แนวทางการพักชำระหนี้ ช่วยลูกหนี้จากทุกธนาคาร ฝ่า COVID19 พักหนี้เงินต้น ดอกเบี้ยต่ำ

guest profile image guest

วันที่ 1 มีนาคม 2563 รายการข่าววันใหม่ ทางช่อง 3 รายงานว่า นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ได้จัดทำมาตรการเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้าเงินกู้ เช่น ไกด์นำเที่ยว, พนักงานโรงแรม, ผู้ประกอบการรายย่อย ที่ขายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออาชีพอื่นที่แสดงหลักฐานให้ธนาคารตรวจสอบได้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ หรือโรค COVID-19 ซึ่งครอบคลุมลูกค้ากลุ่มค้างชำระเงินงวดตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ด้วย

โดยธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินงวดผ่อนชำระให้ 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงเหลือ 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เพื่อลดภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ ซึ่งสามารถไปยื่นเอกสาร เพื่อเข้าร่วมมาตรการได้ที่สาขาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน นี้

ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่มีแนวโน้มลุกลามและส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงิน กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ซึ่งจะเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและเร่งปรับโครงสร้างหนี้ อาทิ

ให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม

พักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว

ขยายระยะเวลาการชำระหนี้

ลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม

ผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตได้ต่ำกว่าร้อยละ 10

เพิ่มวงเงินชั่วคราวสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล

โดยกำหนดเป็นมาตรการชั่วคราวระยะเวลา 2 ปี ระหว่าง 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึงและทันท่วงที แบงก์ชาติจึงได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดชั้นและการกันเงินสำรอง รวมทั้งการรายงานข้อมูลเครดิตของลูกหนี้เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละสถาบันการเงินได้ ดังนี้

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกสิกร

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

ธนาคารกรุงศรีฯ

ธนาคารยูโอบี

ธนาคารทิสโก้

ธนาคารธนชาต

ธนาคารทหารไทย

ธนาคารเกียรตินาคิน

ธนาคารไอซีบีซี

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.siamnews.co
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

2 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา