป็นบุคคลธรรมดา ให้เอาเลขจากภาพข้างบน มาคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่ายต่อ
ด้วยสูตรจากตารางนี้ (ยกเว้นคนที่เข้าข่ายข้อ 2 ต้องคำนวณทั้งสองแบบก่อนคือแบบตาราง กับแบบเหมา 0.5%
แบบไหนต้องเสียภาษีเยอะกว่ากัน สรรพากรจะเก็บจากแบบนั้น)

หรือถ้าคุณไม่ใช่บุคคลธรรมดา (เสียภาษีในฐานะนิติบุคคล เปิดบริษัทต่างๆ) ให้คำนวณจากตารางนี้แทนค่ะ

ใครที่เป็น SME เสียภาษีน้อยกว่านิติบุคคลที่ไม่ใช่ SME
รู้ได้ไงว่าใครเป็น SME? คำตอบคือดูจากทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาทค่ะ

 

จดทะเบียนพาณิชย์ / จดทะเบียนการค้า / จดบริษัท มีผลกับภาษีอย่างไร?

– จดทะเบียนพาณิชย์ หรือ จดทะเบียนการค้า หรือ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (หรือเรียกสั้นๆ ว่าจด DBD) สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลอะไรกับภาษีร้านค้าออนไลน์ค่ะ บุคคลธรรมดาใครๆ ก็จดได้ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ร้านค้า เพราะเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าธุรกิจของเรามีตัวตน แถมคนจดยังได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ในการเข้าคอร์สอบรมให้ความรู้จากที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงพาณิชย์ด้วยนะ

– จดบริษัท คือเรากำลังจะเปลี่ยนตัวเองจากบุคคลธรรมดาให้กลายเป็นรูปแบบบริษัทเต็มตัว มีผลกับอัตราภาษีค่ะ แอบบอกว่า ปัจจุบันรัฐให้การสนับสนุนหน่วยธุรกิจให้เงินสะพัด ดังนั้น หลายครั้งที่การเสียภาษีในรูปแบบบริษัทจะประหยัดนั่นนี่ได้มากกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดาค่ะ แต่ต้องดูความคุ้มค่าแบบองค์รวมด้วยน้า 

 

จ่ายภาษีร้านออนไลน์ ยังต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีกหรือไม่?

ถ้าคุณเข้าข่ายข้อด้านบน แต่ยังมีรายได้ไม่ถึงปีละ 1,800,000 บาท ก็ไม่ต้องจด VAT เพิ่มค่ะ โดยเจ้า VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มเนี้ย เป็นภาษีอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เกียวกับรายได้ของเรา แต่เกี่ยวกับทุกเหตุการณ์ที่มีการซื้อ–ขายในทุกระดับไม่ว่าจะเป็น ลูกค้ามาซื้อของกับเรา เราไปซื้อของกับโรงงาน เราซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยว ฯลฯ โดยทุกการใช้จ่าย รัฐจะหักส่วนนึงออกไปเข้าคลัง (ปี 2019 ปัจจุบันอยู่ที่ 7% ดังนั้น เราก็จะเห็นท้ายใบเสร็จตามที่ต่างๆ ว่า VAT 7% นั่นเอง)

โดยเรามีหน้าที่คิดราคาสินค้าที่เหมาะสม และต้องเผื่อบวก VAT 7% เข้าไปที่ราคาสินค้าหรือบริการของเราด้วยเสมอ และในฐานะคนขาย เราต้องมีหน้าที่นำส่งยอด VAT ให้สรรพากรด้วยค่ะ

คนที่จะจด VAT ได้ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้นนะ บุคคลคนธรรมดาก็ต้องส่ง หากมีรายได้เกินปีละล้านแปดแสนบาท อย่างที่บอกไปข้างต้น

 

สรุป

1. หากคุณทำธุรกิจค้าขายใดๆ ที่ทำให้มีรายได้เกินปีละ 1,800,000 บาท มีหน้าที่ต้องจด และนำส่ง VAT ให้แก่รัฐ คิดตามจริงจากยอดการซื้อ–ขาย สิ่งต่างๆ ในธุรกิจคุณ
2. หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องจ่ายภาษีปีละ 2 ครั้ง ครึ่งปี กับ เต็มปี

3. หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ไม่เกิน 150,000 ไม่ต้องเสียภาษี แต่ควรยื่นภาษีแสดงความถูกต้อง

4.แต่ถ้าคุณเป็นนิติบุคคล (พวกจดบริษัทต่างๆ) มีรายได้ไม่เกิน 300,000 ไม่ต้องเสียภาษี แต่ควรยื่นภาษีแสดงความถูกต้อง

5. ยอดภาษีจากการขายออนไลน์ กับ ยอด VAT เป็นคนละก้อนกัน ถึงเกณฑ์ของอะไรก็จ่ายอันนั้น ถึงทั้งสองเกณฑ์ ก็นำส่งทั้งสองยอด

6. การจดทะเบียนพาณิชย์ ไม่ได้มีผลอะไรกับการเสียภาษี

7. ใครที่ยังไม่ได้เข้าระบบภาษีให้ถูกต้อง เสี่ยงโดนย้อนหลัง 10 ปี โดยอาจถูกพบเจอจากยอดธุรกรรมการเงินในบัญชีที่มีมากกว่าปีละ 3,000 ครั้ง หรือ ปีละมากกว่า 200 ครั้งที่มียอดรวม 2,000,000 บาท

Cr : เพจ TaxBugnoms

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: เพจ TaxBugnoms
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา