Review : Sony Ericsson Aino ฮัลโหลกึ่งทัชโฟน โดนทุกฟังก์ชัน

webmaster profile image webmaster

โซ นี่ อีริคสัน รุ่น Aino นับเป็นมือถือ 1 ใน 3 รุ่นที่ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของโซนี อิริคสัน ภายหลังการปรับกลยุทธ์ผนึกพันธมิตรในเครือนำจุดแข็งหลากด้านที่มีอยู่มาหลอม ใหม่ ที่ไม่ได้เป็นแค่วอร์กแมนโฟน หรือไซเบอร์ช็อตโฟนอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยหวังมาตีตลาดกลุ่มไลฟ์สไตล์ที่มีความชื่นชอบด้านเอนเตอร์เทนเมนต์โดย เฉพาะ ซึ่งรุ่นนี้ได้ใส่มาให้เลือกใช้งานกันครบถ้วนในรูปแบบสไลด์โฟนกึ่งทัชโฟน

Feature on Sony Ericsson Aino

ฟีเจอร์ เด่นของเครื่องรุ่นนี้ไม่ต้องมองข้ามไปไหนไกล รวมถึงยังไม่ต้องสไลด์เครื่องออกด้วย เพราะมันอยู่ที่หน้าจอด้านหน้าผู้ใช้ ซึ่งภายในบรรจุโหมดมัลติมีเดียที่มี 5 ฟังก์ชันยอดนิยมเตรียมพร้อมไว้ให้ใช้งาน อีกทั้งยังรวมไปถึงการใช้งานรับ-วางสายสนทนาของเครื่องรุ่นนี้ที่สั่งผ่าน ทางหน้าจอสัมผัสได้เลยเช่นกัน หน้าจอของ Aino เป็นแบบกึ่งสัมผัสแบบ Capacitive ที่รองรับการตอบสนองนิ้วมือชนิดเดียวกับโทรศัพท์ยอดฮิตอย่างไอโฟนนั่นเอง โดยสามารถสัมผัสใช้งานได้เฉพาะขณะที่เครื่องไม่ได้สไลด์ออกเท่านั้น ถ้าผู้ใช้สไลด์เครื่องออกจะต้องไปใช้งานปุ่มควบคุมทางด้านล่างแทน

กลับมาดูการใช้งานหน้าจอทัชสกรีนกัน ต่อ เมื่อผู้ใช้งานเปิดหน้าจอขึ้นมาจะพบกับหน้าจอสแตนบายที่ทำเป็นฉากกั้นก่อน เข้าสู่ฟังก์ชันมัลติมีเดียด้านใน ซึ่งหน้าจอหลักนี้จะแสดง วัน-เดือน-ปี ไว้บนสุดฝั่งซ้าย ถัดลงมาเป็นเวลาตัวอักษรค่อนข้างใหญ่ชัดเจน ใต้ล่างมีชื่อโอเปอเรเตอร์ที่ใช้งานแสดงอยู่ ล่างสุดเป็นแถบแสดงสถานะคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ สถานะแบตฯ และสัญลักษณ์สามเหลี่ยมชี้ขึ้นบอกให้ผู้ใช้งานใช้นิ้วเลื่อนขึ้นเพื่อเปิด ฉากส่วนนี้ออก เมื่อต้องการเรียกฟังก์ชันมัลติมีเดียภายใน

หลังจากเลื่อนฉากด้านหน้าออก จะพบกับฟังก์ชันมัลติมีเดียทั้ง 5 ที่ถูกออกแบบให้มีสีสันชวนใช้งานวางเรียงรายเป็นระเบียบตรงกึ่งกลางเครื่อง ประกอบไปด้วย กล้องถ่ายภาพ คลังภาพ เครื่องเล่นเพลง เครื่องเล่นวิดีโอ และวิทยุ หากต้องการใช้ฟังก์ชันไหนก็ใช้นิ้วจิ้มสั่งงานได้ทันที ซึ่งอินเตอร์เฟสการใช้งานต้องบอกว่าทำออกมาได้สวยชวนสัมผัส แถมยังใช้งานได้ง่ายอีกด้วย

มาไล่ดูทีละฟังก์ชันกันเลยเริ่มจาก “กล้องถ่ายภาพ” ที่ไม่สามารถใช้งานขณะสไลด์ตัวเครื่องออกได้ หากสไลด์ตัวเครื่องแล้วเรียกใช้ฟังก์ชันนี้ จะมีภาพกราฟิกเคลื่อนไหวเป็นรูปโทรศัพท์สไลด์ปิดเครื่องแสดงบนหน้าจอ ใช้งานโดยการสัมผัสทั้งหมด(อ่านรายละเอียดในฟีเจอร์กล้อง) ถัดมา“คลังภาพ” ที่แสดงภาพแบบ ‘Thumbnail’ สามารถเลื่อนดูภาพได้สะดวก ดูภาพแนวตั้งโดยการพลิกเครื่องตั้งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเลือกรูปที่ต้องการเพื่อปรับแก้ไข ย่อ-ขยาย ลบภาพ และส่งภาพขึ้นเฟสบุ๊ก, อัปขึ้นอัลบั้มเว็บ, ข้อความ, อีเมล์, บลูทูธ ได้ทันทีอีกด้วย

ถัดมา“เครื่องเล่นเพลง” ที่มีหน้าตาเรียบๆใช้งานง่าย ไม่มีลูกเล่นอะไรให้ปรับแต่งกันมากนัก อาจจะเรียกว่าเป็นเครื่องเล่นเพลงฉบับย่อก็คงไม่ผิดนัก เพราะมีให้ปรับแต่งน้อยนิด คือ ให้ปรับการเล่นสุ่มเพลง วนซ้ำเพลง และควบคุมเพลงผ่านปุ่มควบคุมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันอีก 4 หมวดให้เลือกใช้งาน ได้แก่ ทำต่อ(เล่นเพลงล่าสุดที่ค้างไว้), เพิ่มเพลงใหม่, อัลบั้ม และเพลย์ลิสต์ ส่วน“เครื่องเล่นวิดีโอ”มีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องเล่นเพลง สามารถแสดงภาพได้เต็มหน้าจอ และเปลี่ยนจากส่งขึ้นเฟสบุ๊กเป็นขึ้นยูทูปแทน

“วิทยุ FM” ในส่วนทัชสกรีนนี้ เรียกใช้งานได้ง่ายๆโดยการกดเปิด-ปิด(ปุ่มกลาง) สแกนหาคลื่นง่ายๆด้วยการใช้นิ้วกด หรือลากตรงแถบได้โดยตรง ทั้งนี้ ผู้ใช้ต้องเชื่อมต่อชุดหูฟังเพื่อเป็นตัวรับสัญญาณเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเข้าใช้งานฟังก์ชันนี้ไม่ได้ นอกจากนี้ หน้าจอยังรองรับการสัมผัสในการใช้งานเพื่อรับสาย, วางสาย และปิดเสียงขณะมีสายเรียกเข้าด้วย

เมื่อสไลด์ตัวเครื่องออกจะพบกับหน้าจอการใช้งานปกติที่คุ้นเคยกัน ซึ่งถ้าสไลด์ตัวเครื่องออกแล้วหน้าจอจะไม่สามารถตอบสนองการสัมผัสได้ ต้องลงไปใช้ปุ่มควบคุมทางด้านล่างแทน อย่ารอช้ากดปุ่มกลางไปไล่ดู “เมนู” ก่อนจะไปดูฟีเจอร์อื่นๆที่มากับเครื่องกันก่อนเลย โดยเครื่องรุ่นนี้ใส่เมนูมาให้ใช้งานทั้งหมด 12 เมนูด้วยกัน ประกอบด้วย PlayNow, อินเทอร์เน็ต(Internet), ความบันเทิง(Entertainment), กล้องถ่ายรูป(Camera), ข้อความ(Messaging), สื่อ(Media), บริการแจ้งตำแหน่ง(Location Service), รายชื่อ(Contacts), เครื่องเล่นเพลง(Music Player), โทร(Calls), ออแกไนเซอร์(Organiser) และการตั้งค่า(Settings)

Camera

“Aino” จัดว่าเป็นโทรศัพท์ครบเครื่องความบันเทิงด้านมัลติมีเดียจริงๆรุ่นหนึ่ง ทั้งเรื่องกล้องที่มีกลิ่นอายของตระกูลไซเบอร์ซ็อตติดมา เครื่องเล่นเพลงที่ยังแพรวพราวในแบบฉบับของเครื่องเล่นเพลงวอล์กแมน โดยเห็นได้ชัดเจนจากการดึงจุดแข็งที่มีอยู่ในตัว มาแยกเป็นเมนูเดี่ยวๆให้เรียกใช้งานกันง่ายขึ้น ไปไล่ดูที่ฟังก์ชันภายในของ “กล้องดิจิตอล” กันก่อนเลย

“กล้องดิจิตอล” ที่ติดมากับเครื่องรุ่นนี้ให้ความละเอียด 8.1 ล้านพิกเซล ออโต้โฟกัส พร้อมแฟลชช่วยถ่ายแบบ LED ฟังก์ชันของกล้องจะทำงานก็ต่อเมื่อฝาสไลด์เลื่อนปิดอยู่เท่านั้นดังที่กล่าว ไปแล้วในข้างต้น ซึ่งระบบฟังก์ชันของกล้องถ่ายภาพต้องอาศัยการสัมผัสทั้งหมด ไม่ว่าผู้ใช้งานจะเลือกเข้าทางด้านหน้าจอทัชสกรีน หรือผ่านทางเมนู รูปแบบอินเตอร์เฟส กับลูกเล่นฟังก์ชันภายในก็คือแบบเดียวกันนั่นเอง

เมื่อ เปิดเข้าใช้งานเมนูกล้องจะพบกับ หน้าอินเตอร์เฟสพร้อมใช้งานในรูปแบบเรียบง่ายแต่มีฟังก์ชันครบครัน ซึ่งหน้าแรกไล่จากมุมซ้ายบน ประกอบไปด้วย โหมดให้เลือกเปลี่ยน ได้แก่ ภาพนิ่ง, วิดีโอ และดูภาพ ฝั่งขวาสุดแนวเเดียวกันจะมีสัญลักษณ์ดาวเทียม(ถ้าเปิดใช้งาน Geotags) และปุ่มปิดเมนูแสดงเครื่องหมาย ‘X’ ถัดลงมาตรงกลางเป็นจอสำหรับเล็งภาพ สามาถกดโฟกัสวัตถุจุดไหนก็ได้ที่อยู่ในกรอบ เครื่องจะโฟกัสแล้วถ่ายให้อัตโนมัติ หรือจะใช้ปุ่มชัตเตอร์ด้านข้างตัวเครื่องก็ได้ ส่วนแถสล่างสุด ไล่จากด้านซ้าย ได้แก่ สัญลักษณ์บอกความละเอียดที่เลือกใช้ จำนวนภาพถ่ายที่เหลือ ปุ่มเข้าตั้งค่าเมนูกล้อง สัญลักษณ์โหมดฉาก สัญลักษณ์โหมดโฟกัส สัญลักษณ์โหมดใช้งานแฟลช และสัญลักษณ์เมื่อเปิดใช้งานระบุพิกัดภาพ (Geotags)

“การตั้งค่า” ฟังก์ชันมีให้เลือกปรับดังต่อไปนี้ ประเภทภาพถ่ายมีให้เลือกใช้งาน ได้แก่ อัตโนมัติ, บุคคล, บุคคลกลางคืน, กีฬา, หิมะ, ทิวทัศน์, กลางคืน และเอกสาร ถัดเป็นการปรับค่าโหมดโฟกัส มีให้เลือกปรับ ได้แก่ อัตโนมัติ, ใบหน้าอัตโนมัติ, ถ่ายภาพใกล้วัตถุ และถ่ายภาพอนันต์ ถัดมาเป็นโหมดใช้งานไฟแฟลช มีให้เลือกอัตโนมัติ กับปิด ถัดมาโหมดตั้งเวลาถ่ายภาพอัตโนมัติ มีให้เลือก 2, 10 วินาที และปิด

ถัดมาเป็นการตั้งค่าขนาดภาพถ่าย สามารถปรับความละเอียดได้ 5 ระดับ 8 MP(3264 x 2448 พิกเซล) ในอัตราส่วน 4:3, 7 MP(3264 x 2176 พิกเซล) ในอัตราส่วน 3:2, 6 MP(3264 x 1836 พิกเซล) ในอัตราส่วน 16:9, 3 MP(2048 x 1536 พิกเซล) ในอัตราส่วน 4:3 และ Full HD(1920 x 1080 พิกเซล) ในอัตราส่วน 16:9 จะเห็นได้ว่าถ้าผู้ใช้งานต้องการถ่ายภาพแบบไวด์สกรีน คุณภาพจะถูกลดทอนลงโดยได้ความละเอียดสูงสุดที่ 6 MP สุดท้ายเป็นการตั้งค่าว่าจะเปิดใช้ระบุตำแหน่งบนภาพถ่าย (Geo-tagging)หรือไม่

ส่วน“วิดีโอ” มีหน้าตาอินเตอร์เฟสคล้ายๆกัน เพียงแต่เปลี่ยนจำนวนภาพถ่ายที่เหลือเป็นจำนวนเวลาถ่ายที่เหลือแทน “การตั้งค่า” มีดังต่อไปนี้ รูปแบบวิดีโอมีให้เลือกใช้งาน ได้แก่ nHD (640 x 352 พิกเซล 25 เฟรมต่อวินาที) ในอัตราส่วน 16:9, VGA (640 x 480 พิกเซล 25 เฟรมต่อวินาที) และแบบบันทึกเพื่อส่งข้อความ (320 x 240 พิกเซล 25 เฟรมต่อวินาที) ซึ่งทั้งหมดบันทึกออกมาในรูปแบบไฟล์ MP4 ถัดมาเป็นโหมดบันทึกภาพในเวลากลางคืน(เปิด-ปิด) โหมดเปิดไฟแฟลชช่วยส่องแสง(เปิด-ปิด) โหมดเปิด-ปิดไมค์บันทึกเสียง โหมดตั้งเวลาวิดีโออัตโนมัติเหมือนกับกล้อง (2, 10 วินาที และปิด) สุดท้ายตัวลดภาพสั่นไหว(เปิด-ปิด)

Music Player

“เครื่องเล่นเพลง” อีกหนึ่งเมนูที่ถูกแยกมาใช้งานต่างหาก เมื่อเข้าสู่เครื่องเล่นเพลงจะมีฟังก์ชันให้เลือกใช้ตามต้องการตามฉบับของ วอล์กแมน ได้แก่ ฟีดของเพลง, PlayNow, เซพเวอร์สื่อ, ทำต่อ, กลุ่มศิลปิน, อัลบั้มเพลง, แทร็ค, เพลย์ลิสต์, หนังสือเสียง, Podcasts, SensMe สร้างรายการเล่นตามจังหวะ-อารมณ์ของผู้ใช้, ประเภท และปี โดยหน้าแรกเครื่องเล่นเพลงเมื่อเรียกใช้งาน ไล่จากด้านบนประกอบไปด้วย ชื่อเพลง, ศิลปิน, แถบเวลา สัญลักษณ์การเปลี่ยนโหมดตามลำดับ ตรงกลางแสดงปกอัลบั้ม(ถ้ามี) ด้านล่างสุดเป็นปุ่มควบคุมเครื่องเล่นเพลง (ปุ่มเล่น/พักเพลง(กลาง), เล่นเพลงก่อนหน้า(ซ้าย), เล่นเพลงถัดไป(ขวา), เมนูเพลง(บน) และรายชื่อเพลง(ล่าง)

“การตั้งค่า”การใช้งานมีให้ปรับค่าด้วยกัน 5 หมวดย่อย ประกอบไปด้วย 1. ลักษณะของเครื่องเล่นเพลงที่มีให้เลือกปรับ 10 รูปแบบ 2. โหมดเล่น มีให้เลือกปรับ ได้แก่ สลับ, วนซ้ำ, วนซ้ำ/สลับ และปิด 3. Equalizer เมื่อกดเข้าไปจะมีให้เลือกอยู่ทั้งหมด 9 แบบ ได้แก่ แบบปกติ, Unique, Soul, Easy, Bass, Jazz, Pop, Heavy และSoul อีก 1 รูปแบบ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกปรับแต่งเสียงตามฉบับของแต่ละคนได้ โดยกดปุ่มซอฟต์คีย์ซ้ายเลือกที่ ‘เลือกเอง’ จากนั้นก็ปรับแต่งให้ได้ตามที่ต้องการ แล้วกดปุ่มตกลงยืนยันว่าต้องการจะใช้ค่าที่ตั้งเอง 4. เพิ่มระดับสเตอริโอ(เปิด-ปิด) 5.การจัดวาง ที่มีให้เลือกใช้งาน ได้แก่ หมุนอัตโนมัติ แนวนอน และแนวตั้ง

Media

“เมนูสื่อ(Media)” ของ ‘Aino’ ทำ หน้าที่เป็นศูนย์รวมสื่อมีเดียไว้ทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการค้นหา และเรียกใช้งาน ประกอบไปด้วย รูปภาพ เป็นคลังภาพที่รวมรูปภาพทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่อง สามารถแก้ไข ส่ง จัดการภาพได้โดยตรงที่นี่, เพลง หมวดนี้คือเครื่องเล่นเพลงในข้างต้นนั่นเอง, วิดีโอ ถ้าต้องการจะค้นหา เลือกเล่นไฟล์วิดีโอให้มาเข้ามาส่วนนี้ รวมถึงยังสามารถอัปขึ้นยูทูปได้โดยตรงด้วย, เกมส์ ภายในเครื่องใส่มาให้เลือกเล่น 2 เกมส์, เว็บฟีด สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพลาดติดต่อข่าวสาร และการตั้งค่า ซึ่งในเมนูนี้สามารถแสดงผลเมนูได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

Entertainment

ด้านมัลติมีเดียยังไม่จบเท่านั้นครับ ยังมี “เมนูความบันเทิง(Entertainment)” ซึ่งอุดมไปด้วยฟังก์ชันที่ให้ความเพลิดเพลินไว้ภายใน ประกอบไปด้วย วิทยุ, TrackID, PlayNow, RemotePlay ที่เข้าถึงข้อมูลเครื่องเล่นเกมส์ Play Station 3 ยอดนิยมในเครือโซนีเอง ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทั้งไฟล์เพลง หรือวิดีโอได้โดยตรงผ่านหน้าจอโทรศัพท์รุ่นนี้, เกมส์, Photo Mate, บันทึกเสียง และสาธิต

FM

“เครื่องเล่นวิทยุ” ของ Aino ถูกจับมาใส่รวมอยู่ในเมนู “ความบันเทิง(Entertainment)” โดยหน้าตาอินเตอร์เฟสและฟังก์ชันภายในแตกต่างจากหน้าจอสัมผัส แต่หลักการทำงานนั้นคล้ายกันที่เน้นความเรียบง่าย ง่ายต่อการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งถ้าเรียกใช้งานเมนูนี้ยังคงต้องเชื่อมต่อชุดหูฟังเพื่อใช้เป็นตัวรับ สัญญาณ การค้นหาสัญญาณความถี่สามารถเลือกให้ค้นหาแบบอัตโนมัติได้(กดตรงกลาง) หรือจะระบุค่าความถี่ด้วยตัวเองก็ได้(ทศนิยมแบบ 1 ตำแหน่ง) สามารถบันทึกสถานีได้ 20 สถานี ส่วนการตั้งค่ามีเพียงให้ปรับเสียงระหว่าง สเตอริโอกับโมโน และซ่อนข้อมูลสถานีเท่านั้น

GPS

จบจากเรื่องมัลติมีเดียมาต่อกันด้วย “เครื่องมือนำทาง” สำหรับคนชอบหลงกันบ้างครั้ง รุ่นนี้ได้รองรับการนำทางแบบ A-GPS ในตัว โดยใช้ซอฟต์แวร์แผนที่ 2 แบบ คือ “Google Map” ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี กับ “Wisepilot” ซึ่งภายหลังการทดลองใช้งานพบว่า เชื่อถือได้ไม่ทำให้หลงทางแน่นอน ใช้งานง่ายด้วยระบบค้นหาสถานที่ เลือกตำแหน่งจากแผนที่ และกำหนดจุดที่เราต้องการได้เลย สามารถเลือกการเดินทางได้ 3 รูปแบบได้แก่ ด้วยรถส่วนตัว, รถโดยสาร และเดินเท้า ซึ่งบอกรายละเอียดตามเส้นทางชัดเจนดี ทั้งทางเบี่ยง ทางเลี้ยว และแยกต่างๆ โดยรวมถือว่าสอบผ่านฉลุยครับ

Internet & Social Network

ด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ‘Aino’ มีช่องทางการเชื่อมต่อให้เลือกที่หลากหลาย ได้แก่ GPRS, EDGE, 3G HSDPA หรือจะผ่านไว-ไฟที่เครื่องนี้มีมาให้ใช้เหมือนกันก็สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ ได้ง่ายๆ โดยการเข้าชมเว็บไซต์จะทำผ่านเบราว์เซอร์ที่มีชื่อว่า “Access Netfront” รองรับเว็บไซต์ที่ใช้แฟลชได้ไม่มีปัญหา ย่อ-ขยายหน้าจอ บันทึกบุ๊คมาร์กได้ปกติ หลังการใช้งานเบราว์เซอร์พบว่า ยังคงความมาตรฐานไว้ไม่เหมือนเดิม คือ สามารถตอบสนองการใช้งานได้ระดับหนึ่ง ไม่ค่อยลื่นไหลเท่าไรนัก แสดงผลได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน อ่านภาษาไทยได้ฉลุยแต่ก็มีบางเว็บไซต์ที่อ่านไม่ออกเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเว็บไซต์นั้นจะโค้ดอะไรในการเขียน

ส่วนการใช้งานผ่านสังคมออนไลน์ที่กำลังฮอตฮิตกันทั่วโลกในขณะนี้ ‘Aino’ ได้ใส่แอปพลิเคชันมาให้ใช้ตามเทรนด์เช่นกัน ทั้ง “Youtube” ที่ติดตั้งไว้ที่เมนูมีเดียในหมวดวิดีโอ ซึ่งใช้งานสะดวกตรงที่เข้าถึงได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านเบราว์เซอร์ ทำให้ได้ทั้งความสะดวกและความรวดเร็ว แต่แอปฯนี้ยังมีลูกเล่นภายในไม่หลากหลายหากเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่น

ถัดมาที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคนี้นั่นคือ “Facebook”(อยู่ ในเมนูข้อความ) ที่สามารถเข้าไปอัปเดตข้อมูล อัปภาพถ่ายขึ้นไปให้เพื่อนพ้องชมได้ทุกที่ทุกเวลา หลังใช้งานต้องยกนิ้วให้ เพราะอินเตอร์เฟสสวยงามน่าใช้ แถมใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ ยังมีแอปฯ “AccuWeather” ใส่มาให้ตรวจสอบสภาพอากาศกันด้วย ซึ่งแอปฯที่กล่าวมาทั้งหมดถูกบรรจุรวมไว้ในเมนูออร์แกไนเซอร์ หมวดโปรแกรม นอกเหนือจากที่แยกตามส่วนต่างๆที่กล่าวไว้ในข้างต้น

Design of Sony Ericsson Aino

“Sony Ericsson Aino” ถูกออกแบบให้เป็นโทรศัพท์ถือสไลด์โฟนกึ่งทัชสกรีน ตามที่ได้อธิบายหลักการทำงานไปแล้วในส่วนของฟีเจอร์ รูปทรงตัวเครื่องยังคงเอกลักษณ์ของโซนีอิริคสันอยู่ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมโค้งเว้าดูทันสมัย ตัวเครื่องใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกคุณภาพสูงเป็นส่วนใหญ่ ขนาดน้ำหนักกำลังพอเหมาะพอมือ แต่ถ้าตัวเครื่องบางลงกว่านี้นิดจะทำให้น้ำหนักเบาลง และน่าหยิบพกพาไปด้วยมากขึ้น โดยตัวเครื่องรุ่นนี้มีขนาด 104.05 x 50.53 x 16.3 มม. น้ำหนักอยู่ที่ 135 กรัม มีให้เลือก 2 สี คือ ดำ(Obsidian Black) กับ ขาว(Luminous White)


ด้านหน้า : มองดูโดยรวมด้านนี้แล้วรู้สึกถึงความเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความหรูนิดๆ พื้นผิวเป็นพลาสติกด้านเคลือบไว้ทั้งหมดของส่วนนี้ ทำให้หมดปัญหาเรื่องสกปรกจากรอยคราบนิ้วมือได้ ไล่จากส่วนบนสุดจะพบลำโพงสนทนาวางอยู่ตรงกึ่งกลางของตัวเครื่อง ถัดมาลงเป็นตัวอักษรยี่ห้อ“Sony Ericson” วางพาดอยู่ตรงกึ่งกลาง ด้านล่างเป็นจอแสดงผลไวด์สกรีน TFT LCD 16.7 ล้านสี (240 x 432 พิกเซล) ขนาด 3 นิ้ว ซึ่งเป็นจอแสดงผลระบบกึ่งสัมผัสแบบ Capacitive ใช้งานได้เฉพาะโหมดมัลติมีเดียตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นเท่านั้น และรองรับการปรับหมุนทิศทางการแสดงผลแบบอัตโนมัติ(Accelerometer Sensor)


เมื่อสไลด์ตัวเครื่องออกจะพบกับชุดปุ่มควบคุมที่คุ้นตาเป็นอย่างดีสำหรับเหล่าสาวก ‘SE’ ประกอบไปด้วย ปุ่มซอฟต์คีย์ซ้าย, ปุ่มควบคุมแบบ 5 ทิศทาง, ปุ่มซอฟต์คีย์ขวา, ปุ่มรับสาย, ปุ่มวางสาย (กดค้างเปิด-ปิดเครื่อง), ปุ่มทางลัดที่ใช้งานบ่อย และปุ่มยกเลิก(Clear) ถัดลงมาใต้ชุดปุ่มควบคุมเป็นชุดปุ่มตัวเลข-อักษรตามมาตรฐานโทรศัพท์มือถือ ทั่วไป ปุ่มมีลักษณะแบนราบ นูนเล็กน้อย ซึ่งดูกลมกลืนกับพื้นผิวของส่วนนี้ มีรูไมค์สนทนาวางอยู่ด้านขวาข้างปุ่มเลข 3


ด้านหลัง : พลิกมาดูด้านหลังจะพบกับเลนส์กล้องออโตโฟกัส พร้อมกับแฟลชแบบ LED วางเด่นอยู่มุมด้านซ้าย โดยมีข้อความการันตีถึงความละเอียดของกล้องที่ระดับ 8.1 Megapixel วางอยู่ข้างเลนส์ด้านซ้าย ถัดลงมาตรงกึ่งกลางเครื่องมีสัญลักษณ์โลโก้พร้อมชื่อแบรนด์ ‘Sony Ericsson’ วางพาดอยู่ โดยพื้นผิวทางด้านนี้เป็นแบบเดียวกับกับทางด้านหน้า คือ เคลือบด้วยพลาสติกแบบด้าน และเป็นส่วนของฝาหลังเครื่องทั้งหมดด้วย


เมื่อเปิดฝาหลังออกโดย งัดส่วนบนตรงปุ่มล็อกเครื่อง ไล่จากด้านบนฝั่งซ้ายจะพบกับช่องใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ MicroSDHC รองรับสูงสุด 32GB(แถมมาให้ 8GB) อยู่ใต้เลนส์กล้อง พร้อมข้อความกำกับบอกชัดเจน สามารถถอดเปลี่ยนได้ทันทีโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ฝั่งขวาเป็นช่องใส่ซิมการ์ด พร้อมสัญลักษณ์บอกชัดเจนเช่นกัน ถัดลงมาด้านล่างบริเวณกลางเครื่องเป็นช่องใส่แบตเตอรี่ Li-Polymer ขนาด 1,000 mAh ซึ่งถ้าต้องการใส่-ถอดซิมการ์ดต้องปิดเครื่องแล้วถอดแบตฯออกก่อน

ด้านขวา : ไล่จากด้านบนสุดเป็นปุ่มปรับระดับทั้งเพิ่ม-ลดเสียง, ซูมขยายภาพในโหมดกล้อง พร้อมสัญลักษณ์รูปแว่นขยาย ล่างสุดเป็นปุ่มชัตเตอร์สำหรับถ่ายภาพในโหมดกล้องถ่ายภาพ (กดค้างเข้าโหมดกล้อง) พร้อมสัญลักษณ์รูปกล้อง และวิดีโอบอกให้ทราบอย่างชัดเจน

ด้านซ้าย : ด้านนี้มีเพียงช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกต่างๆ ทั้งสายชาร์จแบตเตอรี่, สายเคเบิลเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือชุดหูฟังสเตอริโอ ถูกออกแบบให้วางอยู่ส่วนบนเท่านั้น


ด้านบน และด้านล่าง : ด้านบนมีเพียงปุ่มล็อกเครื่อง-ปิดหน้าจอวางอยู่ตรงกึ่งกลางเท่านั้น ส่วนด้านล่างฝั่งซ้ายเป็นช่องสำหรับร้อยสายคล้องมือ-คอ และฝั่งขวาเป็นช่องระบายเสียงจากลำโพงที่อยู่ด้านใน

บทสรุป

สำหรับ “Sony Ericsson Aino” เป็นโทรศัพท์มือถือทรงสไลด์กึ่งทัชโฟน ไม่ใช่เป็นทัชโฟนทั้งหมดอย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยผู้ใช้งานจะสามารถใช้หน้าจอสัมผัสได้ก็ต่อเมื่อเรียกใช้งานโหมด”มัลติมี เดีย”เมื่อไม่ได้สไลด์ตัวเครื่องออกเท่านั้น ถ้าหากสไลด์ตัวเครื่องออกเพื่อเรียกใช้เมนูภายในต้องลงไปใช้ปุ่มควบคุมทาง ด้านล่างเอง การดีไซน์ตัวเครื่องทุกอย่างถือว่าลงตัว แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบหมดจด โดยเฉพาะยังมีความเป็นตัวเองค่อนข้างสูงอย่างพอร์ตเชื่อมต่อที่ยังไม่ได้ เป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี ตามมาตรฐานที่เกือบทุกยี่ห้อต่างเปลี่ยนมาใช้กันถ้วนหน้าแล้ว และอีกหนึ่งสิ่งที่ควรจะมีมากับรุ่นนี้ คือ ช่องต่อหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม.

การใช้งานต้องปรบมือให้กับการออกแบบอินเตอร์เฟสที่ทำออกมาได้น่าใช้ งานทุกฟังก์ชัน แถมยังตอบสนองได้ไวทันใจสั่งอีกด้วย แต่เมนูรองบางอย่างก็เข้าไปอยู่ลึก และยิบย่อยจนเรียกใช้งานลำบากเหมือนกัน ส่วนลูกเล่นฟังก์ชันแต่ละเมนูทำออกมาได้เรียงง่ายใช้งานสะดวกแม้ว่าจะมีมา ให้ไม่มากก็ตาม โดยยังคงคุณภาพของภาพถ่ายในเมนูกล้องที่ให้สีสันสด คุณภาพความละเอียดทำได้ค่อนข้างดีทีเดียว ด้านภาพถ่ายวิดีโอให้คุณภาพระดับปานกลาง ยังไม่ค่อยคมชัดเท่าไรนัก ส่วนเสียงที่ขับออกมาทางลำโพงในตัวเครื่องจัดว่าแหลมใสดังชัด ไม่พบเสียงแตกพร่า เสียงสนทนาทางลำโพงด้านหน้าดังชัดเจนดี

ด้านแหล่งพลังงานรุ่นนี้เลือกใช้แบตฯ Li-Polymer ขนาด 1,000 mAh ซึ่งเห็นครั้งแรกถึงกับปรามาสเลยว่าจะไหวเหรอ เพราะดูจากลูกเล่นต่างๆที่ใส่มาให้ใช้ถือว่าหนักเครื่องใช่เล่น ทว่าภายหลังลองใช้งานจริงกลับพบว่าทำได้ดีเกินคาดครับ ใช้งานหนักๆต่อเนื่องนี่อยู่ได้วันต่อวันแบบเหลือๆ แต่ถ้าไม่ได้ใช้อะไรมากมาย โทร.ออกรับสายเข้า เล่นเว็บ ฟังเพลงนิดหน่อย อยู่ได้ 2 วันสบายๆ

ขอชม
- หน้าจอแสดงผล 3 นิ้ว ขนาดใหญ่มองได้ชัดเต็มตา
- ลูกเล่นอินเตอร์เฟสสวยงามน่าสัมผัส แถมตอบสนองได้ไว
- มีฟังก์ชันมัลติมีเดียใส่มาให้ใช้ครบครัน และยังคงกลิ่นอายไซเบอร์ช็อตผสมวอล์กแมนเอกลักษณ์ของโซนีอิริคสัน

ขอติ
- ไม่มีกล้องวิดิโอคอลทางด้านหน้ามาให้ใช้ ทั้งที่ราคาสูงพอตัว
- น่าจะมีช่องต่อหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 นิ้วติดมากับตัวเครื่องด้วย รวมไปถึงเปลี่ยนพอร์ตเฉพาะเป็นไมโครยูเอสบี
- เมนูรองบางอย่างยังอยู่ลึกลับซับซ้อนเกินไป รวมถึงยังจัดวางไม่เป็นที่เป็นทาง ทำให้เรียกใช้งานลำบาก

Company Related Links :
Sony Ericsson ,   http://manager.co.th

ความคิดเห็น
guest profile guest
"น่าจะมีช่องต่อหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 นิ้วติดมากับตัวเครื่องด้วย รวมไปถึงเปลี่ยนพอร์ตเฉพาะเป็นไมโครยูเอสบี"

ถ้ามีรู3.5นิ้วจริงๆผมไม่กล้าใช้หรอก กลัวตกลงไปในรูมันอ่ะ 55

เเซวเล่นนะครับบบบ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

alexra Icon Richard Mille RM037 Rose Gold diamond White Rubber อ่าน 53 1 ปีที่ผ่านมา
1 ปีที่ผ่านมา
miniming Icon พบช่องโหว่ใหม่บน Bluetooth Low Energy ‘BLESA’ อ่าน 180 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
miniming Icon Review – Lenovo IdeaPad Gaming 3 สเปก Ryzen 4000H อ่าน 269 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา