ตาก - วันที่ 13 มีนาคม 2563 ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำโดย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 (นายทีสมชาย แตงไทย) พร้อมคณะ ได้มีลงพื้นที่ติดตามและรับฟังปัญหา

guest profile image guest

  วันที่ 13 มีนาคม 2563 ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำโดย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 (นายทีสมชาย แตงไทย) พร้อมคณะ ได้มีลงพื้นที่ติดตามและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรพื้นที่ลุ่มแม่น้ำวังตอนล่าง จังหวัดตาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากกรณีลุ่มน้ำแม่น้ำวังแห้งขอดและเริ่มส่งผลกระทบต่อน้ำน้ำใต้ดิน เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการระบายน้ำเขื่อนกิ่วคอหมาและเขื่อมกิ่วลม ตามข้อเสนอของสภาเกษตรกรจังหวัดตากซึ่งได้มีหนังสือเสนอเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ไปเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธุ์ 2563 ประกอบกับ หนังสือแจ้งปัญหาความเดือดร้อนขององค์การบริหารส่วนตำบล ต.วังจันทร์ ต.วังหมัน และ ต.วังจันทร์ อ.สามเงา จ.ตาก โดยมีผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการชลxระทาน ปลัดอำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตากและคณะ ตลอดจนผู้แทนภาคประชาชน ร่วมประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำวังตอนล่าง โดยสรุปข้อเสนอที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดตากเสนอตัวแทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พิจารณาไปนำเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ดังนี้
1) ปลัดอำเภอสามเงา รับเป็นผู้รวบรวมข้อมูลปริมาณความต้องการใช้น้ำราษฎรพื้นที่ ต.วังจันทร์ ต.วังหมัน และ
ต.วังจันทร์ อ.สามเงา และ ต.แม่สลิด และต.ตากตก อ.บ้านตาก จ.ตาก ส่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาระบายน้ำเขื่อนกิ่วคอหมาและ
เขื่อมกิ่วลม

2) ตัวแทนในพื้นที่จังหวัดตาก (ผู้ได้รับผลกระทบลุ่มน้ำวังตอนล่าง) เสนอพิจารณาระบายน้ำเขื่อนกิ่วคอหมาและเขื่อมกิ่วลม โดยระบายน้ำต่อครั้งให้มีปริมาตรน้ำเพียงพอส่งถึงแม่น้ำวังตอนล่าง (ประมาณ ๕ ล้าน ลบ.ม.) และระยะเวลาในการระบายน้ำครั้งถัดไปพิจารณาความเหมาะสมจากปริมาณและระยะเวลาการใช้น้ำในครั้งแรก โดยเห็นว่าการระบายน้ำปริมาณน้ำปริมาณน้อยเป็นรายวันน้ำที่ระบายมาให้ไม่เพียงพอจะมาถึงพื้นที่ลุ่มน้ำวังตอนล่าง

3) ข้อสังเกตเสนอควรปรับลดระดับฝายกั้นแม่น้ำวัง เพื่อให้มีการระบายน้ำมายังพื้นที่แม่น้ำวังตอนล่างได้มากขึ้น

4) การสร้างความเข้าใจการใช้น้ำของราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำวังตอนบน (จังหวัดลำปาง) เพื่อปรับลดพื้นที่ปลูกข้าวและพืชที่ใช้น้ำมาก เพื่อให้การระบายน้ำสามารถส่งถึงพื้นที่ลุ่มน้ำวังตอนล่าง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 รับนำข้อข้อมูลและประเด็นข้อเสนออื่นๆ เสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓

เนื้อหาโดย: nupenkondee
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา